พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    เพียงแค่ตัวหนังสือ ผมเองสำหรับตัวหนังสือในหนังสือ ผมเชื่อเพียงแค่ 50 % เท่านั้น

    ถ้าผมยังไม่ได้เจอหลวงปู่ท่านเจ้ากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญและมีผู้ที่รับรองแล้วนั้น ผมเองก็ยังไม่เชื่อ 100 % เช่นกัน

    ถ้าจะพิสูจน์กันอย่างนี้ดีไหม เคยมีหลายๆท่านบอกว่าไม่สมควรทำ แต่ผมตั้งใจวัดเรื่องบุญและกรรมกัน

    เรื่องนี้ถ้าจะพิสูจน์กัน ก็แจ้งผมมาได้ครับ ทุกๆท่านที่ข้องใจจะพิสูจน์ ร่วมกันพิสูจน์ได้ แต่ผลที่พิสูจน์นั้น จะรู้ก็ต่อเมื่อผลนั้นได้เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น ตามหลักกาลามสูตร ต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง จะได้มาสาบานกันครับ

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=printpage&artid=44

    <CENTER>[​IMG]

    จากพาหุรัดถึงตลาดมิ่งเมือง
    </CENTER>เรื่อง: ปราณี กล่ำส้ม
    ภาพ: ประเวช ตันตราภิรมย์


    [​IMG]
    วัดทิพย์วารี วัดเก่าแก่ของชุมชนชาวญวนย่านบ้านหม้อ
    (ภาพ: ประเวช ตันตราภิรมย์)
    ถนนสายแฟชั่น ของกรุงเทพฯ - แหล่งรวมผ้าแพรพรรณนานาชนิด - ชุมนุมช่างฝีมือตัดเย็บรวดเร็วทันใจภายในเวลาแค่ทานก๋วยเตี๋ยวชามเดียว

    หากตั้งปัญหาทายใจวัยรุ่นสมัยนี้คงไม่มีใครตอบได้ว่าถนนสายนั้นอยู่ที่ไหนในกรุงเทพฯ แต่ถ้าถามชาวกรุงรุ่น “โก๋หลังวัง” หรือผู้ที่เกิดก่อน พ.ศ.๒๕๐๐ ย่อมไม่มีใครไม่รู้จักถนนพาหุรัดและตลาดมิ่งเมือง

    แต่ก่อนจะไปถึงเรื่องนั้น คงต้องเท้าความกลับไปถึงต้นกำเนิด หรือ “ที่มา – ที่ไป” ของย่านดังกล่าวนี้เสียก่อน


    [​IMG]
    พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ (สมเด็จฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช)
    (ภาพ: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
    บ้านลาว - บ้านญวน
    ในอดีตครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทางทิศตะวันออกของพระนคร บริเวณภายในกำแพงเมือง เป็นที่ลุ่มกว้างใหญ่ มีชุมชนหลากหลายเชื้อชาติอยู่อาศัย ทั้งชุมชนชาวจีน ลาว และญวน

    ชาวจีนส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณสำเพ็ง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งชุมชนค้าขายสินค้าที่มาจากเมืองจีน มีทั้งเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับ ผลไม้ต่างๆ มากมาย

    ส่วนชาวเวียงจันทน์ที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งแต่สมัยสงครามเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ ทางราชการให้มาตั้งหลักแหล่งในย่านนี้ด้วย จนเรียกกันว่าบ้านลาว แม้แต่ชื่อถนนเจริญกรุงในช่วงใกล้ๆ กันนี้ คือจากสี่กั๊กพระยาศรีไปจนถึงกำแพงเมือง ตรงสะพานเหล็ก (สะพานดำรงสถิต) ก็พลอยเรียกกันว่าถนนบ้านลาวด้วย

    บ้านลาวนี้ บางทีเรียกกันว่าบ้านกระบะ เพราะสมัยหนึ่ง คนลาวที่นั่นมีอาชีพทำกระบะขาย

    กระบะที่กล่าวถึงนี้ เป็นภาชนะสำหรับใส่อาหาร คล้ายๆ กล่องข้าวของญี่ปุ่น ดังที่หนังสือ อักขราภิธานศรับท์ ของหมอบรัดเลย์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ อธิบายว่ากระบะนั้น เป็น “ของทำด้วยไม้เปนสี่เหลี่ยมบ้าง รีๆ บ้าง, สำหรับใส่กับเข้า เปนของคนจนใช้.”

    ส่วนบ้านหม้อที่อยู่ใกล้เคียงกันเป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ.๒๔๔๑ เกิดไฟไหม้ใหญ่ที่บ้านญวนติดๆ กันถึงสองครั้ง ทำให้มีที่ว่าง จึงมีการตัดถนนสายใหม่จากตำบลบ้านลาวไปถึงสะพานหัน (ระหว่างถนนมหาชัยกับถนนเฟื่องนคร) ขึ้น

    พลตรี พระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เล่าไว้ในเรื่อง “พระมหานครกรุงเทพฯ ในความทรงจำของคนอายุเจ็ดสิบ” ว่า “…ภายหลังเพลิงไหม้บ้านญวนตำบลบ้านหม้อติดๆ กัน ทั้งมีพื้นที่ติดต่อกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดถนนพาหุรัด ซึ่งเป็นถนนแรกที่กว้างที่สุด คือกว้างตั้ง ๑๐ ม. ข้าพเจ้าเคยได้ยินท่านผู้ใหญ่มากคนบ่นว่าถนนกว้างถึงเพียงนี้จะเอารถเอาคนที่ไหนมาเดิน….”

    ถนนสายนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่าถนนพาหุรัด เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย พระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ที่สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์ แต่เนื่องจากถนนเส้นนี้ตัดผ่านบริเวณบ้านญวน ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าถนนบ้านญวนก็มี


    [​IMG]
    ตำหนักใหญ่ วังบูรพาภิรมย์ ถ่ายในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ก่อนที่จะถูกรื้อทิ้งไป
    (ภาพ: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สนามน้ำจืด - ศาลาเฉลิมกรุง
    เมื่อมีถนนแล้ว “ความเจริญ” ก็ตามมา ไม่ช้าไม่นาน ริมถนนสายใหม่ก็กลายเป็นตึกแถว เหม เวชกร (๒๔๔๖ - ๒๕๑๒) จิตรกรและนักเขียนคนสำคัญ เล่าไว้ในเรื่องสั้นชุดผีเรื่องหนึ่งว่าเมื่อเขายังเด็ก บริเวณนี้

    “…มันก็ตึกแถวทั้งนั้นนับแต่ถนนอุณากรรณเป็นสี่เหลี่ยมอ้อมไปพาหุรัด แล้วหักเลี้ยวกลับมาถนนตีทองและวกเข้าด้านเจริญกรุงนี่ แต่ว่าตึกแถวตอนนี้เขาสร้างหักเลี้ยวเข้าตรงกลางเป็นเวิ้งว่าง เขาทำเครื่องสูบน้ำบาดาลอยู่ชิดตลาดมิ่งเมืองด้านพาหุรัดนั่น…นามของตำบลนี้คือ’สนามน้ำจืด’….”

    ท่านเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) อธิบายไว้ในหนังสือชุด ฟื้นความหลัง ว่าเหตุที่เรียกกันว่าสนามน้ำจืดนั้น เนื่องจาก “…เคยตั้งถังน้ำขนาดใหญ่สูบเอาน้ำบาดาลขึ้นมาเก็บไว้ บ่อน้ำบาดาลแห่งนี้เป็นแห่งแรกที่มีขึ้นในเมืองไทย…”

    เหม เวชกร เล่าบรรยากาศยุคนั้นไว้ว่า
    “…แดนนี้จัดว่าเป็นแดนสำคัญของชาวบางกอก เป็นแดนมีน้ำสะอาดดื่มกิน แทนที่จะดื่มกินในคลองหรือแม่น้ำกัน เพราะตามคลองนั้นมีของสกปรกลอยให้เห็นเวลาน้ำขึ้นน้ำลงเสมอๆ เมื่อมามีน้ำบาดาลดื่มกิน น้ำในลำคลองบางกอกเราจึงใช้แต่อาบกัน ในแดนนี้ทั้งวันจะมีคนมาหาบน้ำไปใช้บ้างและขายตามชาวตึกชาวบ้านทั่วๆ ไปบ้าง พอเวลาเย็นค่ำก็ปิดการจ่ายน้ำ ในเวิ้งสนามน้ำจืดก็เงียบคน พวกตึกแถวนั้น ถ้าเป็นหัวมุมถึงจะเป็นห้างขายของญี่ปุ่นบ้างจีนบ้าง ถ้าไม่ใช่หัวมุมก็เป็นห้องเช่าของคนที่อยู่อาศัยธรรมดานั่นเอง….”

    ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ ย่านสนามน้ำจืดได้กลายเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง โรงมหรสพที่สร้างขึ้นในช่วงแห่งการฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕

    ศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงมหรสพที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียขณะนั้น ทั้งยังเป็นอาคารแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้เครื่องปรับอากาศ สถาปนิกผู้ออกแบบคือ ม.จ.สมัยเฉลิม กฤดากร ในวันเปิด คือวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๖ มีประชาชนไปชุมนุมกันอย่างคับคั่ง การจราจรบริเวณรอบโรงภาพยนตร์ติดขัดอย่างหนักจนกลายเป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ในยุคนั้น

    ปัจจุบันแม้จะต้องเปลี่ยนกิจกรรมจากการฉายภาพยนตร์เป็นคอนเสิร์ตการกุศลบ้าง ละครเพลงบ้างตามโอกาส แต่อาคารโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงก็ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ ต่างจากโรงภาพยนตร์อีกสามแห่งในย่านวังบูรพาที่อยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องสูญสลายไปตามสภาพสังคม


    [​IMG] [​IMG]
    ตลาดมิ่งเมือง ถ่ายในราวปี พ.ศ.๒๕๑๘ เปรียบเทียบกับภาพของตำแหน่งเดียวกันในปัจจุบัน
    (ภาพ: ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ / ประเวช ตันตราภิรมย์)
    โก๋หลังวัง
    วังบูรพาภิรมย์เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพระราชทานพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ (ภายหลังดำรงพระอิสสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ต้นราชสกุลภาณุพันธุ์) เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๘

    พื้นที่บริเวณนี้เป็นวังเก่าสืบเนื่องมาแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้านายที่เคยประทับที่นี่ได้แก่ กรมหมื่นนรินทรเทพ กรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์ กรมพระยาเดชาดิศร และกรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ทั้งหมดล้วนเป็นพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับมอบหมายให้มาอยู่รักษาพระนครด้านทิศตะวันออก ด้วยเหตุนั้น เมื่อมีการสร้างวังใหม่ในรัชกาลที่ ๕ จึงได้รับพระราชทานนามว่าวังบูรพาภิรมย์ (บูรพาหมายถึงทิศตะวันออก)

    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดชประทับที่วังบูรพาเรื่อยมาจนเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ.๒๔๗๑ ต่อมาในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โรงเรียนสตรีภานุทัตได้เข้ามาเช่าวังบูรพาอยู่ระยะหนึ่ง ภายหลังเมื่อสงครามสงบแล้ว โรงเรียนพณิชยการพระนครได้เข้ามาใช้เป็นอาคารเรียน ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ซึ่งเคยศึกษาที่โรงเรียนพณิชยการพระนครในสมัยนั้น เล่าถึงสภาพวังบูรพาไว้ในหนังสือ ย้อนไปข้างหลัง ว่า

    "...ตัววังเป็นตึกขนาดใหญ่สองชั้น ทาสีแสดสลับขาว ล้อมรอบด้วยกำแพงอิฐสูงท่วมศีรษะ ...หน้าพระตำหนักมีกระโจมทำด้วยไม้อยู่หลังหนึ่ง และด้านหลังข้างสระน้ำมีตำหนักเล็ก ๆ รูปร่างคล้ายเรือนต้นไม้...ตัวพระตำหนักสร้างอย่างงดงามสมเป็นวังเจ้านายผู้สูงศักดิ์ ตรงบันไดขึ้นมีรูปราชสีห์หมอบอยู่คู่กัน พื้นพระตำหนักชั้นล่างปูด้วยหินอ่อนเป็นส่วนใหญ่...แบ่งออกเป็นห้องกว้าง ๆ หลายห้อง ซึ่งทางโรงเรียนเอามากั้นหรือดัดแปลงเป็นห้องเรียน ด้านหลังเป็นระเบียงหินอ่อน มองลงไปเป็นสระน้ำมีบัวต่าง ๆ ชูดอกสะพรั่ง...."

    ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.๒๔๙๔ - ๒๔๙๕ ทายาทในราชสกุลภาณุพันธุ์ได้ขายวังบูรพาให้เอกชน จึงมีการรื้อวังออกสร้างเป็นศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์สามแห่ง คือโรงภาพยนตร์คิงส์ โรงภาพยนตร์ควีนส์ และโรงภาพยนตร์แกรนด์ ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๗

    ภายในเวลาไม่นาน ย่านนี้ได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นชาวกรุง อย่างที่นิยมเรียกกันในยุคกึ่งพุทธกาล ช่วง พ.ศ.๒๕๐๐ ว่าเป็น “โก๋หลังวัง” ซึ่งก็หมายถึงวังบูรพานั่นเอง แต่เรื่องราวเหล่านั้นจบสิ้นลงไปนานแล้ว ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์เหล่านี้ล้วนแต่เลิกกิจการไปหมด อาคารร้านค้าต่างๆ แลดูเงียบเหงา แต่ถึงกระนั้น ย่านดังกล่าวก็ยังคงเป็นที่รู้จักกันในนาม "วังบูรพา" อยู่


    [​IMG]
    ร้านขายผ้าของชาวไทยซิกข์ในย่านพาหุรัด
    (ภาพ: บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช)
    พาหุรัด - ตลาดกลางกรุง
    ถนนพาหุรัดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทำให้การคมนาคมสะดวกสบายขึ้น จึงมีผู้คนมาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย โดยเฉพาะชาวอินเดียซึ่งเดิมค้าขายผ้าอยู่แถบบ้านหม้อ วัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์) ได้อพยพเข้ามาทำมาหากินในแถบพาหุรัดกันมากขึ้น ที่ดินบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นของวัดเลียบ (วัดราชบุรณะ) มีที่ดินเอกชนบ้างก็ไม่มากนัก ที่ดินของวัดเลียบส่วนหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ระเบิดลงบริเวณสะพานพุทธ วัดเลียบ และโรงไฟฟ้า จนทำให้บริเวณนี้กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า แต่บริเวณโดยรอบเป็นตึกแถวขายเสื้อผ้ายังคงอยู่

    ในช่วงนี้มีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขายข้าวปลาอาหารแต่ไม่มากนัก ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าตลาดปีระกาที่อยู่ในเวิ้งนาครเขษม และตลาดบ้านหม้อซึ่งเป็นตลาดใหญ่กว่าและเปิดมานานแล้ว สุดท้ายก็ไปไม่รอด ต้องเลิกไปโดยปริยาย แต่กิจการขายผ้าของชาวอินเดียเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ มีการสั่งผ้าจากต่างประเทศทั้งยุโรป อเมริกา และอินเดียเข้ามาจำหน่าย ผ้าที่ได้รับความนิยมเป็นพวกผ้าชีฟองและผ้าลูกไม้ชั้นดีจากเมืองนอก

    ช่วงหลังมีพ่อค้าชาวจีนในสำเพ็งได้ขยับขยายออกมาสร้างตึกแถวขายสินค้าบนสองฟากถนนพาหุรัด เป็นการเข้ามาแบ่งตลาดการค้าเสื้อผ้าจากกลุ่มพ่อค้าชาวอินเดีย แต่ถึงอย่างไร กลุ่มพ่อค้าชาวอินเดียเหล่านี้ก็ยังคงรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น รักษาวัฒนธรรมประเพณี ทั้งการแต่งกาย เครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน การยึดมั่นในพิธีกรรมตามหลักศาสนา โดยมีคุรุดวราศรีคุรุสิงห์สภาเป็นศาสนสถานสำคัญของชาวซิกข์ ถ้าผ่านไปพาหุรัดจะเห็นยอดโดมสีทองอร่ามสูงเด่นเป็นสง่า

    ตามประวัติ ศาสนาซิกข์ถือกำเนิดในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ.๒๐๑๒ ซึ่งเป็นปีที่ศาสดาคุรุนานักเทพ ผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ประสูติ คำว่าซิกข์ ตรงกับภาษาบาลีว่า สิกขา หมายถึงการศึกษา หรือผู้ใฝ่เรียนรู้เป็นศิษย์ของพระศาสดา ศาสนาซิกข์เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นับถือพระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียว ไม่ยึดถือรูปปั้น หลักธรรมของศาสนาซิกข์เน้นถึงการเป็นพลเมืองดีและรับใช้สังคม ถือว่ามนุษย์ทุกคนเป็นมิตรซึ่งกันและกัน ทุกคนคือพี่น้องไม่มีใครสูงกว่าใคร ในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า

    ชาวซิกข์จากอินเดียเดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยอพยพเข้ามาค้าขายผ้า เริ่มแรกตั้งแต่เดินเร่ขายผ้าไปตามบ้านเรือนต่างๆ จากนั้นจึงตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่แถวบ้านหม้อ พาหุรัด และกระจายไปอยู่แถวสี่แยกบ้านแขก วงเวียนใหญ่ รวมทั้งตามจังหวัดใหญ่ๆ เช่น อุดรธานี เชียงใหม่ ภูเก็ต

    นอกจากชาวซิกข์แล้ว ในย่านพาหุรัดยังมีทั้งชาวฮินดู และชาวมุสลิม ตามตรอกซอกซอยระหว่างถนนจักรเพชรกับถนนตรีเพชรจะพบวิถีชีวิตผู้คนที่ยังคงรักษาความเป็นอินเดียไว้อย่างเหนียวแน่น มีร้านค้าขายเสื้อผ้า ส่าหรี อาหาร เครื่องเทศ ข้าวของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของใช้จำเป็นของชาวอินเดีย

    ร้านค้าผ้าหลายร้านในตลาดพาหุรัดเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่นร้านรานี ขายผ้าและผ้าลูกไม้ที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ร้านเหรียญทองจำหน่ายผ้าไหมไทยมาเกือบ ๗๐ ปี

    นอกจากร้านขายผ้าแล้วยังมีร้านขายเครื่องหอม ของชำร่วย ร้านขายเครื่องเขียน รวมทั้งร้านขายที่นอนหมอนมุ้งเก่าแก่ อย่างร้านที่นอนบางกอกน้อย ร้านนี้ตามประวัติว่าเป็นโรงงานที่นอนนุ่นแห่งแรกของไทย มีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐ กล่าวกันว่านุ่นที่ดีนั้น ต้องเป็น “นุ่นปลายห้อง” เนื่องมาจากกรรมวิธีการปั่นนุ่น ตอนแรกต้องตีนุ่นให้ฟูแล้วใช้พัดลมเป่าในห้องที่มิดชิด ถ้านุ่นลอยไปได้ไกลถึงปลายห้องถือเป็นนุ่นเกรดดี มีคุณภาพ น้ำหนักเบา เพราะตกไกลถึงปลายห้อง ส่วนนุ่นที่มีน้ำหนักมากมีเมล็ด ก็จะไปได้ไม่ไกล
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG] [​IMG]
    ห้างรัตนมาลาที่เคยอยู่หัวมุมตลาดมิ่งเมือง ด้านสี่แยกถนนพาหุรัดเปรียบเทียบกับบริเวณเดียวกันเมื่อสร้างเป็นดิโอล์ดสยามพลาซาแล้ว
    (ภาพ: จำนงค์ ศรีนวล / ประเวช ตันตราภิรมย์)
    มิ่งเมือง ตลาดตัดเย็บเสื้อผ้า
    เมื่อมีตลาดขายผ้าก็ต้องมีร้านตัดเสื้อเป็นของคู่กัน ดังนั้น เมื่อมีตลาดสำเพ็ง - พาหุรัด ก็จึงเกิดตลาดมิ่งเมืองขึ้นตามมา

    ผู้คนที่อยู่อาศัยในย่านนี้เล่าว่าตลาดมิ่งเมืองนั้นสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับศาลาเฉลิมกรุง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครครบ ๑๕๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ เรื่องนี้ก็ดูใกล้เคียงกับหลักฐานเอกสาร ที่มีระบุไว้ว่า ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๖๙ นายมาริโอ ตามานโญ (Mario Tamagno) สถาปนิกอิตาเลียนที่เข้ามารับราชการในเมืองไทยระหว่างรัชกาลที่ ๕ ถึงต้นรัชกาลที่ ๗ ได้ออกแบบก่อสร้างตลาดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เป็นตลาดที่มีหลังคาคลุม สร้างด้วยคอนกรีต สำหรับเป็นที่ขายเสื้อผ้า จำลองจากตลาดแบบตะวันออกกลาง ดังนั้น แม้จะไม่ได้ระบุนาม แต่ก็น่าจะหมายถึงตลาดมิ่งเมืองนั่นเอง

    ตลาดมิ่งเมืองมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งชุมนุมช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อรองรับลูกค้าที่มาซื้อผ้าที่ตลาดสำเพ็ง- พาหุรัด แล้วไม่มีเวลาไปหาร้านตัดเย็บ เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า และเป็นการส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เมื่อซื้อผ้าแล้วมีแหล่งตัดเย็บอยู่ใกล้ๆ ก็ได้เสื้อกลับบ้านอย่างรวดเร็ว ตลาดแห่งนี้จึงได้รับความนิยมจากบรรดาสุภาพสตรีเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ดารา นักร้อง จนถึงประชาชนทั่วไป

    ตัวตลาดมิ่งเมืองมีแผนผังเป็นรูปตัวยู มีห้องแถวที่แบ่งออกเป็นล็อกๆ หันหน้าเข้าหากัน ตรงกลางเป็นลานโล่ง มีแผงไม้สูงประมาณ ๗๕ ซม. ถึง ๑ เมตร ยาวประมาณ ๒ เมตร เป็นแผงสำหรับขายของ ขายผ้าและตัดเย็บเสื้อผ้าตั้งเรียงรายเป็นแถว (เปรียบได้กับแผงลอย แต่ต่างกันที่แผงพวกนี้มีช่องเก็บของตรงกลาง) ส่วนริมถนนด้านนอกมีตึกแถวล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง โดยตึกด้านนอกกับห้องแถวด้านในหันหลังชนกัน

    ตึกด้านนอกตรงหัวมุมสี่แยกพาหุรัดมีร้านรัตนมาลา เป็นร้านเก่าแก่ ขายสินค้านานาชนิด ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยก่อนก็คือตะเกียงเจ้าพายุ ถัดมาทางด้านถนนตรีเพชรเป็นร้านของแขก ขายภาชนะในครัวที่ทำด้วยอลูมิเนียม พวกหม้อ กะละมัง ชื่อร้านโตฟาฟรอส มีร้านขายยาแก้วเภสัช รวมทั้งร้านขายปืนที่มีอยู่หลายร้าน

    อีกส่วนหนึ่งของตลาดมิ่งเมือง เป็นอู่จอดรถ บ.ข.ส. ใครจะเดินทางไปต่างจังหวัดก็ต้องมาขึ้นรถที่นี่ เปรียบได้กับสถานีขนส่งหมอชิตปัจจุบัน จึงไม่ต้องสงสัยว่าผู้คนในย่านนี้จะคึกคักขนาดไหน

    คุณแก้ว แห้วสันตติ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เป็นผู้หนึ่งที่เกิดและเติบโตอยู่ในย่านตลาดมิ่งเมือง บรรพบุรุษของคุณแก้วเปิดร้านเห่วจิ้นหลีอยู่ที่มุมหนึ่งของตลาดมิ่งเมือง ผลิตเครื่องเงิน ขันเงิน ส่งขายเชียงใหม่ เชียงราย เมื่อมาถึงในรุ่นของคุณแก้วจึงเปลี่ยนเป็นกิจการร้านขายยา ชื่อ “แก้วเภสัช”

    คุณแก้วจำได้ดีว่าสมัยก่อนในช่วงปีใหม่ระหว่างวันที่ ๓๑ ธันวาคม ถึง ๑ มกราคม จะเป็นช่วงที่สนุกครึกครื้นมาก มีการปิดถนนให้คนเดินเที่ยว “มีการแสดงดนตรี จำอวด ลิเก แถวนี้เป็นย่านบันเทิงมีโรงหนังถึงสี่โรง นั่งดูกันจนสว่างคาตา คนต่างจังหวัดมากันเป็นหมื่น…มาดูดารา สนามหลวงก็มีงานเหมือนกัน แต่คนไม่นิยมเหมือนที่นี่”

    โรงหนังสี่โรงที่คุณแก้วกล่าวถึง ก็คือศาลาเฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์คิงส์ ควีนส์ และแกรนด์ นั่นเอง


    [​IMG] [​IMG]
    คุรุดวราศริคุรุสิงห์สภา ศาสนสถานของชาวซิกข์กลางพาหุรัด
    (ภาพ: บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช / ประเวช ตันตราภิรมย์)
    ตัดเร็ว ตัดไว ต้องไปมิ่งเมือง
    ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้เกิดและเติบโตที่ตลาดมิ่งเมือง หลากหลายอาชีพ มีทั้งขายยา ขายของชำและรับจ้างเย็บผ้า ต่างเล่าถึงสภาพตลาดในสมัยก่อนว่ามีแต่เสื้อผ้า การซื้อขายอย่างอื่นไม่ค่อยมี เมื่อก่อนคนมาซื้อผ้าพาหุรัดกันเยอะ จะมีคนเดินอยู่หน้าตลาดคอยแย่งลูกค้ากัน พวกนี้บางทีก็เป็นลูกมือสอยผ้าให้กับร้านนั้นๆ และมักจะเป็นคนหูไวตาไว บางทีระหว่างนั่งสอยผ้ารออยู่ พอเห็นคนเดินข้ามถนนถือถุงกระดาษมา ก็จะรีบจับจองลูกค้า พูดคุยกันว่าคนใส่เสื้อสีฟ้าของฉันนะ แล้วรีบเดินเข้าไปเชิญชวนให้ไปตัดเสื้อที่ร้านของตน คนที่พาลูกค้าเข้าร้านก็จะได้ค่าหัวจากร้านตัดเสื้อนั้นๆ ด้วย

    บรรยากาศทั่วไปในตลาดมิ่งเมืองจึงคึกคักมาก เพราะสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีเสื้อผ้าสำเร็จรูป ต้องซื้อผ้าเป็นชิ้นๆ มาตัดจึงจะได้รูปทรงตามต้องการ โดยเฉพาะช่วงกลางวัน และช่วงเย็นเป็นช่วงที่คนมาตัดเสื้อผ้ากันมาก

    กิติศัพท์การตัดเสื้อผ้าเร็วทันใจของตลาดแห่งนี้ถึงกับมีเรื่องเล่ากันว่า เอาผ้ามาให้ช่างวัดตัวตัดเรียบร้อย แล้วไปกินก๋วยเตี๋ยว เดี๋ยวเดียวกลับมารับเสื้อได้เลย ฝีมือการตัดเย็บก็ใช่ว่าจะไม่เรียบร้อย ใส่ออกงานได้สบายมาก มีคนสงสัยว่าทำไมจึงตัดเย็บได้เร็วขนาดนั้น คงจะเป็นเพราะช่างมีแบบอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างแพทเทิร์นใหม่ บวกกับความชำนาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมา วางผ้าออกมาก็ตัดได้เลย

    ช่างตัดเสื้อในตลาดมิ่งเมืองมีทั้งคนจีนและคนไทย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในย่านนี้ ช่างบางคนที่มีชื่อเสียง เช่นช่างติ้ว เป็นช่างที่เก่งมาก มีฝีมือสุดยอด เรียนจบจากร้านตัดเสื้อชื่อดัง และเป็นคนที่มีพรสวรรค์ สามารถตัดเย็บแก้ไขปรับปรุงจุดบกพร่องให้คนที่หุ่นไม่ดีสามารถใส่เสื้อผ้านั้นแล้วดูดีได้ แต่ราคาก็แพงกว่าช่างคนอื่นชนิดที่เรียกว่าแพงหูดับตับไหม้เลยทีเดียว แถมตัดแล้วใช่ว่าจะได้รวดเร็วเหมือนช่างคนอื่นๆ เล่ากันว่าบางทีต้องใช้เวลารอคอยกันนานกว่าหกเดือน แต่ลูกค้าก็ไม่เคยหนีหาย ครั้งแรกที่มาตัด ช่างจะวัดตัวอย่างละเอียดทุกกระเบียดนิ้ว เมื่อตัดเสื้อตัวแรกเสร็จเรียบร้อย ครั้งต่อไปไม่จำเป็นต้องวัดตัวอีก เพียงแต่บอกว่าอ้วนขึ้นหรือผอมลงเท่านั้น

    นอกจากเสื้อสั่งตัดแล้ว ในตลาดมิ่งเมืองยังตัดเสื้อโหลซึ่งถือว่าเป็นเสื้อที่มีคุณภาพต่ำ การตัดเสื้อโหลในสมัยนั้น ช่างจะใช้กระดานปูให้มีร่อง นำผ้าวางขึงหนาประมาณ ๒๐ – ๓๐ ชั้น ใช้มีดกรีดผ้าไปตามร่อง เหตุที่ผ้าหนาหลายชั้นจึงต้องใช้มีดแทนกรรไกร หากใช้กรรไกรจะตัดไม่ขาด

    ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าในตลาดมิ่งเมืองมีมากก็จริง แต่ไม่ได้เป็นร้านถาวร เป็นเพียงแผงตัดเย็บเสื้อผ้า เวลาเลิกก็ต้องเก็บของใส่ลัง คนที่มีบ้านอยู่ใกล้ๆ ก็นำไปเก็บไว้ที่บ้าน จักรเย็บผ้ามีทั้งจักรถีบและจักรมอเตอร์ บางคนไม่มีจักรของตัวเอง ก็ยังมีบริการให้เช่าจักรเย็บผ้าอีกด้วย

    ตามธรรมเนียมของตลาดทั่วไป พอครบรอบปีก็จะมีงานประจำปีกันครั้งหนึ่ง ที่ตลาดมิ่งเมืองมีงานประจำปีประมาณช่วงเดือน ตุลาคม – ธันวาคม เป็นการผสมผสานทั้งวัฒนธรรมไทย - จีน ในช่วงเช้ามีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์จำนวน ๕๐ รูป ตามด้วยพิธีไหว้เจ้า ผู้คนนำข้าวปลาอาหาร หมู เห็ด เป็ด ไก่มาไหว้พร้อมด้วยม้ากระดาษตัวใหญ่ทาสีแดง ด้วยมีความเชื่อกันว่าม้าเป็นสัตว์อดทน ทนหนาวทนร้อน ถือว่าเป็นสัตว์คู่บารมี จึงนำมาเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งในการไหว้เจ้า

    เมื่อทำบุญเสร็จแล้ว ในตอนกลางคืนก็มีมหรสพฉลองฉายหนังกลางแปลง มีงิ้ว ลิเกชื่อดัง เช่นคณะหอมหวล ให้ชมฟรี ส่วนมากถ้าเป็นคนไทยนิยมดูลิเก คนจีนก็จะดูงิ้ว เป็นไปตามความชื่นชอบของแต่ละคน


    [​IMG] [​IMG]
    โรงภาพยนตร์คิงส์ ในยุครุ่งเรือง เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ และมุมเดียวกันนั้นของย่านวังบูรพาในปัจจุบัน
    ((ภาพ: เสรีภาพ ฉบับพิเศษ - กรุงเทพพระมหานคร พ.ศ.๒๕๐๐ / ประเวชตันตราภิรมย์)
    รื้อตลาด
    ชาวตลาดมิ่งเมืองต่างอกสั่นขวัญแขวนไปตามๆ กันเมื่อรู้ข่าวว่ารัฐบาลโดยการนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีนโยบายให้รื้อตลาดมิ่งเมืองในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ผู้คนที่ค้าขายในตลาดส่วนใหญ่เปิดเป็นแผงเป็นร้านตัดเย็บเสื้อผ้าต้องแตกกระสานซ่านเซน บ้างก็ย้ายไปขายที่ตลาดสะพานหัน สำเพ็ง พาหุรัด สนามหลวง แล้วแต่ใครจะมีลู่ทาง แต่ส่วนใหญ่จะขยับขยายไปอยู่ในตลาดพาหุรัด เพราะเป็นจุดที่ใกล้ที่สุด จนกลายเป็นตลาดตัดเย็บเสื้อผ้าแทนตลาดมิ่งเมืองไปโดยปริยาย

    การรื้อตลาดมิ่งเมืองยืดเยื้ออยู่นานหลายปี เพราะผู้ที่ค้าขายอยู่ในตลาดไม่ยอมย้ายออกไป จนกระทั่งประมาณ พ.ศ.๒๕๒๑ จึงได้เริ่มรื้ออย่างจริงจัง โดยค่อยๆ ทยอยรื้อจากด้านในตลาดออกมาถึงร้านค้าใหญ่ๆ ที่อยู่รอบนอก

    ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ (ตุลาคม – พฤศจิกายน ๒๕๒๒) มีรายงานข่าวเกี่ยวกับตลาดแห่งนี้ว่า

    “...ตลาดมิ่งเมือง อันเป็นตลาดขายของทำนองสรรพสินค้า ตั้งอยู่ที่พาหุรัด เดิมมีจุดประสงค์จะให้เป็นตลาดใหญ่ อันเป็นที่ผู้คนไปชุมนุมซื้อสินค้ากัน โดยเอาอย่างนิวมาร์เกต ที่กัลกัตตา แต่ภายหลังตลาดแห่งนี้เสื่อมความนิยมลง เลยกลายเป็นที่สำหรับร้านเย็บเสื้อผ้าทันใจไปตั้งกัน...ถึงอย่างไรก็ดี ตลาดแห่งนี้ควรนับเนื่องเข้าอยู่ในอาคารประวัติศาสตร์ของไทย ในสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ทั้งการปกครองและทั้งความเจริญแผนใหม่ของตะวันตกอันแพร่หลายเข้ามาอย่างรุนแรงมาก มีความสำคัญ เช่นเดียวกับอาคารศาลาเฉลิมกรุง ถ้ามีการปรับปรุงภายในให้ดีก็จะเป็นอาคารที่สำคัญแห่งหนึ่ง และเป็นการรักษาอดีตไว้ได้ด้วย แต่บัดนี้กำลังถูกทุบทิ้ง จักไม่นานก็จะไม่มีตลาดมิ่งเมืองอีกต่อไป...”

    สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารตลาดมิ่งเมืองได้มีหนังสือแจ้งแก่ร้านค้าผู้อยู่อาศัยโดยรอบให้ย้ายออกภายใน ๓๐ วัน ให้ค่ารื้อถอนหลังละประมาณ ๒๔,๐๐๐ บาท ชาวตลาดที่ไม่ยอมย้ายออกไปได้รวมตัวกันต่อรองขอให้สร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่าอย่างเดิมและให้คนอยู่เดิมมีสิทธิ์จับจองก่อน เจรจากันอยู่หลายรอบ จนบางส่วนเริ่มแยกตัวไปรับเงินค่ารื้อถอน

    ในที่สุด การต่อรองของชาวตลาดก็ล้มเหลว ร้านค้าต่างต้องทยอยกันโยกย้ายออกไป ร้านสุดท้ายที่ย้ายออกจากมิ่งเมืองคือร้านแก้วเภสัช และแล้วตลาดมิ่งเมืองก็ถึงกาลอวสาน

    พอเก่าไป ใหม่ก็มา พอถึงราว พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็มีโครงการก่อสร้างดิโอลด์สยามพลาซ่าขึ้นในพื้นที่ของตลาดมิ่งเมืองเดิม ศูนย์การค้าแห่งใหม่นี้ก่อสร้างอย่างใหญ่โตด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย

    แต่เมื่อแรกสร้าง ศูนย์การค้าดิโอลด์สยามตั้งเป้าให้ร้านเพชรร้านทองย้ายจากบ้านหม้อมารวมกันอยู่ที่นี่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีของกรุงเทพฯ มุ่งหวังลูกค้าจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมาซื้ออัญมณีติดไม้ติดมือกลับบ้าน ถึงขนาดจะไม่ให้มีการขายอาหารด้วยซ้ำไป

    แต่สุดท้ายไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ ดิโอลด์สยามพลาซ่าไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการได้ บางคนที่เชื่อโชคลางให้เหตุผลว่าที่ขายไม่ดีอาจเป็นเพราะไม่ได้มีการเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทางเช่นที่เคยทำกันมาในสมัยก่อนปัจจุบันภายในห้างมีร้านอัญมณีเพียงไม่กี่ร้าน นอกนั้นเป็นร้านฟาสต์ฟู้ด ขายส่งอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าแพรพรรณ อาหาร สินค้าจิปาถะ ไม่แตกต่างจากห้างอื่นๆ ทั่วไป

    แต่ดิโอลด์สยามก็ยังคงรักษาชื่อ “มิ่งเมือง” ไว้ (อาจเพื่อรำลึกถึงตลาดมิ่งเมือง) เป็นชื่อลานโล่งภายในห้าง เป็นเหมือนลานอเนกประสงค์เพื่อให้มีกิจกรรมหมุนเวียนเปลี่ยนกันไป เคยเห็นมีการประกวดร้องเพลง แต่สิ่งที่เห็นอยู่ประจำคงเป็นการให้เช่าพื้นที่ขายสินค้าจำพวกเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า อาหาร ฯลฯ คงเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าภายในห้าง

    ถนนทหารบก – ทหารเรือ
    อีกสิ่งหนึ่งที่พลอยสูญไปกับตลาดมิ่งเมือง ก็คือถนนทหารบก และถนนทหารเรือ

    ในระหว่างการค้นคว้าเรื่องย่านพาหุรัด - ตลาดมิ่งเมือง ผู้เขียนพบชื่อนี้หลายครั้ง เช่น ในหนังสือ เล่าเรื่องบางกอก ของ ส.พลายน้อย ได้เขียนเรื่องถนนบ้านลาว (ซึ่งก็คือช่วงหนึ่งของถนนเจริญกรุง - ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น) ว่า “…ต่อจากสี่กั๊กพระยาศรีไปจนถึงกำแพงเมือง คือตรงสะพานเหล็กหรือสะพานดำรงสถิต ในระยะนี้แต่ก่อนเรียกกันว่า ถนนบ้านลาวเพราะมีพวกลาวพวนตั้งบ้านเรือนอยู่แถวนี้ บริเวณที่พวกลาวพวนอยู่ก็คือที่เป็นถนนทหารบก ถนนทหารเรือ หรือแถวโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงเดี๋ยวนี้นั่นเอง….”

    ผู้เขียนลองเดินหาป้ายชื่อถนนทหารบก ถนนทหารเรือในย่านนี้หลายครั้งก็ไม่พบ จนกระทั่งได้มีโอกาสสอบถามคุณแก้ว แห้วสันตติ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผู้เป็นชาวตลาดมิ่งเมืองมาก่อน คุณแก้วจึงอธิบายให้ฟังว่าถนนทหารบก ถนนทหารเรือ เป็นถนนที่คั่นอยู่ระหว่างตลาดมิ่งเมืองกับกองกำกับการจราจร (ซึ่งเดิมมีอยู่ทั้งสองฟากถนน ปัจจุบันเหลือเฉพาะฝั่งด้านตรงข้ามกับดิโอดล์สยาม) และระหว่างกองกำกับการจราจรกับศาลาเฉลิมกรุง ถนนทั้งสองสายเป็นเหมือนถนนซอยที่สามารถเดินทะลุไปออกสู่ถนนบูรพา และถนนตรีเพชรได้สะดวก


    [​IMG] [​IMG]
    ศาลาเฉลิมกรุง ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ แทบไม่แตกต่างกับสภาพปัจจุบัน
    (ภาพ: ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ / ประเวช ตันตราภิรมย์)
    ของอร่อยพาหุรัด
    ตามตลาดทั่วๆ ไปมักจะมีร้านขายอาหารที่ขึ้นชื่อ ย่านพาหุรัดก็เช่นกัน

    ตรอกกล้วยปิ้งอยู่ในตลาดพาหุรัด ตรงข้ามดิโอลด์สยาม จริงๆ แล้วตรอกนี้เป็นตรอกแคบๆ เล็กๆ ไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ แต่อาศัยที่ปากตรอกมีแม่ค้าขายกล้วยปิ้ง เผือกปิ้ง มันปิ้ง ขายมานานหลายสิบปีตั้งแต่รุ่นคุณยาย จึงเรียกกันว่า “ตรอกกล้วยปิ้ง” ถามแม่ค้าในละแวกนี้คงรู้จักกันดี การปิ้งมันปิ้งเผือกนั้นต้องใจเย็นๆ เพราะกว่าจะปิ้งให้ร้อนระอุ เนื้อนุ่มหอมอร่อย ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสองชั่วโมง

    เยื้องๆ กับตรอกกล้วยปิ้ง ฝั่งตรงข้ามมีพ่อค้าขายบาเยียเจ้าเก่า ขายมา ๒๐ กว่าปีแล้ว บาเยียเป็นขนมของแขกใช้ถั่วบดผสมกับเครื่องปรุงอีกหลายอย่าง นำมาทอดในน้ำมันร้อนๆ ให้เหลืองกรอบนอกนุ่มใน ทานกับน้ำจิ้มรสชาดเข้มข้นและพริกทอด อร่อยมาก หากผ่านไปจะเห็นลูกค้ายืนออรอกันอยู่หลายคน บางคนบอกว่าเคยซื้อบาเยียเจ้าอื่นไปให้ลูก ลูกไม่ยอมทาน ต้องเจ้านี้เท่านั้น

    โรตีกรอบตรงข้ามโรงเรียนเพาะช่าง เป็นอีกแห่งหนึ่งที่คนนิยมกันมาก บางวันคนแน่นจนต้องยืนรอนานกว่าจะได้ชิม

    ไม่ว่าจะทำหรือจะทานของอร่อยก็ต้องใจเย็นๆ ทั้งนั้น


    ขอขอบคุณ คุณแก้ว แห้วสันตติ คุณประไพพร กังสเจียรณ์ คุณวินัย เทพวรพันธ์ คุณอมรรัตน์ กรรณิการ์สกุล คุณอามิน มะหะหมัด และผู้ให้ข้อมูลทุกท่าน


    <TABLE cellPadding=5 width="90%" align=center bgColor=#ffcccc><TBODY><TR><TD>เอกสารอ้างอิง
    ณัฐชยา ราทิกูลกรลักษณ์. จะซื้อซะอย่าง กรุงเทพฯ: สารคดี, ๒๕๔๖.
    ธนาทิพ ฉัตรภูติ. ตำนานโรงหนัง กรุงเทพฯ: เวลาดี, ๒๕๔๗.
    น. ณ ปากน้ำ. ย่ำต๊อกทั่วกรุงเทพฯ กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๔.
    แน่งน้อย ศักดิ์ศรี. องค์ประกอบทางกายภาพกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
    บรัดเลย์, แดน บีช. อักขราภิธานศรับท์ พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๔. (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๑๖)
    ผุสดี ทิพทัส. บ้านในกรุงรัตนโกสินทร์ ๑ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
    พระศาสดาศรีคุรุณานักเทพ พระปฐมบรมศาสดาแห่งศาสนาซิกข์ ม.ป.ท. ม.ป.ป.
    วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. ย้อนไปข้างหลัง กรุงเทพฯ: พิทยาคาร, ๒๕๒๒.
    วิถีแห่งซิกข์ พิมพ์เป็นบรรณาการโดยศรีคุรุสิงห์สภา (ศูนย์รวมชาวไทยซิกข์แห่งประเทศไทย) ม.ป.ท. ม.ป.ป.
    ศันสนีย วีระศิลป์ชัย. ชื่อบ้านนามเมือง กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๘.
    ส. พลายน้อย. เล่าเรื่องบางกอก กรุงเทพฯ: เจริญรัตน์การพิมพ์, ๒๕๒๕.
    ส. พลายน้อย. วังเจ้านาย กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๓๙.
    เสฐียรโกเศศ. พื้นความหลังเล่ม ๓ พระนคร: ศึกษิตสยาม, ๒๕๑๒.
    เหม เวชกร. ใครอยู่ในอากาศ กรุงเทพฯ: สารคดี, ๒๕๔๗.
    อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี พระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก, ๒๕๐๔.
    เอนก นาวิกมูล ถิ่นฐานบ้านช่อง กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ, ๒๕๔๖.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://news.sanook.com/education/education_58465.php
    และหนังสือพิมพ์ข่าวสด


    <TABLE class=news2006_topic cellSpacing=0 cellPadding=0 width=595 border=0><TBODY><TR><TD width=585 height=10><TABLE class=news2006_topic width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left>บิดาแห่งไปรษณีย์</TD><TD align=right width=100>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=news2006_graylight height=10>โดย ข่าวสด<SCRIPT language=JavaScript src="/global_js/global_function.js"></SCRIPT> <!--START-->วัน พฤหัสบดี ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 02:07 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=595 border=0><TBODY><TR><TD height=10></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=news2006_black cellSpacing=0 cellPadding=0 width=595 border=0><TBODY><TR><TD width=10 rowSpan=4></TD><TD width=575>[​IMG]คอลัมน์ รู้ไปโม้ด

    น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com
    อยากทราบว่าพระบิดาแห่งไปรษณีย์ไทยคือใครครับ
    UniCorN

    ตอบ ยูนิคอร์น

    พระบิดาแห่งไปรษณีย์ไทยคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

    ข้อมูลจากหนังสือการสื่อสารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงพระประวัติว่า ประสูติวันที่ 11 มกราคม 2402 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 45 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี คุณูปการของพระองค์มีมากมาย ขอเอ่ยเฉพาะที่ถามมา

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ ทรงเป็นผู้ริเริ่มงานไปรษณีย์พระองค์ทรงโปรดให้มีบุรุษเดินหนังสือข่าวราชการส่งให้สมาชิกตอนเช้าทุกวัน ที่เรียกว่า โปสต์แมน (Postman) แต่งกายด้วยเครื่องแบบสีน้ำเงิน สะพายกระเป๋าใส่หนังสือ คิดค่าบอกรับหนังสือปีละ 10 บาท ค่านำส่งปีละ 2 บาท

    พระองค์ทรงจัดพิมพ์ ตั๋วแสตมป์ จำหน่ายแก่สมาชิกซื้อไปผนึกพร้อมทั้งเขียนชื่อตัวเองทับแสตมป์เพื่อขีดฆ่าแทนตรา เพื่อแสดงว่าได้เสียเงินค่าส่งหนังสือแล้ว

    ตั๋วแสตมป์นี้จัดพิมพ์เป็นพระรูปเหมือนของพระองค์ที่ด้านหน้า ใต้พระรูปมีคำว่า Rising ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาไทยว่า ภาณุรังษี ต่อมาโปรดให้สั่งพิมพ์แสตมป์จากอังกฤษ มีขนาดกว้าง 18 มิลลิเมตร ยาว 21 มิลลิเมตร มีกรอบลวดลาย ภายในกรอบมีภาพพระฉายาลักษณ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง

    ประมาณเดือน กรกฎาคม 2524 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่จะให้จัดการไปรษณีย์ขึ้น โดยขอให้โอนงานโทรเลขจากกรมพระกลาโหมมารวมอยู่ด้วยกัน จึงโปรดเกล้าฯ ให้

    พระองค์ร่วมมือกับเจ้าหมื่นเสมอใจราช เตรียมการต่างๆ ซึ่งในชั้นต้นจะต้องจัดทำบัญชีหมายเลขบ้าน ตำบล ที่เรียกว่า ไดเร็กโตริ ก่อน เพราะบ้านเรือนสมัยก่อนไม่มีสิ่งกำหนดบ่งเฉพาะให้ทราบได้แน่นอน จึงยากแก่การค้นหา โดยได้มีประกาศการไปรษณีย์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2424 ใช้เวลาเกือบ 2 ปี จึงสำเร็จ

    เนื่องจากเป็นงานใหญ่ ประกอบกับเจ้าหมื่นเสมอใจราชได้รับพระบรมราชโองการให้ไปรับตำแหน่งพระคลังข้างที่อีกตำแหน่งหนึ่งและป่วยด้วยโรคเรื้อรัง พระองค์จึงเชิญนายเฮนรี่ อาลาบาสเดอร์ มาช่วยงาน จนกระทั่งเปิดการไปรษณีย์ได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2426 มีที่ทำการแห่งแรกสำหรับจังหวัดพระนคร เรียกกันทั่วไปว่า ไปรษณียาคาร ตั้งอยู่ ณ ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนปากคลองโอ่งอ่าง ด้านทิศเหนือ ปัจจุบันถูกรื้อเพื่อใช้ที่สร้างสะพานคู่ขนานกับสะพานพุทธ

    เปิดให้บริการประชาชนในการเดินหนังสือในกรุงเทพฯ ด้านเหนือถึงสามเสน ด้านใต้ถึงบางคอแหลม ด้านตะวันออกถึงสระประทุม และด้านตะวันตกถึงตลาดพลู ปรากฏว่ามีผู้ใช้บริการมากเกินคาด ต่อมาจึงมีการขยายบริการให้สามารถส่งหนังสือถึงกันทั่วราชอาณาจักร กระทั่งประเทศไทยได้เป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์โดยสมบูรณ์ ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2428 ภายหลังประกาศใช้ พระราชบัญญัติกรมไปรสนีย์สยาม จุลศักราช 1247 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2428 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ากิจการไปรษณีย์ของไทยมีกฎหมายที่สมบูรณ์และเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ฯ เสด็จทิวงคต วันที่ 13 มิถุนายน 2471 ด้วยพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) อักเสบ และพระปัปผาสะบวมอักเสบ (ลำไส้ใหญ่)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://72.14.235.104/search?q=cache...ภาณุพันธุวงศ์วรเดช&hl=th&ct=clnk&cd=132&gl=th

    http://www.thanadol.siamforum.com/v...2cadb5a28e1c8f41af6f04b8c8cb4&mforum=thanadol

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนทางมาจาก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ ฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนามเต็มว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตาร ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " นามเดิมในพระองค์คือ "เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์พงษ์อิศรกษัตริย์ " เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔๓ และเป็นลำดับที่ ๒ ในสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์
    เสวยราชสมบัติ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ วันพุธ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน ยังเป็นโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ รวมดำรงสิริราชสมบัติ ๑๖ ปี ๖ เดือน เสด็จสวรรคต ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
    วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ
    พระโอรสธิดา ๘๒ พระองค์
    วัดประจำรัชกาล วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

    พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมด ๘๒ พระองค์ พระนามของพระราชโอรส-ธิดานั้น ทรงเลือกพระราชทานด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงผูกดวงพระชะตากำกับคาถาพระราชทานพรไว้ด้วยทุกพระองค์ มักจะทรงตั้งพระนามพระราชโอรสธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเดียวกัน คล้องจองเป็นชุด เช่น

    * จุฬาลงกรณ์-จันทรมณฑล-จาตุรนต์รัศมี-ภาณุรังษีสว่างวงศ์
    * อุณากรรณ-เทวัญ-สุนันทา-สว่างวัฒนา-เสาวภาผ่องศรี-สวัสดิโสภณ

    # พระมเหสี รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระมเหสีทั้งหมดเพียง ๒ พระองค์เท่านั้น ได้แก่

    * สมเด็จพระนางเจ้า โสมนัสวัฒนาวดี
    สมเด็จพระนางเจ้า โสมนัสวัฒนาวดี ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขึ้นเสวยสิริราชสมบัติ ก็จึงทรงสถาปนาพระนางเป็น สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๔ นับเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรก แต่ก็ได้ทรงดำรงตำแหน่งได้เพียง ๙ เดือนเท่านั้น ก็สิ้นพระชนม์ ทรงมีพระราชโอรส ๑ พระองค์ เรียกกันโดยทั่วไปว่า สมเด็จเจ้าฟ้าโสมนัส สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
    * สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

    [​IMG]

    สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระนามเดิม หม่อมเจ้ารำเพย ศิริวงศ์ ต่อมา คือ พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ และ สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ พระราชเทวีพระธิดาในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ทรงเป็นพระราชนัดดาในรัชกาลที่ 3 ทรงเป็นอัครมเหสีพระองค์ที่สอง ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๗๗ แต่พระองค์ก็ทรงเป็นพระราชินีที่มีพระชนมายุน้อยมาก เริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่พระชนมายุได้เพียง ๑๘ พรรษา และเสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ ตรงกับวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ สิริรวมพระชนมายุได้ ๒๘ พรรษา
    สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ทรงมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๔ พระองค์เช่นเดียวกัน ดังนี้

    * พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) (พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๕๓)
    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี) (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๐๖)
    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี) (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๔๓)
    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์) (พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๔๗๑)

    #เจ้าจอมมารดา

    เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา)

    เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (พ.ศ. ๒๓๘๒-๒๔๔๗) ธิดาท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล)และหลวงอาสาสำแดง (แดง)

    [​IMG]

    * พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย (พ.ศ. ๒๓๙๙-๒๔๑๖)

    [​IMG]

    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ (พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๖๖)

    [​IMG]

    * สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมเหสีพระองค์แรกในรัชกาลที่ ๕) (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๒๓)

    [​IMG]

    * สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา) (พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๙๘)

    [​IMG]

    * สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๖๒)

    [​IMG]

    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ (พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๗๘)

    [​IMG]

    พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย

    [​IMG]

    พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (หม่อมเจ้าหญิงแฉ่ ศิริวงศ์) (พ.ศ. ๒๓๘๑-๒๔๕๗)

    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณิการ์แก้ว กรมขุนขัตติยกัลยา (พ.ศ. ๒๓๙๘-๒๔๒๕)

    [​IMG]

    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พ.ศ. ๒๔๐๖-๒๔๙๐) (พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ)

    [​IMG]

    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์

    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ ธิดาหม่อมเจ้านิ่ม และหม่อมฟัก ปาลกะวงศ์ (พระราชทานเพลิงศพ พ.ศ. ๒๔๗๓)

    * พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส (พ.ศ. ๒๔๐๗-๒๔๕๐)

    [​IMG]


    เจ้าจอมมารดาน้อย

    เจ้าจอมมารดาน้อย (สิ้น พ.ศ. ๒๓๙๕) ธิดาพระอินทรอำไพ

    * พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้าชายนพวงศ์วรองค์เอก อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส) (พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๔๑๐)

    [​IMG]

    * พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๔๐๕)

    [​IMG]

    เจ้าจอมมารดาแพ

    เจ้าจอมมารดาแพ (สิ้น พ.ศ. ๒๔๐๔) ธิดาพระสำราญหฤทัย (อ้าว ธรรมสโรช)
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จ...ภาณุรังษีสว่างวงศ์_กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

    สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    (เปลี่ยนทางมาจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช)
    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

    จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หรือพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๒ ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทย ทรงเสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงเป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์
    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] หนังสือค๊อตข่าวราชการ

    สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงประทับอยู่ ณ ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม ริมประตูศรีสุนทร ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรงศึกษาภาษาอังกฤษร่วมกับเจ้านายที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่นๆ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ต่อมาแม้การสอนภาษาอังกฤษที่นั่นจะยกเลิกไป แต่เจ้านายก็ยังเสด็จไปชุมนุมกันที่ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม
    สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ได้ทรงชักชวนพระเจ้าน้องยาเธอบางพระองค์ ช่วยกันจดข่าวในพระราชสำนักแต่ละวันมาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน เจ้านายที่ทรงร่วมจดข่าวในครั้งเริ่มแรกมี ๖ พระองค์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ หนังสือข่าวเล่มแรกพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "COURT" ซึ่งแปลว่า พระราชสำนัก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๙ จึงใช้ชื่อภาษาไทยว่า ข่าวราชการ ในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า หนังสือค๊อตข่าวราชการ
    สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงดำริให้มีคนเดินส่งหนังสือแก่ผู้รับหนังสือทุกๆ คน ทุกๆ เช้า โดยคิดเงินค่าสมาชิก และเมื่อคนส่งหนังสือไปส่งหนังสือที่บ้านสมาชิกผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะฝากจดหมายส่งถึงสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยจะต้องซื้อแสตมป์ปิดจดหมายของตนที่จะฝากไปส่งและลงชื่อของตนเองทับแสตมป์แทนตราเพื่อให้เป็นแสตมป์ที่จะนำไปใช้อีกไม่ได้ แสตมป์นั้นทำเป็นพระรูปเหมือนอย่างที่พิมพ์ไว้ข้างหน้าหนังสือ COURT ขายดวงละอัฐและให้ซื้อได้จากโรงพิมพ์หนังสือข่าวราชการ ราคาค่าจ้างส่งจดหมายมีอัตราต่างกัน ถ้าอยู่ในคูพระนครชั้นใน ติดแสตมป์หนึ่งอัฐ ถ้านอกคูพระนครออกไป ผู้ส่งต้องติดแสตมป์ ๒ อัฐ

    <!-- start content -->
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=toccolours><TBODY><TR><TH style="BACKGROUND: orange">สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช</TH></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 90%; TEXT-ALIGN: center"><CENTER>[​IMG]
    </CENTER></TD></TR><TR><TD><TABLE style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; MARGIN: 0px auto; WIDTH: 22em"><TBODY><TR><TH style="BACKGROUND: orange" colSpan=3><CENTER>ข้อมูล</CENTER></TH></TR><TR><TD vAlign=top>วันประสูติ</TD><TD colSpan=2>11 มกราคม พ.ศ. 2402</TD></TR><TR><TD vAlign=top>วันทิวงคต</TD><TD colSpan=2>13 มิถุนายน พ.ศ. 2471</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระราชบิดา</TD><TD colSpan=2>พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระราชมารดา</TD><TD colSpan=2>สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี</TD></TR><TR><TD vAlign=top>ชายา</TD><TD colSpan=2>หม่อมเลี่ยม
    หม่อมแม้น
    หม่อมสุ่น
    หม่อมลับ
    หม่อมเล็ก ยงใจยุทธ</TD></TR><TR><TD vAlign=top>ราชวงศ์</TD><TD colSpan=2>ราชวงศ์จักรี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    กิจการไปรษณีย์
    การจัดส่ง หนังสือ COURT และ หนังสือข่าวราชการ ของคนส่งหนังสือที่ทำหน้าที่รับส่งจดหมายระหว่างสมาชิกด้วย นับเป็นจุดเริ่มของการมี บุรุษไปรษณีย์ และการใช้แสตมป์ติดบนจดหมายที่สมาชิกของหนังสือ COURT และหนังสือข่าวราชการส่งถึงกัน จึงเป็นจุดเริ่มของการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้มีการไปรษณีย์และโทรเลขขึ้นในประเทศไทย ทรงเห็นว่าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระทัยใส่ในเรื่องการไปรษณีย์ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ตั้งกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข ขึ้นเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ทั้ง ๒ กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข

    [แก้] พระโอรส พระธิดา


    [แก้] หม่อมเลี่ยม

    [แก้] หม่อมแม้น

    [แก้] หม่อมสุ่น

    [แก้] หม่อมลับ

    • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพัลลัภดนัย ในหม่อมลับ (พ.ศ. 2442-2444)
    [แก้] หม่อมเล็ก ยงใจยุทธ

    หม่อมเล็ก ยงใจยุทธ เป็นพี่สาวของร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ บิดาของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้] อ้างอิง

    • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.debsirin.or.th/history/mnew2-2.html




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="75%" border=0><TBODY><TR><TD height=207><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="11%" align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="30%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="33%">[​IMG]</TD><TD width="9%">[​IMG]</TD><TD width="58%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ทั้ง2อนุสาวรีย์มีประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรหลังละ ๑องค์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารของจาตุรนต์อนุสสารีเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ ราชสกุลจักรพันธุ์ภาณุรังษีอนุสสรเป็นที่บรรจุพระสรีรางคารของ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และ ราชสกุลภาณุพันธุ์


    </PRE>





    </PRE></TD></TR></TBODY></TABLE></P>
     
  11. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ..................................................................................

    อันนี้.. ถือเสียว่า.. เป็นการพูดคุยกัน หาข้อมูลกัน นะครับ

    ภาพที่โพสนี้ ไม่แน่ใจว่า.. เจตนา จะเป็นการนำภาพมา

    เพื่อเทียบเคียงกับ....
    ภาพที่หลวงปู่ฯ วาดขึ้นมา โดยท่านเอง ไหมครับ....

    หรือว่า เจตนา จะเผยแผ่พระบารมีของ....

    สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
    เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

    ที่เนื่องด้วยการไปรษณีย์ ครับ

    (ที่ งง เพราะว่า ในเนื้อหาที่คุยกัน ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยกับไปรษณีย์ไทย)

    ..................................................................................
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder id=post732759 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"> วันนี้, 07:48 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #543 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>guawn<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_732759", true); </SCRIPT>
    สมาชิก ยอดนิยม
    สมาชิกยอดฮิต

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 07:48 PM
    วันที่สมัคร: Dec 2005
    ข้อความ: 8,191 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 12,872 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 27,683 ครั้ง ใน 5,362 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 3604 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_732759 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ คมกฤช [​IMG]
    พูดมากเสียมาก....ไม่พูดไม่เสีย......5555
    ....ศรัทธาในปฏิปทาของท่านดีกว่า ธรรมะพระเจ้าหนะของจริงลป.ท่านว่าไว้
    ..จะเอาอะไรกะอดีต อนาคตอีกละท่านทั้งหลาย..

    ...เดี๋ยวจะเปิดบัญชีให้ร่วมสร้างมณฑปครอบรอยพระบาทของท่านแล้วนะครับ อย่าลืมมาช่วยกันละ
    ....ใครอยากได้เกศา ลป.ไปบูชาก็งานนี้แหละครับ....

    ....ตฤณ.....
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อนุโมทนา สาธุ ถูกต้องแล้วครับ
    <!-- / message --><!-- sig --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    ภาพที่หลวงปู่ฯ วาดเอง

    .......................................................................................................................................................................................................
     
  14. มหาหินทร์

    มหาหินทร์ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2005
    โพสต์:
    21,454
    ค่าพลัง:
    +181,786
    พูดมาก เสียมาก....ไม่พูด ไม่เสีย......

    ...................................................................................

    จริงครับ.. จริงด้วยครับ เห็นด้วย อย่างที่สุด....

    เมื่อไม่พูด ก็จะไปเสียได้อย่างไร ครับ....

    แต่ไม่แน่น่ะ.. คนเป็นใบ้ ไม่พูดเลย ก็มีข้อที่เสียจนได้

    นี่แหละครับ "คน" ที่ยังไม่ใช่ "มนุษย์" ที่จะเจริญสู่ "อริยชน" ใช่ไหม..

    พูด น่ะ ผมว่าก็ต้องพูดบ้าง ไม่ใช่ ไม่พูดเลย....

    สุ.. จิ.. ปุ.. ลิ
    ฟัง.. คิด.. ถาม.. เขียน

    ถาม.. นี่ ต้องพูดใช่ไหม..

    เมื่อไม่เข้าใจ ก็ต้องถามกันบ้างแหละ ครับ.

    ...................................................................................
     
  15. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    มาเพิ่มเติม อายตนะ 6 ครับ
    อายตนะหก
    [​IMG]
    พระองค์ทรงแสดงธรรมกับภิกษุ ให้เห็นว่าอาตยตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานั้น มันเหมือนการเอาสัตว์ 6 ชนิดมาผูกเชือกไว้ แล้วรวบมัดมันไว้ตรงกลาง งูมันก็จะเข้ารู จระเข้ก็จะลงน้ำ นกก็จะบินขึ้นฟ้า ลิงก็จะขึ้นต้นไม้ พวกหมู หมา กวาง เก้ง มันก็จะเข้าป่าเข้าดงไปตามเรื่องของมัน ก็เหมือนกับตาของเรา มันก็พยายามชอนไชหารูป หูก็พยายามที่จะหาเสียง ลิ้นก็พยายามที่จะหารส มันพยามยามดึงทุกวิถีทาง ฉะนั้น เราจะต้องคอยกระตุกเชือกไว้ตรงกลาง คือ มีสติคอยดึงตา ดึงหู ดึงจิต ไม่ให้มัน ไปยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส เพราะฉะนั้นชีวิตและวันคืนของเราก็คือคอยดึงเชือกไว้ แล้วชีวิตของเราก็จะสงบเย็น เพราะฉะนั้นต้องระวัง เรื่องนี้ท่านสอนไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม

    อ้างอิงจากhttp://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/2/indexpic80.htm


    ตอบข้อสงสัยของพราหมณ์

    [​IMG]
    มีพราหมณ์คนหนึ่ง ได้ไปเฝ้ากราบทูลพระพุทธเจ้าในทำนองว่า พระพุทธองค์คงจะทำอะไรไม่มีขั้นมีตอน และได้พูดขึ้นว่า
     
  16. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อีกซักบทครับ บทนี้แถมพิเศษ เพื่อการพิจารณาใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำอีก บางทีธรรมจะเกิดก่อต้องพิจารณาใคร่ครวญซ้ำๆครับ
    กาลามสูตร

    [​IMG]
    คราวหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงเดินผ่านมาทางหมู่บ้านที่เรียกว่า กาลามชน หรือหมู่บ้านกาลามะ หมู่บ้านนี้มักจะมีคนเดินผ่านมา ศาสดาต่าง ๆ มาสอนกันจนบ้านมึนหัวไม่รู้จะเชื่อใครถูก จนกระทั่งพระพุทธองค์ได้มาพูดถึงหลักของความเชื่อ 10 ประการ ที่เรียกกันว่า กาลามสูตร คือ พระองค์ตรัสว่า..อย่าได้เชื่อถือถ้อยคำที่ได้ยิน ได้ฟัง โดยฟังตาม ๆ กันมา
    ข้อที่สอง ข้อที่สาม อย่าได้เชื่อถือโดยตื่นข่าว ได้ยินขึ้นว่าอย่างนั้นอย่างนี้
    ข้อที่สี่ อย่าได้เชื่อถือโดยอ้างเอาตำรา เขาอ้างว่ามีอยู่ในตำรา ก็เชื่อไป
    ข้อที่ห้า อย่าเชื่อถือโดยเดาเอาเอง คาดคะเนเดาเอา
    ข้อที่หก คือคาดคะเนและเดาเอา
    ข้อที่เจ็ด อย่าได้เชื่อถือโดยความตรึกตามอาการ ว่าอาการมันอย่างนี้ มันน่าจะเป็นอย่างนี้
    ข้อที่แปด อย่าได้เชื่อถือโดยชอบใจว่ามันตรงกับทิฏฐิของเรา
    ข้อที่เก้า อย่าได้เชื่อถือโดยผู้พูดนั้นเป็นผู้ควรที่จะเชื่อได้
    ข้อที่สิบ อย่าได้เชื่อถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
    แล้วจะเชื่อถืออย่างไร ก็เรียกว่ามีหลักอยู่ว่า เชื่อถือไปแล้วกุศลธรรมเกิด ทำไปแล้ว เชื่อไปแล้วนี้ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เรียกว่าไม่ต้องเชื่อทั้งตามตำรา หรือใครที่มาพูด แต่ไม่ใช่ไม่ฟังนะ ไม่เชื่อกับไม่ฟังนี่คนละอย่าง บางคนนี่ แหม มันทั้งไม่เชื่อ ไม่ฟัง นี่ก็ไม่ได้เรื่องเหมือนกัน ท่านบอกให้ฟังแต่ว่าอย่าเพิ่งเชื่อโดยอาการอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ เชื่อเพราะเขาพูด ๆ กันมา ได้ยินเขาว่า เดาเอา คาดคะเนเอา ว่าสมณะผู้นี้เป็นครู เป็นอะไรของเรา อย่างนี้เป็นต้น ก็อย่าเพิ่งเชื่อ หมายความว่าฟังไว้ก่อน แล้วถ้าใคร่ครวญดูแล้วกุศลธรรมเกิด ทำดูแล้วกุศลธรรมเกิด ค่อยเชื่อทีหลัง

    อ้างอิงจาก http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/2/indexpic116.htm
     
  17. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    นานมาแล้วผมไปเจอหนังสือ(ในร้านนะครับ)เล่มหนึ่งชื่อ วิมุตติมรรค ชอบมากเลยครับ ใช้ภาษา รจนาได้งดงามและง่ายแก่การอ่าน บทที่ยกมาโพสต์ไว้ปกหลังนอกของหนังสือก็จับใจ ตอนท้ายบทมีว่า

    พระพุทธเจ้ายังตรัสอีกว่า.....
    ภิกษุทั้งหลาย มีปัจจัยสองประการที่ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ
    ......

    คือ ปรโตโฆสะ( ฟังจากผู้อื่น)
    และโยนิโสมนสิการ (พิจารณาโดยแยบคาย)


    ผมชอบมากๆเลยครับ พอนึกขึ้นมาได้เลยเอามาฝากไว้ครับ


    โมทนาสาธุ
    [b-wai]
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    ถูกต้องครับ สุ จิ ปุ ลิ ฟัง คิด ถาม เขียน แต่ถูกบางเรื่อง ไม่ถูกบางเรื่อง

    แต่ก่อนจะไปสู่จุดนั้น น่าจะมาสาบานกันก่อนดีกว่าครับ ง่ายๆไม่ยาก ตามนี้นะครับ

    บุคคลที่ใช้ชื่อว่า มหาหิน ในเว็บพลังจิต และบุคคลที่ใช้ชื่อว่า sithiphong ขอตั้งจิต ,ตั้งสัจจะอธิษฐานและสาบาน ต่อ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ,พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ,พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ,หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ,หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ,ครูบาชัยยะวงศา ,เทพเทวดาทั้ง 16 ชั้นฟ้าทุกๆพระองค์

    ถ้าข้อมูลที่คุณมหาหินนำมาลงเรื่องครูบาชัยยะวงศา บอกว่าท่านเป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญมาเกิดเป็นครูบาชัยยะวงศาในอีกชาติต่อมาจริง และข้อมูลที่คุณsithiphong บอกว่าท่านเจ้ากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พระองค์ท่านไม่ได้เกิดมาเป็นครูบาชัยยะวงศา แต่ยังดำรงพระชนมชีพอยู่เป็นพระภิกษุ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรไม่จริง ขอให้คุณมหาหิน จงประสบกับความสำเร็จ ,ความรุ่งเรื่องตลอดไปจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน และขอให้คุณsithiphong จงประสบกับความทุกข์และอยู่ในนรกภูมิตลอดกาล

    แต่ถ้าข้อมูลที่คุณมหาหินนำมาลงเรื่องครูบาชัยยะวงศา บอกว่าท่านเป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญมาเกิดเป็นครูบาชัยยะวงศาในอีกชาติต่อมาไม่จริง และข้อมูลที่คุณsithiphong บอกว่าท่านเจ้ากรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พระองค์ท่านไม่ได้เกิดมาเป็นครูบาชัยยะวงศา แต่ยังดำรงพระชนมชีพอยู่เป็นพระภิกษุ เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรจริง ขอให้คุณมหาหินจงประสบกับความทุกข์และอยู่ในนรกภูมิตลอดกาล และขอให้คุณsithiphong จงประสบกับความสำเร็จ ,ความรุ่งเรื่องตลอดไปจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน

    การตั้งจิต ,ตั้งสัจจะอธิษฐานและการสาบานในครั้งนี้ ถ้าคุณมหาหินและคุณsithiphong ยินยอมการตั้งจิต ,ตั้งสัจจะอธิษฐานและสาบานทั้งสองคน จึงจะมีผลของการตั้งจิต ,ตั้งสัจจะอธิษฐานและการสาบานให้มีผลทั้งสองท่าน และขอให้การตั้งจิต ,ตั้งสัจจะอธิษฐานและการสาบานนี้ ไม่มีกรรมต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่รู้จักกันตลอดไป

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    ผมได้ pm ข้อความนี้ไปหาคุณมหาหินแล้วครับ

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

แชร์หน้านี้

Loading...