พบพระสงฆ์มรณภาพด้วยโรคมะเร็งปอดเพียบ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 3 สิงหาคม 2007.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พบพระสงฆ์มรณภาพด้วยโรคมะเร็งปอดเพียบ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>3 สิงหาคม 2550 18:47 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> รพ.สงฆ์ เผย ผลสำรวจพบพระสงฆ์สูบบุหรี่ 14.7% ลดลงจากเดิมที่ สูบบุหรี่สูงถึง 24% พบปอดผิดปกติ 16.1% เร่งรณรงค์พระสงฆ์ตรวจเอกซเรย์ปอดป้องกันโรครุมเร้า ตะลึง พระสงฆ์มรณภาพด้วยโรคมะเร็งปอดสูงสุด

    วันนี้ (3 ส.ค.) ในการประชุมวิชาการกรมการแพทย์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ที่ อาคารคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อิมแพค เมืองทองธานี คณะแพทย์โรงพยาบาลสงฆ์ มีการนำเสนอผลการสำรวจภาวะโรคปอด และการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ ในกรุงเทพมหานคร ในโครงการพัฒนาสุขภาพพระสงฆ์-สามเณรให้ยั่งยืนแบบองค์รวมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี จำนวน 1,112 รูป

    พญ.ไพรัตน์ แสงดิษฐ์ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลสงฆ์ กล่าวว่า ผลการศึกษาเฉพาะพระสงฆ์ 773 รูป จาก 1,112 รูป โดยไม่รวมสามเณร พบว่า มีพระสงฆ์ไม่สูบบุหรี่ 471 รูป เท่ากับ 61.7% ส่วน 159 รูป 20.8% เคยสูบบุหรี่แต่เลิกแล้ว และยอมรับว่า ยังสูบบุหรี่จำนวน 133 รูป หรือ 17.4% โดยพบว่าพระภิกษุที่สูบบุหรี่อยู่ในกลุ่มอายุ 51-60 ปี สูงที่สุด คือ 23.6% รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 31-40ปี 19.8% เมื่อแยกตามผลการตรวจรังสีปอดพบว่า ปกติ 83.9% และผิดปกติ 16.1% ซึ่งในกลุ่มที่มีอาการผิดปกติ พบว่า ส่วนใหญ่อายุ 51-60 ปี โดยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น ทั้งนี้ พบว่า มีแผลที่ปอดส่วนบน 32% หัวใจโต 25.7% ปอดอักเสบ 11.5% และหลอดลมอังอักเสบ 6.2%

    พญ.ไพรัตน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า ความชุกของการสูบบุหรี่ในพระสงฆ์ลดลง โดยมีความชุก 17.4% จากเดิมที่มีการศึกษาของมหาวิทยามหิดล ในปี 2546 พบว่า พระสงฆ์สูงบุหรี่สูง 24% เนื่องมาจากการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ของภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ ยังพบว่า การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการรังสีทรวงอกที่ผิดปกติ 16% ซึ่งคนที่สูบบุหรี่ หรือเลิกบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการความผิดปกติมากกว่าคนปกติเกือบ 2 เท่าตัว
     
  2. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    สาเหตุ
    ล้วนเกิดจาก ควันฯลฯ ทั้งสิ้น
    ควันบุหรี่
    ควันธูป
    ควันเทียน
    ควันไก่ย่าง
    ควันฯลฯ
    ควัน คือ ฝุ่นทั้งหลาย ที่ ลอยได้ ที่มี O H N C ฯลฯ ที่ไม่เสถียร ด้วยอิเล็กตรอน ขาด เกิน และมีพลังงานเพิ่ม จากการเผาไหม้ ติดมาด้วย


    สัตว์ มนุษย์ จำเป็นต้อง
    หายใจ เอา อากาศหรือน้ำ จาก แผ่นดิน น้ำ ท้องฟ้า จักรวาล ที่บริสุทธิ์
    เข้า สู่ จมูก
    จมูก สู่ ปอด
    ปอด สู่ กระแสเลือด
    เลือด สู่ เซลล์
    เซลล์ สู่ ไมโตรคอนเดรีย

    เพื่อถ่ายทอดพลังงาน ผ่าน กระบวนการเปลี่ยนแปรรูป
    และเป็นของเสีย..คือ อนุมูลอิสระ..ได้ในที่สุด

    อนุมูลอิสระ.ก็ไปกระตุ้น ทำให้ อะตอมของเซลล์ เสียสมดุลย์
    เกิดขึ้นซ้ำๆ..ซากๆ..นานเข้าๆๆ..มีผลต่อ..ยีนส์
    ทำให้..ยีนส์ เปลี่ยนกลายพันธุ์ ผันแปรไป "Mutation"

    เซลล์นั้น จึงเจริญ ผิดปกติ..เป็น..มะเร็งร้าย

    เอวัง ..ด้วยประการฉะนี้..แล
    (b-love2u) (b-cry) (b-lablin)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2007
  3. Meditate47

    Meditate47 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +26
    พระสงฆ์อาพาธหรือมรณภาพ ส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุตามที่คุณyutkanlaya บอก แต่อีกส่วนหนึ่งซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักที่เราจะปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือการสูบบุหรี่ พระสงฆ์ไทยกับการสูบบุหรี่เป็นภาพที่ผมคุ้นตามาตั้งแต่เด็กๆ และเก็บเป็นความข้องใจแบบเด็กๆเรื่อยมา แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดแต่ก็ทำให้รู้สึกใจหาย เพราะเราก็เห็นๆกันอยู่ว่าส่วนหนึ่งก็เป็นถึงพระผู้ใหญ่ด้วย ผมไม่อยากจะพูดถึงประเด็นนี้มากสักเท่าไหร่ ไม่รู้จะเป็นการปรามาสหรือเปล่า เดี๋ยวต้องขอขมากันไม่รู้จักจบจักสิ้น แต่แค่รู้สึกไม่สบายใจเท่านั้น จริงๆอยากรู้ถึงว่าพระสงฆ์สามารถสูบบุหรี่ได้ด้วยหรือครับ คือผมย้งไม่เคยบวชมาก่อน ก็เลยไม่รู้แต่ที่รู้แน่ๆ ก็คือทำให้เสียสุขภาพและ เสื่อมศรัทธาลงไปบ้าง(สำหรับบางคน) ขอคำแนะนำด้วยครับ
     
  4. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,658
    ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พระสงฆ์เป็นโรคปอดคือ พรม พรมที่มักจะปูไว้นั่งไม่ว่าจะในกุฏิหรือเวลาสวด เอาเป็นว่า พรมที่ปูตามวัดนั่นแหละ ตัวการหนึ่งที่พระสงฆ์มัก
    จะเป็นโรคปอด ไม่ว่าจะฝุ่นหรือตัวไร หรือเชื้อโรค จะฝังตัวอยู่ในพรมนั่น เวลา
    เราไปวัด ไปถวายของหรือไปหาพระสงฆ์ เรามักจะเกิดอาการแพ้พรม และหาย
    ใจขัดทุกครั้ง ครั้งล่าสุดคือไปถวายเทียนพรรษาหลวงอาจวนที่วัดจักรวรรดิฯ
    ถามหลวงอาว่า ทำไมถึงย้ายมากุฏิหลวงลุง ท่านว่า อยู่ห้องนั้นฉันไม่รู้เป็นไง
    หายใจไม่ได้ ไปตรวจทีไรว่า เป็นปอดชื้น เราเลยบอก หลวงอา...เอาพรมออก
    เหอะ ลำพังพื้นกระดานนั่น นั่งนอนก็เย็นแล้วอ่ะ เราเองก็อึดอัดทุกครั้งที่อยู่ที่
    กุฏิ หลวงอาเลยว่า งั้นไว้ให้เด็กมารื้อพรมออก บางครั้งฝนตก อากาศชื้น ก็ทั้ง
    ชื้นทั้งอับเลย ปอดคงไม่ไหวล่ะนะ
     
  5. s_thit

    s_thit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2007
    โพสต์:
    785
    ค่าพลัง:
    +3,027
    ถ้าพูดถึงพระวินัย ไม่ผิดหรอก สมัยก่อนเห็นรูป หลวงปู่แหวนที่ท่านคาบยาเส้น(บุหรี่)มวนโต ท่านบอกว่า ดูควันให้เป็นธรรม คือมันเกิดขึ้นแล้วหายไป เป็นตามกฏไตรลักษณ์ หรือหลวงพ่อคูณ ก็ดูดยาเส้นมวนโตมาก่อนเหมือนกัน ตอนนี้ท่านเลิกแล้ว มาสมัยนี้ที่มีการรณรงค์กัน ถ้าใครสูบบุหรี่ก็จะเป็นส่วนเกินของสังคมไป โดยเฉพาะพระสงฆ์ อาจจะไม่งามในสมณรูป เป็นตามยุคตามสมัยครับ...
     
  6. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ทางแก้

    เพียงแค่หลีกเลี่ยง ง่ายๆ จากปัจจัย ทั้งปวง
    จะทำได้หรือไม่ ล้วนอยู่ที่ใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...