จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    “ชายแก่กับเด็กน้อย”​

    กาลครั้งหนึ่ง มีชายแก่และเด็ก กำลังออกเดินทางไปยังเมืองเมืองหนึ่ง โดยมีม้าเป็นพาหนะใช้ในการเดินทาง

    ในการเดินทางครั้งนี้ ชายแก่ได้ให้เด็กน้อยนั่งบนม้าและตนเองจูงม้าเดินทางไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงหมู่บ้านหมู่บ้านหนึ่ง ก็มีคนตะโกนขึ้นมาว่า ‘มาดูนี่สิ! เด็กให้คนแก่เดินจูงม้า ช่างน่าเวทนาจริงๆเลย’เมื่อได้ยินดังนั้น เด็กน้อยจึงให้ชายแก่ขึ้นนั่งบนม้า แล้วตนเองก็จูงม้า ผ่านหมู่บ้านนั้นไป

    ต่อมา ต้องเดินทางผ่านหมู่บ้านอีกหมู่บ้านหนึ่ง ทั้งสองพร้อมทั้งม้าก็เข้าสู่หมู่บ้าน ทันใดนั้นก็มีคนตะโกนขึ้นมาว่า ‘ตาแก่นี่แย่จริงๆเลย ตัวเองนั่งสบายบนหลังม้า แต่กลับให้เด็กจูงม้า แทนที่จะให้เด็กนั่ง แย่จริงๆเลย’ เมื่อได้ยินดังนั้น ชายแก่กับเด็กน้อยก็ตกลงกันว่า จะนั่งบนม้าด้วยกัน

    เมื่อต้องผ่านหมู่บ้านถัดไป ชาวบ้านก็ตะโกนขึ้นมาว่า ‘อะไรกันนี่! พวกคนชอบทรมานสัตว์ ม้าต้องทนแบกน้ำหนักของเจ้าทั้งสองคน ช่างแย่เสียจริงๆ ไม่มีความเมตตากรุณาเอาเสียเลย’ เมื่อได้ยินดังนั้น ชายแก่กับเด็กน้อย จึงลงม้าจากม้า แล้วจูงม้าเดินไปพร้อมๆกัน

    ต่อมาทั้งสองต้องผ่านอีกหมู่บ้านหนึ่ง ก็มีคนตะโกนขึ้นมาว่า ‘เจ้าสองคนนี้ช่างโง่เสียเหลือเกิน มีม้าแต่กลับไม่นั่ง พวกเจ้าเพี้ยนไปแล้วหรือไง’ ชายแก่และเด็กน้อย เมื่อได้ยินดังนั้น ก็ไม่รู้ว่าต้องทำตัวเช่นไรอีกแล้ว เพราะไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็มีคนว่าตลอด เมื่อผ่านหมู่บ้านทั้งหลายมา ทำให้ทั้งคู่ได้คิดว่า ไม่ว่าทั้งสองจะทำอย่างไรนั้น ก็ต้องมีคนมีความคิดขัดแย้งกับตนอยู่ดี ดังนั้น ทั้งคู่จึงตัดสินใจ ใช้วิธีแรก ซึ่งเป็นวิธีที่ทั้งคู่พอใจและตกลงใจกันมากที่สุด คือ ให้เด็กน้อยนั่งบนหลังม้า และชายแก่จูงม้า และต่อจากนั้น ไม่ว่าจะผ่านอีกกี่หมู่บ้าน จะมีอีกกี่ความคิด กี่คำพูด ที่ขัดแย้งกับสิ่งที่พวกเขาเลือกที่จะทำ เขาก็จะยังทำเช่นนั้น โดยไม่สนใจคำพูดหรือความคิดของผู้อื่นที่จะทำให้ไขว้เขวอีกเลย จนกระทั่งทั้งสองเดินทางมายังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จ


    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
    "ต่างคน ต่างความคิด จงเลือกที่จะทำในสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด และไม่ทำให้ใครเดือดร้อน"​


    นิทานธรรมะสอนใจ
     
  2. apichayo

    apichayo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,936
    กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    พยสนสูตร
    [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ
    ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
    ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ
    ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑
    เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑
    สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑
    เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑
    เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑
    ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
    ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑
    ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑
    เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ
    ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ
    จบสูตรที่ ๘


    อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔

    ......................................................................................

    ปุถุชนควรระมัดระวังในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เพราะปุถุชนไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ใดมีคุณธรรมสูงเพียงใด
    เป็นพระอริยะหรือไม่..พึงไม่ประมาทในในวจีกรรม...ฝึกตน สอนตน ให้เป็นคนดี ทำเพียงแค่นี้ก็ประเสริฐที่สุดแล้ว..สาธุ
     
  3. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154

    เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว ใน..."อิณสูตร" (การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก)

    ก็พยายามอย่าไปสร้างหนี้เพิ่มเติม ดังใน

     
  4. apichayo

    apichayo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,936

    ด้วยทุกวันนี้ ปุถุชน(ผู้ที่กิเลสหนา)ที่ปรามาสพระอริยะเจ้า และผู้ทรงศีลทรงธรรม มีมากเหลือเกิน

    ผู้ที่มักปรามาสนั้นก็ไม่ใช่ใครที่ใดเลย แต่เป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมทั้งหลายนี้แหละ ที่มักกล่าวโจมตี

    ล่วงเกินกัน อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือด้วยภูมิธรรม และความรู้ที่ได้อ่านมา ศึกษามา

    เพียงน้อยนิดของตน ..ความรู้ ที่ตนคิดว่ายิ่งใหญ่เหลือประมาณ …เหมือนกบในกะลาครอบ


    โทษของการปรามาส จะทำให้ไม่ก้าวหน้าในธรรม ยิ่งทำยิ่งปฏิบัติ ก็ยิ่งฟุ้งซ่าน กลายเป็นพวกบ้าๆ บอๆ

    เที่ยวสั่งสอนผู้อื่นในสิ่งที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทางแก้ควรจะขอขมาพระรัตนตรัยบ่อยๆ เป็นประจำ

    แล้วเลิกพฤติกรรมที่ชอบปรามาส ล่วงเกินผู้อื่นเสีย เพราะปุถุชน(ผู้มีกิเลสหนา)ไม่สามารถทราบได้ว่า

    ผู้ใดทรงคุณธรรมสูงเพียงใด และให้มีสติเตือนใจตนเอง ให้โจทแต่ความผิดของตัวเองอยู่เสมอ

    อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น อย่าไปเที่ยวสอนสั่งผู้อื่น…ในเมื่อตัวเองไม่มีดีเสียแล้ว...จะเอาดีที่ใหนไปสอนผู้อื่นเขา.


    ทางแห่งอริยะมรรค มีสายเดียว ทุกคนสามารถที่จะเดินไปในทางเส้นนี้ได้....เราจะไม่เดินเหยียบรอยกัน

    เราจะไม่ขัดขวางกัน ..แต่เราจะให้กำลังใจซึ่งกันและกัน....เพื่อให้ออกไปจากสังสารวัฏนี้ ด้วยกัน.....

    ท่านผู้เจริญ..พึงพิจารณาให้ดีเถิด..สาธุ
     
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [​IMG]

    ฟ้ามืด ตามัว
    แผ่นดิน แผ่นน้ำ แผ่นฟ้า มิใช่ของเราแต่ผู้เดียว
    ได้โปรดแบ่งปันกันยืนหยัดบนผืนโลกเดียวกันด้วยเถิด
    เพราะล้วนต่างหลงทางมาเกิดด้วยกันทั้งนั้น
    ไม่มีผู้ใด ดี-เลว ไม่มีผู้ใด ถูก-ผิด เพราะเราไปบัญญัติหรือสมมุติกันขึ้นมาเอง
    ไม่ต้องไปรู้มาก ไม่ต้องไปดูผู้อื่นมาก ดูจิตตนเองลูกเดียว
    เพราะเกิดมาแค่ชาติเดียว ก็ทุกข์เพราะแบกขันธ์๕ตนเอง ก็แย่อยู่แล้ว
    เพราะฉะนั้น ขันธ์ใคร ขันธ์มัน ก็แบกกันไปเองเด้อลูกหลาน
    ระวังให้ดี คนที่เที่ยวไปบอกคนโน้น คนนี้ มันแย่ มันเลว มันผิด มันไม่ถูกใจเรา
    ที่แท้คนๆนั้น ก็หาดีไม่ได้หรือหาได้ไม่ดี
    ทุกนาที ทุวินาที จิตไปเที่ยวจดบันทึกแต่สิ่งไม่ดีของผู้อื่น
    ระวังกรรมนั้นจะตามคืนสนองตน โดยมิรู้ตัว
    ใครบอกก็ไม่ฟัง เพราะเชื่อตนเองมากเกินไป
    อย่าไปเชื่อมันมากเด้อ ขันธ์๕ น่ะ อยู่เฉยๆ มันยังทุกข์เองเลย
    รีบหันหลัง กลับตัว กลับใจ ไปดูจิตตนเองจะดีกว่า?
    ธรรมภายนอกอันแสนสกปรก แต่ธรรมภายในจิตของตนนั้น แสนจะสดใส สะอาดและเยือกเย็น
    อย่าไปคิดเปลี่ยนแปลงผู้อื่น ในเมื่อตนเองยังเปลี่ยนไม่ได้เลย
    นอกเสียจากเจริญกรรมฐานเท่านั้น ที่พอจะเปลี่ยนแปลงตนเองได้
    ธรรมะตนเองนำไปสอนผู้อื่นไม่ได้ และธรรมะผู้อื่นนำไปสอนตนเองก็ไม่ได้ เช่นกัน
    อย่าไปคิดว่าผู้อื่นจะมาเข้าใจเรา เพราะในเมื่อเราเองก็ยังไม่เข้าใจตนเองเลย

    ลองกลับไปถามใจตนเองนะว่า เรากำลังทำสิ่งใดอยู่ (สตินะ..สติ)
    มือเรากำลังไปจับทองหรือขี้?

    ปล.อย่าไปเชื่อใคร แม้นกระทั่งตนเอง นำจิตมาเดินมรรค มีคำตอบทันที
    ยึดตำราไปสอนผู้อื่นได้ แต่มิอาจจะสอนตนเองได้ ก็ด้วยเหตุนี้ฯ
     
  6. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    นาฬาคิริง มาเตือนกันอย่างนี้ แสดงว่ามีเหตุ อันมั่นใจ
    จึงได้ ยกกรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า มาเตือนเพื่อนสมาชิก

    ต้นตอนกล่าวว่า
    แต่ในตอนกลางกล่าวในทำนองว่า ผู้อื่นเที่ยวสั่งสอนในมิจฉาทิฏฐิ

    ดูจะขัดๆกัน กับในตอนต้น ว่า

    และในตอนท้าย จึงได้กล่าวว่า
    ดังนี้แล้ว นาฬาคิริง ผู้มีความสงบ ควรที่จะกล่าวในรายละเอียดให้ยิ่งขึ้นไป ในเหตุที่มา
    ขอบคุณครับ
     
  7. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาบุญกับจิตบุญน้องใหม่ดวงที่ 128 แล้วจ้า พร้อมทั้งครูผู้สอนด้วยค่ะ...

    โอโห้..ยกกันรายวันเลยนิ..โฮ๊ะๆๆๆ:cool::cool::cool::cool:
     
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ความจริงแล้ว ผมขอชื่นชม และขออนุโมทนา ในธรรมทานที่ ท่านพ่อภู ท่านแม่เพ็ญ ท่านอาจารย์ ท่านจิตบุญ จิตเกาะพระทุกๆท่าน หรือแม้กระทั้งท่านผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านที่ได้ร่วมกล่าวแสดงธรรม อันเป็นประโยชน์ แก่กระทู้แห่งนี้ แก่พวกเราทุกท่านครับ
    การโต้แย้ง ปุจฉา วิสัชนา ก็เกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา เพื่อให้เข้าถึงอรรถ ถึงธรรม และเข้าถึงจิต ของตน ด้วยความปลาบปลื้มปิติยิ่ง กระทู้นี้จึงเป็นกระทู้ที่อัดแน่นเต็มไปด้วย สาระธรรม ที่เราท่านทั้งหลายไม่ควรพลาด หรือมองข้ามครับ


    สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ และโมทนากับท่านพ่อภูและทุกๆท่านด้วยอีกครั้งครับ สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
     
  9. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    เวลาปฏิบัติสมาธิ ด้วยจิตภาวนา

    ถ้าจิตเรา ส่งออกนอกวงกาย

    จิตนั้น ยังไม่เป็นมหาสติ มหาปัญญา

    จิตนั้น จะเป็น "มิจฉาทิฏฐิ"

    ไม่เป็น ทางดำเนินอันชอบ


    (พระธรรมคำสอน…หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    ที่มา fb Lotus Postman
     
  10. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    "เมื่อคำด่า คำว่า คำติฉินนินทาเป็นของไม่ดี จะเก็บไว้ทำไม จะใส่ไว้ในใจทำไม ถอดทิ้งเสียให้หมด อย่าให้มีในจิตในใจของเราเพราะไม่เป็นประโยชน์ส่วนใดเลย แก่หัวใจของเราเป็นแต่โทษฝ่ายเดียว..."

    ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา วันพ่อ 5 ธค. 54 ณ สำนักปฏิบัติอัญญาวิโมกข์ฯ
    หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน

    ที่มา ธรรมคำสอน หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน | Facebook
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2013
  11. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    อย่าตำหนิว่าใครเลว ถ้าเขารู้ตัว ไม่มีใครหรอกที่อยากจักทำตัวเป็นคนเลว ให้ใครเขาประณามหยามหยัน ให้มองทุกอย่างเป็นกฎของกรรม กรรมมันบังคับเขาให้เป็นเช่นนั้น คิดให้ลงจุดนี้ให้ได้ จักมีความเมตตาและสงสารบุคคลผู้หลงผิดเหล่านั้น แทนที่จักไปประณามการกระทำของเขา กลับมีความสงสารที่เขาหลงผิดกระทำกรรมเหล่านั้นขึ้นมา ให้เป็นกฎของอกุศลกรรม อันจักนำให้เขาต้องลงไปสู่อบายภูมิ ๔ ตั้งต้นกันใหม่อีกยาวนานกว่าจักกลับมาเป็นมนุษย์ ให้คิดอย่างนี้ด้วยจิตเมตตา กรุณา แต่มิใช่คิดอย่างสาสมใจในกฎของกรรมชั่วของเขา ถ้าเป็นเยี่ยงนั้น เจ้าก็ตั้งอารมณ์ผิด จิตขาดอภัยทานเป็นการไม่ถูกต้องของการตั้งอารมณ์นั้น

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  12. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ทุกวันนี้เรากลัวว่าจะติดในตำรากัน กลัวว่าจะเป็นสัญญาความจำ เพราะถูกปลูกฝังมาเช่นนี้

    ก็เลยไม่กล้าที่ยกคำสอนของพระศาสดา ก็เลยต้องเลี่ยงๆไว้ ยกขึ้นหิ้งไว้บูชาไว้เหนือหัว หรือเก็บยัดไว้ในตู้

    จริงอยู่การปฏิบัติควรที่จะเก็บไว้ในตู้ แล้วล็อคใส่กุญแจไว้

    แต่ทุกวันนี้ ไม่ทราบว่าผลของการปฏิบัติออกมาเป็นเช่นใด
    โดยทั่วๆไป ก็กล่าวถึงในสิ่งอจิณไตย เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เกี่ยวกับฤทธิ์อภิญญา

    ว่าเป็นผลของการปฏิบัติที่ถูกต้อง แล้วนำมาเผยแผ่
    การปฏิบัติ ใครก็กล่าวได้ ว่าเราปฏิบัติมาแล้วอย่างนี้ๆ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะตน

    เสร็จแล้วผลเป็นอย่างไร ปฏิบัติส่งออก ทำให้คนกลัวภัยพิบัติบ้าง
    ตื่นกระแสไปกับโลกอันจินดา ดินฟ้าอากาศ อย่างนี้เป็นต้น ที่เห็นได้ชัด

    เพราะอะไร นั่นเพราะ เก็บไว้เหนือหัวขึ้นหิ้งบูชา ธรรมะเป็นของสูง ไง
    เพราะกลัวจะเป็นสัญญา เป็นใบลานเปล่า

    ถ้าอย่างนี้นี่นะ ปริยัติเริ่มอันตธาน แล้วล่ะ ปริยัติจะเสื่อมไปก่อนในอันดับแรก ในอันตธาน5
    เพราะไม่สนใจในพระสูตร ไม่สนใจในชาดก ต่างๆ

    จะเห็นได้เลยครูบาอาจารย์ที่ใจเป็นธรรม แต่จะแฝงไว้ด้วยในปริยัติธรรม

    บ้างก็ว่าพระไตรปิฏก เชื่อถือไม่ได้ก็มี เพราะผ่านการสังคายนา มาแล้วกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ก็มี

    พอเห็นใครกล่าวศัพท์ปริยัตินี่นะ นั่นๆ สัญญาความจำทั้งนั้น
    พอรู้อย่างนี้เราก็จะเลี่ยงในปริยัติ เพื่อจะได้ดูว่ามีภูมิปฏิบัติ จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือ

    ระวังเถอะ ความประมาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2013
  13. apichayo

    apichayo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,936
    ในส่วนเรา เมื่อมีสิ่งใดร้อนรุ่มใจ หนักอกหนักใจ
    เราก็พยายามวางลงเสีย รักษาใจ ดูใจเราอย่างเดียว
    เราขอตอบท่านผู้เจริญเพียงสั้นๆ..แค่นี้

    พูดมากไป เดียวฟุ้งซ่าน เอาเวลาไปปฏิบัติดีกว่า
    ดูใจตนเองจึงหมดทุกข์ ดูใจคนอื่นไม่หมดทุกข์...
    เราชอบเตือนตัวเราเองอย่างนี้แหละ สาธุ...
     
  14. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ก็ดีแล้ว

    แต่ทว่า ตกลงท่านจะเตือนตนเอง หรือจะมาเตือนผู้อื่น กันแน่น้อ

    ลองกับไปดูในเหตุที่โพสมาสิ
     
  15. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151

    “รักแบบพระพุทธเจ้า”

    ให้พากันรักแบบพระพุทธเจ้า
    รักตนแล้วเฉลี่ยความรักตนนี่
    ออกไปหาจิตใจเพื่อนมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย
    เขาก็รักตัวของเขาเหมือนกัน

    เมื่อเป็นเช่นนั้นให้เฉลี่ยน้ำใจให้สม่ำเสมอกัน
    อย่าเห็นแก่ใจตัวเองอย่างเดียว ให้เห็นแก่ใจคนอื่น
    จากนั้นก็เป็นทาน เป็นการเสียสละไปได้
    ให้อภัยกัน ช่วยเหลือกัน มีมากมีน้อย

    มนุษย์เราไปที่ไหนถ้าลงมีจิตใจเฉลี่ยเผื่อแผ่ต่อกันแล้ว
    สงบร่มเย็นไปหมด ไม่มีละไอ้คำว่าชาติชั้นวรรณะ
    เอามาตั้งเฉยๆ ความจริงแล้วคือมนุษย์เรา
    แสดงมาจากน้ำใจคับแคบตีบตัน หรือกว้างขวาง
    ถ้าจิตใจมีความกว้างขวางเป็นเด็กก็น่ารัก
    เป็นผู้ใหญ่ก็น่าเคารพบูชา ถ้าจิตใจคับแคบตีบตัน
    ใหญ่เท่าไรยิ่งเป็นภัยมาก นี่มันต่างกันอย่างนี้นะ
    ท่านทั้งหลายนำธรรมคำว่าเสียสละนี้ไปปฏิบัติ

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ที่มา fb กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     
  16. เ่ต่าโบราณ

    เ่ต่าโบราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    713
    ค่าพลัง:
    +3,624
    เจอในเฟซบุคค่ะ อ่านแล้วน้ำตาซึมทีเดียว... เพราะดื้อ เพราะเคยทำผิด อันนี้เลยโดนมากๆ
    ขอบคุณเพื่อนที่ทำให้ได้อ่าน ขอบคุณคนแต่ง (เงา ไม่มีตัวตน) ในเฟซบุค เลยขอมาแชร์ให้ลูกหลานหลวงพ่อทุกคน...

    บรรจงน้อมค้อมเศียรอภิวาท
    ลงแทบบาทบุตรพระศาสน์ชินศรี
    กรรมอันใดได้ล่วงเกินแม้วจี
    หรือใจที่จ้วงจาบกราบบรรเทา

    หากสิ่งใดลูกกระทำกล้ำเกินพ่อ
    ... ลูกกราบขออดโทษที่โฉดเขลา
    ไม่เชื่อฟังไม่ยั้งคิดผิดไม่เบา
    ขอบรรเทาโทษทันฑ์อันใดมา

    มาวันนี้ลูกรู้ซึ้งถึงคำสอน
    ที่เฝ้าวอนสอนสั่งทั้งห่วงหา
    ให้เคารพพระไตรรัตน์พระศาสดา
    รู้ตัวว่าจะต้องตายวายชีวัน

    ให้รู้จักระวังไม่พลั้งศีล
    ทั้งชีวินอุทิศให้นิพพานมั่น
    ชีวิตจะเดินอย่างไรไม่สำคัญ
    กิจจบกันเมื่อชีพดับลงลับไป

    กราบบาทพ่อพระราชพรหมยาน
    ที่อุทิศกายสังขารเพื่องานใหญ่
    ต้องพาลูกกลับบ้านเหนืองานใด
    ลูกซึ้งใจที่พ่อห่วงกว่าดวงมาลย์....

    กรรมอันใดที่ลูกได้เคยประมาทพลาดพลั้งต่อองค์หลวงพ่อ จะด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี จะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนาหรือรู้เท่ามิถึงกาลก็ตาม ขอพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้โปรดเมตตาอดโทษให้กับลูกผู้โง่เขลาตั้งแต่บัดนี้ตราบเท้าเข้าสู้พระนิพานด้วยเถิดนะพระเจ้าข้าฯ

    ขอบุญที่เกิดนั้น ทุกประการจงมีแด่ คนแต่ง (เงา ไม่มีตัวตน) ค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  17. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +10,246
    พุทธานุสสติถึงสมาบัติ (วิธีเข้าปฐมฌานอย่างง่าย)

    พุทธานุสสติถึงสมาบัติ (วิธีเข้าปฐมฌานอย่างง่าย)
    วันที่: วันพฤหัสบดี 27 กันยายน 2007 @ 20:09:44
    หัวข้อ: รวมคำสอน หลวงพ่อฯ

    ที่มา http://www.putthawutt.com/

    พุทธานุสสติถึงสมาบัติ

    วันนี้ จะได้พูดถึงพุทธานุสสติกรรมฐานต่อ เมื่อวานนี้ได้พูดมาถึงการเจริญกรรมฐานด้านพุทธานุสสติกรรมฐานจากระบบปฏิบัติตามแบบที่พิจารณาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ใคร่ครวญตามความดีที่องค์สมเด็จพระชินศรี ทรงสั่งสอนตามแบบนี้ที่ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานย่อมมีกำลังแค่อุปจารสมาธิ แต่สำหรับพระอาจารย์ผู้สอนที่มีความฉลาด ท่านสอนต่อ ๆ กันมาคือ สามารถดัดแปลงเอาพุทธานุสสติกรรมฐานให้เป็นฌานสมาบัติ จนกระทั่งเข้าถึงฌาน ๔ ได้ วันนี้ก็จะได้อธิบายการเจริญพระกรรมฐานในด้านพุทธานุสสติกรรมฐานจากอารมณ์อุปจารสมาธิ มาเป็นฌาน ๔ การเจริญพระกรรมฐานถ้ามีความเข้าใจ กรรมฐานทุกกองก็ทำเป็นฌาน ๔ ได้เหมือนกันหมด แล้วก็ต่อเป็นสมาบัติ ๘ ก็ได้

    การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานให้เป็นฌาน ท่านก็ใช้คำภาวนาเป็นพื้นฐาน คือ ใคร่ครวญตามความดีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนตามแบบที่กล่าวมาแล้ว ถ้าต้องการให้เป็นฌานอย่างยิ่ง ก็งดการพิจารณานั้นเสีย จิตน้อมยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า ที่ชื่อว่าจิตน้อมยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้านี่ เราไม่ได้ถือเนื้อ ถือหนัง ถือรูปร่างของท่านเป็นสำคัญ เนื้อหนังรูปร่างของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามิได้ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะความเป็นพระพุทธเจ้ามาจากการบรรลุธรรมะพิเศษ ไม่ใช่ว่าเกิดมาเป็นคนแล้วก็เป็นพระพุทธเจ้า

    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ ในตอนที่จะเข้าสู่การดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานที่ระหว่างนางรังทั้งคู่ว่า
    "อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเรานิพพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่เราสอนเธอทั้งหมดนี่ จะเป็นศาสดาสอนเธอ"(ศาสดา นี่แปลว่า ครู)

    นี่เราจะเห็นได้ว่า ความเป็นพระพุทธเจ้า ก็คือ พระธรรมคำสั่งสอนนั่นเอง เรามาเปลี่ยนแปลงจากการพิจารณาความดี เอาจิตเข้ามาจับความดีจุดเล็ก คือ แทนที่จะเป็นการใคร่ครวญ กลับมาภาวนา นึกว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่งใหญ่ เราจะผูกใจของเราไปจับอยู่เฉพาะความดีของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ท่านจึงสอนให้ใช้คำภาวนาแทนที่จะพิจารณา แต่ว่าเราก็ไม่ทิ้งคำพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า ให้จิตเข้าถึงความดีของพระองค์ เป็นการสร้างธรรมปีติ ความมั่นในใจความดีก่อน

    เมื่อเราพิจารณาความดี ใคร่ครวญความดีของพระองค์แล้ว เมื่อใจสบายก็จับอารมณ์เป็นสมาธิพิเศษ คือ ใช้อานาปานุสสติควบกันไป โดยใช้คำภาวนาว่า พุทโธ นี่ง่ายดี ความจริง การภาวนาในด้านพุทธานุสสติกรรมฐานนี่ว่าได้หลายอย่าง อิติปิ โส เบื้องต้นทั้งหมดทั้ง ๙ ข้อ เราว่าได้ทุกข้อ จะว่าข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม ก็ชื่อว่าเป็น พุทธานุสสติกรรมฐานทั้งนั้น แต่ว่าการที่ท่านตัดเอาใช้คำว่า พุทโธ เพราะเป็นการสะดวกแก่บุคคลผู้ฝึกจิตในตอนแรก

    ในตอนต้น ให้พิจารณาลมหายใจเข้าออกพร้อมคำภาวนา เวลาหายใจเข้านึกว่า พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ อันดับแรกจับเอาแค่จมูกก่อน หายใจเข้าก็นึกว่า พุท หายใจออกก็โธ แค่นี้ให้จิตสบาย พอจิตมีความสบาย มีกำลังเป็นสมาธิสูงขึ้น จิตจะรู้ลมกระทบสัมผัสภายใจ หายใจเข้าลมจะกระทบจมูก กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ หายใจออก กระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก กระทบริมฝีปากหรือจมูก ถ้าปรากฏว่าลมกระทบ ๓ ฐาน มีความรู้สึกแบบสบายหรือมีจิตใจละเอียดไปยิ่งกว่านั้น รู้สึกลมไหลลงไปตั้งแต่ยันท้อง ไหลจากท้องมายันจมูก ออกทางจมูกอย่างนี้ก็ยิ่งดีใหญ่ ที่จะมีความรู้สึกอย่างนี้ต้องปล่อยลมหายใจเข้าออกตามธรรมดา อย่าหายใจแรง ๆ ยาว ๆ หรือบังคับให้หนัก ๆ อันนี้ไม่ได้ ต้องปล่อยลมหายใจไปตามกฎธรรมดา ที่เราจะรู้ได้ก็อาศัยสติสัมปชัญญะของเรามันดีหรือมันเลวเท่านั้น ถ้าสติสัมปชัญญะของเราดี จิตเป็นสมาธิมากก็รับสัมผัสได้ ๓ ฐาน ถ้ามีอารมณ์ละเอียดไปกว่านั้น ก็รู้ลมไหลเหมือนกับน้ำไหลเข้าน้ำไหลออก ถ้ารู้ลมได้ ๓ ฐานก็ดี หรือรู้ลมไหลออกไหลเข้าตลอดเวลา อย่างนี้ชื่อว่าจิตเป็นฌาน เรียกว่า ปฐมฌาน พร้อมกันก็ทรงคำภาวนาไว้ด้วย ถ้าภาวนาไปภาวนาไป รู้สึกว่าลมหายใจเบาลง เบาน้อยลง จิตใจมีความชุ่มชื่น คำภาวนาหายไป หยุดภาวนาไปเฉย ๆ แต่มีใจสบาย ลมหายใจอ่อนลง มีความชุ่มชื่นมากกว่า จิตทรงมากกว่า อย่างนี้เป็น ฌานที่ ๒

    ถ้าต่อไปความชุ่มชื่นหายไป มีแต่อาการเครียด จิตใจสบาย ลมหายใจเบาลง ได้ยินเสียงภายนอกน้อยลงไปเบาลงไปมาก จิตใจทรงตัวดิ่ง มีอาการไม่อยากเคลื่อน มีร่างกายคล้ายกับมีอาการทรงตัวเหมือนหลักปักแน่น ๆ หรือว่าใครเขามัดตัวตรึงไว้เฉย ๆ ไม่อยากเคลื่อน ใจสบาย แนบนิ่ง นิ่งสนิท จิตไม่อยากจะขยับเขยื้อนไปไหน อันนี้เรียกว่า ฌานที่ ๓ นี่คำภาวนาไม่มีเหมือนกัน คำภาวนานั้นมีแค่ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ ปฐมฌานเท่านั้น

    ต่อไปเริ่มต้นเราจับคำภาวนา แล้วก็ต่อมาปรากฏว่าจิตมีอารมณ์สว่างสดใส มีจิตใจชุ่มชื่น มีอารมณ์ทรงตัวเป็นปกติ ไม่เคลื่อนไหวไปไหน ทรงตัวแบบสบาย หรือความโพลงอยู่ในใจ เป็นความสว่างมาก แต่ว่าไม่ปรากฏลมหายใจ หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก แม้จะเอาปืนใหญ่หรือพลุมาจุดใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ยิน อย่างนี้เป็นอาการของ ฌานที่ ๔

    ถ้าจะถามตอบกันตามแบบฉบับของการเจริญสมาธิ ไอ้เรื่องยุงกินริ้นกัดนี่ มันไม่กวนใจเราตั้งแต่อุปจารสมาธิ พอจิตผ่านปีติเข้าถึงสุข มันจะมีความสุขเยือกเย็น มีความสบายไอ้เรื่องเสียงที่เราได้ยินก็เหมือนกัน มันก็ไม่กวนใจ ใจเราก็มีความสบาย ร่างกายก็ไม่ปวดไม่เมื่อย ไม่มีอะไรทั้งหมด มันสุขจริง ๆ มีแต่จิตใจชุ่มชื่น ยุงกินริ้นกัดหรือเปล่า อันนี้ไม่รู้กัน ไม่รู้ว่ายุงมันกินหรือเปล่า แต่ว่าส่วนมากยุงไม่กวน แต่บางท่านก็กวนเหมือนกัน บางทีนั่งพอเลิกแล้วเป็นตุ่มหมดตัวปรากฏว่ายุงกัด แต่เวลาขณะที่ปฏิบัติทรงจิตเป็นสมาธิไม่รู้สึกว่ายุงกัด นี่ความจริง เรื่องการสัมผัสกับอาการภายนอก แต่จิตไม่ยอมรับสัมผัสจากประสาท เริ่มมีตั้งแต่ตอนสุข เพราะคำว่า สุข นี่ มันต้องไม่มีคำว่า ทุกข์ มันสุขจริง ๆ หาตัวทุกข์ไม่ได้ ถ้าเมื่อยมันก็ไม่สุข ถ้ารู้ว่ายุงมากวนที่หูมันก็ไม่สุข ถ้ารู้ว่ายุงกินแล้วคันหรือเจ็บมันก็ไม่สุข มันเป็นทุกข์ นี่คำว่า สุข ตัวนี้ก็ตัดอาการเหล่านี้ไปทั้งหมด ความจริงเรื่องเสียงก็ดี ที่เราจะรำคาญภายนอก หรือยุงกินริ้นกัดก็ดี มันตัดกันแค่สุขยังไม่ถึงปฐมฌาน แต่ว่าอาการของความสุขและปฐมฌาน นี่มันใกล้เคียงกันมาก เขาบอกว่า ห่างกันแค่เส้นผมผ่า ๘ เท่านั้น ขอบรรดาทุกท่านจำไว้ด้วย ถ้าว่าใครเขาถามละก็ ตอบเขาแบบนี้ ถามว่ายุงกินไหม? บอกบางองค์กินบางองค์ไม่กิน ถามว่าทำไมยุงกินหรือไม่กิน กัดหรือไม่กัดไม่เหมือนกัน บางองค์ก็ถูกกวนบางองค์ก็ไม่ถูกกวน ก็ต้องตอบว่า ถ้าองค์ใดหรือท่านใดมี พรหมวิหาร ๔ ครบถ้วน มีจิตทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ท่านผู้นั้นยุงไม่กินริ้นไม่กัด ถ้าบกพร่องในพรหมวิหาร ๔ มันกัดแน่ มันกินแน่ นี่ตอบเขาอย่างนี้ แล้วก็ตอบตัวของเราเองเสียด้วย นี่เป็นอาการของฌาน ๔ ตามปกติ เมื่อถึงฌาน ๔ แล้วก็ต้องพยายามทรงฌาน ทรงสมาธิ จะเป็นอันดับไหนก็ตาม ให้มันมีการคล่องตัวที่เรียกว่า วสี จะเป็นฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ อะไรก็ตาม ให้มันคล่องจริง ๆ นึกขึ้นมาเมื่อไรจิตเป็นสมาธิทันที เดินไปเดินมา เหนื่อย ๆ นั่งปั๊บจิตจับปุ๊บเป็นสมาธิทันที ทำงานมาเหนื่อย หาบน้ำหาบท่ามาอย่างหนัก ทำงานหนักวางของปั๊บนั่งปุ๊บ จิตจับเป็นสมาธิทันที ทรงตัวได้ทันที นี่ต้องหัดให้คล่องอย่างนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานหรือผู้ทรงฌาน ไม่ใช่สักแต่ว่าทำกันส่งเดชไป อารมณ์มันจะใช้อะไรไม่ได้ ถ้าทำกันส่งเดชได้บ้างไม่ได้บ้าง เขาไม่ถือว่าได้ แต่ก็ยังดีตายเป็นเทวดาได้ แต่เป็นพรหมไม่ได้

    ถ้าจิตเราสามารถจะทรงฌานได้ทุกขณะจิตละก็ เป็นพรหมได้แน่นอน เพราะเวลาที่ป่วยไข้ไม่สบาย เกิดทุกขเวทนามาก เราก็เอาจิตจับเข้าฌานทันที ทุกขเวทนามันก็คลายตัว ดีไม่ดีไม่รู้สึกตัว เพราะจิตและประสาทมันไม่ยอมรับรู้ซึ่งกันและกัน มันแยกจากกันเด็ดขาด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2013
  18. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +10,246
    พุทธานุสสติถึงสมาบัติ (ต่อ)

    หากว่าเราจะทรงฌานด้านพุทธานุสสติกรรมฐานเข้าถึงฌานที่ ๘ เราจะทำอย่างไรแบบท่านบอกไว้ว่า พุทธานุสสติกรรมฐานและอนุสสติทั้งหมด เว้นไว้แต่อานาปานุสสติ จะเข้าถึงอุปจารสมาธิเท่านั้น ท่านว่าไว้อย่างนั้น เราก็ดัดแปลงให้เข้าถึงฌาน ๘ เสียให้หมดมันจะเป็นยังไงไป ทำเป็นเสียอย่างเดียวมันก็ทำได้ เข้าใจแล้วก็ทำได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้จำกัด

    ถ้าเราจะทรงฌาน ๘ ทำยังไง แทนที่เราจะภาวนาเฉย ๆ เราก็จับภาพพระพุทธรูปกำหนดภาพไว้ ลืมตาดูภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ นึกถึงภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ ที่เราต้องการ เรามีความเลื่อมใสพอใจอยู่ เวลาจับลมหายใจเข้าออกภาวนาว่า พุทโธ ก็นึกเห็นภาพขององค์สมเด็จพระบรมครู จะเป็นพระพุทธรูปก็ได้ ให้ปรากฏอยู่ในใจ ไม่ใช่ไปนั่งคอยให้ภาพลอยมาแบบนี้ใช้ไม่ได้ ภาวนาไปแล้วก็นึกถึงภาพไปด้วย จะนึกอยู่ในอก ให้เห็นอยู่ในอก หรือเห็นภายนอกก็ได้ไม่จำกัด

    ถ้านึกถึงภาพนั้นตามภาพเดิม อย่างนี้เรียกว่า อุคคหสมาธิหรืออุคคหนิมิต ถ้าภาพเดิมนั้นขยายไปเปลี่ยนแปลงไปชักจะใหญ่ขึ้นจะสูงขึ้น จะเล็กลง แล้วก็มีสีสันวรรณะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย ๆ จากสีเดิมกลายเป็นสีจางไปนิดหน่อย จางลงไปจางลงไป แต่เรารู้สึกอารมณ์จิตนึกเห็นชัด นึกเห็นนะ ไม่ใช่ภาพลอยมา อารมณ์จิตนึกเห็นชัด จนกระทั่งปรากฏเป็นแก้วใส อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็น อุปจารสมาธิตอนกลาง

    ตอนนี้แก้วใสที่กลายเป็นแก้วประกายพรึก แพรวพราวไปหมดทั้งองค์ จิตใจสามารถจะบังคับให้ภาพนั้นเล็กก็ได้ จะให้ใหญ่ก็ได้ สูงก็ได้ ต่ำก็ได้ ตั้งอยู่ข้างหน้าก็ได้ ข้างหลังก็ได้ตามใจนึก นึกอย่างไร ภาพนั้นปรากฏไปตามนั้น มีความใสสะอาดสุกใสเป็นกรณีพิเศษ อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ ท่านกล่าวว่าเป็น ปฐมฌาน

    การจับภาพนี่จับให้สนิท ให้คิดอยู่เมื่อไรได้เมื่อนั้น เดินไปบิณฑบาต เดินไปธุระ นั่งอยู่ นึกเห็นเมื่อไรเห็นได้เมื่อนั้นทันที นี่อย่างนี้เป็น กสิณด้วย เป็นพุทธานุสสติกรรมฐานด้วย

    ถ้าการเห็นภาพแบบนั้นปรากฏว่า คำภาวนาว่า พุทโธหายไป ภาพใสขึ้นผิดกว่าเดิม อันนี้เป็น ฌานที่ ๒ แต่มีจิตชุ่มชื่น อาการของจิตมันเหมือนกัน ภาพใสสะอาดขึ้น มีการทรงตัวมากขึ้น มีความแจ่มใสขึ้น ความชุ่มชื่นหายไป มีอาการเครียด จิตทรงตัวแนบนิ่งสนิท แล้วก็ลมหายใจน้อย ได้ยินเสียงภายนอกเบา อันนี้เป็น ฌานที่ ๓ การเห็นภาพชัดเจนแจ่มใสมากเป็นกรณีพิเศษ สว่างไสวคล้ายกับพระอาทิตย์ทรงกลด หรือว่าคล้ายกับกระจกเงาที่สะท้อนแสงแดดดวงใหญ่ ใจไม่ยุ่งกับอารมณ์อย่างอื่น เป็นอุเบกขารมณ์ทรงสบาย เห็นแนบนิ่งสนิท จะนั่งนานเท่าไรก็เห็นได้ตามความปรารถนา หูไม่ได้ยินเสียงภายนอก ไม่ปรากฏลมหายใจ อย่างนี้เป็นฌานที่ ๔ ก็ยังเป็นรูปฌานอยู่

    ทีนี้ถ้าหากว่าเราจะทำเป็นอรูปฌาน จะทำอย่างไร เราจะทำถึงฌาน ๘ กันนี่ นี่เป็นวิธีแนะนำปฏิบัติตามผลแห่งการปฏิบัติจริง ๆ ไม่ใช่เกาะตำราเสียจนแจ แล้วไปไหนไม่พ้น เขาทำแบบนี้ จับภาพพระพุทธเจ้าองค์นั้นแหละ ที่เป็นประกายพรึกอยู่ เพ่งจับจุดให้จิตจับดี เมื่อจิตทรงอารมณ์ดีแล้วก็เพิกภาพนั้นให้หายไป คำว่า เพิก เป็นภาษาโบราณ คือ นึกว่าขอภาพนี้จงหายไป จับ อากาสานัญจายตนะแทน คือ พิจารณาอากาศว่า อากาศนี้หาที่สุดมิได้ มันเวิ้งว้างว่างเปล่า ไม่มีจุดจบ จับอากาศเป็นอารมณ์อย่างนี้ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ จิตทรงอยู่ในด้านของฌาน ๔ จับอากาศ ความหวั่นการเคลื่อนไหวของอากาศว่า ว่างมาก โลกนี้หาอะไรเป็นที่สุดมิได้ หานิมิตเครื่องหมายอะไรไม่ได้เลย หาจุดจบไม่ได้ จนกระทั่งจิตทรงอารมณ์ทรงตัวดีแล้ว อย่างนี้จัดเป็นอรูปฌานที่ ๑ ถ้าจะเรียกกันว่าฌาน ก็เป็นที่ ๕ สมาบัติที่ ๕

    เมื่อจับอารมณ์ของอากาศได้แบบสบาย ๆ ใจสบาย นึกขึ้นมาว่า อากาศมันเวิ้งว้าง ทุกอย่างมันว่างเปล่าเป็นอากาศไปหมด โลกทั้งโลกไม่มีอะไรทรงตัว คนเกิดมาแล้วก็ตาย สัตว์เกิดมาแล้วก็ตาย ต้นไม้เกิดมาแล้วก็ตาย ภูเขาไม่ช้ามันก็พัง บ้านเรือนโรงก็พัง ผลที่สุดมันก็ว่างไปหมด อย่างนี้เรียกว่า จิตเข้าถึงอากาศได้เป็นอย่างดี อากาสานัญจายตนะ

    ทีนี้ก็มาเป็น วิญญาณัญจายตนะ นึกถึงวิญญาณ คือ จิต สภาวะของจิต ที่มีอารมณ์คิดเป็นปกติ มันก็ไม่มีอาการทรงตัว มันหาที่สุดไม่ได้ มันไม่มีอะไรทรงอยู่เฉพาะแน่นอน เดี๋ยวมันก็คิดอย่างนั้น เดี๋ยวมันก็คิดอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็คิดอย่างโน้น ขึ้นชื่อว่าเอาจิตมีอารมณ์เกาะว่า นั่นเป็นเรา นี่เป็นเรา นี่มันไม่มีอะไรจริง ความจริงจิตมีสภาพไม่นิ่ง จิตมีสภาพไม่แน่นอน เดี๋ยวมันก็ชอบอย่างนั้น เดี๋ยวมันก็ชอบอย่างนี้ เดี๋ยวมันก็ต้องการอย่างโน้น จึงถือว่าอารมณ์ของจิตนี่หาที่สุดมิได้

    นี่เราไม่มีความต้องการอารมณ์อย่างนี้ จนกระทั่งอารมณ์จิตของเรานี้มีความแนบแน่นสนิท ไม่มีความผูกพันอะไร ในด้านร่างกายก็ดี ในวัตถุก็ดี ไม่เอา แล้วก็ไม่สนใจ ต้องการอย่างเดียว อากาศคือ ความว่างเปล่าปราศจากแม้แต่จิต

    ถ้าถือว่าขณะใดยังมีขันธ์ ๕ ยังมีภาพอยู่ ยังมีจิตเป็นเครื่องเกาะ มันมีความทุกข์อย่างนี้ ถ้าจิตมันทรงอยู่ได้ตลอดเวลา นึกขึ้นมาเมื่อไร อารมณ์ว่างไม่เกาะอะไรทั้งหมด มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน สภาวะทั้งหลายในโลกไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเราเลย มันไม่มีอะไรทรงตัว มีอารมณ์ว่างหาที่สุดมิได้ ถ้าเราเกาะโลกอยู่เพียงใด ก็ชื่อว่าเราเป็นผู้มีทุกข์ นี่ อาการอย่างนี้คล้ายคลึงวิปัสสนาญาณมาก อย่างนีเรียกว่าได้ วิญญาณัญจายตนะฌาน นี่เป็นอารมณ์ เราพูดกันถึงอารมณ์ ถ้าไปอ่านตาแบบบางทีจะค้านกัน

    เมื่อเราได้วิญญาณัญจายตนะแล้ว ก็ชื่อว่าได้สมาบัติที่ ๖ อย่าลืมนะว่า เราต้องจับภาพพระพุทธรูปเป็นกสิณก่อน ต่อมาเราก็เพิกให้หายไป ถือเอากสิณนำให้จิตมันจับเป็นอารมณ์ทรงตัวก่อนนั่นเอง เพราะกสิณเป็นของหยาบ จับให้ทรงตัวแล้ว จงนึกว่า ขอภาพนี้จงหายไป

    ทีนี้ก็มาพิจารณาฌานที่ ๗ สมาบัติที่ ๗ คือ อากิญจัญญายตนะฌาน พิจารณาว่า โลกนี้มันไม่มีอะไรเหลือเลยนี่ มันพังหมดมันสลายตัวหมด ตึกรามบ้านช่อง เขาสร้างขึ้นมาอย่างดี ๆ ก็พัง บ้านเมืองเก่า ๆ เขาสร้างแข็งแรงก็พัง กำแพงเมืองใหญ่อย่างกำแพงเมืองจีน กำแพงเมืองไทย กำแพงเมืองฝรั่ง เขาสร้างแข็งแรงมากที่สุด มันก็พัง ภูเขามันก็มีอาการผุ เขาเอาดินมาทำลูกรัง มันก็ผุจมหายไปหมด คนก็ดี สัตว์ก็ดี ต้นไม้ก็ดี เรือนโรงก็ดี นี่เมื่อถึงที่สุดแล้วไม่มีอะไรเหลือ อากิญจัญญายตนะ นี่เขาแปลว่า หาอะไรเหลือไม่ได้ จิตใจว่างจากอารมณ์ เลยไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด อะไรเล่าที่เป็นสาระสำหรับเราไม่มี แม้แต่ร่างกายของเรานี้ ไม่ช้ามันก็พัง การทรงร่างกายอยู่อย่างนี้มันเป็นทุกข์ เราไม่ต้องการมีร่างกายอีก

    ถ้าอารมณ์อย่างนี้มันทรงตัวได้ดีแล้ว ก็ชื่อว่าเราได้ อากิญจัญญายตนะฌาน เป็น สมาบัติที่ ๗ ทีนี้มาสมาบัติที่ ๘ จับภาพพระพุทธรูปเป็นอารมณ์ทรงอารมณ์แจ่มใสให้ใจสบาย เป็นอุเบกขารมณ์ อรูปฌานนี่ก็ทรงฌาน ๔ นั่นเอง แต่มาจับเป็นส่วนอรูป อารมณ์มันเท่ากัน มาจับ เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน เรามีสัญญาความรู้สึก ทำตนเหมือนคนไม่มีสัญญา เพราะเห็นว่าร่างกายไม่มีสาระ ร่างกายไม่มีแก่นสาร ร่างกายเป็นปัจจัยของความทุกข์ วัตถุทั้งหมดไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ไม่มีอะไรเป็นที่อาศัยจริงจัง ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้

    ทีนี้เวลาร่างกายมันจะหิว มันมีอาหารกินก็กิน ไม่มีกินก็ทำสบาย รู้สึกว่าหิวแล้วทำเหมือนว่าไม่หิว มันหนาวมันไม่มีอะไรจะเป็นเครื่องปกปิด ก็นอนมันเฉย ๆ มันหนาวก็หนาวไป ทำเหมือนว่าเป็นคนไม่หนาว ร้อนก็ทำเฉย ๆ ทำเหมือนว่าเป็นคนไม่ร้อน ใครเขาด่าว่าอะไรก็ทำเหมือนว่าไม่มีคน ไม่สนใจกับอะไรทั้งหมด มีสัญญาก็เหมือนกับคนไม่มีสัญญา คือ ความจำมันมีอยู่ แต่ทำเหมือนกับคนที่ไม่มีความจำ ทำแบบนี้แล้วจิตมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จิตมันเป็นสุขถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา หนาวก็หนาวไป ช่างหัวมันไม่สนใจ ร้อนก็ร้อนไป มันอยากหิว หิวก็หิวไป ไม่มีจะกินก็แล้วไป มีกินก็กิน ไม่มีก็ไม่กิน มันอยากจะแก่ก็แก่ไป มันอยากจะป่วยก็ป่วยไป มันจะตายเมื่อไรก็ช่างหัวมัน ขันธ์ ๕ ไม่ดีไม่มีประโยชน์ เพราะเรามีขันธ์ ๕ คือ มีร่างกาย เราจึงมีร้อน มีหนาว มีสุข มีทุกข์ มีหิว มีกระหาย มีปวดอุจจาระปัสสาวะ ขันธ์ ๕ มันไม่ดี เราไม่ตั้งใจจะคบเลย ไม่ต้องการจำอะไรมันทั้งหมด ไม่สนใจอะไรกับมันเลยทั้งหมด อย่างนี้เรียกว่าเป็น สมาบัติที่ ๘ นี่อาการมันใกล้วิปัสสนาญาณเต็มที
     
  19. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +10,246
    พุทธานุสสติถึงสมาบัติ (ต่อ)

    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระชินศรีจึงกล่าวว่า คนทีได้สมาบัติ ๘ แล้ว ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณ พระโบราณาจารย์สมัยโบราณท่านบอกว่า เพียงแค่เคี้ยวหมากแหลกเดียวก็เป็น พระอรหันต์

    หากว่าเราได้สมาบัติ ๘ แบบนี้แล้ว ใช้สมาบัติ ๘ เป็นพื้นฐาน พิจารณาวิปัสสนาญาณในด้าน สังโยชน์ ๑๐ คือ มีสักกายทิฏฐิ เป็นต้น หรือว่า พิจารณา อริยสัจ ๔ วิปัสสนาญาณ ๙ หรือ พิจารณาขันธ์ ๕ ก็ตาม ประเดี๋ยวเดียวมันก็เป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา

    พอเข้าถึงพระอนาคามี เราก็ได้ปฏิสัมภิทาญาณ มีกำลังครอบงำ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ทั้งหมด เราได้ไปหมดเลย ไม่ต้องไปฝึกกันเหมือนสมัยเป็นฌานโลกีย์

    อะไรก็ตามที่พระวิชชา ๓ ทำได้เราก็ทำได้ พระอภิญญา ๖ ทำได้เราก็ทำได้ การรู้ภาษาคน ภาษาสัตว์ ไม่ต้องเรียน รู้หมด เข้าใจหมดทุกอย่าง มีความฉลาดในการย่อข้อความที่เยิ่นเย้อ ข้อความที่ยาวเราย่อให้สั้นแบบได้ความ เขาพูดมาสั้น ๆ เราขยายออกไปให้ยาวให้ได้ความชัด เราทำได้อย่างดี อย่างนี้เรียกว่า ปฏิสัมภิทาญาณ

    เอาละ บรรดาทุกท่านวันนี้เราพูดถึง พุทธานุสสติกรรมฐาน ถึงจุดนี้ สมาบัติ ๘ ซึ่งท่านทั้งหลายไม่เคยฟังมาก่อน แต่ว่าผมทำมาก่อน ผมทำได้ ที่พูดให้ฟังนี่ ผมทำได้ แต่ว่าทำตามอาจารย์สอน ไม่ใช่ผมสร้างขึ้นเอง ความจริง ความรู้นี้องค์สมเด็จพระบรมครูก็ทรงแนะนำไว้ แต่ว่าไม่มีใครนำมาสอนกัน ไม่ใช่ว่าไม่มีใครเลยนะ มีใครมาสอนกันผมก็ไม่รู้ ที่ผมรู้ขึ้นมาได้ ก็เพราะอาจารย์รุ่นก่อนท่านมีความฉลาด สามารถดัดแปลงคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ ไม่ใช่ดัดแปลงหรอก เอามารวมกัน เอาอนุสสติ คือ พุทธานุสสติ อานาปานุสสติ กสิณ เข้ามารวมกันเข้าหมดเป็นจุดเดียวกัน

    เมื่อได้เข้าถึงฌาน ๔ แล้ว ก็จับเอาภาพพระพุทธรูปเป็นกสิณยืนโรง แล้วก็เพิก จับอรูปฌาน นี่ความฉลาดของการเจริญพระกรรมฐานมีคุณแบบนี้

    เอาละ สำหรับวันนี้ การพูดสำหรับวันนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ต่อแต่นี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา สวัสดี

    ส่งบทความโดย คุณ grumgrim
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2013
  20. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    สู้ต่อไปน้องเต่าโบราณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • takachi.jpg
      takachi.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.7 KB
      เปิดดู:
      38

แชร์หน้านี้

Loading...