ทึ่ง!เณรปธ.๙จากสำนักเรียนบาลีบ้านนอก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 25 มิถุนายน 2012.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]
    <SCRIPT type=text/javascript src="http://www.komchadluek.net/js/slides.min.jquery.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript> $('#slides').slides({ preload: false, preloadImage: 'images/loading.gif', effect: 'fade', crossfade: true, fadeSpeed: 500, play:4500, pause: 1500, hoverPause:true, generateNextPrev: false, generatePagination: false, animationStart: function(current){ $('.caption').animate({ bottom:-35 },100); if (window.console && console.log) { // example return of current slide number console.log('animationStart on slide: ', current); }; }, animationComplete: function(current){ $('.caption').animate({ bottom:0 },200); if (window.console && console.log) { // example return of current slide number console.log('animationComplete on slide: ', current); }; }, slidesLoaded: function() { $('.caption').animate({ bottom:0 },200); } }); </SCRIPT>
    • [​IMG]
    ทึ่ง!เณรปธ.๙จากสำนักเรียนบาลีบ้านนอก

    ส.ณ.ไพรวัลย์ วรรณบุตร ปธ.๙ จาก..."สำนักเรียนบาลีบ้านนอก จ.สุโขทัย" : เรื่อง / ภาพโดย ไตรเทพ ไกรงู


    ผลสอบบาลีสนามหลวง พ.ศ.๒๕๕๕ มีสามเณรสอบได้ ป.ธ.๙ มีจำนวน ๔ รูป ได้แก่ ๑.สามเณรสันติราษฎร์ พวงมลิ วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. อายุ ๑๙ ปี ๒.สามเณรวิโรจน์ วงแสนชัย วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี อายุ ๒๑ ปี ๓.สามเณรไพรวัลย์ วรรณบุตร วัดพิพัฒน์มงคล จ.สุโขทัย อายุ ๒๐ ปี และ ๔.สามเณรพิจิตร หงษ์สิบสอง วัดจองคำ จ.ลำปาง อายุ ๒๑ ปี

    ข้อมูลข้างต้นผู้อ่านทั่วๆ ไปจะไม่รู้สึกอะไรมากนัก แต่ผู้ที่อยู่ในแวดวงการสอบบาลีจะรู้ทันที่ว่า "สามเณรไพรวัลย์ วรรณบุตร วัดพิพัฒน์มงคล ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการสอบบาลีสนามหลวง" ด้วยเหตุที่ว่า "เป็นสำนักเรียนใหม่ที่มีสามเณรสอบได้ ปธ.๙ ในขณะที่สำนักเรียนอื่นๆ นั้น เป็นสำนักเรียนเก่า ที่สำคัญคือ มีทุนหนาชนิดที่เรียกว่า บางสำนักใช้ทางลัดอาศัยทุนหนากล้าทุ่มเงินซื้อตัวรับเข้าสำนักด้วยเงินหลักหลายแสนบาท เพื่อให้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นแชมป์สอบบาลีสนามหลวง" ในขณะที่บางสำนักใช้วิธีจัดงานฉลองให้โดยนิมนต์ผู้สอบ ปธ.๗-ปธ.๙ ได้ ไปฉลองที่สำนักเรียนตัวเอง หวังดึงเข้าสำนักในภายหน้า

    แต่ก็มีสำนักเรียนบาลีหลายสำนักที่ใช้ความพยายามของตัวเองส่งสอบตั้งแต่ ปธ.๒ ไล่ไปเรื่อยๆ ในที่สุดลูกศิษย์จากสำนักก็สร้างชื่ออย่างกับ สำนักเรียนบาลีวัดพิพัฒน์มงคล ต.ทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ซึ่งมีพระมหากายสิทธิ์ สิทฺธาภิภู ป.ธ.๙ รองเจ้าอาวาสวัดพิพัฒน์มงคลอาจารย์ใหญ่ และมีพระครูวรคุณประยุต หรือ หลวงพ่อพิพัฒน์มงคล เจ้าคณะอำเภอทุ่งเสลี่ยม เจ้าอาวาสวัดพิพัฒน์มงคล เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา

    วัดพิพัฒน์มงคล เป็นที่รู้จักกันดีไปทั้งประเทศ จนถึงยังต่างประเทศถือเป็นสถานธรรมซื่อดังอันดับต้นๆ ของประเทศไทย และยังเป็นแหล่งสถานที่ศึกษาเชิงพุทธศาสนา และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ พ.ศ.๒๕๔๐ วัดพิพัฒน์มงคล ได้รับการยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นอุทยานการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๓ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นพ.ศ.๒๕๔๓ เป็นวัดปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๕๔๓ และได้รับเสมาทองคำพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้รับการยกย่องจากสถาบันพัฒนา และโล่เกียรติคุณต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก จนมีคณะสงฆ์ จากวัดและจังหวัดต่างๆ ให้ความสนใจมาศึกษาดูงานมากมาย

    หลวงพ่อพิพัฒน์มงคล บอกว่า ได้ทำการเปิดการเรียนการสอนทั้งแผนกธรรม และแผนกบาลีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ จนถึงบัดนี้เป็นระยะเวลา ๑๐ ปี ปัจจุบันได้รับเมตตานุเคราะห์ จากพระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ แม่กองบาลีสนามหลวง มอบทุนสร้างอาคารเรียน "มหารัชมงคลพิพพัฒน์" มีระบบการเรียนการสอนดังนี้

    ๑.ชั้นเรียน แผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี ถึง นักธรรมชั้นเอก ส่วนแผนกบาลี เปิดสอนตั้งแต่ชั้นไวยากรณ์ ถึงชั้นประโยค ป.ธ.๘ ๒.เวลาเรียน - แผนกธรรม(ภาคเช้า) เรียนเวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๐.๓๐ น.- แผนกบาลี(ภาคเช้า) เรียนเวลา ๐๘.๐๐ น. ถึง เวลา ๑๐.๓๐ น. (ภาคบ่าย) เรียนเวลา ๑๓.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๕.๓๐ น.(ภาคเย็น) เรียนเวลา ๑๙.๐๐ น. ถึงเวลา ๒๑.๐๐ น.

    ๓.วันเปิดและวันปิดเรียน - แผนกธรรม เปิดเรียนวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ของทุกปี ปิดเรียน ก่อนสอบสนามหลวง ๗ วัน - แผนกบาลี เปิดเรียนวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ปิดเรียน วันก่อนสอบบาลีสนามหลวง ๗ วัน ๔.จำนวนครูประจำสำนักศาสนศึกษา แผนกธรรม มีครูสอนประจำ ๕ รูป ส่วนแผนกบาลี มีครูสอนประจำ ๕ รูป

    ส่วนค่าใช้จ่ายสนับสนุนสำนักศาสนศึกษา ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ประมาณปีละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นปัจจัยจากการบริจาคทั่วไปของสาธุชนผู้มีจิตศรัทธา-จากมูลนิธิหลวงพ่อทองคำ ส่วนทุนการศึกษาและกำลังใจ -ทางวัดพิพัฒน์มงคลได้จัดมอบทุนการศึกษาให้แก่ผู้สอบไล่ได้ในทุกๆ ปี หาหนังสือและอุปกรณ์การศึกษาถวายแก่นักเรียนทุกชั้น พร้อมทั้งจัดนิตยภัตรถวายแก่คณะครู-นักเรียนตามสมควรแก่ฐานะ

    "แน่นอนที่สุดว่าการมีศิษย์จากสำนักสอบได้ ปธ.๙ เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับสำนัก แต่ในกรณีของสามเณรไพรวัลย์ ยังได้สร้างชื่อและยังเป็นประวัติศาสตร์ของ จ.สุโขทัย ในรอบกว่า ๒๐๐ ปี ที่มีเณรสอบ ปธ.๙ ได้ และเป็นสิ่งที่ลบคำสบประมาทที่ว่าสำนักเรียนบาลีบ้านนอก สำนักเรียนบาลีต่างจังหวัด หรือจะสู้สำนักเรียนเมืองกรุงที่มีทุนหนาได้ ทุนที่เป็นปัจจัยนั้นอาจจะสู้สำนักเรียนอื่นไม่ได้ แต่ถ้าเป็นทุนของความตั้งใจและความพยายามของสำนักเรียนที่นี้ไม่แพ้ที่อื่น" หลวงพ่อพิพัฒน์มงคล กล่าวอย่างภาคภูมิใจ


    ข้อคิด "ชีวิตกับเวลา"

    หากใครได้ไปเที่ยวจะได้ยินเสียงโฆษก ประกาศแนะนำสถานที่ภายในวัด พร้อมกับสารธรรมเล็กๆ น้อยๆ ให้กลับไปเป็นข้อคิด และไปปฏิบัติ เสียงโฆษกนั้นไม่ใช่ใครหากเป็นเสียงของ สามเณรไพรวัลย์ โดยส่วนหนึ่งของสารธรรมที่น่าสนใจ คือ "เวลากับชีวิต"

    ส.ณ.ไพรวัลย์ บอกว่า ดูเหมือนว่าสภาพของสังคมไทยในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขันกันในทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นต้นจะเป็นสาเหตุสำคัญที่บีบคั้นให้ใครหลายๆคนต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อการอยู่รอดของตนเองและคนในครอบครัวจนบางครั้งก็ทำให้ลืมนึกถึงความเหน็ดเหนื่อยไปชั่วขณะ พูดได้ว่าทุกชั่วโมงทุกนาทีของแต่ละวันเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ใครหลายๆคนพยายามใช้มันเพื่อเก็บเกี่ยวเอาความสุขความสำราญความเพลิดเพลินสนุกสนานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    แต่สิ่งหนึ่งที่ใครหลายๆ คนอาจจะลืมนึกถึงไปเลยก็ได้นั่นก็คือระยะและขอบเขตของกาลเวลาที่มีจำกัดกับการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เราอาจจะมีเวลา ๒๔ ชั่วโมงเท่ากันก็จริงอยู่ แต่การใช้ประโยชน์จากกาลเวลาเหล่านั้นของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการมองเห็นคุณค่าของการเวลาว่ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็มีตัวอย่างปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในสังคมปัจจุบันนี้

    การลงมือปฏิบัติในทันทีเมื่อเกิดความคิดที่อยากจะทำในสิ่งที่ดีงามสิ่งที่เป็นสารประโยชน์เพื่อตัวเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและให้ผลที่น่าปรารถนาได้ที่ดีสุดแก่บุคคลผู้รู้จักคุณค่าของการเวลา โดยไม่จำเป็นเลยที่จะต้องรอฤกษ์รอยามรอโอกาสอันเหมาะสมจากผู้อื่นที่จะมากำหนดให้เรา ไม่ว่าวันนี้ขณะนี้ จะเป็นวันอะไร เดือนอะไร พ.ศ.ไหน ก็ตาม ถ้าสิ่งที่เราเริ่มต้นลงมือปฏิบัติเป็นที่ดีงามถูกต้อง เป็นสารประโยชน์มันก็ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีงามถูกต้องเป็นสารประโยชน์อยู่วันยังค่ำ

    พอทีกับคำว่าพรุ่งนี้ก็ยังไม่สายเพราะแม้เพียงแค่ ๑ นาที ของวันนี้ที่ยังไม่หมดไปย่อมมีค่ามากกว่า ๒ วันถัดไป ที่ยังมาไม่ถึง ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะปรับเปลี่ยนแก้ไขทัศนะคติที่มีต่อเรื่องของกาลเวลาและฤกษ์ยามต่างๆให้มันถูกต้องอย่างแท้จริงเสียที และที่สำคัญที่สุด อย่าได้ใช้คำว่าเยอะกับเวลา เพราะระหว่างพรุ่งนี้กับชาติหน้า คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าอะไรจะมาถึงก่อนกัน



    ทึ่ง!เณรปธ.๙จากสำนักเรียนบาลีบ้านนอก คมชัดลึก : ศาสนาพระเครื่อง : ข่าวทั่วไป
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    คนขายข่าวจริงๆ.....ตั้งหัวข้อได้ว่า "สำนักเรียนบาลีบ้านนอก"

    นับว่าเป็นการตั้งหัวข้อข่าวได้แย่มาก....
     
  3. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    จะบ้านนอกหรือในเมืองในเมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ หรือมากความสามารถก็ควรยกย่อง ไม่ใช่หรือ ไม่ควรดูถูกคนที่อยู่ต่างจังหวัดนะครับ...
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
    ...ทุกสิ่งอยู่ที่จิต ทุกสิ่งล้วนว่างเปล่า...
    ...ปลูกพืชฉันใด ย่อมได้ผลฉันนั้น...
     
  4. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ความจริงโลกยุคนี้ เชื่อมโยงกันหมดแล้ว แชร์ข้อมูลกันระหว่างสำนักบ้าง หรือยืมตัวอาจารย์ เครือข่าย จึงมีการเรียนรู้ข้ามแนวเขตจังหวัด ข้ามสำนักกันมากแล้ว

    บางทีตัวอยู่สำนักในกรุงเทพ แต่เวลาสอบใช้สำนักเดิมก็มีเป็นปกติ
    สถานที่ตั้ง จึงไม่ใช่ปัจจัยเสียเปรียบ-ได้เปรียบในยุคออนไลน์
     
  5. Kritpet

    Kritpet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +188
    "บางสำนักใช้ทางลัดอาศัยทุนหนากล้าทุ่มเงินซื้อตัวรับเข้าสำนักด้วยเงินหลักหลายแสนบาท เพื่อให้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นแชมป์สอบบาลีสนามหลวง"


    บางได้คำเดียวว่า "เสื่อม"
     
  6. เมฆินทร์

    เมฆินทร์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +22
    กระผมไม่มีวาสนาที่จะได้เรียนอย่างท่าน ขออนุโมทนา กับความสำเร็จนี้ด้วยอย่างยิ่ง:cool:
     
  7. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ในขณะที่สำนักเรียนอื่นๆ นั้น เป็นสำนักเรียนเก่า ที่สำคัญคือ มีทุนหนาชนิดที่เรียกว่า บางสำนักใช้ทางลัดอาศัยทุนหนากล้าทุ่มเงินซื้อตัวรับเข้าสำนักด้วยเงินหลัก หลายแสนบาท เพื่อให้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นแชมป์สอบบาลีสนามหลวง" ในขณะที่บางสำนักใช้วิธีจัดงานฉลองให้โดยนิมนต์ผู้สอบ ปธ.๗-ปธ.๙ ได้ ไปฉลองที่สำนักเรียนตัวเอง หวังดึงเข้าสำนักในภายหน้า
    แข่งขันกันยังเป็นโรงเรียน ทางโลกเลย
     
  8. มนพัทธ์

    มนพัทธ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +32
    ไม่อยากให้มีการเปรียบเทียบ แข่งขันกันเลยจริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...