ศรีอริยร์เมตไตรสอนธรรม

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ouam, 17 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. ouam

    ouam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +285
    ศรีอริยร์เมตไตรสอนธรรม
    พระพุทธเจ้าที่มีอยู่จริงในโลกนี้สอนธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหมือนกันหมด เพียงแต่ไม่สอนเรื่อง "ทำชั่วแล้วได้ดีแค่นั้นเอง" เมื่อทุกภพทุกชาติมีเกิดและมีดับย่อมต้องหาเหตุที่มีแรงจูงใจให้บุคคลทั้งหลายหาข้อเปรียบเทียบระหว่างการทำความดี หรือการทำชั่ว ทำแล้วได้รับผลกรรมต่างกันอย่างไร ในหัวข้อธรรมนั้นเราทุกพระองค์ยังเฝ้ามองพวกท่านทั้งหลายอย่างใจจดใจจ่อว่า เพราะอะไรพวกท่านทั้งหลายจึงมีความเห็นที่ต่างไปจากความจริงที่พระพุทธเจ้านำธรรมมาสอนให้เหล่าผู้ปฏิบัติธรรมทุกชาติทุกศาสนานำไปประพฤติปฏิบัติ ในหัวข้อธรรมนั้นเราเน้น เรื่องการเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นหลัก ส่วนข้อปลีกย่อยนั้นเราเน้น เรื่องการควบคุมอารมณ์แล้วก็การบังคับกายไม่ให้ทำผิดในด้านการแสดงออกในรูปแบบของการมีกามที่ผิดไปจากความจริงที่เหล่ามนุษย์พึงมี และข้อที่ผู้ปฏิบัติอย่างเข้มแข็งก็ไม่ควรมีเรื่องกามเข้ามายุ่งเกี่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเหล่าสาวกทั้งหลายไม่เข้าใจในธรรมนั้น ก็นำธรรมของเหล่าพระพุทธเจ้าไปแก้ไขปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตนเองกันเรื่อยไป ทำให้ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องเข้าหาประโยชน์กับผู้ที่ตั้งตนเป็นอาจารย์ในด้านวิชามาร เรานั้นมาในนามพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เห็นพร้องต้องกันว่า ธรรมทั้งหลายที่มีการแก้ไขโดยเหล่ามนุษย์หรือคน ธรรมนั้นหาใช่บริสุทธิ์ไม่ ผู้ที่นำไปสอนหรือไปปฏิบัติย่อมหาใช่ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาธรรม และยังมีผลให้ผู้ที่เชื่อหรือนำไปคิดและศรัทธาย่อมมีผลลบติดตามไปทุกภพทุกชาติ และไม่สามารถนำจิตเข้าสู่นิพพานได้สักคนเลย

    17-02-56
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2013
  2. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  3. viriyathika

    viriyathika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +109
    “ กัมมุนา วัตตตีโลโก แปลเป็นภาษาไทยอ่านว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ”
    พระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้เป็นคำตอบที่ชัดแจ้ง สำหรับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นมากมาย ว่าทำไมโลกทุกวันนี้จึงร้อนนัก เต็มไปด้วยความเลวร้ายต่างๆ นานาที่ไม่เคยมีมาก่อน

    ทั้งมรสุมใหญ่ ทั้งน้ำไฟทำลาย ทั้งโจรร้ายเข่นฆ่า ทั้งความเมตตากรุณาสิ้นจากจิตใจ ทั้งความขาดแคลนทุกข์ยากทั่วไปทั้งแผ่นดิน ความกตัญญูก็สิ้นสูญหมด ลูกหลานทรยศแม่พ่อพี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายาย ถึงทุบตีเข่นฆ่าทำทารุณกรรม ครูอาจารย์ก็ทำร้ายได้ทั้งร่ายกายและจิตใจศิษย์น้อยๆ ทำชีวิตให้พลอยสิ้นสุด จนถึงเกิดเป็นปัญหาว่า....

    ทำไมเมืองพระพุทธศาสนาจึงเป็นเช่นนี้ได้ ?
    ทำไมความเดือนร้อนชั่วร้ายจึงมากมายนัก ?
    ทำไมผู้คนจึงลำบากยากแค้นนัก ตกอยู่ในสภาพที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงนัก
    “กมฺมุนา วตฺตตีโลโก...สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” นี่คือคำตอบ


    O กรรม..คือการกระทำทั้งที่ดีและไม่ดี

    กรรมหมายถึงการกระทำ ซึ่งมีความหมายเป็นกลาง คือ มีทั้งที่ดีและที่ไม่ดี

    การกระทำที่ดีเป็นกรรมดี การกระทำที่ไม่ดีเป็นกรรมไม่ดี แต่ที่นำมาใช้นั้นเข้าใจว่า กรรม คือ ความไม่ดีสถานเดียว เช่น เมื่อมีอะไรร้ายๆ เกิดแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็จะกล่าวว่ากรรมของเขา คือ ความไม่ดีของเขา

    “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” ที่เป็นคำในพระพุทธศาสนสุภาษิต มีความหมายว่า คนและสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปต่างๆ นานา ทุกข์ก็มี สุขก็มี ดีก็มี ชั่วก็มี มิได้เกิดแต่ผู้ใดอื่น มิได้เกิดแต่อะไรอื่น มิใช่เกิดแต่เหตุใดทั้งนั้น นอกจากกรรมที่ตนได้กระทำแล้วเองเท่านั้น


    O อำนาจแห่งกรรมของตนเอง

    ผู้ที่เป็นมนุษย์ในชาตินี้ อาจเกิดเป็นสัตว์ในชาติหน้าได้ ด้วยอำนาจแห่งกรรมของตนเอง ที่เพียงพอแก่ความเป็นสัตว์ ซึ่งมีต่างๆ ประเภท ทั้งหมู หมา กา ไก่ วัว ควาย ช้าง ม้า ที่อำนาจกรรมอาจนำให้มนุษย์ไปเกิดได้ประเภทนั้นๆ

    ในพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าถึงพระภิกษุรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล ที่ประพฤติดี ประพฤติชอบมาตลอด ก่อนแต่จะมรณภาพได้จีวรมาผืนหนึ่งซักตากไว้บนราว ด้วยมีใจผูกพันยินดีที่จะไครองจีวรใหม่

    เกิดมรณภาพในช่วงเวลาก่อนจะทันได้ใช้จีวร เพื่อนภิกษุจะถือจีวรนั้นเป็นของตน สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ มีพระพุทธดำรัสให้รอก่อน ๗ วัน เพราะขณะนั้นพระภิกษุผู้เป็นเจ้าของได้ไปเกิดเป็นเล็นเกาะติดอยู่กับผ้าจีวร

    อายุของเล็นอยู่นานเพียง ๗ วัน จากนั้นจะได้ไปเสวยผลแห่งกรรมดีที่พระภิกษุรูปนั้นได้ประกอบกระทำไว้เป็นอันมาก นี้เป็นเรื่องแสดงอำนาจของกรรทางใจที่ใหญ่ยิ่ง อาจนำให้พระภิกษุไปเกิดเป็นสัตว์ได้


    O ทุกสิ่งเป็นไปตามอำนาจแห่งใจ

    ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ มนุษย์ต้องไปเกิดเป็นสัตว์ก็เพราะอำนาจแห่งใจ มีเรื่องของพระภิกษุสำคัญองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

    ได้เล่าไว้และมีผู้นำมาเขียนให้ได้อ่านกันต่อมา ท่านเล่าว่า ท่านต้องไปเกิดเป็นไก่หลายชาติ เหตุเพราะมีใช้ผูกพันในแม่ไก่ กว่าจะรอดกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็นานนักหนา

    ต่อมาเมื่อได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ปฏิบัติธรรมคำทรงสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความรู้สึกรู้ไกลไปในอดีตหลายภพชาติ จึงประจักษ์ในอำนาจของจิต ว่ายิ่งใหญ่นัก สามารถทำให้มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้ และทำให้สัตว์วนเวียนอยู่ในภพภูมิที่ต่ำนักหนาได้ ควรจะสลดสังเวชและควรจะกลัวอำนาจของจิตที่ตั้งไว้ผิดยิ่งนัก


    O ความไม่เข้าใจในเรื่องของกรรม

    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แม้จะเป็นจริงเช่นนี้ แต่มีผู้ที่เชื่อว่าเป็นจริงเพียงจำนวนน้อยนัก เพราะไม่มีภาพให้เห็นว่า เมื่อชีวิตออกจากร่างของคนคนหนึ่งไป ก็ไปเป็นอีกร่างหนึ่งได้ เช่น หมู หมา กา ไก่ ความไม่ได้เห็นชัดๆ ด้วยตาเนื้อเช่นนี้ทำให้คนส่วนมาก ยากจะเชื่อว่าคนก็เกิดเป็นสัตว์ได้

    สัตว์ก็เกิดเป็นคนได้ คนฐานะสูงก็เกิดเป็นคนฐานะต่ำได้ คนฐานะต่ำก็เกิดเป็นคนฐานะสูงได้ คนร่างกายดีๆ ก็เกิดเป็นคนแขนด้วนขาด้วนได้ คนพิการแขนด้วนขาด้วนก็เกิดเป็นคนมีแขนมีขาได้ คนหน้าตาน่าเกลียดผิดพรรณเศร้าหมอง ก็เกิดเป็นคนสวยคนงามได้ คนสวยคนงามก็เกิดเป็นคนน่าเกลียดน่าชัง ผิดพรรณเศร้าหมองได้ ยิ่งกว่านั้นคนก็เกิดเป็นเทวดาได้ และเทวดาก็เกิดเป็นคนได้

    ความไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ประกอบกับความไม่มีความเข้าใจในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม ที่ทำให้คนส่วนมากไม่กลัวการเกิดใหม่ ว่าจะนำไปสู่สภาพหรือภพชาติที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก เช่นเป็นสัตว์นรก


    O ผู้ไม่เชื่อเรื่องมโนกรรม..น่าสงสารที่สุด

    ใจสำคัญที่สุด ใจต้องคิดไปก่อน เป็นมโนกรรม...กรรมทางใจ อะไรๆ จึงจะเป็นผลตามมา จะดีหรือจะชั่วก็แล้วแต่ใจจะคิดดีหรือคิดชั่ว ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมที่เกิดจากใจคิด เป็นผู้ที่น่าสงสารที่สุด

    เพราะเขามีโอกาสที่จะตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย น่าสลดสังเวชยิ่งนัก สภาพที่เกิดแต่ใจคิดนำไปนั้น เกิดได้ทั้งในภพชาติปัจจุบันนี้ ตลอดไปจนถึงภพชาติข้างหน้า อย่างที่ว่าแม้คนก็เกิดเป็นสัตว์ได้ แม้คนก็เกิดเป็นเทวดาได้ และแม้สัตว์ก็เกิดเป็นคนได้ แม้สัตว์ก็เกิดเป็นเทวดาได้


    O การระวังใจ สำคัญยิ่งนัก

    การระวังใจจึงสำคัญยิ่งนัก ปล่อยใจให้คิดสูงส่งงดงามไปด้วยบุญกุศล ชาตินี้ก็เป็นสุขเบิกบานด้วยอำนาจของบุญกุศลที่ใจคิดถึง ละชาตินี้ไปแล้วจะได้มีชาติใหม่ที่งดงาม ควรแก่ความงดงามของความคิดที่อยู่ในจิตใจ

    ผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติทั้งกายและทางใจที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน คือ ผู้ที่เป็นไปตามอำนาจของใจในอดีต อันย่อมมีผลสืบเนื่องถึงอำนาจของใจในภพชาติใหม่ด้วย

    ส่วนผู้ที่ปล่อยใจให้คิดต่ำทราบชั่วร้าย ด้วยบาปอกุศล ชาตินี้ก็เป็นทุกข์เร่าร้อนด้วยอำนาจของบาปอกุศลที่ใจคิดถึง ละไปแล้วจะได้มีชาติใหม่ที่ต่ำทรามบกพร่อง ควรแก่ความต่ำช้าของความคิดที่มีอยู่ในจิตใจ

    ผู้ขาดแคลนทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ที่เห็นกันอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน คือ ผู้เป็นไปตามอำนาจของใจในอดีต อันย่อมมีผลสืบเนื่องถึงอำนาจของใจในภพชาติใหม่ด้วย จึงพึงระวังความคิดให้อย่างยิ่ง ให้งดงามด้วยบุญกุศลไว้เสมอ จะได้ไม่ต้องมีสภาพที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนา


    O ความคิด เป็นเหตุแห่งสุขและทุกข์

    ความคิดเป็นเหตุแห่งความทุกข์ และความคิดก็เป็นเหตุแห่งความสุขได้ พึงรอบคอบในการใช้ความคิด คิดให้ดี คิดให้งาม คิดให้ถูก คิดให้ชอบ แล้วชีวิตในชาตินี้ก็จะงดงาม สืบเนื่องไปถึงภพชาติใหม่ได้ด้วย

    ระวังความคิดให้ดีที่สุด เพราะความคิดที่ผูกพันในสิ่งไม่สมควรที่ทำให้พระภิกษุองค์หนึ่งต้องไปเกิดเป็นเล็น อีกองค์หนึ่งต้องไปเกิดเป็นไก่อยู่หลายภพหลายชาติ เราทั้งหลายหาได้มีบุญสมบัติเสมอพระภิกษุทั้งสองนั้นไม่ ความคิดที่ผิดพลาดของเราจะมินำเราไปเป็นอะไรที่น่ากลัวเหลือเกินหรือ


    O ความคิดเปรียบเช่นดังร่างกาย

    ความคิดก็เหมือนร่างกาย เหมือนต้นหมากรากไม้ ต้องการความดูแลรักษา ไม่เช่นนั้นก็อาจจะไม่เติบโตเจริญงอกงาม หรือเติบโตก็อย่างระเกะระกะ ไม่เป็นระเบียบงดงามเป็นคนก็ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญตาเจริญใจ ใครที่ไหนเล่าจะชื่นชมคนเช่นนั้น

    ความคิดหรือจิตใจก็เช่นเดียวกัน ต้องให้ปุ๋ยเสมอ คือ ให้ความถูกต้องด้วยปัญญา ด้วยสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ว่าความดีหรือบุญกุศล เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับที่จะประคับประคองชีวิตไปสู่ความถูกต้องดีงามนานาประการ

    อย่าอยู่อย่างประมาท อย่าปล่อยความคิดให้วุ่นวายเปะปะไปเหมือนปล่อยเด็กเล็กๆ ให้เดินโซซัดโซเซไปตามลำพัง ย่อมมีทางหกล้มหกลุกแขนขาหัก หรือหัวร้างข้างแตก หรือถึงพิกลพิการได้ ถึงเป็นถึงตายก็ได้ ความคิดที่ไม่ได้รับความประคับประคองให้ดำเนินไปถูกทำนองคลองธรรม ย่อมมีทางเดินไปสู่ความหายนะได้อย่างแน่นอน


    O เกิดเป็นคน เร่งรักษาจิตให้จงดี

    เกิดมาเป็นคน มีอวัยวะครบถ้วนไม่พิกลพิการ ไม่ไร้สติ เป็นบุญนักหนาแล้ว เร่งรักษาจิตให้จงดี ให้อาหารที่เป็นประโยชน์ที่สุด อย่าปล่อยให้เปะปะไปแสวงหาอาหารตามชอบใจ จะต้องหลงไปพบอาหารที่เป็นพิษแน่นอน

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุคนี้สมัยนี้มีอาหารที่เป็นโทษเป็นพิษร้ายแรงแก่จิตใจมากมาย เต็มไปทั่วทุกหนทุกแห่ง โอกาสที่ใจจะหลบหลีกให้พ้นพิษภัยเหล่านั้นยากมาก สติปัญญารักษาใจที่เพียงพอเท่านั้น ที่จะทำให้แลเห็นช่องทางหลบหลีกพิษภัยเหล่านั้นได้ สามารถรักษาใจให้พ้นพิษภัยร้ายแรง มีความสวัสดีได้ แม้พอสมควร


    O การตายทั้งเป็นนั้น น่าหวาดกลัวยิ่งนัก

    ใจที่มีความคิดอาบยาพิษร้าย เป็นใจที่ทำให้ตายได้ทั้งเป็น อันการตายทั้งเป็นนั้น น่าหวาดกลัวยิ่งกว่ามากมายนัก ผู้ที่ตายทั้งเป็น คือ ผู้เป็นคนเลวในสายตาของคนดี เป็นที่รังเกียจของสังคมคนดี ไปสู่ที่ใดจักไม่มีความหมาย เหมือนเป็นความว่างเปล่า ปราศจากการต้อนรับ

    ที่ท่านเปรียบว่าตายทั้งเป็นก็เช่นนี้ด้วย คือ ไม่อยู่ในสายตาในความสนใจของผู้ใด เห็นก็เหมือนไม่เห็น จึงเป็นเหมือนวิญญาณที่ไม่มีร่าง ยิ่งกว่านั้นผู้ที่ตายทั้งเป็นคือผู้ที่เป็นดั่งซากศพที่เน่าเหม็น เป็นที่ยินดีพอใจเข้าห้อมล้อมหนาแน่นของเหล่าแมลงวันหรือหนอนน้อยใหญ่เท่านั้น

    นั่นก็คือ คนตายทั้งเป็นด้วยกัน หรือคนไม่ดีด้วยกันเท่านั้นที่จะยินดีต้อนรับพวกเดียวกัน “คนดีจักไม่รังเกียจคนไม่ดี...ไม่มีเลย”


    O กรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง

    “กรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง”
    “กรรมดีให้ผลดีจริง กรรมชั่วให้ผลชั่วจริง”
    “ผู้ใดทำกรรมใดไว้ จักเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น ผู้ไม่ได้ทำหาต้องได้รับไม่”

    ความเข้าใจผิดในเรื่องนี้มีอยู่ให้ได้ยินได้ฟังเนือง ๆ เช่น มารดาบิดาทำไม่ดีต่างๆ นานาให้เห็น เกิดเหตุการณ์รุนแรงแก่ชีวิต บุตรธิดา ก็มักจะกล่าวกันว่าลูกรับเคราะห์แทนมารดาบิดาบ้าง หรือลูกรับกรรมแทนมารดาบิดาบ้าง ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น กรรมของผู้ใด ผลย่อมเป็นของผู้นั้น จะรับผลกรรมแทนกันไม่ได้ ไม่มี

    มารดาบิดาทำไม่ดี ทำบาปทำอกุศล ยังอยู่ดีมีสุขเพราะผลของบาปอกุศลยังส่งไปไม่ถึง แต่บุตรธิดาที่ไม่ทันได้ทำบาปทำอกุศล กลับต้องมีอันเป็นไปต่างๆ นั้น นั่นเป็นเรื่องการรับผลของบาปอกุศลที่ทำไว้ในภพชาติก่อน ที่ตามมาส่งผลในภพชาตินี้แน่นอน

    บุตรธิดาผู้ได้รับผลไม่ดีต่างๆ นานา ต้องทำกรรมไม่ดีไว้ในภพชาติหนึ่งแน่นอน แต่เราไม่รู้ไม่เห็นเท่านั้น ไม่ใช่บุตรธิดารับผลกรรมแทนมารดาบิดา

    ผู้ที่จะเกิดร่วมกัน เป็นแม่เป็นพ่อเป็นลูกกัน ต้องมีกรรมดี กรรมชั่วในระดับเดียวกัน ไม่แตกต่างห่างไกลกัน จึงทำให้เหมือนลูกรับกรรมแทนแม่พ่อผู้ทำบาปอกุศล

    ลูกที่มารับผลไม่ดีต่างๆ ขณะที่แม่พ่อเป็นผู้ประกอบกระทำกรรมไม่ดี นั่นเพราะกรรมไม่ดีของลูกส่งผลทันในระยะนั้น จึงทำให้ยากจะเข้าใจได้ จึงทำให้เกิดความเข้าใจสับสนกันมาก กรรมของคนหนึ่ง ผลจะไม่เกิดแก่อีกคนหนึ่งแน่นอน

    ที่มาบทความจาก http://www.dhammajak.net/book-somdej4/10.html
     
  4. สุวสวัตตี

    สุวสวัตตี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +115
    พระพุทธเจ้าตรัสกับพราหมณ์คณกะโมคคัลลานะว่า
    [๑๐๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกะ โมคคัล-
    *ลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดม
    ผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน ทุก
    รูปทีเดียวหรือหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บาง
    พวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
    ค. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ใน
    เมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญ
    ผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ
    โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย จึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จ
    ล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ฯ
    [๑๐๒] พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้
    ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความ
    ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ฯ
    ค. แน่นอน พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนา
    จะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า
    ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์
    แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูกรพ่อมหาจำเริญ มาเถิด
    ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้านชื่อโน้น
    ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว
    จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่า
    รื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด
    กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ต่อมา บุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์
    พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
    ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...