จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...คนครวญครางว่าเหงา...เพราะ ความจะเอา...

    ...เอาตน เอาคน เอาวัตถุ...เอาความรู้สึกที่ตน ปรารถนา...

    ...เคยได้สุข รู้ไหมสิ่งที่ครวญคราง...เอานั้น เคยได้สุข...

    ...แต่หารู้ไม่ สิ่งที่ครวญคราง เอาตน เอาคน...เอาวัตถุนั้น ล้วนแต่เอาทุกข์ทั้งนั้น...

    ...พระธรรมคำสอนของหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค.สาธุ สาธ สาธุ.

     
  2. Kim_UoonSo

    Kim_UoonSo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +5,937








    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2013
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อย่าท้อนะ..คนดี!
    บททดสอบจิตของผู้ปฎิบัติจะพบมากหรือเกิดมาก
    โดยเฉพาะผู้ที่ปรารถนาพระนิพพานชาตินี้

    ขอให้พวกเราอดทน อดกลั้นกับสิ่งที่กำลังกระทบจิต อย่าไปสนใจอย่างอื่นเลย ให้มีสติอยู่กับจิตเพียงอย่างเดียว เพราะทุกข์มันแค่เกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไปเป็นธรรมดาอยู่อย่างนี้ เป็นเช่นนี้นี่เอง นักภาวนาก็รู้กันหมดแล้วมาบ่น/มาร้องเจี๊ยกกันทำไม
    จิตใครไม่นิ่งไม่เป็นสมาธิ ย่อมจะไหลไปตามหรือหลงไปตามกับสิ่งที่กระทบจิตหรือที่ตนกำลังเผชิญ แต่ถ้าจิตใครนิ่งเป็นสมาธิแถมมีปัญญา ก็ย่อมไม่ไหลตามหรือหลงตามสิ่งที่กำลังกระทบจิตหรือกำลังเผชิญ เพราะจิตที่มีตัวรู้(ปัญญา)แล้ว ย่อมไม่ไหลตามหรือวิ่งตามกระแสที่กำลังมากระทบ เมื่อจิตเรารู้แล้วเข้าใจแล้ว
    เดี๋ยวจิตเราก็จะปล่อยวางด้วยปัญญาเอง เราแทบไม่ต้องไปทำอะไรให้มากความ เราแค่ทำสติคอยป้อนให้จิตเท่านั้นเอง
    กำลังใจนักภาวนานั้นสำคัญยิ่ง ตายเป็นตาย กลัวกันทำไม เลิกกลัวตายได้ก็มีสิทธิ์ไปพระนิพพานได้ เพราะทุกท่านย่อมรู้กันดีอยู่แล้วว่า ทุกคนเกิดมาต้องตายแน่และตายแน่นอน แต่จะตายเมื่อไหร่ ตายอย่างไรก็อย่าไปสนใจ เพราะตายแหง๋ๆ เพราะฉะนั้นผู้ประมาทก็คือผู้ที่ลืมลมหายใจตนเอง ลืมจิตเผลอสติตนเอง ไม่ยอมรักษาศีลหยาบไม่ทำภาวนา ไม่ฝึกตายก่อนตายจริงๆ แล้วเมื่อเราตายไปจริงๆแล้วให้ลองนั่งหลับตากันดูเล่นๆว่าเป็นเช่นไร ขนาดเรามีอายตนะทั้ง6 มันยังหลงกันได้ขนาดนี้ นับประสาอะไรถ้าตายไปจริงๆละก้อหนุกหนานแน่ๆ สำหรับผู้ที่ไม่ฝึกตายก่อนตายจริงๆละก้อ คอยสังเกตดูให้ดีๆกันนะว่า สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกจิต ไม่เคยกำหนดจิตตนเองไปสวรรค์ ไปพรหมหรือไปพระนิพพานกันเลย ย่อมไปไม่ถูกแน่ๆ ขนาดมีตาก็ยังพร่ามัว มัวแต่เหลวไหลหรือหลงไหลสิ่งสมมุติกัน เช่น อินเทอร์เน็ต มือถือ เป็นต้น ตื่นเช้ามาก็หลงตามหามือถือกันแล้ว แต่ถ้าวันไหนไม่ได้ถือสงสัยลงแดงแน่ๆ แทนที่จะเอาเวลาเอาสติไปตามหาจิตไปดูจิต แต่กลับไม่สนใจ ไม่สงสัยกันเลยนะว่า วันๆนึงเรา(จิต)มันอยู่แต่สิ่งเหล่านี้(สมมุติ)กันเสียมาก เวลาตายไปจิตเราจะไปไหนได้ไกลกันเล่า เพราะวันๆนึงพวกคุณมัวหลงไปใช้พลังจิตกันมาก ผิดกับพระอรหันต์แต่ถ้ายังไม่ละสังขาร ท่านเตรียมจิตไปพักคือไปชาร์ตพลังจิตโดยการเข้าฌานสมาธิบัติ หรือหนักกว่านี้ก็หนีญาติโยมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ(การเข้านิโรธหรือดับสัญญาและดับเวทนา) จิตอรหันต์ท่านนิ่งมาก มีปัญญาเพรียบพร้อม(มหาสติ/มหาสมาธิ/มหาปัญญา) มีบุญบารมีมาก มีพลังจิตมาก มีคำพูดศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะไม่มีนิวรณ์๕หรือกิเลสต่างๆมารบกวนจิต ต่างกับจิตปุถุชนหรือคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆลิบลับ เพราะจิตที่ต่างกันนี้เอง แต่ยังมีขันธ์๕เหมือนกับเราๆท่านๆทุกประการเลย
    เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ท่านผ่านหนาวผ่านร้อนผ่านความเป็นความตายกันมาทั้งหมดแล้ว ผียังเรียกพี่ เทวดาหรือพรหมก็ยังต้องมากราบไหว้ เพราะฉะนั้นแล้วการที่เรามีกายหยาบก็ดีเหมือนกัน โดยเฉพาะผู้ที่นำไปปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ เพราะเป็นคุณอย่างมหาศาล ขอให้นึกถึงดอกบัว กว่าจะเป็นบัวที่โผล่พ้นน้ำมาอย่างสวยสดงดงามที่เราเห็นกัน ที่แท้นั้นลองตามไปดูกันสิว่า ดอกบัวที่สวยสดงดงามนี้มาจากที่ใด ที่แท้ก็มาจากต้นบัวที่เกิดจากโคลนตม เฉกเช่นจิตพระอรหันต์ที่เกิดจากกายหยาบที่ภายในสกปรกเหมือนกันหมดทั้งสิ้น นั่นเอง สรุปแล้ว พระอรหันต์กับคนธรรมดาสามัญชน แตกกันแค่ภายในนั่นก็คือ จิต นอกนั้นเหมือนกันหมด เผลอๆกายหยาบบางส่วนอาจจะกลายเป็นพระธาตุก่อนจะละสังขารก็มีถมไป สำหรับพระอรหันต์ที่มีจิตบรสุทธิ์มากๆและนานๆวัน เพราะท่านฝึกจิตอย่างเดียวให้ออกมาจากธาตุขันธ์๕เท่านั้นเอง มิใช่ฝึกสติฝึกจิตเพื่อให้แยกกับสิ่งอื่นใดเลย วันๆนึงท่านอยู่แต่จิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง จิตจึงมีบุญบารมีมาก มีจิตดุจแสงปัญญาในตัวมาก เวลาตายไปท่านได้กำหนดจิตของตนไปตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวี่ทุกวันแล้ว

    ทำให้เราหวนกลับนึกถึง ระลึกถึงพระอริยสัจ๔ ของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้มาให้พวกเราลองพิสูจน์กันว่ามันเป็นจริงไหม พระภิกษุที่ได้จิตอรหันต์ท่านก็ปฎิบัติตามพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น มิใช่ได้อรหันต์เพราะโชคช่วยหรือจับเบอร์ได้ ได้จากธรรมปฎิบัติทั้งนั้น ฝีมือล้วนๆเลย เหล่านักภาวนาที่เน้นบวชจิตก็เช่นกัน อย่าไปสนใจภายนอกจิตเพราะเป็นแค่เปลือกกับพระพี้เท่านั้น ต่อไปนี้ขอให้นักภาวนาควรทำความรู้จักอริยสัจให้มาก แล้วนำจิตมาเดินตามรอยอริยมรรค(ศีลสมาธิปัญญา)นี้เท่านั้น จึงจะทำให้เราเป็นอริยบุคคลได้ ฆราวาสในอดีตเป็นอรหันต์ก็มีมาก แต่นานๆจะเห็นท่านึง เพราะคนมัวไปจ้องบวชเรียนกัน ท่องตำราจนหัวงอกมันไม่มีทางบรรลุธรรมได้ เพราะเราเอาสมองไปเรียนแทนจิตตนเองเสียแล้ว อย่าลืมจิตเท่านั้นเป็นผู้ปล่อยวาง จิตเท่านั้นที่จะไปสวรรค์ พรหมหรือพระนิพพาน พวกเราอย่าไปหลงรูปหรือหลงกายหยาบกันมากนัก แค่ดูแลเมื่อถึงเวลานอนก็ต้องนอน ถึงเวลาทานก็ต้องทาน ถึงเวลาชำระล้างร่างกายยต้องชำระล้างให้เขา นักภาวนาควรแยกหน้าที่ให้เด็ดขาด คือร่างกายปล่อยให้เขาทำหน้าที่ทางโลกเขาไป แต่นำจิตไปตั้งอยู่แต่ฝ่ายบุญหรือฝ่ายกุศลเท่านั้นเป็นพอ แยกแยะให้เด็ดขาด เพราะฉะนั้นนักภาวนาที่บอกว่าตนเองไม่มีเวลาๆนั้น นั่นแสดงว่าไม่รู้จริง เพราะการปฎิบัติธรรมหรือทำภาวนา เขาทำกันภายในจิต บางคนมัวไปยุ่งกับภายนอกจิตซะเยอะ ดูรุงรังไปหมด ได้แต่ภายนอก แต่จิตไม่ได้คือมองไม่เห็น ทำแล้วไม่เกิดบุญก็คือไม่สบายใจ อะไรก็ช่างเมื่อทำไปแล้วไม่สบายใจ นั่นแสดงว่าเราทำบุญผิดวิธีแล้ว
    (พอแร๊ะ ขอพร่ำเท่านี้ก่อน)

    ตัวทุกข์(ตามอริยสัจ๔)ต้อง(รีบ)เรียนรู้ สมุทัยต้องละ นิโรธทำให้แจ้ง มรรคต้องเจริญให้ยิ่งๆขึ้นไป
    นักภาวนาทุกท่านย่อมรู้เป็นอย่างดีว่าจิตที่มีสิทธิ์ไปพระนิพพานนั้นเป็นเช่นไร


    สรุปแล้วจิตเราต้องละขันธ์๕เด็ดขาด หรือละทั้งรูปทั้งนามหรือสิ่งสมมุติทั้งปวงให้หมด หรือแค่แยกจิตออกมาจากขันธ์๕เท่านั้นเอง เห่อๆ พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ก็เป็นจริงตามนั้น มิได้เถียง แต่จะยากเฉพาะผู้ที่ยังมิได้ลงมือปฎิบัติหรือว่าปฎิบัติแล้ว แต่ยังละ/ตัดไม่ได้เด็ดขาดเท่านั้นเอง เพราะอย่าลืมกันนะว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ละ-ปล่อย-วางนั้นก็คือจิต มิใช่เราหรือสติเรา เพราะฉะนั้น ขอให้ผู้ที่ปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้น จะกลับไปดูจิต สนใจจิตตนเองให้มาก อย่าไปเหลวไหลหรือหลงใหลคนอื่นหรือสิ่งอื่นๆ เพราะมิใช่ของจริง แต่เป็นของปลอมหรือมายาเท่านั้น
    ขอให้นักปฎิบัติคอยถามตนบ่อยๆ พยายามมีสติหรือทำความรู้สึกตัวอยู่บ่อยๆ เดี๋ยวปัญญาหรือตัวรู้จะเกิดตามมานั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2013
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มีการสนทนาซักถามโต้ตอบระหว่างผู้มาปฏิบัติธรรมกับ หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ
    ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ส่งผลได้อย่างรวด
    เร็ว ชนิดที่เรียกได้ว่า “ ชั่วอึดใจเดียว ”

    ดังมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

    ปุจฉา : ความสงบที่หลวงพ่อพูดถึงคืออะไรครับ ?
    วิสัชนา : ความที่เราสนใจกันนั้น โดยมากคนไปทำมันขึ้นมาให้สงบ ส่วนคำว่า
    สงบในพุทธศาสนาคือการจบเรื่องกัน หยุดแสวงหา ไม่ศึกษาอะไรที่ไหนอีกแล้ว

    ปุจฉา : หมายถึงปล่อยวางใช่ไหมครับ?
    วิสัชนา : จะหมายถึงปล่อยวางก็ได้ คำพูดมันเป็นเพียงการสมมุติ
    คือเรื่องมันจบกัน คือหมดการศึกษาอะไรต่อไปอีก หยุดการเดินหน้า
    หยุดการถอยหลัง หยุดการไป การมา ทั้งหมด
    แต่คนเรามักจะพยายามไปสร้างความสงบให้เกิดขึ้น
    โดยเข้าใจว่าต้องนั่งเอามือประสานกันที่หน้าตักแล้วหลับตาลงจึงจะสงบ
    นั่นไม่ใช่ความสงบ นั่นเราไปสร้างมันขึ้นมา ความสงบมันมีอยู่แล้ว
    อย่างคนเรานั่งอยู่เดี๋ยวนี้ นี่ก็เรียกว่าสงบได้ ไม่คิดอะไรใช่ไหม คือเฉย
    ๆ อยู่ ลักษณะนี้แหละสงบ ใครพูดอะไรก็ต้องได้ยินและรู้เรื่อง ตามองก็เห็น
    นี่ก็เรียกว่าสงบ ไม่ต้องไปทำอะไร แต่จะหลับตาก็ได้ไม่หลับตาก็ได้
    ไม่ได้ห้าม หน้าที่ของตาคือสามารถมองเห็น
    เราก็ให้มันทำตามหน้าที่ของมันเท่านั้นเอง อย่าไปฝืนมัน
    ถ้าไปฝืนธรรมชาติของมัน มันก็ไม่สงบ

    ปุจฉา : ผมพยายามทำใจให้ปล่อยวางให้สงบ
    วิสัชนา : นั่นแหละมันไม่เข้าใจ อันความพยายามทำความปล่อยวางนั่นแหละ
    เราไปจับมันเข้าไว้แล้ว เราไม่รู้ความคิดแล้ว เราไปคิดมันขึ้นมาว่า
    “จะปล่อยวาง” มันจึงเป็นสองเรื่องแล้ว มันเป็นความคิดสองชั้นแล้วนั่นน่ะ
    มันไม่รู้จักวิธีปล่อยวาง มันทุกข์นะ เมื่อเราไปคิดพยายามปล่อยวางมัน
    มันเป็นสองทุกข์เข้าไปแล้ว หนึ่งมันคิดไปตามเรื่องของมัน
    สองเราพยายามปล่อยวางมัน เป็นสองทุกข์เข้าแล้วนะ ไม่ใช่ให้เราพยายามมัน
    ที่เราไปพยายามนั่นแหละ เราไปทำให้มันทุกข์แล้ว

    ปุจฉา : แล้วจะทำอย่างไรครับ ?
    วิสัชนา : เราเพียงรู้ ไม่คิด คือพอดีเราคิดขึ้นมา เราปล่อยทันที
    มาทำความรู้สึกตัว กำมือเข้ามา แบมือออกไปก็ได้
    แล้วเราจะได้รู้สถานที่ที่ตรงนั้นเองที่พระพุทธเจ้าท่านสอนเอาไว้ว่า
    ทุกข์ให้กำหนดรู้ สมุทัยต้องละ นิโรธทำให้แจ้ง มรรคต้องเจริญ
    แต่นี่เราไม่รู้ตัว พอมันคิดแล้วเราก็ไปคิดอีก มันก็เลยเป็นสองชั้น
     
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เคยเล่าเรื่องหลวงปู่บุดดา ถาวโร
    แล้วมีเสียงดังจากห้องข้างเคียง ทำให้ลูกศิษย์รำคาญ หงุดหงิด เพราะรบกวนหลวงพ่อที่กำลังจำวัด ลูกศิษย์จึงบ่นออกมาว่า เดินเสียงดังจัง หลวงพ่อแม้จะหลับแต่ก็ได้ยิน จึงพูดเบาๆว่า...

    “เขาเดินของเขาอยู่ดีๆ เราเอาหูไปรองเกี๊ยะเขาเอง”​

    เราเอาหูไปรองเกี๊ยะเขาเพราะอะไรเพราะเราไม่มีสติ เมื่อเสียงเกี๊ยะมากระทบหู เราไม่ได้ทุกข์ทันที มันต้องมีความหลงลืมเกิดขึ้นก่อน ความทุกข์ถึงจะเดินไปถึงใจได้ แต่ถ้าเรามีสติ ก็เหมือนกับเรากำลังชักสะพานออก เหมือนกับว่าข้อตรงกลางมันหลุด เสียงที่มากระทบก็ไม่สามารถกระเทือนไปถึงใจได้ เมื่อสะพานถูกชักออกแล้ว มันก็ไม่สามารถเข้ามาถึงใจได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • budha.jpg
      budha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.7 KB
      เปิดดู:
      34
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2013
  6. Kim_UoonSo

    Kim_UoonSo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +5,937
    [​IMG]



    สวัสดี...ดึกๆ เมืองไทย
    ท้องฟ้าสดใส ชาวยุโรป (กลางวันแร๊ะ)

    แวะมาเสิร์ฟ โกโก้ร้อน กับนมอุ่นๆ ให้ทุกท่านได้ดื่มกันค่ะ
    ขอให้ทุกท่านสุขกาย สบายจิตกันนะคะ

    หมูไปนอนล่ะ พี่ภู, พี่แนท ... ราตรีสวัสดิ์ค่ะ คิคิ




    [​IMG]

    [​IMG]
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อยู่ก็เ็จ็บ! จบก็เหงา!

    ไม่อยากเจ็บ(อกหักหรือไม่ได้ดั่งใจ)
    ไม่อยากจบ(ไม่อยากตายหรือพลัดพรากจากคนที่เรารัก) เป็นต้น


    เพราะฉะนั้น พอจะมีทางรอดอยู่ทางเดียว นั่นก็คือ หันหน้าเข้าธรรม หรือหันหน้าเข้าหาความจริง
    เราจะเข้าใจชีวิตนี้เกิดมาทำไม เกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาเพื่อใคร เกิดมาแล้วจะเกิดอีกไหมหน๋อ เป็นต้น
    เราจะหาคำตอบ หรือคลายความสงสัยของตนเองได้ ก็ต่อเมื่อหลังจากเราปฎิบัติไปได้สักพักหนึ่ง
    แล้วเกิดพบเจอจิต/ดวงจิตตนเอง แล้วต่อมาไม่นานนัก เราก็จะพบธรรมภายในจิตตนเอง
    นั่นแหล่ะ จะเป็นคำตอบสุดท้าย และเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับตัวของเราเองด้วย
    ในเมื่อเราสามารถตอบตนเองได้ เราก็ต้องตอบผู้อื่นได้ด้วย
    ในเมื่อเราเข้าใจตนเอง เราก็ต้องเข้าใจผู้อื่นได้ด้วย
    แต่ถ้าเรายังไม่เข้าใจตนเอง เราย่อมไม่เข้าใจผู้อื่นไปด้วย
    เพราะความจริงของเรา ก็คือ ความจริงของผู้อื่นด้วยเช่นกัน

    เราจะเข้าใจธรรมของเราเอง แต่ผู้อื่นไม่เข้าใจธรรมะของเรา
    แต่ถ้าเราไม่มีธรรมะเป็นของตน เราก็ไม่เข้าใจธรรมะของผู้อื่นด้วยเช่นกัน
    เพราะตราบใดธรรมะยังไม่เกิดที่จิตของผู้นั้น
    มนุษย์ในโลกนี้ถึงได้พากันวุ่นวาย เบียดเบียนกัน เดือดร้อน เป็นทุกข์แสนสาหัสกันไปทั่วหล้า

    สรุปว่า..เพียงแค่คนเราไม่มีศีล ไม่มีธรรมกันนี่เอง


    ปล.ขอบใจมากลูกหว้า

    อย่าท้อนะคนดี
    http://musicblog.gmember.com/2012/07/13/4324
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2013
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ขออนุโมทนาในธรรมทาน ของท่านพ่อภูและทุกๆท่านด้วยครับ สาธุครับ
     
  9. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    วันนี้ขอกล่าวถึงคำว่า ปริยัติธรรม คือธรรมอันหมายถึงการศึกษารู้แจ้งในพระไตรปิฏก อันประกอบด้วย
    พระวินัยปิฏก
    พระสุตันตปิฏก
    พระอภิธรรมปิฏก

    เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อปูเป็นรากฐานก่อนการปฏิบัติ อนึ่งกระผมของกล่าวอุปมาว่า

    พระวินัยปิฏก อุปมาดั่งกำแพงแก้วปราการด่านป้องกันอกุศลบาบ
    พระสุตันตปิฏก อุปมาดั่งพฤษชาติดารดาษสร้างศรัทธาน่าพิศมัย
    พระอภิธรรมปิฏก อุปมาดั่งมณีแก้วรัตนาก่อเกิดปัญญาสว่างกระจ่างหฤทัย
    รวมเป็นพระไตรปิฏกธรรม เลิศล้ำคุณ สุดพรรณา

    สาธุครับ





     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับธรรมาทานด้วยครับน้องก้องกังวานทั้งสามโลกธาตุ
    แหม๊ๆ ใจตรงกันเลยนะ ดั่งใจพี่ภูนึกคิดเลย พอเปิดมาเจอพอดีเลย
    เหมือนบอกให้เธอเขียนอย่างนั้นแหล่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2013
  11. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สวัสดีค่ะ ห่างหายไปนาน วันนี้ได้ฤกษ์นำการบ้านลูกศิษย์ขึ้นกระทู้ เพื่อเป็นธรรมทานให้ทุกท่านได้โมทนาบุญกันค่ะ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่แอบอ่าน หรือ แอบฝึกอยู่ ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ...สาธุ (ขอบอกว่าลูกศิษย์ท่านนี้หมั่นเพียรเกาะพรมาตั้งกะปลายปีที่แล้วโน้นนนแหล่ะจร้า..แต่ขออุบไว้..ไม่บอกว่าเป็นเดือนไหนน่ะจ๊ะ...ท่านเกาะพระ ติดๆ ดับๆ มาตลอด...ไม่ซิ..ต้องบอกว่า ไม่ติดเลย..แต่ท่านก็สู้มาตลอด..แล้วในที่สุดก็มีวันนี้จนได้..เพิ่งมาติดนี้แหล่ะ...555...ตอนนี้จิตท่านกำลังเข้าโหมดวิปัสสนาอยู่ค่ะ..สาธุ):cool::cool::cool:

    สวัสดีครับครูทุกท่านครับ
    ส่งการบ้านครับ
    - วันนี้ตอนเช้าตื่นนอนก็นึกเห็นภาพพระได้เลย มีสติคงที่ ใจกลาง ๆ มีสตินึกรู้ทั่วกายว่ากายทำอะไร ใจเป็นยังไง และพิจารณาความทุกข์ของร่างกาย พร้อมกับนึกเห็นภาพพระ อารมณ์มันเบา ๆ เย็น ๆ ครับ มีสติใด้ไม่หลุดเลย
    - ขับรถมาทำงาน ก็ฟังธรรมะมาด้วยครับ นึกเห็นภาพพระไปเนื่องๆ เรื่อย ๆ มีสติกับการขับรถ หลุดแต่น้อยมาก ๆ ครับ ส่วนใหญ่นึกเห็นพระได้เป็นเส้นตรงครับ จนไปส่งลูกเข้าโรงเรียน ระหว่างเดินลงจากรถก็ หลุดหน่อย มีสติกลับมาหาพระบ้าง แล้วก็ขับไปทำงานก็นึกเห็นพระได้ดีครับแทบเป็นเส้นตรงครับ
    - ถึงที่ทำงานวันนี้ก็ทำไปเรื่อยๆ ครับ ทำไปก็รู้ว่าทำงาน นึกเห็นภาพพระไปชิวๆ ครับ ช้าๆ เน้นสมาธิ อารมณ์ไจไม่ขุ่น หลุดน้อย...วันนี้นั่งทำงานไปแว็ปออกจากโต๊ะ (วันนี้ประมาณ 3-4 รอบ) มาฝึกจิตเกาะพระ พิจารณา อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา คิดว่าร่างกายเป็นกองทุกข์ ตั้งแต่หัวจรดเท้า ใบหน้า ผิวพรรณ มันต้องเสื่อมสบายไปในที่สุด + นึกภาพพระ ช่วงละประมาณ 10 นาที แล้วก็แผ่เมตตา พอใจสบายก็กลับมานั่งทำงานใหม่ ระหว่างนั่งทำงานก็มีสติรู้ว่าทำงานไป + เกาะพระไป
    - ตอนเที่ยงไปทานข้าว ช่วงนี้ก็ทานไปคุยไป พิจารณาอาหาร (ก๋วยเตี๋ยว) ว่าเรากินเพื่อแค่บรรเทาความหิว เืพื่อให้ร่างกายอยู่รอดในการสร้างสมความดี ก่อนทานก็รู้ว่าท้องมันเหมือนมีกรดความหิวของกาย พอทานเข้าไปก็ค่อย ๆ บรรเทา จนรู้สึกว่าเราเติมมันเต็มแล้ว แล้วก็นึกภาพพระไปด้วย ยังมีหลุดอยู่เป็นบางช่วงครับ
    -ช่วงบ่ายก็ทำงานไป คล้าย ๆ กับตอนเช้า ทำงานไปสักพักก็ลุกไปพิจารณาความทุกข์ของกาย + นึกเห็นพระ มีสติรู้ทั่วกาย ว่าทำอะไร ก่อนจะเข้าห้องน้ำ (ปวดเบา) ก็พิจารณาถึงความทุกข์ของมัน เพราะเรากินน้ำเข้าไป มันก็ไหลออกมา ถ้าอั้นไว้ก็เกิดทุกขเวทนาของกาย ต้องวางออก ปล่อยออก ใจรู้สึกว่า สบาย ๆ คับ...ยังมีหลุดอยู่เป็นบางช่วงครับ
    - 4 โมงเย็น (เดินพบประชาชนเข้าทุกหลังคาเรือน โครงการเดินตามรอยพ่อ "สำรวจเศรษฐกิจพอเพียง" ไปกันเป็นกลุ่ม) แรก ๆ ก็ทำได้ดีครับ แทบไม่หลุด ช่วงหลัง ๆ หลุดยาวบ้างสั้นบ้างครับ
    - ขับรถกลับบ้าน ก็ไม่หลุดเลย ฟังธรรมะไป นึกเห็นพระะไป มีสติรู้ทั่วกาย รู้สึกถึงกายที่มันเป็นทุกข์ ปวดเท้าบ้าง ขาบ้าง อารมณ์ใจสบายๆ ครับ
    - กลับถึงบ้าน เจอลูก ๆ ส่วนใหญ่จะมีสติเกาะพระได้เรื่อย ๆ ครับ ตัวเล็ก 1 ขวบกว่า ๆ ซนมาก ต้องคอยแทคแคร์ไปมีสติรู้ไปทั่วกายว่ากายทำอะไร ทุกข์ยังไง ใจสบายครับ ใจดี เรื่อย ๆ กลาง ๆ มีหลุดบางช่วงเล็กน้อย ช่วงอาบน้ำก็นึกเห็นพระไปด้วยมีสติในการพิจารณากายต่อเลย ว่านี่แปลงฟันอีกแล้วนะ ต้องทำความสะอาดมัน แล้วรู้สึกว่ากายมันทุกข์ เหนียวตัวบ้าง ร้อนบ้าง ส่วนใจก็สบาย ๆ พิจารณาไป+ เกาะพระไปจนอาบน้ำเสร็จ แล้วมาดูลูก ๆ ต่อ แล้วฝึกสติต่อเลย การคุยพูดจา มีประโยชน์กว่าเดิม วันนี้การปฏิบัติเน้นคุณภาพ ช้า ๆ ไปเรื่อยๆ วันนี้เลยไม่ได้เข้าห้องพระเลย ก็เลยสวดมนต์ตรงที่นอน+นึกเห็นพระ สวดเสร็จก็นึกเห็นพระมีสติในการดูแลลูก นานไปยัน สี่ทุ่มครึ่งลูกสาวคนเล็กค่อยนอน....แล้วมาส่งการบ้านครับ

    กฤตย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 พฤษภาคม 2013
  12. ปริณภูมิ

    ปริณภูมิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +53
    การเพิกถอนอารมณ์กรรมฐานและการเพิกถอนรูปนิมิต

    อยากทราบว่า

    การเพิกถอนอารมณ์กรรมฐานและการเพิกถอนรูปนิมิต
    ต้องกระทำเช่นใดบ้าง ในองค์ความรู้อย่างหลากหลายที่มา
    เพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้แห่งนิมิต ทั้งนิมิตรูปธรรมและนิมิตนามธรรม
    จากที่มาและที่ไปอันแตกต่างกัน รวมทั้งการไปถึงจุดร่วมที่เปรียบเสมือนที่เดียวกันแต่มีความเหลื่อมซ้อนกันอย่างชัดเจน

    ด้วยความเคารพอย่างสูง
    ปริณภูมิ
     
  13. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ณ. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไกล้เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อท่าน

    ปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ องค์ เป็นครั้งแรก หลังจากได้ทรงพิจารณาว่าจะโปรดผู้ใด

    ก่อนในการบรรลุธรรม ทำให้บังเกิดพระรัตนตรัย ครบสามองค์ ณ ที่นี้ อันเป็นวัน

    อาสาฬหบูชา...ท่านปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ มีใจอ่อนน้อมรับฟังคำสอนจากพระโอษฐ์

    ดังนี้ องค์สมเด็จพระพุทธบิดา ทรงตรัสถามท่านปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ว่า.....

    "รูป เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง ?" ท่านปัญจวัคคีย์ หลังจากบำเพ็ญเพียรมานาน...

    กลางป่า...อดอาหารด้วยได้รู้เห็นความจริงในรูปแล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า...

    "ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า" สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือว่าเป็นสุข?"

    "เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า" สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน ดับไป

    เป็นธรรมดา บังคับบัญชาไม่ได้...ควรหรือที่เธอจะเข้าใจว่า รูปนี้เป็นตัวตน?"

    "ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า" "เวทนา ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือ เฉย ๆ...

    ...เที่ยงหรือไม่เที่ยง? "ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า" "สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    หรือว่าเป็นสุข?" "เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า " เมื่อรู้แล้วว่า เวทนา ไม่เที่ยง

    เป็นทุกข์มีความแปรปรวน ดับไปเป็นธรรมดาบังคับบัญชาไม่ได้ ควรหรือที่เธอ

    จะเข้าใจว่าเวทนา เป็นตัวตน เป็นของตน?" "ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า"

    "วิญญาณ ประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?"

    "ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า" "สิ่งใดไม่เที่ยง "สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    หรือว่าเป็นสุข?" "เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า" "สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    มีความแปรปรวน ดับไปเป็นธรรมดา บังคับบัญชาไม่ได้ ควรหรือ ที่เธอจะ

    เข้าใจว่า วิญญาณ เป็นตัวตน เป็นของของตน" "ไม่ควร พระพุุทธเจ้าข้า"

    ...แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสรุปว่า...

    "ร่างกายนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์บังคับบัญชาไม่ได้ มิใชตัวตนผู้ใด

    ไม่มีใครเอาร่างนี้ไปได้ ไม่มีใดเป็นของของตน ถ้ารูปขันธ์ หรือขันธ์ทั้ง ๕ นี้

    ใช่ตัวตน ย่อมเที่ยง ย่อมสุข ย่อมไม่ดับสลายตายไป ความจริงเป็นอย่างนี้...

    ขอพวกเธอจงมองดูร่างกายนี้ตามความเป็นจริง...แล้วเธอจะปล่อยวางร่างกาย

    นี้ได้ทั้งหมด จะหลุดพ้นจากทุกข์ และเหตุแห่งทุกข์ในกองขันธ์ ๕ คืิอ ร่างกาย

    มนุษย์นี้ได้ จะบรรลุนิพพาน สิ้นภพ สิ้นชาติ สิ้นทุกข์ทั้งปวง"

    ...คัดจากหนังสือ สโรชา พ. ศ.๒๕๔๗...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2013
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับคำถาม เพราะมีประโยชน์มากสำหรับนักภาวนา นักปฎิบัติ
    ทำไมพ่อรูปหล่อไม่มาช่วยพ่อภูตอบหล่ะ..หรือรอจังหวะสองอยู่


    คำว่า "นิมิต" หมายถึงเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดสำหรับทำภาวนาหรือเจริญกรรมฐาน
    แต่สำหรับที่นี่ กระทู้นี้ คือการปฎิบัติบัติธรรมในแนว"จิตเกาะพระ" (ขออนุญาตเรียกตามนิมิต)
    จิตเกาะพระ มิใช่เป็นสิ่งใหม่/พบใหม่ แต่ก็อยู่ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง แต่จิตเกาะพระประกอบ
    พระพุทธานุสสติ+กสิณ ส่วนการเจริญสติภาวนาของจิตเกาะพระ ก็คือให้เรานึกถึง/ระลึกถึงพระ
    ตามที่เราเลือกมาปฎิบัติเพียงหนึ่งรูปเท่านั้น แต่ภายหลังถ้าจิตเขาจะเปลี่ยนรูป/ภาพพระ
    ก็ต้องเปลี่ยนไปตามที่จิตเขาเห็น เพราะไม่มีนักภาวนาท่านใด ไปฝืนจิตในขณะเจริญกรรมฐาน
    เพราะจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว สำหรับนักภาวนาที่เอาสตินำจิตหรือฝืน/บังคับจิตนั้น
    ขอให้แก้ไข/ปรับ/เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือนิสัยเสียใหม่ เพราะผิดแนวทางในการปฎิบัติธรรม
    ขอให้สังเกตดูให้ดีสำหรับผู้ที่ทำผิดหลักการ/แนวทางปฎิบัตินั้น ผลลัพธิ์ที่ได้นั้นก็คือ อึดอัดใจ
    ปวดหัว ไม่ค่อยสบายใจ มีอาการตรึงเครียด อะไรประมาณนี้ แต่ถ้าปฎิบัติถูกต้องหรือมาถูกทาง
    ขอให้ดูที่จิตใจเป็นหลัก ก็คือก่อน/ระหว่างปฎิบัติ/หลังการเจริญกรรมฐานเน้นจิตสบาย ไม่เครียด

    นิมิตเกิดขึ้นได้เฉพาะจิตของนักภาวนาหรือนักปฎิบัติ จิตที่มีสมาธิหรือฌานลึกและละเอียด
    นิมิตมีทั้งรูป-นามธรรม ได้แก่..
    รูปนิมิต เช่น เห็นรูปหรือภาพ แสง สีที่เกิดขึ้นภายในจิต(เห็นด้วยจิต/จิตเห็น)
    เสียงนิมิต เช่น ได้ยินเสียงสวดมนต์ขึ้นภายในจิต(ได้ยินด้วยจิต/จิตได้ยินเสียง)
    นามนิมิต เช่น ความคิดที่ผุดขึ้นภายในจิต
    ทั้งรูปนิมิตหรือนามนิมิตซึ่งเกิดมาจากสัญญาเก่า+กิเลสเดิมของจิตนักภาวนา/นักปฎิบัติเป็นหลัก
    เพราะฉะนั้น นิมิตจึงมิใช่เกิดจากปัญญา มิได้เกิดจากการพิจารณาธรรมอย่างแจ่มแจ้งแต่อย่างใด
    นิมิตเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มิใช่เป็นวิเศษ แต่จะเกิดในขณะที่จิตเป็นสมาธิลึกหรือฌานละเอียด
    แต่..แต่...นักภาวนาหรือผู้ปฎิบัติ จงอย่าได้ไปยึดติด/ยึดมั่นถือมั่น/หลงใหล
    สำหรับนักปฎิบัติที่ยังหลงไปยึดมั่นหรือหลงใหล ก็อาจปฎิบัติผิดแนวทาง
    เพราะการปฎิบัติธรรมที่ถูกต้องนั้น ก็เพื่อการหลุดพ้นหรือเพื่อการปล่อยวาง
    จิตที่ลื่นไหล/หลงตามไปดูนิมิตที่เกิดขึ้นภายในจิต ซึ่งเป็นปฎิปักษ์กับการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
    แต่นิมิตถือเป็นขนมหวาน/ของหวานสำหรับนักภาวนา/นักปฎิบัติใหม่ๆ(เท่านั้น)จะต้องสนใจทุกราย
    เพราะติดนิสัยเดิมที่ยังเป็นปุถุชน ครั้งจิตไม่นิ่งเป็นเหตุให้แสส่ายไปตามสิ่งที่คิด/ปรุงแต่ง
    +ความอยากรู้ อยากเห็นของตนที่เป็นเดิมอยู่แล้ว
    คำว่า "นิมิต" จึงไม่มีความหมายสำหรับนักภาวนาเก่าๆ เพราะหลงยึด/หลงตามดู/หลงตามชมมามาก
    ซึ่งเป็นเหตุทำให้ปฎิบัติกันผิดแนวทาง/หลงทาง/เดินทางอ้อมกันมามากต่อมากแล้ว
    นิมิตเป็นมายาเพื่อหลอกล่อให้นักภาวนาเฉพาะผู้ที่มีสติน้อย(เท่านั้น) มิให้จิตนักภาวนาก้าวหน้าเท่าที่ควร
    นิมิตเป็นมารมิให้ผู้ปฎิบัติเข้าถึงจิตเดิมแท้หรือเข้าความละเอียดแห่งจิต เปรียบเสมือนนิวรณ์๕
    ที่มารบกวนจิต มิให้นักภาวนามิให้เข้าถึงความดี มิให้จิตสงบเป็นสมาธิ มักเกิดก่อนสมาธิระดับอุปมาสมาธิ
    (เฉียดหรือก่อนเข้าเขตฌาน)

    นิมิตมีทั้งดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด จริงหรือปลอม แต่นิมิตที่ดี เช่น นิพพิทาญาณ ทำให้นักภาวนาเกิดปัญญา
    ส่วนนิมิตที่เป็นโทษอันเกิดมาจาก วิปัสสนุปกิเลส(อุปกิเลส๑๐) เกิดจากการสมถกรรมฐานอย่างเดียว
    มักทำให้นักปฎิบัติเข้าใจผิดว่าตนบรรลุธรรมแล้ว
    เมื่อเกิดนิมิตแล้ว จะพ้นนิมิตกันหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของผู้นั้น

    สำหรับการแก้ไข/เพิกถอนนิมิตนั้น ก็ทำได้ง่ายๆ ก็คือมีสติมากๆ โดยเฉพาะที่นิมิตกำลังปรากฎ
    หรือทำความรู้สึกตัวให้มาก(รู้ตัวอย่างเดียว) อย่างอื่นอย่าไปสนใจ ในขณะนิมิตเกิดนี้จะเป็นอารมณ์สมาธิ
    หรือฌานอยู่แล้ว จึงให้นักปฎิบัตินำปัญญาไปวิปัสสนาทันที อย่าหลงไปแช่สมถสมาธินานเกิน
    ถ้าเรายังไม่ชำนาญการทรงสมาธิหรือฌาน เพราะอีกไม่นานนักจิตจะถอนสมาธิออกมาเอง
    ส่วนเรื่องเผลอสตินั้นไม่ต้องไปกังวลมากนัก เพราะเป็นทุกรายไป ยกเว้นผู้ที่ฝึกจิตมาดีแล้วเท่านั้น

    นิมิตค่อยๆหายไป ก็ต่อเมื่อ...
    ๑.ไม่สนใจดูนิมิต นักภาวนาพึงกระทำตามคำแนะนำ พอไม่สนใจอีกไม่นานนัก นิมิตก็ค่อยๆเลือนหายไป
    สิ่งสำคัญที่ตามมาก็คือ จิตจะเลื่อนขึ้นไปตามลำดับฌาน แต่ถ้าไปสนใจ นอกจากนิมิตหาย
    ข้อเสียที่เกิดขึ้นกับนักภาวนาก็คือ จิตจะถอนจากสมาธิหรือฌานทันที เพราะนิมิตไม่เที่ยง ไม่มีใครบังคับ
    ให้มันเกิดอย่างนั้นตลอดไปได้
    ๒.สนใจดูนิมิต นักภาวนาไม่พึงกระทำ แต่ถ้าไปสนใจ นอกจากนิมิตหาย ข้อเสียที่เกิดขึ้นกับนักภาวนา
    ก็คือจิตจะถอนจากสมาธิหรือฌานทันที เพราะนิมิตไม่เที่ยง ไม่มีใครบังคับนิมิตให้เกิดได้ตลอดเวลา
    นิมิตก็เปรียบเสมือนเป็นครู หรือบททดสอบจิตของนักภาวนา/นักปฎิบัติได้เป็นอย่างดี

    นิมิตมี ๓ อย่าง
    ๑.บริกรรมนิมิต(ที่นี่ให้นึกถึงพระเป็นอารมณ์) เป็นขณิกสมาธิ คือเป็นสมาธิเล็กน้อย
    ๒.อุคคหนิมิต เป็นสมาธิระดับอุปจารสมาธิ(เฉียดฌาน/จะเข้าเขตฌาน) คือมีสติสัมปชัญญะ
    ๓.ปฏิภาคนิมิต เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ(ฌานลำดับ) คือมีองค์ฌานครบทั้ง๕ประการ

    ปล.ขออภัยที่ตอบช้า ขออภัยที่ตอบไม่ถูกจริตหรือไม่ตรงคำถาม
    ขอขอบพระคุณที่ถาม และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงยิ่ง..ถ้าลงมือปฎิบัตินำความสงสัย
    แต่ถ้าไม่เข้าใจตรงไหน ตอนไหน กรุณาได้โปรดตั้งคำถามใหม่
    แต่อยากแนะนำให้มาทำจิตเกาะพระด้วยกัน เพราะคุณจะได้คำตอบมากกว่านี้ ดีกว่ามานั่งสงสัย
    จุดเด่นกรรมฐานของจิตเกาะพระก็คือ จิตเป็นสมาธิและเข้าอุปจารสมาธิ/อัปปนาสมาธิได้ไว
    ซึ่งเป็นการย่นระยะทางสมถกรรมฐานสำหรับนักภาวนาเป็นอย่างดี ก่อนที่จิตจะเข้าสู่วิปัสสนา
    และวิปัสสนาญาณไปตามลำดับ เพราะการปฎิบัติธรรมมันยากตรงที่ทำจิตนิ่งเป็นสมาธิ+ต่อเนื่อง
    เพราะสมาธิเป็นบ่อเกิดปัญญาที่จะไปนำไปพิจารณาธรรมให้เห็นแจ้งต่อไปได้
    เมื่อนักปฎิบัติไม่สามารถเข้าไปถึงจิตของตนได้ ปัญญาย่อมไม่เกิดกับนักปฎิบัติ เพราะขั้นต่อไป
    คือวิปัสสนาก็ย่อมไม่เกิดกับนักปฎิบัติเป็นอย่างแน่นอน สุดท้ายย่อมไม่มีดวงตาเห็นธรรมแน่

    ***คุณมีสไกป์ไหม? จะได้ถาม-ตอบกันถนัดหน่อย
    โทษทีผมไม่ค่อยเข้าใจภาษาสมมุติที่คุณถามมาน่ะ ไม่ถนัดพิมพ์แต่ถนัดพูดมากกว่า
    แต่ถ้ามีส่งมาทางPMเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 พฤษภาคม 2013
  15. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    =========

    เมื่อคืนเจริญพุทธมนต์ และภาวนาเป็นปกติ อาศัยสติ สมาธิควบคุมจิต เข้าสู่สมาธิฌาณปกติ ก็สงบระงับอารมณ์ทั้งหลายลง จิตระลึกน้อมบูชาพระสมเด็จพ่อ สมเด็จองค์ปัจจุบัน หลวงพ่อ ครูอาจารย์ เสร็จแล้วก็ ควบคุมจิตตั้งอยู่ในควาสมสงบ ผ่านไปได้สักพัก ก็นิมิตพระพุทธวัจนะที่กล่าวสอนไว้ว่า

    เธอทั้งหลายพึงไม่ยินดีหรือติดสุขในสมาธิฌาณ[หรือสมถะกรรมฐาน40กอง] แม้กระนั้น เธอทั้งหลาย ควรเจริญสมาธิฌาณให้มาก

    จากข้อความจึงพิจารณาได้ว่า การเจริญสมาธินั้นควรทำให้มากแต่เราก็ไม่ควรติดอยู่ในสุขที่เกิดในสมาธิ

    จากตรงนี้จึงเจริญภาวนาต่อไปว่า แล้วการไม่ติดสุขในสมาธิฌาณนั้น ทำได้อย่างไร จากตรงนี้ก็ปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด เดินสมาธิเข้าสู่ฌาณสมถะ เมื่อสติสัมปชัญญะมีกำลังแล้ว ก็ดึงสติมาควบคุมจิต ไม่ให้รับและส่ายไปไหน ให้ดำรงตั้งมั่นรวมเป็นหนึ่งเดียวอยู่อย่างนั้น วิตก วิจาร เวทนาทั้งหลายดับแล้วด้วยกำลังของสมาธิฌาณ ปิติเกิดแล้วดับแล้ว ความโล่งโปร่งสงบสุขเกิดแล้ว และก็ดับลงแล้วเช่นกัน เพราะสุขก็เกิดดับไมเที่ยง เหลือเพียงจิตเพียงดวงเดียว แต่อาการของจิตเรานี่แปลก เหตุใดจิตเราจึงสงบไม่รับและส่ายไปยังที่ต่างๆ คือเหมือนเจตสิก สัญญาสังขาระวิญญาณมันไม่กล้าออกมาแสดงตัวตนปรุงแต่งจิต เพราะอะไร

    คำตอบคือก็เพราะกำลังของสติในสมถะกรรมฐานหรือสมาธิระดับฌาณ เป็นแบบนี้ เป็นแบบนี้ ก็คือเพราะเรา กำหนดให้ สติสัมปชัญญะไปควบคุมจิต บังคับจิตไว้นี่เอง บังคับจิตไว้ ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวอยู่อย่างนี้ บังคับจิตไว้ ให้ไม่รับและไม่ส่ายไปยังที่ต่างๆ เช่นนี้ กิเลสอย่างละเอียด อันเป็นสัญญาสังขาระวิญญาณที่ประกอบอยู่กับจิตจึงไม่สามารถแสดงออกมาปรุงแต่งจิตได้ เป็นแค่การข่มไว้ด้วยกำลังของสติสัปปชัญญะนี่เอง ด้วยการเจริญสมถะกรรมฐานหรือสมาธิฌาณก็เป็นเช่นนี้ อันความสุขก็ปรากฏเกิดอยู่อย่างนี้ ก็เพราะอาศัยกำลังของสติสัมปัชญญะควบคุมไว้อย่างนี้

    ทีนี้เมื่อเจริญสมาธิต่อเนื่องไปเราจะละสุขนี้ได้อย่างไร ตามที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ เราจะถอนซึ่ง สมาธิฌาณหรือสมถะกรรมฐานได้อย่างไร แล้วเราควรเดินสมาธิอย่างไรเพื่อรื้อถอน
    การเจริญสมาธิผ่านไปร่วมชั่วโมง ภายในจิตมีความรู้สึกว่า เหตุใด ต้องนำสติสัปชัญญะมาควบคุมจิต จิตรู้สึกไม่เป็นอิสระเพราะเจตสิกเครื่องปรุงแต่กำลัง ต่อต้านอยู่ต้องการปรุงแต่งจิตต้องการนำจิตส่ายไปยังที่ที่มันต้องการ เช่นนี้ จึงลองเปลี่ยนวิธีการใหม่ คือการนำสติถอยออกมาจากการควบคุมแต่ประคองสติสัมปชัญญะไว้ให้เหลือเพียงการตามดู จิตเท่านั้น และ สัญญาสังขาระวิญญาณที่กำลังปรุงแต่งจิต
    เมื่อสติสัมปชัญญะเปลี่ยนบทบาทหน้าที่แค่เป็นผู้ตามดูตามรู้[วิปัสสนาญาณ] แล้ว ก็ย่อมเห็นว่า การปรุงแต่งเกิดขึ้นแล้วจิตนิมิตแสงสว่าง นิมิตจากเปลวเทียนที่เคยฝึกกสินไฟก็เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานมากก็ดับไป ปิติสุขก็เกิดขึ้นแล้วและดับไป นิมิตทั้งรูปและนามธรรมนิมิตก็เกิดขึ้น แล้วและดับไป ไม่มีอะไรตั้งมั่นอยู่ได้นาน มันไม่เที่ยงอย่างนี้ ปัญญาก็เกิดขึ้นเห็นว่า อันสัญญาสังขาระวิญญาณ[เจตสิก]ทั้งหลายประกอบอยู่กับจิตก็จริง มีอยู่ก็จริง แต่ก็เกิดและดับ แม้จะปรุงแต่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ก็ตั้งอยู่ไม่นา ตั้งอยู่บนความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา จริงๆ [ปัญญาญาณ]เกิดแล้ว เห็นแล้ว เป็นสามัญลักษณ์ หรือเป็นไปตามกฏไตรลักษณ์จริงแท้ไม่เป็นอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตในสภาวะนี้ ย่อมรู้ทันการปรุงแต่งของกิเลสภายในได้ และกล่าวได้ว่า ไม่ได้มีประโยชน์แก่นสารอะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ปล่อยวาง สงบนิ่งอยู่ภายใน ดังเดิม

    เช่นนี้แล้วสมาธิก็กลับคืนสู่สภาวะเดิมคือสงบนิ่งดังเดิม อาศัยอยู่ลำพังโดดเดี่ยว ไม่ข้องเกี่ยวในรูปนามใดๆ อาศัยอยู่ด้วยความว่างเข้าสู่สุญญาตาวิหาร
    สภาวะนี้เกิดได้ด้วยการเจริญวิปัสสนาญาณและเกิดปัญญาญาณรู้แจ้งในสภาวะการปรุงแต่งภายในจิตที่เกิดดับได้เองอย่างไม่มีข้อสงสัยและจิตเกิดการยอมรับและรู้เท่าทันกิเลสภายในของตนนั้นเอง เช่นนี้ แสดงว่าเราได้ถอนออกแล้วจากสมาธิฌาณหรือสมถะกรรมฐานนั่นเอง

    เมื่อถึงที่สุดของการเจริญสมาธิก็ทุกอย่างเข้าสู่ความว่างมองออกไปไกลสุดไกลก็ไม่มีอะไรมีเพียงความว่างเท่านั้น เป็นบรมสุข ไม่นานนักก็ถอนออกจากสมาธิ แผ่อุทิศบุญกราบพระและเข้านอนครับ

    สรุปคือ การถอนสมถะกรรมฐานและสมาธิฌาณ ต้องรือถอนด้วยการเดินสติจากเคยทำหน้าที่ควบคุมจิต ให้เปลี่ยนเป็นแค่ตามดูตามรู้การทำงานของจิต ดูธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตเพื่อให้เห็นธรรมชาติ อันเป็นสัจจธรรมนั่นเอง ซึ่งก็คือการเดิน วิปัสสนาญาณนั่นเอง เมื่อรู้เห็นแล้ว ปัญญาญาณก็จะเกิดเองรู้แจ้งได้เอง เมื่อรู้แจ้งได้เองแล้วจิตย่อมรู้ทันและละปล่อยวางได้เอง เช่นนี้จึงถอนออกจากสมถะกรรมฐานหรือสมาธิฌาณได้โดยบริบูรณ์

    เมื่อสมาธิฌาณหรือสมถะกรรมฐานอุปมาดั่ง ต้นไม้ใหญ่ ประกอบด้วย ราก โคน ลำต้น กิ่ง ก้านใบ นั้น
    อันรูปนิมิต นามนิมิตทั้งหลาย ที่เกิดแต่สมาธิฌาณหรือสมถะกรรมฐานนั้น อุปมาดั่ง ดอกและผลของต้นไม้ใหญ่

    เมื่อวิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาญาณรู้แจ้งถอดถอนรื้อถอนซึ้ง สมถะกรรมฐานหรือสมาธิฌาณได้แล้ว
    อปุมาดั่งต้นไม้ใหญ่ถูกรื้อถอนทำลายหมดสิ้นแล้ว อันรูปนิมิต นามนิมิตทั้งหลายประดุจดอกและผลของต้นไม้ใหญ่นั้น ก็ถูกรื้อถอนทำลายหมดสิ้นลงแล้วเช่นกันครับ สาธุ

    อันคำถามที่ได้ปุจฉาไว้นี้นั้น เป็นคำถามที่ดีเยี่ยมของผู้เป็นนักปฏิบัติ ผู้มีปัญญามากเช่นกัน อันคำวิสัชนาที่กระผมตอบไปนี้ ผิดถูกไม่อาจทราบได้ แต่ที่ตอบไปอย่างนี้ มิได้ตอบด้วยหลักปริยัติ แต่ว่าอาศัยการปฏิบัติ รู้แจ้งในวิธีการของตนที่ได้ปฏิบัติมาเป็นอย่างนี้และให้ผลเป็นอย่างนี้ครับ สาธุ

    ขอท่านทั้งหลายจงเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุ




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2013
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    การเข้าถึงจิตตนเอง
    มีประโยชน์อย่างไร...
    ทำให้เราสามารถเข้าใจตนเองหรือผู้อื่น
    สามารถรักษาศีลหยาบ กลาง ละเอียดได้
    สามารถเข้าใจ+เข้าถึงธรรมหยาบ กลาง ละเอียดได้
    สามารถเข้าถึงอารมณ์ของพระอริยบุคคลได้
    แม้นแต่อารมณ์ของพระพุทธเจ้าหรืออารมณ์พระนิพพาน

    สรุป ถ้าบุคคลใดเข้าไปให้ถึงจิตตนเพียงอย่างเดียว ทุกอย่างจะผ่านพ้นไปด้วยดี
    บรรลุธรรม พ้นโลก เหนือขันธ์๕ จะอยู่เหนือความสุขความทุกข์ดั่งพระอรหันต์
    ก็เพราะด้วยการเข้าไปให้ถึงจิตของตนเองทั้งนั้นเลย

    สำหรับผู้ที่จะเข้าไปถึงจิตตนเองได้นั้น เราจะต้องหาอุบายหรือวิธีที่จะทำให้จิตตนเองนิ่งให้เป็น
    ให้ได้เสียก่อน มิฉะนั้น ไม่มีทางที่จะเข้าไปให้ถึงจิตตนเองได้เลย
    เห็นมีแต่กรรมฐาน๔๐ กอง ให้เราเลือกนำไปปฎิบัติมาหนึ่งกองเท่านั้น อย่าไปทำทีเดียวหลายกอง
    มันจะไม่ได้ผล เพราะจิตจะทำงานหรือจดจำได้ทีละหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกัน
    ความอัศจรรย์แห่งจิต ก็คือถ้าจิตเขาจดจำอะไรได้แล้ว จิตเขาจะสามารถจำจดข้ามภพชาติเลยทีเดียว
    ไม่เหมือนสมองเรา สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งสำหรับธรรมปฎิบัติเพื่อเข้าไปให้ถึงจิตตนเอง นั่นก็คือ
    การรักษาศีลหยาบเป็นอย่างต่ำ เพราะถ้าไม่นั้นแล้ว นิวรณ์๕ จะรบกวนจิตมิให้สงบ มิให้เป็นสมาธิ
    สุดท้ายเราก็เข้าไปไม่ถึงจิตของตนเอง

    บุคคลใดสามารถเข้าใจหรือเข้าถึงธรรม ย่อมจะเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้โดยง่าย
    เพราะตราบใดที่เรายังไม่เข้าใจตนเอง เราย่อมไม่มีวันที่จะไปเข้าใจผู้อื่นได้เลย
    เพราะการเข้าใจหรือเข้าถึงพระธรรมหรือคำสั่งสอนฯจะต้องอาศัยตัวปัญญาตนเองเป็นหลัก
    เฉกเช่นเดียวกับการละปล่อยวางของจิต กล่าวคือจิตจะปล่อยวางด้วยปัญญาของตน
    แม้นกระทั่งจิตจะก้าวข้ามกับสิ่งสมมุติทั้งปวง ก้าวเข้าสู่ปรมัติถธรรมหรือสภาวธรรมที่แท้จริงที่มีอยู่
    อันได้แก่ เจตสิก๕๒ จิต๘๙(๑๒๑) รูป๒๘ หรือนิพพาน๑ เราก็ต้องเข้าไปให้ถึงจิตตนเสียก่อน
    บทบาทหรือหน้าที่ของจิตคนเรานั้นมีมากมายหลายอย่างทีเดียว โลกของจิตนั้นสลับซับซ้อนยิ่งนัก
    เป็นสิ่งละเอียดอ่อนยิ่ง ขนาดจิตของเราอยู่ที่กายเราก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจเพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น
    จิตเป็นนาม กายเป็นรูป ความจริงแล้วมันแยกกันอยู่อย่างชัดเจน แต่ทำงานร่วมกัน
    มีความสัมพันเกี่ยวโยงกันระหว่างกายกับจิต จนเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้ว
    ก็เหมือนกับกิเลสคือร่างกาย ร่างกายก็คือกิเลสนั่นเอง บุญบาป กุศลอกุศล ความสุขความสุข
    ก็อยู่ที่ภายในจิตตนเองแทบทั้งสิ้น ถ้าคนเราจิตดีหรือจิตตก ก็จะมีผลโดยตรงกับกายหยาบ
    หรือร่างกายของเรา พวกเราก็อย่าประมาท จงให้ความสนใจ ให้ความสำคัญเรื่องจิตตนเอง
    คือดูจิตตนเองให้มาก มีผลทั้งก่อนตายและหลังตายกันเลยทีเดียว ยิ่งชีวิตโลกหลังความตาย
    มันแสนจะยาวนามาก เทียบไม่ได้เลยกับการที่เรามีลมหายใจอยู่ จุติหรือสุคติหรือทุคติก็อยู่ที่สติ
    มีหน้าที่แยกแยะให้กับจิต ส่วนตัวปัญญานั้นช่วยให้จิตเรารู้ พอจิตรู้รู้รู้มากเข้า
    จิตก็อาจกลายเป็นญาณได้เหมือนกัน


    พ่อรูปหล่อแห่งจิตเกาะพระของเราโผล่มาพอดีเลย ดั่งใจพี่ภูเจงๆ
    ขอโมทนาสาธุธรรมาทานคุณก้องด้วยนะครับ ท่านนี้เก่งทั้งปริยัติและปฎิบัติ ส่วนพี่ภูไม่ได้เรื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2013
  17. ปริณภูมิ

    ปริณภูมิ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +53
    ช่วยอธิบายความหมาย ของความเสื่อม ว่าเป็นเช่นใดครับ

    อยากทราบว่า

    ความอ่อนล้า ความเมื่อยล้า ความอ่อนเพลีย ความเกียจคร้าน ความเบื่อ ความหน่าย

    ทั้งหมดนี้มีจุดร่วมที่เหมือนกันแต่มีความเหลื่อมซ้อนทางความหมายอย่างชัดเจน
    อยากให้ช่วยกันอธิบายความหมาย จุดร่วมทางความหมาย ความหนักเบาทางความหมาย
    ลำดับขั้นทางอารมณ์ที่เกิดขี้นแต่ละขั้นตอนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
    อะไรเป็นสิ่งเร้าให้เกิดรุนแรงขึ้น อะไรบั่นทอนให้อารมณ์นั้นคลายลง อะไรเกื่อกูลกันตามอัถภาพ
    และวิธีการเข้าถึงสภาวะธรรมเหล่านั้น

    ด้วยความเคารพอย่างสูง
    ปริณภูมิ
     
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    การปฎิบัติธรรมที่แท้จริง
    นั้นก็เพื่อฝึกจิตตน แต่ฝึกจิตโดยตรงไม่ได้ เพราะจิตเป็นนามและไม่รู้จิตตนอยู่ไหน
    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านก็เลยให้กรรมฐาน ๔๐ กองมาให้กับพวกเราฝึก
    กรรมฐานทั้งหมดนี้ก็เพื่อฝึกจิตก่อนแล้วค่อยไปฝึกจิตในขั้นตอนต่อไป

    เพราะฉะนั้น เราจะตามหาจิตตนพบเจอกันได้นั้น จะต้องเอานามไปตามหานาม
    นั่นก็คือ เอาสติตามหาจิตตนเอง หรือเอาสติตามดูจิต ตามรู้จิตนั่นเอง

    เผื่อเราจะตามหาจิตของตนเองพบ เราต้องเจริญสติภาวนาไปจนกว่าจิตนิ่งเป็นสมาธิ
    โน้นแหล่ะ เราจึงจะพบเจอจิตหรือดวงจิตของตนเองเมื่อนั้น
    ในขณะที่จิตนิ่งเป็นสมาธิ นั่นก็หมายความว่า เราสอบผ่านสมถกรรมฐานแล้ว
    ในขณะที่จิตนิ่งเป็นสมาธินั้น จิตเราเกิดปัญญา และให้นำตัวปัญญานี้ไปวิปัสสนา
    หรือพิจารณาธรรมตัดลงไตรลักษณ์ทั้งหมดเลย โดยเฉพาะธรรมสุดท้าย คืออนัตตา
    จนกว่าจิตปัญญากลายเป็นปัญญาญาณ เราจึงเห็นแจ้งแทงตลอดกาลกันได้
    นั่นหมายถึงสอบผ่านวิปัสสนาไปขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว แต่จะขอพูดแค่ศีลสมาธิปัญญา
    นอกเหนือไปกว่านั้นพูดในสาธารณะไม่ได้ เดี๋ยวโดนสังคมยำ..

    สรุปแล้ว การปฎิบัติก็เพื่อฝึกสติโดยตรง แต่ฝึกจิตทางอ้อม
    ถึงว่าพระพุทธเจ้าท่านพูดแค่ให้เจริญมรรคมีองค์๘เท่านั้น
    เพราะถ้าพวกเราทำได้ คือเอาทั้งศีลสมาธิปัญญามารวมกันเป็นหนึ่งเดียวให้ได้
    แล้วมันจะได้สัมมาญาณะไปอีกนิดนึงก็จะถึงสัมมาวิมุตติ
    โดยมีตัวสติของกายหยาบเราเป็นตัวเข้าเชื่อมภายในหรือนามนอกเชื่อมนามในของกายใจ
    กรรมฐานทั้ง๔๐กองนั้นก็เพื่อทำให้จิตของเรานั้นนิ่งหรือเป็นสมาธิให้ได้เสียก่อน
    เมื่อจิตนิ่งเป็นสมาธิแล้วย่อมเกิดปัญญาตามมาในภายหลัง
    แต่ธรรมปฎิบัติหรือปฎิบัติธรรมนั้น ในทางปฎิบัติเราจะต้องนำจิตมาเดินมรรคที่ว่านี้
    แต่การเดินให้เข้าถึงจิตตนเองนี่แหล่ะยาก วิปัสสนาไม่ยาก ขอให้จิตนิ่งก่อน
    เพราะจิตนิ่งหรือจิตมีสติแล้วตัวปัญญามันก็จะตามมาภายหลังเอง
    อยู่ดีๆเราจะไปหาจิตตนไม่ได้ เราจะต้องเจริญสติหรือเอาสติไปตามหาจิตก่อน
    อยู่ดีๆเราจะปล่อยวางเรื่องความทุกข์ทั้งปวงของตนเองได้ไหม ไม่ได้ๆ
    เพราะจิตเป็นผู้ทำหน้าที่ปล่อยวาง มิใช่เรา มิใช่สติเรา แต่จิตจะปล่อยวางด้วยปัญญา
    ยิ่งอัตตามานะหรือกิเลสละเอียดบางตัว ขอเรียกว่าคราบมนุษย์นั้น เราใช้ปัญญาเฉยๆไม่ได้
    เราต้องใช้ปัญญามาก นั่นก็คือ ปัญญาญาณ แต่ไม่เน้นพูดบ่อย(เท่าไหร่ ฮ่าๆ)
    เพราะถ้าผู้ปฎิบัตินำสติหรือศีลสมาธิและปัญญามารวมกันแล้ว จิตก็เป็นตัวผู้รู้
    คือจิตปัญญา เดี๋ยวจิตปัญญานี้จะพัฒนาต่อไปได้เอง ถ้าผู้ปฎิบัติไม่ขี้เกียจเสียก่อน
    เจริญตัวปัญญาให้เป็นปัญญาญาณแล้วเต๊ะเข้าประตูวิมุตติไปเลย
    วันนี้พูดให้ผู้ปฎิบัติฟังคร่าวๆก่อน จะได้มองเห็นภาพ แต่อย่าไปสงสัยมากนัก
    และก็อย่าไปอ่านตำรามาก เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าติดตัวรู้ภายนอกเสียเอง
    คอยสังเกตให้ดี โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ทางโลกมาก มักสำเร็จธรรมช้า ครูสอนก็ไม่ฟัง
    เพราะถือตัวถือตนหรืออวดว่าเราเก่งหรือรู้มากแล้ว มีความรู้น่ะดี แต่ถ้าอยากสำเร็จไวๆ
    ขอให้วางอีโก้หรือความรู้ทางโลกชั่วคราวก่อนได้ไหม๊ พวกที่เก่ง แต่ยังบอกว่าทำไม
    เรายังเป็นทุกข์อยู่ เอ๊า ก็ท่านแบกตำราไปเรียนแทนจิตตนเองไปแย๊ววว
    ไม่รู้หรอกหรอว่า การปฎิบัติเขาเอาจิตไปเรียน เราแค่มีสติรู้ตัวเฉยๆ
    เราหรือสติเป็นอย่างมากได้แค่พี่เลี้ยงเท่านั้นเอง

    ความจริงการปฎิบัติธรรมก็คือการฝึกดูจิตนั่นเอง การดูจิตเขาให้ทำแค่สามอย่างนี้
    เท่านั้นเอง แต่ทำไม๊ผู้ปฎิบัติอื่นๆไปทำอะไรให้มันยุ่งเหยิงไปหมด
    แค่ทำสมถะหรือทำจิตให้มันนิ่งเป็นสมาธิแค่เนี๊ย เดี๋ยวค่อยวิปัสสนาต่อไปเลย
    ขออนุญาตคำพูดอาจจะไปล่วงเกินจิตผู้ใดผู้หนึ่ง อโหสิกรรมให้แก่กันด้วย
    แต่ผมไม่กลัวโดนด่า คำชมก็ไม่คบ ไม่ใช่หยิ่ง แต่ต้องการละ เห็นไรรู้ไรวางหมด

    การดูจิต ข้อสุดท้ายยากสุด มั่วสุดๆ เพราะผมก็มั่ว หลงทางมามากแล้ว ไม่มีดีไปกว่ากัน
    อาศัยลูกบ้าหรือขยันหรือเอาจริงเอาจังหรือตั้งใจสุดๆถึงจะได้มาก
    เพราะการปฎิบัติธรรมจนเป็นผลสำเร็จนั้น ไม่ได้มาง่ายๆ โชคมิได้ช่วย ฝีมือล้วนๆ
    ผู้จะเอาดีทางนี้ วันๆนึงออกจากโลกภายนอกให้มาก พยายามอยู่แต่สติกับจิตตน
    เท่านั้น เพราะนี่คือของจริงๆ ธรรมจริงๆของเรามันก็อยู่ภายในกายภายในจิตตนเอง
    เพราะภายนอกจิตตนเป็นของมายา ของสมมุติ ของบัญญัติหรือเปลือกกระพี้ทั้งนั้น

    คำว่า "ด้วยใจเป็นกลาง" เรื่องการดูจิตนั้น ใครยังไม่เข้าบ้าง ยกมือขึ้นเลย?
    เดี๋ยวจะให้ครูเกษไปสอยเอามากินซะ...คริคริ

    ขอโมทนาสาธุกับผู้เจริญทั้งหลาย ขอให้ปฎิบัติถึงจิต ถึงธรรม ถึงอารมณ์พระินิพพาน
    ตามที่ใจตนปรารถนาทุกๆท่านกันด้วยเทอญ สาธุๆๆ
    พากันรักษาศีลทำภาวนากันเยอะๆนะ ทำไปเห่อ อย่างน้อยจะได้ปิดประตูนรกตนเอง
    คูรก็คิดดูเอาเองนะว่า ทำไมผมไม่ปิดกระทู้หนีไปตั้งนานแล้ว ตั้งแต่เรือไททานิคล่ม
    ก็เพราะอยากนำพาจิตผู้คนออกจากทุกข์กันให้มากที่สุดก่อน ส่วนผู้ที่ออกได้แล้ว
    ท่านจะมัวนอนหลับทับบารมีตนเองกันทำไม๊ พวกคุณช่างไม่สงสารพระพุทธเจ้า
    หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำหรือหลวงปู่หลวงตาของท่านกันบ้างหรอ ลูกหลานเกิดมา
    มีกายหยาบมักเดินหลงทางกันทั้งนั้นเลย รวมผมด้วย(เมื่อก่อน) นั่งเสียเวลาพิมพ์
    ตังค์ก็ไม่ได้เพราะไม่ได้ไปหวังอะไรกับใครๆ ทำไปเพราะไปรับอารมณ์ท่านมาทั้งนั้น
    เอ๊า ลูกหลานเอ๋ย อย่ามัวเพลิดเพลินกันนัก อย่าสนุกเกินเหตุ เจ้าไม่รู้วันตายกันนะ
    แต่ถ้าไม่มีใครช่วยผม กระทู้นี้ีผมอยู่คนเดียว เหล่าจิตบุญหายหัวไปหมด ทิ้งผมอยู่คนเดียว
    ผมก็ทำไปเท่าที่มีกำลัง ตายเมื่อไหร่ เป็นอันต้องจบลง...แต่เมื่อไหร่ วันไหน ไม่เห็นผม
    ก็แสดงว่า ผมได้ตายจากพวกคุณไปเสียแล้ว
    ขอให้พวกเราพ้นทุกข์ ขอให้ละบาป บำเพ็ญแต่บุญกุศลและทำจิตให้ผ่องใสกันทุกท่าน
    สัจจะกับเบื้องบนผมไม่ทิ้งแน่ ไม่มีการเปลี่ยนแน่ นอกเสียจากความตายมาพลัดพราก
    The-enD
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤษภาคม 2013
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    =========

    ความเสื่อมคืออะไร กระผมขอให้ความหมายว่า หมายถึงสภาพที่ไม่สามารถคงสภาพไว้ดังเดิม แต่เป็นสภาพที่ด้อยลง แย่ลงกว่าเดิม สรรพสิ่งใดๆทั้งหลาย มีสภาพที่ด้อยลง แย่ลงไม่ดีงาม สวยงามดังเดิม เช่นนี้จึงเรียกว่า มีความเสื่อมเกิดขึ้น ความเสื่อมประกอบด้วย
    1 ความเสื่อมทางกาย คือกายที่เสื่อมลงไปไม่ดีดังเดิม เพราะมีปัจจัยปรุงแต่งส่งเสริมให้เสื่อม ถูกถ่ายทอดออกมาเป็น เวทนา ทางกาย
    2ความเสื่อมทางจิต คือจิตที่เสื่อมถอยลงไปไม่ดีดังเดิม ไม่สะอาดบริสุทธิ์ดังเดิม เพราะมีปัจจัยปรุงแต่งส่งเสริมให้เสื่อมถอยลงไป ถูกถ่ายทอดออกมาเป็น เวทนาทางจิต มีตันหาราคะ กิเลส ปรุงแต่ง



    ทีนี่ขออธิบายต่อว่า แล้ว ความอ่อนล้า ความเมื่อยล้า ความอ่อนเพลีย เป็นอย่างไร ขอบอธิบายว่า เป็น สภาพที่ กายเรานี้มีสภาพเสื่อมลงไป ไม่จีรังยั่งยืน กำลังทางกายมันเสื่อมถอยลงไปไม่เหมือนเดิม พอเป็นเช่นนี้ ย่อมเกิดเวทนาทางกาย เป็นทุกขเวทนา คือพออ่อนล้า เมื่อยล้าแล้วก็เป็นทุกข์ คือเป็นทุกข์ทางกาย ที่ไปกระทบจิต นั่นเอง
    เวทนาทั้งหลายดับได้ด้วย สมาธิฌาณเป็นเบื้องต้น และดับได้ด้วยปัญญาเป็นที่สุด

    ส่วน ทีนี้จากเวทนาทั้งหลายเป็นเบื้องต้น ย่อมก่อให้เกิด ความเบื่อหน่าย ต่างๆเกิดขึ้น เราจะขอกล่าวต่อเนื่องว่า อันความเบื่อหน่ายนั้น มีสองลักษณะคือ

    1 ความเบื่อหน่าย อันเป็นโลกิยะนิพพิททาความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงมีความหมายถึง ความเบื่อหน่ายหรือหน่ายกัน เหตุพราะมีกิเลสตัณหามาพัวพัน เมื่อไม่เป็นไปตามปรารถนา(ตัณหา)ก็เกิดความเบื่อความหน่าย

    2 ความเบื่อหน่าย อันเป็นโลกุตระนิพพิททา หมายถึง ความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง จึงมีความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ที่ไม่รู้วันจบ,ไม่รู้วันสิ้น จึงเป็นความหน่ายที่ประกอบด้วยปัญญาจึงย่อมแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับความเบื่อหน่ายโดยทั่วๆไปหรือในทางโลก หรืออย่างโลกิยะที่ย่อมประกอบด้วยตัณหาราคะ
    ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้หากอาศัยปัญญาเป็นเครื่องประกอบรู้แล้ว ย่อมเกิดเป็น นิพพิทาญาณ จึงหมายถึง ความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งที่ทำให้เบื่อหน่ายในสังสารวัฏหรือกองทุกข์ ความหยั่งเห็นในความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะมีแต่ทุกข์และโทษมากมาย แต่ไม่ใช่การทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขารของตนด้วยตันหา
    นิพพิทาญาณจัดเป็นหนึ่งในญาณ ๑๖ หรือโสฬสญาณ


    หรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งว่า นิพพิทาเป็นปฏิปักษ์หรือธรรมคู่ปรับกันโดยธรรมหรือธรรมชาติกับตัณหาราคะโดยตรงนั่นเอง,จึงย่อมดำเนินและเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายดับทุกข์หรือฝ่ายนิโรธวาร กล่าวคือ เมื่อตัณหาดับ อุปาทานดับ ภพดับ ชาติดับ ชรา-มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ล้วนย่อมดับไปตามธรรมคือสภาวธรรม จึงเป็นการดับไปของกองทุกข์ จึงมีความแตกต่างกันอย่างยิ่งกับความหน่าย ความเบื่อหรือความเบื่อหน่ายอันเกิดแต่กิเลสหรือตัณหาหรือวิภวตัณหาก็ตามที ความหน่ายจากการรู้ความจริงหรือนิพพิทาจึงคลายกำหนัดหรือตัณหานั้นเป็นความหน่ายจริง
    หรือนิพพิทาจึงคลายกำหนัดหรือตัณหานั้นเป็นความหน่าย ที่เบาโล่งสบายเพราะขาดด้วยกิเลสตัณหาอันเร่าร้อนนั่นเอง
    ส่วนความเบื่อหน่ายโดยทั่วไปหรือทางโลกนั้นเป็นความเบื่อหน่ายที่เร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายจึงไร้สุขหรือยังความหดหู่มาให้ก็เนื่องจากกิเลสหรือตัณหาต่างๆที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆนั่นเอง กล่าวคือเกิดภวตัณหาหรือวิภวตัณหาเข้าแทรกแซงปรุงแต่งนั่นเอง เมื่อไม่ได้ตามตัณหาก็เกิดเป็นอุปาทานทุกข์เป็นการดำเนินและเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร หรือฝ่ายเป็นทุกข์นั่นเอง
    ด้วยเหตุดังกล่าวเหล่านี้ นิพพิทาญาณ จึงจัดเป็น หนึ่งในญาณหรือความรู้ยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา
    นิพพิทาจึงเป็นของดี ไม่ใช่เป็นไปเพื่อทุกข์ แต่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์
    นิพพิทา จึงเป็นไปเพื่อดับตัณหา เป็นไปเพื่อการตัดทำลายวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร
    นิพพิทา จึงไม่เป็นไปเพื่อทุกข์ แต่เป็นไปเพื่อโลกุตตรสุข อันเป็นสุขยิ่ง


    กระผมขออธิบาย ตามพระปริยัติ และมีเสริมปฏิบัติเล็กน้อยครับ ควรหรือไม่อย่างไร พอใจในธรรมหรือไม่อย่างไร ก็ขอเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2013
  20. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    จะรออ่านปุจฉาของท่านปริณภูมิต่อนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...