เพื่อการกุศล บูชาล๊อกเก็ตพระครูบาหล้า วัดสันกู่ลื้อ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย พระอริโย, 29 ธันวาคม 2012.

  1. พระอริโย

    พระอริโย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +224
    บูชาล๊อกเก็ตพระครูบาหล้า ญาณวโร วัดสัน กู่ลื้อ(สันสะหรีหัวเวียงยอง)
    [​IMG]
    ล๊อกเก็ตรุ่นแรก จัดสร้างขึ้นเพื่อหาทุนทรัพย์ร่วมซื้อที่ดินเพื่อขยายที่ดินภายในวัดให้เป็นเขตธรณีสงฆ์ เพื่อให้ครบหกไร่ตามมติของมหาเถระสมาคม ตอนนี้ยังขาดอีก ๒ ไร่ จึงจะตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎของมหาเถระสมาคมได้ ดังนั้นทางคณะกรรมการของวัดพร้อมคณะศิษยานุศิษย์ได้ขออณุญาติพระครูบาหล้า ญาณวโร จัดสร้างเหรียญล๊อกเก็ตรุ่นแรก โดยได้บรรจุมวลสารอันเป็นมงคล ได้แก่ เกศาของพระครูบา ว่านมงคล 108 ดินพุทธภูมิ ดินทั้งสี่ภาค มวลสารของครูบาอาจารย์ต่างๆที่ได้เก็บไว้ เป็นต้น นำมาบรรจุใส่ในล๊อกเก็ตรุ่นนี้ด้วย และได้ทำการพุทธาพิเสกจากครูบาอาจารย์ต่างๆตลอดไตรมาส ล้วนมีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ไปด้วยพุทธคุณ ในด้านเมตตามหานิยมเป็นอย่างยิ่ง
    ดังนั้นจึงนำล๊อกเก็ตรุ่นนี้นำมาแจกให้กับผู้ร่วมทำบุญในการซื้อที่ดินถวายให้กับวัดสันกู่ลื้อ ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ตารางนิ้วละ 1000 บาท รับวัตถุมงคล 1 ชิ้น (ค่าจัดส่ง 50 บาท )
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2012
  2. พระอริโย

    พระอริโย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +224
    ครูบาหล้า ญาณวโร วัดสันกู่ลื้อ ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    อัตตโนประวัติ
    ท่านครูบาหล้า ญาณวโร นามเดิมท่านชื่อ ด.ช.ญาณวิทย์ วงค์ริยะ (หล้า)ท่านถือกำเนิดในวันอังคาร ที่ 1 พฤษภาคม 2533 ปี มะเมีย ณ บ้านเวียงทอง ต.เมืองชุม อ.เวียงชัย จ.เชียงรายโยมบิดา-โยมมารดา ชื่อ นายดี และ นางฟองคำ วงค์ริยะ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 2 คน
    1นายบรรพต วงค์ริยะ
    2.พระครูบาหล้า ญาณวโร
    ชีวิตในวัยเด็ก
    ในชีวิตวัยเยาว์ท่าน มีอุปนิสัยรักความเงียบสงบสันโดษ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ไม่ชอบการเล่นสนุกสนาน ชอบไปอยู่ที่วัดหาผ้ามาห่มคล้ายพระภิกษุ เอาลูกประคำมาแขวนคอ และถือไม้เท้า และนั่งสมาธินั่งสมาธิ ทำอย่างนี้เป็นประจำ ซึ่งอากัปกิริยาต่างๆแตกต่างกับเด็กในวัยเดี๋ยวกัน
    โยมพ่อกับโยมแม่ ของท่านเห็นแววความฉลาดกิริยามารยาท และคำรบเร้าของท่านไม่ไหวจึงตัดสินใจเอาท่านไปฝากเป็นเด็กวัดชึ่งตอนนั้นท่านอายุได้๕ขวบ ประกอบด้วยท่านมีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด สามารถฟังและจดจำเสียงสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นได้ ท่านศึกษาร่ำเรียน บทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนานและอักขระธรรมล้านนาและไทย ได้ตั้งตั้งอายุได้ตั้งแต่เล็กๆก่อนที่จะได้บรรพชาเป็นสามเณร
    การบรรพชาและการอุปสมบท
    ครูบาอาจารย์เห็นว่าท่านสามารถสวดมนต์ได้ คล่องทั้งมนต์พิธีแบบล้านนาและไทยรวมถึงคำบรรพชา จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรในวันวันที่ ๒ เดือน เมษายน พ.ศ.๒๕๔๘ วัด ปางไตรแก้ว ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย โดยมีพระครูพิธาณพิพัฒนคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้นามใหม่แก่สามเณรเป็นภาษาบาลีว่า (ญารวโวสามเณร)จนถึงการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา
    ข้อวัตรปฏิบัติ
    ท่านได้ประพฤติวัตรประปฏิบัติ ตั้งตนอยู่ในเสขิยวัตรและศีลของสามเณร อย่าเคร่งครัด และบำเพ็ญตนตามหลักทศบารมี๓๐ทัศของครูบาศรีวิชัย ท่านถือประพฤติธุดงค์วัตร ออกบัณฑิบาตรเป็นกิจวัตร นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรและเอกาสะนิกังคะ(การฉันมื้อเดี๋ยว)แต่ท่านฉันเป็นอาหารอาหารมังสวิรัติ เพื่อกำจัดความอึดอัด อันเนื่องมาจากการฉันภัตตาหารมากเกินไป การติดในรสชาติอาหาร ฝึกเป็นผู้มีความมักน้อย และสามารถบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสะดวกสบาย จนผู้คนได้ขนานนามท่านว่า (สามเณรศีลธรรม)หรือครูบาตาภาษาที่ชาวบ้านเขาเรียกกัน เป็นที่รู้จักดีและแพร่หลายในแถมชุมชนนั้นถึงข้อวัตรของท่าน
    การนิโรธกรรมของท่านเริ่มขึ้นตั้งแต่บรรพชาเป็นสามเณรจึงถึงปัจจุบัน
    พิธีการนิโรธกรรมนั้นหมายถึง เป็นการตั้งจิตใจให้มั่นคงจากนั้น ภายใน 3-5-7-9 วัน จะไม่ฉันอาหาร ฉันเพียงแต่น้ำที่อยู่ในบาตร ขังตัวเองอยู่ในกุฏิหรือกระท่อมที่จัดสร้างขึ้นกว้าง 5 วา ยาว 5 วา มีประตูปิดเปิด ความหมายการเข้านิโรธกรรม คือ เข้า 3 วัน เปรียบหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้า 5 วันคือพระเจ้าห้าพระองค์ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโมอริยเมตเตยโย เข้า 7 วัน คือ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะ
    เข้า 9 วัน คือ พระนวโลกุตรธรรมเจ้าเก้าประการ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง อันหมายถึงพระนิพพาน เป็นคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายและเป็นที่ปรารถนาของนักปฏิบัติที่ พึงเข้าถึงให้ได้การปฏิบัติเข้าออกนิโรธกรรมประจำปีของครูบาน้อย เป็นแบบเฉพาะที่ผสมผสานกับธุดงควัตร หมายถึง นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ ดำเนินตามรอยของท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา อันเป็นกุศโลบายเฉพาะ มุ่งขัดเกลากิเลสให้บางเบาลงไปเป็นครั้งเป็นคราว แตกต่างกับนิโรธสมาบัติของพระอริยเจ้าที่ตัดกิเลสได้ นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ เป็นการดับอายตนะชั่วคราว เพื่อความสงบแห่งจิตเป็นแนวทางที่ครูบาน้อยยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นอาจาริยบูชา มาตาปิตุบูชา เป็นเวลา 3-5-7 วัน ตามกำลังที่จะปฏิบัติได้ ซึ่งท่านได้ยึดถือและปฎิบัติตามรอยของครูบาอาจารย์อยู่ตอลด
    การศึกษาและวิชาการความรู้
    ท่านได้ศึกษาร่ำเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม ตั้งแต่เป็นเด็กวัดจนถึงเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสนา ท่านไดไปศึกษาและฝากตัวเป็นศิกษ์ศึกษาอยู่ที่วัดบ้านเด่น กับพระครูบาเทือง นาถสีโล และได้ศึกษาตามรอยครูบาเจ้าศรีวิชัย และครูบาบุญชุ่ม และศึกษาคาถาทางด้านเมตตามหานิยม กับผู้ที่มีความรู้อีกหลายท่าน ทั้งเป็นพระสงฆ์ และ ฆราวาส อีกหลายท่านที่มีความรู้ในด้านนี้ตั้งแต่เป็นสามเณร อีกอย่างท่านยังมีความสนใจในทางด้านศิลปะในสายสล่า(ช่างปั้น) ชอบปั้นพระพุทธรูป แท่นแก้ว งานปิดทองคำเปลว โดยศึกษากับ ช่างวุฒิกร แก้วเงิน สล่าพื้นบ้าน และครูบาอาจารย์แบบครูพักลักจำ

    การก่อสร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา
    ร่วมสร้างวัดป่าพุทธคยา อินเดีย บูรณะพระประธานวัดบ่อเต่า อ.พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และวัดสันกู่ลื้อ ครูบาท่านยังใด้สร้าง งานศิลปะในพุทธศาสนาถวานเป็นพุทธบูชา
     

แชร์หน้านี้

Loading...