ถึงเวลาที่สยบข่าวภัยพิบัติ  ทางสายเอก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 14 ธันวาคม 2012.

  1. นะมะนะอะ

    นะมะนะอะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +83
    เป็นคำกล่าวที่ดีของเพื่อนคนหนึ่ง..!
    ชีวิตก็เหมือนการเดินทาง ก่อนออกเดินทางเรามักเตรียมอะไรเยอะแยะใส่เป้เต็มไปหมด แต่พอเดินมาได้สักพัก เราจึงเริ่มรู้สึกว่าเป้ที่แบกอยู่มันหนัก..............ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหานะ หากเราจะหยุดสักพัก เพื่อสำรวจว่า จริงๆแล้ว มีบางอย่างที่เราอาจไม่ได้ใช้มันตลอดการเดินทาง อยู่ในเป้ที่เราแบกมานาน.............ก็ แค่โยนมันทิ้งไปบ้าง บางทีมันอาจทำให้เราเดินสบายขึ้น............(พะโล้ ดีเจรักในหลวง)
     
  2. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    สาธุ เมื่อรู้แล้วรีบค้นหา  แบ่งเวลาถ้าคอยรอ
            จิตว่างนั้นวางหนอ  อย่าไปรอว่าเมื่อไร
          ว่างนิดวางจิตไป   หมดสิ้นไร้ไม่ปิดบัง
            แม้นลมยังต้องวาง  จึงจะว่างทางเห็นไกล
          ดูลมจนสมใจ  แล้วปล่อยไปใจนั้นวาง
            เห็นธรรมในใสสว่าง   เพราะว่าว่างวางแล้วจำ
            
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06068.JPG
      DSC06068.JPG
      ขนาดไฟล์:
      488.7 KB
      เปิดดู:
      50
  3. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    เวลาคนเขาอยากมีปัญญา เขาพยายามจะสร้างพระไตรปิฏกถวายยกตู้ พร้อมหนังสือธรรมะต่างๆ เพื่อคงไว้เป็นอานิสงค์

    ทั้งที่ไม่เคยเปิดตู้อ่านเลย ได้แต่ถวายอย่างเดียว ไม่ต่างกับสวดมนต์บาลี แต่ไม่รู้คำแปล

    ผลมันย่อมต่างกันแน่นอน แต่หากมีใครมาบอกว่า การค้นคว้าหาความรู้จากตำรับตำรา
    เป็นการดองไว้ซึ่งสัญญาความเป็นปริยัติ ก็ฟังๆไว้แต่ให้ข้ามไปเสีย
    จริงอยู่ ตรงนี้ ใครๆก็รู้ตั้งแต่ปฐม มัธยม ว่าธรรมะไม่ได้เกิดจากการแบกตำรับตำรา
    แต่เกิดจากเหตุการปฏิบัติต่อกาย วาจา ใจ

    แต่ถามว่าปฏิบัติ ได้สักกี่กระแบะกัน นั่งขัดเพชรทำสมาธิ เดินจงกรม สักชั่วโมงสองชั่วโมง ได้ไหม
    ทีนี้ พอใครได้ยินอย่างนี้ ก็ว่าเป็นการปฏิบัติทรมานกาย ทำไมไม่ปฏิบัติแบบสบายๆ
    รู้ลม รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวันในทุกอิริยาบถ
    พวกนี้เขาก็เอามาจาก ที่ได้ยินได้ฟังมาทั้งนั้นล่ะ ก็เป็นซะอย่างนี้

    เพราะสิ่งนี้มันเป็นอุบายการภาวนาทั้งนั้น หากจะดูการปฏิบัติ
    ลองไปศึกษาประวัติครูบาอาจารย์วัดป่าดูสิ ให้ดูที่เหตุของการปฏิบัติว่าท่านปฏิบัติมาอย่างไร
    อย่าไปดูที่ผลของท่าน ว่าท่านเป็นนั่นเป็นนี่ เพราะนั่นคือ ปฏิเวธ ให้ยกไว้

    ดังนั้น การค้นหาข้อมูล เพื่อไว้เป็นเข็มทิศการเดินทาง
    แต่ถามว่าเป็นวิจิกิจฉา ไหม ก็จะบอกว่า หากคนๆนั้น ละอุปาทานขันธ์ ได้
    เป็นพระโสดาบัน นั่นล่ะ วิจิกิจฉา ลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย
    ลังเลสังสัยในข้อปฏิบัติ ว่าปฏิบัติตามจะได้ผลจริงหรือ
    ตรงนี้มันเห็นผล ตั้งแต่ความเป็นกัลยาณปุถุชนแล้ว คือ มีสติควบคุมกาย วาจา ทำความสงบของใจเป็น ทำสมาธิเป็น นิวรณ์กิเลสอย่างกลางถูกปิดแผลได้พอประมาณ

    เหมือนอย่าง การจะโพสเวบบอร์ด แต่ไม่รู้จักวิธีการใช้เครื่องมือเลย
    แล้วมันจะเป็นไหม หากไม่รู้จักคุณสมบัติ ก็ได้แต่สงสัยว่า เขาโพสรูปกันยังไง
    เอายูทูบ มาลงยังไง ก็เพราะไม่ศึกษาเอาออกมาใช้ประโยชน์ไม่เป็น
    ก็เลยได้แต่กลัวว่า จะเป็นสัญญา กลัวจะเป็นวิจิกิจฉา แต่ไม่ถามไถ่

    อย่างนี้ โฮปเวย์ ก็เป็นเพียงแต่ซากปฏิมากรรม ล่ะเนาะ
    ทนทางแห่งความหวัง คงเป็นได้เพียงแค่ขยะทางความคิด
    ที่ไม่กล้าแม้จะเปิดอ่านหาข้อมูล เพื่อแก้ความสงสัยเฉพาะจุด ในการรียูส รีไซเคิ้งงงง

    รู้นั่น รู้นี่ ขี้เกียจก็ให้รู้ว่าขี้เกียจ สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย
    ก็จะขี้เกียจต่อไป สงสัยต่อไป แล้วผลงานจะเกิดกับตนได้อย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2013
  4. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2013
  5. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    พอเราเรียนผูก เราก็ต้องรู้จักเรียนแก้

    ธรรมะภาคปฏิบัติจะฟังจากพระท่านหลาย เช่น หลวงตามหาบัว หลวงพ่อสงบ เป็นต้น

    เช่น ท่านเทศน์สอนในเนื้อหาเกี่ยวกับ ธรรมะตัดแปะ, พุทธพจน์กิเลสอ้าง, ธรรมกระดาษ อะไรพวกนี้

    ถามว่าทำไมต้องซับซ้อน เพราะจะได้รู้ทั้งการผูก และการแก้ ในเรื่องของตนๆ
     
  6. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    สาธุ
    ขอรับท่านครูน้อยตาแดงแสงจ้า
     
  7. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    อันครูน้อยตาแดงส่องแสงจ้า
    นำธรรมมาลงกระทู้รู้ทางสอน
    แนบแน่นสนิดติดตามศิษย์จิตประคอง
    ร่วมพี่น้องกระทู้ธรรมตามไปดู
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06288.JPG
      DSC06288.JPG
      ขนาดไฟล์:
      550.6 KB
      เปิดดู:
      44
  8. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    ขอกราบท่านอาจารย์ใหญ่ที่ตามรู้
    ศิษย์สองครูขอคำนับรับคำสอน
    เป็นผู้น้อยจักค่อยก้มประนมกร
    รับคำสอนและรับคำสั่งไม่ลังเล.
     
  9. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
  10. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
  11. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ผู้ที่หมั่นเพียรถามข้อธรรมนั้นจะมีโอกาสก้าวหน้าทางธรรมได้เร็วขึ้น 
    ติดขัดตรงใหนจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข และทำความเข้าใจ ให้ถูกต้อง
    ยิ่งในการปฏิบ้ติแล้วจะช่วยได้มากเลย  ในการปฏิบัติธรรมแล้วไม่มีคำถามใหนที่ผิด ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC06288.JPG
      DSC06288.JPG
      ขนาดไฟล์:
      550.6 KB
      เปิดดู:
      69
  12. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271



    สาธุ..ที่ท่านครูน้อยตาแดง...บอกสอนข้าน้อยแล้ว..ก็ยังย้ำ..แล้ว...ซ้ำอีก...อยู่ในกระแสเทศน์ทั้งสิ้นเลยขอรับ..กราบขอบพระคุณที่สุด
     
  13. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เพียรเฝ้าตามดูลมตามบ่มจิต
    คอยพินิจตามดูรู้ถึงใหน
    ลมส้มผัสอ่อนแข็งหรือแรงไป
    สตินั้นให้รู้ตามจิตติดตามลม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 57 flower.JPG
      57 flower.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      75
  14. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ธรรมะลอยลม
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
    ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี





    ชีวิตเรามีคุณค่า ธรรมะจะมีคุณค่าต้องมีชีวิตเรามีคุณค่า ชีวิตคนมีคุณค่า ชีวิตคนมีหลักมีเกณฑ์ ดูนิสัย ดูใจคอ สิ่งนี้อยู่ในธรรมะนะ ธรรมไง ธรรมคือความจริง ถ้าชีวิตคนโลเลมันก็ได้ธรรมะโลเล

    เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกประพฤติปฏิบัตินะ ธรรมะไม่มี คำว่า “ธรรมะไม่มี” สัจธรรมมันไม่มี แต่ธรรมดั้งเดิมมีอยู่ ธรรมดั้งเดิมคือมันละเอียดอ่อนไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้า พยายามค้นคว้า พยายามศึกษา พยายามทดสอบ คำว่า “ทดสอบ” สิ่งที่ไม่มีแล้วพยายามทดสอบ ทดสอบโดยทางที่ไม่ถูกทางมันจะเข้าหาสิ่งนั้นไม่ได้ สิ่งที่ทำเข้าหาสิ่งนั้นไม่ได้เพราะเหตุกับผลมันไม่ลงตัว มันไม่เป็นธรรม

    เหตุที่เป็นธรรม อริยสัจประกาศมา ๒,๕๐๐ กว่าปี อริยสัจจะ สัจจะความจริง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งนี้ทางวิทยาศาสตร์พึ่งพิสูจน์ได้เมื่อเร็วๆ นี้เอง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพิสูจน์มาแล้วจากสัจจะความจริง สัจจะความจริงในหัวใจไง ถ้ามีสัจจะความจริงในหัวใจ สิ่งนี้มันเป็นความจริง ถ้าเป็นความจริง คนมีหลักมีเกณฑ์นะ คนเรามีจุดยืน คนเรามีที่มาที่ไป ไม่เลื่อนลอย ถ้าธรรมะที่ยังไม่เป็นธรรมนะ มันธรรมเลื่อนลอย อย่างเช่นเรามีความจำ เราศึกษาวิชาการต่างๆ แต่เราไม่เคยทดสอบ มันเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง มันเลื่อนลอย

    ชีวิตก็เหมือนกัน อยู่ที่จริตนิสัย ถ้าจริตนิสัยของคนจริงจัง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมา เวลาออกค้นคว้าอยู่ ๖ ปี สิ่งที่เป็นธรรมนี้ไม่มี แต่ก็มีความจริงจัง จริงจังค้นคว้า มีความอดทน มีความบากบั่น อย่างพวกเราปฏิบัติ ถ้าปี ๒ ปีเราปฏิบัติไม่ได้ น้อยเนื้อต่ำใจนะ มันจะอ่อนแอ คนที่อ่อนแอ สิ่งที่เป็นสัจจะความจริงอันนี้มันฝังมาจากรากของใจ

    รากของใจ คนที่สร้างบุญกุศลมา คำว่า “บุญกุศล” บุญกุศล มันมีสมบัติ อย่างเช่น เรามีปัจจัยเครื่องอาศัยพร้อมมูล สิ่งที่เราจะจับต้อง เราจะใช้สอยสิ่งใดมันพอที่จะให้เราหยิบจับได้เพราะเรามีอยู่ แต่ถ้าเราไม่มี เราต้องยืมเขา เราต้องไหว้วานเขา เราต้องให้คนช่วยเหลือเรา การช่วยเหลืออย่างนี้มันก็ช่วยเหลือกันทางโลกใช่ไหม จิตใจก็เหมือนกัน ถ้ามันสร้างสมบุญญาธิการมา มันมีโอกาส มีการกระทำ มีความเป็นไป มีความฉุกคิด หัวใจมีความฉุกคิดนะ มันมีอำนาจวาสนา มันทำให้เราย้อนกลับมาถึงความเป็นไปของเราได้ สิ่งนี้เป็นอำนาจวาสนา เป็นนิสัย

    อำนาจวาสนามาจากไหน อำนาจวาสนามันลอยมาจากฟ้าหรือ? ไม่มีหรอก อำนาจวาสนาอยู่ในกำมือเราไง ถ้าเราทำของเรา ผลมันให้ ขณะที่ทำไป เราลงทุนลงแรงกระทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ต้องลงทุนลงแรง มันเป็นเรื่องการอาบเหงื่อต่างน้ำทั้งนั้น เวลาการสละของใจก็เหมือนกัน ถ้าคนไม่เคยทำทานนะ จะสละสิ่งใดไป หัวใจแทบหลุดแทบสลายไปเลย มันสละออกไม่ได้ไง เหมือนคนทำงานทำการอาบเหงื่อต่างน้ำ ลงทุนลงแรงแล้วได้ผลแต่น้อย

    นี่ก็เหมือนกัน เวลาจะเสียสละ เวลาทำอะไรไป หัวใจมันตระหนี่ถี่เหนียวของมัน มันยึดเหนี่ยวของมัน มันไม่ยอมคลายไม่ยอมสละออกไป เราจะต้องใช้กำลัง กำลังคือสติ กำลังคือความจงใจของเรา เพื่อสละสิ่งนั้นออกไป กว่าจะทำได้หัวใจหวั่นไหวไปหมดเลย แล้วการฝึกฝน การกระทำขึ้นมา สิ่งที่สละออกไป ขณะที่มันไม่ยอมกระทำแล้วเราสละออกไป สิ่งที่ตอบสนองกลับมาล่ะ สิ่งที่ตอบสนองกลับมา สิ่งนั้นสละออกไปแล้ว เราสบายใจ เราสบายใจนะ ไม่เป็นกังวลนะ

    เรากำสิ่งใดไว้ ที่ว่าชั่งใจอยู่ ให้หรือไม่ให้นี่ กำแล้วกำเล่า ถ้าสละออกไปแล้วนะ ถึงจะเสียดาย ถ้าจิตมันยังไม่มีกำลัง จะเสียดาย แต่ก็พ้นจากมือเราไปแล้ว ความกังวลหมดไป นี่ฝังลงที่ใจ สิ่งที่จะมีกำลัง สิ่งที่จะมีปัจจัยเครื่องอาศัย นี่บุญเกิดอย่างนี้ มันถึงว่าเป็นคนเข้มแข็ง เป็นคนจริงจังนะ

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสละ สละขนาดไหน ๑๐ ชาติสุดท้ายสละมหาศาลเลย แล้วออกประพฤติปฏิบัติ ไม่มี ธรรมไม่มี นี่ค้นคว้า มีความจงใจ พระปัจเจกพุทธเจ้าต้องมีความจงใจ มีความเข้มแข็ง แล้วมีสัจจะบารมี ตั้งใจไว้ เวลาเราตั้งใจอยากเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เราจะบรรลุธรรมโดยต้องไม่มีใครสั่งสอน เราจะรู้ด้วยตนเอง พระปัจเจกพุทธเจ้ารู้มาแล้วก็สิ้นสุดแห่งทุกข์เหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สิ้นสุดแห่งทุกข์เหมือนกัน

    มีจุดยืนนะ ในชีวิตนี้จะไม่มีสิ่งใดหลอกใจดวงนี้ได้เลย ใจดวงนี้จะเข้าใจสัจจะความจริงทั้งหมด สัจจะความจริงนะ สัจจะคืออารมณ์ความรู้สึก คือสิ่งที่เป็นทุกข์เป็นร้อนในหัวใจ แต่เรื่องของโลกๆ เรื่องของโลกสิ่งที่เราไม่รู้ มันไม่รู้ มันแปรเปลี่ยนไปตลอดไป อย่างเช่นผลไม้ เราไม่รู้จักว่าชื่ออะไร อย่างไรเราก็ไม่รู้หรอก แต่มันให้โทษอะไรกับเราล่ะ มันไม่ให้โทษอะไรกับเราหรอก มันไม่ใช่ให้มีคุณค่าเหยียบย่ำน้ำใจจนขนาดว่าเราเป็นทุกข์เป็นร้อนขึ้นมาได้หรอก เพราะเราเข้าใจสัจจะความจริงจากภายใน “โลกใน”

    “โลกนอก-โลกใน” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมหาศาล ถึงรู้แจ้งโลกนอก-โลกใน

    “โลกนอก” โลกนอกคือสมมุติต่างๆ นี่เรื่องโลกนอก

    “โลกใน” ความคิด โลกทัศน์ นี่โลกใน

    โลกในนี่สำคัญมาก มันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ มันเป็นบ่อเกิดแห่งการเกิดและการตาย มันเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่กับใจ จะปฏิเสธหรือไม่ปฏิเสธนะ คนจะปฏิเสธหรือยอมจำนน หรือผู้มีปัญญาใคร่ครวญค้นคว้า พยายามจะชนะมันนะ เป็นไปไม่ได้ สิ่งนี้มันเป็นกรรม มันเป็นกรรมนะ สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม เราเกิดตามกรรม กรรมเป็นแดนเกิด กรรมเป็นเผ่าพันธุ์

    ขณะที่เรามีบุญกุศลมหาศาลเลย แต่ขณะที่เราเกิดเป็นสัตว์ พระโพธิสัตว์เวลาเกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นกวาง เกิดเป็นสัตว์อยู่ในป่าในเขา นี่มันเกิดได้ทั้งนั้นแหละ ขณะที่มันเกิดเป็นสัตว์ล่ะ สิ่งที่เกิดเป็นสัตว์ก็เป็นสิ่งที่สะสมไป ความเป็นไปของชีวิต ชีวิตก็มีความเป็นไป สิ่งนี้เราปฏิเสธได้ไหม? เราปฏิเสธไม่ได้ กรรมปฏิเสธไม่ได้ แล้วเราสร้างกรรมมา การเกิดและตาย บ่อเกิดอันนี้มันให้ผลกับเรามาก

    ดูสิ คนมีจุดยืน มีหลักมีเกณฑ์ หาสมบัติที่เป็นนามธรรม คนที่ไม่มีหลักมีเกณฑ์ หาสมบัติที่เป็นรูปธรรม รูปธรรมของเขา แล้วรูปธรรมมีมากเกินไปก็ใช้ปัญญากัน บริหารจัดการ เปลี่ยนแปลงพับให้เป็นแบงก์ให้หมด ทุกสิ่งอย่างให้เป็นเงินเป็นทองขึ้นมา ตีค่ากัน ตีค่าไป เวลาเกิดสงครามขึ้นมานะ สิ่งต่างๆ จะไม่มีค่าเลยนอกจากแร่ธาตุเป็นทองคำ เขาไปถือทองคำกันหมด เวลาเกิดสงครามขึ้นมา เกิดแย่งชิงทรัพยากรกัน มันจะเป็นสภาวะแบบนั้น โลกเขาไปตื่นกันอย่างนั้นไง เพราะอะไร เพราะโง่ เพราะไม่รู้จักตัวเอง เพราะเป็นไปตามกับเขาไง นี่เราสร้างสม

    แม้แต่จักรพรรดิก็ต้องตายไป ต่างๆ ต้องตายไป ตายแล้วเราตายเพื่อใคร อย่างถ้าเราเป็นจักรพรรดิที่ดี สร้างผลบุญญาธิการที่ดี แต่มันก็ไม่เข้าถึงจุด ถึงบ่อเกิดแห่งการเกิดและการตาย ชีวิตนี้การเกิดและการตายสำคัญมาก แล้วถ้าเราเป็นคนลอยลม “ธรรมะลอยลม”

    เราเกิดมา เราพบพระพุทธศาสนา เรามีธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ มันเหมือนกับคนที่หิวกระหายมาก แล้วมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ไม่มีใครสนใจเลย “แก้วสารพัดนึก” ไม่มีใครสนใจเลย หิวก็หิวกระหายไป ก็ใช้ชีวิตของเขาไปตามประสาของเขา เห็นไหม ลอยลม ทั้งๆ ที่มีอยู่จริงนะ

    ถ้าเราได้ตักน้ำบ่อไหนก็ได้ ดื่มกินนะ มันจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ถ้ามีความร่มเย็นเป็นสุข เราก็มั่นใจใช่ไหมว่าเรากินน้ำแล้วหิวกระหายเราจะระงับไป แต่ถ้าไม่ได้กินเลย ได้ยินแต่เขาว่ามีบ่อน้ำ แต่ตัวเองก็ไม่เคยเห็น ตัวเองก็ไม่เคยเป็นไป นี่ชีวิตเป็นสภาวะแบบนั้นแล้วลอยลม ธรรมะอย่างนี้ “ธรรมะลอยลม” แม้แต่ประพฤติปฏิบัติก็ลอยลม ลอยลมนะ ทำแต่สักแต่ว่า ทั้งๆ ที่เราว่าทำจริงๆ นี่แหละ เพราะอะไร

    เพราะอ่อนแอไง เพราะจิตใจของเราไม่เข้มแข็งพอ จิตใจของเราไม่มีจุดยืน ประพฤติปฏิบัติไปก็ทำสักแต่ว่าไป แล้วมันมีกิเลสโต้แย้งในใจตลอดไป กิเลสในใจเรานี่โต้แย้งกันไป ทำสมาธิสักแต่ว่าสมาธิ อยากได้สมาธิ สมาธิเป็นสมาธิเป็นแบบใด เห็นไหม สิ่งนี้มันเป็นความขัดแย้ง นี่นิวรณธรรม แม้แต่การประพฤติปฏิบัติ ศึกษาธรรมก็ลอยลม แบกคัมภีร์กันไปนะ รู้มาก ปัญญามาก แล้วพอศึกษาจากคัมภีร์มามันเป็นอะไรล่ะ? ก็สอนเป็นวิธีการ วิธีการพอไปทำเข้าเป็นอะไร มันก็เป็นประเพณี มันเป็นเรื่องเปลือกๆ ทั้งนั้นเลย แต่เราก็ว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม นี่จิตใจลอยลม ธรรมะลอยลม ธรรมะไม่เป็นสัจจะความจริง

    ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา สิ่งที่พระพุทธเจ้าท้อแท้พระทัยเพราะอะไรล่ะ เพราะมันมีเบ็ด เบ็ดนี่นะมันอวิชชา มันเกี่ยวอยู่ที่ใจ ในเบ็ดมันมีเหยื่อ ไม่มีเหยื่อเราจะไปกินเหรอ นี่เหมือนกัน เบ็ดตัวใหญ่คืออวิชชา แล้วมันก็มีลูกเบ็ดหลานเบ็ด เบ็ดออกไปเกี่ยวข้างนอก “รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร” นี่เหยื่อ เราก็ไปเกี่ยวเหยื่อ พอไปเกี่ยวเหยื่อเราก็คิดออกไป นี่มันไม่มีการปลดไม่มีการทำลายเหยื่อ แล้วมันไม่มีการทำลายเบ็ด

    เบ็ดแต่ละขั้นแต่ละตอนนะ เบ็ดตัวใหญ่ เบ็ดตัวเล็ก เหยื่อคำใหญ่ เหยื่อคำเล็ก มันก็ทำให้เราเป็นไป แล้วเราก็เอาสิ่งนี้ไปศึกษาธรรมะ ธรรมะลอยลมไง ธรรมะของเหยื่อ ธรรมะของกิเลส ไม่ใช่ธรรมะของธรรม ถ้าสภาวธรรมมันเกิดขึ้นมา เราจะมีจุดยืน คนจะมีจุดยืนนะ คนมีจุดยืนขึ้นมา คนมีสัจจะ

    ดูสิ เวลาถือธุดงควัตร พระทำไมต้องมีถือธุดงควัตร ธุดงควัตรนี่นะมันเป็นเครื่องขัดเกลานะ ดูสิ เวลาเราคันเราก็อยากจะเกา ที่ไหนคันอยากเกา แต่เวลากิเลสมันคัน เหยื่ออยู่ในหัวใจนี่มันไม่เกา ทำไม่เป็น ลำบาก ที่ไหนเขาทำกันสะดวกสบาย โลกเจริญแล้ว เดี๋ยวนี้ปฏิบัติธรรมไปมันจะไม่ได้ผล โลกเขาเจริญแล้ว เป็นวิทยาศาสตร์ต้องพิสูจน์ได้ สิ่งที่พิสูจน์ได้คอตกทั้งนั้นน่ะ นี่เหยื่อ

    ธรรมะลอยลมไง มันไม่เชื่อตัวเอง ไม่เชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เชื่อบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ไปเชื่อวิทยาศาสตร์ ไปเชื่อเรื่องโลกๆ แล้วโลกๆ เป็นอย่างไร ทุกอย่างต้องมีการบำรุงรักษา ต้องมีการแสวงหา หามาเพื่ออะไร? ก็หามาเพื่อเป็นเหยื่อ เหยื่อเพราะอะไร เพราะมันเป็นธุรกิจไง มันก็ออกไปทางโลกๆ ไปหมดเลย

    แต่ถ้าเป็นความจริงล่ะ ดูสิ ปัจจัยเครื่องอาศัย เวลาพระบวช บริขาร ๘ มีบาตร มีธมกรก แล้วก็มีผ้า เข็มเย็บ ต่างๆ ทำไม เพื่ออะไร เข็มเย็บผ้านะ เพราะอะไร เพราะต้องการให้ภิกษุยืนอยู่บนลำแข้งของตนเอง ถ้าภิกษุยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยใคร ภิกษุนั้นจะเป็นอิสรภาพ ถ้าภิกษุผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเอาตัวเองไม่รอด หวังแต่พึ่งคนอื่นทุกๆ อย่าง ต้องเป็นขี้ข้าเขาหมดเลย นี่โลกเป็นใหญ่แล้ว เพราะอะไร เพราะเขาชี้นำได้ พระต้องปฏิบัติอย่างนั้น พระต้องทำตัวอย่างนี้

    แล้วพระทำนี่ต้องให้โลกชี้นำเหรอ โลกชี้นำหรือธรรมชี้นำ

    ถ้าธรรมชี้นำ ธรรมอยู่ที่ไหน? ก็ธรรมอยู่ในตู้พระไตรปิฎก ถ้าพระไตรปิฎก ก็ไปศึกษามาก็ลอยลม เพราะอะไร เพราะมันเป็นสัญญา

    แล้วธรรมอยู่ไหน? ธรรมมันอยู่ในทางจงกรมไง อยู่ที่นั่งสมาธิภาวนา เพราะธรรมมันอยู่ที่ใจ ใจได้สัมผัส มันก็มีจุดยืนขึ้นมา “จุดยืน” จุดยืนคือใจมันสัมผัสเป็นปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก ใจมันสัมผัส ใจมันรู้ ถ้าใจมันรู้ขึ้นมา มันจะไปกลัวใคร มันไม่กลัวใครหรอก

    สิ่งที่เราแสวงหาธรรมนะ เราประพฤติปฏิบัติกัน สิ่งที่จากภายนอกมันเป็นเครื่องอาศัย อาศัยเพื่ออะไร ชีวิตนี้เพื่ออะไร ชีวิตนี้คือตายไป เกิดมานี่ตายไป บ่อนี่ บ่อคืออวิชชาพาให้เกิดให้ตายจากภพเล็กภพน้อย ภพชาติต่างๆ ในหัวใจ ความคิดนี่ แล้วมันเกิดตายจริงๆ แล้วก็เกิดตายไป แล้วชีวิตนี้มันมีคุณค่าขนาดไหน แล้วสมบัติของโลกมันเป็นอย่างไร แล้วสมบัติของธรรมล่ะ

    “สมบัติของธรรม” ถ้าเรามีสัจจะ เราจะแสวงหาขึ้นมา มันก็ต้องมีเครื่องมือไง เครื่องมือเพื่ออะไร? เพื่อระงับเหยื่อไม่ให้เบ็ดเล็กเบ็ดน้อยมันไปเกี่ยวมา

    “บ่วงของมาร รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร”

    รูป รส กลิ่น เสียง พระในประเพณีวัฒนธรรม อย่างเช่นสังฆกรรม สังฆกรรม อุโบสถสังฆกรรม ให้เป็นบอกนิมิต นิมิตเครื่องหมายบอกว่าสิ่งนี้ให้สมมุติกันว่าเป็นที่ทำอุโบสถสังฆกรรมกัน พอมันเป็นประเพณีวัฒนธรรมนะ จะได้บุญมาก จะต้องสร้างโบสถ์ จะต้องปลูกฝังลูกนิมิต ต้องอะไร...นี่ธรรมะลอยลม มันเป็นอามิส มันเป็นสิ่งที่เราสร้างบุญกุศลขึ้นมาเพื่อเป็นปัจจัยเครื่องอาศัยเหมือนกับที่เราเสียสละกันอยู่นี่ ถ้าเราเสียสละ ถ้าเราทำสภาวะเป็นนิมิต แล้วลูกนิมิต แล้วนิมิตหมายของจิตล่ะ แล้วนิมิตหมายของใจอยู่ที่ไหน แล้วนิมิตหมายของความคิดล่ะ

    นิมิตหมายของความคิดก็อยู่จากภายในของเรามา ถ้าเราจะทำอุโบสถ อุโบสถของใคร? อุโบสถของผู้มีปัญญา อุโบสถก็ย้อนกลับมาถึงใจของเรา ศีล สมาธิ ปัญญา ตรวจสอบกัน ทำสังฆกรรมกัน สังฆะจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ผู้ที่มีทิฏฐิเสมอกัน มีศีลเสมอกัน อยู่ที่ไหนจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ความร่มเย็นเป็นสุขเพราะอะไร เพราะเหมือนร่างกายเรา ถ้ามีเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีสิ่งใดที่เป็นวิธีการ เราอยู่ปกติของเรา ถ้าร่างกายเรามีสิ่งใดที่มันเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา มันจะทำให้เราพิการ

    นี่ก็เหมือนกัน หมู่คณะมันก็เหมือนกับร่างกายของเรา แขนขาต่างๆ มันปกติ ปกติของเขาอยู่โดยสุขสบาย สังฆะก็เหมือนกัน สงฆ์ก็เหมือนกัน อุโบสถสังฆกรรมก็เหมือนกัน ถ้าสิ่งใดเสมอกัน สิ่งใดมีความเห็นเสมอกัน ต่างๆ เสมอกัน ครูบาอาจารย์ที่ดี ชี้นำที่ดี นี่มันก็ย้อนกลับมาที่เรา ถ้าไปศึกษาจากลอยลมนะ มันจะเอาสิ่งนี้มาเป็นประเพณี สิ่งนี้ปฏิบัติก็ปฏิบัติประเพณี นั่งสมาธิ ว่าการปฏิบัติต้องนั่งสมาธิ ก่อนจะนอนต้องนั่งหน่อยหนึ่ง พอนั่งเสร็จแล้วว่าก็ได้นั่งแล้ว เราเป็นคนดีแล้ว

    คนดีของกิเลส เพราะมันยึดมั่นถือมั่นว่าฉันเป็นชาวพุทธ ฉันได้ประพฤติปฏิบัติแล้ว พวกชาวพุทธต่างๆ นั้นเขาไม่ใช่นักรบแบบเรา นักรบรบกับกิเลสนะ นักรบมันต้องทำลายเหยื่อ เหยื่อ “บ่วงของมาร พวงดอกไม้แห่งมาร” ความเป็นจริงอันหนึ่งนะ ความคิดวิตกกังวล ความเห็นของเราเป็นอันหนึ่งนะ อันหนึ่งเพราะอะไร เพราะกิเลสพาคิดพาทำ

    “ธรรมะลอยลม” มันไม่เป็นความจริง มันเป็นความลอยลมเพราะมันกิเลสพาคิด กิเลส เหยื่อเล็กๆ เบ็ดเล็กๆ เกี่ยวไปเราก็ตายแล้ว แล้วเราจะทำอย่างไรเข้าไปถึงสัจจะความจริงของเรา ถ้าจะทำถึงสัจจะความจริงของเรา มันต้องมีอำนาจวาสนาไง อำนาจวาสนาทำให้เรามีจุดยืน ให้เราเป็นคนมั่นคง มั่นคงในความคิดของเรา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ศรัทธานะ ให้เรามีศรัทธา เรามีความเชื่อในศาสนา ถ้ามีศรัทธาความเชื่อเหมือนหัวรถจักร หัวรถจักรมันได้ฟังธรรมไง เข้าไปวัดไปวา คบมิตรที่ดี มิตรที่ดีคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพาพ้นจากกิเลส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ชีวิตนี้มีคุณค่า ชีวิตนี้เกิดขึ้นมาแล้ว โลกนี้เป็นอย่างนี้ แล้วเราก็เป็นไปประสาโลก แล้วเวลาศึกษาธรรมแล้วก็จะเอาโลกเป็นใหญ่ เอาโลกเป็นใหญ่มันก็เป็นธรรมะลอยลม ไม่ใช่เป็นธรรมะจริงจัง ธรรมะจริงจังนะย้อนกลับ ย้อนกลับ

    เวลาเราแสวงหาสมบัติกัน แบงก์ปลอมไม่มีใครอยากได้นะ เวลาทำธุรกิจการค้ากัน เราต้องการสิ่งที่เขาตอบสนองเราด้วยของจริงทั้งหมด อย่างแบงก์ก็ขอเป็นแบงก์จริง เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ใจเราเป็นจริงหรือใจเราปลอมล่ะ ถ้าใจเราปลอม ธรรมะก็ปลอม ลอยลมไปทั้งหมดเลย ถ้าใจเราจริงล่ะ ใจเราจริงมันต้องพิสูจน์ไง มันพิสูจน์กับใจของเรา สงบจริงไหม ถ้าจิตมันไม่สงบ มันมีความคิดอย่างไร

    ความคิดต่างๆ จากที่เราทำประพฤติปฏิบัติ ดูสิว่าศึกษาเป็นประเพณีวัฒนธรรม นั่นก็เป็นธรรมะ เวลาอ้างธรรมะ ใช่อ้างธรรมะ แต่ธรรมะของใคร ธรรมอันนั้นเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม เวลาเราเห็นร้านอาหาร เขากินกันครึกครื้นมาก เขากินกัน เขาทานอาหารกัน เขามีความสุขของเขา เราไปยืนดูของเขาเราได้กินอะไร แล้วเราก็บอกว่าเราก็อยู่ในวงนั้นเหมือนกัน เราอยู่ในวงการเหมือนกัน เราเห็นเหมือนกัน แต่เราไม่ได้กินกับเขา เราเห็นนะ

    นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราศึกษาธรรมขึ้นมา มันให้เราไม่เป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงนะ มันต้องชำระได้ เป็นความจริงนะ มันทำให้เรามีจุดยืน เป็นความจริงนะ จะให้ชีวิตเราไม่เป็นไปตามโลก ลมพัดแรงขนาดไหน ดูเวลาพายุนะ มันพัดเอาบ้านเรือนพังพินาศไปหมดเลยถ้าพายุมันแรง กระแสของโลกไง กระแสของบริโภคนิยม เขาบริโภค เขาจัดการกัน นี่เรื่องของโลกนะ แล้วเราใช้ชีวิต น้อยเนื้อต่ำใจนะ เราเป็นประเทศด้อยพัฒนา

    เดี๋ยวนี้โลกตีกลับหมดแล้วล่ะ เขาวัดกันด้วยความสุข เขาไม่ได้วัดกันด้วยวัตถุแล้ว เพราะวัตถุต่อไปมันจะเป็นขยะ ขยะของพวกเครื่องยนต์กลไกมันจะเป็นปัญหาของโลกมากเลย แล้วโลกเป็นสภาวะแบบนั้นนะ แล้วโลกก็จะเสื่อมสภาพไป

    อ่านฟังต่อที่นี่ http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=468

    http://www.sa-ngob.com/media.php?id=468&con=1
     
  15. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    [​IMG]

    สมาธิชอบ
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต


    ถาม-ตอบปัญหาธรรม วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๓
    ณ วัดสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี




    คำถามทางเว็บไซต์นี่เป็นคำถามพื้นฐาน แต่เป็นคำถามพื้นฐานที่ว่าคนปฏิบัติจะเจอทั้งนั้นเลย แล้วมันก็เป็นปัญหาหญ้าปากคอก มันต้องเคลียร์ ถ้าไม่เคลียร์มันก็เป็นหญ้าปากคอก เข้าไปข้างในไม่ได้

    ถาม : ปัจจุบันผมปฏิบัติสมาธิ มันปัญหาที่ ๙๖ เนาะ ปัจจุบันผมปฏิบัติสมาธิด้วยวิธีการกำหนดจิตไว้ที่ปลายจมูก ระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก พร้อมภาวนา หายใจเข้าพุท หายใจออกนึกโธ ทำได้สักพักก็จะมีอาการลมหายใจละเอียดเบา จนกระทั่งลมหายใจและคำภาวนาหายไป

    หลวงพ่อ : เดี๋ยวจะอธิบายตรงนี้ คำภาวนาหายไป

    ถาม : แล้วจะนิ่งสงบอยู่อย่างนั้นสักครู่หนึ่ง แล้วลมหายใจและคำภาวนาก็เริ่มกลับมาเบาๆ เป็นปกติ แล้วก็กลับมาเป็นลมละเอียดเบาจนไม่หายใจอีก เป็นอยู่อย่างนี้กลับไปกลับมาทุกครั้งที่นั่งสมาธิ หรือบางครั้งไม่ได้นั่งสมาธิก็เป็น เพราะผมก็มักจะกำหนดลมหายใจอยู่เสมอในทุกอิริยาบถในชีวิตประจำวัน

    (เมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว ผมเคยนั่งสมาธิกำหนดลม กำหนดอานาปานสติ โดยไม่ได้ภาวนาพุทโธ จนมีอาการร่างกายหายไป เหลือแต่ความมืดรอบๆ ตัว และมีแสงสว่างนวลลอยอยู่ตรงหน้า และมีความรู้สึกว่ามีความสุขสบายมากที่สุดในชีวิต แต่ผมตกใจที่ร่างกายหายไป จึงถอนสมาธิออกมา ตั้งแต่นั้นมาไม่เคยนั่งได้อีกเลย ปัจจุบันผมลองภาวนา พุทโธ อย่างเดียว อย่างที่หลวงพ่อสอน โดยไม่กำหนดลมหายใจ แต่มักไม่ค่อยได้ผล หรือผมลองกำหนดลมหายใจอย่างเดียวโดยไม่ภาวนาควบคู่ไปด้วย ก็ไม่ค่อยได้ผลเหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะว่าผมได้ปฏิบัติด้วยวิธีระลึกรู้ลมหายใจเข้าออก พร้อมภาวนาพุทโธมานานกว่า ๒๐ ปีจนติดเป็นนิสัยก็ได้ ขอคำแนะนำจากหลวงพ่อครับ ว่าควรจะปฏิบัติต่อไปอย่างไร เพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติ)

    หลวงพ่อ : การปฏิบัติ เราจะบอกว่าทำความสงบของใจนี่มันสำคัญมาก ความสงบของใจมันอยู่ที่จินตนาการ ความคิดของเราๆ จินตนาการไป โดยที่เริ่มต้นบอกว่ากำหนดพุทโธๆๆ พุทโธพร้อมกับลมหายใจเข้าออก ภาวนาจนลมหายใจหายไป แล้วสงบนิ่งกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ผู้ที่ปฏิบัติมาจะเป็นอย่างนี้ทั้งนั้นเลย

    เริ่มต้นภาวนามันก็อึดอัดบ้าง พอภาวนาไป ดีก็ดีอยู่พักหนึ่ง แล้วก็กลับไปกลับมา คือว่ามันไม่ก้าวหน้าว่าอย่างนั้นเถอะ มันก็สงบอยู่บ้างชั่วครั้งชั่วคราว แล้วก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ แล้วก็สงบเป็นบางครั้งบางคราวอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นพอกำหนดอยู่อย่างนี้ไปนะ สิ่งนี้เป็นการปฏิบัติเบื้องต้น

    พอปฏิบัติเบื้องต้น ตอนนี้มันก็อยู่ที่เราจะเปรียบเทียบเหมือนการปลูกต้นไม้ พอเราปลูกต้นไม้ไป ต้นไม้มันเจริญเติบโตขนาดไหน ต้นไม้เป็นวัตถุที่เราจับต้องได้ แต่จิตของเรา เราพัฒนาของมัน

    เราจะบอกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา มันต้องมีสมาธิก่อน ถ้าไม่มีสมาธิมันเกิดปัญญาอย่างที่เราต้องการปรารถนากันไม่ได้ ปัญญาอย่างที่เกิดอยู่ในปัจจุบันนี้ มันเป็นปัญญา เป็นตรรกะ เป็นความเห็น เป็นสัญชาตญาณ ปัญญาอย่างนี้มันจะมีแต่ความสลดสังเวช แต่มันไม่ถอดถอนกิเลสหรอก ฉะนั้นถ้าต้องการความสงบนะ ความสงบมันมีหลากหลาย

    ยกตัวอย่างว่าเมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่แล้ว ผมเคยนั่งภาวนาทำสมาธิ แล้วกำหนดอานาปานสติโดยที่ไม่ได้ภาวนาพุทโธ จนมีอาการร่างกายนี้หายไป คำว่าร่างกายหายไป เหลือแต่ความมืดรอบตัว นี่มันไม่หายจริงไง ถ้ามันหายจริงความมืดมันไม่มี ถ้ามันพูดถึงมันเข้าอัปปนาสมาธิ แล้วเวลามันลงไปแล้วมันสักแต่ว่ารู้ มันหายหมด แต่เรารู้อยู่นะ

    แต่อันนี้มันยืนยันว่าพอร่างกายหาย ความมืดรอบตัวไง แสดงว่ามันไม่หาย ความมืดรอบตัวใครเป็นคนรู้ความมืด จิตต้องรับรู้ความมืดรอบตัวใช่ไหม นี่มันไม่ได้หายจริง แต่เราเข้าใจว่าหาย อันนี้อันหนึ่ง

    เราจะบอกว่ามันไม่เป็นอัปปนา ที่ว่าจิตลงนั้นจริง แต่เขาบอกว่าเพราะมีความรู้สึก พอมีแสงสว่างลอยนวลอยู่ตรงหน้า มีความสุขมาก มีความสุขที่สุดในชีวิต แต่ก็ตกใจว่าร่างกายหายไป

    เราจะบอกว่าเวลาจิตที่มันเป็นสมาธิ สมาธิมันมีหลากหลาย คำว่าสมาธิมีหลากหลายมันเป็นอาการนะ แต่สมาธิทีเดียวก็มีหนึ่งเดียวเท่านั้น ไม่มีหลากหลายหรอก อย่างที่เราเข้าไปถึงใจของเรา ใจของคนมีความรู้สึก ทุกคนมีความรู้สึกมีใจอยู่ ถ้าเข้าไปถึงใจก็คือตัวใจ แต่อาการที่จะเข้าไปสู่ใจอันนี้มีหลากหลายมาก เพราะว่ามันเป็นจริตเป็นนิสัย มันเป็นอำนาจวาสนาของคนที่สร้างมา

    แล้วคนที่สร้างมา ถ้าเข้าถึงความสงบแล้วมันสงบตามความเป็นจริง ฉะนั้น ไอ้กรณีอย่างนี้ มันเหมือนกับมันไม่เป็นสัมมาสมาธิ ไม่เป็นสมาธิชอบ แล้วเป็นสมาธิไหม ถ้าไม่เป็นสมาธิจะมีความสุขได้อย่างไร เป็นสมาธิ แต่สมาธินี่เริ่มต้น เห็นไหม

    ย้อนกลับมาปลูกต้นไม้นั่นแหละ ถ้าปลูกต้นไม้นะ ถ้าต้นไม้มันโตขึ้นมา เรารักษาดีขึ้นมา ต้นไม้มันจะเติบโตไป แต่ถ้าต้นมันขาดน้ำ มันตาย พอตายต้องปลูกใหม่ ทีนี้พอปลูกใหม่ เราต้องปลูกต้นไม้ต้นใหม่ใช่ไหม แต่เวลาทำสมาธิมันจิตอันเดิม เวลาเราพุทโธๆ หรือเราทำสัมมาสมาธิ เรากำหนดลมหายใจ มันก็คือใจเรานี่แหละ

    ถ้ามันสงบ คือใจเราสงบ พอไม่สงบมันก็ฟุ้งซ่านออกมา คือมันไม่ตายไง ต้นไม้เวลาตายต้องปลูกต้นไม้ต้นใหม่ เพราะต้นไม้มันตายไปแล้ว แต่จิตของคนมันไม่เคยตาย แต่มันเจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม เวลามันเจริญขึ้นมา เวลามันเริ่มพัฒนา เวลามันดีขึ้นมา โอ้โฮ มีความสุขไปหมดเลย

    ฉะนั้น เวลากำหนดลมหายใจ เมื่อก่อนกำหนดลมหายใจเข้าออก พุท กับ โธ กำหนดพร้อมพุทโธ แล้วมันไม่ได้อย่างที่เราเป็น ถ้ามันไม่ได้อย่างที่เราเป็นนะ เมื่อก่อนกำหนดลมอย่างเดียว หรือพุทโธอย่างเดียว มันกำหนดลมหายใจพร้อมกับพุทโธมา ๒๐ ปี กำหนดลมหายใจพุทโธเข้ามา ถูกต้อง ถูกต้องในการเริ่มต้นสอนผู้ที่ปฏิบัติใหม่

    ลมหายใจเข้านึกพุธ ลมหายใจออกนึกโธ เพราะอะไร เพราะมันจับต้อง มันเป็นรูปธรรม แต่ถ้ามันทำไป ถ้ามันไม่ถนัดเลยมันก็จะหายไป คำว่าหายไป พอคำภาวนาหายไป คำว่าหายไปนี่นะมันลงภวังค์แล้วล่ะ เพียงแต่ว่ามันยังไม่ลงภวังค์ลึก ถ้าหายไปมันเหมือนกับเราจับสิ่งของอยู่ เราถือสิ่งของอยู่ เวลาจิตเรากำหนดสิ่งใด จิตเราจะจับสิ่งใดอยู่ แล้วเราวางสิ่งนั้น เหลือมือเปล่าไหม

    จิตกำหนดพุทโธ หรือกำหนดลมหายใจ ถ้าเรากำหนดชัดเจน เหมือนกับจิตมันมีคำบริกรรม มันมีที่เกาะอยู่ เวลามันแสดงตัวขึ้นมามันจะเป็นความจริง แต่ถ้ามันทิ้งสิ่งใดไปมันจะเร่ร่อน มันจะไม่มีอะไรจับต้องได้แล้ว พอไม่มีอะไรจับต้องไปมันก็แสดงอาการว่าหายไป เพราะมันไม่มีอะไรจับต้องใช่ไหม มันหายไปเลย หายไปอย่างนี้มันไม่มีสติ ไม่มีปัญญา มันก็เลยไม่เป็นความจริง

    พอปัจจุบันขอคำแนะนำจากหลวงพ่อ เราจะแนะนำว่า ถ้าเรากำหนดนะ ต้องพุทโธๆๆๆ พอพุทโธมันจะไม่ได้ดั่งใจสักอย่าง แต่ถ้ามันปล่อยตามจริตนิสัย ปล่อยตามแต่กิเลส มันพุทโธสักแต่ว่า เหมือนพวกเราทำงานกัน สักแต่ว่าทำ แล้วทำทิ้งทำขว้าง ทำโดยที่มันไม่มีความตั้งใจ บางทีมันก็เสร็จ บางทีมันก็ไม่เสร็จ

    แต่ถ้าเราตั้งใจทำงาน งานต้องเสร็จ พุทโธๆๆๆ หรือกำหนดลมอย่างเดียวเลย งานต้องเสร็จ พองานต้องเสร็จ ผลงานมันจะเห็นซึ่งๆ หน้า จับต้องได้ซึ่งๆ หน้าเลย แต่มันอึดอัดขัดข้องไปหมดเลย เพราะอะไร เพราะมันบังคับไง แต่ถ้าปล่อยไปตามสบายล่ะ คำว่าปล่อยตามสบาย กรณีนี้มันขัดแย้งกันมาตลอด

    กรณีขัดแย้งที่บอกว่าเวลาปฏิบัติ เขาบอกว่าคนที่ปฏิบัติธรรมต้องมีความสุข ต้องมีความสบาย ถ้ามันเป็นทุกข์คือปฏิบัติผิดหมด ฉะนั้น เวลาพุทโธๆ มันทุกข์ไหม ทุกข์สิ ทุกข์เพราะอะไร เพราะบังคับมัน แต่บังคับมันไปแล้วมันจะดีงามไปข้างหน้า

    แต่พวกเราจะบอกว่าพอปฏิบัติต้องสุข ต้องมีความสบาย ต้องมีความสุขหมด พอสุขหมดเริ่มต้นอะไรมันขัดข้อง ขัดข้องมันคืออะไร ขัดข้องคือกิเลสมันโดนบังคับ ถ้ากิเลสมันโดนบังคับ ทุกคนปล่อยนั่งตามสบายทุกคนพอใจหมด แต่ทุกคนพอจัดเข้าระเบียบนะ ไม่ยอม อึดอัดไปหมดเลย

    ทีนี้พอเรากำหนดพุทโธๆ จิตมันโดนจัดเข้าระเบียบ จิตมันโดนบังคับด้วยสติ พอโดนบังคับด้วยสติมันจะขัดแย้ง มันจะดีด มันจะหาทางแถออก พอแถออกมันเป็นอะไร มันเป็นทุกข์ ถ้าทุกข์อย่างนี้ เวลาเราปฏิบัติก็จะบอกว่าต้องมีความสุข ทุกข์ไม่ได้ แต่เวลาถ้ามันทุกข์ไปก่อนนะ เวลาทุกข์หมายถึงว่าบังคับมันไปก่อน พอบังคับมันไปก่อน ถ้ามันเป็นความจริง ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริง มีการกำหนดลมหายใจละเอียดเบา จนลมหายใจหายไป และคำภาวนาก็หายไป

    แต่ถ้าเป็นสมาธินะ พุทโธๆๆๆๆ ไม่มีอะไรหายเลย จิตมันละเอียดเข้าไป พุทโธๆๆๆๆๆๆ จนมันพุทโธไม่ได้ มันก็ไม่ได้หาย แต่คำว่าพุทโธหายไปเราสมมุติกัน แต่นี่พวกเราไปฟังใช่ไหม ถ้าพุทโธนี่มันหยาบ ถ้าไม่นึกอะไรนี่ละเอียด ไม่นึกอะไรอยู่เฉยๆ นี่ละเอียด ถ้านึกพุทโธมันจะหยาบ ก็นึกพุทโธนี่แหละ นึกพุทโธๆๆ ไป แต่จิตมันจะละเอียดของมันไปเอง ไม่มีอะไรหาย

    แต่คำว่าคำบริกรรมหายไป ทุกอย่างหายไปๆ แต่จิตมันเด่นชัด เพราะอะไร เพราะที่บอกว่าเราทำงานด้วยความตั้งใจ ทุกอย่างเวลาทำงานด้วยความตั้งใจมันมีการกระทำของมันตลอด ถ้างานมันสำเร็จขึ้นมา มันจะสำเร็จขึ้นมาชัดเจนต่อหน้า ชัดเจนต่อหน้า ชัดเจนต่อหน้า

    ฉะนั้น มันเป็นนามธรรม จิตเป็นนามธรรม พอจิตเป็นนามธรรม ถ้าจิตมันนึกพุทโธ มันเป็นอารมณ์สอง ความรู้สึก ตัวจิตกับคำบริกรรม พุทโธๆ มันเป็นสอง มันก็เด่นชัด พุทโธๆๆ จนพุทโธกับจิตเป็นอันเดียวกัน พุทโธจิตมันอยู่ จิตมันอยู่มันเด่นชัด แต่คำว่าพุทโธ เราไม่นึกพุทโธแล้ว เพราะนึกพุทโธมันหยาบ

    มันหยาบหมายถึงว่ามันเป็นความคิดกับจิต มันรับรู้ด้วยกันตลอดเวลา พุทโธนี่ มันจะพุทโธๆๆๆๆ พุทโธจนพุทโธไม่ได้ แล้วมันมีอะไรหายไป จิตเด่นชัดมาก ไม่มีอะไรหายไปเลย ฉะนั้นถ้าเป็นสมาธิจะไม่พูดอย่างนี้ นี่เราจะบอกว่าถ้าเป็นสมาธิชอบ แต่นี่เป็นสมาธิไหม เป็น เขาเป็นสมาธิไหม บอกพุทโธๆ จนหายไปเป็นสมาธิไหม เป็น แต่เป็นสมาธิหยาบๆ ไง

    ต่อที่นี่ http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=2218
     
  16. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ธรรมบนกิเลส
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๒
    ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


    ถาม: พระอาจารย์ครับ ถ้าอย่างนั้น จากสมาธิแล้วจะไปเป็นปัญญา ทำอย่างไร

    หลวงพ่อ: ปัญญานี่เห็นไหม มันต้องฝึก ปัญญาจะเกิดเองไม่ได้ เราเห็นเงินในท้องตลาดเยอะแยะเลย เราจะไปหยิบฉวยเอามา มันไม่ได้หรอก เราต้องทำงานจึงจะได้เงินตอบแทนมา ถ้าเราตั้งสมาธิขึ้นมา สมาธิคือตัวตน เราบอกว่าถ้าใครทำสมาธิไม่ได้ ก็เหมือนกับการทำธุรกิจนี่ถ้าเราไม่เปิดบัญชีของเรา บริษัทของเราจะอยู่ได้ไหม ฝ่ายผลิตฝ่ายอะไรต่างๆแล้วไม่มีฝ่ายบัญชีนี่จะอยู่ได้ไหม อยู่ไม่ได้หรอก ฉะนั้นการตั้งบริษัทก็ต้องมีฝ่ายบัญชี นี้บัญชีนี่คือรายรับรายจ่ายมันอยู่ที่นี่ ฉะนั้นถ้าจิตเข้ามาถึงตรงนี้มันจะมีรายรับรายจ่าย รายรับคือสิ่งที่เป็นประโยชน์มา รายจ่ายคือสิ่งที่เราผิดพลาดออกไป

    ฉะนั้นพอจิตเป็นสมาธิแล้ว… ถ้าจิตยังไม่เป็นสมาธิ บางทีเราเริ่มฝึกสมาธิ เราเริ่มมีสมาธิบ้างแต่มันยังไม่เข้มแข็งแบบที่ว่าเป็นโลกุตตรปัญญา ปัญญาที่มันเป็นการฆ่ากิเลสยังไม่เกิดขึ้น เราก็เริ่มหัดใช้ปัญญาแล้ว หัดใช้ปัญญาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรมนี่แหละ หัดใช้คิดตรึกในธรรมมันก็เป็นการฝึกปัญญา พอฝึกปัญญานี่มันก็เหมือนเราฝึกงาน เราทดลองงาน เงินจะได้ไม่ได้มันอีกเรื่องหนึ่ง

    นี่พอจิตเราเริ่มสงบแล้วเราใช้ปัญญาออกใคร่ครวญอย่างนี้ ออกใคร่ครวญในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือตรึกในธรรมของพระพุทธเจ้า ธรรมะ ธรรมารมณ์ อารมณ์ความรู้สึกที่กระทบกับธรรมะ มันมีความรู้สึกก็พิจารณาไป พอพิจารณาไปมันจะเริ่มปล่อยวางเข้ามา ผลของมันก็คือสมาธินี่แหละ แต่สมาธิที่เรามัวแต่ทำสมาธิอย่างเดียวนี่มันจะจนตรอก คือมันอั้นตู้ไง มันหัวชนฝา มันอัดอั้นตันใจเพราะมันหมักหมม เราก็ออกใช้ปัญญา แต่ปัญญาอย่างนี้ มันเป็นการฝึกเห็นไหม

    หลวงตาจะบอกว่า ปัญญาเกิดจากการฝึก ถ้าปัญญามันเกิดได้เอง ฤาษีชีไพรก็เป็นพระอรหันต์กันหมดแล้ว ฤาษีชีไพรเขาทำสมาธิเก่งมากนะ เขาเหาะเหินเดินฟ้าได้ด้วย ทำไมปัญญาไม่เกิดละ แล้วเวลาพวกเราใช้ปัญญากันนะมันก็เป็นปัญญาโลก ๆ ปัญญาจากฐานความคิด ปัญญาจากกิเลสไง ธรรมะตั้งอยู่บนกองกิเลสไง

    ถ้ามันเป็นปัญญาจริง ฝึกอย่างนี้นี่เห็นไหมปัญญาเกิดจากการฝึกฝน ไม่ฝึกปัญญาเกิดไม่ได้ พอเราฝึกขึ้นไปปั๊บแล้วผลตอบกลับมา เอ้อ.. บัญชีเปิดรับ บัญชีเริ่มมีแล้ว จากตัวแดงนะ มันก็เริ่มลบ พอเราพิจารณาไปบ่อยครั้งเข้า มันจะเป็นตัวเลขของเราเกิดขึ้นมาแล้วนี่ พอมันย้อนกลับไป พอปัญญามันเกิดนะ มันสะเทือนหัวใจ

    เราจะบอกประจำว่าพวกหมอนะ เขาผ่าตัดคนไข้อยู่ทุกวันเลยนะแต่เขาไม่เคยเห็นกาย ในพุทธศาสนานะเขาไม่เคยเห็นกายเลย เพราะเขาเห็นร่างกายมนุษย์ด้วยตาเนื้อ แต่การพิจารณาด้วยสติปัฏฐานมันจะเห็นกายด้วยตาของจิต จิตนะมันเห็นเหมือนเราเห็นเรารู้ พอจิตมันเห็นนะมันผงะเลย มันผงะเพราะอะไร มันผงะเพราะจิตนี่มันหลงผิด พอมันเห็นข้อเท็จจริงนะมันจะสะเทือนหัวใจมาก

    การสะเทือนหัวใจมากมันจะเกิดอุคคหนิมิตขึ้นมา แล้วถ้าจิตมันมีกำลังของมัน มีฐานของมันถ้ามันจับได้มันจะขยาย คำว่าขยายคือวิภาคะ นี่ที่เขาบอกว่าไตรลักษณ์ ๆสรรพสิ่งเป็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่ เพราะว่า.. พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์นะ “รูป เที่ยงหรือไม่เที่ยง” ท่านไม่บอกว่า รูป เป็นไตรลักษณ์นะ

    “รูป เที่ยงหรือไม่เที่ยง”

    “ไม่เที่ยง พระเจ้าค่า” อยู่ในอนัตตนั่นละ (อนัตตลักขณสูตร)

    “มันไม่เที่ยง แล้วเป็นสุขหรือทุกข์ล่ะ”

    “เป็นทุกข์ พระเจ้าค่า”

    “ในเมื่อเป็นทุกข์ จะยึดมั่นถือมั่นไว้ได้ไหม” เนี่ยอนัตตา

    “ไม่ได้ พระเจ้าค่า”

    ไหนว่ามันเป็นไตรลักษณ์ล่ะ อะไร ๆ ก็เป็นไตรลักษณ์ มันเป็นหรือยัง เราไปด่วนสรุปกันไง ขบวนการของมันยังไม่ถึงแล้วเราไปด่วนสรุปกัน ผลของมันยังไม่เกิดเลยไง

    ถ้ากระบวนการของเรานะ เราพิจารณาไป พอจิตเราสงบนะเราใช้ปัญญาเนี่ย พอจิตเห็นกายเนี่ย เราเห็นกายนี่ เที่ยงหรือไม่เที่ยง วิภาคะเห็นไหมสรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง การเห็นก็เป็นอนิจจัง วิภาคะคือมันขยายให้เล็กให้ใหญ่ ขยายให้มันแปรสภาพให้มันเน่ามันเปื่อย มันเป็นไตรลักษณ์ในตัวของมันเอง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ แล้วใครเป็นคนทุกข์ล่ะ

    คำว่าจิตเห็นจิต จิตมันรับรู้ จิตมันได้กระทบนี่ ธรรมะของพระพุทธเจ้านะ เราจับงูมาแล้วนึกว่าปลา จับงูเห่าอยู่แล้วนึกว่าปลาไหล พอเราลืมตาแล้วเห็นว่าเป็นงูนะ สะบัดพลั้วะเลย จิตนะถ้ามันเห็นตามความเป็นจริงของมันนะ มันสลัดออกนะ โสดาบัน สกิทาคา ต้องเป็นอย่างนั้น มันสลัดออกนะ สังโยชน์ขาดนะดั่งแขนขาด คนเรานะเป็นเองรู้เองแล้วไม่รู้จักตัวเองน่ะมันเป็นไปได้อย่างไร พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้าเลยจนมีพระไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านิมนต์พระสารีบุตรมาเลย

    “สารีบุตร เธอไม่เชื่อเราหรือ”

    “ไม่เชื่อ ไม่เชื่อ” เพราะความเชื่อฆ่ากิเลสไม่ได้ มันต้องเป็นสัจจะความจริงที่มันเกิดขึ้นมาเองน่ะ พระพุทธเจ้านะ สาธุ นี่ไงมันเป็นจริง มันสลัดของมัน มันเป็นสันทิฏฐิโกของมัน มันจะรู้จริงเห็นจริงจากใจดวงนั้น “นี่ธรรมะบนธรรมะ ไม่ใช่ธรรมะบนกองกิเลส” ธรรมบนธรรม สัจธรรมมันเกิด ใจเป็นธรรมทั้งแท่งมันเกิดจากการกระทำของมัน ไม่ใช่เกิดจากยี่ห้อที่ใครจะมามอบให้ ใครมอบให้ไม่ได้ มันจะเป็นจริงของมัน ธรรมะจะเกิดจากสัจธรรม เอโกธัมโม ธรรมเป็นเอก หนึ่งเดียวแต่ในปัจจุบันนี้มีสอง ดีกับชั่ว สงสัยกับไม่สงสัย

    แต่ตอนนี้ไม่มีหนึ่งหรอก เป็นสมาธิจิตหนึ่งก็ยังมีกิเลส อนุสัยมันนอนเนื่องอยู่แล้วมันค่อยๆแก้เข้าไป ฉะนั้นที่ว่าพระอรหันต์ไม่มีจิต จิตคือภพ หนึ่งคือภวาสวะ หนึ่งคือที่ตั้ง ธรรมตั้งอยู่บนกองกิเลส ธรรมะไม่ตั้งอยู่บนกองกิเลส ธรรมะตั้งอยู่บนเอโกธัมโม ธรรมะตั้งอยู่บนธรรม

    ฉะนั้นพอเป็นสมาธิแล้ว ส่วนใหญ่คนจะวิตกกังวล อันนี้เป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องปกตินะหมายถึงว่า เราไม่ชำนาญการเราก็จะมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา

    ฉะนั้นที่ว่า เราจะใช้ปัญญาอย่างไร ในกรรมฐานนะครูบาอาจารย์จะบอกว่า เรารู้ว่านายแดงเป็นคนลักขโมยไป แล้วถ้าเราไม่ได้ตัวนายแดงมา เราจะรู้ได้อย่างไรว่านายแดงขโมยจริงหรือไม่จริง นี่ก็เหมือนกัน เรารู้ว่าป็นกิเลส อะไรก็เป็นกิเลส แล้วกิเลสมันอยู่ที่ไหน แล้วมึงจะเอากิเลสมาไต่สวนได้อย่างไร

    ครูบาอาจารย์ท่านจะบอกเลยว่า การรื้อค้นหากิเลสเป็นงานอันหนึ่ง ได้ตัวจำเลยขึ้นมาแล้วเราถึงพิพากษาคือวิปัสสนานั่นคืออันหนึ่ง ถ้าเราไม่ได้ตัวจำเลยนี่เราพิพากษาหลังจำเลย ไม่มีผู้รับผิด ถ้าเราพิจารณาแล้วจิตไม่สงบ ไม่เห็นกายเวทนา จิต ธรรมโดยข้อเท็จจริง ไม่มีจำเลย ไม่มี

    แต่ถ้าจิตสงบแล้วเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เห็นกายแล้วผงะเพราะว่าอะไร เพราะว่าจำเลยอันนี้ มันไม่ใช่จำเลยเฉพาะชาตินี้ เพราะจิตนี้เกิดตาย ๆ ไม่มีต้นไม่มีปลาย จำเลยอันนี้ กิเลสอันนี้กับใจอันนี้มันได้ผูกมัดกันมายาวนานมาก... แล้วพอมาศึกษาธรรมมาเจอตรงนี้ไง มันถึงแก้ไข ถ้าไม่ยาวนานมาก พระพุทธเจ้าย้อนอดีตชาติไปตั้งแต่เป็นพระเวสสันดร พระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าได้เพราะอะไร เพราะได้สร้างบารมีเป็นพุทธภูมิมา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ยาวนานมาก....

    ฉะนั้นสิ่งที่ผูกมัดกันมานี่ ยาวนานมาก... แล้วเราจะมาแก้ไขในปัจจุบันธรรมนี่ ขนาดสิ่งที่ยาวนานมาก มรรคญาณนะทำลายได้หมดเลย! หมดเลย! ทำลายได้จริงๆด้วยทีนี้สิ่งที่มันหมักหมมสะสมกันมาขนาดนี้ใช่ไหม แล้วเรามาแก้ไขอยู่นี่ เราถึงว่าจิตดวงนี้ไม่มีต้นไม่มีปลายนะ พอพูดอย่างนี้ไปก็มีลูกศิษย์มาบอกว่า หลวงพ่อพูดอย่างนี้ไม่ได้ มันไปเข้ากับอาตมัน มันไปเข้ากับฮินดู เฮ้ย.. ไม่ ฮินดูมันว่าอาตมันคือตายตัวแล้วมันต้องไปอยู่กับพระเจ้า

    แต่ของเรานี่มันมีอยู่แต่มันเปลี่ยนแปลง หมายถึงว่ามันเปลี่ยนแปลงความผูกมัดแต่ละภพแต่ละชาตินี่ไง ดูสิ พระพุทธเจ้านะเป็นกระต่าย เป็นกวาง เป็นลิง พระพุทธเจ้าไม่เกิดเล็กกว่านกแขกเต้า แต่พวกเราเกิดเป็นเล็นนะ พวกเรานี่เวลาตายเกิดเป็นเล็น เป็นอะไรเป็นหมด มนุษย์นี่จิตนี้เป็นได้ทุกอย่างแต่พระโพธิสัตว์ไม่เล็กกว่านี้

    นี่มันผูกมัดกันมาอย่างนั้น ใช่ไหม ทีนี้เวลาว่าใช้ปัญญาแล้วจะออกปัญญาอย่างไร แล้วปัญญาจะออกไปฆ่ากิเลสนี่ออกอย่างไร ฆ่าได้ แล้วต้องใช้ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาอย่างนี้มันเกิดบนอะไร เกิดบนศีล สมาธิ ปัญญา มันมรรค ๘ แต่ถ้าใช้ปัญญาโลกๆนี่ คือสัญญาคือจำ คือปัญญาลอย ๆ ไม่มีฐาน ไม่มีที่มาที่ไป เราใช้คำว่าตัดรากถอนโคนจิตเลย จิตนี้คือตัวกรรมตัวเวรที่มันสร้างของมันมา เวลาปัญญาที่เกิดคือปัญญาความคิดนี่มันไม่เข้าสู่จิต มันตัดรากถอนโคนแล้วบอกว่าพิจารณาโดยปัญญา ปัญญาอย่างนี้ตั้งอยู่บนกองกิเลสไง ธรรมะที่มันตั้งอยู่บนกองกิเลส

    แต่เราศึกษานะ ธรรมะของเราจะตั้งอยู่บนธรรม ธรรมคืออะไร สมาธิธรรม สติธรรม ปัญญาธรรม พอมันเป็นมรรคนี่งานชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ สมาธิชอบ นี่ความชอบธรรมของมัน ถ้ามันไม่ชอบธรรม ถ้าสมาธิไม่ดีมันเป็นมิจฉาทันทีเลยเพราะมันเป็นสัญญา เป็นการก๊อบปี้เป็นการจำ แต่ถ้ามันมีสมาธิเข้ามารองรับนะ เหมือนเกียร์ว่าง เหมือนคลัชมันแยกออก พอแยกออกมันจะหมุนออกไปเป็นปัญญาเลย แต่ถ้าคลัชไหม้มันไม่แยกนะ

    เห็นไหม คนภาวนาเป็นแล้วมันจะเห็นตรงนี้ เห็นว่าโลกียปัญญาเป็นอย่างไร โลกุตตรปัญญาเป็นอย่างไร สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญามันเป็นอย่างไร ถ้าใครเข้าใจกระบวนการของภาวนามยปัญญาทั้งหมดนี่นะ เข้าใจและเห็นตามความเป็นจริง อย่างน้อยต้องเป็นพระโสดาบัน เพราะพระโสดาบันเท่านั้นถึงเห็นกระบวนการของปัญญาอันนี้ แล้วอธิบายกระบวนการของปัญญาอันนี้ได้

    แต่ถ้าเราเข้าไม่ถึงปัญญาตรงนี้นะ ...เอ้ มันจะต่างกันตรงไหนว้า... ปัญญากับปัญญานี่มันต่างกันอย่างไร มันแยกไม่ออก พอแยกไม่ออกปั๊บเวลาพูดธรรมะไป นี่สมัยนี้พระพูดบอกศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ก็ปัญญากิเลสไง แบบนั้นพอพูดถึงธรรมะนะ พูดถึงขันธ์ ๕ พูดถึงสัจธรรมทั้งนั้นนะ แต่มันตั้งอยู่บนความไม่รู้ไง มันตั้งอยู่บนกองกิเลสไง แต่ถ้าเป็นสัจธรรมนะมันตั้งอยู่บนความรู้จริง ที่ว่าเป็นสมาธิแล้วจะเป็นปัญญาอย่างไร มันต้องฝึกแล้วการฝึกนี่มันต้องอยู่ที่บุญวาสนา บางคนฝึกง่ายบางคนฝึกยาก บางคนฝึกไม่ได้

    ครูบาอาจารย์ของเราบอกว่าถ้าฝึกไม่ได้ต้องย้อนเกล็ด อดนอนผ่อนอาหาร ต้องบังคับ ได้น้อยได้มากต้องบังคับก่อน พอมันเริ่มชำนาญมันเริ่มออก บางองค์ทำไปด้วยพอประมาณ บางองค์ทำด้วยความชำนาญ ครูบาอาจาย์ของพวกเราเนี่ยพอไปศึกษาประวัติแล้วมันหลากหลายมาก เพราะอะไรก็เพราะได้รับการควบคุมจากหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านประพฤติปฏิบัติมาด้วยบุญญาธิการของท่าน ท่านมีความรู้จริงของท่าน ท่านจะคอยควบคุมอย่างหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่พรม พระอรหันต์ทั้งนั้นนะ! พระอรหันต์ทั้งนั้นเพราะครูบาอาจารย์เป็นพระอรหันต์มีวุฒิภาวะมีข้อเท็จจริงในหัวใจถึงมา... ประสาเราเลย เราเขียนเป็นนะ ก ไก่เขียนอย่างนี้ จับมือเขียนเลย แต่อย่างเรา เรายังเขียนไม่เป็นเลยนะ มึงลองเขียนดูก่อนสิ มันก็เลยเละกันอยู่นี่ไง แต่ถ้าเป็นความจริงต้องเป็นอย่างนั้น

    นี่พูดถึงปัญญาฝึกอย่างไร มันไม่มีสูตรตายตัวไง การประพฤติปฏิบัติมันอยู่ที่นิสัย อยู่ที่ความชอบ เราลองปฏิบัติก่อนผิดถูกแล้วคุยกับครูบาอาจารย์ ต้องคุยกัน ผิดถูกต้องคุยกัน ความจริงกับความจริงพูดคำเดียวกันนะ อย่างศาลาหลังนี้ต่างคนอยู่กันคนละมุมเลยแล้วนั่งมอง จะมองมุมไหนก็คือศาลาหลังนี้ไง พอปฏิบัติแล้วมันเป็นอันเดียวกัน อริยสัจมีหนึ่งเดียว พรอรหันต์มีหนึ่งเดียว สรรพสิ่งต้องลงอันนี้ ทางเดินหลากหลายแต่ผลอันเดียวกัน จะบอกว่าจริตนิสัยไม่เหมือนกันผลก็ไม่เหมือนกัน ไม่มึงผิดก็กูผิดนะ ถ้าผลไม่เหมือนกันต้องผิดคนนึง ต้องมีผิดคนนึง มันลงเหมือนกันหมด

    เพราะหลวงตาท่านเล่าให้ฟังบ่อย ท่านไปคุยกับครูบาอาจารย์มาเยอะมาก เพราะหลวงตาท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นมานาน ท่านอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นอยู่ ครูบาอาจารย์เข้ามาก็จะสนิทคุ้นเคยกับท่านมาก ท่านจะไปคุยกับใครได้ง่าย ที่บอกว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นเพชรน้ำหนึ่งนั้นท่านไปคุยมาหมดแล้วล่ะ นั่นมันลงอันเดียวกันหมด ถ้าของจริงต้องลงอันเดียวกันหมด อริยสัจมีหนึ่งเดียว อริยสัจไม่มีสอง อริยสัจมีสองนะพระพุทธเจ้าก็มี ๒ องค์ แต่นี่พระพุทธเจ้ามีองค์เดียวอริยสัจก็มีอันเดียว อริยสัจของพระพุทธเจ้า ถ้ามันไม่เหมือนกันก็ของเอ็งนะ เอ็งคิดเอง เอ็งก๊อบปี้พระพุทธเจ้าไปแล้วเอ็งตั้งบริษัทใหม่ แล้วเอ็งก็ว่าธรรมะ ธรรมะของเอ็งก็ตั้งอยู่บนกองกิเลสนั่นละ มันก็ว่าของมันไป

    ถาม: อย่างนี้แล้ว ฆราวาสมีทางปฏิบัติเพื่อเป็นอะไรต่างๆได้ไหมครับ

    หลวงพ่อ: มี ในปัจจุบันนี้ก็มี ลูกศิษย์ของหลวงตามีหลายคนมากที่มีอริยทรัพย์ มีวุฒิภาวะที่เป็นอริยบุคคลนี่มี มี ฆราวาสก็ทำได้ คำว่ามีของเขานี่เขามั่นคงของเขานะ

    เขาปฏิบัติมั่นคงของเขา เขาทำต่อเนื่อง สมัยพระพุทธเจ้าก็มี ในปัจจุบันก็มีและจะมีอย่างนี้ตลอดไป เว้นไว้แต่ต่อไปนี่มันเสื่อมไป พอมันเสื่อมไป ศาสนามันเสื่อมไป ตัวศาสนาไม่เสื่อมหรอก

    ถ้าตัวศาสนาเสื่อมพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสรู้ไม่ได้ อนาคตวงศ์ยังจะมาตรัสรู้ข้างหน้าอีกนะ คือว่าจิตใจที่เข้มแข็งอย่างนั้นมันจะเข้าถึงจุดหมายอันนี้ได้ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า ธรรมะมีอยู่แล้ว คือสัจธรรมมันมีอยู่แล้ว แต่พวกเราอ่อนแอกันเกินไป

    อย่างถ้าเราทำด้วยความเข้มแข็งด้วยความเป็นจริงนี่ ข้อเท็จจริงมันมีอยู่แล้วแต่พวกเราเข้าไม่ถึง เราทำใจของเราไม่ได้ ถ้าทำใจของเราไม่ได้นะเราก็ต้องหาเหตุหาผลหาหนทางของเรา จะว่าทำได้ไหม ได้! ในปัจจุบันนี้ก็มี มี เดี๋ยวหลังไมค์จะพูดให้ฟัง จบนะ เอวัง

    http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=241
     
  17. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ผู้รู้ไม่ใช่นิพพาน
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๖
    ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี


    ถ้ามันไม่ปล่อยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่จิต เห็นไหม จิตเป็นพลังงาน แต่มันรับรู้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันรับรู้ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ รับรู้ในอะไร? ขันธ์ ๕ มันก็รับรู้ในรูป รส กลิ่น เสียง สิ่งต่างๆ นี้มันเกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาโดยข้อเท็จจริงของจิต ถ้าข้อเท็จจริงของจิตมันเป็นอยู่อย่างนั้น แต่เราใช้ความรู้สึกนึกคิดของเราเอง เพราะเราศึกษามากับครูบาอาจารย์ใช่ไหม เราจะทำใจให้มันสงบใช่ไหม แต่ในเมื่อเราไม่เคยทำความสงบ เราจะหาสิ่งใดมาเพื่อเป็นพื้นฐานในวิถีแห่งจิตที่ตัวเองมีความรู้สึกนึกคิด มันก็เลยมีธรรมผีบอกมาว่าให้ดื่มน้ำเข้าไป ให้กำหนดลมหายใจเข้าไป

    ลมหายใจมันเป็นอานาปานสติ เราหายใจเข้าไปสู่ที่สุดความรู้ มันก็หายใจเข้า หายใจออก ถ้าเรากำหนดลมหายใจของเรานะ กำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออกก็ตามรู้เข้าไปถึงที่สุดแห่งที่รู้นั้น แล้วให้อยู่ตรงนั้น แล้วรับรู้ตรงนั้นไว้ แล้วมันจะบ่มเพาะ นี่ธรรมผีบอก

    แต่ถ้าใครที่ทำอานาปานสติ กำหนดลมหายใจอยู่ที่ปลายจมูก ลมเข้าก็รู้ว่าลมเข้า ลมออกก็รู้ว่าลมออก เพราะสิ่งที่จิตเกาะลมไว้ จิตเกาะลมไว้ ถ้าเป็นอานาปานสติ เพราะมีจิตมันรับรู้ลม ถ้าจิตรับรู้ลม เห็นไหม มันเหมือนคำบริกรรม เพราะคำบริกรรม คำบริกรรมจนละเอียดเข้าๆ ละเอียดเข้า ความว่าละเอียด มันถึงจะปล่อยรูป รส กลิ่น เสียงมาเป็นอิสระ

    กำหนดลมก็เหมือนกัน ถ้ากำหนดลมนะ ลมเข้าก็รู้ว่าลมเข้า ลมออกก็รู้ว่าลมออก เกาะลมไว้ จิตนี้มันเร็ว จิตนี้มันเคลื่อนไหวเร็วนัก กำหนดลมไว้ ถ้าลมมันละเอียดนะ เราจะรู้ว่าลมละเอียด ถ้าลมมันละเอียดจนลมไม่มีเลย มันก็จะรู้ของมัน อย่างนี้มันถึงจะเป็นสัมมาสมาธิ มันถึงจะเป็นภายใน แม้แต่ว่ามันเป็นภายในแล้ว ผู้รู้ไม่ใช่นิพพาน ถ้าเราฝึกหัดนะ การฝึกหัด สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติกันอยู่นี้ ถ้าเราจิตสงบแล้วเห็นสิ่งใด รับรู้สิ่งใด จิตสงบแล้วเราพยายามค้นคว้าของเรา จับต้องสิ่งใด ถ้าจับต้องสิ่งใด จิตรู้ว่าจิตสงบ มีจิตรู้ว่าจิตสงบ จิตนี้ไม่สื่อสัญญาอารมณ์ นี่เข้าไปพัก

    สิ่งที่ไปพัก พอมันขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เวลาอัปปนาสมาธิมาอยู่อุปจาระ เห็นไหม สื่อออกไปรับรู้ ถ้ามันสื่อไปรับรู้ของมัน มันพิจารณาของมัน เพราะมันได้พัก เพราะมันได้เข้าไปพักสงบ เพราะมันได้เข้าไปพักสงบแล้ว เห็นไหม นี่เราชำนาญตรงนี้ เราพยายามรักษาตรงนี้ ถ้าออกไปวิปัสสนา ออกไปจับกาย ออกไปจับเวทนา ออกไปจับจิต ออกไปจับธรรม แล้วใช้ปัญญาของเรา แยกแยะของเรา ถ้าแยกแยะของเรามันจะเป็นวิปัสสนา

    สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมา จะแนวทางใดก็แล้วแต่มันจะมีสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ในสมถะก็มีวิปัสสนา ในวิปัสสนาก็มีสมถะ ในวิปัสสนามีสมถะ ในสมถะมีวิปัสสนา เพราะมันมีสติปัญญา มันต้องใช้สติปัญญา แม้แต่ทำความสงบต้องใช้สติเหมือนกัน เพราะทำความสงบ ถ้าเราไม่มีสติปัญญา เราจะทำใจของเราให้สงบระงับเข้ามาได้อย่างใด แล้วเวลาใจเราสงบเข้ามามันเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา เป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา จากหยาบๆ มาสู่ละเอียด แล้วละเอียดถึงที่สุดจนมันเข้าไปสู่อัปปนาสมาธิ มันเข้าไปพักของมันได้ เวลามันออกมานี่เราพิจารณาของเรา ออกมานี่เราจับต้องสิ่งใดแล้วเราพิจารณา

    ถ้าจับต้องสิ่งใดแล้วพิจารณาไม่ได้ พิจารณาแล้วมันปล่อย มันปล่อยขนาดไหน มันปล่อยแล้วเราจับสิ่งใดไม่ได้ ปล่อยแล้วมันยังหาสิ่งใดไม่เจอ ปล่อยแล้วมันละเอียดเข้าไป เราจับไม่ได้ อันนี้มันเป็นเพราะกิเลส นี่ในเมื่อการประพฤติปฏิบัติ เราไม่ใช่ว่าปฏิบัติแล้วเราจะก้าวเดินไปโดยสิ่งที่เราศึกษามาเป็นปริยัติ ศึกษามาเป็นวิชาการ เราจะเดินตามวิชาการนี้ไป ปฏิบัติจนสุดกระบวนการของมัน แล้วเราจะได้ผลๆ กิเลสมันหลอกทั้งนั้นแหละ

    เราเริ่มต้นหน้าที่การงาน ชีวิตของเรา เราก็อยากประสบความสำเร็จ เราก็อยากจะมีชีวิตที่มั่นคง พระที่บวชแล้วก็อยากจะเป็นพระอรหันต์ อยากสิ้นกิเลสทั้งนั้นแหละ แล้วเวลาปฏิบัติขึ้นไป กิเลสมันปฏิบัติด้วยการด้นเดา ปฏิบัติด้วยการคาดหมาย ปฏิบัติด้วยเป้าหมายของเรา เราก็ปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ๆ เราทำไปกิเลสมันอาศัยช่องนี้แหละ แล้วมันก็หลอกล่อ มันก็ทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน

    ฉะนั้น เวลาปฏิบัติไปมันจับต้นชนปลายยาก จับต้นชนปลายยากเพราะแม้แต่ใจเราจะทำความสงบมันก็เป็นนามธรรมที่ต้องมีสติปัญญาพอสมควร มันถึงจะรักษาใจของเราให้มั่นคงได้ พอจิตเรามั่นคงได้ จิตเรามั่นคงเราก็ออกใช้ปัญญาของเรา ออกใช้ปัญญาออกพิจารณาของเรา ถ้าพิจารณาแล้ว สิ่งใดที่พิจารณาแล้วมันทำงานแล้วมันขาดตกบกพร่อง มันทำงานแล้วมันไม่คล่องตัว นั่นแหละคือสมาธิมันไม่พอแล้ว

    http://www.sa-ngob.com/content_show.php?content=3433
     
  18. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ปัจจุบันธรรม

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่​






    เอามรรคที่เกิดขึ้นจากกายจากใจ น้อมเข้ามาหาตนน้อมเข้ามาในกายน้อมเข้ามาในใจ ให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในใจนี่แหละ อย่าไปยึดไปถือเอาที่อื่น ถ้ารู้ตามแผนที่ปริยัติธรรมไปยึดไปถือเอาสิ่งต่าง ๆ ไป แผนที่ปริยัติธรรมต่างหาก ต้องน้อมเข้าหากายต้องน้อมเข้าหาใจ ให้มันแจ้งอยู่ในกายนี้ ให้มันแจ้งอยู่ในใจนี่ มันจะหลงมันจะเลวไปอย่างไรก็ตาม พยายามดึงเข้ามาจุดนี้ น้อมเข้ามาหากายนี้น้อมเข้ามาหาใจนี้ เอาใจนี่แหละนำออก ถ้าเอามากบางทีมันก็เขวก็ลืมไป น้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้ามาหาใจนี้ มีเท่านี้แหละหลัก ของ มัน

    ถ้าออกจากกายใจแล้วมันเขวไปแล้วหลงไปแล้ว น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจแล้วได้หลักใจดี ธรรมะก็คือการรักษากายรักษาใจ น้อมเข้ามาหากายน้อมเข้ามาหาใจนี้แหละศีล ตั้งอยู่ในกายนี่แหละ ตั้งอยู่ในวาจานี่แหละ และตั้งอยู่ในใจนี่แหละ ให้น้อมเข้ามานี้มันจึงรู้ ตั้งหลักได้ ถ้าส่งออกไปจากนี้มันมักหลงไป

    เอาอยู่ในกายในใจนี้ น้อมเข้ามาสู่อันนี้ นำหลง นำลืมออกไปเสีย เอาให้เป็นปัจจุบัน เอาจิตเอาใจนี่ละวางถอดถอนออก ทางกายก็น้อมเข้ามาให้รู้แจ้งทางกาย น้อมเข้ามา

    หัวใจของตนนี้ให้มันแจ่มแจ้ง ถ้าไปยึดถือเอาอย่างอื่นมันเป็นเพียงสัญญาความจำ น้อมเข้ามารู้แจ้งในใจของตนนี่รู้แจ้งในกายของตนนี่ นอกจากนี้เป็นแต่เพียงอาการของธรรม

    ยกขึ้นสู่จิต น้อมเข้ามาหาจิตหาใจนี้ ความโลภ ความหลง ความโกรธ กิเลส ตัณหา มันก็เกิดขึ้นที่นี่แหละ ต้องน้อมเข้ามาสู่จดนี้ ถ้าน้อมเข้าหาจุดอื่นเป็นแผนที่ปริยัติธรรมรู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งแล้วนอกนั้นเป็นแต่อาการ บางทีไปจับไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้มันก็ลืมไป

    ทำให้มันแจ้งอยู่ในกายแจ้งอยู่ในใจ มีสติสัมปชัญญะสติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ ก็อันเดียวกันนี่แหละ ให้พิจารณาอยู่อย่างนี้ อาศัยความเพียรความหมั่น

    คำว่าสติ ก็รู้ในปัจจุบัน สัมปชัญญะรู้ในปัจจุบันู รู้ในตนรู้ในใจเรานี้แหละ รู้ในปัจจุบัน รู้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา เหล่านี้ละออกให้หมดละออกจากใจ ละอยู่ตรงนี้แหละ สติถ้าได้กำลังใจแล้วมันก็สว่าง

    ตั้งจิตตั้งใจกำหนดเบื้องต้น คือ การกำหนดจิตหรือกำหนดศีล คือกายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ใจก็บริสุทธิ์กำหนดนำความผิดออกจากกายจากใจของตน

    เมื่อกายวาจาใจบริสุทธิ์ สมาธิก็บังเกิดขึ้น รู้แจ่มแจ้งไปหาจิตหาใจ กายนี้ก็รู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจของตนนี้

    สติปัฏฐานสี่ สติ มีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กาย แล้วนอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกันเพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน

    อาการทั้ง ๕ คือ อนิจฺจํ ทั้ง ๕ ทุกฺขํทั้ง ๕อนัตตาทั้ง ๕ เป็นไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง อนิจฺจํทั้ง ๕ ทุกข์ทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน

    การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน สมมุติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างขั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมุติแต่ธรรม เช่น รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ มันไม่เที่ยงมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น อนิจฺจํ ทั้ง ๕ มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น รูปํ อนิจฺจํ เวทนา อนิจฺจา สัญญา อนิจฺจา สังขารา อนิจจา วิญญูาณํ อนิจฺจํ มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตามเวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ สลายจากกันแล้วมันก็ยุติลง

    ส่วนจิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติ วางสมมติได้แล้ว มันก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุตติความหลุดพ้นไป เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ

    แต่ถ้าเอาเข้าจริง ๆ แล้วมันมักจะหลง ถ้าเราตั้งใจเอาจริง ๆ พวกกิเลสมันก็เอาจริง ๆ กับเราเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่นความเพียรไม่ท้อถอย ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้มันก็เย็นสงบสบาย

    ถ้าจิตมันปรุงมันแต่งเป็นอดีต อนาคตไป เราก็ต้องเพ่งพิจารณา เพราะอดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคตก็เป็นธรรมเมา จิตที่รู้ปัจจุบัน จึงเป็นธรรมโม

    อาการทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจฺจํ ให้ยืนอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีต อนาคตเป็นธรรมเมา ธรรมโมคือเห็นอยู่ รู้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นอดีตอนาคต ดับทั้งอดีตอนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน คือ ธรรมโม

    ให้จิตรู้อยู่ส่วนกลาง คือ สิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอดีตยังไม่มาถึงเป็นอนาคต ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนทั้งสองนั้นให้เพ่งพินิจ คือ เราอยู่ปัจจุบันธรรม มันจึงจะถูก เพราะปัจจุบันเป็นธรรมโม นอกจากนั้นเป็นธรรมเมา อดีต อนาคตรู้ปัจจุบัน ละปัจจุบัน เป็นธรรมโม ถ้าไปยึดถืออดีตอนาคตอยู่ เท่ากับไปเก็บไปถือเอาของปลอม ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน ละเฉพาะตน วางเฉพาะตนหมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ ถ้ามัวเอาอดีตอนาคตมันกลายเป็น แผนที่ ไป

    แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มาก ไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้างสิ่งนี่บ้าง ทั้งอดีตอนาคต ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเป็นเชื้อของกิเลสมันอยู่ในแผนที่ใบลาน มันไม่เดือดร้อน ถ้ามันอยู่ในใจมันเดือดร้อน เพราะฉะนั้นถ้ามันเกิดขึ้นในใจให้เอาใจละ เอาใจวาง เข้าใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้

    ไม่ใช่จำปริยัติได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริง ๆ ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ละวางถอดถอน ในปัจจุบัน มันจึงใช้ได้

    ความโลภ ความโกรธมันเกิดขึ้นในใจ น้อมเข้ามาแล้วละให้มันหมด ราคะ กิเลส ตัณหา มันเกิดขึ้นมาละมันเสีย เรื่องของสังขารมันก็ปรุง เกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้น ดับลง เอารู้เฉพาะปัจจุบัน อดีตอนาคตวางไปเสีย อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ข้อนี้ถือให้มั่น ๆ ความปฏิบัติเพ่งความเพียร เร่งเข้า ๆ มันก็ค่อยแจ่มแจ้งไปเอง ถ้าจิตมันเป็นอดีตอนาคต วางเสีย เอาเฉพาะปัจจุบัน การกระทำสำคัญ เวลาทำตั้งใจเข้า ๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันมักเกิด เราต้องพิจารณาค้นเข้าหาใจมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จิตมักจะเก็บอดีตอนาคตมาไว้ ทำให้แส่ส่ายไปตามอาการ ให้เอาเฉพาะปัจจุบัน ธมฺโม น้อมเข้ามาให้ได้กำลังทางด้านจิตใจ ละวางอดีตอนาคต อันเป็นส่วนธรรมเมา เพ่งพินิจเฉพาะ ธรรมโม

    รักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ น้อมเข้าหาใจให้รู้แจ้งใจนี้ กายก็ให้รู้แจ้ง เอาให้รู้แจ้งกายใจ จนละได้วางได้ เพ่งจนเป็นร่างกระดูกทำได้อย่างนี้ก็พอสมควร เอาให้มันรู้แจ้งเฉพาะกายใจนี่ ไม่ต้องเอามาก ถ้าเอามากมันมักไปยึดเป็นอดีตอนาคตไปเสียข้อนี้สำคัญเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับ เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับตัวสัญญา

    ตั้งหลักไว้ อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ระลึก ดับ ละ วาง ในปัจจุบันจึงเป็น ธรรมโม เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีตอนาคต ถ้ามันเกิดมันก็ต้องดับลงไป

    ต้องหมั่นต้องพยายามเข้าหาจุดของจริง อดีต อนาคต ปัจจุบัน สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา มันก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ มันแสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามา ๆ ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายมันก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกันแต่ถ้ามีสติ ความชั่วเหล่านั้นมันก็ดับไป

    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_wan/lp-wan_09.htm
     
  19. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนากับท่านอาจารย์ครูน้อยตาแดงแสงจ้า ที่ได้นำมาให้ศึกษาเพื่อช่วยให้ละกิเลส ขอรับ
     
  20. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
    555 เลขเด็ด

    พระในเมืองไทยที่แคล้วคลาดไม่โดนโยมขอหวยมีน้อยองค์ โยมบางคนอาจไม่กล้าขอตรงๆ แต่ก็คาดหวังและคอยจ้องเอาหวยจากพระ เรื่องขอศีลขอธรรมเป็นเรื่องรองสำหรับพวกบ้าหวย ยิ่งพระระดับหลวงพ่อหลวงปู่ยิ่งเป็นที่หวังมาก ขยับตัวทำอะไรหรือพูดอะไร พวกเอาไปตีเป็นหวยทั้งนั้น

    หลวงปู่ของเราท่านทั้งหลายนี่ก็เถอะ เขาลือว่าท่านให้หวยแม่นเหมือนกัน มีเถ้าแก่คนหนึ่งในจังหวัดอุดร แกตั้งใจจะไปเฝ้าหลวงปู่ทั้งวันเพื่อเอาเลขให้ได้ แต่พอแกเข้าไปกราบก็ได้ยินหลวงปู่สั่งเณรให้เอาชามา พอเณรกลับมาพร้อมกับห่อชา 555 เท่านั้นละ เถ้าแก่กราบลาทันที กลับไปแทงหวยถูก แล้วไปนำหินโรยทางเข้าวัดให้หลวงปู่ คนมันจะรวยเสียอย่าง ถึงเณรเอาชายี่ห้ออื่นมา แกก็ต้องแปลเป็นเลขเด็ดของแกจนได้ละน่า

    เคยมีคนไปถ้ำผาปล่องแล้วถูกล็อตเตอรี่ ติดใจกลับไปติดสินบนหลวงปู่

    “ หลวงปู่ครับ ผมขอถวายเงิน 2000 บาท คราวที่แล้วผมมากราบหลวงปู่ถูกรางวัลที่สอง คราวนี้ขอเป็นรางวัลที่หนึ่งนะครับ แล้วจะมาถวายล้านหนึ่ง”

    ลูกศิษย์กราบเรียนถามว่าหลวงปู่บอกเลขอะไรเขาท่านหัวเราะหึๆตอบว่า
    “ ไม่ได้บอกอะไร เขาเอาจากไหนก็บ่ฮู้”

    แต่ก็มีเหมือนกันที่ตั้งใจไปขอเลขโดยตรงแล้วไม่ได้เข้าใกล้หลวงปู่เลย
    “ เดินเข้าประตูวัด เห็นท่านยืนอยู่บนระเบียงกุฏิ ท่านชี้บอกว่าให้ไปดูหมีโน่น เลยไม่มีโอกาสได้ขอเลข”

    ลูกศิษย์ของหลวงปู่ที่ภาวนาเก่งจนเห็นเลขก็มีเหมือนกัน ท่านบอกว่าพอจิตสงบก็เห็นขึ้นมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ ตามดูเวลาหวยออกก็ตรงหลายงวด เอ! แม่นนี่นา ชักอยากบอกใครเสียแล้วซี แต่ไม่กล้า เลยไปเขียนไว้ที่จอมปลวก โธ่! อย่างนี้ก็เสร็จโยมละ เขายิ่งสอดส่ายหาอยู่ มีคนเห็นเลขที่จอมปลวกแล้วลองซื้อดู ก็ถูกจริงๆ ชาวบ้านเลยมาช่วยงานวัดกันใหญ่ แล้วส่งตัวแทนมาเจรจา เขาก็นึกรู้ว่าจอมปลวกคงไม่ได้ให้หวยเองแน่

    “ขอแม่นๆอีกครั้งเถอะ จะบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้ด้วย”

    เอาละซี! ยุ่งแล้วไหมล่ะ ครั้งก่อนๆเห็นเอง ครั้งนี้ภาวนาจะให้เห็น เกิดไม่แม่นขึ้นมา ตัวเองก็จะเสียหาย อาจถึงกับต้องหนีออกจากวัด แต่ที่สำคัญ ชาวบ้านเขาจะทุ่มสุดตัว ถ้าไม่ถูกคงล้มละลายกันทั้งหมู่บ้าน “โอย! แย่แล้ว หลวงปู่ช่วยด้วยครับ”

    แต่ภาวนายังไงหลวงปู่ก็ไม่ช่วย คืนนั้นพอจำวัดก็เลยฝันว่าหลวงปู่มาบอก

    “ ท่าน..........ท่านเป็นคนทำ ท่านก็ต้องแก้เองซี หลวงปู่จะแก้อย่างไร”

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร พร้อมประวัติและวัตถุมงคล - หน้า 41
     

แชร์หน้านี้

Loading...