สอบถามเรื่องการเพ่งภาพพระ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย SiamK, 22 มกราคม 2013.

  1. SiamK

    SiamK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +54
    คือผมสนใจการเพ่งภาพพระครับ ตอนแรกก็มองแล้วพยายามจำ สุดท้ายมีอยู่รูปหนึ่งที่จำได้ดีคือรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ครับ รบกวนถามว่าการจดจำรูปหลวงปู่ได้เพียงครึ่งองค์ แบบนี้สามารถทำได้ไหม และมีข้อแตกต่างกับการจดจำได้ครบทั้งองค์หรือไม่ครับ ผลของการปฏิบัติจะแตกต่างกันหรือไม่

    ปล. ผมพึ่งเริ่มทำนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ _/|\_
     
  2. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    การเพ่งภาพพระจะใช้แบบเต็มองค์หรือครึ่งองค์ก็ได้ครับ ซึ่งต้องกำหนดให้ชำนาญจนสามาถควบคุมให้เล็กใหญ่ หรือมีขึ้นได้ทั้งหลับตาและลืมตา
    จุดหมายแห่งการฝึกแบบนี้(การกำหนดนิมิตใดๆให้เกิดขึ้นภายในจิต)เพื่อให้ใจสงบนิ่งแน่วแน่
    เกิดเป็นสมาธิดับกุศลจิตภายในจิตนั่นเอง
    หากใจสงบเป็นสมาธิแน่วแน่ในระดับ1นิมิตก็จะหายไปเป็นธรรมดาครับ
    ให้พิจารณาต่อถึงความว่างคือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นตั้งอยุ่ดับไปไม่มีอะไรน่ายึดถือ
    สุดท้ายก็จบลงที่ไตรลักษณ์ จนใจเกิดความเบิกบานบริสุทธิ์ตั้งตระหง่านขึ้นตรงหน้าครับ....
    โมทนาธรรมครับ​
     
  3. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเรื่องอย่างนี้นะครับ ให้อยู่กับลมหายใจให้มากที่สุด ลองศึกษาดูจากพุทธวจนได้ที่นี่นะครับพุทธวจนสถาบัน : วัดนาป่าพง ขอให้โชคดีครับ
     
  4. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    การฝึกใจให้สงบเป็นสมาธิมีวิธีการหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงครับ (เสมือนจุดๆหนึ่งของวงกลมมีทางเข้าถึงทุกองศา)
    ถนัดแบบไหนวิธีใดก็ลองปฏิบัติพิสูจน์ดูครับ..​
     
  5. nai_Prathom

    nai_Prathom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +694
    ในความเห็นของผม ขอเพิ่มเติมประเด็นไว้นิดนึง
    นักปฏิบัติ เมื่อเริ่มปฏิบัติสมาธิในช่วงแรกๆ จะเจอปัญหาอะไรมากมาย
    แม้กระทั่งทำไปแล้วก็ไม่ก้าวหน้า หรือก้าวหน้าไปแล้วก็ถอยหลัง
    ต้องทำใจเย็นๆค่อยค้นคว้าไป

    มีข้อแนะนำว่าต้องใช้ความเพียรและความอดทนอย่างยิ่งครับ จึงจะตั้งไข่ได้
     
  6. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ทำอะไรทำตามพระพุทธองค์ไม่ดีกว่าหรือ "ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน"

    "ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญาตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียนไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า "ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?" ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฎเธอก็ทำให้ปรากฎได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้"


    ทรงบอกวิธีแกไขความผิดเพี้ยนในคําสอน
    ๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ผูมีอายุ ! ขาพเจาไดสดับรับมาเฉพาะ
    พระพักตรพระผูมีพระภาควา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีสงฆอยูพรอมดวย
    พระเถระ พรอมดวยปาโมกข ขาพเจาไดสดับมาเฉพาะหนาสงฆนั้นวา “นี้เปนธรรม
    นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีภิกษุผูเปนเถระอยู
    จํานวนมาก เปนพหุสูต เรียนคัมภีร ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ขาพเจาไดสดับมา
    เฉพาะหนาพระเถระเหลานั้นวา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    ๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กลาวอยางนี้วา ในอาวาสชื่อโนนมีภิกษุผูเปนเถระอยู
    รูปหนึ่ง เปนพหุสูต เรียนคัมภีร ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ขาพเจาไดสดับมา
    เฉพาะหนาพระเถระรูปนั้นวา “นี้เปนธรรม นี้เปนวินัย นี้เปนคําสอนของพระศาสดา”...
    เธอทั้งหลายยังไมพึงชื่นชม ยังไมพึงคัดคานคํากลาวของผูนั้น พึงเรียนบทและ
    พยัญชนะเหลานั้นใหดี แลวพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย
    ถาบทและพยัญชนะเหลานั้น สอบลงในสูตรก็ไมได เทียบเขาในวินัยก็ไมได
    พึงลงสันนิษฐานวา “นี้มิใชพระดํารัสของพระผูมีพระภาคพระองคนั้นแนนอน และ
    ภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลาย พึงทิ้งคํานั้นเสีย
    ถาบทและพยัญชนะเหลานั้น สอบลงในสูตรก็ได เทียบเขาในวินัยก็ได พึงลง
    สันนิษฐานวา “นี้เปนพระดํารัส ของพระผูมีพระภาคพระองคนั้นแนนอน และ
    ภิกษุนั้นรับมาดวยดี” เธอทั้งหลาย พึงจํามหาปเทส... นี้ไว.
    มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2013
  7. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    การเพ่งนั้น ไม่จำกัดว่าต้องเพ่งอะไร
    ขออย่างเดียว จิตมีสมาธิกับภาพนั้นๆ แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว
    ..การมีสมาธินั้นทำง่าย แต่การที่จะเข้าถึงสมาธิจริงๆนี่ซิ.....ยาก
     
  8. SiamK

    SiamK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +54
    ขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยตอบคำถาม และชี้แนวทางให้กับผมครับ ช่วงปิดเทอมจะมีเวลาว่างหลายวัน ผมว่าจะไปปฏิบัติธรรมนะครับ แต่ช่วงนี้ถ้ามีเวลาว่างจากภาระกิจ ก็พยายามทำไปก่อนเรื่อยๆนะครับ ตอนนี้ก็พยายามรักษาศีล5 ให้ได้
     
  9. lagus

    lagus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +155
    ทำไมต้องไปเพ่งภาพหละครับ เอาจิตมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกง่ายกว่าไหม พระพุทธเจ้าสอนเน้นให้เอาจิตมาไว้ที่กายไม่ได้เอาไว้ที่วัตถุ ซึ่งเอาจิตมารู้ลมหายใจเข้าออกได้ควบ2เลย ทั้งสมถวิปัสสนา เลยทีเดียว
    คำแนะนำ : แต่ต้องเห็นการเกิดดับของจิตเราถึงจะได้ส่วนของ วิปัสสนา(ปัญญา) ไม่อย่างนั้นถ้าเอาแค่รู้ลมอย่างเดียวไม่พิจารณาการเกิดดับของจิตที่ไปคิด โน่น นี่ นั้น ว่ามันเกิด มันดับ ก็จะได้แต่ สมถะ อย่างเดียวนะครับ
     
  10. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    สาธุๆๆๆๆๆๆ
     
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    กสินพุทธวจนไม่มีในบาลีสยามรัฐ เอามาจากไหนกัน
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ผมว่าคุณอาจมีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้นะครับ วัดนาป่าพง ท่านอาจนำเสนอในส่วนของ อานาปานุสสติกรรมฐานเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าสายการปฏิบัติของวัดเขาเป็นแบบนั้น ไม่ได้หมายความว่าที่วัดนาป่าพงเขาไม่ได้นำมาขึ้นนำมาเสนอเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสอน และความเข้าใจที่ว่าสิ่งที่นอกเหนือจากวัดนาป่าพงเอาขึ้นเว็บ เอามานำเสนอ เป็นสิ่งที่บัญญัติใหม่เป็นของสาวก อันนี้ผมว่าน่าจะมองแคบไปหน่อยนะครับ ถ้าคุณมีศรัทธาในวัดนาป่าพงคุณก็รักษาศรัทธาของคุณเข้าไว้ให้มาก แต่โดยการศึกษาไม่รอบแล้วไปกล่าววิธีการปฏิบัติแบบอื่นว่าพระท่านไม่สอนผมว่าเป็นอะไรที่จะทำลายการปฏิบัติของคนอื่นมากกว่านะ....

    ถ้าคุณสนิทสนมกับท่านหลวงพ่อวัดนาป่าพงท่านมาก ผมว่าคุณกลับไปถามหลวงพ่อท่านดีกว่านะ ว่าพระสูตรที่ผมยกมาข้างล่างนี่พระไตรปิฏกที่วัดท่านมีไม แล้วพระพุทธเจ้าท่านสอนหรือไม่.....


    [​IMG]

    มหาสกุลุทายิสูตร


    สูตรว่าด้วยสกุลุทายิปริพพาชก สูตรใหญ่

    ๑ . พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นปริพพาชกที่มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ในปริพพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง หลายคนด้วยกัน เช่น อันนภารปริพพาชก วรตรปริพพาชก สกุลุทายิปริพพาชก และปริพพาชกที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ . ในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเสด็จไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้เสด็จแวะ ณ อารามของปริพพาชกนั้น สกุลุทายิปริพพาชกทูลเชิญให้ประทับ ณ อาสนะที่ปูไว้ ตนเองนั่งบนอาสนะที่ต่ำกว่า แล้วเล่าถวายถึงข้อความสนทนากับสมณพราหมณ์ลัทธิต่าง ๆ ซึ่งประชุมกันในศาลาฟังควาวมคิดเห็น ( ตามศัพท์ กุตูหลศาลา แปลว่า ศาลาตื่นข่าว แต่อรรถกถาแสดงไปในรูปว่า คนส่วนใหญ่ประชุมกันเพื่อจะฟังว่า ใครจะพูดอะไร ) ในวันก่อน ๆ ที่ว่า เป็นลาภของชาวอังคะ , มคธะ ที่มีสมณพราหมณ์เจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีคนรู้จัก มียศ เป็นเจ้าลัทธิ อันคนส่วนมากนับถือกันว่าเป็นผู้ดีงาม จำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์. แล้วระบุชื่อครูทั้งหกมีปูรณกัสสป เป็นต้น มีนิครนถนาฏบุตรเป็นที่สุดและพระสมณโคดม แล้วได้เกิดปัญหาว่า ในท่านเหล่านี้ ใครเป็นผู้ที่สาวกสักการะเคารพบูชาอาศัยอยู่.

    ๒. แล้วได้ทูลเล่าต่อไปว่า บางคนได้พูดถึงเจ้าลัทธิทั้งหกแต่ละคนว่า สาวกได้คัดค้านหาว่าปฏิบัติผิด ไม่แสดงความเคารพสักการะ แต่เมื่อกล่าวถึงพระสมณโคดมก็พากันสรรเสริญว่า ในขณะที่ทรงแสดงธรรมถ้าสาวกรูปใดไอ ก็จะมีเพื่อนพรหมจารีใช่เข่ากระตุ้นไม่ให้ทำเสียง จึงไม่มีเสียงจามเสียงไอจากสาวกของพระสมณโคดมในขณะที่ทรงแสดงธรรม. หมู่มหาชนประสงค์จะฟัง ก็จะได้ฟังตามพอใจ. แม้สาวกของพระสมณะโคดมที่บอกคืนสิกขาสึกออกไป ก็กล่าวสรรเสริญศาสดา สรรเสริญพระธรรม สรรเสริญพระสงฆ์ เป็นคนทำงานวัดบ้าง เป็นอุบาสกบ้าง สมาทานศึกษาในสิกขาบท ๕ ( ศีล ๕) พระสมณโคดมจึงเป็นผู้อันสาวกสักการะเคารพนับถือบูชา อาศัยอยู่อย่างนี้.

    ๓. ตรัสถามว่า ท่านเห็นสาวกของเราเห็นธรรมกี่อย่างในเราจึงสักการะเคารพ เป็นต้น. สกุลุทายิปริพากทูลว่า ๕ อย่าง คือพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ ๑. มีอาหารน้อย พรรณนาคุณแห่งความเป็นผู้มีอาหารน้อย ๒. ถึง ๔ ( รวม ๓ ข้อ ) สันโดษด้วยจีวร ( เครื่องนุ่งห่ม), บิณฑบาต ( อาหาร ) และเสนาสนะ ( ที่นอนที่นั่งหรือที่อยู่อาศัย ) ตามมีตามได้ พรรณนาคุณแห่งความ+สันโดษนั้น ๆ ๕. เป็นผู้สงัด พรรณนาคุณแห่งความสงัด.

    ๔. ตรัสตอบชี้แจงพึงธรรม ๕ ประการที่สาวกเห็นแล้วสักการะเคารพ เป็นต้น ในพระองค์โดยละเอียดแล้วตรัสชี้ข้อธรรมอื่นอีก ๕ ข้อ คือ ๑. เห็นว่าทรงศีล ๒. เห็นว่าทรงแสดงธรรม เพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่เพื่อไม่รู้ยิ่ง? มีเหตุ? มิใช่ไม่มีเหตุ? มีปาฏิหารย์ มิใช่ไม่มีปาฏิหารย์ ๓ . เห็นว่าทรงปัญญา ๔. เห็นว่าทรงตอบปัญหาเรื่องอริยสัจจ์ ๔ อย่างน่าพอใจ ๕. เราได้บอกปาฏิปทาแก่สาวกของเรา สาวกของเราปฏิบัติตามแล้ว ก็เจริญสติปัฏฐาน ( การตั้งสติ ) ๔ อย่าง, สัมมัปปธาน ( ความเพียรชอบ ) ๔ อย่าง , อิทธิบาท ( ธรรมะให้บรรลุความสำเร็จ ) ๔ อย่าง, อินทรีย์ ( ธรรมะอันเป็นใหญ่มีศรัทธา เป็นต้น ) ๕ อย่าง, พละ ( ธรรมะอันเป็นกำลัง ) ๕ อย่าง , โพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ ) ๗ อย่าง, อริยมรรค ( ทางอันประเสริฐ ) มีองค์ ๘ , วิโมกข์ ( ความหลุดพ้น ) ๘ อย่าง, อภิภายตนะ ( อายตนะอันเป็นใหญ่ ) ๘ อย่าง ( มีความสำคัญในรูปภายในเห็นรูปภายนอกครอบงำรูปเหล่านั้น รู้เห็น เป็นต้น ), กสิณายตนะ ( อายตนะคือกสิณ ) ๑๐ อย่าง ( มีปฐวีกสิณคือกสิณมีดินเป็นอารมณ์ เป็นต้น ) , ฌาน ๔ ( มีฌานที่ ๑ เป็นต้น ), รู้ว่ากายมีรูปไม่เที่ยง มีความแตกดับไปเป็นธรรมดา วิญญาณอาศัยเนื่องกับกายนั้น, นิรมิตกายอื่นได้ ( มโนยิทธิ – ฤทธิ์ทางใจ ), แสดงฤทธิ์ได้ , มีหูทิพย์, รู้ใจคนอื่น ( เจโตปริยญาณ), ระลึกชาติได้ , มีตาทิพย์ หรือเห็นความตายความเกิด, ได้บรรลุความหลุดพ้นเพราะสมาธิและเพราะปัญญา อันไม่มีอาสวะ ( ข้อที่ ๔ นี้ยาวมากเพราะปรารภธรรมะที่สาวกเจริญและได้บรรลุหลายอย่าง).
    สกุลุทายิปริพพาชกก็ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค.


    ที่มา พระไตรปิฏก ฉบับ สำหรับประชาชน มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน้า ๔๓๙.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2013
  13. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    [​IMG]


    กสิณสูตร
    [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการ
    เป็นไฉน คือ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้อง
    ขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณ ... บุคคล
    ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณ ... บุคคลผู้
    หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปีตกสิณ ... บุคคลผู้
    หนึ่งย่อมชัดซึ่งโลหิตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณ ... บุคคลผู้
    หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสิณ ในเบื้อง
    บน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิด
    แห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้แล ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบา

    ท่านก็เข้าจตุตถฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ แล้วแต่งตั้งเสนาสนะแม้สำหรับภิกษุเหล่านั้นโดยแสงสว่างนั้นนั่น

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ วินัยปิฎกที่ ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค

    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ เป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ
    เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ
    เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็น
    ฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯเป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯเป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
    ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
    โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูมิ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌานฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ฯลฯเป็นอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นอย่างกลาง ฯลฯ เป็นอย่างประณีต ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดี ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นฉันทาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯเป็นวิริยาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิริยาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯเป็นจิตตาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดีอย่างประณีต ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างต่ำ ฯลฯเป็นวิมังสาธิบดีอย่างกลาง ฯลฯ เป็นวิมังสาธิบดีอย่างประณีต อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์

    ปฐมฌาน
    เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
    มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.
    ทุติยฌาน
    เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่.
    ตติยฌาน
    เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
    ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่.
    จตุตถฌาน
    เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
    บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
    แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้างร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทส พร้อมทั้งอาการ ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ฉะนั้น.
    จุตูปปาตญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
    แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติ
    ของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีมีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
    มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้วแสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สองของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
    อาสวักขยญาณ
    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควร
    แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะเมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาทมีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ วินัยปิฎกที่ ๑ มหาวิภังค์ ปฐมภาค

    .........................................................................................

    ท่านต้องฝึกฌาน
    โดยเอากสิณเป็นอารมณ
    ไปตามลำดับให้ได้ขอรับ
    ผลเบื้องต้นคือความสงบพื้นฐาน
    และ ฤทธิ์ต่างๆ จากกสิณ

    ไม่ได้เข้ามาเสียนาน
    กราบสวัสดีพระอาจารย์ แม่นิษ น้านิดและญาติธรรมทุกท่าน
    เห็นมีญาติธรรมท่านต่างๆเข้ามามากมาย
    รู้สึกชื่นใจ
    กราบอนุโมทนา

    ขอรับ
     
  14. toseal

    toseal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +618
    ผมคิดแทน จขกท ครับ ประมาณว่าเวลาเราอ่านหนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือมันน่าเบื่อ จะหลับ
    ถ้ามีรูปบ้าง ก็น่าสนใจอ่านนะ ฮ่าๆ
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    หาไม่เจอก็แสดงว่าสิ้นความสามารถของคุณแล้ว งั้นผมก็แนะนำให้คุณไปถามหลวงพ่อวัดนาป่าพงเถอะครับ....เจริญธรรม.....
     
  16. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ขอบคุณครับ
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ค้นเจอแล้วนะครับ โมทนาสาธุบุญครับ
     
  18. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    ดิฉันเคยอธิบายเรื่องการเข้าฌาณด้วยท่านอนและเพ่งภาพพระไว้ในกระทู้นี้ไปอ่านได้ ขออธิบายเพิ่มเต็มว่าการเพ่งภาพพระเป็นวิธีที่ผสมผสานมาจาก มโณยิทธิ และกสิณ เหมือนกสิณคือการใช้เพ่ง จำ เหมือนมโณยิทธิคือ การใช้จินตนาการสร้างนิมิต แต่เป็นการฝึกด้วยตัวเองเพราะเราไม่สามารถหาอาจารย์มานั่งนำเราเข้าออกฌาณได้ตลอดเวลา ในกระทู้ดิฉันจะบอกเคล็ดการสร้างภาพนิมิตพระให้ง่ายทำอย่างไร ไปอ่านตามลิงค์ได้คะ

    http://palungjit.org/threads/เคล็ดลับการเข้าฌานสี่-ในท่านอน-ทำตามวิธีนี้-จะง่าย.418902/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2013
  19. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    เล่าปัง*, newamazing


    อ้าวๆ อริยะสิกทาคามี ผู้สำเร็จควาใคร่ด้วยตัวเองแบบไม่ผิดศีล

    แม้เป็น อรหันต์ก็สามารถช่วยตัวเองได้ จุกกรู๊ๆ ๆ ๆ เพราะว่า ตอน
    เป็นสิกทาคามี ก็รับรองเองเสร็จสรรพว่า ไม่ผิดศีล แล้วยังอ้างว่า
    มี พุทธวัจนะ พระสูตรรับรองแน่นอน คำสอนตนเท่านั้น ที่ใช้สอน
    ได้

    วันนี้ ท่านอริยจุกกรู๊ ช่วยตัวเองไปกี่รอบ ฮับ

    ชอบมามากเลย ตอนที่คุณบอกว่า บรรลุธรรมครั้งแรกด้วยการ หอบแห๊กๆ
    ตายเป็นตาย ตับ ตับ ตับ พอสลบเหมือนเห็นดวงเห็นดาว แหม หายสงสัย
    ความสุขแท้เช่นนี้หนอ โสดาบันหัวจุกกรู๊เปียกยังไม่ทันแห้งเลย
     
  20. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    เล่าปัง*, newamazing


    อ้าวๆ อริยะสิบทาคามี ผู้สำเร็จควาใคร่ด้วยตัวเองแบบไม่ผิดศีล

    แม้เป็น อรหันต์ก็สามารถช่วยตัวเองได้ จุกกรู๊ๆ ๆ ๆ เพราะว่า ตอน
    เป็นสิบทาคามี ก็รับรองเองเสร็จสรรพว่า ไม่ผิดศีล แล้วยังอ้างว่า
    มี พุทธวัจนะ พระสูตรรับรองแน่นอน คำสอนตนเท่านั้น ที่ใช้สอน
    ได้

    วันนี้ ท่านอริยจุกกรู๊ ช่วยตัวเองไปกี่รอบ ฮับ

    ชอบมากเลย ตอนที่คุณบอกว่า บรรลุธรรมครั้งแรกด้วยการ หอบแห๊กๆ
    ตายเป็นตาย ตับ ตับ ตับ พอสลบเหมือดเห็นดวงเห็นดาว แหม หายสงสัย
    ความสุขแท้เช่นนี้หนอ โส..บันหัวจุกกรู๊เปียกยังไม่ทันแห้งเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...