จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]

    วิธีปฏิบัติเพื่อพระนิพพานที่ง่ายและสั้นที่สุด

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน กราบทูลถามองค์สมเด็จ
    พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระจุฬามณีชั้นดาวดึงส์ว่า
    " คนที่ปฏิบัติเพื่อพระนิพพานจะใคร่ครวญอย่างไรจึงจะง่ายที่สุด
    สั้นที่สุดพระพุทธเจ้าข้า ? "

    องค์สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสว่า
    เจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้ จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย
    ทรัพย์สินก็ไม่มี ญาติ เพื่อน ลูกหลาน เหลนก็ไม่มี
    เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด

    เราจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่
    เมื่อสิ้นภาระ คือ ร่างกายพังแล้ว เราจะไปนิพพาน
    เมื่อความป่วยไข้ปรากฎ จงดีใจว่า " ภาวะที่เราจะมีโอกาสเข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว เราสิ้นทุกข์แล้ว"
    ร่างกายเป็นเพียงเศษธุลีที่เหม็นเน่า มีความสกปรกโสโครก ทรุดโทรม เดินไปหาความเสื่อม แตกสลายทุกขณะ
    คิดไว้อย่างนี้ทุกวัน จิตจะชิน
    จะเห็นเหตุผล เมื่อตาย อารมณ์จะสบาย
    แล้วจะเข้าสู่พระนิพพานได้ทันที



    https://www.facebook.com/#!/BuddhaSattha
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ความสงบภายนอกไม่มีจริง!

    ไม่มีใครเลวที่สุด ไม่มีใครดีที่สุด มีแต่ผู้ที่จะเข้าหาความดีที่สุดของตนเอง
    ถ้าหากผู้นั้นคอยหมั่นรักษาศีล ทำภาวนากัน แต่ถ้าไม่รักษาศีล ไม่ยอมทำภาวนา
    ก็เห็นมีแต่กิเลสตัณหาฯผู้นั้นให้เข้าหาแต่ความเลวที่สุดของตนเอง
    และไม่ต้องสงสัยกันเลยนะว่าทำไม ผู้ที่รักษาศีล ทำภาวนา ถึงเป็นอริยบุคคล
    ไม่ต้องสงสัยว่าทำไม ผู้ที่ไม่รักษาศีล ไม่ทำภาวนา ถึงเป็นคนดีไม่ได้ เป็นได้ไม่ดี

    เพราะฉะนั้น ไม่ต้องพากันสงสัยว่าทำไม ผู้คนส่วนใหญ่จึงเป็นทุกข์ ออกจากทุกข์ตนไม่ได้
    และไม่ต้องพากันสงสัยว่าทำไม บ้านเมือง สังคมหรือประเทศเราถึงดูวุ่นวาย ไม่สงบสุขฯ
    เพราะว่าไม่รักษาศีล ไม่ทำภาวนา คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเฉพาะทะเบียนบ้าน
    ประชากรไทยที่นับถือศาสนาพุทธไม่ต่ำกว่า ๘๐% แต่มีผู้รักษาศีลไม่ถึง ๕๐%
    แต่ถ้าผู้ที่ทำภาวนาก็ยิ่งไปกันใหญ่ คือไม่ทราบจะถึงร้อยละ ๒๐% ไหม
    ตอนนี้ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องการภาวนาหรอก เอาแค่พากันรักษาศีลให้มันได้กันก่อนเห่อ

    จะพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรือง เราต้องพัฒนาประชากรไทยกันก่อนดีไหม๊
    ทุกวันนี้ประชากรไทยส่วนใหญ่ก็มีการศึกษาสูง แต่ทำไมประเทศดูจะพัฒนาลง
    ใช่ว่าการศึกษาสูงทำให้จิตใจของคนเราสูงตาม แต่กลับสวนทาง เป็นเพราะเหตุใด
    ก็เพราะเราไปมุ่งเน้นพัฒนาแต่วัตถุหรือสิ่งภายนอกมากกว่าจิตใจของคนเรา
    พัฒนาผิดวัตถุประสงค์องค์รวมของประเทศ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการพัฒนาประเทศ
    หมายถึงประชากรจะต้องมีการศึกษาสูงเท่านั้น ประชากรมีการศึกษาสูงนั้นดี มิใช่ไม่ดี
    แต่เจริญแต่ภายนอก แต่ภายในมิได้เจริญตามไปด้วย นั่นก็คือ จิตใจ
    เมื่อการพัฒนาขาดความสมดุลย์มาก ปัญหาก็เกิดมากขึ้น เท่านั้น

    สรุปแล้ว จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง จะต้องพัฒนาคุณภาพประชากรก่อน
    คือ ๑.การศึกษา ๒.รักษาศีล แต่ถ้าทำภาวนาด้วย ก็จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่
    ถ้าเอาแต่คุณภาพประชากรเฉพาะการศึกษา หรือพัฒนาแต่สิ่งภายนอกอย่างเดียว
    ไม่พัฒนาภายในคือจิตใจ จึงขาดสมดุลย์ในการพัฒนาคุณภาพคนอย่างที่เห็นทุกวันนี้

    อะไรก็ตามถ้าขาดสมดุลย์เสียแล้ว ย่อมไม่ดีแน่!
    เช่น CG เครื่องบิน แต่ถ้านักบินไม่สนใจ CG เครื่องบินก็มิอาจวิ่งขึ้นจากรันเวย์แน่
    โดยเฉพาะชีวิตของคนเราก็เช่นกัน ทางที่ดีจะต้องพัฒนาภายในก่อน นั่นก็คือจิตใจ
    ถ้าพวกเราพากันรักษาศีล ทำภาวนาให้ดีแล้ว การสำรวมจิตก็จะเกิดขึ้น
    ก็เท่ากับคำพูดและการกระทำนั้น ก็จะสำรวมหรือเรียบร้อยตามจิตใจไปด้วย
    แต่ปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ มุ่งเน้นพัฒนาผิดจุด คนส่วนใหญ่เชื่อพระธรรม
    หรือคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ แต่ไม่ยอมปฎิบัติตามพระพุทธเจ้า
    เอาพุทธเฉพาะทะเบียนบ้าน ประเทศก็เลยเป็นอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
    แต่ถ้าประเทศเราไม่พากันรักษาศีล ไม่เอาธรรมนำหน้าในการบริหารประเทศ
    พวกเราก็จะหาความสงบสุขมิได้ ต่อให้ประเทศมี GDP สูงขนาดไหนก็ตาม
    หรือเป็นประเทศที่ร่ำรวยก็ตาม แต่ก็เหมือนจะไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย
    เพราะอะไร ขอให้พวกเรา โดยเฉพาะชาวพุทธไปคิดกันต่อ เห็นแต่ละคนเก่งๆทั้งนั้น
    แต่เหตุไฉน แค่ทุกข์ตนเองยังแก้ไม่ได้ น่าคิด น่าคิด น่าคิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 เมษายน 2013
  3. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ( หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

    ........."พระพุทธเจ้าไม่ตื่นอะไร แม้แต่เขาจ้างคนมาด่าพระพุทธเจ้า พระนางมาคัณฑีย์

    จ้างคนมาด่าพระพุทธเจ้า คนใส่บาต พระพุทธเจ้าทรงบิณฑบาตเดินไปนี้จ้างคนมาด่า...

    ดักหน้า ดักหลัง "ไอ้อูฐ ไอ้ลา ไอ้หัวโล้นเป็นคนขอทาน" ท่านเสด็จไปเฉยสบาย...

    ...พระอานนท์อิดนาระอาใจ แล้วทูลขอพระพุทธเจ้าพาไปสถานที่อื่น ...

    ไปอยู่ที่อื่น ไปอยู่ที่ไหนอานนท์ ไปอยู่เมืองโน้น ถ้าหากว่าเมืองโน้นเขาด่าอย่างนี้แล้ว

    จะทำยังไง จะไปเมืองไหน ก็เมืองโน้น แล้วเมืองโน้นเขาด่าแล้วว่าไง สุดท้ายโลกแคบ

    ...ไปที่ไหน ถูกเขาด่าจะว่าไงเพราะเมืองไหนมันก็มีกิเลสประเภทด่า ประเภทดี...

    ...ประเภทด่าได้เหมือนกันหมด...ท่านก็เลยยก อหํ นาโคว สงุคาเม จาปาโต ปตตํ สรํ เรา

    ตอ้งทำเหมือนช้าง คือแต่ก่อนเขารบกันนี้รบด้วยช้าง...เอาช้างเป็นเครื่องพาหนะรบ

    เราต้องทำตัวเป็นช้างเข้าสู้สงคราม...ไม่พรั่นพรึงหวั่นไหวต่อสู้ศร ฟังนะลูกศร ไม่ค่อยมี

    ปืนผาหน้าไม้อะไร ที่มีมาจากที่ต่าง ๆ เขาทิ่มเข้ามาแทงเข้ามา ยิงเข้ามาไม่มีสะทกสะท้าน

    ...หวังแต่จะชนะอย่างเดียวเท่านั้น ต้องทำตัว ให้เป็นอย่างนั้นท่านว่างั้น...

    ...หวั่นไหวอะไรกับโลกธรรมดา เอส ธมุโม สนนุตโน สิ่งเหล่านี้มีมาดั้งเดิม...

    ...พร้อมกับโลกสมมุติ จะไปลบล้าหูเรามีงให้มันหายจากโลกไปได้ไง เมื่อลบล้างสมมุติ หูเรามี ตาเรามีเราเลือกเฟ้นเอาซิเขาดุ...

    เขาด่าว่าไง ใจเรามันเป็นยังไง...มันยินดียินร้ายกับคำดุคำด่าเขาไหม มันยินดียินร้าย

    ในความสรรเสริญเยินยอเขาไหม...ถ้าเรายังตื่นอยู่ในทั้งสองอย่างนี้แล้ว ก็แสดงว่า...

    ...เรานี้บกพร่องแน่ะ...พวกเขาดุเขาด่าเขาชมเชยนั้น ไม่ใช่ผู้บกพร่อง"

    ...พระธรรมคำสอนของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน...

    น้อมกราบหลวงตาด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ. กราบ กราบ กราบ.........

    คัดมาจากหนังสือธรรมะสว่างใจวัดสันติวงศาราม เบอรมิ่งแฮม UK

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2013
  4. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    อํานาจความว่างของจิต​

    โลกทั้งหลายนี้วุ่นวายกันอยู่ทั่วแดนโลกธาตุ ไม่มีใครทราบสาเหตุแห่งความวุ่นวายนี้มาจากไหน...พระพุทธเจ้าท่านทราบมาจากใจ ใจเป็นมหาเหตุก่อแต่เรื่องแต่ราวเผาผลาญตนเองและผู้อื่นให้กระทบกระเทือนทั่วโลกดินแดน...ก็มีแต่กิเลสนี่แหละตัวเผาผลาญเกิดขึ้นภายในจิตใจ เวลาดับนี้ลงได้แล้วมันจึงไม่มีอะไรมาผ่านหัวใจท่านได้เลย...ขึ้นชื่อว่าสมมตินั้นไม่มี เป็นธรรมชาติที่ว่างเปล่า ความว่างเปล่ามีอํานาจครอบหมด วัตถุจะมีมากน้อยเพียงไรความว่างเปล่านี้มีอํานาจเหนือครอบหมด เป็นว่างตลอดเวลา นี่แหละความว่างของจิต มีอํานาจครอบวัตถุทั้งหลายที่หนาแน่นอยู่ในโลกนี้ จนปรากฏไม่มีในใจของท่าน ใจท่านที่ว่าว่างเปล่าอย่างนี้เอง...
    ธรรมะขององค์ของตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้า
    ที่มาจากหนังสือ ธรรมะสว่างใจ
     
  5. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    นั้นแหละเรียกว่าปัญญา
    การคิดค้นหาเหตุผลเรียกว่า"ปัญญา"
    การทําความสงบเรียกว่า"สมถะ"
    ถ้าหากเราคิดค้นเรื่องนั้นไม่ตกแสดงว่าสมถะน้อย
    หรือไม่มีปัญญาก็ไม่เฉียบแหลมคือตัดไม่ขาด
    เวลาเกิดอารมณ์หรืออุปสรรคใดขึ้นมาให้หยิบยกเอา
    อารมณฺ์นั้นมาเพ่งพิจารณาอยู่ในจุดเดียว อย่าให้มันฟุ้งซ่าน
    มันก็เป็นสมถะอยู่ในตัว เกิดความรู้ชัดขึ้นแก้ไขอุปสรรคได้ทันที่
    นั้นเรียกว่า"ปัญญา"
    ธรรมะของพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี(พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์)
    ลูกขอน้อมกราบหลวงปู๋ด้วยเศียรเกล้า
    ที่มาจากหนังสือ ธรรมะสว่างใจ
     
  6. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    พระแก้วที่บ้าน

    ญาติโยมทั่วไปเห็นพระเห็นสงฆ์ก็มีศรัทธาเลื่อมใส เพราะเชื่อว่าพระสงฆ์เป็นผู้ทรงศีลทรงธรรม พากันแห่ไปทำบุญทำกุศล ให้ทานถวายจตุปัจจัยไทยทานตามมีตามเกิด เพราะเราเชื่อว่าจะเป็นบุญเป็นกุศล นี่เป็นการทำบุญกับพระที่เป็นพระสงฆ์ เป็นเนื้อนาบุญของโลก

    ทีนี้เนื้อนาบุญของเรานั่งอยู่ข้าง ๆ เราก็มีอยู่ ที่บ้านก็มีพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นเนื้อนาบุญของบุตรของหลาน และปู่ย่าตายายพ่อแม่ก็เป็น พระแต่ละองค์ๆ ถ้าญาติโยมไปที่อุบลฯ ไปกราบหลวงพ่อมี ท่านจะถามว่ารู้จักพระแก้วไหม ถ้าใครบอกว่าไม่รู้จัก ท่านจะบอกว่าทำไมโง่แท้ ถามหาพระแก้วรู้จักไหม ไม่รู้จัก ทำไมโง่แท้ ทีนี้ท่านก็จะบอกว่า พระแก้วก็คือ พ่อแก้วแม่แก้ว ตาแก้วยายแก้ว ปู่แก้วย่าแก้ว ท่านทั้งหลายเหล่านี้เป็นพระแก้วของลูกของหลาน ที่ว่าเป็นพระแก้วก็เพราะว่าไม่มีใครจะปรารถนาดีต่อบุตรหลานของตนเองเหมือนปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พวกญาติโยมทำงานหามรุ่งหามค่ำแสวงหาทรัพย์สมบัติผลประโยชน์ก็เพื่อลูกเพื่อเต้า เพื่อลูกเพื่อหลาน บางคนถึงกับบ่นเช้าบ่นเย็น ลูกคนนั้นลูกคนนี้มันยังไม่เป็นฝั่งเป็นฝา ยังไม่มีครอบมีครัว ถ้ามีลูกสาวหล่า (ลูกสาวคนสุดท้อง) หัวแก้วหัวแหวน พ่อแม่ก็บ่นอยู่เสมอว่า อีนางมันแต่งงานแล้วมีลูกมีผัวเป็นฝั่งเป็นฝามันมีความสุขสบายดีแล้วกูก็นอนตาหลับ แน้....ผู้เฒ่าบ่นอย่างนี้เด้.... สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่น้ำใจของพ่อของแม่ทั้งนั้น

    ดังนั้น การทำบุญ เมื่อไม่มีโอกาสไปทำบุญกับวัดกับวา กับพระกับสงฆ์ ทำบุญกับพ่อแม่ปู่ย่าตายายของตนเอง มาตาปิตุอุปัฏฐานัง การอุปัฏฐากเลี้ยงดูบิดามารดา เอตัมมังคะละมุตตะมัง เป็นมงคลอันสูงสุด เป็นอันดับแรกด้วยในมงคลสูตร ท่านเทศน์ไว้อย่างนั้นแล้วก็เป็นอันดับแรก สำหรับพระสงฆ์ยังไปอยู่ปลายๆ โน้น แสดงว่าความสำคัญนี่คือพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เป็นพระอันดับหนึ่งหรือองค์ที่หนึ่งของลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่เป็นผู้ให้เกิด เป็นผู้เลี้ยงดู เป็นผู้ให้วิชาความรู้ เป็นผู้ให้ทรัพย์สมบัติ เป็นผู้ให้น้ำจิตน้ำใจทุกอย่างแก่ลูกของตน เพราะฉะนั้นใครยังมีพ่อแม่อยู่ รีบอุปถัมภ์อุปัฏฐาก รีบทำบุญกับท่าน อย่าไปปล่อยให้ท่านลำบาก อย่างบางทีเราอาจจะศรัทธาในพระเจ้าพระสงฆ์ มีของดีๆ ขนไปให้พระเจ้าพระสงฆ์ฉันหมด แต่พ่อแม่ปู่ย่าตายายปล่อยให้อด ก่อนอื่นนี่ต้องนึกถึงพ่อถึงแม่เสียก่อน ของดี ๆ จะไปใส่บาตร เอ้อ…ส่วนนี้จะให้พ่อแม่รับประทาน ส่วนนี้จะใส่บาตรให้พระ หรือถ้าหากจะคิดว่าส่วนนี้จะใส่บาตร ส่วนนี้จะเอาเหลือให้พ่อแม่ อะไรทำนองนั้น

    พระเจ้าพระสงฆ์นี่กับพ่อกับแม่มีค่าเท่ากัน เราจะได้มาพบหน้าพระเจ้าพระสงฆ์ก็เพราะพ่อแม่ให้เกิด เราจะรู้จักพระเจ้าพระสงฆ์ก็เพราะพ่อแม่สั่งสอน เราจะรู้จักทำบุญสุนทานก็เพราะพ่อแม่เป็นผู้สอนเป็นผู้พาทำ ดังนั้น พ่อแม่จึงเป็นครู นอกจากจะเป็นครูแล้วยังเป็นพระพรหม เขาเขียนรูปพระพรหมไว้ ๔ หน้า เขาเขียนโกหก ความจริงพระพรหมไม่มี ๔ หน้า ๔ ตาอะไรหรอก มีหน้าเดียวเหมือนมนุษย์นี่ แต่ว่าพระพรหมท่านมีคุณธรรม ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ท่านก็เลยเขียนปริศนาเอาไว้เป็นรูปพระพรหม ๔ หน้า ดังนั้น พ่อแม่ของเราก็เป็นพระพรหมเหมือนกัน พรหมา ติ มาตาปิตะโส บิดามารดาชื่อว่าเป็นพรหมของลูก เพราะบิดามารดาเป็นผู้มีเมตตาต่อลูก กรุณาสงสารลูก มุทิตาพลอยยินดีเมื่อลูกได้ดี อุเบกขาเบาใจได้นอนตาหลับเพราะลูกของตนมีหลักมีแหล่งช่วยตัวเองได้แล้ว อันนี้คือคุณธรรมที่มีในน้ำจิตน้ำใจของพ่อของแม่

    ดังนั้น ใครจะทำบุญสุนทาน ใครจะทำอะไร ใครจะให้อะไรแก่ใคร ควรจะคิดถึงพ่อถึงแม่เป็นอันดับหนึ่ง อย่าปล่อยให้พ่อแม่ต้องลำบากยากเข็ญ ไปทำบุญแต่ที่อื่นไม่รู้จักทำบุญกับพ่อกับแม่ก็ไม่มีความหมายเพราะเราเป็นผู้แล้งน้ำใจต่อพ่อต่อแม่ ขาดความกตัญญูกตเวที ความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานให้เกิดคุณงามความดี คนที่จะรู้จักว่าผู้อื่นดีได้ก็ต้องรู้จักว่าพ่อแม่ตัวเองดีกว่าใครทั้งหมด พ่อแม่ถึงจะเป็นขี้เหล้าเมายาเล่นการพนันเป็นนักเลงโต ศักดิ์ศรีของความเป็นพ่อเป็นแม่ก็ยังมีอยู่โดยสมบูรณ์ ไม่ขาดตกบกพร่อง

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    Cr: fb26 พุทธศตวรรษ
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขอโมทนาสาธุกับธรรมาทานคุณGolden Skyด้วยครับ
    คนเราเป็นทุกข์เพราะปัญญาทางธรรมไม่มี อาจจะมีแต่น้อยเกิน
    ปัญญาไม่มีเพราะจิตเราไม่เป็นสมาธิกัน
    ไม่มีสมาธิเพราะว่าเราชอบเผลอสติกัน หรือไม่หมั่นสร้างสติเป็นให้เป็นนิจกัน
    ที่กล่าวมานี้ พวกเรารู้กันหมดแล้วทุกคน แต่ไม่ทำกันเอง อาจจะทำแต่ทำน้อยเกินไป

    ลูกข้าน้อมก้มกราบหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ด้วยเศียรเกล้า..สาธุๆๆ
    _/l\_ _/l\_ _/l\_
     
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ความว่างมีจริงๆ
    มีแต่เฉพาะภายในจิตเรา เท่านั้น

    โลกมิได้ยุ่ง คนอื่นมิได้ยุ่ง สิ่งอื่นมิได้ยุ่ง
    ที่บอกว่ายุ่งนั้น เป็นเพราะเราไม่มีสติรู้ทัน ไม่มีปัญญารู้เท่าอารมณ์จิตตนเอง
    นั่นแสดงว่า เราเสร็จมันแน่ คือแพ้กิเลสตนเองแร๊ะ รู้ตัวกันป่าว?
    แต่ถ้าผู้ปฎิบัติมีสติรู้ทัน มีปัญญารู้เท่ากิเลสตัณหาอุปาทาน เราก็ไม่ต้องทนทุกข์กัน
    เมื่อมีลมหายใจก็เป็นสุขหรือนิพพานบนดิน แต่ถ้าตายไปก็สุคติหรือเข้านิพพานไปเลย
    ส่วนจิตใครจะไปหรือจะอยู่ ดีหรือไม่ดี ก็เราเองทั้งนั้นเป็นคนกำหนด
    เพราะผู้ไม่ปฎิบัติมักจะเข้าข้างตนเอง(เสมอ) เพ่งโทษแต่ผู้อื่น(เสมอ)
    มีใครเคยเพ่งโทษตนเองบ้าง เคยมองเห็นความเลวของตนบ้าง มีแต่เห็นความเลวของคนอื่น
    เมื่อไหร่เราหยุดเพ่งโทษผู้อื่น หันมาเพ่งโทษตนหรือเอาความเลวตนเองออก
    ก็น่าจะดีกว่านี้ ก็น่าจะสงบกว่านี้ โลกน่าอยู่กว่านี้
    คนอื่นหรือสิ่งอื่น เราไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรอก แต่พอจะเปลี่ยนได้คือตัวเรา
     
  9. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    พระธรรมคำสอนของ พระธรรมมังคลาจารย์ วิ.หลวงปู่ทอง

    ...การกำหนดที่ติดต่อสืบเนื่อง...ทำให้พลังสมาธิเติบกล้า...

    ...เห็นการเกิดดับของรูปนามอยู่โดยตลอด...

    ...ทำให้เห็นพระไตรลักษณ์ชัดแจ้ง...

    ...ดังนั้นจึงต้องคอยกำหนดอารมณ์...

    ... ที่เกิดขึ้นทางกาย เวทนา จิต และธรรมอยู่ตลอดเวลา...

    ...ชีวิตมีค่าตอนที่กำหนดรู้...

    พระธรรมคำสอนของหลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่

    กราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะสาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2013
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ธรรมะสไตล์สบายๆ
    พวกเราชอบเผลอกาย เผลอใจกันจนชิน นั่นก็หมายความว่า ชอบเผลอสติ
    คนเราถ้าจิตไม่นิ่ง ไม่เป็นสมาธิก็นับว่าเสียหายมาก เพราะเท่ากับตัวรู้ของเราหายไปด้วย
    ถ้าคนเราขาดสติและปัญญา(ทางธรรม) ดูเหมือนเราจะรู้ จะเข้าใจ แต่ทำไม
    ปฎิบัติตามทันทีไม่ได้ หรือปล่อยวางไม่ได้ในทันทีทันใด

    การภาวนา ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้เรามีความรู้สึกตัว+ทั่วพร้อมบ่อยๆ ทำให้ชิน
    คนเราก็มีสติด้วยกันทุกคน ยกเว้น ผู้พิการสมองหรือผู้ไร้ความสามารถในทางกฎหมาย
    แต่สติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของคนเรานั้น มันยังไม่พอ คือมีสติรู้ไม่เท่าทันกิเลสตัณหาฯ
    หรือรู้ไม่เท่าทันการเกิด-ดับของอารมณ์จิตตนเอง
    โดยเฉพาะผู้ปฎิบัติธรรม จึงจำเป็นต้องเร่งสร้างสติตนเองให้มาก เพราะจิตต้องนำตัวปัญญานี้
    ไปวิปัสสนา หรือพิจารณาธรรม นั่นเอง

    เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญสำหรับการปฎิบัติธรรม ก็คือ ศีลและสติ
    เพราะศีลและสติก็เปรียบเสมือนรากฐานหรือโครงสร้างสำคัญของทุกสิ่งทุกอย่าง
    หนึ่งสติหรือความรู้สึกตัวตนของเราหนึ่งครั้ง ก็เปรียบเสมือนหนึ่งเม็ดหินดินทราย ที่ก่อตัว
    หรือรวมตัว จับกันเป็นกลุ่ม เป็นก้อน แล้วก็กลายเป็นปึกแผ่น เป็นพื้นปูน เป็นฝาผนังปูน
    แม้นกระทั่ง เสาเข็มหรือเสาปูนก็ตาม นั่นแหล่ะ ในขณะที่เรามีสติหรือขยันสร้างสติกันบ่อย
    นั่นเอง ปัญญาของเราก็จะเริ่มต้นหรือมีปัญญาเกิดขึ้นมาทีละน้อย มาทีละน้อย
    จนกลายเป็นมหาปัญญาไปได้ในที่สุด สำหรับคนที่ขยันหมั่นเพียร หรือผู้ที่เอาจริงเอาจัง
    เพราะผู้ปฎิบัติจริงก็ย่อมได้ของจริงๆไปเป็นธรรมดา สำหรับผู้ที่ไม่เอาจริงย่อมได้ของไม่จริงไป
    นอกจากไม่ได้อะไรแล้วยังเสียเวลา ที่บอกไม่ได้อะไร มิได้หมายความว่า ให้ไปยึดหรือได้ความโลภเพิ่ม
    แต่จะหมายถึงว่า ละกิเลสตัณหาฯตนเองมิได้ คือกิเลสตัณหาของตนมียังไงก็ยังอยู่เท่าเดิมอย่างนั้น

    ที่กล่าวมาในวันนี้ คืนนี้ว่า..การปฎิบัติธรรมนั้นไม่ยากสำหรับผู้เอาจริงเอาจังเลย
    พ้นทุกข์หรือออกจากทุกข์ตนเองนั้นก็ไม่ยากเช่นกัน ถ้าเรา(จิต)รู้เข้าใจและเข้าถึงจิตและธรรม
    ผมจึงพยายามเน้นเรื่องการปฎิบัติมาก มากกว่าการท่องจำพระธรรมหรือธรรมะหรืออามิสบูชา

    มีสติ สบายชั่วคราว นาที
    มีสมาธิหรือฌาน สบายชั่วคราว ชั่วโมง รายวันหรือรายปี
    มีปัญญาหรือปัญญาญาณ
    สบายแบบถาวร ข้ามภพ ข้ามชาติ ข้ามวัฎสงสาร
     
  11. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    คนที่จะเข้าสู่ภาวนานั้น ต้องดูจิตตนเองเท่านั้น อย่าได้ไปมองจิตคนอื่น เพราะทุกอย่างอยู่ที่เราไม่ได้อยู่ที่คนอื่น และการจะภาวนานั้นต้องดูทุกกริยาของตน คือ ยืน เดิน นั่ง นอน อย่าเผลอสติ เราต้องใช้บทกําหนดใช้ พุทธโธอย่าให้เผลอเพราะถ้าจิตแวบไปคิดเรื่องใดก็ให้ดิ่งมันกลับมา...จะให้มีสตินั้นจะทําได้ยากมาก เพราะจิตไม่ชิน เพราะปกติจิตมีแต่ฟุ้งซ่านรําคาญใจหาอิสระในตนนั้นไม่ได้เลย...เราผู้ปฏิบัติต้องใช้สติและผู้ปฏิบัติเท่านั้นถึงจะรู้ว่ามันยากขนาดไหน? แต่ถ้าเรามีความเพียรและความศรัทธาในพระศาสนานั้นแหละจึงจะไปได้ แต่ถ้าศรัทธาไม่พอก็อย่าคิดว่าเราจะเอาชนะกิเลสของเราได้นั้นยาก...เพราะคนที่จะผ่านเข้ามาในการ"ภาวนา"นั้นต้องอยากทําเองและไม่มีใครบังคับเพราะคนที่รู้ว่าเกิดมาแล้วมีแต่ทุกข์และเบื่อในการเกิดนั้นแหละท่านผู้นั้นจึงจะไปได้รอด...แต่ถ้าท่านยังติดใจในรสชาติของการเกิดอยู่คือ"ยังมีความพอใจในกายของท่านอยู่ก็คงจะต้องเป็นเรื่องยาก...เพราะกิเลสพาให้เรายากและไม่อยากทําความดีนั้นแหละก็มีแต่แพ้มันเป็นถ่ายเดียวจึงขอให้ท่านจงมีความศรัทธา และความเพียรนั้นแหละจะทําให้สําเร็จได้...สาธุ
     
  12. fein

    fein เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +463
    อนุโมทนาสาธุกับธรรมทานค่ะ
    ลูกขอกราบหลวงตาด้วยค่ะ

    ในเวลาที่สติมันห่างจิต จิตมันก็ไหลไปกับโลกนิดหน่อย
    ก็ทำให้เราหวั่นไหว เหนื่อยหน่าย ไปบ้าง
    ไหลมากหน่อยก็เผลอตอบโต้ไปบ้าง ...
    ตอบโต้มากไปก็ยิ่งทุกข์มาก ไหลไปกับทุกข์มากขึ้นเรื่อยๆ
    นี่เป็นสิ่งที่ลูกได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริิง

    คำสอนของพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ ทำให้ลูกเกิดความคิดที่ถูกต้อง
    เป็นทางเดินแรก แล้วหากเจริญสติมากขึ้นเรื่อยๆ
    สติจะสนับสนุนให้เกิดการเดินทางที่ถูกและที่ตรง ไม่เผลอ ไม่ไหล
    อยู่กับความสบาย ความสงบ ความว่าง ท่ามกลางสงครามน้ำลาย

    จึงได้ข้อสรุปว่า ความทุกข์เอ๋ย ถ้าเผลอแล้วเราเจอกัน
     
  13. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    (หลวงปู่ทอง ท่านกล่าวไว้ว่า)

    คนใดมีความละอาย และเกรงกลัวต่อบาปและกรรม

    ...ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง...

    ใครดีก็ส่งเสริม ไม่มีความโกรธ ไม่ปรารถนาบุญคุณ หรือการตอบแทน...

    ...ทำไปเป็นเพียงบุญ หรือเป็นประโยชน์...

    ...คนนั้นเป็นผู้มีศีลธรรม...ตั้งมั่นในศีลธรรม...

    ...ได้ชื่อว่ามีรากเหง้าแห่งศีล...จะเป็นผู้เติบโตไม่อับเฉาเหี่ยวแห้ง...

    ...พระธรรมของท่านสอนให้รู้ว่า...ผู้ที่มีความละอาย...และกลัวบาปอยู่ในใจ...

    ...ไม่ว่าจะคิดและทำอะไร...ใจที่มีศีล...ย่อมหล่อเลี้ยงใจให้มีความซุ่มชื้น...

    ...ไม่เหี่ยวแห้ง...เพราะจิตใจของผู้นั้นเป็นผู้ทรงศีล และเป็นผู้ทรงธรรม...

    ...ผู้เขียนจึงนำธรรมะของทานมาเป็นธรรมทานค่ะ...

    ...ขอกราบขอบพระคุณหลวงปู่ทอง และกราบหลวงปู่เจ้าค่ะ...สาธุ สาธุ สาธุ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2013
  14. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    -ปัญหาหรืออุปสรรคอะไรจักเกิดขึ้น จงอย่าเสียใจ ให้ถือว่านั่นคือข้อสอบอารมณ์จิตเป็นสำคัญ ทุกอย่างสำคัญที่กำลังใจ ตั้งมั่นเข้าไว้ให้อยู่ในธรรมพ้นโลก

    -ธรรมทางโลกจักกระทบเท่าใด นั่นแหละคือไม้เรียวของครูที่ขับเคี่ยวจิตใจ ให้มีกำลังเข้มเเข็งยิ่งขึ้น เราไม่หวังจักรบชนะใคร เราหวังเพื่อชนะใจของตนเอง

    -ให้คิดเสียใหม่ว่า ขณะนี้เป็นโอกาสดีแล้ว ที่ได้พบกับการทดสอบกับอารมณ์เยี่ยงนี้ อย่าทำกำลังใจให้ขาดทุน ถ้าจักสอบผ่านก็ต้องตรวจสอบบารมี ๑๐ ให้ครบ มันจักบกพร่องบ้าง ก็รีบดึงกำลังใจให้เข้มแข็งต้อสู้ใหม่ ไม่ใช่สู้กับเขา แต่สู้กับอารมณ์ใจของเราที่ถูกกระทบนั้น อย่าได้หวั่นไหว






    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๗ หน้า ๑๔๐
    รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    พระราชพรหมยานมหาเถระ
    หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
     
  15. natatik

    natatik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    873
    ค่าพลัง:
    +3,607
    วันนี้ท่านตรวจศีลท่านหรือยัง​


    ตรวจศีลข้อ1

    <!-- Main -->ศีลข้อ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาดจากโทสะ
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 1 เพื่อล้างโทสะ ละเบียดเบียน

    ศีลขาด
    คือ เจตนาทำชีวิตสัตว์ให้ตกร่วง และแสดงออกซึ่งอาการโทสะทางกาย เช่น เตะหมา ตีแมว ต่อยคน ประทุษร้ายใครด้วยความโกรธ ฯลฯ (อริยกันตศีลเป็นศีลละเอียดกว่าศีลสามัญญตา)

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจาด้วยโทสะ หรือโกรธ เช่น สั่งฆ่า สั่งทำร้าย หรือพูดกระแทกแดกดัน ยั่วกันด้วยโทสะ ด้วยความไม่ชอบใจ หมั่นไส้ และวาจาใดอันอดมิได้ต่อโทสะภายใน

    ศีลด่าง
    คือ มีใจโกรธ อึดอัด ขัดเคือง อาฆาต พยาบาท ถือสาชิงชัง รังเกียจ ไม่ชอบใจหรือปรุงใจเป็นไปด้วยโทสะ (ยังครุ่นคิดแค้น คิดทำร้าย คิดทำไม่ดีไม่งามกับผู้อื่นอยู่)

    ศีลพร้อย
    คือ มีใจเบื่อ ซึม เซ็ง ซังกะตาย ถดถอย ท้อแท้ ไม่ยินดี โลกนี้เป็นสีเทา (อรติ)

    เป็นไทโดยศีล
    คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายโทสะละเบียดเบียนนี้ ซึ่งจะรู้ชัดได้ดี เมื่อมีเมตตาสมาทานอย่างต่อเนื่อง



    ตรวจศีลข้อ2

    <!-- Main -->ศีลข้อ 2 อทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากโลภะ
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 2 เพื่อลดโลภะ ละตระหนี่ แม้ตน

    ศีลขาด
    คือ เจตนาขโมย โกง ปล้นจี้ ตีชิง ฉกฉวย แม้ที่สุดหยิบของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจา เลียบเคียง ลวงเล็ม หลอกล่อ หรือพูดเพื่อให้ได้มาสมโลภ

    ศีลด่าง
    คือ มีใจเอาเปรียบ เห็นแก่ได้ คิดอยากใคร่ของคนอื่น หรืออาศัยนิมิตสมมุติ เพื่อให้ได้มาเพื่อให้ได้อยู่โดยไม่สมคุณค่าฐานะแห่งนิมิตสมมุติ (รูปแบบ, ตำแหน่งแต่งตั้ง) นั้นๆ

    ศีลพร้อย
    คือ มีใจยินดีทรัพย์สินของโลก ของคนอื่น หรือมอบตนอยู่บนทางแห่งการได้มาสมโลภ

    เป็นไทโดยศีล
    คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไม่หลงใหลยินดีทรัพย์สินของโลก และสิ้นความผลักใส ชิงชังทั้งไร้ตระหนี่ตน เป็นคนขวนขวายใฝ่สร้างสรร ขยันชนิดทำงานฟรี ไม่มีเรียกร้องสนองตอบ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายโลภะละตระหนี่นี้ +++ (ฆราวาสครองเรือนจะพ้นศีลพร้อยได้ยากมาก แต่สามารถตรวจจับดับความยินดีในการได้มาได้...เมื่อต้องอยู่กับทรัพย์สินก็ควรอยู่เหนือทรัพย์สิน)




    ตรวจศีลข้อ3

    <!-- Main -->ศีลข้อ 3 กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากราคะ
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 3 เพื่อลดราคะ ละกามารมณ์

    ศีลขาด
    คือ เจตนามีสัมพันธ์ทางเพศ หรือโลมเล้าจับต้อง เสพสุขสัมผัสกับผู้มิใช่คู่ครองของตน แม้ในคนที่ไม่ได้แต่งงานกัน (การบริโภคกามตามสถานค้าประเวณีจัดเป็นความผิดขั้นนี้)

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจาจีบเกี้ยว พูดแซวเชิงราคะ กระซิกกระซี้ สัพยอก หยอกเย้า เร้าให้รักใคร่ พูดไปเพื่อผูกพัน หรือบำบัดบำเรออารมณ์ โดยกามราคะขับดัน ทั้งที่ผู้นั้นมิใช่คู่ครองของตน

    ศีลด่าง
    คือ มีใจคิดปรุงไปในสัมพันธ์ทางเพศ หรือมีอารมณ์แปรปรวนป่วนฝันฟุ้งบำรุงกาม และเรื่องราวคาวกามลามไหล อยู่ในใจกับใครอื่นซึ่งไม่ใช่คู่ครองของตน (นัยละเอียดต้องจบจิตคิดใคร่)

    ศีลพร้อย
    คือ มีใจยินดีในกาม ความเป็นคู่กับผู้อื่น หรือยินดีพึงใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันชวนกำหนัดรัดรึงจากเพศตรงข้ามที่ไม่ใช่คู่ครองของตน (นัยละเอียดจบสนิทจิตยินดีในกาม)

    เป็นไทโดยศีล
    คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้ความยินดีในกาม ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายราคะ ละกามารมณ์นี้ (ต้องศีล 8 จึงมีสิทธิเป็นไท)<!-- End main-->



    ตรวจศีลข้อ4

    <!-- Main -->ศีลข้อ 4 มุสาวาท เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากความเท็จ ความไม่แท้
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 4 เพื่อลดมุสา พัฒนาสัจจวาจา

    ศีลขาด
    คือ เจตนากล่าวคำเท็จ โกหก หลอกลวง บิดเบือนไปจากความจริง หรือสัจจะ

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจา ระบายโทสะ บำเรอโลภะ บำรุงราคะ เป็นคำหยาบ

    ศีลด่าง
    คือ มีวาจาส่อไปในทางเสียด เสียดสีเชิงโทสะบ้าง เสียดสีเชิงโลภะบ้าง เสียดสีเชิงราคะบ้าง เสียดสีเชิงมานะทิฏฐิบ้าง เสียดสีเชิงมานะอัตตาบ้าง แม้จางบางเบา หรือพูดกบคนโน้นทีคนนี้ที เพื่อให้เกิดวิวาทบาดหมาง แยกก๊ก แบ่งเหล่า ก็จัดเข้าอยู่นัยนี้ เป็นวาจาส่อเสียด

    ศีลพร้อย
    คือ มีวาจาเรื่อยเปื่อยเฉื่อยฉ่ำไป เพ้อไป พล่อยไป พล่ามไป จะโดยแรงเร้าจากโทสะที่จากบางเบา โลภะที่จางบางเบา ราคะที่จางบางเบา หรือมานะทิฏฐิที่จางบางเบา มานะอัตตาที่จางบางเบา ก็จัดเข้าอยู่นัยนี้ เป็นวาจาเพ้อเจ้อ

    เป็นไทโดยศีล
    ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี มีวาจาประชาสัมพันธ์ เป็นไปโดยสามารถของตนไร้อิทธิพลจากโทสะ โลภะ ราคะ มานะทิฏฐิ มานะอัตตามาครอบงำ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องราว ลดมิจฉาสู่สัมมา หรือลดมุสา (วาจาอันเป็นเท็จจากสัจจะ) พัฒนาสัจจวาจา
    <!-- End main-->



    ตรวจศีลข้อ5

    <!-- Main -->ศีลข้อ 5 สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากเสพติด ชีวิตมืดบอด
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 5 เพื่อลดโมหะ ละประมาท เพิ่มธาตุรู้หรือสติ

    ศีลขาด
    คือ เจตนาเสพสิ่งเสพติดมัวเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน สังสรรกับคนชั่ว ปล่อยตัวเกียจคร้านอย่างตั้งใจ

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจาชักชวน โน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่อบายมุขหรือโน้มน้าวอบายมุขมาสู่ตน คนอื่น และกล่าววาจาพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งอบายมุข (ทั้ง6)

    ศีลด่าง
    คือ มีใจทะยานอยากในอบายมุข ปรุงใจถวิลไปในอบายมุข หรือเรื่องราวคราวก่อนตอนเสพอบายมุขลามไหลอยู่ในใจ เก็บสัญญาเก่าก่อนตอนเสพอบายมุขมาย้อนเสพ

    ศีลพร้อย
    คือ ยังมีใจยินดีในอบายมุข เห็นคนเสพอบายมุขยังยินดี มีใจริษยา มิได้เกิดปัญญา เห็นภัยในอบายมุขและการเสพอบายมุข

    เป็นไทโดยศีล
    คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี หมดความยินดี และสิ้นอารมณ์ชิงชังในอบายมุข หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายมัวเมามือบอดนี้



    ตรวจศีลข้อ3 (สำหรับศีล8)

    <!-- Main -->ศีลข้อ 3 อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากราคะ
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 3 เพื่อลดราคะ ละกามารมณ์

    ศีลขาด
    คือ เจตนามีสัมพันธ์ทางเพศกับผู้อื่น หรือโลมเล้าจับต้อง เสพสุขสัมผัส แม้ที่สุดกับตนเองทางกาย หรือข่มเหงตนเองโดยกามราคะขับดัน

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจาจีบเกี้ยว พูดแซวเชิงราคะ กระซิกกระซี้ สัพยอก หยอกเย้า เร้าให้รักใคร่ พูดไปเพื่อการผูกพัน หรือพูดบำบัดบำเรออารมณ์ โดยกามราคะขับดัน

    ศีลด่าง
    คือ มีใจคิดปรุงไปในสัมพันธ์ทางเพศ มีอารมณ์อันแปรปรวนป่วนปั่น ฝันฟุ้งบำรุงกาม และเรื่องราวคาวกามลามไหลอยู่ในใจ หรือกามสัญญาเก่าก่อนนึกย้อนมาเสพ

    ศีลพร้อย
    คือ มีใจยินดีในกาม ความเป็นคู่ หรือยินดีพึงใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันชวนกำหนัดรัดรึง จากเพศตรงข้าม เพศเดียวกัน แม้ที่สุดตนเอง

    เป็นไทโดยศีล
    คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้ความยินดีในกาม ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายราคะ ละกามารมณ์นี้



    ตรวจศีลข้อ6

    <!-- Main -->ศีลข้อ 6 วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากการบริโภคอันไม่ควรกาล
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 6 เพื่อลดหลงติดในอาหาร และรู้ประมาณการบริโภค

    ศีลขาด
    คือ เจตนาบริโภคเกินหนึ่งมื้อด้วยความหลงติด สำหรับผู้ยังไม่เข้มแข็งสมาทานสองมื้อก็เจตนาบริโภคเกินสองมื้อ หรืออดมิได้ต่อความยั่วยวนชวนชิมของอาหาร

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจา เรียกร้อง เลียบเคียง หรือพูดเพื่อให้ได้มาสมตัณหาในอาหารอันตนชอบรับประทาน และพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งสิ่งอันตนชอบรับประทาน

    ศีลด่าง
    คือ มีใจคิดคำนึงหาอาหารอันตนชอบรับประทาน หรืออยากในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหารอันยวนใจ และดึงสัญญาในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหารจากกาลก่อนย้อนมาเสพ

    ศีลพร้อย
    คือ ยังมีใจยินดีในรูป รส กลิ่น สัมผัสของอาหาร ยามได้เห็น หรือได้มาสมอุปาทานยังปลาบปลื้มประโลมลิ้นยินดีพึงใจอยู่

    เป็นไทโดยศีล
    คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี ไร้กำหนัดยินดี และสิ้นความผลักไสชิงชังใน รส หรือ ไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือ ขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องอาหารการบริโภคนี้



    ตรวจศีลข้อ7

    <!-- Main -->ศีลข้อ 7 นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิลเปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากส่วยเสริมกามราคะ
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 7 เพื่อลดส่วยเสริมกามราคะ ละกำหนัดในกาย ธุลีเริงทั้งหลายและความเป็นเด็ก

    ศีลขาด
    คือ เจตนา เต้น ร่ายระบำ รำฟ้อน หรือทำท่าทางยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (นัจจะ) ขับร้อง เอื้อนเอ่ยบรรเลงเพลงยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (คีตะ) ประโคมดนตรี เครื่องเสียง เครื่องเคาะ เครื่องสายต่างๆ ยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (วาทิตะ) หาอ่าน หาดู หารู้ รับทราบสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ใจเร้าให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (วิสูกะทัสสะนา) และเจตนาประดับตบแต่งด้วย ดอกไม้ พวงดอกไม้ (มาลา) กลิ่นหอมเครื่องหอมเครื่องสำอาง (คันธะ) หรือลูบไล้พอกทาแต้มเติม (วิเลปะนะ) หรือสวมใส่ทรงไว้ทรงจำ (ธาระณะ) หรือแต่งเสริมเติมแต้มด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ (มัณฑะนะ) ด้วยการประดับแต่งเสริมเติมแต้มที่ไม่สมควรไม่ใช่ฐานะอันควร (วิภูสะนัฏฐานา) ทั้งหมดจะเจตนายั่วคนอื่น หรือบำเรอตนก็จัดอยู่ในข้อศีลขาด

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจาชักชวน โน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่การขับร้อง ประโคมดนตรีอันเป็นมหรสพ หรือเป็นข้าศึกแก่กุศล หรือชวนอ่าน ชวนดู รับรู้ รับทราบสิ่งอันเป็นข้าศึกแก่ใจ และโน้มน้าวกล่าวชวนแต่งเติมเสริมประดับด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องสำอางทั้งเครื่องประดับต่างๆ ที่ไม่สมควร ไม่สอดรับกับฐานะ หรือพร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งสิ่งดังกล่าว

    ศีลด่าง
    คือ มีใจทะยานอยากในส่วยเสริมกามราคะ ปรุงใจถวิลไปในบันเทิงเริงรมย์ เชิงร่ำร้อง ประโคมดนตรี หรือสิ่งดู รับรู้อันเป็นข้าศึกแก่ใจ ทั้งเครื่องลูบไล้ ดอกไม้ของหอม เครื่องสำอางต่าง ๆ หรือประสบการณ์เก่าก่อนนึกย้อนมาเสพ

    ศีลพร้อย
    คือยังมีใจยินดีในส่วยเสริมกามราคะ เห็นผู้อื่นเสพส่วยเสริมกามราคะ ยังยินดีบ้าง มีใจริษยาบ้าง มิได้เกิดปัญญาเห็นโทษภัยในส่วยเสริมกามราคะ และการเสพสิ่งดังกล่าว

    เป็นไทโดยศีล
    คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี หมดความยินดี และสิ้นความผลักไสชิงชังในการร้องรำ ประโคมดนตรี และการปรับปรุงระดับต่างๆ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องส่วยเสริมกามราคะ หรือการบันเทิงเริงประดับนี้ (การทำท่าทางเพื่อให้ละหน่ายคลายจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นมงคลอันอุดมไม่ใช่มหรสพ)
    <!-- End main-->



    ตรวจศีลข้อ8

    <!-- Main -->ศีลข้อ 8 อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
    ศึกษาสมาทานเพื่อการลด งด เว้นขาด จากความมักใหญ่
    เจตนารมณ์ศีลข้อ 8 เพื่อลดมานะ ละอัตตา (โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา อรูปอัตตา)

    ศีลขาด
    คือ เจตนาเสพที่นอน ที่นั่ง บัลลังก์ ที่อยู่อาศัยใหญ่โตเขื่องหรู หรืออยู่และนั่งในยศตำแหน่งแห่งงาน การดำรงชีพอันเขื่องโข เพื่ออวดใหญ่อวดโต โดยเกิดจากใจอุจาด

    ศีลทะลุ
    คือ เจตนากล่าววาจาชักชวนโน้มเหนี่ยวนำพาตน คนอื่น สู่การนั่ง การนอน การอยู่อันเขื่องหรู ใหญ่โต โดยใจมักใหญ่ หรือกล่าววาจายกตนข่มคนอื่น สำแดงความเป็นใหญ่ โอ่ประโลมอัตตายิ่ง ๆ ขึ้นไป พร่ำพิไรใฝ่ถึงซึ่งที่นั่งที่นอนที่อยู่อันหรูหราใหญ่โต และวาจาใดอันอดมิได้ต่อความมักใหญ่ภายใน

    ศีลด่าง
    คือ มีใจทะยานอยากในความใหญ่ ปรุงใจถวิลไปในที่นั่ง ที่นอน ที่อยู่ ยศตำแหน่งแห่งปรารถนาอันใหญ่ (มโนมยอัตตา) และเรื่องราวคราวใหญ่ในกาลก่อน นึกย้อนมาเสพ

    ศีลพร้อย
    คือ มีใจยินดีในความเป็นใหญ่ อยู่ใหญ่ของตน คนอื่น แม้เห็นคนอื่นเสพ หรือเป็นอยู่เป็นไปในความใหญ่ ทั้งนั่งใหญ่ นอนใหญ่ หรือยศตำแหน่งแห่งที่เขื่องหรู ยังมีใจยินดีที่ตนเป็นใหญ่ มีใจริษยาเมื่อคนอื่นใหญ่ มิได้เกิดปัญญารู้แก่นรู้กาก ของการเป็นอยู่เป็นไปในชีวิตที่พอเหมาะพอควร พอดีสมฐานะ รวมไปถึงอรูปอัตตาที่ยึดเป็นตะกอนนอนนิ่งในจิตทั้งปวง

    เป็นไทโดยศีล
    คือ ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี แม้พัฒนาตนได้ดียิ่งขึ้น เก่งยิ่ง เป็นเลิศยิ่ง ก็ไม่มีความหลงใหลในการเป็นอยู่ เป็นไป ในที่นั่ง ที่นอน ยศตำแหน่งแห่งการงาน การดำรงชีวิตหรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะสายอัตตามานะนี้

    อ้างอิง : จากข้อความคุณ 2499
     
  16. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    (ระวัง...อันตราย ๕...จะพาชีวิตติดกรรม)

    พระอรรถกถาจารย์ กล่าวอันตรายที่เกิดแก่สัตว์โลกว่ามี ๕ อย่าง

    จึงขอฝากไว้ในที่นี้เสียเลย คือ...

    ๑. กิเลสันตราย อันตรายเกิดแต่กิเลส เช่น มีความโลภ โกรธ หลง...

    ตายตามถนนมีมาก ตายอย่างน่าเสียดาย...

    ๒.กัมมันตราย อันตรายเกิดจากกรรมชั่วที่ทำในปัจจุบันนั้น ไม่ต้อง

    ไปเอากันในชาติหน้า เห็นทันตาเลย...

    ๓. วิปากันตราย อันตรายที่เกิดจากวิบากกรรม คือผลกรรมที่ทำไว้ใน

    ครั้งอดีต ออกมาประสบในปัจจุบันนี้...

    ๔. ทิฏฐิอันตราย อันตรายที่เกิดจากทิฐิที่ผิด คิดผิดคิดไม่ถูกต้อง

    ทำอะไรไม่มีตามคลองธรรม เกิดอันตรายในปัจจุบันนี้...

    ๕. อริยูปวาทันตราย อันตรายเกิดจากการจ้วงจาบผู้มีบุญคุณ ผู้ทรงศีล...

    ทรงทธรรม เช่น พระสงฆ์องค์เจ้า คุณพ่อคุณแม่ ก็เป็นอันตรายในปัจจุบัน...

    ...ท่านพี่น้องที่รัก อย่าคิดว่าทำอะไรแล้วจะไปเอาในชาติหน้า ทำบุญ...

    ก็จะได้บุญในชาติหน้า...ชาตินี้เห็นทันตา แน่นอนที่สุด ยกตัวอย่างให้เห็นที่...

    ...วิทยาลัยครูเทพสตรี...ตอนนี้เปลี่นเป็นสถาบันนนราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี...

    เมื่อปี ๒๕๐๙-๒๕๑๐ มีการอบรมที่วัดอัมพวัน...แล้วก็มาเล่นกองไฟ กินเหล้าเมายา...

    ...เกิดต่อยปากครู...ดูซิอย่างนี้จะมีอันตรายเกิดขึ้นไหม...

    ...ครูก็ใจดี เป็นมหาเปรียญ ๖. ประโยค ตอนบวชเณร แล้วไปเรียนวิชาครู

    มาบรรจุที่วิทยาลัยครูเทพสตรีนั้น...เดี๋ยวนี้เกษียณแล้ว "ผมไม่โกรธครับ ไม่เป็นไรเขา

    เมา อยู่มาไม่ถึง ๗ วัน ขับมอเตอร์ไซค์ที่ท่าวุ้ง ถูกรถสิบล้อขยี้เลย รถมอเตอร์ไซค์พัง

    หมด เขาหัวเละตายคาที่...นี่แหละอริยูปวาอันตราย อันตรายจากที่จ้วงจาบผู้มีบุญคุณ

    ...กรรมนี้ส่งผลแรงมาก...ต้องระมัดระวัง...

    คัดจากหนังสือกฏแห่งกรรม โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ ( หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมุโม)

    กราบหลวงพ่อจรัญด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ กราบ กราบ กราบ...

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2013
  17. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทําเหตุนั้น​

    การที่จะติเตียนหรือสั่งสอนอบรมตนเอง จะต้องเป็นผู้ไม่ลําเอียงเข้าข้างตน ต้องวางตนให้เป็นกลาง พิจารณาตนเองโดยเหตุผล ถ้าพบความผิดหรือความไม่ดีของตนเองก็ติเตียนหรืออบรมตนเองเสีย...ใช้สติปัญญาพิจารณาถึงคุณและโทษของสิ่งนั้น แล้วเลิกสิ่งนั้นเสียและจะต้องมีสัจจะต่อตนเองด้วยให้สัญญาสิ่งใดไว้กับตนแล้วก็จงรักษาสัญญานั้น เช่น สัญญาว่าจะไม่ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ก็ต้องไม่ดื่มหรือไม่สูบ จึงจะนําพาตนให้ถึงความสุขความเจริญไปได้...
    ที่มาหนังสือนักธรรมและธรรมศึกษา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2013
  18. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    สกุลที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำอยู่...

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภายเรือนแห่งตระกูลใด...บุตร ๆบูชามารดา. ตระกูลนั้น

    ชื่อว่ามีพระพรหม. ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตร ๆ บูชามารดาบิดา. ตระกูลนั้น ชื่อว่ามี

    เทวดาคนแรก. ภายในเรือนแห่งตระกูลใด บุตรๆ บูชามารดาบิดา...ตระกูลนั้น ชื่อว่ามี

    บุคคลผู้ควรนำมาบูชา...คำว่า บูรพเทวดา (เทวดาคนแรก) คำว่าพระพรหม คำว่า...

    อาหุเนยยะ(ผู้ควรนำของมาบูชา) เป็นชื่อของมารดาบิดา เพราะมารดาบิดา เพราะ

    มารดาบิดาเป็นผู้มีอุปการะมาก...เป็นผู้คุ้มครองเลี้ยงดูบุตร แสดงโลกนี้แก่บุตร."

    จากพระไตร์ปิฏก คัดจากหนังสือธรรมะสว่างใจ วัดสันติวงศาราม เบอรมิ่งแฮม...
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ดูเกิดดับให้ติดต่อเพื่ออบรมบ่มปัญญาให้แก่กล้า
    โดย ท่าน ก.เขาสวนหลวง
    การ มีสติติดต่อจะต้องเป็นข้อสังเกตได้ว่า การกระทบผัสสะก็ดี หรือว่าการอยู่สงบที่จะได้เป็นการอ่านภายในก็ดี มันล้วนแต่ว่าเราจะต้องรักษาหลักจิตปกติ แล้วก็สังวรด้วย ถ้าว่ามีการสังวรอยู่ได้ติดต่อ จิตนี่ก็เป็นปกติได้เป็นส่วนมาก

    การพิจารณาจิตในจิตนี่ ก็เป็นสิ่งที่จะต้องพยายามอยู่ทุกอิริยาบถ ขณะนั่ง ยืน เดิน นอน จะต้องพยายามให้ติดต่อ ถ้าว่าการพิจารณาจิตในจิตให้ติดต่อได้อย่างเดียว มันเป็นเครื่องอ่านอยู่ภายใน หรือผัสสะจะมีการกระทบ มันก็แค่เกิด - ดับ อ่านอยู่ภายใน หรือผัสสะจะมีการกระทบ มันก็แค่เกิด - ดับ

    ทีนี้เกิด - ดับภายในกับเกิด-ดับภายนอก เช่น ตาเห็นรูป หูฟังเสียง นี่มันเกิด - ดับผัสสะภายนอก

    แต่เราจะต้องพยายามรู้ภายใน ที่มันมีความรู้สึกขึ้นมาภายในจิตนี่

    ถ้าว่ารู้จิตในจิตให้ติดต่อแล้ว ผัสสะภายนอกมันก็แค่เกิด - ดับไปตามธรรมดา

    เราจะสังเกตได้ ขณะไหนที่ความรู้ภายในมันเผลอมันก็รับผัสสะ มันเผลอออกไป ถ้าเผลอในระยะสั้น ก็ยังไม่มีทุกข์โทษอะไรนัก แต่ถ้ามันเผลอไปในระยะยาวนี่สิ มันเป็นความเพลิดไปยึดถือ ไปจำ ไปหมาย ไปคิดอะไรขึ้นติดต่อไปยาวๆ นั้นต้องพยายามหยุด คือว่าหยุดในระหว่างที่มันคิดอะไรไปยาวๆ

    ถ้าว่าเป็นการรู้เกิด - ดับได้ มันก็หยุดได้เร็ว คือว่าเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป นี้มันก็เป็นการตัดเรื่อง ที่จะให้จิตนี่มันกลับมารู้พิจารณาจิตเสียใหม่ แล้วความรู้สึกอย่างนั้นมันก็ดับสลายตัวไป มันไม่ปรุงต่อ มันไม่ติดต่อ เรื่องมันก็หยุด มันก็สงบได้

    ทีนี้เราจะต้องพยายามสังเกตดูให้ดีว่า การรู้เกิด - ดับเฉพาะหน้าปัจจุบันนี้ มันจะทำให้การปรุง การคิด การจำหมายอะไร ไม่ยืดยาว พอว่ารู้สึกแล้วก็ดับแค่ความจำ ไม่นำมาคิดต่อปรุงต่อ นี่เป็นการหยุดได้ทันที

    เหมือนอย่างกับเราหยุดรู้อยู่เดี๋ยวนี้นะ จิตนี่ กำลังพูดอยู่นี่ กำลังรู้อยู่นี่ พูดออกไปคำหนึ่ง มันก็เกิด - ดับอยู่ในคำพูดแล้วได้ยิน มันก็เกิด - ดับอยู่

    ทีนี้ถ้าว่าเรารู้ลักษณะเกิด - ดับเฉพาะหน้าปัจจุบันแล้ว จิตนี้มันจะไม่ไปไหนเลย มันจะรู้อยู่สงบอยู่ได้ติดต่อ แม้ว่ามันจะมีความจำหมายอะไรขึ้นมาคิด พอว่ารู้ว่ามันเกิด - ดับ มันก็หยุด ! หยุดแค่นี้ ไม่มีเรื่องอะไรดีชั่วที่จะปรุงออกไปยืดยาว หยุด ! หยุด ! หมดเลย

    ทีนี้ที่หยุดบ่อยๆ นี่เอง จิตนี่จะมีโอกาสพิจารณาจิตในจิตได้รายละเอียด แล้วสังเกตดูว่า ถ้าว่ามันไม่ได้หยุดดูหยุดรู้ภายในแล้ว จิตนี่ก็ฟุ้งซ่าน คือว่าถูกปรุง ถูกความจำหมายอะไรขึ้นมา แล้วก็คิดต่อไป ยืดยาวไป

    ทีนี้เราสังเกตได้นะว่า การมีสติติดต่อนี่ มันต้องติดต่อแบบนี้ ที่ว่ารู้เกิด - ดับเฉพาะหน้าปัจจุบัน

    เอาให้มันรู้อยู่ให้มากทีเดียว ความเผลอเพลินน้อย ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เผลอเพลินเสียเลย แต่ว่าเมื่อมีสติรู้เกิด - ดับอยู่เฉพาะหน้าแล้ว ความเผลอเพลินจะน้อยลง จิตจะมีโอกาสหยุดแล้วก็พิจารณาจิตในจิตให้ละเอียดเข้าหน่อย จนกว่าสติหรือความรู้นี่ จะมีการรู้ประจักษ์ชัดในความเกิด - ดับภายใน

    แล้วก็เป็นข้อสังเกตดูว่า การอบรมจิตภาวนาที่เราพยายามกำหนดรู้จิต พิจารณาจิตนี่นะมันจะทำให้เกิดสติปัญญาขึ้นมารู้เห็นความจริง ในเรื่องความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของของเรา

    ทีนี้การที่จะรู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์นี่ต้องรู้ให้จริง ถ้าว่ารู้ไม่จริงแล้ว ที่ว่าไม่มีตัวเรา ไม่ใช่ของของเรานี่ ก็ยังไม่รู้เรื่อง

    ฉะนั้นมันต้องรู้เรื่องนี้เสียก่อน เพราะว่ามันไม่เที่ยงนี่น่า แล้วมันก็เป็นทุกข์อยู่ในตัวความไม่เที่ยง พออ่านอันนี้ชัดว่าไม่เที่ยงจริง เป็นทุกข์จริง แล้วความไม่มีตัวตนก็ต้องเห็นตามขึ้นมาด้วย

    ถ้าว่าอันนี้ยังไม่ชัดแล้ว ก็ยังไม่เห็น เพราะมันยังมีความยึดถืออยู่ แล้วความรู้สึกที่ยังไม่แจ่มแจ้งในเรื่องความไม่เที่ยงจะต้องทบทวนดู ดูความรู้สึกในขณะที่รับผัสสะก็ได้ หรือว่าในขณะไหนที่เราไปจำ ไปคิดอะไรขึ้นมาก็ได้ หรือว่าขณะปัจจุบันที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง ก็กำหนดรู้เกิด - ดับก็ได้

    ตกลงว่ามัน ต้องรู้เกิด - ดับทางผัสสะที่เป็นภายนอก แล้วก็รู้เกิด - ดับผัสสะที่เป็นภายใน ที่เป็นความจำความคิดอะไรขึ้นมา นี่เป็นสองลักษณะ แล้วก็รวมลงว่าเป็นลักษณะอย่างเดียวกัน คือว่าความรู้สึกภายในมันเกิดขึ้น แล้วความรู้สึกนั้นดับไป

    หรือว่าเสียงที่สัมผัส ที่เป็นภายนอกมันก็เกิด - ดับไปตามเรื่องของภายนอก แต่เราก็กำหนดรู้จิตเพราะว่ามันต้องรวมรู้อยู่ที่จิตดีกว่า ถ้าว่าไปเอาเรื่องภายนอกแล้ว จิตนี่จะฟุ้งซ่านไป

    ถ้าว่าเรื่องเฉพาะกิจ กำหนดรู้จิต พิจารณาจิตอยู่เป็นประจำทำให้มากแล้ว อย่างนี้มันทำให้เกิดสติปัญญาขึ้นมาให้รู้เห็นความจริงได้ง่าย แล้วสังเกตได้ ในขณะที่จะเผลอเพลินไปกับอะไร แล้วขณะที่มีสติติดต่ออยู่ รู้จิตในจิต พิจารณาจิตเกิด - ดับ, เกิด - ดับ ดูมันเฉยๆ เกิด - ดับ, เกิด - ดับนี่ ไม่มีเรื่องอะไร แล้วจิตนี่ก็ไม่ไปไหน ไม่แส่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน

    การรู้จิตในจิตให้ติดต่อเป็นตัวประธานนี่ จะอ่านออกไปในตัวเอง จะอ่านกายก็ได้ เวทนาก็ได้ สัญญา สังขารอะไรก็รวมอยู่ที่จิตนี่ ถ้ารู้จิตให้ติดต่อแล้ว ก็ยืนหลักอย่างนี้ให้ติดต่อให้ได้ทุกอิริยาบถ มันจะดับทุกข์โทษ ดับกิเลส ตัณหา อุปาทาน พร้อมอยู่ในนี้เสร็จ

    ข้อสำคัญว่าต้องพยายามให้มาก เพราะว่าจิตนี่มันมีการไหวรับอารมณ์ง่ายในขณะผัสสะกระทบ แล้วเราจะควบคุมอย่างไรดีก็ต้องรักษาอินทรียสังวร คือว่าสำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก สำรวมลิ้น สำรวมกาย สำรวมใจ

    ที่สำรวมๆ นี่ มันก็มารวมสำรวมอยู่ที่จิตนั่นเอง แล้วสังเกตได้ว่า จิตที่มีสติอยู่แล้วทวารทั้งห้านี่มันก็สงบได้ มองเห็นรูปเฉยๆ ได้ หูฟังเสียงเฉยๆ ได้ จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายได้รับสัมผัสผิวกาย มันก็วางเฉยได้ เพราะว่าสังวรนี่มันเป็นเครื่องกั้น แล้วก็พิจารณาประกอบด้วย มันก็เป็นเครื่องตัดรอนไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง ปล่อยวาง

    เพราะว่าการปล่อยวางนี่นะ จะต้องรู้ให้ชัด ในขณะที่รู้ขึ้นมาในลักษณะเกิด - ดับ ถ้าว่ารู้ชัดแล้ว มันไม่ยึดถืออย่างหนึ่ง หรือว่าไปยึดถือหยิบฉวยเอามาแล้ว พอรู้ขึ้นมาก็ปล่อยไปปล่อยวางไป นี้อย่างหนึ่ง เป็นสองลักษณะ คือว่าขณะที่มันรู้เกิด - ดับ แล้วมันก็หยุดกันแค่นั้น มันไม่ยึดถือแล้วนะ

    ทีนี้มาขั้นที่สอง มันยึดถือขึ้นมาแล้ว แต่พอรู้แล้วมันก็ปล่อยวางได้ ต้องสังเกตดูนะ แล้วก็จะรู้ว่าที่มันรู้เฉยๆ แล้วไม่ยึดถือนี่ก็ไม่มีเรื่องอะไร แต่ขณะไหนเผลอไปนิดเผลอไปหน่อยอะไร เพลินไปนี่ ไปยึดถือเอามาแล้ว แต่ว่าเร็ว ปล่อยได้เร็วละก็ได้

    ต้องเอาผลตรงที่ปล่อยได้เร็วขึ้น ไม่ต้องมาลูบคลำ หรือกันความฟุ้งซ่าน รู้อยู่ เห็นอยู่ สงบอยู่ พิจารณาประกอบอยู่แล้ว มันก็ไม่มีทุกข์โทษอะไรขึ้นมา หรือมีก็ในระยะแรกพอว่ามันเกิดอะไรขึ้นมา ก็รู้ดับ ไม่เอาเรื่อง ไม่คิดว่านี่มันเป็นเรื่องอะไร จะต้องไปซักไซ้ไต่ถามอะไรกัน ก็ไม่ต้องหยุด ดับมันแค่นั้น ปล่อยมันแค่นั้น วางมันแค่นั้นละก็ได้

    นี่สติมันทันกัน เพราะว่ามีสติสำรองอยู่แล้ว แต่ถ้าว่ามันเผลอๆ เพลินๆ แล้วนะ บางทีมันอาจจะช้าไป คือว่าสติที่จะมารู้เกิด - ดับมันช้าไป ทีนี้ถ้ามันช้าอย่างนี้ พอรู้ขึ้นมาก็ว่า เกิด - ดับ เอาปากว่าไปก่อนก็ได้นะ "เกิด - ดับ" จนกว่าสติมารู้จริงๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ แล้วก็ปล่อยมันแค่นั้น หยุด ! หยุดนิ่ง ! หยุดนิ่ง ! เป็นปกติ นี่ต้องพยายามอย่างนี้นะ แล้วมันละตัณหาได้

    ตัณหามันก็เกิด - ดับเหมือนกัน เกิดแล้วมันก็ดับเหมือนกัน แต่ถ้าไม่รู้แล้วมันปรุงจิตดิ้นรนกระวนกระวายใหญ่เกิดใหญ่ดับใหญ่ ไปเป็นเรื่องเป็นราวอะไรมากไป ทีนี้หยุด ! รู้หยุด ! รู้หยุด ! รู้หยุด ! บ่อยๆ เข้านะ กำลังของสติก็มากขึ้น

    นี่ต้องใช้ความสังเกตให้รู้แยบคายของตัวเอง มันถึงจะดับทุกข์ดับกิเลสให้ถูกจุดหมายได้ ไม่ต้องมีเรื่องปรุงเรื่องคิด เรื่องจำอะไรมามากมายนัก ไม่ต้องฟุ้งซ่านไป เอาให้มันตรงจุดที่มันเกิดแล้วมันก็ดับ แต่ต้องมีสติแนบแน่น จิตต้องมีการสงบเป็นพื้น อย่าให้ฟุ้งซ่าน แล้วถึงจะรู้เกิด - ดับละเอียด

    อาศัยจิตที่ได้ฝึกมีสติให้ติดต่ออยู่ทุกอิริยาบถนั่นเอง และสังวรอินทรีย์อยู่ทุกอิริยาบถด้วย มันก็เลยช่วยให้จิตสงบรู้ตัวเองได้เป็นส่วนมาก แล้วก็หยุดดูหยุดรู้ให้ลึกซึ้งเข้าไปอีกจะได้ไหม

    การหยุดดูหยุดรู้แค่ปกตินี่ก็ยังเป็นขั้นหนึ่ง ยังไม่ละเอียดยังไม่ลึกซึ้ง ทีนี้การหยุดดู หยุดรู้เข้าไปให้ซึ้ง มันน่ามอง มองให้ซึ้งเข้าไป การเกิด - ดับที่ซึ้งๆ นี่นะ มันก็เกิด - ดับไปตามธรรมชาตินั่นเอง ดูไปรู้ไป แล้วมันไม่ได้ดูรู้อยู่อย่างเดียว มันพิจารณาประกอบด้วย ตัวรู้นั่นแหละเป็นตัวพิจารณา แต่ว่าไม่ได้พิจารณาเป็นคำพูดเป็นความคิด ถ้ามันดูแล้วก็รู้ว่าดับไปๆ ดูอยู่เฉยๆ หัดดูให้มันรู้นะว่าไม่ต้องพูดไม่ต้องคิด หรือว่าคิดนั่นก็เกิด - ดับ พูดนี่ก็เกิด - ดับ จับใจความให้ได้ว่าทุกสิ่งเกิด - ดับไปตามธรรมชาติ ก็แล้วกัน

    ทีนี้ก็ถึงเวลาที่จะรวบรวมสติเข้ามารู้จิต พิจารณาจิต เพราะว่าจิตที่มีสติติดต่อมาเป็นความคุ้นเคยมากแล้วนะ ทีนี้พอนั่งตั้งกายตรงดำรงสติมั่นก็พร้อมแล้ว พร้อมที่จะรู้แล้ว พร้อมที่จะกำหนดรู้จิต พิจารณาจิตได้ในขณะนี้ทีเดียว

    ความรู้ที่มันรู้เกิด - ดับ ที่เป็นการกระทบผัสสะ แล้วจิตนี่ไม่ออกไปหมายดีชั่วอะไร มันก็วางเฉยได้ ถ้ารักษาหลักนี้เอาไว้วางเฉยเป็นปกติ แล้วผัสสะมันก็เกิดเองดับเอง ไม่ออกไปมีความหมายดีชั่วอะไร จิตนี่มันก็สงบได้ แต่ว่าสงบขึ้นนี้เป็นการสงบชนิดที่ไม่ยินดียินร้ายต่อผัสสะ แต่ว่ามันก็ระงับนิวรณ์ได้ แล้วก็ตลอดชั่วโมงนี้ คงดำรงสติอยู่ รู้อยู่ได้ภายในผัสสะภายนอกเกิด - ดับ ส่วนภายในที่มันมีความรู้สึก มันก็เกิด - ดับ ทั้งภายในทั้งภายนอกมันก็เกิดเองดับไปเอง จิตนี่ก็ดำรงอยู่ในความสงบได้

    ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการพิจารณาที่เป็นการรู้เห็นเข้าไปในด้านใน แต่ว่าความรู้อย่างนี้มันก็เป็นความรู้ที่ทรงตัวเป็นปกติได้ ก็ควรจะพยายามรักษาหลักความรู้อย่างนี้ให้ติดต่อเอาไว้ให้มันสงบเฉยๆ

    การสงบเฉยๆ นี่ควรจะปรับให้มันเป็นพื้นฐานของจิตเข้าไว้ แล้วก็พยายามพิจารณาให้มันซึ้งเข้าไป ถ้ามันยังเข้าไม่ถึงภายใน ก็ให้รักษาความเป็นปกติขั้นผัสสะภายนอกไปก่อนแล้วก็พิจารณาประกอบไว้ มันจะได้ไม่ก่อเรื่อง เรื่องจำเรื่องคิดอะไรเหล่านี้มันก็หยุด หยุดดู หยุดรู้อยู่เฉยๆ ทีนี้มันก็ระงับไปได้ขั้นหนึ่งคือนิวรณ์ ไม่แส่ส่ายไปในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสผิวกาย แล้วก็ไม่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สงสัย ซึ่งเป็นการระงับนิวรณ์ได้ตลอดชั่วโมง

    ปรับพื้นไว้อย่างนี้ จิตนี่มันตื่น มันรู้อยู่ภายใน รู้แล้วเป็นปกติวางเฉย ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าว่าความรู้อย่างนี้มันดำเนินไปได้ติดต่อทุกอิริยาบถแล้ว ผัสสะมันก็เกิดเองดับเอง ส่วนจิตก็พิจารณาตัวเองไว้ ถ้าเพียงขึ้นนี้ก็ยังคงดับทุกข์ได้ เพราะว่าจิตนี้มันไม่วุ่น มันว่าง มันสงบ

    ปรับพื้นนี้เอาไว้ แล้วก็ค่อยพิจารณาดูไปเฉยๆ ไม่ต้องมีคำพูดไม่ต้องไปคิดอะไรขึ้น ดูจิตล้วนๆ ดูผัสสะเกิด - ดับล้วนๆ จิตก็วางเฉยได้ ไม่วุ่นวาย แล้วไม่ต้องไปหมายอาการอะไรทั้งหมดรู้แล้วก็วางเฉย มันก็เป็นการปล่อยอยู่ในตัว พอรู้แล้วก็ปล่อยวาง, เกิด - ดับ ปล่อยวาง, แต่ว่าไม่เป็นคำพูด ปล่อยวางอยู่ในตัวรู้นั่นแหละ รู้เกิด - ดับ แล้วมันก็หยุดเฉย ไม่จำ ไม่คิด ไม่หมายดี ไม่หมายชั่วอะไร นี่มันก็ปล่อยอยู่ในตัวเหมือนกัน แล้วก็ไม่กังวล
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,997
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    อ่านต่อค่ะ
    ความไม่กังวลต่อผัสสะนี้ มันทำให้จิตสงบ คอยสังเกตดู ผัสสะก็เกิด-ดับไปตามเรื่องตามราวของมัน ถ้าไม่ไปกังวลนะ จิตนี้มันไม่วุ่น มันว่าง มันว่างของมันเอง แล้วก็ควรรักษาหลักอย่างนี้ให้ติดต่อ ดูไปรู้ไป มันก็ปล่อยอยู่ในตัวปล่อยอยู่ในตัวดูตัวรู้นั่น พอว่ามันรู้แล้ว มันก็ไม่หมาย ไม่ไปยึดถือ รู้แล้วก็แล้วกัน ไม่กังวล ไม่สนใจ ทีนี้มันก็ดับทุกข์ได้เรื่อยไปเอง

    แม้ว่าตัวอะไรจะเกิด ความรู้สึกอะไรจะเกิดความพอใจไม่พอใจ ก็ดับได้ทันที ไม่โสมนัส ไม่โทมนัส จิตก็เป็นปกติอยู่เสมอ แล้วก็พิจารณาประกอบเอาไว้ ข้อปฏิบัติก็มีเท่านี้ ไม่ต้องเอามากหรอกเพียงเท่านี้นะ ประกอบความเพียร ดูอยู่ รู้อยู่ สงบอยู่ จิตนี่จะไม่วุ่นเลย นิวรณ์เข้าไม่ได้ ปลุกให้จิตมันตื่นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ไม่ง่วง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เคลือบแคลงสงสัยอะไรอีก เรียกว่าละโมหะ ถ้าไม่ง่วง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่สงสัย ขณะนี้โมหะไม่มี แล้วก็เป็นการละนิวรณ์ คือว่ากามฉันทนิวรณ์ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสผิวกาย ขณะใดรู้เกิด - ดับ มันก็ไม่ออกไปพอใจต่อรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสผิวกาย ถ้ามันเกิดขึ้นนิดๆ หน่อยๆ ก็แค่เกิด - ดับ เท่านั้นก็หมดเรื่อง

    แล้วทีนี้ถ้าดับกามฉันทนิวรณ์ได้ ก็เป็นอันว่ามันก็ละพยาบาทนิวรณ์ มันไม่เกิดเป็นพยาบาท แล้วความหงุดหงิดไม่มี ถ้าพยายามควบคุมอยู่ พิจารณาอยู่ทุกอิริยาบถให้ได้แล้วมันจะเรียบร้อยไปเอง แต่อย่าให้มันไปจับเรื่องคิด เรื่องจำนะ หยุด ! หยุดเสีย ! หยุดรู้เสีย หยุดรู้จิต หยุดพิจารณาจิตให้ติดต่อเอาไว้ วางเฉยเอาไว้ให้ได้ ปรับพื้นนี้ให้ติดต่อทุกอิริยาบถทุกขณะ จะมีประโยชน์มาก แล้วมันตื่นอย่างนี้ จิตมันก็ไม่เศร้าหมอง

    เมื่อละนิวรณ์ได้แล้วจิตก็ไม่เศร้าหมอง สำรวจจิตดูให้ดีแล้วจะรู้ว่า รู้อย่างนี้ เกิด - ดับอย่างนี้ ผัสสะดับไป ไม่มีความหมายดีชั่วอะไรทั้งหมดแล้ว มันปล่อยวางไปเสร็จในตัว จิตก็ไม่เศร้าหมอง ควรพยายามพิจารณาให้ดี ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ที่ไม่เศร้าหมองนี่มันก็บริสุทธิ์ ในขั้นของละนิวรณ์ได้ปกติได้ ปกตินี่ไม่เศร้าหมอง จิตไม่เศร้าหมองเพราะราคะ โทสะ โมหะ ควรจะพยายามอย่างยิ่งทีเดียวนะ เพราะมีเรื่องอยู่เท่านี้เอง คือพยายามไม่ให้จิตเศร้าหมอง พิจารณาจิตในจิตอย่าให้จิตไปมีความหมายยึดถืออะไรขึ้นมา จิตมันก็ไม่เศร้าหมอง เรียกว่าผ่องใส ถ้ายังไม่ผ่องใสก็เพียงแต่ว่าปกติ เป็นการวางเฉย ไม่เศร้าหมอง เอาอย่างนี้นะ

    ทีนี้ถ้าว่าหลักนี้มันดำเนินไปได้แล้ว มีการพิจารณาจิตในจิตเข้าไป แล้วจะมีวิธีการที่จะรู้ได้ว่า เมื่อพิจารณาจิตในจิตเข้าไปแล้ว มันปล่อย มันวาง มันว่างขึ้นภายใน ทั้งนี้ปราศจากไฝฝ้าราคีของนิวรณ์ที่เข้าไปขั้นลึก ตรวจขั้นลึก ถ้าว่าตรวจขั้นลึกนี้ได้ จิตนี้ก็ผ่องใส ไม่มีนิวรณ์ ปกติธรรมดาแล้วก็พิจารณาเข้าไป รู้เข้าไป พิจารณาจิตในจิตเข้าไปเหมือนอย่างกับเป็นการซักฟอกไฝฝ้าราคีของโมหะที่เป็น ขั้นละเอียด ถ้าพยายามรู้ พิจารณาเข้าไปให้ลึกซึ้งแล้ว มันก็เหมือนกับพระจันทร์วันเพ็ญ ไม่มีเมฆหมอกมาปิดบัง จิตถึงจะผ่องใส แล้วเมื่อผ่องใสความเบิกบานก็เกิดขึ้นได้ เราจะสังเกตดูจิตของเราได้ในระยะตั้งแต่ขั้นปกติ แล้วในขั้นที่จะพิจารณารู้เห็นความจริง จิตนี่เป็นลักษณะที่ผ่องใส แม้ว่าผ่องใสขึ้นมาในระยะแรกๆ ไปก่อน ต่อมาเมื่อมันซาบซึ้งขึ้นมาอีกขั้น มันก็ผ่องใสเพิ่มมากขึ้น เหมือนกับกำลังแรงของไฟฟ้าห้าแรงเทียนมันก็สว่างแค่นี้ ถ้าเพิ่มเป็นสิบแรงเทียนมันก็สว่างขึ้น เพิ่มเป็นยี่สิบแรงเทียนมันก็สว่างขึ้นอีก

    นี่สติความรู้ที่เข้าไปรู้จิต พิจารณาจิตในจิตนี่มันจะต้องเพิ่ม ถ้าไม่เพิ่มมันก็อยู่ในระดับที่ปกติธรรมดา ถ้ามันเพิ่ม ความรู้จริงเห็นแจ้งก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เรียกว่าเป็นผู้รู้ ผู้รู้ต้องรู้จริงๆ พอรู้จริงแล้วก็เป็นผู้ตื่น คือว่ามันตื่นด้วยสติ เพราะว่าการตื่นนี่เหมือนกับเราตื่นนอน ตื่นที่มันยังไม่ได้ตื่นด้วยสติน่ะ มันตื่นธรรมดามันงัวเงีย แต่การตื่นด้วยการมีสติมันไม่งัวเงีย มันตื่นขึ้นมาอย่างแจ่มใส สังเกตดูว่าที่ตื่นด้วยโมหะมันงัวเงีย มันมืดมัวจิตนี่ก็ไม่ผ่องใส เมื่อมันไม่ผ่องใสแล้ว มันก็ถูกคลุมด้วยโมหะ

    ถ้าดูจิตในจิตเข้าไป ซักฟอกเข้าไปให้มันรู้ ให้มันละให้มันปล่อยมันวางอะไรของมันขึ้นมาเป็นอัตโนมัติภายในได้ แม้ว่ามันจะเป็นชั่วขณะ ที่เรียกว่าตทังควิมุติ ชั่วขณะต้องพยายามกำหนด กำหนดที่มันปล่อยวางเป็นตทังควิมุติชั่วขณะๆ นี่ แล้วก็พิจารณาดู แล้วมันอาจจะเพิ่มเป็นหลายๆ ขณะก็ได้ หรือว่าเพิ่มขึ้นเป็นวิกขัมภนวิมุติ นานๆ สงบนานๆ นิ่ง หยุดไปนานๆ ระงับหมด ระงับสัญญา ระงับสังขาร หยุด ! หยุดจำ หยุดคิด หยุดรู้อยู่ในตัว เพราะว่าเป็นการหยุดดูหยุดรู้อยู่ในตัวจิตอย่างเดียว

    ตามหลักที่ว่า อวิชชาดับ สังขารจึงดับ, สังขารดับ วิญญาณจึงดับ, ที่ตรงนี้นะ เมื่อวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ, เมื่อนามรูปดับ อายตนะจึงดับ, เมื่ออายตนะดับ ผัสสะดับ, เมื่อผัสสะดับ เวทนาดับ, เมื่อเวทนาดับ ตัณหาดับ, ทีนี้ความรู้สึกภายในมันไม่เหมือนอย่างกับพูดอย่างนี้หรอก มันเกิด - ดับไปรวดเดียวทีเดียวเลย ความเร็วมันเร็วมาก ความเร็วของความรู้ แล้วก็ความเร็วของความละ รู้กับละมันควบคู่นะ ความรู้กับความละมันควบคู่กัน มันไม่ใช่เป็นความรู้ของขั้นสัญญา อย่างนี้มันยังแยกความละอายมาอีกลักษณะหนึ่ง สัญญาเช่นเดียวกับความจำได้หมายรู้อะไรขึ้นมานี่ มันก็เป็นความยึดถือแล้ว ทีนี้มันต้องมีความละ ละความยึดถือนี่ มันเป็นสองลักษณะไปแล้ว

    ทีนี้ความรู้กับความละที่มีอยู่ในปฏิจจสมุปบาท ที่ว่าอวิชชามันดับ แล้วสังขารดับ แล้ววิญญาณดับนี่ ความรู้กับความละอย่างนี้มันเป็นอันเดียวกันเสีย รู้ก็ละเลยถึงจะเป็นวิชชาขึ้นเป็นสติ เป็นปัญญา เป็นญาณขึ้นมา แล้วสังขารนี่ก็ระงับดับวิญญาณดับ ดับไปด้วยกันทีเดียว ที่พูดตามตัวหนังสือ หรือพูดเป็นคำพูดอย่างนี้ มันเป็นคนละอย่าง คนละอย่างไป ถึงจะมีการเนื่อง แต่มันคล้ายๆ กับว่าอวิชชาดับ สังขารจึงดับ, พอสังขารดับ วิญญาณจึงดับ, คำพูดหรือตัวหนังสืออะไรที่เขามีไว้ มันเป็นแผนที่ แต่ว่าความรู้จริงๆ ที่รู้สึกข้างในนี่ มันรวดเดียว มันแรงไปรวดเดียว เป็นการรู้แจ้งแทงตลอดไปรวดเดียว เหมือนเราฉายไฟ พอฉายไฟแสงมันก็พุ่งไป ถ้าพูดตามภาษาใจ แล้วก็สังเกตดูว่าความรู้กับความละที่มันรู้จริงๆ นะ มันรู้จริงๆ แล้วมันละลงไปได้ มันขาดลงไปได้ ครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง เพราะความรู้กับความละมันอยู่ด้วยกัน

    แล้วควรจะสังเกตอย่างนี้เอาไว้นะ ถ้าว่ามันยังไม่อยู่ด้วยกันแล้ว มันรู้แต่มันยังละไม่ได้นะ มันรู้เป็นสัญญาหรือความเข้าใจอะไรเล็กๆ น้อยๆ ยังละไม่ได้ แล้วความพัวพันอะไรมันมีอยู่มันละไม่ได้ ละขาดไปได้จะเป็นขณะสองขณะ ก็ลองสังเกตดูขาดออกไปทีเดียว "รู้กับละ" รู้แล้วก็ละได้ขาดออกไป แต่ที่รู้แล้วละไม่ได้ มันยังหน่วงเหนี่ยวอยู่นะ เหมือนอย่างที่เขาดึงเชือกอะไรที่มันเหนียวๆ มันดึงไปดึงมามันก็ไม่ขาด นี่รู้แล้วละไม่ได้มันอย่างนั้น เพราะมันรู้ไม่จริง เมื่อมันรู้ไม่จริง มันรู้ตามสัญญา มันรู้ตามความเข้าใจเล็กน้อยเท่านั้น แล้วมันก็มาถูกปรุง คลุกเคล้าพัวพันเอาไว้ เลยไม่รู้อยู่นั่นเอง แล้วโมหะมันก็เข้า ไม่รู้แม้แต่จะแยกให้รู้ว่า นี่ผัสสะเกิด - ดับ ก็ไม่รู้แล้ว ไม่ชัดแล้ว โมหะเข้า

    ทีนี้บอกว่าให้ยืนหลักสติเอาไว้ แล้วรู้ผัสสะเกิด - ดับเท่านี้ก็พอจะได้ทางแล้วนะ ทางที่จะรู้ ทางที่จะดับ ทางที่จะละ ทางที่จะปล่อยวาง มันอยู่ที่นี่ คือต้องรวมรู้ดูจิตในจิตเข้าไป แล้วมารู้ผัสสะดับ เหมือนกับผัสสะข้างนอกดับก็รู้เหมือนกัน แต่ข้างในนี้ยังไม่ชัดก็ดูไปอีก ดูไปอย่างนี้มีทางแล้ว ถ้าว่าดูรู้อย่างนี้มีทางที่จะรู้ ทางที่จะรู้เข้าไปภายใน แล้วอย่าไปเอารู้ข้างนอก เอารู้ข้างใน นี้มันก็เป็นเครื่องเปรียบ เครื่องเปรียบได้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิด - ดับ เกิด - ดับ ผัสสะเกิด - ดับ ทีนี้ผัสสะน่ะมันเกิด - ดับไปเฉยๆ นะ ก็ไม่มีทุกข์ไม่มีโทษ สังเกตได้ว่า ทำไมเรามองไปเห็นรูป มองไปทีเดียวนี่ ไม่ได้ไปยึดถืออะไรเลย ตานี่สัมผัสรูปไปเฉยๆ อย่างนี้ ผัสสะนี่ยังไม่มีทุกข์ไม่มีโทษ



    .................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    ผู้จัดการออนไลน์
    Dhamma and Life - Manager Online

    ********************************************
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...