จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ก็วางลง อย่าไปยึด..
    สาธุครับ
     
  2. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ความเสื่อมคือ "ความว่าง"

    อยากทราบว่า

    ความอ่อนล้า ความเมื่อยล้า ความอ่อนเพลีย ความเกียจคร้าน ความเบื่อ ความหน่าย

    ทั้งหมดนี้มีจุดร่วมที่เหมือนกันแต่มีความเหลื่อมซ้อนทางความหมายอย่างชัดเจน
    อยากให้ช่วยกันอธิบายความหมาย
    ตรงตัวอยู่แล้ว

    จุดร่วมทางความหมาย
    คือเป็นธรรมารมณ์เหมือนกัน

    ความหนักเบาทางความหมาย
    มันขึ้นอยู่กับว่าจะไปตั้งสมมุติฐานแบบใดมากกว่า
    ยกตัวอย่างเช่น เราว่า"ความหนักเบานี้เท่ากัน"


    ลำดับขั้นทางอารมณ์ที่เกิดขี้นแต่ละขั้นตอนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
    ไม่มีทฤษฎีตายตัวในการเรียงลำดับขั้นอารมณ์6อย่างนี้ สืบเนื่องจากแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน
    เป็นปัจจัตตังแห่งตน ไม่สามารถสร้างทฤษฎีอารมณ์กลางๆขึ้นมาแล้วเอาไปใช้กับทุกๆคนได้

    ดับไปได้อย่างไร
    ดับไปเพราะจิตไปสนใจสิ่งอื่นแล้ว

    อะไรเป็นสิ่งเร้าให้เกิดรุนแรงขึ้น
    สังขารขันธ์หรือการอุปาทานปรุงแต่ง

    อะไรบั่นทอนให้อารมณ์นั้นคลายลง
    จิตที่ปล่อยวางลง

    อะไรเกื่อกูลกันตามอัถภาพ
    คงจะแล้วแต่สภาวะณ.ขณะนั้นๆ
    ไม่ตายตัวเสมอไป แม้นในคนๆเดียวกัน
    แต่คนละสภาวะก็อาจไม่เหมือนกันได้

    และวิธีการเข้าถึงสภาวะธรรมเหล่านั้น
    ก็ต้องเรียนรู้ จดจำและฝึกฝน

    ขออภัยหากตอบไม่ตรงกับสิ่งที่ท่านคาดหวัง
    สาธุครับ
     
  3. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ขออนุโมทนาครับ ท่านครูลูกพลัง ที่ได้ร่วมอธิบายความครับ

    ความจริงแล้ว การเกิดขึ้นของธรรมารมณ์ทั้งหลาย บางส่วนอาจเกิดเป็นลำดับขั้นก็มี บางส่วนก็ไม่ต่อเนื่องเป็นลำดับชั้นก็มี ก็เพราะอาศัยเหตุปรุงแต่ง เหตุที่กระทบ ที่แตกต่างกัน ประกอบกับความสามารถของจิต ในภูมิปัญญาที่มีที่เข้าถึง ในความรู้แจ้ง ดับ ละ ปล่อยวาง ว่าง ตามลำดับ

    กระผมขอกล่าวเสริมอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันดังนี้ว่า

    สรรพสิ่ง ใดๆทั้งจักรวาล แม้ร่างกายมนุษย์เรานี้ มีความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

    การตั้งอยู่และดับไป นั้นคือ สภาวะของความเสื่อมทรามลงไป จนที่สุดคือดับไป
    ขอยกตัวอย่างคือเฉพาะร่างกายเรานี้ ความเสื่อมเหล่านี้ ไม่สามารถควบคุมมันไว้ได้ อุปมาเหมือนคำกล่าวที่ว่า อันความเจ็บป่วย ความแก่ และที่สุดคือความตายนี้ เป็นสัจจธรรมที่จะต้องเกิดแก่ทุกสรรพสัตว์ไม่อาจหลีกหนีได้
    เมื่อเห็นในสัจธรรมเช่นนี้ ก็เกิดความเบื่อหน่ายในร่างกาย เพราะเห็นตามกฏไตรลักษณ์ ชัดแจ้งแล้วเช่นนี้ ปัญญาก็เกิดแล้วต่อเนื่องคือเมื่อมันเป็นทุกข์ น่าเบื่อหน่าย ไม่เที่ยง แล้ว ก็ไม่มีอะไรให้ยึดมั่นถือมั่นอีกแล้ว ก็ละปล่อยวางไปในที่สุด

    ความจริงแล้วสิ่งที่ถามมาและกล่าวไปนั้น มันก็อยู่ในมหาสติปัฏฐาน4 นี่แหละ เพียงแต่ เป็นหลักสูตรที่เข้มข้นลงลึกในการปฏิบัติ ในการพิจารณาก็เท่านั้นเองครับ
    ตั้งแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม การเจริญมหาสติปัฏฐานกองใหญ่นี้ กว้างใหญ่ไม่มีประมาณ แต่ก็มีที่สิ้นสุดแห่งปัญญาก็คือปัญญาวิมุตติหลุดพ้นได้ หากท่านทั้งหลายเจริญและปฏิบัติอย่างจริงจัง ครับ สาธุ
    ขอทุกท่านจงเจริญในธรรมครับ
     
  4. ปริณภูมิ

    ปริณภูมิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +53
    ว่างแล้วจึงวาง วางแล้วจึงว่าง ว่างแล้วจึงวาง

    อยากทราบว่า

    ปรากฎการณ์ ว่างแล้วจึงวาง วางแล้วจึงว่าง ว่างแล้วจึงวาง
    ทั้งสามอารมณ์นี้ มีที่มาต่างกันเช่นใด และเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะธรรมเหล่านั้น ต้องทำเช่นใด
    อาจจะเป็นการรบกวนไปบ้าง ต้องขออภัยในที่นี้ด้วย

    ด้วยความเคารพอย่างสูง
    ปริณภูมิ
     
  5. Kim_UoonSo

    Kim_UoonSo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +5,937
    [​IMG]

    พุทธานุสสติ ทรงอารมณ์ได้ถึงฌาน ๔
    โดย... หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง​




    แทนที่เราจะภาวนาเฉยๆ เราก็ จับภาพพระพุทธรูป
    กำหนดภาพไว้ ลืมตาดูภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้
    นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ที่เราต้องการ
    เรามีความเลื่อมใสพอใจอยู่ เวลาจับลมหายใจเข้าออก
    ภาวนาว่า พุทโธ ก็นึกภาพขององค์สมเด็จพระบรมครู
    จะเป็นพระพุทธรูปก็ได้ ให้ปรากฏอยู่ในใจ
    ไม่ใช่ไปนั่งคอยให้ภาพลอยมาแบบนี้ใช้ไม่ได้
    ภาวนาไปแล้วก็นึกถึงภาพไปด้วย จะนึกอยู่ในอก
    ให้เห็นอยู่ในอก หรือเห็นภายนอกก็ได้ไ่ม่จำกัด
    ถ้านึกถึงภาพนั้นตามภาพเดิม อย่างนี้เรียกว่า
    อุคคหสมาธิ หรือ อุคคหนิมิต



    ถ้าภาพเดิมนั้นขยายไป เปลี่ยนแปลงไปชักจะใหญ่ขึ้น
    จะสูงขึ้น จะเล็กลง แล้วก็มีสีสันวรรณะ เริ่มเปลี่ยนแปลง
    ไปทีละน้อยๆ จากสีเดิมกลายเป็นสีจางไปนิดหน่อย
    จางลงไปจางลงไป แต่เรารู้สึกอารมณ์จิตนึกเห็นชัด
    นึกเห็นนะไม่ใช่ภาพลอยมา อารมณ์จิตนึกเห็น
    จนกระทั่งปรากฏเป็นแก้วใส อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็น
    อุปจารสมาธิตอนกลาง



    ตอนนี้แก้วใสที่กลายเป็นแก้วประกายพรึก
    แพรวพราวไปหมดทั้งองค์ จิตใจสามารถจะบังคับ
    ให้ภาพนั้นเล็กก็ได้ จะให้ใหญ่ก็ได้ สูงก็ได้ ต่ำก็ได้
    ตั้งอยู่ข้างหน้าก็ได้ ข้างหลังก็ได้ ตามใจนึก
    นึกอย่างไร ภาพนั้นปรากฏไปตามนั้น
    มีความใสสะอาดสุกใสเป็นกรณีพิเศษ
    อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์
    ท่านกล่าวว่าเป็น ปฐมฌาน



    การจับภาพนี่จับให้สนิท ให้คิดอยู่เมื่อไรได้เมื่อนั้น
    เดินไปบิณฑบาต เดินไปธุระ นั่งอยู่ นึกเห็นเมื่อไร
    เห็นได้เมื่อนั้นทันที นี่อย่างนี้เป็น กสิณ ด้วย
    เป็นพุทธานุสสติกรรมฐานด้วย ถ้าการเห็นภาพแบบนั้น
    ปรากฏว่า คำภาวนาว่า พุทโธ หายไป ภาพใสขึ้นผิดกว่าเดิม
    อันนี้เป็น ฌานที่ ๒ แต่มีจิตชุ่มชื่น อาการของจิต
    มันเหมือนกัน ภาพใสสะอาดขึ้น มีการทรงตัวมากขึ้น
    มีความแจ่มใสขึ้น ความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด
    จิตทรงตัวแนบนิ่งสนิท แล้วก็ลมหายใจน้อย
    ได้ยินเสียงภายนอกเบา อันนี้เป็น ฌานที่ ๓



    การเห็นภาพชัดเจนแจ่มใสมากเป็นกรณีพิเศษ
    สว่างไสว คล้ายกับพระอาทิตย์ทรงกลด
    หรือว่าคล้ายกับกระจกเงาที่สะท้อนแสงแดดดวงใหญ่
    ใจไม่ยุ่งกับอารมณ์อย่างอื่น เป็นอุเบกขารมณ์
    ทรงสบาย เห็นแนบนิ่งสนิท จะนั่งนานเท่าไร
    ก็เห็นได้ตามความปรารถนา หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก
    ไม่ปรากฏลมหายใจ อย่างนี้เป็น ฌานที่ ๔​



     
  6. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    อยากทราบว่า

    ปรากฎการณ์
    ว่างแล้วจึงวาง ==> เจริญสมถะ
    วางแล้วจึงว่าง ==> เจริญวิปัสสนา
    ว่างแล้วจึงวาง ==> ยอมแพ้ครับ.. (ขอเดาว่า"วิมุตติ")
    ทั้งสามอารมณ์นี้ มีที่มาต่างกันเช่นใด และเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะธรรมเหล่านั้น ต้องทำเช่นใด

    อาจจะเป็นการรบกวนไปบ้าง ต้องขออภัยในที่นี้ด้วย
    หามิได้ครับ หากจะกรุณาช่วยเฉลย ก็จักเป็นพระคุณอย่างสูงยิ่ง
    สาธุครับ
     
  7. ปริณภูมิ

    ปริณภูมิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +53
    อนุโมทนากับคำตอบครับ

    ว่างแล้วจึงวาง สุญญตารมณ์
    อารมณ์ปกติของผู้ทรงฌานอภิญญา

    วางแล้วจึงว่าง อนัตตารมณ์
    อารมณ์ปกติของผู้เจริญวิปัสสนาญาณ

    ว่างแล้วจึงวาง อนัตตารมณ์ที่สมบูรณ์แบบคือสุญญตารมณ์
    อารมณ์ปกติของพระอรหันต์

    ด้วยความเคารพอย่างสูง
    ปริณภูมิ
     
  8. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    สาธุ...ขอบพระคุณค่ะ สำหรับคำถาม ที่คุณปริณภูมิ สงสัย...

    และขอกราบขอบพระคุณ คุณภูทยานฌาน ๒ คุณลูกพลัง คุณ Tjs ที่ท่านได้มาตอบคำ

    ถาม - เพราะว่ามีประโยชน์ กับ ผู้ปฏิบัติมาก คำอธิบายของท่านทั้งสามนั้นเป็นคำอธิบาย

    ที่ละเอียด และช่วยผู้ปฏิได้เย้อะเลยให้เข้าใจถึงการปฏิบัติของตนเอง อย่างผู้เขียนวันนี้

    ...อ่านคำอธิบายของท่านทั้งสามท่านอยู่หลายรอบ และเข้าใจในคำตอบ ท่านพยายาม

    อธิบายให้กับผู้ที่ถามมา- ให้เข้าใจถึงการปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นความรู้ และจะได้ไม่สงสัยอีก

    การปฏิบัติถ้าเราปฏิบัติตาม หลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของครูบาอาจารย์ หลวงปู่

    หลวงตา ทำไป ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ แล้วคำว่าสงสัยนั้นจะไม่มีเลย เพราะเราจะรู้กับตัวของ

    เราเอง...การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบนั่นแหละจะเป็นผู้ตอบข้อสงสัยของเจ้าของเอง อย่าง

    ผู้เขียนนี้ถ้าเจอคำถามแบบนี้ตอบไม่ได้หรอกค่ะ แต่อ่านแล้วเข้าใจค่ะ.....

    ...จึงขออนุโมทนา กับทุกๆท่าน ทั้งผู้ถาม และผู้ตอบค่ะ...

    ขอน้อมรับเพื่อเป็นความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติให้ดียิ่งๆขึ้นค่ะอนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  9. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ถาม - ตอบ- ปัญหาธรรม ........

    -ถาม -ผมอยากเรียนถามถึงเรื่องการกระทำวิปัสสนา ทราบว่าท่าน พระอาจารย์เป็นผู้

    ที่มีชื่อเสียงในทางปฏิบัติวิปัสสนามาก คำถามแรกก็อยากจะเรียนถามพระอาจารย์ว่า การ

    กระทำวิปัสสนานั้นมีคุณค่าต่อชีวิตของมนุษย์อย่างไรบ้าง?

    - ตอบ -คุณค่าของการอบรมจิตทางวิปัสสนานี้มีมากมาย แต่จะอธิบายเพียงย่อ ๆ พอ

    ได้ใจความ คือทำให้เป็นคนเยือกเย็น แม้จะเคยมีนิสัยใจร้อนหรือวู่วามต่างๆ มา แต่เมื่อได

    รับการอบรมจิตใจให้มีความสงบพอที่จะคิดอ่านได้บ้างแล้ว ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นกลาย

    เป็นคนใจเย็น เป็นคนมีเหตุผลไม่พรวดพราด ทำอะไรก็ทำด้วยความจงใจและเป็นการ

    เป็นงานจริง ๆ ไม่เป็นนิสัยจับจด นี่เป็นผลย่อ ๆ ของการทำวิปัสสนาที่อธิบายในข้อหนึ่ง.

    -ถาม ตอบ ปัญหาธรรม หลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด.สาธุ สาธุ ๆ.
     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เป็นคำตอบสุดท้าย..จบกัน!
    โมทนาสาธุ แหม๊ ผมกำลังบ่นถึงพอดี
    พอดีเห็นอาจารย์ปริยัติมา ก็เลยคิดถึงอาจารย์ลูกพลัง
    เอ๊า ถามมา ตอบไป จัดให้กันไป สบายใจดีแท้ๆ
    ขอให้ถูกใจทั้งคนถามและคนตอบนะ
    อย่ามีความคิดเห็นขัดแย้งกันอีกนะ(หมายถึงที่ตอบธรรมะกันก่อนหน้านี้ มิได้หมายถึงจิตบุญ)
    แต่ถ้าใครมีจิตที่สูงกว่าย่อมวางก่อน หรือให้อภัยได้ง่าย
    ที่ผมพูดมานี้ดีนะ เพราะมีประโยชน์กับผู้อื่น ผมเห็นด้วยทุกประการ
    ผมพูดปริยัติไม่เก่ง แต่จิตผมเข้าใจเก่ง เพราะครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนมา ว่า..
    ผู้ที่รู้จักตน/เข้าใจตนเองดี ผู้นั้นย่อมเข้าใจในธรรม
    ตราบใดถ้าเรายังไม่เข้าใจตนดีพอ แล้วเราจะไปเข้าใจคนอื่นได้อย่างไร
    เพราะเรามีขันธ์๕สกปรกเหมือนกันหมด ต่างกันตรงที่ภายใน..เท่านั้น
    หรือแก่นธรรมก็คือ จิต นั่นเอง
    โมทนาสาธุกับทั้งผู้ถามและผู้ตอบด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2013
  11. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ทำไมผมไม่ปิดกระทู้หนีไปตั้งนานแล้ว ตั้งแต่เรือไททานิค ล่ม
    ก็เพราะอยากนำพาจิตผู้คนออกจากทุกข์กันให้มากที่สุดก่อน ส่วนผู้ที่ออกได้แล้ว
    ท่านจะมัวนอนหลับทับบารมีตนเองกันทำไม๊ พวกคุณช่างไม่สงสารพระพุทธเจ้า
    หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำหรือหลวงปู่หลวงตาของท่านกันบ้างหรอ ลูกหลานเกิดมา
    มีกายหยาบมักเดินหลงทางกันทั้งนั้นเลย

    สัจจะกับเบื้องบนผมไม่ทิ้งแน่ ไม่มีการเปลี่ยนแน่ นอกเสียจากความตายมาพลัดพราก

    *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*

    [​IMG]

    หนึ่งเอกองค์ อรหันต์ แห่งยุคนี้
    เป็นที่พึ่ง บารมี ของลูกหลาน
    องค์หลวงพ่อ พระราช พรหมยาน
    ลูกกราบกราน สำนึกไว้ ในมโน

    คำสอนพ่อ มีมาก หลากล้นนัก
    ลูกประจักษ์ ในคำสอน แต่ก่อนหนา
    มิเสียดาย ชาตินี้ ที่เกิดมา
    ลูกหลานพ่อ ทั่วหล้า อย่าได้กลัว

    แม้สังขาร ล่วงลับ ดับสิ้นแล้ว
    ยังทิ้งแนว ทางหลุดพ้น ให้คนเห็น
    สอนครอบคลุม ได้ถี่ถ้วน ล้วนจำเป็น
    ไม่ว่างเว้น แต่ละวัน ยันชีพวาย

    ลูกขอตั้ง มโนจิต คิดมั่นมุ่ง
    แม้จักยุ่ง กิจการ งานทั้งหลาย
    ขอเผยแผ่ แชร์ธรรม ไปจนตาย
    ชีพมลาย ขอทรงไว้ ซึ่งพระธรรม

    ปณิธาน ที่พ่อตั้ง ยังฝังอยู่
    ลูกๆรู้ พ่อยังอยู่ มิไปไหน
    พ่อยังคง คอยช่วย อยู่ไกลๆ
    ผ่านคำสอน ที่ฝากไว้ ไม่เคยเลือน

    หากแม้นเรา เหล่าบรรดา ลูกหลานพ่อ
    มิได้ท้อ ในความดี ที่มั่นหมาย
    หากพ่อรู้ พ่อคงสุข ใจมิคลาย
    เราทั้งหลาย จะสบาย ปลายชีวี

    มากันเถิดพี่น้อง ทั้งผองเพื่อน
    คำพ่อเตือน อย่าลืมเลือน กันเลยหนา
    ปฏิบัติตาม เพื่อพ้นทุกข์ โอกาสมา
    พรั่งพร้อมแล้ว ทั้งมรรคา จะช้าไย..?

    มัวแต่ยึด อยากอยู่ หารู้ไม่
    อันกองไฟ แผดเผาใจ ไม่ร้อนหรือ..?
    มัวแต่หลง กายนี้ ที่เหตุคือ
    สมุทัย นั่นหรือ คือตัวเรา

    ทางเส้นนี้ พ่อปูไว้ ง่ายเหลือเอ่ย
    เดินตามเลย อย่ารอช้า ถ้ายังไหว
    จะสู้ต่อ หรือ ยอมท้อ อ่อนข้อไป
    ให้กับใจที่หลงไป ในกายตน

    หากยัง เป็นลูกพ่อ ไม่ขอเกิด
    ดับหมดเถิด ให้สิ้นเชื้อ เพื่อจุดหมาย
    ปฏิบัติตาม เพื่อหลุดพ้น แม้ชีพวาย
    หากแม้นตาย ก็จงหมาย ว่าไปดี


    โมกขทรัพย์ ลูกหลวงพ่อ
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คุณอย่าปลุกซะให้ยากเลยค่ะ
    อยากจะขออิจฉา เอ๊ย ปุจฉา! ผมมีแต่ภาษาจิตนะ ภาษาสมมุติโง่
    แต่ถ้าใครรู้จักภาษาจิตดีนะ ก็พอจะเข้าใจ
    เพราะภาษาสมมุติมันดิ้นได้ตามจิตคน พอๆกับภาษานักกฎหมายเลย
    ภาษาจิตฟังแล้วไม่ต้องแปลให้มากเรื่อง
    แต่ผู้ที่จะเข้าใจภาษาจิตดีก็คือ ผู้ที่เข้าถึงกระแสจิตตนเอง
    และธรรมะที่พบภายในจิตนั้นก็คือ ธรรมะที่จะมาสั่งสอนตนเอง
    มิใช่เอาธรรมะไปสอนผู้อื่นนะ มันไม่ได้ จนกว่าผู้นั้นจะพบจิตตนก่อน
    แล้วต่อมาภายหลังก็จะพบธรรมเย็นสบายดี ลมพัดเย็นดี แต่ถ้าธรรมะอึดอัด
    อันนั้นไม่ใช่ธรรมะ อธรรมต่างหาก เพราะธรรมะแปลว่าธรรมดา ธรรมชาติ
    สรุปแล้วที่เราอึดอัดนั้นเป็นเพราะเราหรือสติเราไปฝืนจิตในขณะปฎิบัติ
    ใครมาผิดทางก็ถอยหลังกลับไปเริ่มต้น/ตั้งต้นกันที่สติของตนเองใหม่
    เดี๋ยวปล่อยให้ผู้รู้เขาถาม-ตอบกันเองดีกว่า ส่วนผมขอเป็นผู้อ่านที่ดี
    ขอโมทนาสาธุกับผู้ตั้งคำถามและผู้ตอบ หรือถามเองตอบเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2013
  13. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    -พุทธภาษิต-

    ...ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยศีล...

    ...มีปัญญา...มีใจมั่นคงดีแล้ว...

    ...ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในการทุกเมื่อ...

    ...ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก...

    ...ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี...
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เป็นคำตอบสุดท้าย จบกัน!
    โมทนาสาธุกับธรรมาทานอันสูงส่งด้วยครับ
    ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบผู้ที่เจริญแล้วอย่างคุณ(ผู้ที่เจริญแล้วหมายถึงจิต)
    คุณนี่เหมือนกับคุณอะไรนะ คุณซีโร่โต้ชีริคหรือคุณศูนย์ทับซ้อนเลย
    ขอแสดงความยินดีที่จิตคุณถึง ถึงหรือไม่ คุณเท่านั้นที่จะรู้ดีที่สุด
    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงยิ่งกับธรรมาทานในครั้งนี้
    แต่ถ้าไม่มีผู้ใดที่ไหนรับฟังธรรมะของคุณ แต่ที่นี่ยินดีรับฟังทุกเรื่องและทุกท่าน
    สาธุๆๆ
     
  15. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    เหล่าพระอรหันต์อยู่ด้วยกัน

    ...ด้วยใจเป็นหนึ่ง...

    ...อยู่ด้วยเหตุผล...

    ...ไม่ใช่อยู่กันด้วยความประสงค์...

    ...จึงจะรักกันแบบปุถุชน...

    หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค กราบหลวงพ่อเจ้าค่ะสาธุ สาธุ สาธุ.
     
  16. ปริณภูมิ

    ปริณภูมิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +53
    ความหมายแห่งอุเบกขา

    อยากทราบว่า

    ความหมายของอุเบกขา ในแต่ละองค์ธรรมมีคุณลักษณะแตกต่างกันเช่นใด
    เพราะการเกิดอารมณ์อุเบกขาย่อมมีปัจจัยต่างกัน
    ยามเมื่ออารมณ์อุเบกขาเกิดขึ้นแล้วจึงมีโลกทัศน์ไม่เหมือนกัน
    ใคร่ขอความกรุณาอธิบายโดยจำแนกแจกแจงทีละองค์ธรรมด้วยครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง
    ปริณภูมิ
     
  17. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    "พระอาจารย์อุเทน สิริสาโร"
    เจ้าอาวาสดังแห่งวัดท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
    ใครอยากพบท่านให้รีบไป ท่านบอกเองว่า..
    อีก10 ปีจะละสังขาร เมื่ออายุครบ 49 ปี ใน 2023/2566
     
  18. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    เข้ากับสถานะการณ์ปัจจุบันมากครับท่านภูมิ
     
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    =========

    ขอช่วยอธิบายแบบลงลึกในรายละเอียดเพิ่มเติมครับ

    ว่างแล้วจึงวาง สุญญตารมณ์
    อารมณ์ปกติของผู้ทรงฌานอภิญญา
    เพราะอาศัยสมาธิ อาศัยสติ ควบคุมจิต ไม่ให้จิตไปรับในธรรมารมณ์ใดๆ จิตจึงอาศัยอยู่ด้วยความว่าง และวางธรรมารมณ์ทั้งหลายลง เหลือเพียง เอกคตารมณ์

    วางแล้วจึงว่าง อนัตตารมณ์
    อารมณ์ปกติของผู้เจริญวิปัสสนาญาณ
    เพราะอาศัยสมาธิ อาศัยสติ ตามดูตามรู้สภาวะของจิต จนเกิดปัญญาตามความจริง และเกิดการยอมรับในความจริงในกฏไตรลักษณ์ ที่ปรากฏ จึงเกิดการไม่ยึดมั่นถือมั่น ใดๆจิตจึงวางธรรมารมณ์ทั้งหลายลง จิตจึงอาศัยอยู่ด้วยความว่าง เหลือเพียง เอกคตารมณ์

    ว่างแล้วจึงวาง อนัตตารมณ์ที่สมบูรณ์แบบคือสุญญตารมณ์
    อารมณ์ปกติของพระอรหันต์
    เพราะอาศัยสมาธิ อาศัยมหาสติ มหาปัญญาตามความจริงอย่างยิ่งยวด เกิดพร้อมประกอบอยู่กับจิตเป็นปกติวิสัย ทั้งหลายลง จิตจึงอาศัยอยู่ด้วยความว่าง มีอารมณ์วางรูปนามทั้งหมดที่กระทบทันที[สัพเพสังขาราอนัตตาติ ] เพราะมหาปัญญาเกิดต่อเนื่องรวดเร็วเพราะกระทำเป็นปกติจิตวางหมดสิ้นทุกอย่าง แม้ความรู้ในธรรมทั้งปวงที่ตนมีก็วางลงเช่นกัน [สัพเพธรรมาอนัตตา] เหลือเพียง เอกคตารมณ์

    วาระสุดท้าย ขอกล่าวเสริมอีกว่า
    วางแล้วจึงกลับมาว่างอีกครั้งเป็นวาระสุดท้าย กลับสู่สามัญ ข้อนี้ขอกล่าวว่า
    เพราะปฏิเวธ ให้ผล ด้วยผลแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยมหาสติ มหาปัญญา เป็นปกติวิสัยแล้ว ด้วยเพราะจิต วางธรรมารมณ์ทั้งหลายโดยปกติวิสัยแล้ว เมื่อวางทุกอย่างหมดแล้ว ด้วยผลแห่งการทรงสภาวะจิตเช่นนี้ ผลคือปฏิเวธที่ปรากฏแก่จิตพระอรหันต์ [อรหันตะอรหัตตะปฏิผละ ธาตุ สัมมาธิญาณะสัมปันโน] คือความว่าง ดั่งพุทธพุทธวัจนะ ที่กล่าวว่า
    นิพพานัง ปรมัง สุญญัง หมายความว่า พระนิพพาน คือความว่างอย่างยิ่ง
    ครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2013
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คนช่างถาม
    แต่ไม่ยอมลงมือปฎิบัติสักที แล้วมันจะรู้ความจริงที่ตนอยากรู้กันไหม

    เพราะด้วยเหตุผลนี้เอง ผู้เขียนพยายามสื่อให้พวกเราปฎิบัติมากๆ ส่องจิตตนเองมากๆ
    เพราะถ้ายิ่งผู้ปฎิบัติเอาแต่อ่านตำรา ติดตำรา ติดตัวรู้ทางโลกไม่รู้ตัว
    ความรู้ทางโลกนี้แหล่ะ จะทำให้ผู้ปฎิบัติไม่ค่อยเจริญก้าวกน้าเท่าที่ควร
    เพราะฉะนั้นให้อ่าน เอาปริยัติเบาๆเพราะในขณะที่อ่านอย่างมากก็แค่สัญญา นานไปเดี๋ยวลืมหมด
    เพราะเราเอาสมองไปเรียนแทนจิตกันเสียแล้ว แต่อยากให้อ่านเฉพาะหรือทำความเข้าใจ
    เฉพาะเจริญสติภาวนา นำจิตเดินมรรคถูกต้องทำอย่างไร เอาเฉพาะสมถกรรมฐานให้ชำนาญก่อน
    แต่ถ้าเราเข้าถึงสมถสมาธิหรือทำจิตให้นิ่งเป็นสมาธิหรือทำจิตตนละเอียดกันแล้ว
    ไม่ว่าเราจะอ่านธรรมอะไร เราก็จะเข้าใจทันที แต่ถ้าจิตคนที่ไม่นิ่งไม่เป็นสมาธิหรือจิตค่อยละเอียด
    อ่านไปเห่อ อ่านให้ตาย เหมือลมพัดผ่านหู หรือเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา อ่านไปงั้นๆแหล่ะ
    พอจะเข้าใจกันแล้วนะ ยิ่งเรามาอ่านธรรมขั้นสูงมาก เช่น อารมณ์พระอรหันต์
    ถามว่าบางท่านพระโสดาบันยังไม่ได้เลย นับประสาอะไรอารมณ์พระอรหันต์หรือนิพพานก็เช่นกัน
    อ่านหนุกหนาน อ่านแบบเอามันส์ อ่านเล่นๆ อ่านเพราะอยากรู้แค่นั้นมันไม่มีประโยชน์
    เพราะเราทำไม่ได้แบบเขา
    ผมถึงขอร้องครูที่กำลังสอนจิตเกาะพระ อย่าตามใจผู้ปฎิบัติ แต่ถ้าไม่มีความศรัทธาในตัวผู้สอน
    ขอบอกตรงนี้ว่า สำเร็จยาก และอย่านำความสงสัยก่อนปฎิบัติ ให้ปฎิบัตินำความสงสัยตนเอง
    ไม่ต้องถามมาก ทำไปก่อน ถามได้ ไม่ใช่ไม่ให้ถาม ถามตอนหลังปฎิบัติว่าเราติดขัดอะไรตรงไหน
    เดี๋ยวครูจะทำหน้าที่เอง และครูก็อย่าไปตามใจคนถามมาก ลูกอีช่างถามก็มีเยอะ

    จิตเกาะพระมีไว้เพื่อให้ปฎิบัติ มิใช่มีเพื่อเกิดมาคุยหรือถามนำหน้ามาก่อนเลย
    จะไปถามทำไมสิ่งที่ตนยังไม่ลงมือปฎิบัติ หรือยังปฎิบัติไม่ถึง เหมือนลูกศิษย์หลวงพ่อเล็ก
    ถามว่า..อารมณ์พระโสดาบันมันเป็นยังไงหลวงพ่อฯ หลวงพ่อท่านก็ตอบแสบเลย
    ท่านตอบว่า..ก็ลองมาเป็นพระโสดาบันกันดูบ้างสิ จะได้รู้ เห็นไหม พวกที่ชอบถาม ระวังให้ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...