เล่าประสบการณ์ตรง และเทคนิควิธีการฝึกกสิณแสงสว่าง (จนถึงฌานสี่)

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ณฐมณฑ์, 12 ตุลาคม 2004.

  1. คนเดินเดี่ยว

    คนเดินเดี่ยว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +44
    หากมีบุ_ ขอทางเดินที

    ผมก็เปนนนึงครับที่วนไปมาหาทางออกไม่เจอ
    เคยรู้สึกว่าตัวเองหูดีมากคนคุยกันถึงเรามักจาแว่วไห้ได้ยินทั้งๆที่ไม่น่าจาได้ยินคิดว่าเคยได้ลักษณะพิเศษเลยนะหละครับแต่เวลาผ่านไปมานกลับจางหายไปแค่จาทำสมาธิระดับเบื่องต้นยังไม่มีใจทำได้
    ลืมแม้กระทั้งวิธีการหรือไรที่เคยทำมาอะครับเลยอยากไห้ช่วยดุหน่อยครับว่าผมน่าจาทำการเพียรแบบไหนถึงจาไปเร็วและทำไมทางของผมมานเดินๆไม่ได้เตมที่ัสักทีผมพอจาถึงพิพพานของพวกคุณไหมครับ
    มีกรรมไดที่ขวางไวงั้นหรือครับ
     
  2. อริส

    อริส บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    มาเรียนด้วยคนนะครับ :)
     
  3. ฝักบัว

    ฝักบัว บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณณฐมณฑ์ และคุณปาริสัชชา
    ดีใจที่เจอคุณปาริสัชชาที่กระทู้นี้อีก
    ตอนนี้ตัวเองขอค่อยๆอ่านค่อยๆแปล ความหมายไปพลางๆก่อน
    บอกตามตรงว่าคำบางคำไม่ค่อยเข้าใจ
    อยากจะเรียนถามว่า วสีนั้นเป็นอย่างไร(อย่าเพิ่งหัวเราะเยาะนะ)
    และบางครั้งทำไมเห็น(หรือนึก)แสงหรือพระพุทธรูปตรงระหว่างคิ้ว
    จึงรู้สึกปวดศรีษะ
    และถ้าทำสมาธิวันที่เครียดๆจะไม่ดีหรือเปล่า
     
  4. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    Re: สอบถามคุณณฐมณฑ์นิดนึงครับ

    ขอตอบว่า
    1.การเข้าฌานจนคล่องระดับ"นวสี" หรือวสี คือ...คล่องแบบไม่ถึงวินาทีก็ไปที่ฌานสี่ได้แล้ว เข้า-ออกฌานได้ทุกระดับในรูปฌานอย่างตรงระดับที่จิตกำหนดอย่างรวดเร็ว สลับฌานสลับกสิณได้ กำหนดเข้า-ออกฌานได้ตามเวลาที่ต้องการ
    แบบนั้นน้อยคนในโลกนักจะทำได้ค่ะ
    แต่ถ้าทำได้ ก็คือได้อภิญญา จะเหาะ จะดำดินก็ได้ทั้งนั้นหากฝึกกสิณกองที่ให้ฤทธิ์นั้นๆ นะคะ
    (แต่บางท่านที่อภิญญารวมตัว ก็ไม่ต้องฝึกไล่หน้ากสิณทีละกอง ก็ทำได้เลยก็มี)

    ทว่า การที่คนเราจะฝึกฝนให้ได้ระดับนวสีนั้น ตามความเป็นไปได้คือ บางทีคนหนึ่งๆ ฝึกชั่วชีวิตก็อาจจะไม่ได้ถึงระดับนั้น ดิฉันเองก็ยังไม่ทราบว่าจะได้หรือเปล่า...

    ดังนั้น เอาแค่ได้ฌานสี่ในอานาปานสติมาก่อน ก็เริ่มฝึกกสิณได้แล้วค่ะ
    หรือบางท่านจะเริ่มที่ฝึกกสิณก่อนก็ยังได้ ถ้าเป็นกรรมฐานกองที่ตนเคยถนัดมาในอดีตชาติ

    ขอยกตัวอย่างนะคะ
    ว่าดิฉันฝึกอานาปานสติมาบ้างก่อนกสิณ (โดยตอนนั้นฝึกไปเพลินๆ เพื่อความสงบค่ะ ยังไม่ได้คิดจะฝึกกสิณ และยังไม่ทราบเรื่องระดับฌานด้วย แต่ก็มาทราบทีหลังว่าได้ฌานสี่จากอานาปานสติมาบ้างแล้วโดยไม่รู้ตัว
    แต่ตอนนั้น ปฏิบัติก็หลายนาทีอยู่ค่ะ กว่าจะสู่ระดับฌานสี่ในอานาปานสติ)
    ต่อมา ดิฉันฝึกกสิณแสงสว่าง คาดว่าคงเพราะเป็นกรรมฐานกองเคยถนัด ดิฉันฝึกได้เร็ว และใช้งานได้ภายในไม่กี่วัน
    (คุ้นๆ ว่าไม่เกินสามวันจากวันที่ได้อุคหนิมิตรครั้งแรกมั้งคะ เนื่องจากได้ปฏิภาคนิมิตรครั้งแรกในวันเดียวกับวันที่ได้อุคหนิมิตรครั้งแรก คุ้นๆ เช่นนั้น)

    สรุปว่า

    ไม่จำเป็นต้องเข้า-ออกฌานสี่คล่องอย่างเอกอุ ก็เริ่มฝึกกสิณได้ค่ะ
    ในความถนัดเฉพาะตนของดิฉันแล้ว ดิฉันกลับรู้สึกว่ากสิณฝึกง่ายกว่าอานาปานสติอีก
    (แต่อานาปานสติก็ต้องฝึกด้วยเพราะเป็นกรรมฐานพื้นฐานค่ะ)
    หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านเคยบอกว่าอย่าคิดว่าฝึกกสิณนั้นนานเป็นปีกว่าจะใช้งานได้ ท่านว่าสามเดือนก็ใช้ได้แล้วค่ะ
    ดิฉันคิดว่าท่านคงหมายถึงกสิณกองที่สลายโทสะ และ/หรือ ให้ทิพจักขุญาณนะคะ

    และบางท่านอาจจะได้กสิณด้านทิพจักขุญาณในเวลาที่รวดเร็วกว่าดิฉันก็เป็นไปได้
    เรื่องญาณนี้...แล้วแต่วาระของแต่ละบุคคลค่ะ หากฝึกถูกต้อง เขาก็มาเอง...

    2.การฝึกแบบของคุณหนุ่มทิพย์ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่ง
    ถ้าคุณถนัดอานาปานสติกว่า จะเริ่มแบบนั้นก็ได้
    แต่ต่อมา เมื่อคุณฝึกกสิณถนัดขึ้นแล้ว ก็ไม่ต้องขึ้นต้นที่อานาปานสติก็ได้ค่ะ จะได้เข้าฌานในกสิณได้คล่องขึ้นเรื่อยๆ

    แต่บางคนก็เริ่มฝึกที่กสิณได้เลยเหมือนกัน แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนค่ะ
    เพราะ บางคนฝึกกสิณก็เป็นถนัดสำหรับเขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2004
  5. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    Re: หากมีบุญ ขอทางเดินที

    กรณีที่เคยมีหูทิพย์แต่จางไปแล้ว.... ขอแสดงความเห็นดังนี้นะคะ

    ธรรมดาแล้ว ท่านที่มีของเดิมติดมามักจะได้คืนเมื่อทำสมถกรรมฐานใดๆ ถึงฌานสี่นะคะ จะกลับมาเอง...
    แต่ถ้ายังไม่กลับมา ก็สามารถตามคืนด้วยการกำหนดจิตขอฟังหลังเข้าฌานสี่แล้วค่ะ

    ถ้าคุณคนเดินเดี่ยวสนใจการฝึกสมถกรรมฐานแบบอานาปานสติ ก็จะลองอ่านที่ลิงค์นี้ก็ได้นะคะ
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?s=&threadid=278

    ส่วนการฝึกหูทิพย์นั้น ฝึกคล้ายๆ ฝึกตาทิพย์ค่ะ (รู้คล้ายเห็นด้วยตา)
    โดยอธิษฐานขอฟัง แทนอธิษฐานขอเห็นภาพค่ะ ติดตามอ่านตอนการฝึกทิพจักขุญาณในกระทู้นี้ต่อไปนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2004
  6. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693
    ขออนุ_าตทักทายคุณอริสนะครับ ที่แวะมาเว็บพลังจิต ผมเองก็คงมาชั่วคราวเช่นกันครับ เสร็จธุระแล้วก็เตรียมทัวร์ธรรมะตามประสาคนชอบอิสสระใจแล้วหล่ะครับ :)
     
  7. คนเดินเดี่ยว

    คนเดินเดี่ยว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +44
    ขอบคุณครับ

    ใจความอาจวกวนไปนิดแต่ความหมายของผมคือผมควรจาทำสมาธิไปในแนวไดดีนะครับไม่ใช่ผมอยากได้ของวิเศษอะผมเลิกอยากได้มานานละคือผมฝึกเท่าไรมานไม่เคยก้าวหน้านะครับมีแต่ถอยหลังควรจาไปในแนวทางไหนดีครับถึงจาถูกกะลักษณะผมผมนั้นอยากได้ทางสงบมากกว่าทางวุ่นวายอะครับของที่ได้มานมีแต่วุ่นวายทำไปไม่นิ่งกะสลาย ผมเคยทำกำหนดรู้ลม บางทีก็นั่งเฉยๆจนสบายใจหลับไปแต่รู้สึกมานไม่ก้าวหน้าเลยลองตรวจสอบไห้ทีนะครับลักษณะนี้น่าจาไปทางไหน
     
  8. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693
    โมทนาเช่นกันครับ คุณฝักบัว ... จริงๆเราพยายามที่จะเลี่ยงในการใช้ศัพย์อย่างมากๆแล้วหล่ะครับ เพื่อจะได้ฟังง่าย แต่บางทีมันเลี่ยงบางคำไม่ได้ก็จำเป็นหน่ะครับ ( อย่างคำว่าซอร์ฟแวร์นี่ จะบอกว่า "ละมุนภัณฑ์" คงไม่สากลหน่ะครับ )

    คำว่า "วสี" ก็คือความชำนา_ หรือเชี่ยวชา_ หรือพูดง่ายๆว่า "คล่อง" นั่นเองครับ ... ถ้าพูดโดยขยายความคำว่า "วสี" จะมีลักษณะห้าอย่าง(มั้ง)ครับ ถ้าจำไม่ผิด เช่น 1) ชำนา_ในการตรึกถึง 2) ชำนา_ในการเข้าถึง 3) ชำนา_ในการทรงอยู่ 4) ชำนา_ในการถอยออก 5) ชำนา_ในการทบทวน ....

    อาจพลาดๆไปบ้าง เพราะผมไม่ได้จำจากตำรา แต่ใช้ความเข้าใจโดยองค์รวมหน่ะครับ .....

    ส่วนที่คุณฝักบัว เห็นแสง หรือภาพพระพุทธรูปตรงระหว่างคิ้วแล้วปวดศรีษะนั้น ผมเข้าใจว่า เป็นการใช้ประสาทตาเห็นรึป่าวครับ ก็เลยมีอาการบังคับประสาทให้ตึงเครียดจึงรู้สึกปวดศรีษะ (บางทีอยากอาเจียร)

    การทำสมาธิใดๆก็ตาม ผมว่าใช้ใจเบาๆนะครับ อย่าบังคับประสาท หรือฝืน... การเข้าสมาธิได้นั้นเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ เมื่อเราน้อมใจเบาๆ ด้วยใจที่อ่อนน้อม ภาวะของจิตก็จะดำเนินไปสุ่ความสงบตามลำดับไปเองนะครับ ...

    วันที่เครียดๆ จะทำสมาธินั้นก็ได้ครับ ก่อนอื่นให้หายใจเข้า-ออกยาวๆลึกๆสักสาม-สี่ครั้ง (เพื่อระบายอารมภ์หยาบออก) แล้วค่อยๆน้อมใจ เพื่อทำภาวนา ดูลมหายใจเข้า-ออกไป (เบาๆ) หากเครียด ให้หยุดทำนะครับ อย่าฝืนกระบวนการทางธรรมชาติ แล้วไปผ่อนคลายจิตใจ ... คือพูดง่ายๆว่า ขณะเครียดอยู่ จิตใจมันจะตึง เราก็ผ่อนคลาย ด้วยวิธีใดก็ได้ครับ ดูต้นไม้ ดูสายน้ำ ดูธรรมชาติ แม้ฟังดนตรีบางประเภทที่ผ่อนคลายก็ได้ ...

    เมื่อใจผ่อนคลาย สบายๆแล้ว ก็ทำสมาธิได้ต่อไป ... ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการทางธรรมชาติครับ แล้วโอกาสต่อๆไป ผมอาจกล่าวไปถึง การพิจารณาธรรมตามธรรมชาติด้วย (ถ้ามีโอกาสเหมาะสมนะครับ)


    ขอเจริ_ในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ :)
     
  9. ณฐมณฑ์

    ณฐมณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2004
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,881
    ถ้าอย่างนั้น ขออนุ_าตแนะว่า"คุณคนเดินเดี่ยว"ฝึกสมถกรรมฐานควบคู่วิปัสสนากรรมฐานนะคะ คุณอาจจะชอบอัชฌาสัยแบบสุกขวิปัสโกก็ได้

    ส่วนกรรมฐานกองใดที่เหมาะแก่การฝึกของคุณที่สุด ดิฉันจะทูลถามพระพุทธองค์ให้คุณอีกทีดีไหมคะ
     
  10. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693

    เรียนคุณนาโนโพรบครับ... ผมขออนุ_าตอุปมาอย่างนี้นะครับว่า การทำสมาธิถ้าเปรียบเหมือนเรากำลังขับรถไปทางไกลๆ สายตาเราทอดยาวดูเส้นทางบนถนนไป ส่วนมือก็ถือพวงมาลัยบังคับรถ ส่วนเท้าก็คุมเบรคและคันเร่ง ... กระบวนการเหล่านี้เป็นไปโดยธรรมชาตินะครับ เราจะเอาใจไปมุ่งเฉพาะแต่ถนนก็ไม่ได้ เฉพาะมือที่คอยขยับพวงมาลัย หรือเท้าที่คุมเบรคและคันเร่งก็ไม่ได้ .... ถ้าหากมุ่งสนใจแต่เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง รถย่อมวิ่งไปไม่ได้ตลอดเป็นแน่ ...

    ทีนี้มาดูต่อไปว่า ทำใมขับรถทางไกลๆ พอเพลินๆ แล้วอยากหลับ ก็เพราะเหตุว่ามันเพลินจนเผลอสติไปชั่วครู่หน่ะครับ ...

    ดังนั้นการขับรถ หรือการเจริ_กรรมฐานใดๆก็ตาม ต้องไม่เพลิน ต้องมีสติคอยระลึกรู้อยู่เสมอ ... และการเจริ_กรรมฐานให้ได้ความสงบไปตามลำดับนั้น ก็มีลักษณะคล้ายๆดังที่ผมอุปมาเรื่องการขับรถหน่ะครับ...


    จิตใจที่จะสงบนิ่งได้นั้นมันมีองค์ประกอบกันอยู่นะครับ คือถ้าจิตใจฟูเกินไปหรืออยากเกินไปก็จะฟุ้งซ่าน และถ้าจิตใจแฟ่บหรือหดหู่เกินไปก็จะง่วงนอน ... ทั้งสองอาการนี้เป็นปฎิปักษ์ต่อความสงบ ดังนั้นหากหาจุดสมดุลย์กันได้คือไม่ให้ใจฟู และไม่ให้ใจแฟ่บ จิตใจก็จะสงบลงเป็นสมาธิ

    ขยายความต่ออีกนิดว่า จุดสมดุลย์กันก็คือว่า ถ้าจิตมันฟูเกินไป ก็ทำให้มันสลดและลดลงมาเช่น พิจารณาความตาย(มรณานุสติกรรมฐาน) , พิจารณาอสุภกรรมฐาน (คือความไม่สวยไม่งาม) ฯลฯ ... ส่วนถ้าจิตแฟ่บหรือหดหู่ ก็เสมือนขาดน้ำหล่อเลี้ยงใจ จิตก็จะง่วงนอน ก็ใช้วิธีแก้ด้วยการสร้างปิติใจให้เกิดขึ้น หรือหาอุบายธรรมที่ทำให้จิตใจมีกำลังขึ้นเช่น อาจระลึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ,พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายที่มีคุณ ทำให้จิตมีปิติ ก็จะสามารถขจัดความง่วงออกไปได้ แต่ว่าหากยังง่วงอยู่ ก็หลับไปเลย แต่ตั้งใจอย่างนี้นะครับว่า จะหลับแค่พอหายเพลียแล้วจะรีบตื่นขึ้นมาเจริ_พระกรรมฐานต่อ อย่างนี้ก็ได้ครับ .....

    จริงๆแล้วมันเป็นกระบวนการทางธรรมชาติของจิตเอง ถ้าเข้าใจธรรมชาติอย่างนี้แล้วก็จะหาอุบายได้ด้วยตนเองหน่ะครับ .... ลองพิจารณาดูนะครับ ผมขอเป็นกำลังใจและขอโมทนากับเจตนาที่มุ่งเจริ_ในธรรมด้วยนะครับ :cool:
     
  11. ฝักบัว

    ฝักบัว บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบพระคุณ คุณปาริสัชชามาก ตัวเองนั้นไม่ค่อยได้ฝึกสมาธิเท่าใดนัก
    ปรกติจะใช้ฝึกลมหายใจ พอเห็นนิมิตเป็นแสงสว่างกลมจะไม่รู้สึกปวดศีรษะเลย
    แต่เสียตรงที่ตัวเองชอบปล่อยจิตเข้า ออก จากนิมิตกับสภาพแวดล้อมภายนอก
    (ชอบเล่น)
    คือ เวลาจับนิมิตจิตจะไม่รับรู้สิ่งแวดล้อมนอกตัวเองแต่พอส่งจิตออกนอกก็จะไม่รับรู้นิมิต(ยังหลับตาทำสมาธิอยู่ แม้เวลาส่งจิตออกนอกและส่งจิตเข้ามาที่สมาธิ ไม่ทราบว่าอธิบายมาคุณจะเข้าใจหรือเปล่า เพราะอธิบายไม่ค่อยถูก)และก็ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อ สมาธิที่ทำ ก็ฝึกจากตำรา ไม่เคยไปที่ไหน
    บางที่อ่านไปก็ไม่ค่อยเข้าใจ
    ตอนนี้จึงอยากลองฝึกกสิณดู แต่สงสัยคงจะไปไม่รอด
    เพราะสงสัยว่าใช้ประสาทตาดูนิมิตเป็นอย่างไร ในเมื่อขณะนั้นหลับตาอยู่
    และจะทำอย่างไรดี บางทีนึกแสงสว่างที่บริเวณท้อง
    แสงนั้นก็พยายามเลื่อนไปอยู่บริเวณหน้าผากระหว่างคิ้วอีก
     
  12. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693

    เรียนคุณฝักบัวครับ... ผมขออนุญาตตอบแบบเล่าสู่กันฟังดีกว่านะครับ คือปรกติแล้วหากฝึกแบบกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก อย่างนี้มักจะไม่มีนิมิตอะไรเกิดขึ้น (แต่จริงๆลมหายใจนั่นแหละเป็นนิมิต) ต่อเมื่อสภาวะจิตเป็นสมาธินิ่งอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ บางทีจิตจะรู้สึกสว่างๆ ใจจะมีอาการยิ้มน้อยๆ สงบๆ...

    ทีนี้ถ้ากำลังฝึกแบบกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออกอย่างเดียวนั้น หากเกิดนิมิตใดๆขึ้นก็ไม่ควรสนใจนะครับ เพราะจิตจะเคลื่อนออกจากสมาธิ ... และในอีกทางหนึ่งหากตั้งใจฝึกกสิน สมมุติว่าเป็นกสินสีขาว ก็ตั้งใจมองสีขาวแล้วก็หลับตาจำภาพสีขาวไว้ในใจ หากภาพสีขาวปรากฎขึ้นในใจ นั้นก็เรียกว่า เป็นนิมิตกสินสีขาว ... (คือไม่ได้เห็นที่ลูกตา แต่เห็นอยู่ที่ใจ)

    การทำกรรมฐานกองใดๆ หากเริ่มต้นฝึกแบบใดอยู่ แล้วเกิดมีกองอื่นแทรกเข้ามา ต้องเพิกออกไป คือต้องไม่สนใจกับสิ่งที่แทรกเข้ามา ตั้งใจเฉพาะกรรมฐานกองที่ฝึกไปหน่ะครับ...

    ส่วนตัวผมแล้ว สมัยก่อนๆผมเองก็ชอบเล่นแปลกๆอยู่เหมือนกัน เช่นบางทีนั่งสมาธิอยู่พอจิตสงบนิ่งดิ่ง ก็ลืมตาขึ้นทันที อันนี้อาจารย์ท่านห้ามไว้ว่าไม่ควรทำนะครับ ... (จริงๆผมเล่นแบบอื่นๆอีกมากหน่ะครับ)

    ผมว่ากระบวนการเข้าสมาธินั้นเป็นธรรมชาติที่คนทุกคนทำได้อยู่แล้ว หากเข้าใจธรรมชาตินะครับ ว่าจิตของเรานั้นก็เข้าสมาธิเองได้อยู่แล้ว เพียงแต่เราจัดความเหมาะสมให้จิตดำเนินไป เช่นการที่เราทำภาวนาพุท-โธ และดูลมหายใจเข้า-ออกไปเรื่อยๆ ก็เพื่อเป็นเครื่องตรึงจิต หรือเป็นกรอบให้จิตไม่ส่ายออกไปรับอารมภ์อื่นๆ จิตก็จะสงบและดำเนินไปเป็นสมาธิตามลำดับจนถึงระดับฌานสี่ได้...

    ผมเองอาจจะตอบได้ไม่ตรงคำถามนัก ก็เพราะเหตุว่าแนวทางของผมนั้น มักอยากจะเป็นลักษณะสนทนาแลกเปลี่ยนกันมากกว่านะครับ เนื่องด้วยตนเองก็ยังเป็นผู้ศึกษาอยู่เช่นกัน ซึ่งหากมีท่านใดติติงมา หรือเสริมในส่วนที่ขาด ก็จะได้รับประโยชน์กันทุกฝ่ายนะครับ ... อีกนัยหนึ่งก็อยากจะพูดในแนวกว้างๆเพื่อให้ ท่านผู้อ่านท่านอื่นๆฟัง เพื่อเกิดกระบวนการคิด และการสังเคราะห์ด้วยนะครับ...

    ส่วนที่คุณฝักบัวสนใจฝึกกสิน ก็อ่านที่คุณณฐมณฑ์เขียนเอาไว้ข้างต้น เพื่อลองเทียบเคียงดูครับ... เส้นทางการปฎิบัติของแต่ละบุคคลนั้นจะแตกต่างกันบ้างนะครับ แม้แต่ครูบาอาจารย์ของเราเอง ท่านก็มีอาจารย์อีกทีหนึ่ง ท่านเองก็ไม่ได้เดินย่ำรอยเท้าตามอาจารย์ของท่านทุกๆก้าว ... ต่อเมื่อท่านเกิดความเข้าใจ และทำได้เองแล้ว ท่านก็มีเส้นทางเฉพาะของท่าน ... ดังนั้นเราเองก็เช่นกันนะครับ ก็จะมีเส้นทางเฉพาะของตนเอง แต่เริ่มต้นอาจต้องใช้หลักการเดียวกันก่อน แต่ต่อๆไปเมื่อปฎิบัติจนเข้าใจแล้ว ก็จะมีวิธีเดินไปในเส้นทางของตนเองได้ แต่สุดท้ายปลายทางก็บรรจบกันอยู่ดี (แต่เส้นทางสายหลักใหญ่ๆนั้นพระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนเอาไว้อยู่แล้ว)...

    แต่เสริมข้อคิดอีกนิดนะครับว่า คุณฝักบัวหากชอบกสิน ก็ฝึกกสินนะครับ หรือบางทีกสินอาจเป็นกรรมฐานที่คุณฝักบัวเคยฝึกได้มาแล้วในอดีตกาลก็ได้นะครับ ดังนั้นก็ควรฝึกจากกรรมฐานที่ถนัดที่สุดก่อน แล้วจะก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่ที่สำคัญคือจะฝึกกรรมฐานกองใดก็แล้วแต่ ขออย่าทิ้งอานาปานสติ (กำหนดรู้ลมหาย) ขอให้ใช้อานาปานสติเป็นกรรมฐานหลัก และจะต้องรักในกรรมฐานที่ฝึกนั้นอย่างแท้จริงด้วยนะครับ...

    ขอให้คุณฝักบัวและผู้อ่านทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ :)

    <ปล. แม้ผู้ฝึกเฉพาะอานาปานสติอย่างเดียว หากมีวิสัยทางอภิญญา...ผมเคยเห็น และเคยทราบจากคนใกล้ชิดแล้วว่า "ท่านผู้นั้นก็สามารถอธิษฐานฤทธิ์" ได้เช่นกันครับ >
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2004
  13. คนเดินเดี่ยว

    คนเดินเดี่ยว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +44
    ขอบคุณครับ

    รบกวนคุณอีกทีนะครับเท่าที่อ่านมาคุณสามารถรู้ได้ใช่ไหมครับว่า
    บุคคลไดเหมาะกะจริตของกรรมฐานแบบไดผมรองกำหนดลมหายใจดุเมื่อสมัยก่อนแต่มานไปได้ไม่ค่อยดีและไม่แน่ใจว่าถูกกะลักษณะผมหรือไม่มานไปได้ช้ามากกว่าจาเริ่มเข้าสมาธิมีแบบวิธีปฎิบัติอื่นบ้างครับตรวจดุไห้ผมทีนะครับว่าเหมาะสมกะแบบไดส่วนไอ้เรื่องของทิพนั้นไม่ได้อยากได้มานานละครับมานได้มาแล้วยุ่งยากไม่สงบเลยที่พูดไปเพราะอยากไห้บอกทีครับว่าผมเคยได้มาจริงไหมเรอคิดไปเองอะครับกลัวไปหลงผิด(หลอกตัวเอง)หากมีไรอื่นไดไม่เหมาะก้ช่วยแนะนำทีนะครับเพราะผมรุ้สึกว่าคุณจาดูได้จริงๆอะครับบอกได้เลยไม่ต้องเกรงใจผมๆจาได้สำนึกตัวได้ครับ
     
  14. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693
    Re: ขอบคุณครับ

    เรียนคุณคนเดินเดี่ยวครับ ... ต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่า สาวกภูมิไม่สามารถดูกรรมฐานที่เหมาะกับจริตให้ใครได้อย่างแน่นอนหรอกนะครับ แม้แต่พระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาอันถูกยกย่องว่าเป็นเลิศทางปั__าแล้ว ยังเคยให้กรรมฐานผิดกองกับศิษย์ได้เลย... นี้เป็นวิสัยของพระพุทธ_าณเท่านั้นที่จะทำได้ครับ ...

    แต่เจตนาอันบริสุทธิ์ของคุณณฐมณฑ์นั้น เธอสามารถกำหนดจิตไปรับคำสอนของพระพุทธองค์ได้ เธอจึงมีความบริสุทธิ์ใจอย่างยิ่งที่จะเกื้อกูลมิตรธรรม (ที่เคยอธิษฐานกันมาในอดีต) โดยจะช่วยทูลถามพระพุทธองค์ให้หน่ะครับ ซึ่งอย่างน้อยก็จะได้เป็นกำลังใจเสริมให้กับผู้สนใจปฎิบัติธรรมอีกทางหนึ่งนะครับ...

    ส่วนการปฎิบัติแล้วเกิดผลนั้น ผู้ปฎิบัติต้องลงมือกระทำเองอย่างตั้งใจ และจริงใจนะครับ และถึงแม้แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านเสด็จมาโปรดแสดงธรรมให้เองนั้น ผู้ฟังก็ต้องเป็นผู้ปฎิบัติเองอย่างตั้งใจจึงจะสัมฤทธิ์ผลนะครับ...

    กรรรมฐานใดที่เกิดความรู้สึกรักที่จะฝึกปฎิบัติ ก็ต้องฝึกปฎิบัติด้วย อิทธิบาทสี่นะครับ ... ขออย่าได้ร้อนใจไปเลย การปฎิบัติธรรมที่แท้จริงแล้ว หากจะทราบว่าปฎิบัติมาถูกทางหรือไม่ ก็ขอให้สังเกตุง่ายๆนะครับว่า อาการทางใจนั้นจะสงบเย็นลง จิตจะเข้าใจสิ่งกระทบมากขึ้นโดยไม่กวัดแกว่ง หรือแกว่งก็แกว่งน้อยๆ ไม่ว่าสิ่งเร้านั้นจะเป็นไปในทางสุข หรือทุกข์ก็ตาม จิตใจจะเข้าใจสภาวะนั้นๆ จนไม่หวั่นไหวตาม ... ในเบื้องต้นอาจจะไม่หวั่นไหวเพราะอำนาจของสมาธิกดทับเอาไว้ แต่ต่อๆไป จะไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจของสติ และปั__าที่รู้เท่าทันสภาวะนั้นๆนะครับ ... จิตที่เป็นสุข คือจิตที่กวัดแกว่งไปกับสิ่งเร้าน้อยที่สุด...

    ยิ่งปฎิบัติธรรมได้ละเอียดเท่าไหร่ มานะทิฎฐิก็จะน้อยลงตาม ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็ลดน้อยลงตามไปด้วยหน่ะครับ นี้เป็นข้อสังเกตุใจนะครับ...

    บางทีคุณณฐมณฑ์เอง เธออาจจะมีข้อแนะนำอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ก็ขอรอเธออีกนิดนะครับ ... เธอพักผ่อนน้อย ก็เพราะความตั้งใจที่จะตอบทั้ง pm และเรียบเรียงเนื้อหาเรื่องกสินจากประสบการณ์ให้จบหน่ะครับ ...สุขภาพกายก็ไม่ค่อยแข็งแรง แต่สุขภาพใจของเธอดีมากครับ (y) ... ขอให้รออีกหน่อยนะครับ :cool:

    <ปล. ตามที่ผมเขียนไว้ข้างบนหน่ะครับ จะฝึกกรรมฐานกองใดก็ตาม จะทิ้งกองลมไม่ได้นะครับ ถึงฌานสี่เมื่อไหร่ลมหายใจจึงจะหายไป>
     
  15. ฝักบัว

    ฝักบัว บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ต้องขอขอบคุณคุณปาริสัชชาอีกครั้ง ที่กรุณาช่วยชี้แนะ
    แต่ก็อย่างว่า การอธิบายเรื่องการปฏิบัติสมาธิ และผลที่ตามมา
    เป็นสิ่งที่ยากยิ่ง อย่างเช่นตอนกำหนดลมหายใจแล้วเห็นแสงเป็นวงกลมขาวนวลนั้น ขั้นตอนมันยังมีอย่างอื่นอีก เช่นตอนนั้นอาจนึกปลงอะไรอยู่ด้วย หรืออาจนึกพุทโธ ด้วย(อธิบายไม่ถูก)
    แต่รับรองว่าไม่ได้ทำกสิณ และทุกขั้นตอนที่เล่ามาก็เกิดในขณะหลับตาทำสมาธิอยู่ แม้ตอนกำหนดรู้สภาวะภายนอกสมาธิ เช่นเสียงต่างๆ
    ก็ยังไม่ได้ลืมตาออกจากสมาธิ ขอรบกวนคุณปาริสัชชาเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน
    (เกรงใจน่ะ เพราะดูๆแล้วคำถามตัวเอง อาจจะไร้สาระ ไม่มีขั้นมีตอน)
    ก็ขอให้บุ_กุศลในความมีเมตตาจิตของคุณ จงดลบันดาลให้คุณประสบผล
    สำเร็จตามสิ่งที่ปรารถนาด้วยเทอ_
     
  16. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693
    ผมขอโมทนา...สาธุเช่นกันครับ คุณฝักบัว

    ผมเข้าใจว่าการสื่อสารทางภาษาอาจทำความเข้าใจยากสักหน่อย แต่ไม่เป็นไรนะครับ ไม่ต้องเกรงใจผม ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งครับอยากให้มีผู้สนใจปฎิบัติธรรมกันมากๆ จะได้แจ่มแจ้งในธรรมมาก พระพุทธศาสนาก็จะได้เจริ_รุ่งเรืองครับ และที่สำคั_ตัวผู้ปฎิบัติธรรมเองก็จะได้ค่อยๆทุเลาจากทุกข์ และสิ้นทุกข์ในที่สุดนะครับ

    หากคุณฝักบัวยังติดข้องใจประการใดอยู่ อยากจะสนทนาเป็นส่วนตัวก็เรียนเชิ_นะครับที่ : parisatcha@yahoo.com

    เจริ_ในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ :)
     
  17. ปาริสัชชา

    ปาริสัชชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +2,693
    เอ !...คุณบรรพตครับ สูตรนี้ต้องให้กับ "เจ้าของกระทู้สบายใจแล้วค่ะ" รึป่าวครับ? ... (ไม่โกรธกันนา ผมแค่แซวเล่นให้ผ่อนคลายนะครับ :p )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2004
  18. bkkth30

    bkkth30 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +22
    ขอถามพี่ปาริสัชชา/พี่ณฐฒณฑ์

    ตอนนี้ผมมีปั_หาการทำสมาธิครับ แต่ละครั้งการกำหนดจิตแบบอานาปานสติจิตผมคอยวิ่งไม่อยู่คงที่ครับ จะทำอย่างไรกับการไม่ให้จิตวิ่ง หรือไม่ก็ทำอย่างไรไม่ให้จิตไปสนใจสิ่งอื่นครับ (ผมนั่งสมาธิหลังจากสวดมนต์ครับ แต่ทำทีไรไม่เกิน 20 นาทีทุกทีครับ ตรงต่อเวลาเสมอ)
     
  19. ไปส์

    ไปส์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ของอย่างนี้ต้องเป็นผู้มีบุ_วาสนาเท่านั้น หรือจะต้องเคยปฏิบัติกันมาแล้วในชาติปางก่อน เอาเป็นว่าคนที่ยังมีภาระอยู่ พึงสำเร็จแค่ณา_ 4
    ก็เกินพอแล้ว
     
  20. คนเดินเดี่ยว

    คนเดินเดี่ยว Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +44
    ทำอย่างนี้ซิจานิ่งแน่นอนครับ

    ผมพอจาเคยได้ยินมาบ้างนะครับวิธีทำจิตไห้นิ่งครับคุณรู้จักคำว่าจิตทรง_าณไหมถ้าความหมายผิดอยางไงโทดทีนะครับแต่มานได้ผลนะครับการทำสมาธิไม่ได้ทำได้เฉพาะเวลาเรานั่งหลับตาครับ ลืมตาก็ทำได้ครับโดยสมาธิลักษณะนี้จะเปนแบบหยาบๆครับพูดทางเทคนิคบ่ได้ฟังแบบนี้เข้าใจดีกว่าครับ
    คือคุณตั้งจิตจับลมหายใจหรือนึกถึงพระพุทธรูปก้ได้ครับใน1วันนึกไห้ได้บ่อยๆที่สุดและนานๆที่สุดเท่าที่จะทำได้แต่อย่าเอาเปนเอาตายนะครับแค่บางๆแบบระลึกถึงนะครับได้นึกถึงก็ได้สมาธิแบบหนึ่งครับไปเรื่อยๆอย่าไปกังวลร้อนใจทำแบบนี้ประจำวันนึงคุณจาเหนว่าจิตคุณสามารถนึ่งได้แน่นอนครับและนานด้วยหากเวลาล่วงเลยนานวันเวลาคุณเข้าสมาธิจิตคุณจะไม่ถอนออกง่ายๆเลยครับอันนี้ผมพอรู้มาเลยมาบอกไห้อะครับเผื่อว่าจะมีประโยชน์ ลองไปทำดูนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...