พระพุทธเจ้าน้อย มาจากไหน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย natsu_taa, 11 มีนาคม 2013.

  1. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814


    :cool: ถ้าไม่มีองค์ พระโพธิสัตว์ ก็คงไม่มีพระพุทธเจ้า มีพระโพธิสัตว์ จึงเกิดมีพระพุทธเจ้า มันเป็นของเชื่อมต่อกันครับ เอาที่เจตนาดีกว่าครับ มันไม่ได้เสียหายอะไร เจตนาดีแล้ว ไม่ว่าคุณหญิงหรือท่านๆทั้งหลาย ไม่ใช่ญาติโกโหติกาของผมเลย แต่อยากให้อยู่กลางๆครับ ไม่มีลูกชาวบ้าน คงไม่มีพระอริยเจ้า เพราะมาจากลูกชาวบ้าน คนจะดีหรือชั่ว มาจากลูกชาวบ้านครับ แล้วแต่ จิตของแต่ละคน จะไปทางไหน หรืออยากได้อะไร จะไปเป็นอะไร แดนนี้ แดนกลาง เป็นแดนเลือกครับ :cool:
     
  2. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    bizkitmanza
    สมาชิก




    วันที่สมัคร: Jan 2013
    ข้อความ: 91
    Groans: 2
    Groaned at 1 Time in 1 Post
    ได้ให้อนุโมทนา: 13
    ได้รับอนุโมทนา 67 ครั้ง ใน 42 โพส
    พลังการให้คะแนน: 14
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ samnido
    พระพุทธเจ้าน้อยมาจากไหน
    - มาจากชั้นดุสิต

    รบกวนสอบถามผู้รู้ค่ะ ว่าที่เห็นมีทำบุญหล่อพระพุทธเจ้าน้อย ที่เป็นรูปเด็ก เปลือยท่อนบน ยืนชี้นิ้วน่ะค่ะ คือไม่เคยได้ยินคำว่า พระพุทธเจ้าน้อย จากที่ไหนมาก่อยเลยค่ะ มีแต่พระพุทธเจ้า และเจ้าชายสิทธัตถะ ค่ะ ส่วนตัวคิดว่า ถ้าใช้คำว่าพระพุทธเจ้าน้อย ก็จะมีพระพุทธเจ้าตอนวัยรุ่น ตอนทารก ตอนอภิเษก ด้วยหรือเปล่าคะ
    - ชุดนี้มี ปางประสูติ ตรัสรู้ นิพพาน

    กลัวจะมีใครคิดออกมากลายเป็นการ์ตูนเด็กอีกน่ะค่ะ อย่าหาว่าบาปโน่นนี่เลยนะคะ แต่ไม่มีความรู่และอยากรู้ค่ะว่า พระพุทธเจ้าน้อย มาจากไหน
    -การ์ตูนพุทธประวัติมีมาหลายชุดแล้ว ไม่มีความรู้ก็ศึกษาเยอะ ๆ

    ใครริเริ่มให้ใช้คำนี้
    ไม่ทราบเหมือนกัน

    ผิดหรือไม่คะ
    แล้วแต่เจตนา แต่พวกช่างค้านนี่ผิดแน่




    :cool:คุณไปรู้มาจากไหนว่ามาจากสวรรค์ชั้นดุสิต:cool:

    ขออภัยนะครับ ขอตอบประเด็นนี้เองครับ ปรกติแล้ว สวรรค์ชั้นดุสิต นี้ เหมือนเป็นสวรรค์ต้องห้าม ไม่เป็นก็ต้องเป็นครับ เพราะว่า ผู้ที่จะอยู่สวรรคชั้นนี้ได้ ต้องเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีบารมีเต็มแล้ว หรืออย่างน้อยต้องใกล้เต็ม พ่อแม่ของพระโพธิสัตว์ และท่านที่ เป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่ พระโสดาบัน ถึง พระอนาคี สามารถมาอยู่ชั้นนี้ได้ครับ (และผู้ปราถนาอัครสาวก อันนี้ไม่แน่ใจครับ) ผิดขออภัยครับ และข้อสำคัญที่สุด พระโพธิสัตว์ ที่รอคิวมาตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ต้องมาเสวย ทิพยสมบัติ ที่ ชั้นดุสิต เท่านั้น เมื่อถึงกาลเวลาอันสมควร

    พระอินทร์ เทวดา พรหม จะอาราธนา ลงจาก ดุสิตธานี จุติลงสู่พระครรมารดา เมื่อเติบโต เยาวัยอันสมควร แล้วเบื่อทางโลก ออกบวช เพื่อจะตรัสรู้ อภิเศก สัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  3. samaice

    samaice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +1,018
    ยึดมาก ทุกข์มาก ไม่ยึดไม่เก็บ ก็ไม่หนัก ไม่ทุกข์
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์
    แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นทุกข์
    รูปอันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า
    เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์
    แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นทุกข์
    ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า"


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๓๔/๔๐๒ ข้อที่ ๒๒๔
     
  5. natsu_taa

    natsu_taa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +216
    ใช่ค่ะ คิดเพียงแค่คำมันแปลกๆ จึงเกิดความสงสัยและสอบถาม.
    เราเรียนรู้ สนใจ พิจารณาพระธรรม วิเคราะห์ และทำความเข้าใจ
    แต่การใช้คำ ถึงจะเป็นเพียงนาม สิ่งสมมติ แต่ควรใช้ให้ถูกค่ะ
    ถ้าใช้ผิดเพี้ยนโดยที่คิดว่าเป็นเพียงนามธรรม ไม่ใช่ของจริง
    แล้วคนรุ่นหลังละคะ จะเพี้ยนไปขนาดไหน
     
  6. natsu_taa

    natsu_taa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +216
    และ ของดยุ่งเกี่ยวระหว่างประเด็นนี้กับเรื่องการเมือง เพราะเจตนาที่ถาม เพราะ สงสัยเรื่อง "นาม" แค่นั้นค่ะ ที่จะย้ำอีกครั้งคือ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ท่านให้เรายึดคือ พระธรรม เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพียงแต่ ตามพุทธประวัติ ไม่มีคำนี้ค่ะ ไม่เคยได้ยิน ขนาดเราสอบ เราเขียนชื่อบุคคลผิด ตำแหน่งผิด เรายังสอบไม่ผ่านเลยนี่คะ "นาม" คือชื่อสมมติที่ใช้เรียกแทน "ตำแหน่ง" ก็สมมติ ณ เวลาที่ดำรงตำแหน่งนั้นๆ เช่นกัน แต่ผิดก็ไม่ดี แค่นั้นเองค่ะ
     
  7. MEW

    MEW เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +1,237
    อ้าว เป็นแบบนั้นหรือครับ
    ผมนึกว่าความเป็นพระพุทธเจ้าเริ่มตั้งแต่ตรัสรู้ซะอีก
    ขอบคุณนะครับสำหรับคติความเชื่อถือ

    เราลองมาแลกเปลี่ยน ลองดูหลายๆ มุมกับ้าง
    มาดูคติความเชื่อและธรรมเนียมดุริยางค์ไทยดูบ้าง
    มีเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่งชื่อเพลงพระเจ้าลอยถาด
    ใช้บรรเลงในพิธีไหว้ครูตอนส่งครูกลับ ส่วนในพิธีสงฆ์จะบรรเลงหลังจากพระฉันและให้พรเสร็จแล้ว
    เพลงพระเจ้าลอดถาดน่าจะมีความหมายว่าอิ่มหนำสำราญแล้วจะทำอะไรต่อก็สำเร็จ
    ชื่อเพลงนี้มีที่มาจากพุทธประวัติ...
    เช้าวันที่พระโพธิสัตว์จะตรัสรู้ นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองคำมาถวาย
    พระโพธิสัตว์เสวยเสร็จแล้วได้ทรงถือถาดเสด็จไปริมแม่น้ำ
    ตั้งสัตยาธิษฐานว่าถ้าพระองค์จะตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วขอให้ถาดนี้ลอยน้ำ
    แล้วทรงลอยถาดใบนั้น

    ที่นี้มาดูคำว่า"พระเจ้า" ที่ปรากฏในชื่อเพลงพระเจ้าลอยถาด
    แต่ก่อนนั้นคำว่าพระเจ้าหมายถึงพระพุทธเจ้า
    ปัจจุบันพระสงฆ์ ครูบาอาจารย์อาวุโสบางท่านก็ยังกล่าวถึงพระพุทธเจ้าด้วยคำว่าพระเจ้ากันอยู่

    ฉะนั้นเพลงนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเพลงพระพุทธเจ้าถอดถาด
    แค่เรียกให้สั้นลงว่าพระเจ้าลอยถาด
    ไม่มีใครเรียกว่าพระโพธิสัตว์ทรงลอยถาด เพราะยาวเกินไป

    ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อแสดงให่เห็นว่า
    1. ธรรมเนียมไทยเรียกพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้ว่าพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่
    2. การตั้งชื่อต้องการความกระชับ สั้น เข้าใจง่าย
    ชื่อเป็นเพียงสมมุติให้คนเข้าใจง่าย
     
  8. Bar

    Bar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +164
    ชื่อถูกผิดอันนี้ผมไม่รู้แต่ผมกราบไหว้บูชาได้หมดแหละ รูปอะไรที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ผมกราบไหว้ได้ไม่คิดมาก รูปพระพุทธเจ้าปางบำเพ็ญทุกรกิริยาผมก็กราบไหว้ได้ ทั้งๆ ที่ตอนท่านบำเพ็ญทุกรกิริยานั้นท่านก้ยังไม่ได้ตรัสรู้ รูปพระเวสสันดอนโพธิสัตว์ผมก็กราบไหว้ได้ ทั้งๆ ที่ท่านก็ยังไม่ได้ตรัสรู้เช่นกัน เพราะผมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าว่า กว่าท่านจะมาตรัสรู้ได้นั้นท่านบำเพ็ญบารมีมาด้วยความทุกข์ยากยาวนานเหลือเกินเพื่อที่จะมารื้อขนสัตว์โลก ท่านยอมทุกข์ยอมเสียสละความสุขในการบำเพ็ญบารมีเพื่อสรรพสัตว์ ฉนั้นคุณของพระพุทธเจ้านั้นยิ่งใหญ่เหลือเกินหาประมาณมิได้ ฉนั้นใครที่ปราถนาพุทธภูมิเพื่อรื้อขนสัตว์โลกนั้นผมนับถือครับ
     
  9. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154
    เป็นคำเรียกโดยมีวัตถุประสงค์บางอย่างอาจเพื่อรวบรวมศรัธา

    แต่รู้ว่าเป็นสัญลักษณ์ในชาติสุดท้ายของการเกิดจ๊ะ.
    bubu
     
  10. pepsodent

    pepsodent Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +40
    แปลจาก Little Buddha แบบตัวตรง คนไทยถือนักเรื่องชื่อ สมมุติบัญญัตินาม รูป ปล่อยๆ วางๆ ไปบ้าง เขาทำไปสร้างไปด้วยความเคารพนับถือ เจตนาสร้างกรรมดีแล้วย่อมเป็นกุศล และไม่ได้มีเจตนาลบหลู่อะไร พระธรรมคำสั่งสอนก็ยังอยู่เป็นอกาลิโกตลอดไป แม้นามรูปจะเปลี่ยนไปว่าอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2013
  11. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814


    :cool: พระโพธิสัตว์กว่าจะสร้างบารมี เป็นปรมัตถบารมีได้นั้น ท่านต้องเรียนถูกผิด มานับชาติไม่ถ้วน จนกว่า ไม่มีผิด แม้แต่น้อย เพราะต้องฝึกฝน กรรมฐาน ๔๐ มหาสติปัฏฐาน ๔ จนคล่องชำนิชำนาญ เรียนรู้อารมย์ พระโสดาบัน อารมย์ พระสกิทาคามี พระอนาคามี และอารมย์พระอรหันต์ แต่ท่านเหล่านั้น ยังกล่าว ว่าท่านยังไม่พ้น นรกเลย ครูบาอาจารย์ท่านถ่อมตัว ถึงขนาดนั้น

    พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ที่บารมีเต็มแล้ว ท่านสั่งสม มาดีแล้ว ทุกๆประการ ในสมัยเป็นมนุษย์ แม้เดินได้ ๗ ก้าว มันเป็นของธรรมดา สำหรับ ท่านทุกๆพระองค์ ที่ทำปาฏิหารย์ เป็นของง่าย สำหรับพระองค์ พระพุทธองค์ กล่าวว่า เมื่อตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทำให้ฝนตกนั้น มันไม่อัศจรรยืเลย เพราะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จะทำอะไรก้ทำได้หมด เป็นของไม่แปลก แต่ในสมัย พระองค์ท่าน เกิดเป็นปลาดุก อยู่ในหนองน้ำ หนองน้ำแห้งขอด จนเป็นตมขี้โคน

    บริวารใกล้ จะตายกันหมด อยู่แล้ว พระโพธิสัตว์ ปลาดุก ทรงตั้งจิต อธิษฐาน อันบุญกุศล ที่เราได้ กระทำมาดีแล้ว บอกกล่าว พระแม่ธรณีฟ้าดิน เทพยดา ทั้งหลาย เมื่อประกาศเสร็จ ฝนฟ้า ได้ตกลงมาจนน้ำ เต็มหนองน้ำ ปลาพระโพธิสัตว์ และบริวารของท่านจึงรอดตาย ทั้งหมด เมื่อกล่าวจบ ท่านประชุมชาดก ปลา ดุกโพธิสัตว์ ในสมัยนั้น ได้มาเกิดเป็นเราตถาคต ปลาดุกบริวารในสมัยนั้น ได้มาเกิด เป็นสาวก ของเราตถาคต


    คนสำเร็จ มรรคผล เป็นอันมาก และท่านได้กล่าวว่า ตอนเกิดเป็นปลาดุก โพธิสัตว์ ทำให้ฝนตกได้ นี่อัศจรรย์ กว่า ตอน เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว :cool:
     
  12. maxcomp

    maxcomp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +874
    อุปนิสัยที่สังคมไทยในปัจจุบันมีกันอยู่มาก ซึ่งไม่ควรจะมีก็คือ "ขึ้นอยู่กับเจตนา" ฟังดูแล้วเหมือนเป็นข้ออ้างที่ใช้กันอยู่ติดปาก คือทำผิดหรือถูกไม่รู้เอาเจตนาเป็นที่ตั้งไว้ก่อน โดยไม่ได้คิดที่จะศึกษาถึงสิ่งที่ถูกต้องหรือสมควรหรือไม่ เช่นการถวายชุดสังฆทานที่มีจำหน่ายอยู่โดยทั่วไปในทุกวันนี้ บางชุดจะมีการจัดขึ้นมาโดยบางอย่างที่ไม่เหมาะไม่ควรปะปนมาด้วย เนื่องจากไม่ถูกต้องตามหลักพระวินัย แต่ผู้ถวายก็เลี่ยงไปด้วยคำว่า "ขึ้นอยู่กับเจตนา" แล้วพระคุณเจ้าจะทำอย่างไรในเมื่อมันผิดพระวินัย แต่จะผิดพระวินัยอย่างไรขอให้ไปศึกษาเพิ่มเติมกันเอาเองนะครับ
    และอีกคำ"ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" ทั้งสองคำที่ยกตัวอย่างมาเนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันนี้ ไม่พยายามที่จะใช้ปัญญากัน ใช้แต่ความมักง่ายด้วยความที่ขี้เกียจหาคำตอบที่แท้จริงและพิสูจน์
    เพื่อนหลายท่านพยายามหยิบยกเอาทั้งเหตุผลจากตำรับตำรา เพื่อให้เกิดปัญญาด้วยพรหมวิหารธรรมอันมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา และผมก็ขออนุโมทนากับท่านทั้งหลายที่เมตตาหยิบยกพระพุทธประวัติในบางช่วงบางตอน ให้ได้ความรู้กันแต่หากยัง วางเฉยกับความที่ไม่เหมาะสมและความไม่สมควรในสรรพนามที่ว่า"พระพุทธเจ้าน้อย" ก็คงต้องวางอุเบกขาเพียงเท่านั้น เพราะคงไม่สามารถที่จะร่วมแสดงมุทิตาจิตด้วยได้ เหตุเพราะการกระทำครั้งนี้ดูไม่เหมาะสมเลยไม่ขอร่วมยินดีในกรรมครั้งนี้ได้ เดี๋ยวจะมีส่วนแบ่ง 20% ติดตัวไปถึงภพหน้า
    เจตนาผมดีนะครับ ไม่มีอะไรแอบแฝงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2013
  13. 12345*

    12345* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +332
    ความคิดเห็นที่ 1 +132

    ก็ไม่แปลกหรอก ศาสนาพุทธในไทย
    มันโดนพวกพราหมณ์ย่ำยี มาตั้งแต่อยู่ในอินเดียแล้ว
    สืบต่อกันมาถึงศรีลังกา แล้วก็แพร่เข้ามาในคาบสมุทรอินโดจีน

    พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้สาวก กราบไหว้รูปเคารพบูชา
    ไม่เคยสอนให้ขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
    ถือฤกษ์ยาม หรือแม้กระทั่งการดูดวง
    เพราะมันคือความงมงาย มัวเมาในกิเลส

    พระพุทธเจ้าสอนว่า "ตนคือที่พึ่งแห่งตน"
    ดังนั้นคนไทยที่ยังกราบไหว้บูชา ขอพรจากรูปปั้น
    จะกลับตัวก็ยังทันนะ หันมาศึกษาให้ถ่องแท้
    ว่าอะไรคือพุทธศาสนาของจริง
    DD









    ถูกต้องเลยครับ คนไทยเรานึกว่าตัวเองนับถือศาสนาพุทธ แต่จริง ๆ แล้วไม่เ้ข้าใจแก่นของศาสนาพุทธเลยสักนิด
    ซวยไป





    ก็ต้องถามย้อนไปว่า แกเคยเจอพระพุทธเจ้าหรือ ถึงรู้ว่าท่านสอนเพียงแค่นั้นจริงๆ พวกที่ชอบอ้างว่าพระพุทธเจ้าสอนว่ายังงั้นยังงี้เนี่ยะ เคยเจอท่านมาแล้วหรือ ? คำสอนจากหนังสือ ก็คือหนังสือ เป็นการสอนให้คนทำความดี ยึดมั่นในความดี แต่ใครเขียนอะไรเข้าไปบ้างก็ไม่รู้

    การบูชากราบไหว้พระพุทธรูปไม่ใช่ความผิดอะไร แต่มันคือที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือความหวัง และศรัทธา เป็นที่พึ่งทางใจ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย หลายๆ คนก็น่าจะมีอาการแบบเสื้อแดง เผาบ้านเผาเมืองระบายความอึดอัดทางประสาทออกไปเป็นอารมณ์

    ปัจจุบัน เห็นแต่ คนที่รู้จักคำสอนดีไปหมด รู้ดีไปหมด แต่กลับเป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ ซึ่งมันตรงกันข้ามกับสิ่งที่รู้อยู่ แปลกดี เมืองพุทธ แต่กลับมาบอกว่า อย่ายึดติดกับวัตถุ หรือพระพุทธรูป ซึ่งพระพุทธรูปนั้น ก็มีการสร้างมานับพันๆ ปี กราบไหว้กันมานานแสนนาน.....
    HLC





    คุณ HLC ถึงจะไม่เชื่อตามหนังสือ แต่หลักคำสอน ก็สอนให้รู้จักปล่อยวาง ตัดกิเลส ถ้ายึดตามหลักนี้แล้วการยึดติดกับวัตถุจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ผมกราบไหว้บูชา ก็เพื่อความหวัง ศรัทธา และเป็นที่พึ่งทางใจ ตามที่กล่าวไว้ นั่นแหละครับ และคิดว่าการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมาก็เพื่อการนี้
    BB
    *************************
    HLC!!!!!!!!
     
  14. ในนภา

    ในนภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    690
    ค่าพลัง:
    +1,670
    ถ้าใช้คำนี้แล้วเหมาะสม
    ต่อไปเราสร้างหลวงพ่อ..ฯลฯ..น้อย เอาดินมาปั้นเป็นรูปเบบี๋ถือขวดนมก็คงได้อะดิ
    ตั้งชื่อว่าพระอรหันต์น้อย ได้รึป่าวเนี่ย เหมาะสมดีไหมนะ

    เราเอาความเห็น พี่ pepsodent มาวิเคราะห์
    -- little buddha --
    คำนี้เราว่าความหมายเดิมของ 'little' มันคือ 'Being at an early stage of growth' หรือ 'young' นะ ไม่ได้สื่อความได้เป็นคำว่า 'น้อย' อะ 'น้อย'ในภาษาไทยมันจะสื่อความเชิงน่ารักน่าเอ็นดูซะมากกว่า เช่น น้องน้อย หนูน้อย สาวน้อย ถ้าเอาคำว่้า 'พระพุทธเจ้าน้อย' มาวิเคราะห์ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
    ก็ตีความได้ประมาณว่า เป็นรูปเคารพพระพุทธเจ้าที่น่ารักน่าเอ็นดู ถ้าได้ความหมายประมาณนี้ คำนี้ก็ถือว่าผิดนะ เป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่ ราชบัณฑิตยสถาน จะต้องออกมาชี้แจง แต่ถ้าตีความหยวนๆ ตามประสาคนไทยบางคนเอาตามใจเค้าเราว่าคงได้มั้ง แต่สำหรับเรา เราให้ไม่ผ่านกับคำว่า 'พระพุทธเจ้าน้อย' ทั้งในความถูกต้องเหมาะสมทางภาษาไทย และในความกำกวมของความหมาย มองในทางย้อนกลับ การถวายพระนาม/นาม แบบนี้มันก็สะท้อนถึงภูมิความรู้ของบุคคลที่ถวายพระนาม/นาม เช่นกัน

    อันนี้ถ้าเป็นคำส่วนใหญ่ที่ต่างชาติใช้ มักเป็นคำว่า

    -- baby buddha --
    baby ความหมายประมาณ 'a very young child who has not yet learned to speak or walk' [ldoceonline.com] ความหมายก็ยังไม่ใช่ 'น่ารักน่าเอ็นดู' จนแปลไทยเป็น 'พระพุทธเจ้าน้อย' อยู่ดี หรือจะว่าไซส์มินิก็ดูไม่น่าใช่ ถ้าว่ากันตาม 'สภาวะ' ณ วัยนั้นก็ยิ่งไม่ใช่อยู่ดี

    ใครจะบอกว่าคำว่า 'พระพุทธเจ้าน้อย' เหมาะสม/สมควร เพราะมาจากชั้นดุสิตเราก็ไม่ว่าอะไรนะ พิจารณาเอาเถอะ

    อ้างอิง
    (ลองค้นเองนะ ขี้เกียจระบุชัดกว่านี้ละ ไม่ได้ทำthesisเนอะ @-@)
    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
    longman dictionary of contemporary english
    oxford advanced learner's dictionary
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2013
  15. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    เส้นใต้บรรทัด
    จิตกร บุษบา
    แนวหน้า - โลกนี้ไม่เคยมี ‘พระพุทธเจ้าน้อย’
    โลกนี้ไม่เคยมี ‘พระพุทธเจ้าน้อย’
    นับวัน ชาวพุทธในประเทศไทยจะค่อยๆ หลงลืมหัวใจของการเป็นชาวพุทธไปแล้วข้อหนึ่ง นั่นคือ การใช้ “ปัญญา” พิจารณาไตร่ตรอง ก่อนที่จะเชื่อ แต่หันไปเทน้ำหนักให้แก่ “ศรัทธา” คือความเชื่อ จนเกิดสำนวน “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” แทนการคิดว่า “ควรใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนที่จะเชื่อ” เพราะการไม่เชื่อไม่จำเป็นต้องแปลว่าลบหลู่ แต่เพราะมันเต็มไปด้วยความไม่น่าเชื่อเท่านั้นเอง

    บางอย่างก็ไม่ต้องใช้ความเชื่อ เช่นเรื่อง “พระพุทธเจ้าน้อย”ในโครงการของ “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์”

    ถามว่า เป็นชาวพุทธกันมาทั้งชีวิต เคยได้ยินคำว่าพระพุทธเจ้าน้อยกันมาก่อนบ้างไหม

    ผมเองจะอายุ 41 ปี บริบูรณ์ในวันพรุ่งนี้ เพิ่งจะมาได้ยินว่าโลกนี้มี “พระพุทธเจ้าน้อย” ก็ครั้งนี้เอง

    หลายคนเข้าใจผิด ว่าคำว่า “พระพุทธเจ้า” นั้น หมายถึงตัวบุคคลหรือเป็นชื่อคน เปล่าเลย พระพุทธเจ้าเป็น “สภาวะ” ของผู้ตัดแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลาย หลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการ เป็นผู้ตรัสรู้ อยู่ในภาวะตื่น รู้ และเบิกบานอยู่เป็นนิจ

    ในกาลสมัยของพวกเรานั้น เรียกว่าภัททกัปป์ มีผู้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามาแล้ว 4 พระองค์ด้วยกัน คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมน์ พระกัสสปะ และพระโคตมะ หรือสมณะโคดม ก็คือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันที่เรากราบไหว้ผ่านรูปเคารพกันอยู่นี่เอง และในอนาคต จะมีพระองค์ที่ 5 จุติมาเพื่อตรัสรู้ แล้วพามนุษย์ข้ามห้วงกิเลสทั้งหลาย นั่นคือ พระศรีอาริย์
    ทว่า ตัวบุคคลนั่น มิได้สำคัญเท่า “พระธรรม” คือ คำสั่งสอน หรือ แนวทางการประพฤติปฏิบัติทั้งกาย จิต ปัญญา

    “อานนท์! ความคิดอาจมีแก่พวกอย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา”
    ดังนี้. อานนท์! พวกเธออย่าได้คิดอย่างนั้น.

    อานนท์! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย. ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ
    ทั้งหลายโดยกาลล่วงไปแห่งเรา.

    อานนท์! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
    มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่

    อานนท์! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล.

    (มหา.ที.๑๐/๑๕๙/๑๒๘)

    กระนั้นก็ตาม ด้วยความยึดเหนี่ยวกับตัวบุคคลผู้ให้กำเนิดคำสอน กาลต่อมาได้มีการสร้าง “รูปเคารพ” ขึ้น ในพระพุทธศาสนาของเราก็เรียกว่า “พระพุทธรูป” คือ รูปที่เตือนให้ระลึกนึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นบรมศาสดา เป็นบรมครูเป็นผู้นำทางพ้นทุกข์”

    ต่อมาจากรูปเคารพธรรมดาๆ ก็เริ่มสร้างเป็น “ปาง” ต่างๆ

    คำว่าปางนั้น หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็น “กิริยา” ของพระพุทธรูป แท้จริงแล้วเป็น “เหตุการณ์” เช่น คำว่าแต่ปางก่อน แต่ปางหลัง แต่ปางกระโน้น ปางจึงมิใช่กิริยา หากแต่เป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งกระโน้น โดยการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ก็เพื่อดึงผู้คนกลับไปสู่เหตุการณ์สำคัญๆ ในสมัยพุทธกาล เพื่อให้รู้ว่า “หนทาง” ของพระพุทธองค์ จากมนุษย์ธรรมดาๆสู่การเป็น “พระพุทธเจ้า” นั้น ต้องผ่านเหตุการณ์ที่สำคัญอะไรมาบ้าง

    ที่สร้างมากที่สุด ก็คือ ปางมารวิชัย พระประธานในอุโบสถของประเทศไทย เกือบๆ จะร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นปางนี้หมดปางมารวิชัยหรือชนะมารนี้ สำคัญมาก ไม่ได้สำคัญเฉพาะการที่รูปแห่งพระพุทธเจ้าแสดงกิริยาเอื้อมพระหัตถ์ขวามาแต่พื้นพระธรณี กิริยานั้นเป็นเพียงเครื่องหมายให้รู้ว่า นี่เป็นปาง คือเป็นเหตุการณ์ตอนไหน ก็ตอนที่พญาวสวัตตีมาร ยกพลมาเพื่อขัดขวางการตรัสรู้ของนักบวชชื่อ “สิทธัตถะ” คือ เจ้าชายหนุ่มผู้ทรงสละโอกาสแห่งการเป็นพระมหากษัตริย์ ละเรือนใหญ่อันแสนสุขสบาย มาเป็นผู้ไม่มีเรือน มาครองผ้าเพียงไม่กี่ชิ้นมาครองชีวิตเรียบง่าย เมื่อมารมาขัดขวาง ท่านก็ทรงเอื้อมพระหัตถ์ขวาแตะพื้นดิน เพื่อให้แม่พระธรณีมาเป็นสักขีพยานแห่งทานบารมีที่เคยกระทำในชาติภพก่อนๆ ให้พญามารประจักษ์ แม่พระธรณีจึงปรากฏกายขึ้นมา แล้วบีบมวยผม จนมีสายน้ำหลากไหลออกมาพัดพาขี้ข้าบริวารของพญามารแตกกระจัดกระจายไป นำความยำเกรง เลื่อมใส มาสู่พญามาร กระทั่งวางอาวุธ เปลี่ยนเป็นกิริยานบไหว้

    พระพุทธรูปปางนี้ จึงสะกิดชาวพุทธที่ศึกษา ที่มีปัญญาให้รู้ว่า นี่คือช่วงเปลี่ยนผ่านจากมนุษย์ผู้เป็นทาสกิเลสตัณหาอารมณ์ทั้งหลาย ไปสู่การเป็น “พุทธะ” คือผู้ตรัสรู้ ผู้อยู่เหนือเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย และเนื่องจากท่านเป็นเจ้าแห่งผู้ตรัสรู้ทั้งหลาย เราก็เรียกท่านว่า “พระพุทธเจ้า”

    ให้เราตระหนักว่า มนุษย์ผู้หนึ่ง เข้าถึงการ “รู้แจ้งเห็นจริง” ได้ เราทุกคนซึ่งเป็นมนุษย์ ก็พึงเดินตาม “หนทาง” ที่ท่านเดินนำไปและตรัสบอกไว้ เราก็มีโอกาสเข้าถึงการตรัสรู้นั้น หรือเข้าถึงการหลุดพ้นนั้น

    ซึ่งพระสมณะโคดม หรือ “โคตมะ” นี้ ท่านออกบวชเมื่ออายุ 29 ปี ตรัสรู้เป็น “พระพุทธเจ้า” เมื่ออายุ 35 ปี ก่อนหน้านั้นท่านดำรงชีวิตแบบเจ้าชายอยู่ในพระราชวัง ชื่อว่า เจ้าชายสิทธัตถะ

    ดังนั้น รูปเคารพที่สร้างขึ้นมา แล้วเรียกว่า “พระพุทธเจ้าน้อย” นี้ น่าจะคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง คือ ในยามนั้นท่านมิใช่ “พระพุทธเจ้า” เป็นแต่เพียง “สิทธัตถะราชกุมาร” คือผู้จุติจากสวรรค์มาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อรอวันตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นเพียงแค่ “เจ้าชายน้อย” หรือ “พระโพธิสัตว์น้อย” ยังมิได้เข้าถึงภาวะแห่ง “พระพุทธเจ้า” แต่อย่างใดไม่

    รูปเคารพแบบนี้ สร้างกันมานาน หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบในประเทศไทย คือในกรุเจดีย์วัดมหาธาตุ สุโขทัย ต่อมาพบ
    อีกองค์ในกรุเจดีย์องค์หนึ่ง ภายในวัดพระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน

    ในประเทศไทย มีการจัดสร้างพระพุทธรูปปางนี้ไม่มากเนื่องจากเป็นสายความเชื่อทางมหายาน แต่ก็ไม่เรียกว่า “พระพุทธเจ้าน้อย” เรียกว่าปางประสูติ ซึ่งแปลว่า เป็นเหตุการณ์ตอนพระนางสิริมหามายา ประสูติเจ้าชายสิทธัตถะออกมา ดังนั้น เวลาจัดสร้าง มักไม่สร้างรูปเจ้าชายสิทธัตถะเดี่ยวๆ แต่จะสร้างร่วมกับบริบทของเหตุการณ์ คือ อย่างน้อยๆ ก็จัดสร้างรูปพระนางสิริมหามายาด้วย

    เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ ก็โปรดให้สร้าง “วิหารประสูติ” ขึ้น เป็นหนึ่งในบรรดาวิหารทิศทั้งหมด ข้างในก็สร้างปางประสูตินี้ขึ้น

    ยังมีอีกหลายวัดเก่าแก่ ที่สร้างพระปางนี้ แล้วเรียกเหมือนกันว่าปางประสูติ ไม่มีใครเรียกว่า “พระพุทธเจ้าน้อย” ด้วยว่าท่านยังมิได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในวัยเยาว์ขณะนั้น

    1. ผมจึงคิดว่า การที่นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และคณะได้จัดสร้างรูปเคารพของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อแรกประสูติ และสื่อสารมายังสังคมว่าเป็นรูป “พระพุทธเจ้าน้อย” จึงอาจสร้างการเรียนรู้ที่ผิดให้แก่สังคมได้ ควรที่จะเรียกว่า พระพุทธรูปปางประสูติ (เหตุการณ์เมื่อครั้งที่ พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ประสูติ) จะถูกต้องกว่า เนื่องจากโลกนี้ ยังไม่มีผู้ตรัสรู้เป็น “พระพุทธเจ้า” ตั้งแต่แรกเกิด หรือขณะยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงไม่มีพระพุทธเจ้าน้อยในโลก

    2. อย่าไปอ้างถึงคำว่า Baby Buddha เลยครับ เพราะนั่นก็แปลว่า พระพุทธเจ้าในวัยทารก ซึ่งก็ตรงกับคำว่าปางประสูติ คือ เมื่อครั้งแรกประสูตินั่นเอง เรามีคำไทยเรียกอยู่แล้ว และตรงกับความเป็นจริงด้วย จะประดิษฐ์คำว่า “พระพุทธเจ้าน้อย” มาให้คนยิ่งเขลา ยิ่งเข้าใจผิดกันไปไย

    3. พร้อมกันนี้ ก็ควรสร้างความเข้าใจที่ตรงกันด้วยว่า บุญแห่งการระดมปัจจัยไปบูรณะสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า มิใช่เกิดจากการบูชารูป “พระพุทธเจ้าน้อย” นี้ หากแต่อยู่ที่การได้ “ร่วมกันสละซึ่งปัจจัยของตน” นำไปเป็นเครื่องเกื้อหนุนให้การบูรณะปฏิสังขรณ์ “สถานที่เตือนใจ” อันเป็น “เจติยะ”หรือ “เจดีย์” ชนิดหนึ่ง ในการรำลึกถึงพระพุทธองค์และหนทางที่ทรงตรัสชี้ไว้นั้นต่างหาก ที่เป็นบุญอันประเสริฐ ส่วนรูปเคารพนี้ ก็เป็นเพียง “ที่ระลึก” ในการร่วมกันระดมทุนครั้งนี้ต่างหาก ไม่ใช่จุดมุ่งหมายใหญ่ของการกราบไหว้ หรือปลายทางของการระดมทุน ในเมื่อเรามี “สถานที่” (place) เป็นเครื่องเตือนใจให้รำลึกอยู่แล้ว จะนำรูปเคารพ (Subject) ไปบดบังหรือแย่งชิงความสำคัญจากสถานที่เดิมแท้เสียทำไม

    4. อย่าให้รูปเคารพนี้ เป็น “อัตตาของเจ้าภาพ”เป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของผู้จัดสร้าง ในพระพุทธศาสนา มิได้สอนให้คนปะพอกอัตตาให้ใหญ่โต มีแต่สอนให้ฝึกสลายอัตตา นั่นรวมไปถึงผู้ร่วมทำบุญ ก็ควรมีจิตอนุโมทนาต่อเป้าหมายที่ถูกต้อง คือ การบูรณะปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า มิใช่ทำบุญเพื่อบูชา “พระพุทธเจ้าน้อย” หรือบูชา “นางสุดารัตน์”นางสุดารัตน์เป็นเพียงผู้ริเริ่ม และอาศัยบารมีของตนดึงดูดผู้คนฝ่ายต่างๆ มาร่วมด้วย เพื่อให้การหาทุนไปบูรณะครั้งนี้ เป็นผลสำเร็จ และเปิดโอกาสให้ผู้มีศรัทธาได้มาร่วม พูดกันตามตรง ลำพังเงินของนางสุดารัตน์ที่มี กับพรรคพวกอีกไม่กี่คน ก็เกินพอที่จะใช้ในการบูรณะ แต่การดึงเอาเรื่องนี้มาเป็นกิจกรรมประกอบการแห่แหนและทำพิธีให้เอิกเกริกขึ้น มองด้านงามก็คือ นางสุดารัตน์มีใจเป็นกุศล เปิดทางให้คนทั่วไปได้มาร่วมกันทำ แต่ต้องระมัดระวังวิธีการกระทำ ว่าอาจจะเหวี่ยงไปในทางร้ายได้ หากทำเกินงาม หรือทำด้วยใจที่ไม่บริสุทธิ์ ก็เป็นการเอากิจกรรม (Event) นี้มาเป็นเครื่องมือกู้ชื่อในทางการเมือง คือ หมายเอาบุญล้างตัว จึงทำเงียบๆ ไม่ได้เพราะพลังแห่งการชะล้าง ต้องมาจากการรับรู้ของคนในสังคมซึ่งเป็นคู่กรณีทางการเมือง อันเป็นมลทินมัวหมอง

    5. ชาวพุทธทั่วไปก็อย่าเสพติดบุญใหญ่ จนลืมการบำเพ็ญบุญเล็กๆ น้อยๆ ใกล้ตัว คนไทยพุทธชอบแห่ไปทำบุญกับพระดังหรือวัดดัง ทิ้งขว้างวัดในชุมชนของตนเองให้สกปรกรกร้าง คนโบราณทำบุญในวัดกลางชุมชนของตน ไม่ทิ้งวัดในหมู่บ้านตนไปวัดอื่นพร่ำเพรื่อ ทั้งนี้ พระเณรก็ได้รับการอุปถัมภ์พร้อมๆ กับคุมประพฤติจากชุมชน ชุมชนก็ได้รับอานิสงส์จากพระเณรที่ดี
    เสาะหาความรู้ เป็นแบบอย่างของการประพฤติ และดูแลวัดให้สะอาดสะอ้านสวยงาม เพื่อต้อนรับญาติโยมในทุกวันพระ
    ฝึกแสดงธรรมให้ฉะฉานลุ่มลึก โยมก็ได้พัฒนาพระ พระก็ได้พัฒนาโยม

    6. จากกรณี “พระพุทธเจ้าน้อย” นี้ น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจที่ดีเรื่อง “ของที่ระลึก” จากงานบุญ ว่าควรปล่อยวางการสร้างวัตถุ มาสู่การสร้างปัญญากันเสียที พระพุทธรูปจะเต็มโลกแล้วครับ แต่ “หนังสือธรรม” หรือ “เสียงธรรม” ยังขาดแคลน คนเอาแต่เคารพวัตถุ จนย่อหย่อนทางปัญญา แล้วจะไปถึงการมีศีล มีธรรม กระทั่งตรัสรู้กันได้เมื่อไหร่ เลิกสร้างวัตถุที่ระลึกที่เป็นเพียงเครื่องกราบไหว้ มาสู่สิ่งที่เป็นเครื่องประกอบการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ถ่องแท้กันดีกว่า แทนการสร้างพระพุทธเจ้าน้อย มาสร้างพระไตรปิฎกฉบับย่อ ชาดกฉบับต่างๆ หนังสือรวบพระธรรมเทศนาของธรรมจารย์รูปต่างๆ มาจัดพิมพ์เผยแพร่ หรือทำเป็นซีดีเสียงสำหรับผู้เฒ่าผู้แก่ที่สายตาฝ้าฟาง คนเจ็บคนไข้ ผู้พิการทางสายตา จะเกิดประโยชน์ยิ่งกว่าอย่างมหาศาล

    บ้านเรา นักการเมืองชอบเอาศาสนาเป็นบ่อชุบตัว

    ความที่จิตใจมิได้คิดสร้างบุญอันบริสุทธิ์ บางครั้งจึงมุ่งไปที่รูปแบบ คือ ต้องทำให้ใหญ่โต ให้มีมูลค่ามหาศาล จนบางครั้งพากันออกนอกลู่นอกทาง นอกความมีสติปัญญาไปได้ง่ายๆ

    ถึงเวลาที่จะต้องจัดการกับความอยากของตนให้เป็น “สัมมา” คือทำให้มันธรรมดา เรียบง่าย แต่มีความหมายในการ “สร้างคน-สร้างปัญญา” มากกว่าสร้างชื่อของตน ทั้งคนนำบุญและคนสมทบทุนแล้วล่ะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 000(453).jpg
      000(453).jpg
      ขนาดไฟล์:
      107 KB
      เปิดดู:
      124
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2013
  16. qillip

    qillip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +366
    มัวเมาในวิชากันอีกแล้ว
    สรรหาสร้างวาทกรรม ต่างๆนานา เพียงเพื่อต้องการอะไรหรือ?

    สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ
    สถานที่ประสูติ
    สถานที่ตรัสรู้
    สถานที่แสดงปฐมเทศนา
    สถานที่ปรินิพพาน

    สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ จากเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตร แสดงให้เห็นว่าสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้ได้เกิดขึ้นโดยคำแนะนำของพระพุทธองค์ ที่ได้ตรัสว่า ผู้ใดระลึกถึงพระองค์ พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้

     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
    อรรถกถา [อัดถะกะถา] น. คัมภีร์ที่อธิบายความพระบาลี, คัมภีร์ ที่ไขความพระไตรปิฎก. (ส. อรฺถ + กถา; ป. อตฺถกถา, อฏฺ?กถา).
    อรรถกถาจารย์ น. อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา.

    พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุบัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ "อรรถกถาจารย์" อธิบายพระธรรมฟังได้
    แต่เชื่อได้หรือไม่ต้องไปดู "เกสปุตตสูตร"

    "ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
    อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
    อย่าได้ ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
    อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินว่าอย่างนี้
    อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
    อย่าได้ยึดถือโดยตรึกตามอาการ
    อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตน
    อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรเชื่อได้
    อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา"
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม

    “ท่านทั้งหลายไม่เข้าถึงพุทธธรรม ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้าตามทัศนะของท่าน ขวางหน้าท่านอยู่”

    พุทธทาสภิกขุ

    อินทปัญโญได้ บันลือสีหนาท อีกครั้ง เมื่อเขาแสดงปาฐกถาเรื่อง “ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” ณ พุทธสมาคม กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ซึ่งมีเนื้อหาที่ “แรง” ที่สุดกว่าครั้งใดๆ เพราะครั้งนี้เขาได้นำเสนอถึง สิ่งซึ่งกีดขวาง หรือเป็นกำแพงมหึมาอยู่ข้างหน้าซึ่งทำให้คนเราเข้าถึงไม่ได้ ทั้งๆ ที่ผู้นั้นก็มีความภักดีต่อพุทธธรรมอย่างเต็มที่อยู่เสมอ อินทปัญโญสามารถนำเสนอเรื่องนี้ได้อย่างเข้าถึง และอย่างมีพลังมาก เพราะตัวเขาเองก็เพิ่ง ก้าวข้าม ภูเขามหึมาที่เคยขวางตัวเขามาได้เมื่อปีที่แล้วนี่เอง เขาจึงอยากถ่ายทอดสิ่งที่เป็น ประสบการณ์ทางวิญญาณ และ บทเรียนทางวิญญาณ ในการแสวงธรรมของตัวเขาให้แก่คนอื่นโดยเฉพาะคนรุ่นหลัง เพื่อที่พวกเขาจะสามารถก้าวข้ามสิ่งซึ่งกีดขวางไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมได้เหมือนอย่างเขา

    อินทปัญโญบอกว่า ถ้าหากมีการตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า อะไรเป็นเครื่องปิดบังพระนิพพานอันเป็นตัวพุทธธรรมที่ผู้แสวงธรรมประสงค์จะเข้าถึง? เขาจะตอบอย่างฟันธงอย่างไม่ลังเลใจเลยว่า “พระพุทธเจ้า” นั่นเองที่กลับกลายมาเป็นภูเขามหึมาบังพระนิพพาน โดยเฉพาะ พระพุทธเจ้าตามทัศนะของแต่ละคน นี่แหละที่ขวางหน้าคนผู้นั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรม

    เพราะคนเราเข้าใจเข้าถึง ความจริง ได้แค่ไหน ก็มีความเข้าใจเข้าถึง “พระพุทธเจ้าของเขา” ได้แค่นั้น ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ถูกขนานนามว่า พระพุทธเจ้า รวมทั้งการนิยามว่าอะไรเป็นพระพุทธเจ้า จึงมีอยู่ในลักษณะและขนาดมาตรฐานต่างๆ กัน แล้วแต่ ความยึดถือ ของแต่ละคนเป็นชั้นๆ ไป

    คนที่เข้าถึงพระพุทธเจ้า แต่ในทางวัตถุโดยไม่สูงถึงทางจิตย่อมเข้าใจได้แต่เพียงว่า พระพุทธเจ้าคือเลือดเนื้อกลุ่มหนึ่งที่เดินท่องเที่ยวสั่งสอนประชาชนในประเทศอินเดีย เมื่อสองพันกว่าปีก่อน ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ทรงเคยปฏิเสธว่า เลือดเนื้อกลุ่มนั้น ยังไม่ใช่ตถาคต คนที่ไม่เห็นธรรมะของตถาคต คือคนที่ไม่เห็นตถาคต แม้ผู้นั้นจะคอยจับจีวรของพระองค์ดึงเอาไว้ ไปทางไหนไปด้วยกันทั้งกลางวันกลางคืน แต่ถ้าไม่เห็นธรรมะแล้ว ไม่ชื่อว่าเห็นตถาคตเลย

    แม้คนที่มุ่งเข้าถึงพระพุทธเจ้าในทางจิต หากหลงไปยึดว่า พระพุทธเจ้าเป็น อัตตาที่บริสุทธิ์ ไม่เกิดไม่ตาย มีอยู่ในทุกแห่ง พร้อมที่จะปรากฏทุกเมื่อในสมาธิ อินทปัญโญก็ยังบอกว่า วิถีแห่งพุทธธรรมของผู้นั้นจะถึงทางตันและสิ้นสุดลงเพียงนั้น เพราะเป็นการหลงไปยึดถือเอาตามความรู้ ตามการศึกษาและศรัทธาของตนเองอันคับแคบอยู่

    แม้แต่ความรักในองค์พระพุทธเจ้าของบุคคลบางคนที่เป็นอริยบุคคลขั้นต่ำยังไม่ถึงพระอรหันต์ เช่น พระอานนท์ ในสมัยที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งๆที่พระอานนท์รู้จัก ลู่ทางแห่งพุทธธรรมอย่างถูกต้อง วิถีแห่งพุทธธรรมของท่านก็ยังไม่วายถูกสกัดได้ด้วยภูเขาหรือองค์พระพุทธเจ้าที่ท่านยึดถือไว้ด้วยความรักของท่านเอง

    อินทปัญโญจึงบอกว่า ไม่มีภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมอะไรอื่น นอกไปจาก ความยึดถือเกี่ยวกับตัวตน และ ไม่มีความยึดถือเกี่ยวกับตัวตนอะไรอื่น ยิ่งไปกว่า ความยึดถือในสิ่งที่ตนถือเอาเป็นที่พึ่งของตน เพราะฉะนั้น นอกไปจาก “พระพุทธเจ้า” ตามทัศนะของเขาแล้ว แม้ “พระธรรม” ของเขา ก็ยังอาจเป็นภูเขาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมของผู้นั้นได้ เพราะอาศัยความยึดถือทำนองเดียวกัน ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึง “พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์หรือคุรุ” ของเขา ซึ่งกลับเป็นภูเขาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมของเขาได้ เพราะอาศัยความยึดถือเช่นเดียวกัน

    บางคนได้ยึดถือเอาเครื่องมือหรือหนทางที่จะปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมมาเป็นตัวพุทธธรรมเสียเอง

    บางคนก็ถือเอาเล่มหนังสือหรือพระคัมภีร์เป็นตัวพระธรรมเสียเลยก็มี

    บางคนกลับต้องการให้พระนิพพานหรือพุทธธรรมเป็นบ้านเมือง เป็นโลกอันแสนสุข สำหรับตนจะไปจุติไปเกิดที่นั่น แล้วก็ตั้งบำเพ็ญสมาธิเพื่อความเป็นอย่างนั้น ด้วยอำนาจความยึดถือในด้านวัตถุอันแรงกล้า

    บางคนยึดถือในศีลของตนจนดูหมิ่นผู้อื่น ก่อการแตกร้าวทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องศีล เพราะความยึดมั่นถือมั่นในศีลด้วยความสำคัญผิด ยึดมั่นทุกตัวอักษรอย่างงมงาย

    ศีล จึงอาจกลายเป็นภูเขาขึ้นมาขวางวิถีแห่งพุทธธรรมก็ได้ เมื่อมีผู้ยึดถือว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ ซึ่งมันก็เป็นแค่ความจริงของบุคคลผู้นั้น ซึ่งไม่สามารถจะเห็นเป็นอื่นไปได้ ผลก็คือ ความเนิ่นช้ากว่าจะปีนป่ายภูเขาลูกนี้ข้ามพ้นไปได้

    สมาธิ ก็อาจกลายเป็นภูเขาสกัดทางตัวเองในการเข้าถึงพุทธธรรมของผู้ปฏิบัติ หากเป็นที่ตั้งของความยึดถือโอ่อวด พอใจ หลงใหลในสมาธิของตนตามที่ตนปฏิบัติได้ เพราะความจริงของใคร ก็เป็นความจริงของคนนั้น เท่าที่เขารู้และพอใจยึดถือ จึงยากที่จะยอมเชื่อกันด้วยใจจริง เมื่อยังหลงผิดอยู่ด้วยความยึดถือเช่นนี้ ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมก็ยังตั้งสูงตระหง่านขวางหน้าอยู่เพียงนั้น

    แม้แต่ ปัญญา เอง หากเป็นปัญญาที่ไม่รู้จักตัวเอง ยังมีมูลฐานตั้งอยู่บนความจริงของความเชื่อ ความคาดคะเน ก็ย่อมเกิดเป็นภูเขาขวางวิถีทางแห่งพุทธธรรมขึ้นเหมือนกัน ปัญญาของผู้ใดสิ้นสุดหยุดลงตรงไหน ก็บัญญัติเอาเพียงแต่ตรงนั้นว่าเป็นความจริงด้วยบริสุทธิ์ใจของตนและยึดมั่น จนเกิดเป็นลัทธินิกาย ปรัชญาต่างๆ ต่อให้เฉียบแหลมแค่ไหน ก็ไม่วายที่จะเป็นภูเขากั้นขวางทางอยู่ระหว่างตัวเขากับนิพพานจนได้ ด้วยความยึดถืออีกเช่นกัน

    ปัญญาคือแสงสว่างก็จริง แต่คนเราจะรับรู้ได้เท่าที่ปัญญาหรือแสงสว่างของเขาจะอำนวยให้ว่านั่นคือ ความจริง แต่หากผู้นั้นมีปัญญามากขึ้น เขาจะมองต่างไปจากเดิม สิ่งที่เรียกว่าความจริงของเขา ย่อมเปลี่ยนไปตามแสงสว่างหรือปัญญาที่เพิ่มขึ้นของเขา ความแตกต่างจึงขึ้นอยู่กับแสงสว่างหรือปัญญาที่ส่องไปยังวัตถุเรื่องราวนั้น จึงเห็นได้ว่า แสงสว่างนั้นเองที่เป็นผู้บังความจริง ทั้งในด้านจิตและด้านวัตถุ เพราะแสงสว่างชนิดหนึ่งๆ ย่อมให้ความจริงแก่เขาในการเห็นเป็นอย่างหนึ่ง นอกนั้นคือส่วนที่แสงสว่างนั้นบังเอาไว้

    อินทปัญโญได้พูดออกมาจาก ประสบการณ์โดยตรง ของเขาเองที่เพิ่งผ่านมาไม่นานว่า ความจริงที่จริงไปกว่านั้น หรือนอกเหนือไปจากนั้น ซึ่งเขายังไม่เห็นในตอนนั้น คือส่วนที่ปัญญาเพียงขนาดนั้นของเขา แม้จะล้ำเลิศเพียงใดได้ “บัง” เอาไว้ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นตัวเขารู้สึกว่า ตัวเขาได้มองดูอย่างทั่วถึงอย่างหมดความสามารถของเขาแล้วอย่างคิดว่า ไม่มีอะไรเหลือซ่อนเร้นอีกแล้ว เพราะเขาเคยรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เขาจึงยึดถือเอาสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นความจริงอันเด็ดขาด ด้วยความสำคัญผิด ซึ่งมันก็ยังเป็นภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรมของเขาอยู่

    ทั้งๆที่มันไม่น่าจะเป็นไปได้ และตัวอินทปัญโญเองก็ถึงกับตะลึง เมื่อตระหนักได้ว่า มันเป็นการ “บัง” ของแสงสว่างเสียเอง เพราะแม้ตัวเขาจะได้พยายามตีความพระพุทธวจนะ หรือขบคิดข้อความที่ยากๆ เรื่องอนัตตาอย่างสุดความสามารถเท่าที่ปัญญาของเขามี ซึ่งอาจแตกต่างไปจากคนอื่นบ้างไม่มากก็น้อย ขณะที่ยังไม่ถึงที่สุด เขาก็ย่อมต้องยึดถือเอาส่วนที่ตัวเขาคิดได้จนแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า นี่เป็นความจริงอันเด็ดขาดของตัวเขา ซึ่งตัวเขาเองเพิ่งมาตระหนักได้ทีหลังว่า

    “นี่ก็ยังเป็นความยึดมั่นในความคิด และความเห็นแจ้งของตัวเราเอง และความยึดมั่นอันนี้ คือภูเขาที่ขวางอยู่ในวิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรมของตัวเรา ซึ่งเราเพิ่งทลายมันลงไปได้ด้วย เซน”

    จากประสบการณ์แห่ง ซาโตริ ของตัวเขา อินทปัญโญจึงมองได้อย่างทะลุปรุโปร่งว่า อัตตวา ทุปาทาน หรือ ความยึดมั่นว่ามีตัวตน นี่แหละที่เป็นมูลฐานของภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม ทำให้ ความว่างจากตัวตน ถูกปิดบังอย่างมิดชิด เพราะ ตัวเองที่บังตัวเองที่เป็นความว่าง เป็นสิ่งกีดขวางอันเร้นลับที่สุด

    เพราะไม่มีการรู้จักตัวเองอย่างถูกต้อง จึงเกิดความต้องการพระพุทธเจ้า และสร้างพระพุทธเจ้าขึ้นมาด้วยตัณหาของตัวเอง ตามทัศนะของตัวเอง หุ้มห่อตนเอง จนเหลียวไปทางไหนก็พบแต่สิ่งนี้ จนกระทั่งเป็นสัญญาความทรงจำอันเหนียวแน่น เหลือที่จะปัดเป่าออกไปได้

    เมื่อใดที่สามารถรู้จักตัวเองอย่างถูกต้อง คือรู้จักความว่างจากตัวตน เมื่อนั้นก็ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีผู้บังและไม่มีผู้ที่ถูกบัง ไม่มีการแสวงหาเพราะไม่มีผู้ที่มีความอยาก ไม่มีผู้แสวงที่พึ่งและไม่มีผู้ที่จะเป็นที่พึ่ง

    เพราะ ผู้นั้นมีความว่างจากตัวตนแล้ว “พระพุทธเจ้า” ของเขา ก็เป็นความว่างจากตัวตนด้วยเช่นกัน ตราบใดที่คนเรายังคลำตัวเองไม่พบว่าเป็นอะไรกันแน่ ตราบนั้นก็ต้องมีการยึดถือ เที่ยววิ่งตะครุบนั่นนี่ไปตามความยึดถือเป็นธรรมดา จึงไม่อาจพบและเข้าถึงพุทธธรรมได้
     
  19. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ========

    ครับยินดีแลกเปลี่ยนภูมิความรู้ครับ

    ความจริงที่กล่าวมาก็ใช่ครับ กระผมขอกล่าวเสริมว่า หากเราไปย้อนดูในเรื่องปางต่างๆ พุทธลีลาของพระพุทธเจ้า มีมากมาย บางส่วนก็เป็นพุทธลีลาก่อนตรัสรู้ก็มีครับ กระผมก็ไม่ได้บอกว่าผิดหรือถูก แต่การจะถวายพระนามแห่งพุทธลีลา พุทธกริยา ทั้งหลายเหล่านั้น ควรพิจารณาพระนามให้เหมาะสมและตรงกับอากับกริยานั้นๆ อันพระนามว่า พระพุทธเจ้าน้อย ไม่ได้สื่อถึงพุทธลีลา พุทธจริยา สังเกตุไหมว่า พุทธมารวิชัย พุทธสดุ้งมาร พุทธสมาธิ พระนามเหล่านี่สื่อตรงถึงพุทธจริยาชัดเจนครับ ก็แค่เป็นความเห็นของผมครับ อาจจะไม่เห็นด้วยก็ไม่ว่าครับ

    สุดท้ายในเมื่อเราเจตนาดีแล้ว ก็ควรคิดทำสิ่งอื่นๆที่เหลือให้ดีงาม ถูกต้องให้บริบูรณ์ครับ แน่นอนว่ามันก็ย่อมดีงามยิ่งๆขึ้นไปครับ สาธุครับ

     
  20. มหนฺตยศฺ

    มหนฺตยศฺ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +112
    ปัจจุบันพระองค์คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ?? เหตุใดจึงไม่สามารถเรียกว่าพระพุทธเจ้าได้ หากจะบอกว่าสมัยที่พระองค์ยังทรงเป็นพระราชกุมารสิทธัตถะนั้นยังมิได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณก็ถูกอยู่ แต่ถ้าสมัยนั้นเวลานั้นพวกเราสร้างรูปปั้นแล้วบอกเป็นพระพุทธเจ้าน้อยสิผิดแน่ ขณะนี้เวลานี้พุทธศาสนาย่างเข้าสู่ยุคกึ่งกลางเพราะเหตุใดจึงคิดว่าใช้คำว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ หากไปใช้คำว่าพระกุมารจะทำให้คนไคว่เขวยิ่งกว่าสู้ใช้ศัพย์นี้แล้วอธิบายน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เชื่อว่าคณะดำเนินการสร้างคงไตร่ตรองไว้ดีแล้ว ฉะนั้นท่านทั้งหลายวางกำลังใจกันให้ถูกต้องเถิดจักเป็นบุญสืบไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...