ทำสมาธิแบบไหนให้มันไม่ฟุ้งซ่านหรอครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รักในหลวงครับ, 12 กันยายน 2012.

  1. รักในหลวงครับ

    รักในหลวงครับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +101
    ทำสมาธิแบบไหนให้ไม่ฟุ้งซ่านอ่าครับคือเป็นคนคิดฟุ้งซ่านตลอดเวลา
    เวลาทำอะไรก็ไม่มีสมาธิชอบคิดเรื่องอื่นตลอดเลยทำไงดีๆหรือเป็นที่ความผิดปกติของสมอง หรือชาตินี้บุญน้อยไม่มีทางทำสมาธิได้
    ช่วยบอกหน่อยครับ
     
  2. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    เวลานั่ง ก็ พูด กะตัวเองกอนครับ อย่า พึง ไปจับ พุทโธ คุย ว่า ตอนนี้ นั้งอยู่ที่ ไหน นั้ง อยู่ กะ ใคร ลมพัดเย็นดีนะ มี เสียง นกร้อง คนพูด กัน มี เสียง รถมอไซ ถ้ามันฟุ่ง คิดนั้นนี้ ก็ กลับ ไปนั่ง หน่อ นั่ง หน่อ นั่ง หน่อ จน สงป แล้วคอย หายใจเข้า พุท หายใจ ออก โธ ถ้าคิดฟุ่ง ก็คุยกะตัวเองใหม่

    สาธุครับ
     
  3. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เขาไม่ได้ ทำสมาธิ เพื่อให้ ไม่ฝุ้งซ่าน

    เขาให้ฝึก สมาธิ เพื่อให้เห็นว่า สมาธิ มันคู่ กับ ฝุ้งซ่าน

    คือ เดี๋ยวก็ สงบ สงัด แต่พออีกสักพัก มันก็ เกิดความฝุ้งซ่าน

    เป็นของคู่กัน มีคู่กันอยู่

    ฝึกเห็นจิตที่มีสมาธิ กับ จิตที่มีความฝุ้งซ่านๆ บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะ
    ค่อยๆเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมมะ คือ ให้ตามเห็นความแปรปรวน
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    หากดูเก่งๆ จนสามารถเห็น ความฝุ้งซ่านๆ แบบ ปุถุชน เขารู้ๆกัน
    ว่ามันเป็นเรื่องขี้ประติ๋ว เพราะเอาเข้าจริงๆ

    จิตที่เข้าไปอยู่ในสมาธิ เหมือนเนื้อติดฟัน นี่ อันนี้ "พ่อของพ่อของพ่อ
    แม่ของแม่ของแม่ ของความ" ฝุ้งซ่านเลย

    พอเห็นว่า สมาธินั่นแหละคือ การฝุ้งอย่างหนึ่ง มีการเคลื่อนออก ไม่ได้
    อยู่ที่ฐาน ไม่เป็นกลางจึงได้เคลื่อนเข้าไปในสมาธิตลอด ก็จะเข้าใจ
    ธรรมะมาอีกระดับหนึ่ง

    เรียกว่า เข้าถึงธรรมะระดับแท้ๆ ที่เป็น ตัวศาสนา เป็น ความสงบ
    และ สงัด ยิ่งกว่า สมาธิธรรมดาๆ ทั่วๆไป ที่โลกเขาก็ทำสมาธิเป็นกัน
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ทีนี้ หากพอเข้าใจ

    ก็ประกอบสมาธิไปอย่างทีทำอยู่นั่นแหละ ทำแล้วมันผลิกออกไปคิด
    หรือ ไม่ผลิกออกไปคิด ก็ ตามระลึกรู้สภาพมันไปตรงๆ

    อย่าเลือก

    อย่าเล็งผลเลิศ

    เขาให้ตามรู้ตามดู ไม่ใช่จะให้ เลือกเอาอะไรมาประดับตน

    แต่ให้ตามดูไปตามที่มันมี มันเป็น(แปรปรวนเป็นธรรมดา) ด้วยจิตตั้งมั่น เป็นกลาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2012
  5. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    ผมเคยตั้งกระทู้เรื่องการทำสมาธิไว้ครับ

    ลองเข้าไปอ่านดูครับ http://palungjit.org/threads/ความเข้าใจผิด-เกี่ยวกับการทำสมาธิ-และ-วิปัสสนา.356839/

    เพื่อจะเป็นประโยชน์ครับ เพราะถ้าเข้าใจเรื่องสมาธิแล้วเราจะปฏิบัติได้ถูกต้องครับ
     
  6. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เหมือนกับมาถามว่า เริ่มเตะบอล ทำยังไงถึงจะเดาะบอลได้หลายๆครั้ง...
    ก็ฝึกบ่อยๆ

    สมาธิกับฟุ้งซ่านนี่เป็นของคู่กัน
    เบื้องต้นให้ฝึกนับ คือนับเป็นคู่ลมหายใจเข้าออก
    หายใจเข้าออกหนึ่งครั้ง ก็นับหนึ่ง
    สองครั้งก็นับสอง
    สามครั้งก็นับสาม

    แรกๆเอาแค่ห้าก็ได้ โดยตั้งใจว่า ห้าครั้งนี้จะไม่ยอมให้จิตแวบไปที่ไหน
    ถ้าแวบไปก็เริ่มใหม่

    แต่บางวันมันก็ฟุ้งจริงๆ
    ถ้าฟุ้งๆมากๆนับไม่ไหว ก็เลิก ไม่ต้องทำวันนั้น
    ไปทำโน่นทำนี่ให้สบายใจก่อน

    แรกๆห้าครั้งก็อาจจะยาก นานๆไปมันก็ได้เป็นร้อยเป็นพันไปเอง
     
  7. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    ไม่ต้องนั่งสมาธิหรอกแบบนี้ แค่ลองมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ เมื่อจิตคุณอยู่กับสิ่งนั้นแล้ว
    คุณก็จะเลิกคิดเอง ไม่ต้องหลับตาใช้การลืมตา
     
  8. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337

    ไว้ถ้าว่างๆเดียวผมพิมเรื่องกียวกับสมาธิไว้ให้อีกเเง่มุมละกันนะครับ
    ผมอ่านไม่หมดหรอกนะที่คุณเอาลิงค์มาให้อ่าน จากที่ดูเเล้วเห็นว่า ก็น่าจะถูกอยู่ เพราะผมเห็นเค้าพิมพ์ไว้ว่า จิตเกิดดับ อยู่เพียง4ขันธ์ ตรงนี้ประชากรชาวพุทธธะมีเพียงไม่เกิน5ประเซนจาก100 หรือ จาก1เปอร์เซนของประชากรโลก ที่รู้เรื่องนี้ครับ อย่างบางพวก ก็รู้เพียงว่าวิญญาณนั่น รู้เเจ้งเพียง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เเละก็รู้ว่าวิญญาณขันธ์ก็คือจิต ซึ่งจริงๆไม่ใช่เห็นตื่นๆอย่างนั่นนะ ทีพระอานนท์พูดไว้ว่า ปราฏกเป็นของตื่นนักพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่าไม่รู้จริงไม่เเทงตลอด ก็เหมือนความยุ่งที่พันเอาไว้เหมือนหญ้าที่พันกันยุ้ง เป็นความยุ้งของจิต จึงต้องดูพระสูตรให้กว้างๆ อย่างเช่นว่าเจอพระสูตรเดียวที่ ตรัสไว้ว่า วิญญาณ ก็คือ วิญญาณ6 ตรงนี้ ยังตอบโจทย์ไม่ได้ครับ เพราะเเค่มุมมองเดียวเท่านั่น เพราะตรงนั่นเป็นส่วนของ รูป นั้นเอง ซึ่งจริงๆมันต้องรู้ นาม ด้วย คือ เวทนา สัญญา สังขาร ///เพราะพระองค์เป็นผู้ตรัสเอาไว้ว่า วิญญาณต้องอาศัยนามรูป=นามรูปก็ต้องอาศัยวิญญาณ ก็เลยมีทิฏฐิกันอยู่ว่า ขันธ์5มีอยู่ในตน ว่ามีตนอยู่ในขันธ์5 เกิดเป็น ตัวตนเป็นผู้ยึดขันธ์5 อยู่เเบบนี้


    เวลานี้คนส่วนมากมีความเข้าใจผิดๆ เเบบนี้กันเยอะ เเล้วเข้าใจผิดอย่างระเอียดด้วย จนผมก็ต้องคิดหลายตลบถึงจะเข้าใจเเบบพวกเค้าได้ เกียวกับเรื่องสมาธิ ไม่ว่าระดับของรูปฌาน จนถึง อรูปฌานนั่นเเละ ว่าวิปัสสนาไม่ได้เป็นต้น หรือ เรื่องที่พระองค์ไม่เคยตรัสคำว่าฌานไว้หลัง รูปฌาน อรูปฌาน เเต่เรียกว่า รูปสัญญา อรูปสัญญา ก็ครายๆเเต่ความนัยนั้นต่างกัน ความหมายโดยร่วมนั่นต่างกัน
    เกิดจากการอาศัยเชื่อตามๆกันมานั่นเอง โดยไม่ได้ตรวจสอบเทียบเคียง เพราะอาศัยที่ดูน่าเชื่อถือ จนหาจุดยืนไม่ถูกว่า ที่สุดคืออะไร เสาเหลักของความรู้จากใคร ก็ไม่มี ก็ไม่รู้ พระธรรมเป็นของใคร ใครเป็นผู้ฝึกบุรุษที่ไม่มีใครยิ่งกว่า ใครเป็นครูผผู้สอนเทวดาเเละมนุษย์ทั่งหลาย ใครเป็นผู้รู้ ผู้ตื่นจำเเนกธรรมสั่งสอนสัตว์ มันไม่มีความเเน่นอนอะไรเลยทุกวันนี้ เอาเเต่เช่อๆตามๆกันว่าไม่สนอย่างเดียว มันเลย เหมือนกลุ่มด้ายปุ่ยนุ่น ที่พัดซ้ายก็ไปซ้าย พัดขวาก็ไปขวา ก็เหมือนกัน ใครบอกอะไรก็เชื่อตามๆกันเเบบนี้ โดยไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง เอาเเต่ดูว่าน่าเชื่อถือ ดูเค้าพูดดูดีกว่า ชอบกว่า พูดได้โดยใจกว่า ซึ่งคำมันอาจจะผิดเพี้ยนไปได้ใครจะรู้ มันก็เลยผิดตามๆกันไป เพราะฉะนั้นต้องหาความเเน่นอน คือ ' จงมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ อย่าเอาสิ่งอื่นเป็น สรณะเลย ; จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรม เป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย'

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อันนี้ หลวงปู่พุธ ฐานิโย ท่านแนะนำ ลองอ่านดูพลางๆก่อน


    ครูบาอาจารย์ของเราท่านย้ำนักย้ำหนา
    ว่า
    เอาสมาธิให้มันได้
    เอาสมาธิให้มันได้

    ทีนี่ การทำสมาธิ ทำอย่างนี่เด้อ
    เอาไปลองทำลองดู ถ้าใครไม่เชื่อก็รับฟังไว้แล้วก็ทำไว้ ลองดู

    วันนี้ก็มีแม่ชีคนนึง ไปถามว่า
    ทำไมจิตใจมันมีแต่ความฟุ้งซ่านมันไม่สงบซักที ว่าอย่างนั่น
    สงสสัยจะไปโดนใครโกหกมาละมั๊ง ว่าจิตมันฟุ้งซ่าน
    มันเป็นอย่างนี่ดอก
    ศีล อบรมสมาธิ ศีลนี่หมายถึงศีลที่บริสุทธิ์
    อย่างต่ำศีล ๕ กาย วาจา บริสุทธิ์ ปราศจากโทษ
    เมื่อมานั่งสมาธิแล้ว จิตก็สงบเป็นสมาธิ

    สมาธิที่มีศีลเป็นเครื่องประกันความปลอดภัย
    มันทำให้เกิดปัญญา
    ทีนี่
    คำว่าปัญญาที่เกิดขึ้นมานี่
    มันไปรู้พระไตรปิฎกจบทั้ง แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
    อย่างนั่นหรือเปล่า อย่าไปเข้าใจผิดอย่างนั้น

    ปัญญาที่มันเกิดขึ้น ก็คือความคิดที่มันคิดไม่หยุดนั้นเอง
    จะเป็นความคิดอะไรก็ได้ ที่มันคิดไม่หยุด
    เราไม่ได้ตั้งใจคิด มันก็คิดของมันขึ้นมา
    ตั้งใจคิดมันก็คิดของมันขึ้นมา
    เพราะที่เราไปเข้าใจผิด
    ว่า
    ความคิดนั้นคือความฟุ้งซ่าน
    แล้วเราก็อยากจะให้จิตมันหยุดคิด
    เพราะเราติดความสงบ ติดความนิ่งของจิต
    แต่แท้ที่จริง คำภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    ที่ท่องเอาไว้นั่น ล่ะ
    มันอะไรเสียอีก ก็คือความคิดนั่นแหล่ะ
    มันอะไรเสียอีก ก็คือความคิดนั่นแหล่ะ

    ทีนี่เมื่อภาวนาพุทโธ พุทโธ หัดคิดพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
    จนคล่องตัวชำนิชำนาญแล้ว

    สมาธิ มันเกิดเอง

    พอสมาธิมันเกิดขึ้นมานิดหน่อย มันก็ทิ้งพุทโธ ที่มันตั้งใจคิดอยู่นั่น
    แล้วไปคิดอย่างอื่นขึ้นมา
    ความคิดอย่างอื่นนั่นก็คือความคิดเหมือนกันกับพุทโธนั่นแหล่ะ
    เพราะฉะนั้นเมื่อจิตมีความคิดเกิดขึ้นมาเอง ปล่อยให้มันคิดไปเลย ปล่อยให้มันคิดไปแล้วเอาอย่างนี้
    ตั้งใจเอาไว้ ว่า เอา เอา เอาเอา แกจะคิดไปถึงไหนฉันจะตั้งใจดูแก
    คิดไปเหนือ ไปใต้ คิดไปนรก คิดไปสวรรค์ คิดไปบ้านคิดไปช่อง
    คิดไปเที่ยว หาเที่ยวแซ่ เที่ยวสาว คิดไปลักไปขโมยไปจี้ไปปล้น
    ตามมันไป
    ตามมันไป
    รู้มันไป
    มันจะไปถึงไหน
    ที่นี่ ถ้าเราเอาความคิดนั้นเป็นอารมณ์จิต
    กำหนดสติตามรู้ รู้ รู้ รู้ รู้รู้มันไป

    เมื่อ สติสัมปชัญญะ ตัวนี้ มีพลังแก่กล้าขึ้น
    ผลมันจะเกิดขึ้นเป็น สองอย่าง

    ถ้าสติตามทันความคิดทุกขณะจิต
    จิตคิดไปดูไป คิดไปดูไป คิดไปดูไป
    ตัวคิดไม่หยุดนั่นเป็นตัว วิตก
    สติรู้พร้อมในขณะที่ จิตมีความคิด นั่นคือ ตัว วิจาร
    จิตคิดไม่หยุด
    เราก็รู้มันเรื่อยไป ประเดี๋ยว ปีติมันก็บังเกิดขึ้น
    คิดไปดูไป คิดไปดูไป กายก็เบาจิตก็เบา
    หนักๆเข้า กายก็สงบ จิตก็สงบ

    มันสงบอย่างไร มันคิดอยู่ไม่หยุดมันสงบอย่างไร
    เอาคัมภีร์ไหนมาพูด
    มันคิดอยู่มันสงบ เพราะจิตตัวรู้ สติตัวรู้ มันเป็นปกติ
    ไม่มีความยินดี
    ไม่มีความยินร้าย
    ในความคิดนั้น
    คิดแล้วก็ปล่อยวางไป พออารมณ์ กับจิตมันดูดดื่ม ซึมซาบ
    สติที่ไปกำหนดรู้ อยู่ที่ความคิด ที่เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้น
    อย่างแน่วแน่มั่นคง รู้ทันทุกขณะจิตเขาเรียกอะไร ฮึ .. ???

    จิตตานุปัสนา สติปัฏฐาน ไม่ใช่เหรอ
    ฮึ ..??? ภาวนามาจนประสาทโง่ โง่ไม่เข้าท่า

    ความคิดที่มันคิดอยู่ไม่หยุด สติจะตั้งอยู่ที่ความคิด
    กำหนดรู้ที่ความคิดตลอดไป นี่แหล่ะ ตัวนี่แหล่ะ
    เค้าเรียกว่า ....ธัมมานุปัสนา สติปัฏฐาน ....

    นักปฏิบัติทั้งหลายโง่มานานแล้ว
    เพราะฉะนั้นทำความเข้าใจซะให้ดี

    ท่านอาจารเสาร์ ท่านพูดเป็น คติเตือนใจไว้ว่า ...
    โอ้ เมื่อก่อนนี่จิตข้ามันสงบ สว่างไสว
    แต่เดี๋ยวนี่....มันมีแต่ความคิด มันไม่สงบซักที ...

    นี่อาจารย์ใหญ่ เปิดคัมภีร์เอาไว้อย่างนี้
    ทำไมลูกศิษย์ๆไม่จดจำคำสอนของอาจารย์ เฮ้อ... เพราะฉะนั้น
    เรามาสอนกรรมฐานอยู่นี่ เกือบ ยี่สิบปีหรือ ยี่สิบปี
    หาคนเอาดิบเอาดีไม่ได้
    เพราะไม่เชื่อครูบาอาจารย์

    อาจารย์ใหญ่ท่านว่า
    เวลานี่ จิตข้าไม่สงบมีแต่ความคิด
    พอถามท่าน
    จิตมันเสื่อมหรืออย่างไร...
    เอ้า... ถ้ามันเอาแต่นิ่งสงบอย่างเดียวมันก็ไม่ก้าวหน้าซี่
    .....ท่านว่าอย่างนี่ล่ะ


    ฟังเสียงและอ่านต่อที่นี่

    http://palungjit.org/threads/ข้อสังเกตุเมื่อทำสมาธิแล้วมีแต่ความคิด.271240/
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สำหรับ อันนี้ ลอง อ่านและลองนำไปทำตามดูครับ

    จากหลวงปู่พุธ ฐานิโย


    เกร็ดธรรม หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    เรื่องของเรื่องที่เราว่า เรามีอารมณ์วุ่นวายอยู่
    จิตมันไม่สงบ บางท่านอาจจะกล่าวว่า
    จิตไม่สงบ ไปทำสมาธิไม่ได้ ต้องให้จิตมันสงบซะก่อน

    ทีนี้ ถ้าหากว่าจิตของท่านสงบเสียเองยัง ก่อนที่ท่านยังไม่ได้ปฏิบัติแล้ว
    ท่านจะมาปฏิบัติให้มันเหน็จเหนื่อยทำไม

    อารมณ์ที่เราว่ามันทำให้เราวุ่นวายเดือดร้อนอยู่
    หมายถึงสิ่งที่ผ่านเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
    เมื่อเรายังไม่มีสมาธิ ยังไม่มีสติปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์

    อารมณ์เหล่านั้นจะมาก่อทุกข์ ก่อ ยาก ก่อความวุ่นวาย ให้เกิดขึ้นในจิต ในใจของเรา
    จนสามารถ มาปฏิวัติจิตใจของเราให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง
    หรือบางที ปฏิวัติ ให้สติ สัมปชัญญะ ของเราเนี๊ยะ แหลก ละเอียด
    ละลายไปหมด
    จนทำให้ไปก่อเรื่องก่อราวต่างๆให้เกิดความวุ่นวายขึ้น ในสังคม

    นี่เพราะเรายังไม่มีสมาธิ ยังไม่มีสติปัญญารู้เท่าเอาทัน
    เมื่อเราฝึกหัดจิตให้มี สมาธิบ่อยๆ บ่อยๆเข้า สติมันก็ค่อยดี ขึ้น อะอืมๆ
    ในเมื่อสติ อะอืมๆ

    นอกจากสติจะดีขึ้นแล้ว
    คุณธรรมที่จะพึงเกิดขึ้นใน เป็นผลเกี่ยวกับการปฏิบัตินั้น
    ในเบื่องต้นก็คือ ศรัทธา ความเชื่อมันในสมถรรถภาพของตัวเองเมื่อเราสามารถปฏิบัติได้

    ในเมื่อเกิดศรัทธา ความเชื่อมั่น วิริยะความพากความเพียรมันก็เกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว

    เมื่อมี ศรัทธา มีวิริยะ ความตั้งใจคือสติก็ย่อมเกิดขึ้น

    เมื่อมี ศรัทธา วิริยะ สติ ความมั่นคงของจิตมันก็เกิดขึ้น
    แม้จะเป็นความมั่นคงโดยการข่ม หรือโดยความตั้งใจก็ตาม
    แล้วในที่สุด เพราะอาศัยการข่ม อาศัยความตั้งใจ
    จิตมันก็จะกลายเป็นสมาธิได้โดยอัตโนมัติ

    เมื่อมี สมาธิแล้ว ปัญญาก็ย่อมบังเกิดขึ้น
    อย่างน้อยก็เพียงแต่แค่ว่า มีปัญญารู้เท่าเอาทัน ในจิตของเราเอง

    เมื่อประสบกับอารมณ์ต่างๆ สามารถ ดำรงตัวอยู่ในสภาพปกติไม่หวั่นไหว
    แม้จะไม่รู้อะไร กว้างขวางที่เป็นโวหารที่จะพึงพูดได้ก็ตาม
    อันนี้คือผลที่จะพึงเกิดขึ้น
    ในเมื่อเรามี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นพลัง คือเป็นกำลัง
    เมื่อพลังอันนี้มันเข้มแข็งขึ้น มันก็กลายเป็น อินทรีคือความเป็นใหญ่
    ในกิจการเกี่ยวกับการปฏิบัติของเรา

    ในเมื่อ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา กลายเป็นอินทรี แก่กล้า
    สติตัวนั้นมันก็กลายเป็น มหาสติ เรียกว่า มหาสติปัฏฐาน
    เมื่อจิตมีมหาสติปัฏฐาน เป็นเจตสิก ประกอบแน่นอยู่ในจิตในใจ

    สติตัวนี้แหล่ะจะเป็นผู้นำ

    ธรรมมะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมะขันธ์
    มีสติวินะโยตัวเดียวเป็นผู้นำ
    เมื่อมี สติเป็นผู้นำ จิตก็ย่อมดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง

    การกล่าวธรรมะ ก็เป็นเครื่องประดับสติปัญญา ของท่านในวันนี้
    ก็เห็นว่าเป็นการสมควรแก่เวลาแล้ว
     
  11. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ขอเสวนาด้วยขอรับ
    มีการล่วงหน้าถอยหลังบนล่าง
    มีการล้วงลูกด้วยขอรับ

    มีการก่อขึ้นมาจากฟองหนึ่งฟองแล้วฟอกกันเป็นหลายฟองเนื่องกัน
    มีการเกิดการสลุตขึ้นมาเหมือนพลุแล้วกระจาย
    มีการโตแล้วเหี่ยวหดหายไป

    การฟุ้งที่ว่านี้คงเหมือนฟาดหมอนที่ทำจากนุ่นฟาดมากทีก็ฟุ้งมากในห้อง
    หรือวิหาร ที่เราอาศัยอยู่ในนั้น อารมณ์ไม่เหมือนนุ่นเป็นนามเหมือนพลุที่กระจาย

    หากเป็นของสองสิ่งเอาง่ายๆอย่างตราชั่งกระทรวงยุติธรรม
    ที่เป็นแบบคานอย่างสมัยก่อนมีสองด้าน
    เราจะทำอย่าไรให้คานนั้นได้ระดับก่อนคือขนานกับพื้นเพื่อทำให้ยุติ
    เมื่อมีสองสิ่งให้ชั่ง วัด
    มีการขยับคานก็ได้ความยุติแล้วว่าเท่าไรคือเท่าไรในการวัด
    เหมือนคานแบบข้างเดียวได้หรือไม่ที่ห้อยน้ำหนักวัดทางท้ายคานชั่ง

    ผมเห็นสังคมเราใช้กันบ่อยๆ ขยับคานหาเอาขอรับ

    แต่คานนั้นหายุติธรรมไม่ เพราะไม่มีความเป็นกลาง

    คานของกระทรวงยุติธรรมเป็นคานที่มีกลาง
    น้ำหนักต้องสองด้านเท่ากัน
    ข้างหนึ่งทองสามบาทข้างนี้สองบาทตาชั่งเอียงหากท่านไม่ขยับคาน
    สามบาทเท่ากัน เป็นกลางตรงคานพอดี

    ทำอย่างไรให้การฟุ้งยุติ
    เอาตรงนี้เท่านี้ก่อนอย่าตีนุ่นเพิ่มอีก
    แล้วพิจารณาแก้ทีละอย่างทีละเรื่อง
    เหตุที่ฟุ้งมาจากอะไร

    ด้วยความสงบ
    นั่งมองเขาทีละอัน
    จัดเข้าหมวดหมู่

    เราอยู่ท่ามกลาง

    ดูการเปลี่ยนแปลงและยอมรับ
    ในกติกานั้นว่าเดียวตกตะกอนแล้วสงบไปเอง

    หรือใช้ลมแห่งปัญญาไปแยกเขาเป่าเขาออกไปก่อนมากไปสู้ไม่ไหว
    เหลือไว้นิดหน่อยแล้วพิจารณาเพื่อให้เขายุติฟุ้งด้วยความเป็นธรรม

    เอาทีละเรื่องว่าทำไมเป็นอย่างนั้นด้วยเหตุปัจจัยอย่างนั้น
    และหากด้วยเหตุปัจจัยอย่างนี้จะเป็นอย่างนั้นไหมหรือต้องเป็นอย่างนี้

    หากเกิดขึ้นมาอีกเรื่องอย่างเดียวกันเราจะทำอย่างไร
    พบกลางธรรมหรือยังขอรับ

    วาง.......สงบหนึ่ง.......ถึงสงบมากๆ

    ทำสมาธิต่อเท่านั้นเอง

    เพื่อนๆท่านชี้แนะว่ามันเป็นของคู่กัน
    สติกับฟุ้ง
    ฟุ้งมากสติมาก ฟุ้งน้อยสติน้อยก็ได้แต่ไม่ประมาท
    เอาสมาธิเป็นกลางขอรับ
    ปัญญาค่อยเกิดเท่าที่เรามีอยู่

    หลังจากนั้นอะไรเกิดอีกตามดูตามรู้กันต่อไหมขอรับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้ว
     
  12. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อีกอย่างครับ
    ควรทำสมาธิเพื่อผ่อนคลายก่อนเอาเป็นเอาตายครับ
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้อมูลที่คุณให้มามีน้อยเกินไป เลยไม่รู้ว่าควรจะแนะนำอย่างไรดี ที่ว่าข้อมูลที่ให้มาน้อย เช่น เวลาคุณดูโทรทัศน์ รายการที่ชอบ ดูจนจบ โดยไม่คิดอะไรหรือไม่ หรือเวลาทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณคิดฟุังซ๋านหรือไม่ และสามารถทำงานอย่างนั้นให้เสร็จลุล่วงไปหรือไม่ ยังมีอีกประการหนึ่ง เวลาที่คุณฟุ้งซ่านนั้น ขณะปฏิบัติสมาธิ เมื่อคุณเลิกปฏิบัติคุณนอนหลับหรือไม่ หรือว่านอนหลับเป็นปกติ อย่างนี้เป็นต้น จึงจะสามารถวิเคราะห์อาการที่คุณเป็นอยู่และแนะนำวิธีแก้ไขได้โดยง่าย ถึงอย่างไรก็ตาม

    ความฟุ้งซ่าน ที่เกิดขึ้น ถ้าหากว่าคุณปฏิบัติสมาธิ หรือนั่งสมาธิ โดยรวมแล้ว เกิดจาก การที่คุณไม่สามารถควบคุม กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันอยู่ในใจ และความจำในสมอง เมื่อคุณไม่สามารถบังคับหรือควบคุมใจ และสมองได้ คุณจึงคิดฟุ้งซ่าน เรื่องธรรมดาขอรับ
     
  14. toseal

    toseal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +618
    มีสาระทั้งนั้นเลย:cool::cool:
     
  15. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    อิทธิบาท ๔ ครับ

    ขอช่วยเป็นกำลังใจให้ครับ
     
  16. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    อานาปานสติ : ละได้เสียซึ่งความฟุ้งซ่าน


    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ
    อย่างไรเล่า คือ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑
    ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑. ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้แลธรรม ๓ ประการ.
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงทำให้
    เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการ
    อย่างไรเล่า ? คือ :-
    (๑) ความเป็นผู้ว่าง่าย อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ
    ละความเป็นผู้ว่ายาก
    (๒) ความเป็นผู้มีมิตรดี อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ
    ละความเป็นผู้มีมิตรชั่ว
    (๓) อานาปานสติ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ
    ละความฟุ้งซ่านแห่งจิต
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! นี้แลธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงทำ
    ให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านั้น.
     
  17. รอยตะวัน

    รอยตะวัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +116
    ถ้าคุณเป็นคนชอบคิดตลอดเวลา ลองนับลมหายใจแบบนี้ดู
    ชั้นที่ 1 เข้านับ 1 ออก 1 เรียกว่า (1-1) ละกัน
    ชั้นที่ 2 (1-1) เพิ่มอีก นับ เข้า 2 ออก 2 (2-2)
    ชั้นที่ 3 (1-1) (2-2) (3-3)
    ไปเรื่อยๆ จน 10 ชั้น
    ชั้นที่ 10 (1-1) (2-2) ....(8-8) (9-9) (10-10)
    จากนั้นค่อยๆลดลงมา เป็นชั้น ที่ 9
    ชั้นที่ 9 (1-1) (2-2) ... (9-9)
    ชั้นที่ 8 (1-1) (2-2) ... (8-8)
    ลดลงมาเรื่อยๆจนชั้นที่ 1 เมื่อถึงชั้นที่ 1 ก็เพิ่มจนเป็นชั้นที่ 10 ใหม่
    ถ้าคุณไม่หลงแสดงว่าคุณเริ่มมีสมาธิละ
     
  18. iceage

    iceage Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2011
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +69
    อันนี้เป็นวิธีของเราเวลาที่จะทำสมาธิ อาจจะแหกคอกซักหน่อยแต่มันได้ผลสำหรับเรา เพราะเราเป็นคนชอบคิด คือเราใช้วิธีการเขียนจดบันทึกแบบธรรมดา ระบายหรือเล่า เรื่องราวขอเงเราไปเรี่อยๆ พอเขียนไปถึงจุดๆหนึ่งที่สมองมันไม่อยากคิดแล้วมันจะหยุดฟุ้งซ่านไปเอง(คิดจนขี้เกียจคิด) แล้วที่นี้ถึงจะเริ่มเดินจงกรม ทำสมาธิต่อไป นอกจากนี้มันยังให้ผลดีในด้านการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาของเราที่มีอยู่แต่หาไม่เจอ ประเภทเส้นผมบังภูเขา เราใช้วิธีแก้ปัญหาให้ตัวเอง (ระยะการเขียนขึ้นอยู่กับความฟุ้งซ่านที่เราเป็น)
    อันนี้ประสบการณ์ส่วนตัว ประเภทมือใหม่หัดทำ
    นอกจากนี้มีพระอาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกว่า ถ้าสติดีสมาธิก็ดีด้วย ตอนแรกไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร
    แต่เราก็หาวิธีจนได้ในแบบฉบับตัวเอง ตอนเดินจงกลมเราใช้วิธีกำหนดว่าจะเดินทั้งหมดกี่ก้าวถึงจะกลับ ขวาย่างหนอก็นับ1 ซ้ายย่างหนอก็นับ2 ทำไปเรื่ีอยๆจนครบก้าวที่กำหนด ถ้าขาดหรือเกินแสดงว่าขาดสติ ส่วนตอนนั่งสมาธิเราใช้กำแพงเป็นที่พึ่ง ขอยึดเป็นสรณะสักพัก หันหน้าเข้าหากำแพงให้หัวเข่าชนกำแพง ถ้านั่งขาดสติเดี๋ยวก็รู้เองว่าหัวหรือกำแพงมันแข็งกว่ากัน ถ้าขาดสติได้ให้มันรู้ไปสิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2012
  19. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    จิตฟุ้งตลอดเวลา ท่านให้เจริญอานาปานสติ

    ทำ ปูรก กุมภก เรจกะ ก็ดีค่ะ ลดฟุ้งได้ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2012
  20. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488

    ผู้ที่มีอารมณ์ฟุ้งมักเป็นผู้ที่มี โมหะจริต หรือ วิตกจริต
    หากท่านอยากทราบจริตตน ลองเข้าไปอ่านตรงนี้ดู

    http://palungjit.org/threads/จริต-๖-เพื่อฝึกกรรมฐานที่เหมาะสม.310598/
     

แชร์หน้านี้

Loading...