จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. noutc

    noutc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +107
    เห็นด้วยดังเช่นคำกล่าวค่ะ....ตามใดยังติดในสังขาร ...ย่อมทุกข์

    :cool::cool:
    "เห็นด้วยดังเช่นคำกล่าวค่ะ....ตามใดยังติดในสังขาร ...ย่อมทุกข์"
     
  2. noutc

    noutc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +107
    "วิถีชาวพุทธ จงเดินต่อไปในทางธรรม จวบจนสิ้นลมหายใจ"

    :cool::cool:
    "วิถีชาวพุทธ จงเดินต่อไปในทางธรรม จวบจนสิ้นลมหายใจ"
     
  3. noutc

    noutc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +107
    ไม่มีใครกลับไปแก้ไขอดีตได้ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดเท่านั้น ถึงหนทางข้างหน้าจะเจอสิ่งเลวร้ายต่างๆบ้าง สุดท้ายทุกอย่างก็จะผ่านไปได้ ทุกสิ่งมีเกิด ย่อมมีดับ" อย่าไปกลัวเลย
     
  4. noutc

    noutc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +107
    "วิถีชาวพุทธ จงเดินต่อไปในทางธรรม จวบจนสิ้นลมหายใจ"

    :cool::cool:
    "วิถีชาวพุทธ จงเดินต่อไปในทางธรรม จวบจนสิ้นลมหายใจ"
     
  5. noutc

    noutc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +107
    ไม่มีใครกลับไปแก้ไขอดีตได้ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดเท่านั้น ถึงหนทางข้างหน้าจะเจอสิ่งเลวร้ายต่างๆบ้าง สุดท้ายทุกอย่างก็จะผ่านไปได้ ทุกสิ่งมีเกิด ย่อมมีดับ" อย่าไปกลัวเลย(f)
     
  6. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...พึงพินิจพิจารณา...แยกให้ออกว่าอันใหนเป็นนิมิต...

    ...อันใหนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพื่อขอส่วนบุญ...

    ...อันใหนเป็นอุปทานที่เกิดขึ้น...จากความปารถนาของดวงจิต...

    ...จงมีสติตั้งมั่น...คุ้มครองดวงจิต...โดยที่ไม่ต้องคิด...หรือหวัง...

    ...จะให้เกิดนิมิต...อันที่เป็นที่พึงปารถนาในทางที่ชักนำ...

    ...ดวงจิตเข้าไปสู่ทาง...กุศลได้ต่อไป...

    ... คำสอนของสมเด็จพุฒาจารย์ (โตพรหมรังสี)
     
  7. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...น้ำไหลเปลี่ยนใจปลา...เงินตราเปลี่ยนใจคน...

    อย่าให้สิ่งใดมาเปลี่ยนตัวตนของเราได้...การเริ่มทำสิ่งที่ดี...บางครั้งก็ต้องโดดเดี๋ยว

    ตั้งใจทำอยู่คนเดียว...ไม่มีใครสนใจ...ไม่เห็นแม้แต่จุดหมายปลายทาง

    จงหนักแน่นและตั้งมั่น...ยืนหยัดในการทำดีต่อไป...ชักวันหนึ่งผลการทำ

    ทำความดีอย่างต่อเนื่อง...จะมีคนเลียนแบบ...และปฏิบัติตาม...

    ...ถึงวันนั้นก็อย่าหลงลืมว่ากำลังทำอะไร...อย่าไปยึดติดกับคำสรรเสริญเยินยอ

    ไม่ต้องคาดหวัง...ไม่ต้องหวังผลตอบแทนใดๆ...ไม่ใช่ทำเพราะความดี

    จะเป็นของเรา...หรืเป็นของใคร...เพราะไม่ว่าจะทำความดีๆ ก็ยังคงเป็นความดี

    อยู่เช่นนั้นเอง...ขอส่งกำลังใจให้เพื่อ...เพิ่มพูนพลังเพื่อตั้งใจทำความดีต่อไป...

    ...ธรรมะออกแบบ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013
  8. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    คาถากันความทุกข์
    เมื่อได้ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ให้เสกคาถาว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป
    เมื่อสิ่งเหล่านี้เสื่อมไปจะไม่ได้ทุกข์ใจ
    เมื่อประสบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ให้เสกคาถาว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปจะได้ไม่ทุกข์ทรมานใจ​


    ธรรมะของหลวงปู่จันทร์ กุสโล
    ลูกขอน้อมกราบหลวงปู่ด้วยความเคารพค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013
  9. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ขออนุญาตนำการบ้านของลูกศิษย์มาลงให้อ่าน และได้โมทนาบุญกันกับเธอน่ะค่ะ มาดูกันว่า ผลจากการฝึกสตินั้น มันวิเศษขนาดไหน สาธุ:cool::cool::cool:

    สวัสดีคะคุณครูเกษ คุณครูลูกพลัง และคุณครูปุ้ย

    ทุกครั้งที่กลับบ้านจะซื้อพวงมาลัยพร้อมกับธูปเทียน กราบที่เท้าของคุณแม่และขอขมากับแม่พร้อมกับลูกชายด้วยคะ ทุกครั้งที่กลับบ้านตูนทำตลอดเลยคะ แต่หลังจากที่คุณครูเกษแนะนำนั้นตูนก็ได้ปฏิบัติตามที่คุณครูเกษแนะนำคะ หลังจากนั้นตูนก็เล่าให้คุณแม่ฟังเรื่องที่ตูนปฏิบัติจิตเกาะพระ และปกติทุกวันนี่ทุกครั้งที่ตูนคุยกับคุณแม่ก็จะเป็นแต่เรื่องธรรมทั้งนั้น บ้างครั้งก็แนะนำคุณแม่ให้ฟังธรรมบ้าง หรือบ้างครั้งก็พูดบทความเกี่ยวกับธรรมให้คุณแม่ฟังนะคะ ครั้งล่าสุดได้ถามคุณแม่นะคะว่าเบื่อไหมคะที่ทุกครั้งที่ตูนคุยกับคุยแม่ส่วนมากเกี่ยวกับธรรม ซึ่งคุณแม่ตอบว่า "ลูกฉันบ้าธรรมดีกว่าลูกฉันบ้าอย่างอื่น" พอตูนได้ยินอย่างนั้นจิตของตูนมีความสุขมากๆ เลยคะ

    ตูนลืมเล่าเหตุการณ์บางอย่างให้คูรเกษฟังนะคะ เมื่อวันก่อนที่เดินทางกับบ้านหลังจากเลิกงานตามปกตินั้น ระหว่างทางที่ขับรถกับบ้าน นั้นตูนฟังบทสวดมนต์ (คาถาชินบัญชร ซึ่งเป็นซีดีนะคะ) และในระหว่างขับรถนั้นตูนจะฝึกสติตลอดนะคะ ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ ทุกๆขณะ ระหว่างนั้นได้มีรถฟังตรงข้ามแซงรถอีกคันหนึ่งขึ้นมาเกือบที่จะชนรถของตูน ซึ่งในขณะนั้นตูนได้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด แต่แปลกนะคะคุณครูเกษตูนกลับไม่ตกใจเลย ซึ่งในตอนนั้นสติและจิตมันทำงานพร้อมกันนะคะ มันบอกให้เท้าขวาของตูนเหยีบเบรคเบาๆ เพื่อชลอความเร็วลง เผื่ิอช่องว่างให้รถคันดังกล่าวเข้ามา แต่วินาทีนั้นจิตของตูนบอกว่าเราอาจจะตายก็ได้นะถ้าเราและเขาเบรคไม่ทัน วินาทีนั้นตูนเห็นภาพพระลอยขึ้นมาในจิตของตูนนะคะ เสี้ยววินาทีนั้นทุกอย่างก็กลับเป็นปกติคะ หลังจากนั้นสติกับจิตของตูนก็พูดขึ้นมาว่า ทุกอย่างที่ปรากฎนั้นมันเร็วมากๆแบบไม่มีใครคิดได้ว่าจะเกิดขึ้นเหมือนกับว่าความตายมันเกิดขึ้นได้ทุกๆๆ เวลาทั้งที่เราไม่ได้ประมาท แต่อาจเป็นคนอื่นก็ได้ที่ทำให้เกิดขึ้น ฉะนั้นทุกอย่างในโลกนี้เป็นของไม่เทียงแท้จริง และแปลกนะคะหลังจากกลับมาเป็นปกติตูนกลับไม่พูดจาหยาบคายหรือโกรธเจ้าของรถคันนั้น แต่กลับคิดว่า ดูซิเพราะความใจร้อนของคนบ้างคนนั้น เกือบที่จะทำให้อีกหลายชีวิตต้องมาจบลง และเมื่ิอก่อนที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ตูนจะเป็นหว่งทุกๆ คน โดยเฉพาะลูก แต่ในขณะนั้นจิตกลับบอกตัวเองว่า "เมื่อเราเกิดเราก็มาคนเดียว แล้วถ้าเราตายเราก็ไปคนเดียวนะ เราเอาอะไรไปไม่ได้นอกจากจิตของเราเท่านั้น"

    ครูเกษคะส่วนเรื่ิองเกาะรูปพระนั้นยังเป็นปกติเหมือนเดิมนะคะ คือนึกถึงก็เห็นท่านตลอดแต่ยังไม่ชัดนะคะ

    ส่วนเรื่องการนั่งสมาธินั้น ตูนได้แต่กำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วกำหนดจิตให้รู้ว่านั่งในท่าไหน และทุกครั้งที่หายใจก็รู้ว่าหายใจเข้า ถ้าหายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก ซึ่งเมื่อก่อนตอนนั่งใหม่ๆ จิตตูนจะคิดไปทุกๆ เรื่อง แต่ตอนนี้ดีขึ้นค่ะไม่ค่อยคิดเท่าไหร่แต่มีบ้างเล็กน้อย แต่ถ้าเค้าคิดตูนก็ปล่อยให้คิด แล้วหลังจากนั้นตูนก็กลับมากำหนดลมหายใจเข้าออกต่อนะคะ

    ตูนขอจบการรายงานแค่นี้ก่อนนะคะ
    ขอบคุณ คุณครูเกษมากนะคะ
     
  10. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    Linda2009*
    อ้าว สมาชิก ไม่มีใครมาเลย อิอิ อ้อ....พักทานข้าวจ้ะ
     
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สติกับจิต ต้องไปด้วยกัน(เสมอ)

    ผู้มีสติเฉยๆ แต่ไม่มีปัญญา(ทางธรรม) ก็เปรียบเสมือนคนตาบอด
    ก็คือ เหมือนจะรู้ เหมือนจะเห็น แต่ก็แค่รู้แคบๆ รู้ตื้นๆ แค่นั้นเอง
    เพราะจะรู้อะไรแต่ละอย่างต้องใช้เวลา หรือ เอามือลูบคลำดูก่อน จึงจะรู้

    แต่ผู้ที่มีสติและปัญญานั้น ดูไกลๆ ก็รู้แล้วว่า..อะไรคืออะไร
    ไม่ต้องไปเสียเวลามาก หรือ เอามือลูบคลำดูก่อน จึงจะรู้ว่า..อะไรคืออะไร

    ผู้มีปัญญาเปรียบเสมือน ผู้รู้
    แต่ผู้ที่ปัญญาญาณเปรียบเสมือน ผู้ดู (ดูแบบคนที่รู้แล้ว หลอกไม่ได้แล้ว)
    ดูลูกเดียว เพราะทุกธรรมก็หนีไม่พ้น คำว่า "ไตรลักษณ์"
    หรือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน
    หรือ เกิดมา ตั้งอยู่ และก็ดับไป เป็นธรรมดาๆ ก็แค่นี้เองฯ

    เพราะฉะนั้นฯ
    จิตที่จะปล่อยวางได้ ก็ต้องเป็นจิตที่มีปัญญา
    แต่ปัญญาธรรมดาๆ ปล่อยวางกิเลสละเอียดไม่ได้
    โดยเฉพาะ อัตตาละเอียด ต้องใช้ปัญญาญาณ หรือ ญาณทัสสนะ
    (ญาณทัสสนะ คือ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ)

    สตินะ..สติ
    แต่จิตยิ่งสำคัญกว่า แต่จะหาจิตเจอนี่ เราก็ต้องอาศัยตัวสติ นี่แหล่ะ!
    ตามดู ตามรู้จิตของตนเองบ่อยๆ เราจึงจะหาจิตตนเองพบหรือเจอ

    สรุปแล้ว...แก่นธรรม ก็คือ จิตตัวดี ของเรานี่เอง!
    เพราะถ้าเราหาจิตตนเองพบหรือว่าเจอ(จิตในจิต) ส่วนจะหาธรรมตนเองนั้น ไม่ยาก
    เพราะที่แท้จริงแล้ว ธรรมนั้น ก็อยู่ภายใจจิตของตนเอง
    แต่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมในธรรม
    เพราะสภาวธรรมต่างๆนั้น ก็อยู่ที่ข้างในจิตตนเอง นี่แหล่ะ!
    แค่เราเข้าใจจิตใจของตนเองก่อน ส่วนที่เหลือเราจะเข้าใจคนอื่นได้ไม่ยาก

    (ผิด-ถูกอย่างไร ติ-ชมได้เสมอ)
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เพิ่มพูนธรรมะ
    พยายามเรียนรู้ธรรมะด้วยจิต อย่าพยายามเรียนด้วยสมองหรือสติ
    เพราะเราต้องการปัญญาในทางธรรม มิใช่ ปัญญาในทางโลก
    เพราะปัญญาในทางโลกนั้น เปรียบได้แค่ สัญญาในทางธรรม เท่านั้น
    --------------
    “อากงฺเขยฺย เจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ฯลฯ วิปสฺสนาย สมนฺนาคโต พฺรูเหตา สุญฺญาคารานํ”​

    ----------------​

    มีใจความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงเป็นที่รักใคร่ ที่ชอบใจ ที่เคารพ ที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันแล้ว เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศิล พึงเจริญสมถะและวิปปัสนาอยู่เนืองนิตย์ เป็นผู้ไม่ห่างเหินจากฌาน พอกพูนแต่ในสุญญาคารเถิด”

    สุญญตาทั้งสองที่นำมาลง มีสภาวะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากไม่รู้ชัดในสภาวะ ย่อมเข้าใจว่าเป็นสภาวะเดียวกัน

    คำว่า “เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศิล พึงเจริญสมถะและวิปปัสนาอยู่เนืองนิตย์ เป็นผู้ไม่ห่างเหินจากฌาน พอกพูนแต่ในสุญญาคารเถิด”

    พึงทำให้บริบูรณ์ในศิล
    หมายถึง หมั่นรู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือ รูปนาม (กายและจิต)
    สภาวะคือ มีจิตตั้งมั่น รู้ชัดอยู่ในกายและจิต ขณะที่จิตตั้งมั่นรู้ชัดอยู่ในรูปนาม ศิลย่อมสะอาดบริสุทธิ์ บริบูรณ์


    พึงเจริญสมถะและวิปัสสนา
    หมายถึง มีสมาธิ (จิตตั้งมั่น) มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) รู้ชัด (สติ) อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือเรียกสั้นๆว่า รู้ชัดอยู่ในรูปนาม
    สภาวะคือ มีจิตตั้งมั่น (สมถะ) มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ชัดอยู่ในกายและจิต (วิปัสสนา)

    เป็นผู้ไม่ห่างจากฌาน
    หมายถึง เข้าออกฌานโดยชำนาญหรือมีวสีในการเข้าออกฌาน รู้ชัดในสภาวะของฌาน

    พอกพูนอยู่แต่ในสุญญคาร
    หมายถึง รู้ชัดอยู่ในกายและจิต(รูปนาม) หรือที่นิยมนำมาอธิบายว่า ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ซึ่งเป็นเพียงอุบายในการสอน แต่สภาวะที่แท้จริงคือ รู้ชัดอยู่ในรูปนามเนืองๆ
    เมื่อรู้ชัดอยู่ในรูปนามได้เนืองๆ วิปัสสนาญาณ(ญาณ๑๖)ย่อมเกิดขึ้นเองตามลำดับขั้น

    ที่มา:
    ในพระสูตร อากังเขยยสูตร ในมูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า ๕๘
     
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เหตุการเกิดของสมาธิและตัวปัญญา

    สติ มีความระลึกได้เป็นลักษณะ มีความไม่ลืมเป็นรส มีความอารักขาเป็นอาการปรากฏ
    สภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ตัวก่อนที่จะทำกิจ

    สัมปชัญญะ มีความไม่หลงเป็นลักษณะ มีความไตร่ตรองเป็นรส มีความส่องเห็นอาการเป็นปรากฏ
    สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวในขณะที่กระทำกิจนั้นๆ

    เมื่อมีการทำงานของสติและสัมปชัญญะร่วมกัน
    ผลที่ได้รับคือ สมาธิ ส่วนกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น จะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา
    สภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังทำ

    เมื่อสติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกัน เรียกว่า มีทั้ง 3 องค์ประกอบทำงานร่วมกัน
    สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    เมื่อเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ย่อมรู้อยู่กับรูป,นามได้ดี ( กายและจิต )
    นี่คือ ตัวปัญญาตัวแรกที่เราได้รู้จัก " รูป,นาม "
    คือ มีรูป,นามเป็นอารมณ์ นี่เรียกว่ารู้โดยสภาวะ
    เมื่อรู้ได้แบบนี้บ่อยๆ ตัวรู้หรือตัวปัญญาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ

    ที่ใดมีทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ ที่นั่นย่อมมีปีญญาเกิด
    ขาดตัวใดตัวหนึ่ง ปัญญาย่อมไม่เกิด


    ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะมีสภาวะอย่างไร ย่อมสามารถสร้างตัวปัญญาให้เกิดขึ้นได้
    ทุกๆคนย่อมไปถึงจุดหมายปลายทางเหมือนกันหมด
    เราปฏิบัติเพื่อดับ " เหตุ " ของต้นเหตุของการเกิดทั้งปวง
    เราไม่ได้มาปฏิบัติเพื่อที่จะไปเป็นอะไรหรือเป็นอะไรในบัญญัติ
    การที่ปฏิบัติเพื่อที่จะเป็นอะไรนั่น ล้วนแต่เป็นการก่อเหตุให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น
    เพราะการปฏิบัติเพื่อที่จะเป็นอะไรนั้น ล้วนเป็นการก่อภพชาติใหม่ให้เกิด

    ตราบใดที่ยังมีการให้ค่าตามบัญญญัติ นั่นคือ อุปทานที่เกิดขึ้น
    เมื่อมีอุปทานเกิดขึ้น เหตุมี ผลย่อมมี

    (by walailoo)
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ปัญญาญาณ

    ญาณ ๑๖
    ญาณ ๑๖ สามารถเห็นได้ ๒ ทางคือ

    ๑ . ทางวิปัสสนา คือ การเห็นตามความเป็นจริง
    ได้แก่ ทุกสรรพสิ่ง ล้วนไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ถาวร ทุกสิ่งล้วนแปรเปลี่ยนตลอดเวลา เกิดเพราะเหตุ ดับไปก็เพราะเหตุ
    เมื่อรู้ได้ดังนี้ จิตที่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน ย่อมลดน้อยลงไป อุปทานการให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้นจากกิเลสที่มีอยู่ในจิตนั้นย่อมลดน้อยหรือเบาบางลงไป รู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิตมากขึ้น อยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้น

    สภาวะนี้วิปัสสนาจะนำหน้าสมถะ คือ พื้นฐานด้านสมาธิอาจจะน้อย หรือมีมากแต่ยังไม่รู้จักวิธีที่จะนำออกมาใช้ แต่ก็ต้องมีการปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์

    ๒. ทางวิปัสสนาญาณ คือ การเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ที่เรียกว่า ปัญญาญาณ
    อย่างน้อยต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานหรือได้จตุตถฌานที่เป็นสัมมาสมาธิและเป็นไปตามญาณ ๑๖ เมื่อญาณทัสสนะบังเกิด ย่อมเห็นแจ้งโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นแต่เหตุและผล ( สัจจานุโลมิกญาณ )
    เรียกว่า จะเห็นตัวหนึ่งเด่นชัดก่อน แล้วจึงเห็นตัวที่สองและที่สาม แต่ละสภาวะที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน ชั่วเสี้ยวเดียว จึงละ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศิลลัพพตปรามาสได้ทันที เป็นสมุเฉจประหาน

    สภาวะนี้สมถะนำหน้าวิปัสสนา แล้วสลับไปมา คือ หนักไปทางสมาธิก่อน แล้วมาปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์เช่นกัน

    สิ่งที่เหมือนๆกันทั้งสองสภาวะนี้คือ การปรับอินทรีย์ ต้องคอยปรับเปลี่ยนตามสภาวะตลอดเวลา เพราะสภาวะจะแปรเปลี่ยนตลอด จึงไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แล้วแต่เหตุของแต่ละคนที่กระทำมา อินทรีย์สมดุลย์เมื่อไหร่ ปัญญาย่อมเกิดขึ้นเมื่อนั้น ฉะนั้นจึงไปคาดเดาอะไรไม่ได้ สภาวะยากที่จะคาดเดา เพราะกิเลสมีตั้งแต่หยาบๆจนกระทั่งละเอียด

    จะรู้เท่าทันกิเลสต่างๆได้ ต้องมีสติ สัมปชัญญะที่ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้จิตสามารถตั้งมั่นได้เนืองๆ ส่วนจะตั้งมั่นได้นานหรือมากน้อยแค่ไหน ก็แล้วแต่เหตุที่ทำมา รวมทั้งเหตุที่กำลังทำขึ้นในปัจจุบันด้วย
    ไม่ว่าจะเห็นได้แบบไหน ก็แล้วแต่เหตุของแต่ละคนกระทำมา

    (by walailoo)
     
  15. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    "จิตที่บริสุทธิ์"ก็คือ... จิตที่อิ่มตัวคือพอทุกๆอย่างไม่มีสมมติเข้าแทรกแม้แต่นิดเดียว... ท่านผู้บริสุทธิ์ท่านก็อยู่ไปวันๆของท่านแค่รักษาธาตุขันธ์ของท่านไว้... เพราะการที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นก็เป็นเรื่องของขันธ์เท่านั้นเพราะท่านได้ฆ่ากิเลสลงไปได้แล้วเพราะผู้ปฏิบัติที่ท่านได้ชัยชนะนั้นท่านก็จะอยู่แบบไม่ยึดไม่ติดในสิ่งใดๆเพราะท่านได้รู้รอบในกองทุกข์...ที่จะได้อย่างนี้ก็ต้องลงมือปฏิบัติ ถ้ามีแต่การเรียนรู้เฉยๆนั้นก็ไม่ใช่เพราะบางคนยิ่งเรียนก็ยิ่งหลงเพราะคิดว่าตนเก่งนั้นเอง...ต้องได้ขึ้นชกกันก่อนคือภาคปฏิบัติลงที่หัวใจของตนเองก่อน...เพราะกิเลสอยู่บนหัวใจไม่ใช่ที่อื่นจึงฆ่าลงที่ใจเท่านั้น...
     
  16. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    "ผู้ปฏิบัติธรรม"ถ้าตัวเองเป็นผู้มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดแล้ว คือผู้ปฏิบัติที่เดินตามรอยพระพุทธเจ้าและได้รู้เห็นของจริงคือ...เห็นที่ใจไม่ใช้ความจําเพราะความจํานั้นไม่ใช้ความจริงผู้ที่แสดงออกจากความจํายังไม่ใช่เพราะแม้แต่ตัวเองก็ยังต้องสงสัยอยู่นั้นเพราะมันยังไม่เป็นของจริง...ผู้ที่ได้ผลโดยการปฏิบัตินั้นจะไม่มีข้อสงสัยเลยเพราะมันเป็นของจริง...จะปรากฏที่ใจเท่านั้นเหมือนเราเอานํ้าไปดับไฟเพราะการปฏิบัติก็เหมือนนํ้าธรรมและกิเลสที่เกิดขึ้นกับใจนั้นก็คือไฟ ถ้าผู้ปฏิบัติได้เห็นผลที่ใจก่อนนั้นแหล่ะจึงจะนําธรรมออกกําจัดกิเลสได้ทันท่วงที่เพราะกิเลสกับธรรมนั้นเกิดขึ้นบนหัวใจของเราเท่านั้น...จึงปราบลงที่ใจเท่านั้น...
     
  17. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...อนิสงฆ์ของการรักษาศีล...

    ...สีเลนะ...สุตะติง...ยันติ...สีเลนะ...โภคะสัมปะทา...

    ...สีเลนะ...นิพพุติง...ยันติ...ตัสมาสีลังวิโสธะเย...

    ...การรักษาศีล...ทำให้เกิดความสุข...การรักษาศีลเป็นโภกทรัพ...

    ...การรักษาศีล...เป็นหนทางเข้าสู่นิพพาน...

    ...เราทุกคนควรรักษาศีล...มีศีลทุกวันสุขใจทุกวัน...

    ...ธรรมประจำใจ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  18. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...คิดสำเร็จ...จักสำเร็จได้ดั่งใจ...

    ...คิดชนะ...จักชนะได้...

    คิดกุศล...จักมีแต่กศุลชักพาไป...

    ...คิดเมตตา...และเป็นผู้ให้จักได้ตลอดเวลา...

    ...คิดสิ่งดี...และทำดีจักมีแต่สิ่งที่ดีๆมา...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2013
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    นิพพาน คือ ความดับภพ

    ท่านพระสารีบุตรเถระ เคยเล่าถึงการเข้าผลาสมาบัติของท่าน ให้พระอานนท์เถระฟังว่า

    “นี่แน่อาวุโสอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้กรุงสาวัตถีนี้แหละ ณ ป่าอันธวันนั้น ผมได้เข้า(ผลาสมาบัติ) สมาธิ มีรูปแบบโดยอาการที่ผมมิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในดินว่าดิน
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในน้ำว่าน้ำ
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในไฟว่าไฟ
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในลมว่าลม
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาสานัญจายตนะ
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในวิญญาณัญจายตนะ ว่าวิญญาณัญจายตนะ
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในอากิญจัญญายตนะ ว่าอากิญจัญญายตนะ
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในโลกนี้ว่าโลกนี้
    มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในโลกอื่นว่าโลกอื่น
    แต่ก็เป็นผู้มีความหมายรู้”

    พระอานนท์เถระถามว่า
    “แต่แล้วท่านพระสารีบุตร ได้เป็นผู้มีความหมายรู้อย่างไร ในเวลานั้น?”

    ท่านพระสารีบุตร เล่าต่อไปว่า
    อาวุโส เกิดความหมายรู้เพียงอย่างหนึ่งแก่ผมว่า “ภวนิโรโธ นิพฺพานํ ภวนิโรโธ นิพฺพานํ– ความดับภพ คือ นิพพาน, ความดับภพ คือ นิพพาน” (และ) ความหมายรู้เพียงอีกอย่างหนึ่งก็ดับไป,
    อาวุโส เปรียบเหมือนเมื่อไฟติดสะเก็ดไหม้อยู่ เกิดเปลวไฟเพียงวาบหนึ่ง (และ) เปลวไฟอีกวาบหนึ่งก็ดับไป แม้ฉันใด,
    อาวุโส ความหมายรู้เพียงอย่างหนึ่ง เกิดแก่ผมว่า “ความดับภพ คือ นิพพาน, ความดับภพ คือ นิพพาน” (และ) ความหมายรู้อีกอย่างหนึ่งก็ดับไป ฉันนั้นแล
    แต่ในเวลานั้น ผมมีความหมายรู้ว่า “ภวนิโรโธ นิพฺพานํ– ความดับภพ คือ นิพพาน”
    อํ. ทสก. ๒๔/๑๑ และดู – มโนรถปูรณี, ตติยภาค, หน้า ๓๖๒
    เราทุกคนผู้แบกอุปทานขันธ์ ๕ นั้น ท่านเรียกว่า “ภารหาโร – ผู้แบกภาระ หรือผู้นำไปซึ่งของหนัก”

    ซึ่งต้องนำ ต้องแบกภาระหนัก ด้วยการบริหารอยู่เป็นนิตย์ มิได้หยุดพัก ตั้งแต่เกิดมาจนสิ้นชีวิตตามอายุขัย และภายหลังมรณะในชาติ ในภพนั้นๆ
    แล้วไปเกิดในชาติ ในภพอื่นๆต่อไปอีก ก็ยึดถือขันธ์ ๕ แบกภาระต่อไปอีก ท่านจึงกล่าวว่า

    “ภาราทานํ ทุกขํ โลเก– การถือ คือ แบกภาระหนักไว้ เป็นทุกข์ในโลก”
    กล่าวคือ “นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา– ไม่มีทุกข์ทั้งหลายใดๆ เสมอด้วยเบญจขันธ์
    ขุ. ธ, ๒๕/๔๒
    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ภารหาโร จ ปุคฺคโล
    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ภารนิกฺเขปนํ สุขํ.
    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห นิจฺฉาโต ปริพฺพุโต.
    สํ. ขนฺธ. ๑๗/๓๒-๓๓ สารตฺถปกาสินี, ทุติยภาค, น. ๓๒๑-๓๒๒

    ขันธ์ ๕ เป็นภาระหนักแท้ และบุคคลผู้แบกภาระหนัก การแบกภาระหนัก (ขันธ์ ๕) ไว้ เป็นทุกข์ในโลก
    การปลงภาระหนักเสียได้ เป็นความสุข ท่านผู้ปลงภาระหนักได้แล้ว ไม่แบกภาระ(ขันธ์) อื่นไว้อีก
    ถอนตัณหาพร้อมด้วยอวิชชา อันเป็นรากเหง้าได้เสียแล้ว เป็นผู้ไม่หิว(ด้วยตัณหา) ปรินิพพานแล้ว


    ที่มา:
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=186&Z=277
     
  20. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    "ผู้ปฏิบัติธรรม" ก็เปรียบเหมือนผู้เดินทางที่แบกขนสัมภาระไปด้วยแต่พอเดินไปเรื่อยๆก็จะรู้ว่าการแบกของหนักไว้นั้นมันเป็นทุกข์ในโลกจึงได้สละออกทิ้งไปที่ละชิ้นๆ เพราะเขาได้เห็นว่ายิ่งสละออกก็ยิ่งเบาบางและมีผลดีต่อการเดินทาง...และผู้เห็นได้อย่างนี้ คือผู้ฉลาดนั้นเองเพราะเขาได้รู้ว่ายิ่งแบกก็ยิ่งหนักผู้ที่จะเห็นอย่างนี้ คือผู้มีปัญญาเปรียบเหมือนผู้ปฏิบัติธรรมที่เดินถูกทางนั้นเอง...แต่กลับตรงกันข้ามถ้าผู้เดินทางที่โง่พอเดินผ่านอะไรไปเห็นของที่เขาว่างเอาไว้ข้างทางเกิดความโลภก็อยากได้ก็เจ็บเอามาแบกไว้ต่อก็ยิ่งหนักเพราะโง่และไม่ฉลาดผลสุดท้ายก็ต้องหลังหักตาย...หรือที่เรียกว่า"เดินทางไม่ถึงจุดหมายนั้นเอง"จึงไม่ต่างอะไรจากการปฏิบัติธรรมก็เช่นเดียวกันถ้าปฏิบัติถูกทางก็ยิ่งปลอยวางได้ ก็ยิ่งเป็นสุข คือ...เบากายเบาใจเพราะกิเลสหลุดลอยไปเรื่อยๆนั้นเองจนหมดไปจากใจของผู้ปฏิบัติธรรมจะรู้ได้เองค่ะ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...