สัจธรรมนำสู่มาตุภูมิ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 21 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ตอนที่ 1.1 ......ความแตกต่างระหว่างธรรมะกับศาสนา <hr noshade="noshade"> ​
    ธรรมะ คือ ธาตุแท้ของธรรมญาณ เป็น อนุตตรภาวะแห่งสัจธรรม เมื่อธรรมะสถิตในมนุษย์เรียกว่า ธรรมญาณ หรือ กัลยาณจิต หลักแห่งธรรมญาณนี้เป็นรากเหง้าแห่งฟ้า และเป็นแหล่งกำเนิดแห่งพลังชีวิตของมวลชีวี เมื่อเกิดก็เข้ามาทางจุดนี้ และเมื่อตายก็ออกจากจุดนี้ไป ฉะนั้น หนึ่งจุดแห่งญาณทวารนี้จึงเป็นสัมมาวิถีของการเกิดตาย หนึ่งจุดแห่งสัมมาทวารนี้จึงเป็นการถ่ายทอดหลักธรรมญาณจริงอันวิเศษแยบยลตลอดกาล และหนึ่งจุดแห่งทวารวิเศษนี้ยังเป็นปริศนาธรรมอันล้ำค่าที่ถ่ายทอด "จากปากประทับสู่จิต" อีก ด้วยเหตุนี้ หากไม่มีพระโองการฟ้าจาก "พระเอกองค์อภิภูเจ้า" ให้สนองเกณฑ์วาระถ่ายทอดวิถีธรรมแล้ว ต่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์พุทธอริยเจ้าองค์ใดๆ ก็มิอาจเอื้อมในการถ่ายทอดหรือแพร่งพรายทวารวิเศษแห่งธรรมญาณได้ เพราะฉะนั้น สัจคาถาจึงหามีบันทึกอยู่ในพระคัมภีร์ไม่ว่าจะเป็น จตุรปกรณ์ หรือเบญจคัมภีร์ ของศาสนาปราชญ์ก็ดีวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ของพุทธศาสนาก็ดี หรือแม้แต่คัมภีร์คุณธรรม รวมทั้งห้าพันคำ พระวิสุทธิสูตร และคัมภีร์หวงถิงจิง ของพระศาสดาเหลาจื่อก็ดี ซึ่งพระสูตรและพระคัมภีร์ทั้งหลายนี้ก็ได้เพียงแต่ "อำพรางบันทึกเป็นอักษรปริศนา" หาได้ชี้ชัดให้ประจักษ์แจ้งโดยตรงไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเห็นได้ว่า ต่อให้เป็นนักปราชญ์ผู้ชาญฉลาดหลักแหลมสักเพียงใด หากไม่ได้รับการชี้แนะ และส่งมอบวิถีธรรมแท้ ผ่านการเบิกจุดญาณทวารวิเศษ อีกทั้งรับการถ่ายทอดสัจคาถาศักดิ์สิทธิ์จากพระวิสุทธิอาจารย์ที่สนองรับพระโองการแห่งฟ้าแล้ว ก็ไร้บุญปัจจัยที่จะได้สัมผัสกับความลี้ลับพิศดารอันเป็นความสุขุมคัมภีรภาพ และเป็นคุณวิเศษแห่งธาตุแท้ของธรรมะนี้ ส่วน "ศาสนา" คือธรรมานุภาพที่ปกแผ่ของธรรมะ เป็นหมื่นธรรมวิถีที่มีต้นกำเนิดมาจากธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นกุศโลบายทั้งหมดที่อาศัยเป็นเครื่องมือ และแนวทางการสั่งสอนกล่อมเกลาเวไนยให้เข้าถึงสภาวะธรรมเดิม ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นคุณประโยชน์ที่สำแดงออกภายนอกของธรรมะ ส่วน ธรรมะก็คือคุณากร (บ่อเกิดแห่งความดี) ที่เป็นแก่นแท้ภายในของศาสนา กล่าวโดยสรุปคือ ศาสนาทั้งห้าล้วนมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน จึงมีหลักสัจธรรมเป็นหนึ่งเดียวกัน ศาสนาพุทธกล่าวว่า : "แจ้งจิตเห็นธรรมญาณ หมื่นธรรมวิถีรวมเป็นหนึ่ง" ศาสนาเต๋ากล่าวว่า : "บำเพ็ญจิตฝึกฝนธรรมญาณ ธำรงธาตุแท้รักษาความเป็นหนึ่ง" ศาสนาปราชญ์กล่าวว่า : "สำรวมจิตหล่อเลี้ยงธรรมญาณ ประครองสายกลางสู่ความเป็นหนึ่ง" ศาสนาคริสต์กล่าวว่า : "ชำระจิตกล่อมเกลาธรรมญาณ ภาวนาอธิษฐานสัมฤทธิ์เป็นหนึ่ง" ศาสนาอิสลามกล่าวว่า : "ตั้งมั่นจิตกำหนดธรรมญาณ วิสุทธิ์แท้กลับคืนเป็นหนึ่ง" จะสังเกตได้ว่า ศาสนาทั้งห้าล้วนมีจุดเริ่มต้นที่หนึ่งและมีจุดสิ้นสุดที่ความเป็นหนึ่ง "หนึ่ง" ในที่นี้มีความหมายว่าอย่างไร ? "หนึ่ง" ในที่นี้หมายถึง "เอกะ" หรือ "หนึ่งเดียว" คือ "ความเป็นหนึ่ง" ไม่มีสอง "หนึ่ง" หมายถึง หลักสัจธรรมแห่งอนุตตรธรรม หมายถึง ต้นกำเนิดของสรรพสิ่งและสรรพชีวิต รวมทั้ง ตัวเลขทั้งหมดก็มาจากหนึ่ง และไม่สามารถขาดจาก "หนึ่ง" ได้ หากตัดขาดจากความเป็นหนึ่งก็จะขาดความสมบูรณ์ตามมา เพราะฉะนั้น "หนึ่ง" ก็คือธรรมะ และเป็นสภาวะอมตะของสัจธรรมที่ไม่อาจแปรเปลี่ยนได้ ดังอริยวจนะของท่านบรมครูขงจื้อที่กล่าวไว้ว่า : "ธรรมะของข้า เป็นเอกธรรมปฏิเวธ" (ธรรมที่แจ้งแทงตลอด) อนึ่ง ศาสนาเป็นการสร้างบุญ สั่งสมบารมี เป็นการบำเพ็ญจิตฝึกฝนธรรมญาณ โดยอาศัยการสั่งสอนกล่อมเกลาเป็นพื้นฐาน ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการเข้าถึงวิถีธรรมและหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในอนาคต คัมภีร์ทางสายกลางจึงกล่าวว่า : "การบำเพ็ญธรรม คือ การศาสนา" ศาสนา ในที่นี้หมายถึงศาสนาต่างๆ ที่เปิดกว้าง และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป มีการอ้างอิงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดาองค์นั้นๆ เพื่อโน้มน้าวให้สาธุชนได้บำเพ็ญจิตกล่อมเกลาธรรมญาณ อีกทั้งให้ "ละความชั่วใฝ่ความดี" กอบกู้สภาพจิตของมนุษย์ไม่ให้เสื่อมทรามเลวร้ายยิ่งกว่านี้ พร้อมทั้งเสริมสร้างพัฒนาผู้คนให้เป็นผู้ทรงศีลมีคุณธรรมในปัจจุบันชาติ เพื่ออย่างน้อยจะได้เสวยผลบุญที่สนองตอบในอนาคตชาติ กล่าวโดยรวมคือ หลักธรรมคำสอนที่มีความเสมอภาคและบุคคลทุกระดับชนชั้นสามารถนำไปศึกษาเพื่อทำความเข้าใจได้ง่าย ประกอบกับสาธุชนที่เลื่อมใสศรัทธาสามารถแสดงเจตจำนงเข้าร่วมเป็นศาสนิกชนได้นี้ ทางพุทธศาสนาเรียกว่า "อุเบกขาธรรม" ด้วยเหตุนี้ อุเบกขาธรรมเป็นหลักคำสอนที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในพระคัมภีร์ที่คนทั่วไปสามารถค้นคว้าศึกษาได้ แต่สำหรับเนื้อแท้ของพระคัมภีร์ในส่วนที่อำพรางและซ่อนเร้นเป็นปริศนาธรรมอันแยบยล เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจได้โดยตรงผ่านสื่อเครื่องมือทางพยัญชนะ ฉะนั้น หากมิได้รับการชี้แนะ และถ่ายทอด "อนุตตรแห่งสัมมาธรรม" จากพระวิสุทธิอาจารย์แล้ว ต่อให้เป็นอัจฉริยะบุคคลผู้เปี่ยมล้นด้วยภูมิปัญญาญาณอันสูงส่ง ก็เข้าถึงความวิเศษแยบยลของวิถีธรรมได้ยาก ดังวจนะของท่านจื่อก้งที่กล่าวเกี่ยวกับพระอาจารย์ขงจื้อว่า : "บทประพันธ์ของพระอาจารย์นั้น ข้าพเจ้าสามารถสดับรู้ได้" (ในส่วนนี้ได้อุปมาเกี่ยวกับศาสนา) "ทว่าวจนะที่กล่าวถึงธรรมญาณและวิถีอนุตตรธรรมนั้น ข้าพเจ้ามิอาจสดับรู้ได้" (ในส่วนนี้ได้อุปมาเกี่ยวกับสภาวะธรรม) จากข้อความที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เราสามารถเข้าใจได้ถึงความแตกต่างระหว่าง ธรรมะกับศาสนาได้อย่างแจ่มแจ้ง ศาสนา ดำรงอยู่เป็นเนืองนิตย์ แต่ธรรมะ จะไม่ลงปกโปรดหากไม่ใช่กาลอันสมควร เนื่องจากวิถีธรรมมีทั้งช่วงปรากฏและช่วงอำพราง เมื่อวาระที่วิถีธรรมเข้าสู่ช่วงอำพรางต่อให้เราจะมีความสามารถสูงเหนือฟ้าจนหาที่เปรียบมิไม่ หรือต่อให้ร่ำเรียนศึกษาวิชาศาสตร์ต่างๆ แตกฉานในคัมภีร์พระสูตรทุกๆ ศาสนา ทุกๆ นิกาย หรือจะเป็นพหูสูตรที่มีภูมิปัญญาเป็นเลิศก็ตามแต่ หากไร้บุญสัมพันธ์ได้พบมงคลสมัยที่วิถีธรรมเข้าสู่วาระปรากฏแล้วก็มิอาจได้รับธรรมแท้เด็ดขาด ด้วยว่าวิถีธรรมจะไม่ลงโปรดหากมิใช่เวลาอันควร จะไม่ถ่ายทอดหากไม่ใช่บุคคลที่มีคุณสมบัติถึงพร้อม วิถีธรรมจะโปรดฉุดช่วยก็ต่อเมื่อมีภัยพิบัติมาคุกคาม แต่สำหรับศาสนานั้น ปรากฏอยู่ทั่วไป ไม่ว่าธรรมะจะเข้าสู่วาระปรากฏหรือวาระแฝงหรือไม่ การอบรมสั่งสอนของศาสนาก็ยังดำรงอยู่ทั่วอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การสั่งสอนกล่อมเกลาของศาสนาเป็นการเสริมสร้างคุณสมบัติขั้นพื้นฐานก่อนการเข้าสู่กระแสแห่งวิถีอนุตตรธรรม จึงเห็นได้ว่า ธรรมะ ไม่ห่างจากศาสนา และศาสนาก็ไม่อาจฉุดช่วยเวไนยได้ ถ้าไม่มีธรรมะเป็นรากฐาน ยิ่งกว่านั้นอาจจะส่งผลให้ศาสนากลายเป็นมิจฉาศาสน์หรือลัทธินอกรีต ซึ่งไม่ใช่เป็นศาสนาที่เที่ยงตรงอีกต่อไป อันที่จริงแล้ว ธรรมะกับศาสนา มีผลสัมฤทธิ์และความแตกต่างกันอย่างไร ? "ธรรมะ" เป็นหนทางที่ช่วยให้พ้นจากการเกิดตาย หลุดจากสังสารวัฏฏะ เข้าสู่วิมุติสุขแห่งอนุตตรภูมิ อีกทั้งยังช่วยให้รอดจากเคราะห์ร้าย หลบหลีกจากมหันตภัย ปลดเปลื้องหนี้เวรหนี้กรรม เปลี่ยนแปลงชะตาชีวิต หลุดพ้นจากห้วงทะเลทุกข์ คุณานุคุณนานาประการที่กล่าวมาเบื้องต้นนี้ เป็นคุณวิเศษเหนือคำพรรณนาของธรรมะ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า : "จากพิภพจบเบื้องงบน วิเศษสุดคือธรรมะ" พุทธวจนะที่ทรงตรัสมานี้ จะเป็นมุสาวาจาไปได้ฤา !! สำหรับ "ศาสนา" เป็นหลักเกณฑ์ในการสั่งสอนกล่อมเกลาเวไนยเพื่อหลุดพ้นโลกีย์วิสัย เป็นบรรทัดฐานของมนุษยธรรมเป็นแนวทางการบำเพ็ญจิตหล่อเลี้ยงธรรมญาณ สรรค์สร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ พัฒนายกระดับบุคคลากรให้เป็นเสาหลักของประเทศชาติบ้านเมือง และครอบครัว กำหนดคุณธรรมและแบบแผนอันดีงามของโลก สอนให้ผู้คนละความชั่วใฝ่ความดีให้ดำเนินไปตามครรลองคลองธรรม เป็นพสกนิกรที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังผลให้ได้เสพสุขกับผลแห่งกุศลกรรมในอนาคตชาติ อันเป็นการเตรียมความพร้อมขั้นพื้นฐานที่จะได้สดับรับวิถีธรรมและเพื่อหลุดพ้นในวันข้างหน้า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่า โลกนี้จะขาดศาสนาไปก็มิได้เช่นกัน นี่คือ ผลสัมฤทธิ์และความแตกต่างระหว่าง "ธรรมะกับศาสนา" ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาใดๆ ก็ตาม เมื่อเข้าใจแล้วว่า ธรรมะคือต้นกำเนิดของศาสนาโดยอาศัยการสั่งสอนกล่อมเกลาของศาสนาเพื่อเสริมสร้างฐานบุญก่อนเข้าสู่กระแสธรรมแล้ว จึงควรเปิด "ประตูแห่งปัญญาญาณ" พร้อมทั้งยกระดับตัวเอง และน้อมสดับรับวิถีธรรมเพื่อฟื้นฟูพุทธจิต จึงจะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า "การเกิดมาจากที่ไหน !" และ "การตายจะไปทางหนใด !" ฯลฯ เช่นนี้ จึงสอดคล้องกับจุดหมายในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม วิถีอนุตตรธรรม เปรียบเสมือนมหาสมุทรที่มีความลุ่มลึกและกว้างใหญ่ไพศาล ไม่ว่าจะเป็นสายน้ำจากแม่น้ำลำคลองใหญ่เล็กพันหมื่นสาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำขุ่นมัวทุกสายที่ล้วนหลั่งใหลเข้าสู่อ้อมกอดของมหาสมุทรฉันใด ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นหมื่นลัทธิพันศาสนา หรือหมื่นศาสตร์พันนิกายทุกสายธรรมก็ต้องหลั่งไหลคืนสู่อ้อมกอดแห่งธรรมฉันนั้น และที่วิเศษกว่านั้นก็คือ มหาสมุทรยังสามารถผสมผสานกลมกลืน "สายน้ำแห่งธรรม" ทุกเส้นสายที่มีความแตกต่างกันทางด้านรสชาติและความบริสุทธิ์ รวมเข้ามาเป็น "เอกรสแห่งธรรมเดียว" กันอีก กาลเวลาฟ้าได้ดำเนินการมาถึง "ยุคสามปลายกัป" ซึ่งเป็นบุญวาระที่วิถีอนุตตรธรรมลงปกโปรดอย่างกว้างขวาง โดยไม่แบ่งศาสนา หรือสีผิวและไม่ว่าจะเป็นคนร่ำรวยสูงศักดิ์ หรือคนยากจนต่ำต้อย ล้วนมีความทัดเทียมในโอกาสที่จะสดับรับวิถีธรรมได้รับการถ่ายทอด "อุเบกขาญาณ" อันเป็นจุดศูนย์รวมของหมื่นธรรมวิถี สาธุชน ! ทั้งชายและหญิงผู้บำเพ็ญเพียร จึงควรรีบเร่งกำหนดความมุ่งมั่นอันยิ่งใหญ่ น้อมกายถ่อมตนถามไถ่ในส่วนที่ตัวเองไม่รู้ เพื่อความก้าวหน้าแห่งตนเถิด !!
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    ตอนที่ 1.2 ......ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมะกับมนุษย์ <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    ธรรมะ คือหลักสัจธรรม หลักสัจธรรมนี้เมื่อสถิตอยู่กับฟ้าเรียกว่า หลักธรรมแห่งฟ้า เมื่อสถิตอยู่กับมนุษย์ เรียกว่า หลักธรรมญาณเดิมแห่งกัลยาณจิต มนุษย์ ไม่สามารถขาดธรรมญาณเดิมนี้ได้แม้เพียงชั่วขณะ หากมนุษย์ไร้ซึ่งธรรมญาณเดิมก็เปรียบเสมือนกับต้นไม้ที่ถูกขุดรากถอนโคน พลังชีวิตจากต้นรากจะถูกปิดกั้นทำให้อาจดำรงชีวิตอยู่ได้ต่อไป ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะ หลักสัจธรรมแห่งธรรมญาณนี้ ดุจรากแห่งฟ้าของสรรพสัตว์ เป็นต้นกำเนิดของสรรพวิญญาณ และยังเป็นจุดศูนย์รวมของสรรพสิ่ง ฉะนั้น หากรากถูกถอน ต้นกำเนิดถูกปิดกั้น ประดุจต้นไม้ที่ไร้รากเหง้า และกิ่งก้านแห่งชีวิตมนุษย์จะเจริญพัฒนาได้อย่างไร ? จะรักษาชีวิตให้คงอยู่ต่อไปอย่างไรกัน ? หลายพันกว่าปีก่อน คัมภีร์ทางสายกลาง ได้พิสูจน์แจ้งแล้วว่า : "ธรรมะ คือสิ่งที่มิอาจขาดไปแม้ชั่วขณะ สิ่งที่ขาดไปได้มิใช่ธรรมะ" จึงกล่าวได้ว่า : ธรรมะ คือ หลักสัจธรรม ธรรมะ คือ แนวทางที่มนุษย์ต้องดำเนินไป ธรรมะ คือ หลักคุณธรรมที่มนุษย์ต้องยึดเป็นวิถีการดำรงชีวิต เฉกเช่นรถไฟที่ต้องแล่นไปบนราง เรือที่ต้องแล่นบนผิวน้ำ และเครื่องบินที่ต้องบินไปในอากาศ ถ้ารถไฟแล่นออกนอกราง เรือไม่แล่นบนน้ำ และเครื่องบินไม่บินในอากาศ ก่อจะก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นได้ มนุษย์ก็เช่นกัน หากมนุษย์ไม่ดำเนินปฏิบัติตามครรลองคลองธรรม ก็อาจต้องถูกสังคมลงโทษตามบทกฎหมาย และหากเป็นในนรกภูมิ ก็จะถูกพยายมลงทัณฑ์ทำให้ต้องตกสู่ห้วงวัฏจักรแห่งชาติกำเนิด ๔ และ ภูมิ ๖ เวียนว่ายอยู่ในทะเลทุกข์เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ ในเมื่อเราได้เกิดกายมาเป็นมนุษย์ ต้องยืนหยัดด้วยหลักคุณธรรมของความเป็นมนุษย์เช่นกัน เพราะฉะนั้นหลักของความเป็นจริงก็คือ เมื่อใดที่มนุษย์ขาดคุณธรรม เมื่อนั้นมนุษย์ก็จะขาดคุณสมบัติในการดำรงชีวิต อนึ่ง คุณธรรมที่ว่านี้ หาใช่เป็นศาสตร์ความรู้ที่หาร่ำเรียนฝึกฝน หรือเสาะแสวงหาภายนอกได้ไม่ หากแต่เป็นพฤติกรรมเดิมอันประเสริฐที่สะท้อนออกจากสภาวะธรรมญาณอันบริสุทธิ์ภายในที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกหมู่เหล่า ฉะนั้น ธรรมะ คือ ธาตุแท้แห่งธรรมญาณของมนุษย์ คุณธรรม คือ คุณประโยชน์จากธรรมานุภาพของธรรมญาณ ธรรมะ คือ โฉมเดิมแท้ของมนุษย์ คุณธรรม คือ พฤติกรรมโดยธรรมชาติเดิมของมนุษย์ หากมนุษย์ทุกคน สามารถประพฤติปฏิบัติตามธรรมชาติแห่งธรรมญาณตน ก็ไม่จำเป็นต้องมีการบัญญัตินมศัพท์ใดๆ เช่นคำว่า "การบำเพ็ญธรรม" หรือ "การเสริมสร้างบารมีธรรม" ฯลฯ เพื่อมาโน้มน้าวพฤติกรรมมนุษย์ให้ปฏิบัติตามครรลองคลองงธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อใดที่มนุษย์ได้รับการฟื้นฟูสภาวะธรรมดังกล่าวข้างต้น เมื่อนั้นจึงเรียกว่า "ได้กลับคืนสู่พฤติกรรมเดิมตามปกติวิสัยของมนุษย์อย่างแท้จริง" เมื่อเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ธรรมญาณนั้นคือ หลักเกณฑ์ของคุณธรรม แล้วก็สามารถกล่าวได้ด้วยเหตุผลเดียวกันว่า กัลยาณจิต ก็คือหลักของคุณธรรมเช่นกัน ดังนั้น ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลาย มีกัลยาณจิตที่ประเสริฐงดงาม มนุษย์จึลต้องมีความประพฤติปฏิบัติที่สอดคล้องตามหลักคุณธรรมโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น เพราะใครก็ตามที่เห็นพ้องว่า ตัวเองเป็นมนุษย์ที่มีจิตธรรมญาณ ก็มิควรปฏิเสธว่าตัวเองขาดซึ่งกัลยาณจิตที่ประเสริฐ และเมื่อมนุษย์มีกัลยาณจิตที่ประเสริฐ ก็ไม่อาจคัดค้านได้ว่ามนุษย์ไร้คุณธรรมเดิมภายในเช่นกัน กล่าวโดยสรุป เมื่อมนุษย์มิอาจจากธรรมญาณไปแม้ชั่วขณะ กัลยาณจิตก็อาจสูญไปแม้เสี้ยววินาที หากเป็นเช่นนี้แล้วมนุษย์จะขาดคุณธรรมไปได้อย่างไร ? ดังนั้น คุณธรรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ชาติ แสดงออกทั่วไปในอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็น การนอน การนั่ง การเดิน การเป็นอยู่ หรือการสัญจรไปมา ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนต้องอาศัยคุณธรรมเพื่อเป็นสัมมาวิถีในการดำเนินชีวิต เพราะฉะนั้น คุณธรรมคือสิ่งที่มนุษย์มีพร้อมสมบูรณ์มาแต่กำเนิด คุณธรรม คือธาตุเดิมเนื้อแท้ของมนุษย์ หาใช่เป็นสิ่งแปลกใหม่ และยิ่งไม่ใช่เป็นหนทางคดเคี้ยวลุ่มดอน ยากแก่การปฏิบัติเช่นกันเพียงแต่ขอให้เราทุกคนได้ทำความเข้าใจในวิถีธรรมเท่านั้นเอง ท่านบรมครูขงจื้อกล่าวว่า : "กัลยาณชนพึงรักษาวิถีธรรมตราบชีวิตจะหาไม่" ยังได้กล่าวอีกว่า : "กัลยาณชนจะกังวลเฉพาะการเผยแผ่ธรรม แต่จะไม่กังวลต่อความแร้นแค้น" และยังได้กล่าวอีกว่า : "กัลยาณชนสุขสราญในการเผยแผ่ธรรม"

    ดังนั้น เมื่อเจินจื้อได้รัยวิถีธรรมจึงสำรวมระมัดระวังทุกย่างก้าวในการปฏิบัติธรรม ทุกวันจะพิจารณาสำรวจตนในสามเรื่องได้แก่ "มีหรือไม่ที่ไม่ซื่อสัตย์ในหน้าที่ มีหรือไม่ที่ขาดสัจจะต่อเพื่อน และมีหรือไม่ที่ไม่ทบทวนหลักธรรมที่อาจารย์ถ่ายทอดให้" สำหรับ เอี๋ยนจื่อซึ่งเป็นศานุศิษย์อีกคนหนึ่งของท่านขงจื่อ ก็เช่นกัน ที่เมื่อได้รับวิถีธรรมแล้ว สามารถประคองรักษาธรรมะได้ตลอดไปโดยมิให้เสื่อมคลายเลย จากกรณีตัวอย่างที่กล่าวมาเบื้องต้นจึงแสดงให้ว่า ธรรมะมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับมนุษย์ แต่อนิจจา ! ชาวมนุษย์ในโลกกลับไม่ให้ความสำคัญ ท่านบรมครูขงจื้อได้อุทานว่า : "ใครเลย ! ! จะออกจากบ้านไปโดยไม่ผ่านทางประตูใหญ่ แต่ไฉนจึงไม่ค่อยมีใครอออกทางประตูธรรมเล่า"
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    ตอนที่ 1.3 ......ธรรมะคืออะไร <hr noshade="noshade"> ​
    ธรรมะ คือ สภาวะธรรมญาณ ที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน - ศาสนาพุทธ เรียกธรรมะนี้ว่า วัชระ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โพธิจิต - ศาสนาปราชญ์ เรียกธรรมนี้ว่า กัลยาณจิต - ศาสนาเต๋า เรียกธรรมะนี้ว่า ประตูแห่งการเกิดตาย หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ถ้ำเซียน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ชื่อที่บัญญัติจะมีความผิดแผกแตกต่างกันออกไป แต่ความหมายที่แท้ก็ยังเป็นหนึ่งเดียวกัน สภาวะธรรมเดิมนี้ มีต้นกำเนิดมาจากอนุตตรภูมิ ครั้นสภาวะธรรมเดิมนี้สถิตกับฟ้าเบื้องบน เรียกว่า หลักธรรมแห่งฟ้า หรือเรียกว่า พระโองการแห่งฟ้า เมื่อสภาวะธรรมสถิตในสังขารมนุษย์ เรียกว่า หลักธรรมญาณ หรือ จิตแห่งธรรม หรืออาจเรียกว่า กัลยาณจิต ฉะนั้น หากมนุษย์สามารถค้นพบ "ธรรมญาณ" จกนั้นผู้บำเพ็ญปฏิบัติตาม "ประสาธรรมญาณ" ที่บริสุทธิ์ ก็สามรถเข้าสู่สภาวะธรรมญาณเดิมได้ ดังคัมภีร์ทางสายกลาง ที่กล่าวว่า : "ชีวิตที่ฟ้าประทาน เรียกว่าธรรมญาณ การแสดงออกโดยธรรมชาติตามประสาธรรมญาณ เรียกว่า เรียกว่า ธรรมะ" อย่างไรก็ดี สภาวะแห่งธรรมญาณนั้น ไร้รูป ไร้นาม ไร้กลิ่น ไร้เสียง ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่เพิ่ม และไม่ลด ดูเหมือนว่างเปล่า แต่การดำรงอยู่ ดูเหมือนมีแต่ก็หาเห็นไม่ ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยผ่านตัวอักษร หรือโดยการอธิบาย และไม่อาจใช้คำพูดอุปมาอุปไมยได้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จึงเป็น "เนื้อแท้แห่งมหาธรรม" คัมภีร์คุณธรรมได้กล่าวไว้ว่า : "ธรรมะที่กล่าวกันได้ มิใช่ธรรมะแท้ นามที่เรียกกันได้ มิใช่นามจริง" ศาสดาเหล่าจื้อได้กล่าวเช่นเดียวกันว่า : "สภาวะที่ไร้นามเป็นต้นกำเนิดแห่งฟ้าดิน สภาวะที่เกิดนามเป็นมารดาแห่งสรรพสิ่ง" ถึงแม้สภาวะธรรมจะไร้รูปนาม และมีขอบเขตกว้างเกินกว่าประมานได้ แต่เพื่อต้องการแนะนำให้เวไนยได้รู้จักกับสภาวะธรรมที่ว่านี้ จึงจำเป็นต้องบัญญัติสมมุตินามขึ้นว่า "อนุตตรธรรม" พร้อมทั้งได้กำหนดสัญลักษณ์สมมุติเป็น O สำหรับจุดเริ่มต้นของสรรพสิ่งอันเกิดจากธรรมานุภาพแห่งสภาวะธรรมได้กำหนดสัญลักษณ์เป็นเส้นเหยียด ___________ กล่าวโดยสรุปคือ : * เป็นสัญลักษณ์แห่งสงบนิ่งของสภาวะธรรมเดิม * เป็นสัญลักษณ์ของสูญญตาธรรม * เป็นสัญลักษณ์สมมุติของเนื้อแท้แห่งธรรมส่วน ____ เป็นสภาวะการเคลื่อนไหวของธรรมะ ____ เป็นเส้นขยายของการเริ่มต้นของสรรพสิ่ง ____ เป็นอรรถประโยชน์ที่เกิดจากธรรมานุภาพของธรรมะ เมื่อวงกลม O (สภาวธรรม) เคลื่อนไหวก็จะแผ่ขยายออกเป็นเส้นเหยียด ___ (ธรรมานุภาพ) เมื่อเส้นเหยียด ___ หดตัวก็จะรวมกันเป็นจุดเดียว o (ต้นจิต) และเมื่อจุด o (ต้นจิต) แผ่ขยายตัวก็กลายเป็นเส้นเหยียด ___ (ธรรมานุภาพ) และจากสภาวะเส้นเหยียด ___ กลับมารวมกันไว้เป็นสภาวะจุด o ที่กล่าวมานี้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ไร้ขีดจำกัด ระหว่างสภาวะการเคลื่อนไหวและสภาวะการสงบนิ่งกับสภาวะการขยายตัวและสภาวะการหดตัวของธรรมะ ดังนั้น เมื่อพระธรรมะจะขยายตัวจะแผ่คลุมทั่วจักรวาล เรียกว่า เส้นเหยียด เมื่อธรรมะเก็บจะผนึกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า จุด ธรรมะ จึงกว้างใหญ่ไร้สิ่งอื่นใดที่กว้างใหญ่กว่า ธรรมะ จึงเล็กละเอียดไร้สิ่งอื่นใดที่เล็กละเอียดกว่า ธรรมะ จึงครอบคลุมฟ้าดินอุ้มชูสรรพสิ่ง ธรรมะ จึงประสิทธิ์ประสาทสรรพญาณ จึงมีคำที่กล่าวว่า : "ฟ้าดินแม้นกว้างใหญ่ ไร้ธรรมะวิเศษก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ มนุษย์แม้นหลักแหลม ไร้ธรรมะแยบยลก็ไม่อาจดำรงชีวิตได้" จึงควรรู้ว่า ธรรมะ คือหลักสัจธรรม คือหลักแห่งธรรมญาณ หลักธรรมญาณ ก็คือกัลยาณจิต ส่วนกัลยาณจิต ก็คือ พุทธจิต พุทธภาวะ คือ โฉมหน้าเดิมแท้ของเราทุกคน ถึงแม้ในตัวเราทุกคนจะมีธรรมญาณอันวิเศษแยบยลนี้ แต่ทว่าคนส่วนใหญ่กลับไม่รู้ในความสมบูรณ์พร้อมของสภาวะธรรมญาณนี้ทั้งๆ ที่อาศัยมันในการดำรงชีวิตอยู่ทุกวัน หากเป็นเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการ "ลืมต้นแสวงปลาย" อีกทั้งยังทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะธรรมเดิมได้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า ผู้เห็นแจ้งในธรรมญาณเท่านั้นที่สามารถ "กลับสู่ธาตุแท้คืนสู่ต้นกำเนิด" สำเร็จเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่วนผู้มืดมิดในธรรมจะตกลงสู่นรกแห่งการเวียนว่ายเกิดเป็นวิญญาณบาปในนรกภูมิ ฉะนั้น ธรรมะจึงเป็นหนทางเดียวที่จะนำพาให้มนุษย์ได้กลับคืนสู่ฟ้าเบื้องบน เพราะธรรมญาณเดิมในกายมนุษย์เสมือนหนึ่งเป็นพุทธบุตรของ "เอกองค์อภิภูเจ้า" ผู้ประสิทธิ์ประสาทสรรพสิ่ง
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    คุณประโยชน์ของการรับวิถีธรรม <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    ธรรมะ คือหนทาง หนทางที่ว่านี้ ไม่ใช่เป็นหนทางทั่วไปทางโลก และหาใช่เป็นหนทางลุ่มหลงที่นำไปสู่ทะเลทุกข์ หรือเป็นทางตันแห่งการเวียนว่ายก็หาไม่ หากแต่เป็น สัมมาวิถีสู่สุขาวดีพุทธเกษตรนั่นเอง อย่างไรก็ดี "สัมมาวิถี" ที่ว่านี้อยู่ที่ไหน ? ผู้รู้อยู่ใกล้แค่นัยน์ตา เพียงหนึ่งก้าวก็ล่วงพ้นได้ ส่วนผู้หลงอยู่ไกล 108000 ลี้ ต่อให้ผ่านการเวียนว่ายมาพันหมื่นชาติก็มิอาจได้พบสัมมาวิถี ถึงจะใช้ระยะเวลานานเป็นหมื่นๆ มีก็ไม่สามารถพบเจอหนทางอันวิเศษแยบยลนี้ได้ อันที่จริงแล้วสัมมาวิถีที่ว่านี้ เป็นหนทางที่มาจากฟ้าเบื้องบน และสถิตเป็นธรรมญาณในกายสังขสรของมนุษย์ครั้งปางก่อนที่ธรรมะดำรงอยู่ที่อนุตตรภูมิ เรียกว่า "หลักสัจธรรมแห่งอนุตรภูมิ" แต่เมื่อธรรมะอยู่ในกายสังขารของมนุษย์เรียกว่า "หลักธรรมญาณ" เมื่อเข้ามาทางไหนก็ควรกลับไปทางนั้น เพราะวิถีธรรมนี้เป็น "สัมมาวิถีแห่งสัจธรรม" อันเป็นที่เกิดมาและตายไปของมนุษย์ เฉกเช่นพระวจนะของพระบรมครูขงจื่อที่กล่าวว่า : "ใครเลยจะออกจากบ้านไปโดยไม่ผ่านทางประตูใหญ่แต่ไฉนจึงไม่ออกทางประตูธรรมเล่า" กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การแสวงหากัลยาณจิตแห่งธรรมญาณเดิมนั่นเอง ดังที่ปราชญ์เมิ่งจื่อได้กล่าวว่า : "วิถีแห่งวิชาศาสตร์ทั้งปวง ไหนจะเทียบเท่าการแสวงหาวิถีแห่งจิตที่กระเจิดกระเจิงไปให้คืนกลับมา" หากเป็นเช่นนี้การได้รับ "วิธีธรรมแท้" มีคุณประโยชน์อย่างไร ? 1) สามารถหลุดพ้นจากการตาย การหลุดพ้นจาการตายหมายถึง การอยู่เหนือ ทวิภาวะ ( หยินหยาง ) พ้นจากการควบคุมของธาตุทั้ง 5 ( ทอง, ดิน, น้ำ,ไม้,ไฟ ) หลุดพ้นจากวัฎจักรแห่งการเวียนว่ายกลับคืนสู่พุทธภูมิ ไม่ต้องมาเกิดๆตายๆ ในทะเลทุกข์ตลอดไป เหตุใดจึงต้องแสวงหาการหลุดพ้นจากการเกิดตาย ? สาเหตุเพราะว่าการเกิดตายหาใช่เป็นเรื่องวิเศษไม่ อีกทั้งโลกมนุษย์และนรกภูมิก็ยังไม่ใช่บ้านเดิมที่น่าอยู่ของเราทุกคน ปราชญ์จวงจื่อได้กล่าวว่า : "เดิมทีข้าไม่ปรารถนาจะเกิด แต่ฉับพลันก็เกิดมาบนโลก เดิมที่ข้าไม่ ปรารถนาจะตาย แต่ทันใดความตายก็มาเยือน" การเกิดๆ ตายๆ จริงๆ เท็จๆ ยากจะแยกแยะทำให้ต้องซัดเซพเนจรอยู่ในกระแสแห่งการเกิดตาย ได้รับความทุกข์ทรมานในทะเลทุกข์ที่ไร้ขอบเขตจำกัดอย่างแสนสาหัสพระพุทธองค์ในสมัยพุทธกาลจึงได้ตัดสินใจสละราชบัลลังก์อันสูงศักดิ์ออกบรรพชา เพื่อไขปมปริศนาสำคัญของเรื่องการเกิดตาย จึงเห็นได้ว่าแดนมนุษย์ไม่ใช่แดนสุขาวดีเรื่องเกิดตายก็หาใช่เรื่องวิเศษ แม้นจะได้เกิดในโลกมนุษย์ก็เหมือนอยู่ในนรกเป็นๆ นี่เอง เมื่อตายแล้วลงไปในนรกก็ได้รับความทุกข์ในนรกอีก เกิดตายก็ยังวนเวียนอยู่ในทะเลทุกข์แห่งนรกภูมิวันยังค่ำ เพราะฉะนั้น ทั้งแดนมนุษย์และแดนนรก ล้วนมิใช่ "ดินแดนวิสุทธิ์" ทั้งนรกเป็นๆ และนรกแท้ๆ ก็หาใช่ "สวนสนุก" จึงควรตระหนักดีว่าหากต้องการ "ไม่ตาย" ก็ต้องทำให้ "ไม่มีการเกิด" เสียก่อน หากต้องการไม่ให้มีการเกิด ก็ต้อง "อยู่เหนือการเกิด" และหากต้องการอยู่เหนือการเกิดจึงต้องได้ "รับวิถีธรรม" เพราะถ้าหากได้รับชี้แนะถ่ายทอด "หลักธรรมญาณจริง" "สัจคาถา" และ "สัญลักษณ์แห่งตราประทับของพระพุทธะ" จากพระวิสุทธิอาจารย์แล้ว เรียกว่าเป็น การถอนชื่อจากบัญชีนรกสถิตนามที่พุทธาลัย รอดพ้นจากเงื้อมมือพญายม ไม่ถูกอนิจจังคุกคาม และยังสามารถกลับคืนสู่สวรรค์เบื้องบน ไม่ต้องลงมาเกิดในโลกมนุษย์ ไม่ต้องอยู่ในวัฏสงสาร และไม่ต้องทุกข์ทรมานจากการเวียนว่ายในชาติกำเนิด ๔ และภูมิวิถี ๖ อีกต่อไป ทั้งหมดที่กล่าวมาเบื้องต้น เป็นสาเหตุที่ต้องหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อนึ่ง ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะยุคสามปลายกัป วิถีธรรมแท้ลงโปรด ถึงแม้ต้องการหลุดพ้นจากการเกิดตาย ก็เรียกได้ว่า "ยากแสนยาก" ดังเช่นพุทธคัมภีร์ที่บันทึกว่า : ".....บ้างย่ำจนรองเท้าเหล็กสึกกร่อนก็ไม่อาจพบ บ้างก็ได้มาโดยไม่ต้องลงแรงเลย..." 2) สามารถละความชั่วใฝ่ความดี การได้รับวิถีธรรมเท่านั้นที่ทำให้ฟื้นฟูกัลยาณจิตซึ่งเป็นธรรมญาณเดิมของมนุษย์ จากนั้นเราจึงเริ่มกระจ่างแจ้งในจิตตนว่ามีทั้ง "จิตเดิมแท้" และ "จิตปรุงแต่ง" จิตเดิมแท้ คือ พุทธจิตธรรมญาณเดิม และก็หมายถึงพลังธาตุญาณ ส่วนจิตปรุงแต่งก็คือ ใจเลือดหรือใจเนื้อของมนุษย์นั่นเอง และก็หมายถึงวิญญาณธาตุ หากทุกขณะความคิดของมนุษย์เป็นไปในทางมิจฉาทางโลภ และทางเห็นแก่ตัว หรือทุกอิริยาการกระทำเป็นไปในทางโหดร้ายทารุณ ทั้งนี้ล้วนเป็นเพราะพุทธจิตธรรมญาณเดิมได้ถูกอุปาทานครอบงำ ถูกอารมณ์บดบัง ทำให้รัศมีธรรมไม่สามารถปรากฏ จึงส่งผลให้วิญญาณธาตุตั้งต้นเป็นนาย และอาศัยใจเลือดใจเนื้อที่ปรุงแต่งมากระทำการต่างๆ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงต้องรับวิถีธรรม จึงสามารถฟื้นฟูจิตเดิมแท้ บังเกิดปัญญาญาณอันวิเศษแยบยลเพื่อใช้เป็นประทีปส่องทาง แยกแยะทางถูกกับทางผิด และความดีกับความชั่วแปรเปลี่ยนวิญญาณธาตุให้เป็นปัญญาญาณ ละความชั่วใฝ่ความดี ให้ทุกการกระทำดำเนินไปทางสายกลาง และให้อิงธรรมญาณเป็นนาย ดังนั้นท่านขงจื้อจึงกล่าวว่า : "สามคนเดินมา ต้องมีผู้ที่สามารถเป็นอาจารย์ข้าได้จึงเลือกที่ดีเพื่อเอาอย่าง ที่ไม่ดีเพื่อนำมาแก้ไข...." อริยะวจนะข้างต้นนี้ได้กล่าวถึง "ธรรมญาณเดิมแห่งกัลยาณจิต" ที่เป็นเสมือน "อาจารย์ที่ประเสริฐ" ของตัวเราเองไม่ว่าจะเป็นความประพฤติต่างๆ หากสามารถอิงกัลยาณจิตที่ว่าเป็นเจ้านายในการควบคุม ก็จะไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาดตามมา เพราะฉะนั้น การรับวิถีธรรมจึงจะสามารถช่วยละความชั่วใฝ่ความดีอย่างแท้จริง ขจัดมิจฉาภาวะคืนสู่สัมมาภาวะ อย่างที่มีให้เห็นเป็นประจักษ์มากมาย 3) สามารถลดเคราะห็ภัย ลบล้างหนี้เวรกรรม เคราะห์ภัย และหนี้เวรกรรมล้วนเกิดจากการกระทำของมนุษย์เองทั้งสิ้น เนื่องจากมนุษย์ได้สูญเสียจิตเดิมแท้ไปขาดซึ่งคุณธรรมทั้งแปด (กตัญญุตาธรรม ภราดรธรรม ภักดีธรรม สัตยธรรม จริยธรรม มโนธรรม หิริธรรม โอตตัปปะธรรม) อิงใจเนื้อมากระทำการ ทุกความประพฤติการกระทำล้วนผิดต่อมโนสำนึก ไม่สอดคล้องกับสัมมาธรรมแห่งครรลองฟ้าจึงได้ผูกหนี้กรรม ก่อบาปสร้างเวร นำความหายนะมาสู่ตนเองบรรยากาศที่เลวร้ายนี้ได้มาทับทมกันมานานจนกลายเป็นมหันตภัยครั้งร้ายแรงที่สุดที่ไม่เคยมีมาก่อนทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ความวิบัติที่กล่าวมาเบื้องต้นนี้ล้วนสืบเนื่องมาจากการละเมิดต่อศีลธรรมของมนุษย์เองทั้งสิ้น ในเมื่อเคราะห์ภัย และหนี้เวรกรรมเป็นผลพวงของจิตใจที่ขาดธรรมะของมนุษย์เองแล้ว จึงต้องมีการฟื้นฟูจิตเดิมแท้โดยการรับวิถีธรรม เป็นการให้มนุษย์ได้พบกับจิตเดิมแท้แห่งตนยังผลให้เคราะห์ภัยลดลง และยังช่วยลบล้างหนี้เวรกรรมอีก หากมนุษย์ทุกคนได้ฟื้นฟูกัลยาณจิต ได้พบสัมมาธรรมแห่งตนก็จะได้เข้าใจโดยปริยายว่า เพราะตนเป็นเหตุก่อให้เกิดเคราะห์ภัยและหนี้เวรกรรม ฉะนั้น หากสามารถบังเกิดจิตสำนึกขอขมาอย่างจริงใจในความผิดบาปที่ผ่านมา กระตือรือร้นในการสร้างบุญกำหนดคุณธรรมเพื่อชำระวิบากกรรม เช่นนี้แล้วเคราะห์ภัยก็จะลดลงหนี้เวรกรรมก็จะถูกบั่นทอนไปเอง ถึงครานั้นตัวเองก็ย่อมมีเสรีภาพจากพันธนาการทั้งปวง จากนั้นก็ "จิตหนึ่งใจเดียวโดยอิงกัลยาณจิตเป็นนาย" ทุกกิริยาความประพฤติตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมทั้งแปด เช่นนี้แล้ว จะมีการผูกหนี้สร้างเวรได้อย่างไร ? จะมีการก่อเคราะห์ภัยได้อย่างไรอีก ? ดังคำที่กล่าวว่า : "กรรมเก่าไม่มี กรรมใหม่ไม่สร้าง" กายใจผ่องใส ทั้งเคราะห์ภัยและหนี้เวรกรรมก็จะสลายไปเอง ! ทว่าปัจจุบัน เป็นยุคสามปลายกัป ซึ่งเป็นวาระสมัยที่มนุษยชาติต้องถูกตัดสินโทษ แต่หากมีผู้ได้รับวิถีธรรมสามารถละความชั่วใฝ่ความดี ขจัดความมิจฉาสู่สัมมาแล้วนั้น ต่อให้ต้องพบพานกับภัยพิบัติที่ไหนก็ตาม ก็สามารถอาศัยไตรรัตน์มาคุ้มภัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะมาคุ้มครองด้วยเช่นกัน !
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    เหตุใดจึงต้องรับวิถีธรรม <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    ดังที่กล่าวเบื้องต้นแล้วว่า ธรรมะ มีมาแต่เดิม ส่วนคุณธรรมเป็นการแสดงออกโดยธรรมชาติของธรรมะ ธรรมะ คือ ธรรมญาณเดิมของมนุษย์ คือรากกำเนิดของชีวิต และในเมื่อธรรมะคือธรรมญาณเดิมของมนุษย์ สถิตอยู่กายมนุษย์และมนุษย์ทุกๆ คนล้วนมีธรรมะมาแต่กำเนิด เหตุใดเราจึงต้องรับวิถีธรรมอีก ? สภาวะธรรมนี้ ประทับอยู่ในกายเนื้อของมนุษยชาติและสรรพชีวิต ถึงแม้จะอยู่ในกายมนุษย์ แต่การเข้าออกของสภาวะธรรมไม่มีรูปลักษณ์ให้เห็น การไปมาของสภาวะธรรมก็หามีท่วงทำนองให้สดับไม่ ! เพราะเหตุนี้ สรรพชีวิตทั้งปวงจึงล้วนแต่อาศัยธรรมญาณเดิมนี้ในการดำรงชีวิตโดยไม่รู้ตัว ทั้งๆ ที่มีอยู่ในตัวแต่ตัวเองก็ไม่เคยรู้จักตัวตนที่แท้จริง ยิ่งกว่านั้น นับตั้งแต่มนุษย์ได้เกิดการเวียนว่ายมา ซึ่งเป็นระยะเวลากว่าหกหมื่นปี ทุกชาติเกิดหากไม่หลงใหลอยู่กับ สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ก็หมกมุ่นในความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง เพียงเพื่อต้องการสนองตัณหาอาศัยใจเนื้อมากระทำการทุกอย่าง ทำให้บั่นทอนพลังธาตุ ไม่ยึดมั่นในคุณธรรม เลือดเดือดอารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่นยโสโอหัง ปล่อยปละละเลย ใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมฉ้อฉลคดโกงปล่อยใจปล่อยอารมณ์ ทำให้จิตเดิมแท้กระเจิดกระเจิง ฯลฯ บัดนั้นเรื่อยมา สภาวะธรรมอันวิเศษแยบยล หรือพุทธจิตเดิม จึงถูกตัณหาครอบงำ ถูกอารมณ์ยึดครอง ใช้ชีวิตอยู่ในความหลับใหลแต่ก็หาได้หลับสนิทไม่ ! ดูเหมือนจะตื่นแต่ก็หาได้ตื่นจริงไม่ ! กลับเห็น "ทะเลแห่งเวรกรรม" เป็น "แม่น้ำแห่งความรัก" เห็น "แดนเนรมิต" หลงอาลัยอาวรณ์จนลืมกลับบ้าน หลงผิดคิดว่า สวรรค์เบื้องบนไม่มี ? โลกีย์นั่นแหละคือบ้านของเรา ?? เห็นจริงเป็นเท็จ เห็นเท็จเป็นจริง เมามายอยู่ในโลกแล้วยังฝันคิดว่าจีรังยั่งยืนอีก อย่างที่เรียกว่า : "พุทธบุตรที่ลุ่มหลง" นั่นเอง ! นักปราชญ์เมิ่งจื้อจึงได้รำพันต่อชาวโลกว่า : "คนทั่วไปเวลาปล่อยไก่ ปล่อยสุนัขยังรู้ที่จะเรียกกลับมา แต่ไฉนเวลาปล่อยจิตปล่อยใจไป ใยไม่รู้เรียกคืนกลับมา ช่างน่าเวทนาจริงหนอ !" สภาวะธรรมก็ดี ธรรมญาณก็ดี ตลอดจนกัลยาณจิตที่ว่านี้ แม้นมนุษย์จะมีพร้อมสมบูรณ์มาแต่กำเนิด ทว่ามนุษย์เองหารู้ในความสมบูรณ์พร้อมนี้ไม่ เนื่องจากมนุษย์ได้ปล่อยให้ "สภาวะที่สมบูรณ์พูนพร้อม" นี้สูญหายไปเป็นระยะเวลาอันยาวนานจนตัวเองได้หลงลืมที่จะไปแสวงคืนกลับมา ตั้งแต่นั้นมา ธรรมญาณเดิมจึงได้ลุ่มหลง เสมือนฝูงแกะที่พลัดหลง ไม่รู้ทางไป จนในที่สุดจึงลืมสิ้นซึ่งธรรมญาณเดิมทำให้เห็น "กายเป็นนาย" เห็น "จิตเป็นบ่าว" กระทำการโดยอิง "ใจเนื้อ" มาแทน "ใจพระ" ปล่อยอารมณ์ตามอำเภอใจ ไม่เกรงกลัวต่อบาปเวร ถูกกระแสของเหตุต้นผลกรรมพันธนาการ ส่งผลให้เวียนเกิดเวียนตายเรื่อยมา ทำให้จิตใจมนุษย์ตกต่ำไม่เหมือนก่อน คุณธรรมสูญสิ้นไม่มีชิ้นดี.........ฯลฯ สาเหตุต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ก่อให้เกิดมหันตภัยร้ายครั้งใหญ่อย่างทีไม่เคยมีมาก่อน ต่อมามนุษย์ได้แต่แสวงหาความอยู่รอดท่ามกลางทะเลทุกข์ เท่ากับ "เดินทางมรณะไปสู่นรก" แต่ทว่า "สัมมาวิถีสู่เบื้องบน" กลับไม่มีใครถามหา ! เมื่อเป็นเช่นนั้น "ทวารแคบดั้งเดิม" จึงถูกปิดกั้นไปทำให้ผ่านไปมาไม่ได้อีกต่อไป "ประตูสู่สรวลสวรรค์" จึงดูเงียบเหงาไปถนัดตา ดังปราชญ์เมิงจื้อที่กล่าวว่า : "ลำธารระหว่างทางเขา หากหมั่นใช้เป็นประโยชน์ก็สามรถขยายเป็นถนนได้ หากไม่รู้จักใช้ประโยชน์ก็จะเกิดหญ้ารกทำให้ทางตันได้" มนุษย์ได้หลงลืมจิตเดิมแท้ ไม่รู้จะไปแสวงหาที่ไหน? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนทางตรงที่ว่านี้ได้ถูกปิดไป อีกทั้งยังมีพุ่มไม้ที่มีหนามและหญ้ารกเต็มไปหมด ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการขอรับวิถีธรรม และยิ่งต้องมีการบำเพ็ญธรรม การรับวิถีธรรม คืออะไร ? การรับวิถีธรรม คือการรับรู้จิตเดิมแท้ที่สูญหายไป ซึ่งเป็นแก้วมณีอันล้ำค่าของมนุษย์เองเมื่อได้ฟื้นฟูจิตเดิม ก็เท่ากับการได้ค้นพบตัวตนที่แท้จริง การบำเพ็ญธรรมเป็นอย่างไร ? การบำเพ็ญธรรม คือ การขัดเกลาจิตเดิมเพื่อให้กลับคืนสู่ความบริสุทธิ์สมบูรณ์ และความสว่างไสวแห่งสภาวะธรรมเดิม หากไม่ได้รับวิถีธรรม ก็ไม่อาจรู้แจ้งในต้นกำเนิดที่สถิตของจิตเดิม ยิ่งไม่สามารถกระจ่างแจ้งในสาเหตุที่ทำให้จิตเดิมต้องถูกครอบงำ และต้องสูญหายไป หลังจากที่ได้รับวิถีธรรมแล้ว จึงรู้ "จุด" ที่เป็นพื้นฐานของการบำเพ็ญธรรม และกำหนดทิศทางในการเสริมสร้างบารมีธรรม เพราะฉะนั้น การรับวิถีธรรมจึงเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของผู้บำเพ็ญธรรม และผู้ใฝ่คุณธรรม มีเพียงการรับธรรมและการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมเท่านั้น ที่จะฉุดช่วยพุทธจิตญาณเดิมของเรากลับคืนสู่"มาตุภูมิแห่งแดนสุขาวดี" ให้ต้นจิตที่เป็นนายเดิมแห่งตนได้พบแสงสว่างอีกครั้งหนึ่ง เพื่อได้มีโอกาสกราบเฝ้า พระอนุตตรธรรมเจ้า และได้เข้าร่วมการ "ประชุมอริยหลงฮว๋า" ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ! อย่างไรก็ดี ถ้าหากพระอนุตตรธรรมเจ้าไม่ทรงประทานพระองค์การฟ้า พร้อมทั้งมี พระบัญชาให้พระวิสุทธิอาจารย์ (อาจารย์ผู้รู้แจ้ง) ถ่ายทอดหลักจิตญาณอันแท้จริง เบิกจุดญาณทวารอันวิเศษและไขหลักวิถีแห่งจิตที่เป็นปมปริศนามานับหมื่นปีแล้ว ต่อให้เป็นนักปราชญ์ผู้ปรีชาสามารถ ก็ไม่อาจเข้าถึงต้นกำเนิดที่สถิตของธรรมญาณที่วิเศษแยบยล และวิสุทธิ์ภูมิลึกลับแห่งญาณทวารนี้ได้ ! จึงเห็นได้ว่า ธรรมะ คือหลักสัจธรรม หลักสัจธรรม หมายถึงหลักธรรมญาณ หลักธรรมญาณ ก็คือกัลยาณจิต และกัลยาณจิตก็คือพระพุทธะนั่นเอง ! การที่ต้องอยู่เหนือการเกิดตาย หลุดพ้นจากการเวียนว่าย หลบหลีกจากมหันตภัย รอดพ้นจากความวิบัติและสำเร็จเป็นพระพุทธอริยเจ้า ล้วนต้องผ่านขั้นตอนการ "รู้แจ้งในวิถีธรรม" ทั้งนั้น เพราะเหตุนี้ องค์ศากยมุนีพุทธเจ้า จึงไม่ทรงอาลัยในฐานันดรศักดิ์ที่ทรงเป็นถึงราชโอรส แต่กลับจาริกสู่ปู่เขาเพื่อแสดงโมกขธรรม ส่วนพระธิดาเมี่ยวซ่าน ที่ไม่ทรงหลงใหลกับความสุขสรรเสริญในพระราชวัง แต่กลับออกบรรพชาเพื่อแสวงธรรมเช่นกัน รวมทั้งพระอริยเจ้า เซียนเอวี๋ยน ที่ต้องกราบพระอาจารย์ถึง 72 ท่านกว่าจะได้รับธรรมแท้ และท่านบรมครูขงจื้อที่ต้องน้อมถาม "หลักจริยา"กับท่านเหลาจื้อ ตลอดจนพระภิกษุเสินกวง ที่ต้องคุกเข่าท่ามกลางหิมะ และตัดแขนท่านเองเพื่อพิสูจน์ความแน่วแน่ก่อนจะได้รับวิถีธรรม จึงเห็นได้ว่า พุทธอริยเจ้าในอดีตล้วนต้องปล่อยวางจากโลกีย์วิสัย ละทิ้งครอบครัว บำเพ็ญทุกกรกิริยาหลายสิบปี ทั้งนี้เพื่อรอรับการถ่ายทอดหลักธรรมญาณจริงของมหาธรรมนั่นเอง !!!
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td></tr></tbody></table>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    อุปสรรค 4 ในการรับวิถีธรรม <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    อุปสรรค 4 ในการรับธรรมมีดังนี้ : 1. เกิดกายเป็นมนุษย์ยาก การได้เกิดกายมาเป็นมนุษย์นั้นแสนจะยาก เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สูงส่งที่สุดในบรรดาสรรพสัตว์ เพราะมนุษย์มีธรรมญาณที่วิเศษแยบยล ธรรมญาณที่ว่านี้ อาศัยกายเนื้อเป็นที่สถิต ส่วนกายเนื้อต้องอาศัยธรรมญาณเพื่อดำรงชีวิต กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กายแท้ซ่อนเร้นอยู่ในกายสมมุติ และกายสมมุติก็ไม่เคยห่างจากกายแท้เลย สรุปก็คือกายแท้ประกอบกับกายสมมุติจึงก่อเกิด "ชีวิต" พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า : "รูปไม่ต่างกับความว่าง ความว่างก็ไม่ต่างกับรูป..." ธรรมญาณ ต้องอิงอาศัยรูปกายในการบำเพ็ญเพื่อหลุดพ้น ต้องอาศัยกายสมมุติบำเพ็ญจิตเดิมแท้ หากไร้ซึ่งกายสังขารแล้วจะบำเพ็ญให้หลุดพ้นได้อย่างไร ? เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงควรถนอมรักษากายสังขารนี้ไว้ ! โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีโอกาสได้เกิดกายเป็นมนุษย์ ยิ่งสมควรสำรวมระมัดระวังอย่าได้ก่อบาปสร้างเวร หากหนี้บาปล้นฟ้า ชาติหน้าก็ต้องเกิดในอบายภูมิ และเมื่อได้สูญเสียกายเนื้อไป ก็ยากที่จะได้รับวิถีธรรม ดังที่กล่าวไว้ว่า : "ได้เกิดกายเป็นมนุษย์แสนยาก.." 2. เกิดกายในมัชฉิมประเทศยาก มัชฉิมประเทศในที่นี้ หมายถึงประเทศแถบเอเซีย การได้เกิดกายในภาคเอเซียกลางนั้นแสนยาก วิถีธรรม เป็นมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) เป็นที่สุดของความบริสุทธิ์ ความเที่ยงธรรม และความงดงาม มีความยุติธรรมไม่เอนเอียง สถิต ณ แถบเอเซียกลาง ซึ่งเป็นใจกลางของฟ้าดิน และเป็นศูนย์กลางของสหโลกธาตุ ประเทศจีนในสมัยโบราณจึงมีชื่อที่เรียกกันว่า "แดนกลาง" หรือ "มัชฌิมประเทศ" หรือ "จีนกลาง" ฯลฯ คำว่า "กลาง" นั้น เป็นรากฐานของฟ้าดิน ฉะนั้นประเทศจีนจึงตั้งอยู่ ณ ใจกลางที่สุดของโลก ในอดีตมีภูเขาสูงที่ชื่อ "เขาพระสุเมรุ" ซึ่งมีภายหลังเรียกอีกชื่อว่า "เขาคุนหลุนซัน" เขาลูกนี้มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก ต่อมาจึงได้รับการขนานนามว่า "เป็นชายคาของโลก" นอกจากนี้ ลักษณะพื้นภูมิของโลก ยังมีแหล่งกำเนิดมาจาก "เขาคุนหลุนซัน" ตามที่มีบันทึกว่า : "เบื้องบนของเขาคุนหลุนซัน คือ "แม่น้ำเทียนเหอ" น้ำในแม่น้ำเทียนเหอได้ไหลลงมาสู่เขาคุนหลุนจากนั้นได้ไหลเข้าแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) และมหาสมุทร ลักษณะของลุ่มแม่น้ำฮวงโหมีดินเหลืองจำนวนมาก ทำให้น้ำในแม่น้ำฮวงโหต้องมีลักษณะขุ่นเหลืองอยู่ชั่วนาตาปี อย่างไรก็ตาม ยามใดเมื่อมีพระอริยเจ้าทรงอุบัติมา หรือมีอริยกษัตริย์ขึ้นครองราชย์ ยามนั้นน้ำในแม่น้ำฮวงโหจะใสสะอาดเป็นเวลาหลายวัน ทั้งเพื่อแสดงให้เห็นเป็นศุภนิมิต จากตรงนี้จึงเห็นได้ว่า จากแม่น้ำเทียนเหอสู่เขาคุนหลุนซันจรดแม่น้ำฮวงโห คือศูนย์กลางของฟ้าดิน และมีสีเหลือง (ชนผิวเหลือง)เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจาก ประเทศจีนตั้งอยู่ใจกลางของฟ้าดิน เมื่อพระอภิภูเจ้าทรงสร้างจักรวาล ประทานชีวิตแก่สรรพสิ่ง จึงได้เริ่มต้นจากแถบมัชฌิมประเทศซึ่งมีประเทศจีนเป็นหลัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นวิวัฒนาการของมนุษยชาติ หรือจะเป็นการค้นพบทางวัตถุโบราณที่มีความเก่าแก่ที่สุด ล้วนเป็นของประเทศจีนทั้งนั้น รวมไปถึงการที่ฟ้าเบื้องบนทรงประทานวิถีธรรมลงปกโปรดทุกยุคสมัย ก็เริ่มปกโปรดจากทางประเทศจีนก่อน ซึ่งก็เป็นแหล่งอริยธรรมโบราณ และเป็นต้นกำเนิดแห่งพงศาธรรมอีกด้วย เพราะฉะนั้น หากไม่ได้เกิดกายทางแถบเอเซียตอนกลาง โอกาสที่จะได้รับวิถีธรรมก็คงจะยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรอีก จึงกล่าวได้ว่า : "เกิดกายในมัชฌิมประเทศยาก" 3. ได้พบวาระยุคสามยาก การได้พบพานกับวาระยุคสามที่ว่านี้ หมายถึงการได้พานพบกับ "ยุคสามปลายกัป" หรือการได้เกิดทันการเบิกดิถีแห่งธรรมกาลยุคสาม หรือที่เรียกว่าเป็น "ยุคที่มีทั้งศุภวาระและมหันตภัย" ลงมาพร้อมกัน ยุคสามที่กล่าวข้างต้น ประกอบด้วย ยุคเขียว ยุคแดง และยุคขาว อย่างไรก็ดี วิถีธรรมจะไม่ลงโปรดหากไม่ใช่วาระอันควร และจะไม่ถ่ายทอดหากไม่ใช่บุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อมยกตัวอย่างเช่น คนป่วยที่มีอาการสาหัสจำเป็นต้องอาศัยยามารักษา ด้วยเหตุนี้ ยามีขึ้นเพราะโรคภัยฉันใด วิถีธรรมลงโปรดก็เพื่อกอบกู้ภัยพิบัติฉันนั้น เนื่องจากกาลเวลาฟ้าได้ดำเนินมาถึง ธรรมกาลยุคขาวหรือยุคสามปลายกัป ซึ่งเป็นยุคที่ภัยทั้ง 3 (อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย) และความวิบัติทั้ง 8 (น้ำ ไฟ ศาตราวุธ สงคราม แห้งแล้ง น้ำท่วม ทุพภิขภัย และพืชผลเสียหาย) เกิดขึ้นพร้อมกับอีกทั้ง "เก้าเก้าแปดสิบเอ็ดมหันตภัยร้าย" และ "เจ็ดเจ็ดสี่สิบเก้าวันแห่งรัตติกาล" ที่ใกล้เข้ามา ซึ่งภัยทั้งหลายนี้ล้วนเป็นวินาศกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติการณ์ของโลก ถึงกระนั้นก็ตาม มีเพียง "พระสัทธรรมแท้" เท่านั้นสามารถกอบกู้มหันตภัยครั้งใหญ่นี้ได้ เพราะเหตุนี้ พระอนุตตรธรรมเจ้า จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณทรงประทานวิถีธรรมแท้อันเป็นสิ่งที่ล้ำค่า เพื่อฉุดช่วยมวลธรรมญาณ ปกโปรดเวไนยในยุคสาม อีกทั้งกอบกู้วินาศภัยในวาระสุดท้ายที่กำลังใกล้เข้ามาทุกวินาที หากไม่ใช่เป็นเพราะ ธรรมกาลยุคขาวที่ได้สนองตามเกณฑ์วาระของการปกโปรด ก็ยากที่จะได้รับธรรมแท้ จึงกล่าวว่า : "การได้พบวาระยุคสามยาก" นั่นเอง ! 4. พบพระสัทธรรมยาก พระสัทธรรมยาก หมายถึง ธรรมแท้ที่บริสุทธิ์ และสามารถช่วยเวไนยให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ฉะนั้น การได้พบพานกับพระสัทธรรมนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากแสนยากเสียจริงๆ แต่ในธรรมกาลยุคขาว พระสัทธรรมได้ลงโปรดสู่ครัวเรือน ฉุดช่วยสาธุชนคนบุญอย่างกว้างขวาง มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคที่จะได้รับวิถีธรรม ซึ่งเป็นบุญวาระมงคลสมัยของชาวโลก เพราะฉะนั้นนอกจากความยากของการได้กายเนื้อ ได้เกิดกายในมัชฌิมประเทศและได้พบวาระยุคสามแล้ว ความยากอีกประการหนึ่งของผู้รับธรรมก็คือ "ได้พบพระสัทธรรมยาก" จริงอย่างที่ว่า : "ความยากทั้งสามอาจได้บรรจบ แต่จะพบความยากท้ายสุดนั้น ยากแสนยาก !" ลองมาสังเกตดูว่า ประชากรในโลกมีมากมาย ในบรรดาที่ว่ามานี้อยู่ไม่น้อยคนที่มีคุณสมบัติได้ผ่านความยากลำบากทั้งามประการแรกมา แต่ถ้าจะให้คัดเฉพาะผู้ที่ได้พบพระสัทธรรมสดับรับวิถีธรรมนั้นสามารถเปรียบได้ดั่งดวงดาวยามฟ้าสาง นั่นเป็นเพราะเหตุใด ? สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะ วิบากกรรมแต่กาลก่อนประกอบกับเจ้ากรรมนายเวรกีดกัน เหล่านี้ส่งผลให้จิตเดิมต้องมัวหมอง คุณธรรมเดิมทั้ง 8 ต้องเสื่อมทรามไป มิหนำซ้ำยังหลงใหลอยู่กับสุรา นารี พาชี กีฬาบัตร อีกทั้งยังถูกโซ่ตรวนแห่งชื่อเสียง ลาภยศ และความรัก พันธนาการ จึงทำให้รากแห่งธรรมต้องขาดสะบั้นไป หรืออีกสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะท่ามกลางการปกโปรดทั่วไปในวาระยุคสามนี้ได้มีหมื่นศาสนาอุบัติขึ้นพร้อมกัน มีมิจฉาศาสตร์ และลัทธินอกรีตอีกจำนวนไม่น้อย สร้างความสับสนแก่เวไนย ทำให้ผู้คนคล้อยตาม บ้างแอบอ้างพระนามของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อหวังหลอกลวง หรือมีผู้ที่หลงเดินทางผิดโดยไม่ปฏิบัติตามกฎพุทธระเบียบ ฯลฯ ทั้งหลายนี้ล้วนเกิดขึ้นและมีให้เห็นอยู่มากมายทุกแห่งหน อันที่จริงแล้ว พระสัทธรรม คือวิถีธรรมแท้ที่เป็น "เอกธรรมปฏิเวธ" ซึ่งหมายถึง ธรรมวิถีที่เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีสอง และ ในปัจจุบันกาลวิถีธรรมแท้ได้ลงโปรดสู่ครัวเรือน หากไม่ใช่เป็นผู้โชคดีทั้งอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ และอนาคตชาติ รวมทั้งสามชาติ ประกอบกับบุญบารมีของบรรพชนแล้วละก็ อย่างมากก็ได้แต่รู้จักเพียงกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในที่สุดอาจต้องเดินไปตามมิจฉาวิถีสู่ประตูมารก็เป็นได้ จึงมีคำกล่าวว่า : "คลำถูกรากสำเร็จเป็นพระพุทธะ คำผิดรากบำเพ็ญผิดทาง" ยังกล่าวต่อไปว่า : "ที่ยากที่สุดในโลก คือ ได้กายสังขาร ที่ยากที่สุดของกายสังขาร คือ ได้รับวิถีธรรม" หากไม่ใช่ผู้มีพุทธสัมพันธ์แนบแน่น อาศัยบุญบารมีของบรรพชนปกคลุม ก็ยากที่จะได้พบพานพระสัทธรรมแน่นอน จึงกล่าวว่า : "ได้พบพระสัทธรรมยาก"
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    พงศาธรรมแท้แห่งโองการฟ้า <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    "ธรรมแท้ต้องมีโองการฟ้าจริง" ที่ว่าพระโองการฟ้า หมายถึง "พระบรมราชโองการแห่งพระเอกองค์อภิภูเจ้า" นั่นเอง "พงศาธรรม" คือ "ธรรมแท้ ที่เป็นเอกธรรมมรรค ที่ถ่ายทอดส่งมอบกันมาเฉพาะบุคคลได้รับกันเพียงลำพังแบบรุ่นต่อรุ่น" นั่นเอง ตั้งแต่อริยเจ้าฝูซี "หนึ่งขีดเบิกฟ้า" กำหนด "อัฐลักษณ์ของฟ้าปางก่อน" (เซียนเทียนปากว้า) ซึ่งเป็นการที่มหาธรรมเริ่มลงโปรดมนุษย์ ในช่วงบูรพาแดนตอนต้น ได้มีพระบรรพจารย์รวมทั้งสิ้น 18 สมัย ดังนี้ : สมัยที่ ๑ อริยเจ้าฝูซี สมัยที่ ๒ อริยเจ้าเสินหนง (เทพแห่งการเกษตร) สมัยที่ ๓ อริยกษัตริย์เซวียนเอวี๋ยน (กษัตริย์เหลือง) สมัยที่ ๔ อริยกษัตริย์เส้าเฮ้า สมัยที่ ๕ อริยกษัตริย์จวนซวี้ สมัยที่ ๖ อริยกษัตริย์ตี้คู่ สมัยที่ ๗ อริยกษัตริย์เหยา สมัยที่ ๘ อริยกษัตริย์ซุ่น สมัยที่ ๙ อริยกษัตริย์อวี่ สมัยที่ ๑๐ อริยกษัตริย์อีอิ่ง สมัยที่ ๑๑ อริยกษัตริย์ทัง สมัยที่ ๑๒ บรรพจารย์ไท่กงวั้ง สมัยที่ ๑๓ อริยกษัตริย์เหวินหวัง / อู่หวัง / โจวกง สมัยที่ ๑๔ บรรพาจารย์เหลาจื่อ สมัยที่ ๑๕ บรมครูขงจื่อ สมัยที่ ๑๖ บรรพจารย์เอี๋ยนจื่อ / เจินจื่อ สมัยที่ ๑๗ บรรพาจารย์จื่อซือ สมัยที่ ๑๘ บรรพาจารย์เมิ่งจื่อ ที่กล่าวมานี้ เป็นพระบรรพจารย์ทั้ง 18 สมัย ที่ได้ถ่ายทอดส่งมอบพงศาธรรมแท้สมัยต่อสมัย รุ่นต่อรุ่น เป็นการถ่ายทอดเฉพาะบุคคลได้รับเพียงลำพัง หลังจากท่านบรรพจารย์เมิ่งจื่อ ทิศทางของชีพจรแห่งธรรมได้หันเหไปยังตอนตะวันตก (หมายถึงชมพูทวีป) และในช่วงนั้นเองที่ "วิถีแห่งจิต" ได้ขาดหายไปจากการถ่ายทอดไปชีพจรแห่งธรรมของบรรพกษัตริย์ได้ถูกกลมกลืนไป ทำให้พงศาธรรมไม่สามารถสืบสานอย่างต่อเนื่อง เพราะเหตุที่วิถีธรรมได้เปลี่ยนวิถีไปยังแดนชมพูทวีปแล้ว ซึ่งทางสมณะผู้ถือบวชได้สานต่อพงศาธรรม พระศากยมุนีพุทธเจ้าได้เป็นผู้ตรัสรู้ในอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จากนั้นก็ได้ถ่ายทอดวิถีธรรมต่อไปอีกทั้งสิ้น 28 สมัย พระนามของพระบรรพจารย์ทั้ง 28 สมัยทางชมพูทวีปมีดังต่อไปนี้ : สมัยที่ ๑ พระมหากัสสปะเถระ สมัยที่ ๒ พระอานนท์เถระ สมัยที่ ๓ พระศาณกวาสะเถระ สมัยที่ ๔ พระอุปคุปตะเถระ สมัยที่ ๕ พระธฤฏกะเถระ สมัยที่ ๖ พระมิจฉกะเถระ สมัยที่ ๗ พระวสุมิตรเถระ สมัยที่ ๘ พระพุทธนันทิเถระ สมัยที่ ๙ พระพุทธมิตรเถระ สมัยที่ ๑๐ พระปารัศวะเถระ สมัยที่ ๑๑ พระปุณยยศะเถระ สมัยที่ ๑๒ พระอัศวโฆษเถระ สมัยที่ ๑๓ พระกปิมละเถระ สมัยที่ ๑๔ พระนาคารชุนเถระ สมัยที่ ๑๕ พระกาณเทพเถระ สมัยที่ ๑๖ พระราหุลตาเถระ สมัยที่ ๑๗ พระสังฆนันทิเถระ สมัยที่ ๑๘ พระคยาศตะเถระ สมัยที่ ๑๙ พระกุมารตะเถระ สมัยที่ ๒๐ พระชยัตเถระ สมัยที่ ๒๑ พระวสุพันธุเถระ สมัยที่ ๒๒ พระมโนรหิตะเถระ สมัยที่ ๒๓ พระหกเลนเถระ สมัยที่ ๒๔ พระอารยสิงหะเถระ สมัยที่ ๒๕ พระวสิอสิตะเถระ สมัยที่ ๒๖ พระปุณยมิตรเถระ สมัยที่ ๒๗ พระปรัชญาตาระเถระ สมัยที่ ๒๘ พระโพธิธรรมเถระ ที่กล่าวมาเบื้องต้น ล้วนเป็นเถระในพระพุทธศาสนาสมัยชมพูทวีปที่ถ่ายทอดเพียงลำพังแต่ชี้ชัดตรงไปยังวิถีแห่งจิต ส่งมอบกันจนถึงสมัยที่ 28 คือ พระบรรพจารย์โพธิธรรม ต่อมาในรัชสมัยของกษัตริย์เหลียงอู่ตี้ พระบรรพจารย์โพธิธรรมได้สนองรับพระโองการฟ้าเดินทางมาจากแดนชมพูทวีปมายังแดนบูรพา (ประเทศจีน) เพื่อไขปริศนาธรรมอันแยบยล ให้กระแสธรรมได้คืนกลับสู่ประเทศจีนอีกครั้งหนึ่ง ดังที่สุภาษิตได้กล่าวไว้ว่า : "ธารน้ำไหลคืนสู่ต้นกระแส" (เหลาสุ่ยหวันเฉา) นั่นเอง ตั้งแต่พระโพธิธรรมได้เข้าสู่ประเทศจีน ธรรมแท้ยังเป็นการ "สืบทอดแบบเส้นชีพจรเดียว" โดยมีพระโพธิธรรมเป็นพระปฐมบรรพจารย์ ถ่ายทอดวิถีธรรมนี้ให้แก่พระบรรพจารย์สมัยที่สอง พระภิกษุเสินกวง เฉพาะเพียงลำพัง ต่อด้วยพระภิกษุเซิงช้านซึ่งเป็นพระบรรพจารย์สมัยที่สาม เรื่อยมาจนถึงพระภิกษุเต้าสิ้นพระบรรพจารย์สมัยที่สี่ พระภิกษุหงเหริ่นพระบรรพจารย์สมัยที่ห้า ตลอดจนมาถึง พระภิกษุเว่ยหล่างพระบรรพจารย์สมัยที่หกซึ่งเมื่อถ่ายทอดแบบเฉพาะ จนถึงพระบรรพจารย์สมัยที่หกแล้วการส่งมอบบาตรและจีวรที่เป็นประจักษ์สัญลักษณ์ที่พระบรรพจารย์ส่งมอบกันมายาวนานได้ขาดหายจากการส่งมอบไป จากนั้นมาจึงมีการกล่าวถึงการบำเพ็ญ "แบบนิกายใต้ที่ฉับพลัน" และ"แบบนิกายเหนือที่แบบค่อยเป็นค่อยไป" ทว่าที่จริงแล้วในช่วงขณะนั้น พงศาธรรมได้อำพรางหันเหทิศทางสู่ศาสนาปราชญ์แล้ว ดังพระสูตรเว่ยหล่างที่กล่าวไว้ว่า : "ธรรมวิถีแห่งศากยวงศ์ สุดที่ข้า ศาสน์แห่งปราชญ์รับสัทธรรม ต่อจากข้า ยุคสามปลายกัป เก็บงานสมบูรณ์ ศรัทธาพูนสำรวมจิตทางสายกลาง" ต่อมาพระบรรพจารย์เว่ยหล่างสมัยที่หก ได้ถ่ายทอดวิถีธรรมให้แก่พระบรรพจารย์ไป๋ และพระบรรพจารย์หม่าทั้งสองท่านเพื่อเป็นพระบรรพจารย์สมัยที่เจ็ด บัดนั้นมา วิถีธรรมได้โปรดสู่ครัวเรือน โดยมีพระบรรพจารย์สมัยต่อมาดังนี้ : สมัยที่ ๘ พระบรรพจารย์หลัวเว่ยฉวิน สมัยที่ ๙ พระบรรพจารย์หวงเต๋อฮวย สมัยที่ ๑๐ พระบรรพจารย์อู๋จื่อเสียง สมัยที่ ๑๑ พระบรรพจารย์เห๋อเหลี่ยวขู่ สมัยที่ ๑๒ พระบรรพจารย์เหยี๋ยนทุ้ย สมัยที่ ๑๓ พระบรรพจารย์หยังหวนซวี และพระบรรพจารย์ฉวีหวนอู๋ สมัยที่ ๑๔ พระบรรพจารย์เหยาเหเฮ่อเทียน สมัยที่ ๑๕ พระบรรพจารย์หวังเจวี๋ยอี สมัยที่ ๑๖ พระบรรพจารย์หลิวชิงซวี ครบสมบูรณ์ทั้งสิบหกสมัยในธรรมกาลยุคแดง จากนั้นเกณฑ์วาระแห่งธรรมได้เข้าสู่ธรรมกาลยุคขาว โดยมีพระศรีอาริยเมตไตรยสนองเกณฑ์วาระ มีพระบรรพจารย์ลู่จงอีเป็นพระปฐมบรรพจารย์แห่งธรรมกาลยุคขาว เพื่อสนองพระอาณัติแห่งฟ้าในการปกโปรดอย่างกว้างขวาง ประกาศปริศนาธรรมอันแยบยลอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมได้มีพระบรรพจารย์กงฉัง และพระบรรพจารย์จื่อซี่เป็นพระบรรพจารย์สมัยที่สองแห่งธรรมกาลยุคขาวเพื่อสานต่อในการเก็บงานธรรมขั้นสุดท้าย เพื่อปกโปรดไตรภูมิ และเพื่อรวมหมื่นศาสนาเป็นหนึ่งเดียว จากการที่วิถีธรรมลงโปรดสู่โลกมนุษย์ ล้วนมีสาเหตุมาจากเกณฑ์วาระของฟ้าจึงได้มีการถ่ายทอด ในสมัยบรรพอริยกษัตริย์ทั้งสามสมัยนั้น วิถีธรรมได้ถ่ายทอดเฉพาะอริยกษัตริย์เบื้องสูง อาศัยอริยกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวกล่อมเกลาไพร่ฟ้า อย่างที่เรียกว่า "ธรรมกาลยุคเขียว" หลังจากผ่านสามสมัยแห่งบรรพอริยกษัตริย์แล้ว วิถีธรรมได้ถ่ายทอดสู่นักปราชญ์ และสมณะผู้ถือบวช ศาสนาทั้งสาม (พุทธ ปราชญ์ เต๋า) ได้ถือกำเนิดมาอย่างต่อเนื่อง ต่างฝ่ายต่างอบรมกล่อมเกลาในต่างถิ่นต่างแดน อย่างที่เรียกว่า "ธรรมกาลยุคแดง" กาลปัจจุบันได้ดำเนินมาถึง "ยุคสามปลายกัป" แบบแผนของสังคมโลกได้เสื่อมทรามลง มหันตภัยได้คุกคามอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีวิถีอนุตตรธรรมลงมาเพื่อกอบกู้กล่อมเกลาชาวโลกอย่างกว้างขวางแล้วก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลกให้กลับคืนสู่ "วันเอกภาพแห่งสันติสุขเหมือนสมัยอริยเจ้าเหยาและซุ่น" ได้ เพราะฉะนั้นจึงประจักษ์ได้ว่า วิถีธรรมได้ลงโปรดสู่สามัญชน สัทธรรมแท้ได้ถ่ายทอดอย่างกว้างขวาง ผู้ที่ได้รับวิถีธรรมนั้นสามารถบรรลุธรรมกันถ้วนหน้า ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพระพุทธะในธรรมกาลยุคขาวนี้
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    มหาธรรมล้ำค่า เหตุใดธรรมแท้จึงต้องอำพรางการฉุดช่วย <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    ทุกคนต่างทราบดีว่า หยกที่ล้ำค่ามักถูกเก็บซ่อนไว้อย่างมิดชิด แต่กระเบื้องที่ไร้ค่ากลับถูกทิ้งไว้อย่างไม่แยแส คุณวิเศษอันโดดเด่น และความล้ำค่าของธรรมแท้อยู่ที่พระโองการฟ้าที่คอยควบคุมกำกับ ฉะนั้น วิถีธรรมจึงมีช่วงอำพรางและช่วงปรากฏ มีวาระเปิดเผยและวาระแอบแฝง มีการปกโปรดและมีการเก็บสมบูรณ์ บางครั้งฉุดช่วยถ้วนหน้า บางคราเข้าสู่กระแสพระนิพพาน ฯลฯ หากวิถีธรรมเข้าสู่ช่วงอำพราง ใครก็ตามก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าธรรมะนี้คืออะไร ? ธรรมะมีความเกี่ยวพันกับมนุษย์อย่างไร ? ธรรมะมีคุณประโยชน์กับมนุษย์อย่างไร ? แต่หากวิถีธรรมอยู่ในช่วงปรากฏ ฟ้าเบื้องบนจึงจะเปิดเผยปริศนาธรรมอันวิเศษแยบยลออกมาให้ทุกคนได้เข้าใจ ให้เวไนยได้เข้าถึงธรรมะอันสูงส่งล้ำค่า ได้คืนสู่ต้นกำเนิดแห่งธรรมะ และรู้ที่สถิตแห่งธรรมะ ฯลฯ หากวิถีธรรมอยู่ในช่วงวาระที่ปกโปรด ก็สามารถกอบกู้ฉุดช่วยมวลเวไนยอย่างกว้างขวาง ฟ้าเบื้องบนจึงประทานพระโองการฟ้าจริงลงมาพร้อมมีพระบัญชาพิเศษให้พระพุทธอริยเจ้าเป็นผู้ปกครองธรรมกาลและยังโปรดเกล้าให้พระวิสุทธิอาจารย์(อาจารย์ผู้แจ้ง) ส่งมอบชี้แนะ "หลักธรรมญาณที่ถ่ายทอดจริง" นี้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บำเพ็ญทั้งหลายได้เข้าถึง "ต้นกำเนิดแห่งรากธรรมะ" จึงสามารถกำหนดแนวทางในการวิริยะบำเพ็ญได้ และยังเป็นการให้ทุกคนได้รู้แจ้งใน "ที่สถิตแห่งธรรมญาณ" เพื่อจะได้เริ่มบำเพ็ญจากต้นกำเนิดนี้อีกด้วย แต่หากพระโองการฟ้าถูกเก็บ วิถีธรรมอยู่ในช่วงวาระที่เข้าสู่พระนิพพาน ไม่ว่าจะเป็นพุทธอริยเจ้าองค์ใดก็ตามล้วนไม่อาจเอื้อมที่จะแพร่งพรายแม้เพียงคำเดียว ไม่กล้าที่จะถ่ายทอด หรือจะฉุดช่วยแม้เพียงคนเดียว ต่อให้เป็นถึงพระวิสุทธิอาจารย์ก็ไม่อาจหาญที่จะ "ถ่ายทอดหลักธรรมญาณจริง" นี้ เพราะฉะนั้น ถ้าพระโองการฟ้าของ "ธรรมะ" ถูกเก็บกลับไป ไม่ว่าใครก็ตามล้วนหมดโอกาสที่จะได้รับธรรมแท้นี้ ดังคำกล่าวที่ว่า : "มีบุญสัมพัน์เกิดทันพระพุทธาอุบัติ ไร้บุญสัมพันธ์เกิดหลังพระพุทธานิพพานแล้ว" นั้นก็หมายความว่า ผู้มีบุญสัมพันธ์ย่อมได้พบพานกับวาระที่พระโองการฟ้าบันดาลให้วิถีธรรมลงโปรดสู่โลก และได้เกิดทันมงคลสมัยที่พุทธอริยเจ้าทรงโปรดฉุดช่วยเวไนย ตรงกันข้าม ถ้าหากเป็นผู้ที่ขาดบุญสัมพันธ์ก็จะได้พบพานกับวาระที่พระโองการฟ้าถูกเรียกเก็บกลับคืนไปซึ่งก็หมายถึงการยุติการโปรดฉุดช่วย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการไร้บุญสัมพันธ์ที่จะได้รับวิถีธรรมแท้นั่นเอง เพราะฉะนั้นที่ว่า "วาระยุคสามยากพบพาน" ผู้ที่ใฝ่ฝันปรารถนาที่จะรับธรรมแท้นั้น ต้องรีบรักษาโอกาสวาระยุคสามที่วิถีธรรมแท้นี้ยังลงโปรดสู่โลก หากพลาดบุญวาระนี้ไปแล้วต้องรออีกหนึ่งอุบัติกาลของฟ้าดิน ก็คือต้องรออีก 129600 ปีกว่าจะได้พบพานกับการปกโปรดในยุคสามนี้อีก ถ้าต้องการถามว่า แล้วใครล่ะ ! คือผู้ที่มีอำนาจสิทธิขาดที่อยู่เบื้องหลังคอยควบคุม "ธรรมะ" นี้ ให้ปรากฏ - อำพราง ปกโปรด - เก็บสมบูรณ์ หรือเข้าสู่กระแสนิพพาน ? นั่นก็คือพระบัญชาของ "องค์อภิภูเจ้า" หรือ "พระอนุตตรธรรมมารดา" หรือที่ว่า "พระโองการฟ้า" นั่นเอง ! ดั่งบทกลอนที่กล่าวว่า : "มหาธรรมค่าล้ำ สูงยิ่ง แยบยล ทุกสิ่งก่อกำเนิดจริง เปลี่ยนได้ ไตรภูมิสิบทิศอิง พระแม่ เป็นหลัก อุ้มชูรากญาณไซร้ ทั่วหล้า ปกโปรด" เพราะฉะนั้น ธรรมแท้ คือธรรมที่โปรดลงโดยได้สนองพระบัญชาจากพระอนุตตรธรรมเจ้า ผู้ที่กำเนิดสรรพสิ่งในสากลจักรวาล ทุกๆ เรื่องราว ทฤษฎีทั้งหลาย พลังงานทั้งปวง ตลอดจน ฟ้า ดิน มนุษย์ วัตถุ ตะวัน เดือน ดาว ภูเขา แม่น้ำ ลำธาร มหาสมุทร เมฆลม ฝน ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่า : "จากพิภพจบเบื้องบน สูงสุดคืออนุตตรธรรม" คัมภีร์ทางสายกลางก็มีบันทึกว่า : "ธรรมะ คือสิ่งที่มิอาจขาดจากไปแม้เพียงชั่วขณะ สิ่งที่ขาดจากไปได้นั้น มิใช่เป็นธรรมะ" ท่านบรมครูขงจื่อกล่าวว่า : "เช้าได้รับธรรม เย็นตายก็ไม่ห่วงเลย" ท่านได้กล่าวต่อว่า : "กัลยาณชนพึงรักษากุศลธรรม ตราบชีวิตจะหาไม่" จึงเห็นได้ว่า ธรรมะนี้วิเศษและล้ำค่าเพียงไร เนื่องจาก ธรรมะนี้มีธรรมานุภาพอันวิเศษแยบยล ฉะนั้น หากมนุษย์ได้รับธรรมก็สามารถสำเร็จเป็นพระพุทธะ สำเร็จเป็นเทพเซียน และสำเร็จเป็นพระอริยเจ้า แม้กระทั่งสิงสาราสัตว์ สรรพญาณหากได้รับธรรมก็สามารถบำเพ็ญจนได้กายเนื้อเป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ และหากภูติผีปิศาจได้รับไป ก็สามารถบำเพ็ญจนสำเร็จเป็นเทพพรหมมีอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้า ฉะนั้นตั้งแต่อดีตกาลมา วิถีธรรมแท้จึงถูกเก็บอำพรางไว้เป็นความลับโดยไม่มีการเปิดเผย หรือถ่ายทอดแบบเรื่อยเปื่อย จึงมีคำกล่าวที่ว่า "สัจคัมภีร์ไม่จารึกอยู่ในพระคัมภีร์" หรือเรียกกันว่า "สัจคัมภีร์ที่ไร้อักษร" หากไม่มีพระโองการฟ้าจากพระอนุตตรธรรมเจ้าให้สนองเกณฑ์วาระปกโปรดถ่ายทอดวิถีธรรม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์พุทธอริยเจ้าองค์ใดก็ไม่กล้าถ่ายทอด เพราะเกรงว่าจะแพร่งพรายพระลัทธรรมวิเศษอันเป็นความลับสวรรค์ของฟ้าเบื้องบน และถูกภูติผีปิศาจทั้งหลายลักพระลัทธรรมไปอันจะก่อให้เกิดความโกลาหลกับโลกมนุษย์ในอนาคตข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ คนใดก็ตามที่กล้าขัดต่อพระประสงค์ของฟ้าบังอาจเปิดเผยความลับสวรรค์ คนนั้นต้องถูกฟ้าประณามและถูกอัสนีทั้งห้าเผาผลาญเป็นการสนองตอบ จึงอย่าได้เห็นเป็นเล่นเหมือนละครเด็ก ทั้งนี้เนื่องจากมีผลคุณและโทษอันจะเกิดขึ้นกับวิถีธรรม ดังคำกล่าวที่ว่า มี "วิถีธรรมแท้" กับ "การกล่อมเกลาสั่งสอน" ที่แตกต่างกันเกิดขึ้น การกล่อมเกลาสั่งสอนดำเนินไปอย่างเปิดเผย ส่วนการถ่ายทอดวิถีธรรมดำเนินไปอย่างลับๆ การกล่อมเกลาสั่งสอนเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และกับทุกๆ คน ส่วนการถ่ายทอดวิถีธรรมจะไม่อุบัติมาหากไม่ใช่กาลอันสมควร ไม่ถ่ายทอดหากไม่ใช่บุคคลที่มีคุณสมบัติ ท่านจื่อก้ง (ศิษย์ท่านขงจื่อ) จึงกล่าวว่า : "บทประพันธ์ของท่านอาจารย์สามารถสดับรับได้ แต่วจนะที่กล่าวถึงธรรมญาณและวิถีอนุตตรธรรมไม่สามารถสดับรับได้" จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านขงจื่อได้จัดตั้งสถานการศึกษาเพื่อกล่อมเกลาสั่งสอนอย่างเปิดเผย ในขณะเดียวกันก็ได้อาศัยเป็นที่ถ่ายทอดวิถีธรรมอย่างลับๆ เช่นเดียวกับที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าได้ถ่ายทอดวิถีธรรมจากจิตสู่จิตให้แก่พระมหากัสสปะเถระโดยผ่านการ "ชูดอกบัวถ่ายทอดธรรม" ท่ามกลางเหล่าภิกษุสงฆ์จำนวนมาก เป็นการอำพรางเบิกจุดญาณทวารส่งมอบวิถีอนุตตรธรรมอันวิเศษแยบยล กรณีเดียวกันกับที่พระสังฆปรินายกหงเหริ่นองค์ที่ห้า ที่ได้ส่งมอบวิถีธรรมให้แก่พระสังฆปรินายกเว่ยหล่างองค์ที่หกในยามค่ำคืนโดยไม่ให้ใครรู้ ซึ่งได้ใช้จีวรคลุมโปงเพื่อปิดหูปิดตาผู้คน จากนั้นจึงเบิกธรรมญาณให้ด้วยพระองค์เอง ที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นตัวอย่างการอำพรางถ่ายทอดวิถีธรรม แต่เปิดเผยการกล่อมเกลาสั่งสอนนั่นเอง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะวิถีธรรมแท้นั้นเป็น "เอกธรรม" กล่าวคือมีเพียงนึ่งเดียวไม่มีสอง ฉะนั้น หากไม่ใช่ผู้ที่มีรากบุญหยั่งลึกหรือมีบุญสัมพันธ์ลึกซึ้งแล้ว ก็ยากที่จะได้สดับรับธรรมแท้ กาลปัจจุบันได้เข้าสู่ "ยุคสามวาระสุดท้าย" พระผู้เป็นเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรด ประทานธรรมแท้ลงสู่โลกไม่ว่าจะเป็นสามัญชนคนธรรมดา ยากดีมีจน หรือขุนนางผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ล้วนมีโอกาสได้สดับรับวิถีธรรมถ้วนหน้า เป็นธรรมปัจจัยอันยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนนับแต่อดีตกาลมา จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาธุชนคนบุญทั้งชายและหญิงจะไม่พลาดศุภวาระและจะไม่ยอมปล่อยให้บุญปัจจัยครั้งใหญ่นี้หลุดลอยไป ฉะนั้นผู้รับธรรมที่มีรากบุญหยั่งลึก ควรประกาศธรรมานุภาพแห่งตน บำเพ็ญจริงปฏิบัติแท้ สร้างความสมบูรณ์พูนพร้อมทั้งอริยภาพภายในและศักยภาพภายนอกควบคู่กันไป เพื่อบรรลุเป็นอริยเจ้าและปราชญ์เมธี สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สดับรับวิถีธรรม ไม่ว่าจะเป็นทั้งคนในประเทศหรือต่างประเทศ ไม่ว่าจะมีสัญชาติที่ต่างกัน นับถือศาสนาที่ไม่เหมือนกัน ขอเพียงสามารถลดละอคติความยึดมั่นถือมั่นที่คิดแต่ว่า ตนนั้นถูกคนอื่นนั้นผิดเสมอไป จมปลักอยู่กับวิทยาศาสตร์อยู่อย่างเดียว ควรเปิดใจให้กว้างเพื่อโอกาสที่จะได้สดับรับวิถีธรรม พึงตระหนักว่า ท่ามกลางฟ้าดินมี "นิจธรรม" ที่ไม่แปรเปลี่ยนและดำรงคงอยู่นิรันดร์กาล แต่ศาสนาเปลี่ยนแปลงไปตามเกณฑ์วาระสมัย ยิ่งกว่านั้นในปัจจุบันเกณฑ์กำหนดของฟ้าได้ดำเนินมาถึง "วาระเก็บเกี่ยวสาธุชนชายหญิง" อันเป็นมงคลสมัยที่ประกาศพระสัทธรรม ฟื้นฟูคุณธรรมเดิมอีกครา อีกทั้งยังเป็นการรวมห้าศาสนามาเป็นหนึ่งเดียว เป็นการเก็บหมื่นลัทธิคืนสู่ต้นราก ฉะนั้น หลังจากที่จิตเดิมแท้ของมนุษย์ได้ถูกฟื้นฟูกาลเวลาได้สุกงอม เป็นวาระที่ผู้บำเพ็ญเพียรจะได้บรรลุอริยมรรคนั่นเอง ! หวังว่าพี่น้องชายหญิงทุกหมู่เหล่าจะเปิดใจให้กว้าง ลดทิฐิมานะความเห็นแก่ตัวที่ผิดเพี้ยนไป รีบแสวงวิถีธรรมแท้ ค้นหาจิตเดิมแห่งตน เพื่อฟื้นฟูโฉมเดิมแท้ ปลูกสร้างเนื้อนาบุญอย่างกว้างขวาง สร้างบุญสร้างคุณธรรม ปลดเปลื้องหนี้เวรกรรมหลุดพ้นจากวัฏแห่งการเวียนว่าย ขึ้นสู่ฝั่งอนุตตรภูมิ ฉุดช่วยบรรพชนเจ็ดชั้นและลูกหลานอีกเก้าชั่วคน จึงได้ชื่อว่าเป็นบุตรกตัญญูรู้คุณอย่างแท้จริง หวังอีกว่าทุกคนจะพลิกแพลงตามสถานการณ์ เนื่องจากกาลเวลาไม่เอื้ออำนวย จึงอย่าได้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวเกรงจะไม่กล้าก้าวต่อไป มัวแต่ร่ำไรเชื่องช้า รีรอไม่วิริยะ ท้ายสุด "พุทธะ" ก็ไม่อาจบรรลุได้ ดังที่กล่าวว่า : "เมื่อพาดบุญปัจจัยที่มาบรรจบ ก็อย่าหวังจะได้พบอีก" ถึงเวลานั้นจะรู้ตื่นก็สายเสียแล้ว !!
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    ยุคสามปลายกัป <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    นับตั้งแต่เบิกฟ้าเกิดดิน จวบจนฟ้าสิ้นดินสลาย ช่วงระยะเวลาระหว่างนี้เราเรียกว่า "หนึ่งอุบัติกาล" ของฟ้าดิน หนึ่งอุบัติกาล มี "สิบสองบรรจบกาล" หรืออาจจะใช้ "สิบสองราศี" มาเป็นสัญลักษณ์ หนึ่งบรรจบกาล เป็นระยะเวลา 10800 ปี ฉะนั้น ในหนึ่งอุบัติกาลเป็นระยะเวลารวมทั้งสิ้น 129600 ปี (10800 x 12) เรียกว่า "หนึ่งกาลเกิดดับของฟ้าดิน" เนื่องจาก แต่ละบรรจบกาลมีบรรยากาศที่แปรปรวนแตกต่างกันออกไป เกณฑ์กำหนดของภัยพิบัติตามวาระสมัยจึงไม่เหมือนกัน กาลปัจจุบันได้ดำเนินมาจนสิ้นวาระ "มะเมีย" (อู่ฮุ่ย) เริ่มเข้าสู่ช่วงวาระ "มะแม" (เว่ยฮุ่ย) หากจะนับตั้งแต่เบิกดิถีมีฟ้าดิน ก็รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น "หกหมื่นกว่าปี" และสมารถแบ่งออกเป็น "สามวาระ" หรือ "ธรรมกาล 3 ยุค" ด้วยกัน ยุคแรก "ธรรมกาลยุคเขียว" ในสมัยอริยเจ้า "ฝูซี" ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นชื่อว่า "อุทกภัยนาคราช" (หรงฮั้นสุ่ยเจี๋ย) จำนวนภัยพิบัติหลักๆ มีเพียง 9 ครั้ง อริยกษัตริย์รับหน้าที่กล่อมเกลาไพร่ฟ้าแทนเบื้องบน มีพระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นผู้ปกครองธรรมกาล วิถีธรรมในสมัยนั้นลงโปรดสู่กษัตริย์ขุนนางฉุดช่วยดวงธรรมญาณกลับคืนเบื้องบน 200 ล้านดวง พร้อมทั้งกำหนดมรรคผลในการ "ประชุมปทุมทิพย์" (เหลียนฉือฮุ่ย) ยุคที่สอง "ธรรมกาลยุคแดง" ในสมัยอริยกษัตริย์ "เหวินหวัง" ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นชื่อว่า "อัคคีภัยชาตดอรุณ" (ชื่อหมิงหั่วเจี๋ย) จำนวนภัยพิบัติหลักๆ ที่เกิดขึ้นมี 18 ครั้ง (9+9) พระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นผู้ปกครองธรรมกาล วิถีธรรมลงโปรดสู่สมณะและปราชญ์ เช่นเดียวกันสามารถฉุดช่วยดวงธรรมญาณกลับคืนไป 200 ล้านดวง โดยกำหนดอริยะฐานะในการ "ประชุมที่เขาคิชกูฏ" (หลินซัยฮุ่ย) ยุคที่สาม "ธรรมกาลยุคขาว" สนองเกณฑ์วาระระหว่างบรรจบกาลมะเมียและมะแม ภัยพิบัติใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในวาระนี้มีชื่อว่า "วาตภัยเวหา" (กังฟงเจี๋ย) จิตใจมนุษย์เสื่อมทรามถึงขีดสุดจึงก่อให้เกิดภัยทั้ง 3 และความวิบัติทั้ง 8 ลงมาพร้อมกันภัยพิบัติทวีคูณเป็น 81 มหันตภัย (9 x 9) อย่างที่เรียกว่า "ยุคสามปลายกัป" ปัจจุบันวิถีธรรมลงโปรดสู่ครัวเรือน มีพระศรีอาริยเมตไตรยเป็นผู้ปกครองธรรมกาล มีพระพุทธจี้กง และ พระโพธิสัตว์จันทรปัญญาเป็นตัวแทนในการสนองรับพระโองการฟ้าถ่ายทอดวิถีธรรม ปกโปรดอย่างกว้างขวาง ทุกวาระสมัยจะมีธรรมะกับภัยพิบัติลงมาพร้อมกัน ธรรมะลงโปรดเพื่อฉุดช่วยสาธุชนคนบุญ ส่วนภัยพิบัติลงมาก็เพื่อกวาดล้างคนชั่ว การกระทำของมนุษย์ก่อให้เกิดภัยพิบัติ ฉะนั้น ธรรมะลงโปรดเพราะเนื่องจากมีภัยพิบัติ หากวิถีธรรมเจริญเฟื่องฟู มหันตภัยก็จะลดน้อยลง จึงเห็นได้ว่าการกล่อมเกลาคนให้เข้าสู่กระแสธรรมก็เป็นการช่วยกอบกู้ภัยพิบัติได้เช่นกัน ธรรมญาณเดิมของพระอนุตตรธรรมเจ้าเบื้องบนได้แบ่งพระภาคลงมายังโลกมนุษย์ 96 ร้อยล้านดวง ในธรรมกาลยุคเขียวและธรรมกาลยุคแดงสองยุคนี้ได้ฉุดช่วยดวงธรรมญาณรวม 4 ร้อยล้านดวงกลับคืนสู่อนุตตรภูมิ ยังเหลือพุทธบุตรคนเดิมอีก 92 ร้อยล้าน เพราะฉะนั้น ในยุคสามปลายกัปนี้ต้องฉุดช่วย "เศษธรรมญาณ" อีก 92 ร้อยล้านดวง เนื่องด้วยเหตุนี้ พระอนุตตรธรรมมารดาจึงได้เบิกเมตตาประทานธรรมแท้ลงมา เพื่อปกโปรดไตรภูมิอย่างกว้างขวาง ประกาศพุทธธรรมอย่างยิ่งใหญ่ แต่ทว่าในกาลนี้จิตใจมนุษย์ได้ขาดธรรมะอย่างสิ้นเชิง มวลพุทธบุตรได้เกิดๆ ตายๆ อาลัยอาวรณ์อยู่กับมายาภาพแห่งโลกโลกีย์ หลงลืมธรรมญาณเดิมแห่งตน เมื่อไม่รู้ว่ามาจากที่ไหน แล้วใยจะรู้จักหาหนทางกลับสู่ที่เดิมได้ จึงทำให้ยิ่งหลงก็ยิ่งลึก จิตใจไม่ประเสริฐงดงามเฉกเช่นครั้งจำเนียรกาล ภายใต้แบบแผนของโลกในปัจจุบัน ผู้คนไม่กล่าวถึงคุณธรรม ข่าวการฆ่าฟันกันในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันเห็นกันจนเป็นธรรมดา ละเมิดประเวณี ขาดจริยธรรม ซ้ำยังไม่รู้จักละอาย ไร้ความกตัญญู ขาดมโนธรรม และยังไม่รู้จักสำนึก เธอยื้อฉันแย่งทำให้สังคมมืดมิด จิตใจมนุษย์เหี้ยมโหด ลุ่มหลงจนเกินควร ทำให้สภาพการที่เลวร้ายนี้ได้มาถึงขีดสุด ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดมหันตภัยร้ายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต อย่างที่เราเรียกว่า "ยุคสามปลายกัป" ท่ามกลางวาระยุคสาม ในขณะที่มหันตภัยได้เกิดขึ้นในธรรมกาลยุคขาวนี้ วิถีธรรมได้ลงโปรดสู่สามัญชน การที่จะฉุดช่วย "คนเดิม" จำนวนมากนี้หาใช่เรื่องง่าย ฉะนั้น ฟ้าเบื้องบนจึงได้เมตตากรุณา ทรงมีพระบัญชาให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์พุทธอริยเจ้าที่เคยสำเร็จธรรมกลับไปในธรรมกาลยุคเขียวและธรรมกาลยุคแดงกว่าสี่ร้อยล้านพุทธบุตร ลงมายังโลกมนุษย์ อาศัย "ครรภ์มารดาเกิดกายา" กระจายไปยังเก้าทวีปเพื่อบำเพ็ญธรรมแท้ กล่อมเกลาจิตญาณ ช่วยงานฟ้าปฏิบัติงามธรรม ประกาศแพร่ธรรมแทนเบื้องบน เพื่อปกโปรดฉุดช่วยมวลเวไนย ไม่ว่าจะเป็นเช้าสายบ่ายค่ำ ทุ่มเทเสียสละทั้งแรงทรัพย์และแรงกาย โดยมีเป้าหมายเพื่อ "เก็บงานสมบูรณ์" ให้ทุกคนได้ "มรรคพูนผลพร้อม" รอวาระสมบูรณ์ที่จะได้กำหนดอาริยฐานะ เพื่อผู้บำเพ็ญจะได้เสวยทั้งบุญและบารมีนั่นเอง ! ด้วยเหตุนี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์พุทธอริยเจ้าจึงกล่าวว่า : "งานธรรมในธรรมกาลยุคขาวครั้งนี้ สะเทือนฟ้าสะเทือนปฐพี ไม่ว่าจะเป็นเทพ เซียน หรือพุทธะที่อวตารภาคมายังโลกมนุษย์ ล้วนมีโอกาสที่จะสร้างคุณงามความดีในยุคสามนี้อีกครั้ง เพื่อเป็นฐานในการกำหนดมรรคผล ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปฏิบัติงานเพื่อธรรมะ ล้วนได้รับประทานฐานบัวอาสน์ โดยไม่แบ่งแยกว่าเธอจะเคยเป็นเซียน พุทธะ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอดีตชาติมาเกิด และไม่แบ่งแยกว่าเธอจะเคยเป็นมนุษย์ ผี หรือเดรัจฉานก็ตาม ... หากในยุคสามนี้ใครสามารถสร้างบุญจริงกุศลแท้ ล้วนสำเร็จเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์พุทธอริยเจ้ากลับคืนสู่อนุตตรภูมิได้ด้วยกันทั้งนั้น ! "
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    บำเพ็ญธรรมสร้างคุณธรรม <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    คุณธรรม สามารถสะเทือนฟ้าดินและเหล่าผีสางเทวดา สามารถแปรเปลี่ยนแบบแผนและกล่อมเกลาจิตมนุษย์ ควรตระหนักว่า "วิเศษสุด คือธรรมะ ประเสริฐสุด คือคุณธรรมแห่งธรรมะ" สิ่งศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า : "ธรรมะ ต้องอาศัยการบ่มเพาะคุณธรรม เพื่อบั่นทอนให้สิ้นวิบากกรรม หากมิฉะนั้นมารทดสอบก็ยิ่งทวีฤทธิ์แรง" เพราะฉะนั้น การเสริมสร้างคุณธรรมจึงแบ่งออกเป็น 3 ทางดังนี้ : (1) คุณธรรมทางใจ คุณธรรมทางใจ หมายถึงการธำรงรักษาเมตตาจิต และจิตเที่ยงธรรม มีจิตใจที่เคารพนบนอบต่อฟ้าดิน ทุกขณะจิตรำลึกในพุทธอริยเจ้า เทิดทูนพระมหากษัตริย์ กตัญญูกตเวทีต่อบุพการี ไม่มีความหยิ่งยโส ไม่โอหัง ไม่ขุ่นเคืองใจ ไม่บันดาลโทสะ ที่ว่านี้จึงเป็นคุณธรรมทางใจ (2) คุณธรรมทางกาย คุณธรรมทางกาย หมายถึงการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่สง่างามภูมิฐานเรียบง่าย มีความสำรวมในการบำเพ็ญปฏิบัติ เป็นแบบอย่างที่ดี มีระเบียบวินัย การแต่งกายสะอาดดูเรียบร้อย ดำเนินชีวิตอย่างประหยัดมัธยัสถ์ ศรัทธาประสาทะในการกราบไหว้ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ปรนนิบัติเบื้องสูงด้วยความเคารพ ดูแลเบื้องล่างด้วยความเมตตามีจริยา ทำก่อนแล้วค่อยพูด ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นการเสริมสร้างคุณธรรมทางกาย (3) คุณธรรมทางปาก คุณธรรมทางปาก หมายถึงทุกวาจาทุกถ้อยคำที่ออกจากปากต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้คน หมั่นพูดในส่วนของเหตุต้นผลกรรม ตักเตือนคนด้วยคติพจน์ของอริยเจ้า อรรถาพระสูตรพระคัมภีร์ กล่อมเกลาด้วยหนังสือธรรมะ หากไม่พูดก็แล้วไป แต่ถ้าพูดก็ต้องพูดธรรมะ พูดเรื่องคุณธรรม พูดเรื่องคุณงามความดี พูดเรื่องเหตุต้นผลกรรม ไม่พูดก็แล้วไป แต่หากจะพูดต้องพูดพระสูตร พูดหลักธรรม พูดถึงคุณวิเศษของธรรมะ และพูดถึงความแยบยลของธรรมะ จึงเรียกว่าเป็นการสร้างคุณธรรมทางปาก อย่างไรก็ตาม หากทุกคนสามารถดำรงรักษาสภาพจิตที่กล่าวเบื้องต้นนี้ได้ จากนั้นนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่สามารถสำเร็จมรรคผล ทว่าวิถีธรรมมีสัมมาและมิจฉา เช่นเดียวกับที่คุณธรรมก็มีทั้งจริงและเท็จ ฉะนั้นจะไม่แยกแยะให้ชัดเจนไม่ได้ ที่ว่าสัมมาและจริงแท้ หมายถึงกิริยาและวาจาเป็นหนึ่งเดียวความจริงคือความเที่ยงตรง ความจริงคือธรรมะ ความจริงคือคุณธรรม ส่วนที่ว่ามิจฉาและความเท็จ หมายถึงปากกับใจไม่ตรงกัน ความเท็จคือมาร ความเท็จคือนอกรีต จึงกล่าวได้ว่า : "มีธรรมะแต่ไร้คุณธรรม คือโจรแห่งธรรม มีคุณธรรมแต่ขาดธรรมะ คือปีศาจแห่งธรรม" ยังกล่าวอีกว่า : "มีบุญแต่ขาดกุศล จะกลายเป็นมาร มีกุศลแต่ขาดบุญ ธรรมะยากบรรลุ" ฉะนั้น ธรรมะกับคุณธรรมคือต้นหน่อแห่งพุทธะนั่นเอง !
    </td></tr></tbody></table>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    รับธรรมแล้วจะบำเพ็ญธรรมอย่างไร <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    วิธีการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมตั้งแต่ครั้งจำเนียรกาลมา ผู้บำเพ็ญปฏิบัติธรรมจำต้องละทิ้งครอบครัว จาริกไปตามป่าเขา ทว่าในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคสามปลายกัป วิถีธรรมแท้ได้ลงโปรดสู่โลกเพื่อฉุดช่วย "คนเดิม" ทั้งสามภูมิอย่างกว้างขวางพร้อมทั้งได้มีพระบัญชา ให้พระวิสุทธิอาจารย์อวตารภาคมาเพื่อ "ถ่ายทอดหลักธรรมญาณแท้" อีกทั้งมีพระโองการฟ้าให้พุทธอริยเจ้าทุกพระองค์ได้ลงสู่บูรพาแดน (โลกมนุษย์) เพื่อรับหน้าที่ประกาศกล่อมเกลาแทนฟ้า เปิดเผยพระสัทธรรมแห่งหลักธรรมญาณแท้ ชี้แนะวิธีการบำเพ็ญทั้งชีวิตและจิตญาณโดยเริ่มจากหลักธรรมญาณ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องพลัดพรากจากภรรยาและบุตร ไม่ต้องละทิ้งครอบครัวเพื่อบำเพ็ญปฏิบัติธรรม ไม่ต้องจาริกตามป่าเขาลำเนาไพรไม่ต้องตัดขาดจากสังคมภายนอก สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรมได้ทั้งสามี-ภรรยา และบุตร-ธิดา ทำให้บิดาไม่ขาดความเมตตาบุตรธิดาไม่สิ้นความกตัญญู สามีภรรยาไม่ขาดมโนธรรมซึ่งกัน พี่น้องไม่ขาดภราดรธรรม ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา หรือพ่อค้าแม่ขายตลอดทุกชนชั้นล้วนสามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรมได้อย่างถ้วนหน้า นอกจากนี้ ผู้บำเพ็ญปฏิบัติธรรมในวิถีอนุตตรธรรมยังสามารถเพียรบำเพ็ญปฏิบัติในขณะที่ยังมีหน้าที่การงานทางโลกที่เรียกว่า "กึ่งงานทางธรรมและกึ่งงานทางโลก" ด้านหนึ่งบำเพ็ญธรรม อีกด้านหนึ่งดำเนินงานทางโลก ไม่ว่าจะเป็นทุกระดับชนชั้นใดก็ตาม ล้วนไม่เป็นอุปสรรคต่อหน้าที่การงาน ความง่ายและความสะดวกในการบำเพ็ญปฏิบัติเช่นนี้ล้วนเป็นเพราะความเอื้ออาทรของพระแม่องค์ธรรมที่มีต่อพุทธบุตร พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น จึงทำให้ทุกคนมีโอกาสได้บำเพ็ญธรรม ไม่ว่าจะเป็นสตรี หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ ล้วนสามารถอยู่เหนือการเกิดตาย พ้นจากการเวียนว่าย ขึ้นสู่ฝั่งนิรวาณ โอกาสทองที่ยากพบพานอย่างนี้ ขอเพียงผู้มีบุญสัมพันธ์ที่ได้รับวิถีธรรม รีบเร่งบำเพ็ญเพียร สำรวมตนส่งเสริมผู้อื่น... การส่งเสริมตน คือการบำเพ็ญตน ตนเองรู้สำนึกขอขมา แก้ไขทุกกิริยาวาจาให้สอดคล้องตามครรลองคลองธรรม การส่งเสริมผู้อื่น คือการฉุดช่วยคน ตนเองได้รับธรรมแล้วควรประกาศเผยแผ่ธรรมให้ญาติมิตรพี่น้องได้เข้าใจในสัจธรรม ให้ทุกคนได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ผิด ร่วมสถิตในอนุตตรภูมิ คัมภีร์ทางสายกลางได้กล่าวว่า : "ประสาธรรมญาณคือธรรมะ" (หมายถึงการบำเพ็ญตน) "บำเพ็ญธรรมคือศาสนา" (หมายถึงการฉุดช่วยคน) ฉะนั้น การประกาศธรรมกล่อมเกลาแทนฟ้า และการฉุดช่วยคนเป็นการสร้างบุญบารมีภายนอก ส่วนการละชั่วใฝ่ดีเป็นการสร้างกุศลจิตภายใน ปัจจุบันเป็นยุคสามปลายกัป กาลเวลาฟ้าคับขัน จึงต้องเน้นการปลูกสร้างบุญบารมีภายนอกมากกว่ากุศลจิตภายใน หากบุญบารมีภายนอกสมบูรณ์ กุศลจิตภายในก็จะพูนพร้อมเอง ด้วยเหตุนี้ การบำเพ็ญธรรมจึงเริ่มจากการสร้างบุญบารมีภายนอกก่อน อย่างไรก็ตามหากกายไม่บำเพ็ญก็ไม่สามารถสร้างครอบครัวบำเพ็ญได้ และถ้าหากไม่สามารถส่งเสริมครอบครัวตนให้บำเพ็ญ ก็ยากที่จะส่งเสริมครอบครัวอื่นให้บำเพ็ญได้เช่นกัน เพราะส่งเสริมตนแล้วจึงสามารถส่งเสริมผู้อื่น ส่งเสริมตนแล้วจึงสามารถกล่อมเกลาผู้อื่น จึงเห็นได้ว่าการบำเพ็ญธรรมนั้นจะขาดการบำเพ็ญกุศลจิตภายในก็ไม่ได้เช่นกัน กล่าวโดยสรุป การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมต้องไม่แยกว่าภายในหรือภายนอก การเคลื่อนไหวกับการสงบนิ่งต้องผสมผสานเป็นหนึ่ง ไม่มีทั้งภายในและภายนอก ความรู้กับการปฏิบัติต้องรวมเป็นหนึ่ง ก็จะดลใจได้รับผลอย่างสม่ำเสมอเช่นนี้ที่เรียกว่า "เอกพุทธมรรค" และยังเป็นการบำเพ็ญปฏิบัติธรรมที่แท้จริง
    </td></tr></tbody></table>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    สร้างบุญบรรลุมรรคผล <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    การสร้างบุญ เป็นการเสริมสร้างบุญบารมีภายนอกส่วนการบรรลุมรรคผล เป็นการเพาะปลูกกุศลจิตภายใน การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมจะต้องสมบูรณ์พูนพร้อมทั้งกุศลจิตภายในและบุญบารมีภายนอก คนโบราณกล่าวว่า : "มีบุญไร้ผลเปรียบเสมือนคนไม่มีขา มีผลไร้บุญเปรียบเสมือนคนไม่สมบูรณ์" ยังกล่าวต่ออีกว่า : "บุญสมบูรณ์มรรคผลพร้อมพ้นกายาคืนเบื้องบน" จึงเห็นได้ว่า หากบุญบารมีภายนอกพร้อมแต่กุศลจิตภายในไม่สมบูรณ์ ก็ยังต้องลงมาสานต่องานธรรมอีก ต้องบำเพ็ญจนครบ 800 กุศลมรรคผล ปฏิบัติจนครบ 3000 บุญ จึงจะเรียกว่า "บุญสมบูรณ์มรรคผลพร้อม" 3000 บุญที่ว่า ประกอบด้วย งานบุญในวิถีอนุตตรธรรม 1000 บุญ งานบุญในโลกียธรรม 1000 บุญ และงานบุญในด้านมนุษยธรรมอีก 1000 บุญ รวมทั้งสิ้น 3000 บุญ ทว่าคำว่า "ปฏิบัติ" นั้น หมายถึงการสละแรงกาย กล่าวคือ การสร้างบุญบารมีภายนอกนั่นเอง เพราะฉะนั้น การสร้างบุญทางมนุษยธรรม คือการช่วยเหลืออนุเคราะห์ด้านจตุปัจจัยแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ตัวอย่างเช่นเวลาผู้อื่นต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องปากท้องเราอาจจะให้การจุนเจือด้านทรัพย์สินเงินทอง หรือเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนการทำถนนสร้างสะพาน หรือแม้กระทั่งการช่วยทำพิธีศพผู้ไร้ญาติ ฯลฯ ตลอดจนกิจที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ทำเช่นนี้จนครบ 1000 บุญ ส่วนการสร้างบุญทางโลกียธรรมนั้น หมายถึงการที่ในปัจจุบันการเวลาได้ดำเนินมาถึงวาระสุดท้ายแล้ว ทำให้จิตใจมนุษย์ยิ่งระส่ำระส่าย ก่อเกิดการฆ่ารันฟันแทง มีการปล้นสะดมขมขืนเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องกระทำในทุกสิ่งที่เลวทรามชั่วช้าใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมล่อลวง หากถึงขั้นร้ายแรงก็จะนำความวิบัติมาสู่ชาติบ้านเมืองหรือย่างน้อยก็จะทำให้ผิดต่อกฏบ้านกฏเมือง ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ หากมีผู้สูงส่งด้วยคุณธรรม ร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทอง ก็สมควรที่จะประพฤติตนเป็นแบบอย่าง เพื่อกล่อมเกลาผู้อื่น สำหรับผู้ที่มีความสามารถด้านวาทะศิลป์ก็ควรที่จะใช้วาจากล่าวตักเตือนโลกียชนให้ช่วยพิมพ์หนังสือธรรมะเพื่อจะฉุดช่วยผู้ดื้อรั้นให้กลับตัวกลับใจ การอรรถาธรรมประกาศคุณธรรมเช่นนี้กระทำจนครบ 1000 บุญ สุดท้าย คือการสร้างบุญในวิถีอนุตตรธรรม สาธุชนพึงตระหนักว่าปัจจุบันเป็นยุคสามปลายกัป ซึ่งเป็นวาระที่วิถีธรรมได้ลงปกโปรดอย่างกว้างขวาง พุทธอริยเจ้าทั้งหลายได้ตั้งปณิธานเพื่อลงมาฉุดช่วยเหล่าเวไนย อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่มีบุญสัมพันธ์อีกจำนวนมากยังไม่ได้รับการฉุดช่วย สาธุชนคนบุญบนเรือธรรมยังไม่เต็ม เพราะฉะนั้น หนึ่ง ต้องการกำลังคนเพื่อช่วยปฏิบัติงานธรรมและประกาศธรรม สอง ต้องการกำลังทรัพย์เพื่อบุกเบิกธรรมและสร้างสถานธรรม ด้วยเหตุนี้จึงได้แบ่งออกเป็นด้านต่างๆ อาทิ ด้านการปฏิบัติภายใน การปฏิบัติภายนอก การปฏิบัติแบบเคลื่อนที่ การปฏิบัติแบบทุกรกิริยา การปฏิบัติแบบเกื้อหนุน และการปฏิบัติแบบแทนที่ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีไว้เพื่อความสะดวกตามควรแก่กำลังของผู้ปฏิบัติในการเกื้อหนุนการปกโปรดและเก็บงานขั้นสมบูรณ์ ซึ่งจะขออธิบายตามลำดับดังนี้ : (1) การปฏิบัติภายใน หมายถึงการปัดกวาดเช็ดถูทำความสะอาดภายในสถานธรรม มีความขยันหมั่นเพียรเข้มงวดกวดขันตนสามารถเข้ากับส่วนรวมได้ ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับเบื้องสูงหรือนำพาเบื้องล่าง สามารถทนต่อความลำบากตรากตรำโดยไม่พร่ำบ่น เช่นนี้ที่เรียกว่า การปฏิบัติภายใน (2) การปฏิบัติภายนอก หมายถึงการกำหนดความมุ่งมั่นที่กว้างขวางที่จะบุกเบิกเผยแผ่ธรรม นำพาเวไนยฉุดช่วยคนบุญ ร่วมขึ้นสู่ฝั่งนิพพาน เช่นนี้ที่เรียกว่า การปฏิบัติภายนอก (3) การปฏิบัติแบบเคลื่อนที่ หมายถึงการไม่ยึดติดกับอาณาจักรธรรมที่ใดที่หนึ่ง ขอเพียงเป็นสายธรรมเดียวกันและเป็นไปตามระเบียบขั้นตอน หากมีการโยกย้ายหรือได้รับคำบัญชาก็จะสัญจรช่วยงานตามคำบัญชาเพื่อก่อให้เกิดความสมบูรณ์ในอาณาจักรธรรม อีกทั้งยังไม่โอ้อวดในคุณงามความดีของตนเช่นนี้ที่เรียกว่า การปฏิบัติแบบเคลื่อนที่ (4) การปฏิบัติแบบทุกรกิริยา หมายถึงการจุนเจือให้ผู้อื่นได้มีโอกาสบุกเบิกปฏิบัติงานธรรมนอกประเทศ เรื่องราวใหญ่น้อยทุกๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นทั้งภายในหรือภายนอก ยินยอมพร้อมใจลำบากตรากตรำ สดับฟังคำบัญชา ฯลฯ เช่นนี้ที่เรียกว่า การปฏิบัติแบบทุกรกิริยา (5) การปฏิบัติแบบเกื้อหนุน ยกตัวอย่างเช่น มีสถานธรรมในส่วนสายธรรมของตนที่ขาดปัจจัยด้านกำลังทรัพย์และกำลังคน หากผู้มีทรัพย์สามารถสละทรัพย์เพื่อเกื้อหนุนสถานธรรม มีกำลังสละแรงกายเป็นทานเพื่อรับใช้อาณาจักรธรรมโดยไม่แบ่งแยกซึ่งกันและกัน เช่นนี้ที่เรียกว่า การปฏิบัติแบบเกื้อหนุน (6) การปฏิบัติแบบแทนที่ อย่างเช่นมีเมธีชนที่มีความมุ่งมั่นในการกล่อมเกลามวลประชาทั่วหล้า ทว่าขาดกำลังคนที่มีความศรัทธาสามารถสละทรัพย์หนุนนำงานธรรม หากมีผู้ที่มีความสามารถเป็นผู้นำพาบุกเบิกแพร่ธรรม ฉุดช่วย "คนเดิม" ทุกคนล้วนได้รับส่วนบุญกุศลเช่นนี้ที่เรียกว่า การปฏิบัติแบบแทนที่ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ หากสามารถกระทำอย่างต่อเนื่องจนครบ 1000 บุญ รวมกับอีกสองพันบุญก่อนหน้านี้เป็น 3000 บุญ หากบุญบารมีภายนอกครบ 3000 บริบูรณ์ ถึงเวลามรรคผลอีก 800 มรรคผลก็จะพูนพร้อมเอง !!!ย็ญทั้งช็
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    อริยะกับโลกียะ <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางฟ้าดิน อันผสมผสานด้วยทั้งภาวะบริสุทธิ์และภาวะขุ่นมัว มีทั้งความดีและความชั่ว ทั้งสุภาพชนและคนถ่อย จึงทำให้วิถีชีวิตต้องแยกออกเป็น 2 ทาง คือทางอริยะ และทางโลกียะ หนทางแห่งโลกียะ คือการที่ทุกขณะจิตคิดแต่เรื่องปากท้อง แสวงหาแต่ความสุขทางด้านวัตถุ คิดเพียงเพื่อลูกเมียจมปลักอยู่ในสุรา นารี พาชี กีฬาบัตร หลงระเริงอยู่กับลาภ สักการะและความใคร่ วันๆ เอาแต่หาเงินหาทอง คืนๆ ได้แต่เสพกามารมณ์ มิหนำซ้ำยังใช้กลอุบายเล่ห์เหลี่ยมหลอกล่อ อาศัยวิธีการที่ต่ำช้าและสกปรกโสมมเพื่อทำลายล้างผู้อื่นก่อให้เกิดเรื่องครหานินทาพากลัดกลุ้มใจ ความวัวยังไม่ทันหายความควายก็ประดังเข้ามาอีก อีกทั้งยังไม่แยแสต่อครรลองคลองธรรม ผิดต่อมโนสำนึก ทำตามอำเภอใจ ก่อบาปสร้างเวร ผูกเวรผูกกรรม ตอนมีชีวิตอยู่ยังไม่รู้จักสำนึกผิด ตายไปก็ยังไม่รู้สึกอะไร หลงผิดคิดว่าตัวเองจะมีอายุยืนยาวตลอดไป ในที่สุดเมื่ออนิจจังมาเยือนจึงจำเป็นต้องจากทรัพย์สมบัติ อำลาลูกเมีย เพื่อไปพบยมบาลด้วยมือเปล่าทั้งสอง จากนั้นพยายมก็จะพิจารณาบาปบุญคุณโทษตามระเบียบ ยังผลให้ต้องโทษทัณฑ์ทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส อีกทั้งยังถูกกำหนดให้ต้องเวียนว่ายในภูมิวิถี 6 นานนับกัปกัลป์ ไม่อาจได้กายเนื้อ ทั้งนี้และทั้งนั้น ล้วนเป็นผลพวงที่ทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากการกระทำด้านโลกียกิจ และดำเนินตามหนทางแห่งโลกียะนั่นเอง ! ส่วนหนทางแห่งอริยะ คือการปล่อยวางทางโลก จริงจังในการสร้างเสริมคุณธรรม คลายโซ่พันธนาการแห่งความรัก โลภ โกรธ หลงอยู่เหนือลาภยศสักการะ พ้นจากสุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ปลอดจากการครหานินทา เข้าสู่ประตูธรรม ยึดในความดี มีจิตสำนึกในวิบากกรรม ถือศีลกินเจ ขจัดอกุศลกรรมบท 10 อีกทั้งมิจฉาภาวะทั้ง 8 สำรวมตนในตรัยสรณะคมและศีลห้าเข้าถึงเจตากุศลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์พุทธอริยเจ้า เจริญรอยตามปฏิปทาของปราชญ์เมธี สำรวมจิตศรัทธามั่นคง บำเพ็ญธรรมกำหนดคุณธรรม สละทรัพย์สละแรง สร้างบุญสร้างกุศล บำเพ็ญปฏิบัติจนมรรคพร้อมผลพูน หากทำได้เช่นนี้เชื่อว่าต้องมีพระโองการฟ้าทรงโปรดให้บรรลุอนุตตรภูมิ ไม่สำเร็จเป็นพระพุทธะก็สำเร็จเป็นเทพเซียน สถิต ณ สุขาวดีแดนสรวง ทั้งนี้และทั้งนั้นเป็นผลบุญกุศลของการกระทำในอริยกิจ และดำเนินตามหนทางแห่งอริยะนั่นเอง ! ฉะนั้น หากขึ้นชื่อว่า สุภาพชนหรือสัตบุรุษก็ควรพัฒนาและยกระดับตนให้พ้นโลกีย์วิสัยเพื่อเข้าสู่อริยภาวะ็
    </td></tr></tbody></table>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    กรำทุกข์เหนือทุกข์ ยอดคนเหนือคน <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    ชาวโลกทุกคนล้วนต้องการมีชีวิตที่สุขสบาย ล้วนมีความปรารถนาในบุญวาสนา และอยากดื่มด่ำในยศถาบรรดาศักดิ์ ในทางตรงกันข้าม ที่ไม่มีใครต้องการมีชีวิตที่ทุกข์ระทม หรือปรารถนาในการถูกจองเวรจองกรรม หรืออยากขมขื่นอยู่กับความยากจนต่ำต้อย ด้วยเหตุนี้ ทุกคนจึงต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนเพื่อความสุขสมหวังในการดำรงชีวิต ต้องลำบากตรากตรำเพื่อลาภยศชื่อเสียง โดยหารู้ไม่ว่า ท่ามกลางความสุขสบายนั้นมีความทุกข์เวทนาที่ซ่อนเร้นอยู่ ในขณะที่ไขว่คว้าหาความสำราญนั้นมีสัญญาณเตือนภัยที่คอยบ่งชี้ถึงภยันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ ฉะนั้นดังที่ว่า "สุขยิ่งมาก ทุกข์ยิ่งเยอะ" "สำราญยิ่งเยอะ ภัยยิ่งร้อนแรง" ตัวอย่างเช่น เด็กบางคนมีบุญวาสนาได้เกิดมาบนกองเงินกองทอง เป็นถึงลูกของมหาเศรษฐีที่ได้รับการทนุถนอมตามใจจนเสียคน ไม่เคยตรากตรำผ่านร้อนผ่านหนาว จึงไม่เข้าใจและเห็นใจความลำบากลำบนในการสร้างฐานะของบรรพชนทุกมื้อกินแต่อาหารเลิศรสราคาแพง ถนอมเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ทำมาจารผ้าแพรผ้าไหมราคาสูงเกินความจำเป็น ทุกวันคืนได้แต่เที่ยวเตร่ดื่มเหล้าเมายา สำส่อนตามบาร์ตามไนท์คลับ สนุกสนานจนลืมกลับบ้าน ซ้ำยังหลงผิดคิดว่า นี่แหละคือความสุข ? หารู้ไม่ว่า "สุข" ที่ว่านี้ไม่มีจีรังยั่งยืน เนื่องจากทรัพย์สินเงินทองต่อให้มากมายก่ายกองก็มีวันใช้หมด ถ้ามีแต่ใช้ออกไปไม่รู้จักหาเข้ามาชั่วพริบตาก็สิ้นเนื้อประดาตัว หรือเลวร้ายกว่านั้นอาจจะติดโรคซิฟิสิลตามมาด้วย ทำให้จากเดิมเป็นนายน้อยที่ใหญ่โตกลับกลายมาเป็นยาจกต่ำต้อย เมื่อถึงเวลานั้น ความสุขที่ว่าไม่รู้หายลับไปไหนแล้ว ! หรือบางคนอาจจะได้เป็นขุนนางใหญ่โต มีตำแหน่งและอำนาจสูงส่ง อยู่ใต้บัญชาของฮ่องเต้เพียงพระองค์เดียวแต่เป็นผู้สั่งการคนนับหมื่นนับแสนทั่วปฐพี เรียกได้ว่า "หนึ่งบัญชา มวลประชาขานรับ" ความอลังการยิ่งใหญ่นี้คิดว่าเป็นความสุข ? แต่ถ้าลองย้อนไปดูเหตุการณ์การกบฎในสมัยของเจ้าเมืองฉีเหิงกง ที่ราชสำนักต้องกลายมาเป็นสนามรบ จนในที่สุดทำให้กังฉินเผินปี่ต้องถูกสังหารโหด ชื่อเสียงที่เน่าเฟะทำให้ศพไร้ผู้คนเหลียวแลไม่มีใครช่วยฝัง... หรือต่อให้เป็นถุงฮ่องเต้ก็ตาม หากขาดซึ่งราชธรรม ทำให้ราษฎรต้องขุ่นเคืองใจ หรือนำสงครามความหายนะมาสู่บ้านเมือง สร้างความกลัดกลุ้มที่คอยรุมร้าวใจทุกวันคืน หากเป็นเช่นนี้แล้วจะไปแสวงหาความสุขได้ที่ไนกัน ? อย่างนี้ไม่เรียกว่า "สุขสิ้นทุกข์เกิด" หรอกหรือ ? ฉะนั้น คำว่า "สิ้นสุขทุกข์เกิด" ก็มีมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว องค์ศากยมุนีพุทธเจ้า พระองค์ทรงมีพระปรีชาญาณอันยิ่งใหญ่ พระองค์ได้เข้าถึงในสังขตธรรม (สิ่งทั้งปวงที่ปรุงแต่งขึ้น) ทั้งปวงที่ไม่ใช่ของตน จึงได้ตั้งความมุ่งมั่นที่จะได้ออกแสวงหามหาธรรมเพื่อหลุดพ้นจากทะเลทุกข์ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงยอมสละราชสมบัติ ละทิ้งพระมเหสีและพระโอรส จาริกตามป่าเขาถ้ำลึก เดินทางเป็นพันลี้เพื่อแสวงหาพระวิสุทธิอาจารย์ หมิ่นลี้เพื่อแสวงหาสัจคาถา ยอมนอนกลางดินกินกลางทราย บำเพ็ญทุกรกิริยานานหลายปี หรือที่หลายคนเรียกว่าเป็นความทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง ! นอกจากนี้ ยังมีพระธิดาเมี่ยวซ่านที่ทรงออกบำเพ็ญธรรมโดยไม่ยึดติดกับฐานันดรศักดิ์ทางโลก.... และยังมีมหาเทพเหอเซียนกู ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดเซียนที่ไม่โลภในทรัพย์ทางโลก ยินยอมตัดขาดจากโลกภายนอก เพื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา ได้รับการเคี่ยวกรำอย่างแสนสาหัส ถึงแม้จะเป็นกุลสตรีที่สูงศักดิ์แต่ก็ต้องลำบากตรากตรำทำงานหนักยอมสละชีวิตที่สุขสบายมาเป็นชีวิตที่ธรรมดาเรียบง่าย ทนทุกข์ในการบำเพ็ญเพียรนานกว่าสิบปี อย่างที่หลายต่อหลายคนเรียกว่าเป็นความทุกข์นั่นเอง !! ส่วนท่านขงจื่อก็ไม่ต่างจากผู้บำเพ็ญที่กล่าวมาเบื้องต้น พระองค์ต้องเดินทางขึ้นเขาลงห้วยเป็นหมื่นลี้เพียงเพื่อน้อมขอคำแนะนำในหลักจริยาต่อท่านเหลาจื่อ ยอมสละตำแหน่งขุนนาง จาริกตามหัวเมืองโดยมุ่งที่จะเผยแผ่ธรรมยังทั่วหล้าในที่สุดต้องถูกผู้ที่ไม่หวังดีปิดล้อมให้อดอาหารระหว่างเมืองเฉินและเมืองไช่นานถึงเจ็ดวัน แม้นชีวิตจะตกอยู่ในภยันอันตรายถูกผู้คนหัวเราะถากถาง ได้รับความอับอายขายหน้า กระทั่งสำนักสอนหนังสือส่วนตัวก็ถูกทำลายจนสิ้น แต่พระบรมครูท่านนี้ก็ยังสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาต่อไปมิได้ลดหย่อน ในช่วงบั้นปลายได้เดินทางกลับที่เมืองลู่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน นำพาชี้แนะทางธรรม จัดตั้งสถานการศึกษาเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับการศึกษาถ้วนหน้า จนทำให้ศิษยานุศิษย์กว่า 3000 คนในบรรดานี้มี 72 คนซึ่งจัดเป็นเมธี นอกจากนี้ท่านขงงจื่อยังได้รจนาคัมภีร์ซือจินที่ว่าด้วยกาพย์กลอนต่างๆ และได้กำหนดแบบแผนจริยา และการดนตรี ผลักดันประเพณีอันดีงามแต่โบราณในสมัยราชวงศ์โจว ประพันธ์พงศาวดารชุนชิว วิถีชีวิตเช่นนี้ที่หลายคนว่าเป็นชีวิตที่ทุกข์ลำเค็ญ !!! นอกจากนี้ยังมี พระภิกษุเสินกวง พระสังฆปริณายกองค์ที่ 2 ถึงแม้พระองค์จะเทศนาธรรมนานถึง 49 ปี แต่เนื่องจากไม่ได้รับการแนะนำจากพระวิสุทธิอาจารย์ ชี้จุดถ่ายทอด "หลักวิถีจิตแห่งธรรมญาณ" ไม่สามารถล่วงรู้ที่สถิตของ "หนึ่งจุดแห่งหมื่นธรรมวิถี" และไม่สามารถหยั่งรู้ได้ว่า "ต้นจิต" อยู่ที่ใด ? จึงต้องกราบขอการชี้แนะจากพระบรรพจารย์โพธิธรรมที่วัดเส้าหลินท่ามกลางหิมะที่หนาวเหน็บ ยอมแม้กระทั่งตัดแขนตัวเองเพื่อแสดงปณิธานอันแน่วแน่ ตัวอย่างเช่นนี้ที่หลายต่อหลายคนเรียกว่าเป็นความทุกข์อันมหันต์ !!!! มีข้อความที่กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า : "เมื่อไม่รู้ว่า "หนึ่ง" สถิตอยู่ที่ใด จึงดลใจให้ก้มกราบพระโพธิธรรม ตรากตรำที่เส้าหลินเพื่อการใด เพื่อดลใจขอเบิก "จุด" หลุดพ้นเอย ! ยังมีพระบรรพจารย์ชิวฉางชุนที่ต้องบำเพ็ญทุกรกิริยาในสมัยนั้นเช่นกัน ตั้งแต่พระอาจารย์หวังฉงหยังได้ละสังขารกลับคืนไป นักพรตชิวฉางชุนก็ได้แยกทางกับศิษย์ผู้พี่ ในตอนนั้นยามค่ำคืนไม่มีแม้ชายคาให้พักพิง ไม่มีเพื่อนจริงมาคอยชี้แนะให้กำลังใจ หรือใครเลยที่จะมาสงสารและเห็นใจ ต้องระหกระเหินเร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ บ่อยครั้งที่ต้องอดอาหารไม่มีอันจะกินเกือบถึงตาย สภาพเช่นนี้ ที่หลายคนเรียกว่าเป็นความทุกข์แบบสุดๆ !!!! อย่างไรก็ตาม ถ้าเราลองมาพินิจพิจารณาให้ถี่ถ้วน เราจะเห็นได้ว่า องค์ศากยมุนีสำเร็จเป็นพระพุทธะเนื่องจากการบำเพ็ญทุกรกิริยา พระธิดาเมี่ยยวซ่านกรำทุกข์จึงส่งผลให้บรรลุเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม ส่วนมหาเทพเหอเซียนกูเพราะยอมทนทุกข์ลำบากก็ได้สถิตนามเป็นหนึ่งในแปดเซียน ทางด้านท่านขงจื่อก็ได้รับการเทิดทูนให้เป็นพระอริยเจ้าเพราะการที่สามารถทนต่อความทุกข์ได้ นอกจากนี้ความทุกข์ที่ว่านี้ยังทำให้พระภิกษุเสินกวงได้สำเร็จธรรมอีก และนักพรตชิวฉางชุนก็กรำทุกข์จนบรรลุเป็นเทพจองหงวนด้วย จะเห็นได้ว่า พุทธอริยเจ้าผู้บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุมรรคผลทางธรรมทุกๆ พระองค์ที่กล่าวมานี้ ล้วนประสบกับความสำเร็จเนื่องจากการเคี่ยวกรำที่ทุกข์ทรมานแสนสาหัสทั้งสิ้น ลองสังเกตดูว่า ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันมีพระพุทธอริยเจ้าองค์ใดบ้างที่สำเร็จธรรมได้พร้อมกับความสุขสำราญ ? เชื่อว่าไม่เคยมีมาก่อนแน่นอน !!! เพราะเหตุนี้ ศิษย์พี่ศิษย์น้องทั้งหลายที่ได้รับวิถีธรรมและที่กำลังบำเพ็ญธรรม เมื่อได้รับวิถีอนุตตรธรรมอันเป็นพระสัทธรรมแท้ และเป็นการถ่ายทอดหลักธรรมญาณจริงแล้ว ก็ควรที่จะกำหนดความมุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญจริงปฏิบัติแท้ หากต้องการที่จะบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้น ก็ต้องทนทุกข์ในความลำบากตรากตรำ เน้นหนักงานทางธรรมเบาบางงานทางโลก เช้า สาย บ่าย ค่ำไม่ห่างจากธรรมแท้ และยังสามารถบำเพ็ญตน สำรวมจิต และเสริมสร้างคุณธรรม ควรรู้ว่าความเยื่อใยผูกพันทางโลกล้วนไม่ยั่งยืนนานถึง 70 ปี ก็เท่ากับละเวลาเพียงแค่ 25,000 กว่าวันเท่านั้นเอง ! ยิ่งกว่านั้นชีวิตมนุษย์เป็นอนิจจัง อะไรก็เกิดขึ้นได้ทุกขณะ วันนี้ไม่อาจล่วงรู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้ได้ วันนี้ถอดรองเท้าเข้านอนไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะลงจากเตียงมาใส่รองเท้าอีกได้หรือเปล่า ! เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงควรอาศัยชีวิตมนุษย์ที่แสนสั้นนี้แสวงหาหนทางเพื่อหลุดพ้นจากทะเลทุกข์ และหากต้องการหลุดพ้นจากทะเลทุกข์ก็ต้องกำหนดความมุ่งมั่นทางธรรม ก็ต้องได้รับวิถีธรรม บำเพ็ญธรรม ปฏิบัติธรรม ผู้บำเพ็ญธรรมไม่ควรถูกวัตถุตัณหาครอบงำ ไม่ควรถูกรูปเสียงล่อลวงไป ทุกกิริยาวาจาตลอดจนทุกข์อิริยาบถต้องสอดคล้องตามหลักธรรม ประคองรักษาจิตมุ่งมั่นทางธรรมให้มั่นคง ก้าวเดินไปยังเป้าหมายคือ แดนอนุตตรภูมิ จงจำเอาไว้ว่า "ธรรมจริงทวนกระแส แท้ขึ้นบน" เฉกเช่นการขึ้นบันได แต่ละขั้นที่ต้องมีความระมัดระวัง และมีความอดทนฉันใดก็ฉันนั้น ตราบใดที่ยังไม่ถึงเป้าหมายก็อย่าได้ย่อท้อไม่หย่อนยานในปณิธาณความมุ่งมั่น วิริยะบำเพ็ญเพียรมุ่งหน้าต่อไป สร้างบุญบรรลุมรรคผล ในมงคลสมัยยุคสามนี้ เป็นโอกาสทองที่จะได้สำเร็จเป็นเทพเซียนพุทธอริยเจ้า ขอกล่าวเตือนด้วยความจริงใจให้ยอมทนเหน็ดเหนื่อยเพื่อธรรมะ ยอมบุกเบิกฉุดช่วยเวไนยเพื่ธรรมะยอมคิดการล่วงหน้าเพื่อการอนุเคราะห์เวไนย ประกาศความวิเศษแยบยลของวิถีธรรม บังเกิดความเมตตาร่วมพายนาวาช่วยเหลือ "คนเดิม" ทั่วสารทิศ จวบจนมรรคพร้อมผลพูนรอสนองพระบัญชาให้พุทธอริยามานำพากลับคืนเบื้องบนร่วม "ประชุมอริยะหลงฮว๋า" กราบเฝ้าทวยเทพเซียน ดื่มสุราทิพย์กินเซียนท้อ ไม่มีการเกิดไม่มีการดับ ทุกข์สิ้นสุขเกิด อิสระไร้พันธนาการ ท่องทั่วอนุตตรภูมิ อยู่ยงเป็นคนเหนือคนตลอกชั่วกาลนาน
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    การบำเพ็ญธรรมต้องปฏิบัติรักษาธรรมวินัย <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    บ้านเมืองมีกฎหมายของบ้านเมือง ครอบครัวมีระเบียบของครอบครัว ธรรมะก็ย่อมมีธรรมวินัย ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องยึดหลักเกณฑ์ และรักษากฎระเบียบสำคัญ ผู้บริหารบ้านเมือง หากไม่อิงกฎหมายของบ้านเมืองบ้านเมืองก็จะเกิดความวุ่นวาย ผู้นำครอบครัว หากไม่ยึดกฎระเบียบในครอบครัวครอบครัวก็จะเกิดความแตกแยก ผู้บำเพ็ญปฏิบัติธรรม หากไม่ปฏิบัติตามธรรมวินัย ก็ยากที่จะบรรลุธรรม ตัวอย่างเช่น งานศิลปะด้านการประติมากรรมหากก่อนหน้านั้นไม่มีการวางแนวกรอบ ก็ไม่สามารถปั้นเป็นภาชนะตามรูปแบบได้ ยิ่งกว่านั้น พุทธธรรมที่สามารถช่วยให้พ้นจากโลกียะเข้าสู่อริยะ อันเป็นเรื่องใหญ่ของการบำเพ็ญธรรมญาณสร้างเสริมชะตาชีวิต ซึ่งหากไม่ปฏิบัติรักษาธรรมวินัยแล้วจะสามารถบำเพ็ญให้สำเร็จมรรคผลได้อย่างไร ? เราทั้งหลายได้เข้าสู่ประตูพุทธะ ได้รับวิถีอนุตตรธรรมได้ขึ้นนาวาธรรมของพรพอนุตตรธรรมเจ้า อีกทั้งยังได้รับพุทธคุณและเมตตาคุณอันไพศาล เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็สมควรที่จะเคารพเทิดทูนพุทธจริยระเบียบ ให้ความสำคัญกับพระโองการสวรรค์ และคุณวิเศษของพุทธธรรม นอกจากนี้ยังต้องกล่าวแต่สัมมาวาจา ดำรงรักษาเมตตาจิตในการปกโปรดเวไนย ถือศีลกินเจอย่างบริสุทธิ์ มีความมุ่งมั่นที่แน่วแน่ สำรวมตนอยู่ในระเบียบวินัย เป็นแบบอย่างที่ดี มีจิตใจกว้างขวาง มีความประพฤติที่เที่ยงตรง มีความอดทนความอ่อนน้อม ความอ่อนโยน ความเคารพ และมีสัมมาคารวะต่อเบื้องสูง มีความเอื้ออาทรต่อเบื้องล่าง เคารพอาจารย์เทิดทูนธรรมะ สักการะพระบรรพจารย์ รู้คืนต้นรากน้อมจิตถ่อมตน กวดขันตนประสานเข้ากับส่วนรวม ยิ่งกว่านั้นยังไม่ยึดติดกับฐานะ วิริยะเผยแผ่ธรรม กล่อมเกลาเวไนยที่ลุ่มหลง ไม่ซ่อนวิชาความรู้ ทุ่มเทสุดความสามารถ นำพาเวไนย ยอมลำบากตรากตรำ พิจารณาแยกแยะระหว่างมารกับพุทธะ ห่างจากมิจฉาธรรมเข้าสู่สัมมาธรรม ทนต่อหมื่นมารพันทดสอบ มีความเสมอต้นเสมอปลายสละทรัพย์สละแรงกาย สร้างบุญบรรลุปณิธาน ส่งเสริมตนและส่งเสริมผู้อื่น ฯลฯ ฉะนั้นที่ผ่านมาใครก็ตามที่ แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น มักใหญ่ใฝ่สูง ยื้อแย่งบุญกุศล กระทำการตามอำเภอใจ ทำลายแบบแผนอันดีงาม ถือตนเป็นใหญ่ กดขี่ข่มเหงผู้น้อย ศรัทธาในมารสักการะในมิจฉา ไม่เคารพพุทธระเบียบ ตั้งตนเป็นบรรพาจารย์ปลอม กล่าวคำเท็จหลอกลวงผู้บำเพ็ญ นำความเสื่อมเสียมาสู่อาณาจักรธรรม มีอคติเห็นแก่ตัว เกียจคร้านชอบเสพสุข สุรุ่ยสุร่ายไม่อดออม กินดีอยู่ดี ไม่รู้สำนึกผิดคิดแก้ไข ฯลฯ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ หากสำนึกผิดปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่ ทุกขณะเคารพรักษาพุทธระเบียบ บุญที่สร้างมาจึงจะเป็น "บุญจริง" มรรคผลที่ปลูกมาจึงเป็น "มรรคผลแท้" ต้องหมั่นสำรวมตนในธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด หากทำได้เช่นนี้ "วันแห่งประชุมอริยหลงฮว๋า" และ "วาระแห่งการเก็บสมบูรณ์" ที่จะได้ "ขี่กิเลนเขียว" "เหินกระเรียนขาว" ท่องอนุตตรภูมิ อิสระไร้พันธนาการท่ามกลางเวหา หลุดพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายประทับยัง "ปทุมทิพยฐาน" ไม่ต้องลงมาเกิดอีก ร่วมมายุกับฟ้าดินและทวยเทพ ไม่เพียงเท่านี้ บรรพชนเจ็ดชั้นและลูกหลานเก้าชั่วคนยังได้รับการฉุดช่วยยกระดับขึ้นสู่อนุตตรภูมิ ร่วมเสพวิมุติสุขพ้นการเวียนว่ายตลอดชั่วกัลปาวสาน
    </td></tr></tbody></table>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    บำเพ็ญธรรมต้อง บำเพ็ญจิตสร้างคุณลักษณะ <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    ฝึกฝนธรรมเริ่มที่จิต เป็นเทพเซียนสำเร็จได้ก็ด้วยการบำเพ็ญจิต ฐานพุทธะก็เริ่มสร้างจากจิต บุญบารมียิ่งต้องเริ่มปฏิบัติจากจิตภายในก่อน คุณธรรมก็ยังต้องสั่งสมที่จิต ฉะนั้น จิตจึงสร้างได้ทั้งสวรรค์และนรก เรื่องราวต่างๆ ลุได้ด้วยพลังจิต ทุกกระแสความคิดเริ่มจากจิต กระแสจิตปล่อยความคิดออกมา จิตคิดดีการกระทำก็จะออกมาดี จิตคิดไม่ดีการกระทำก็จะออกมาไม่ดี จิตเป็นกุศลการงานก็จะเป็นงานบุญ จิตเป็นอกุศลการงานก็จะเป็นงานบาป ตัวอย่างเช่น การก่อสร้างหรือการสร้างเครื่องจักรกลแรกๆ ต้องมมีการเขียนแบบโดยเริ่มจากจุดใจกลาง จากจุดเป็นเส้น จากเส้นเป็นหน้ากว้าง ฯลฯ ทั้งนี้หากจุดศูนย์กลางเที่ยงตรงแบบแปลนที่วาดออกมาก็จะพลอยเที่ยงตรงตาม บ้านที่ก่อสร้างก็จะเที่ยงตรงหรือเครื่องจักรที่สร้างก็จะถูกต้องตามต้องการและมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง แต่หากจุดศูนย์กลางไม่เที่ยงตรง และไม่ถูกต้อง แน่นอนว่าเครื่องจักรที่สร้างขึ้นก็จะไม่ถูกต้องและไม่สามารถสำแดงอานุภาพการใช้งานของมันได้เต็มที่ กรณีเดียวกันกับ "สายกลางแห่งมหาธรรม" ที่ไม่เอนไม่เอียง ที่เป็นพุทธจิตธรรมญาณสถิตอยู่ ณ ตำแหน่งที่เที่ยงตรงการกระทำทุกอย่างล้วนอาศัย "หนึ่งจุดธรรมญาณ" ที่ว่านี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นจุดเริ่มต้น เราจึงต้องประคองรักษา "สัมมาสติ" นี้ไว้ทุกขณะสำรวมจิตศรัทธาใจมาบำเพ็ญทุกสติมีธรรมะ ทุกขณะเคารพรักษาพุทธจริยระเบียบ ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ไม่กลัวว่าเบื้องบนจะไม่มีส่วนของเรา และไม่กลัวว่าธรรมะจะไม่สามารถบรรลุได้ ! ฉะนั้น ผู้บำเพ็ญจิตควร :
    (1) ปรนนิบัติพ่อแม่ มีจิตกตัญญูกตเวที
    (2) เป็นข้าราชการ มีจิตซื่อสัตย์โปร่งใส
    (3) เห็นคนตกทุกข์ มีจิตเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ
    (4) เห็นคนลำบาก มีจิตเวทนาสงสาร
    (5) เห็นเงินคนอื่น ไม่เกิดจิตโลภคิดครอบครอง
    (6) เห็นลูกเมียคนอื่น ไม่เกิดจิตกามตัณหา
    (7) เห็นความสามารถคนอื่น ไม่เกิดจิตอิจฉาริษยา
    (8) เห็นคนเจริญก้าวหน้า ไม่เกิดจิตขุ่นเคือง
    (9) ทุกวันพินิจพิจารณา รักษาสัมมาจิตแห่งธรรม
    (10) ความประพฤติชั่วชีวิต รักษาจิตภักดีสุจริต สำหรับ ผู้สร้างคุณลักษณะควร : (1) คุณลักษณะการแต่งกาย การแต่งกายควรดูสุภาพเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าใหม่หรือเก่าต้องให้สะอาดสะอ้าน ไม่สกปรกเลอะเทอะ และไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เปิดหน้าเปิดหลัง

    (2) คุณลักษณะด้านอากัปกิริยา บุคคลิกท่าทางต้องสำรวมและสง่างาม ไม่ลุกลี้ลุกลนเดินอย่างอกผายไหล่ผึ่ง นั่งต้องสุขุมมั่นคงไม่วอกแวก มีจริยามารยาทในการต้อนรับผู้คน ไม่เชื่อช้าเฉื่อยชา พูดจาต้องรอบคอบระมัดระวัง ไม่พูดพร่ำเพรื่อ และรู้จักกาลเทศะ ทางด้านการพูดการจาควร :
    (1) มีทรัพย์สินเงินทอง ไม่พูดจาโอ้อวด
    (2) มีความรู้ความสามารถ ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ
    (3) มีอาวุโสอยู่ต่อหน้า ไม่พูดจาลบหลู่
    (4) มีผู้หญิงอยู่ต่อหน้า ไม่พูดจาหยาบคาย
    (5) เห็นคนร่ำรวย ไม่พูดจาถากถาง
    (6) ตัวเองยากจน ไม่พูดจาปรักปรำ
    (7) ในขณะดื่มสุรา ไม่พูดเป็นดี
    (8) ในขณะโกรธต้องทน ไม่พูดยิ่งดี
    (9) ปั้นน้ำเป็นตัว เรียกว่าพูดสุ่มสี่สุ่มห้า
    (10) มีหนึ่งว่าร้อย มีพันว่าหมื่น เรียกว่าพูดเพ้อเจ้อ
    (11) ยกย่องตัวเอง เรียกว่าพูดจาสามหาว
    (12) ปรักปรำคนอื่น ครหานินทา เรียกว่าพูดดูแคลน
    (13) พูดเกินความเป็นจริง เรียกว่าพูดพร่ำเพรื่อ
    (14) พูดไม่เป็นจริง เรียกว่าพูดโกหก
    (15) พูดหลังดื่มเหล้า เรียกว่าพูดภาษาคนเมา
    (16) ฝันเฟื่องคิดอยากรวย เรียกว่าพูดเลอะเลือน
    (17) พูดแต่เรื่องลับๆ ล่อๆ เรียกว่าพูดผีๆ
    (18) แก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เรียกว่าพูดท้าทาย

    วาจาคำพูดทั้งหมดที่กล่าวมาเบื้องต้นล้วนเป็นวาจาคำพูดที่ไม่เป็นสัมมาวาจา ท่านขงจื่อกล่าวว่า : "ควรพูดแต่ไม่พูด ผิดมารยาท ไม่ควรพูดแต่กลับพูด ผิดวาจา" ฉะนั้น ปัญญาชนไม่ควรผิดต่อมารยาทและผิดต่อวาจาหากไม่ควรพูดก็อย่าพูด แต่ถ้าพูดแล้วต้องมีสาระ พูดแล้วไม่มีสาระสู้อย่าพูดดีกว่า คำพูดที่ไร้สาระต่อให้มากมายก็ไร้ "ค่า" จะไม่ระมัดระวังไม่ได้เด็ดขาด
    </td></tr></tbody></table>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,893
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>
    บำเพ็ญธรรมต้อง เสมอต้นเสมอปลาย <hr noshade="noshade"> ​
    </td> </tr> <tr valign="top"> <td>
    ที่ว่าการบำเพ็ญ คือการบำเพ็ญธรรม ส่วนธรรมะ คือหนทาง ฉะนั้นการบำเพ็ญธรรมจึงหมายถึงการปลูกสร้างหนทางที่จะกลับคืนสู่อนุตตรภูมิแดนนิพพานซึ่งเป็นบ้านเดิมของเราทุกคน หนทางอยู่ที่ไหน ? หนทางอยู่ใจกลางของเราทุกคน คัมภีร์ทางสายกลางกล่าวว่า : "ชีวิตที่ฟ้าประทาน เรียกว่าธรรมญาณ บำเพ็ญตามประสาธรรมญาณ เรียกว่าธรรมะ" ญาณทวาร จึงเป็นที่สถิตของธรรมญาณนั่นเอง ! ธรรมญาณ คืออนุตตรสัจธรรมที่ฟ้าประทานให้ เมื่อสัจธรรมสถิตกับฟ้าเรียกว่า หลักธรรมแห่งฟ้า ถ้าสัจธรรมสถิตในมนุษย์ เราเรียกว่า หลักธรรมญาณ ฉะนั้น หลักธรรมญาณจึงเป็นรากแห่งฟ้า ที่เข้าสถิตทางญาณทวารที่ส่านี้ ด้วยเหตุนี้ ท่านเหลาจื่อจึงได้กำหนดคำว่า "ธรรมะ" เข้ามาทางนี้ กลับคืนก็ต้องออกทางนี้ หากเป็นเช่นนี้แล้วทำไมยังต้องมีการบำเพ็ญธรรมอีกละ ! นั่นก็เพราะว่า ตั้งแต่มนุษย์เกิดกายลงมายังโลกมนุษย์ได้ถูกโลกีย์วิสัยครอบงำ ถูกพันธนาการด้วยธาตุทั้งห้า ก่อเกิดอารมณ์เยื่อใยผูกพัน อีกทั้งราคะตัณหาทำให้เลอะเลือนลุ่มหลง เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ยึดสิ่งจอมปลอมว่าเป็นจริง ลืมแม้มาตุภูมิเดิมของตนอาลัยอาวรณ์อยู่กับมายาภาพ ทุกวันคืนได้แต่หลงระเริงอยู่ในสุรา นารี พาชี กีฬาบัตร จมปลักอยู่กับลาภยศชื่อเสียง ทำให้ต้องสูญเสียโฉมมเดิมแท้ไปเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะรู้ทางกลับคืนไปได้อย่างไร ?

    กษัตริย์ซุ่นจื่อได้กล่าวว่า : "เมื่อเกิดมาก็เลอะเลือน เมื่อจากไปก็หลงทาง เท่ากับเกิดมาไม่ได้อะไรในโลกนี้....." ท่านปราชญ์เมิ่งจือก็ได้กล่าวทำนองเดียวกันว่า : "ทางเเคบระหว่างเขาหากใช้สัญจรไปมาบ่อย ๆ ก็ กลายเป็นถนนหนทางได้ หากนานวันไม่ได้ใช้ก็จะเกิดหญ้ารกชิดกั้นทาง" นับตั้งเเต่มนุษย์เกิดกายมา น้อยคนที่รู้จักกลับคืนไปเเล้วจะมีใครที่รู้จักเดินทางนี้อีก ทางเมื่อไม่ได้ใช้มัน นานไปก็มีบ่อมีหลุม หญ้ารกขวากหนามก็เกิดขึ้น ทำให้ทางที่เชื่อมระหว่างอริยกับโลกียะก็ถูกตัดขาดในที่สุด นี่เป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมจึงต้องบำเพ็ญธรรม อย่างไรก็ตาม ในการบำเพ็ญธรรมต้องเสมอต้นเสมอปลาย และการที่จะบำเพ็ญให้เสมอต้นเสมอปลายได้ก็ต้องอาศัยความศรัทธามั่นคงต่อธรรมะ มีความแน่วแน่นการบำเพ็ญธรรม หากไม่สามารถเข้าใจวิถีธรรมได้อย่างถ่องแท้ ความศรัทธาก็จะไม่มั่นคง ส่งผลให้ขาดความแน่วแน่ กลับไปกลับมา จิตใจหวั่นไหวง่าย มักถูกคนอื่นล่อหลอก ซ้ำยังใช้อารมณ์เป็นหลักทำให้ง่ายแก่การถูกทดสอบถอยออกจากอาณาจักรธรรมไป เนื่องจากไม่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จึงไม่สามารถยืนหยัดจนถึงที่สุดทำให้ต้องเลิกรากลางคัน เพราะฉะนั้น จะต้องรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมะ อีกทั้งยังต้องบำเพ็ญจริงตามหลักสัจธรรม จึงจะสามารถบำเพ็ญให้คงเส้นคงวาเสมอต้นเสมอปลายให้ถึงที่สุด คัมภีร์มหาบุรุษกล่าวไว้ว่า " "...วิถีสู่มหาบุรุษเริ่มต้นที่การฟื้นฟูธรรมญาณ..." หากเราต้องการได้รับการฟื้นฟูธรรมญาณ ก่อนอื่นก็ต้อง "เข้าถึงธาตุแท้ของวัตถุ" จากนั้นจึงสามารถ"รู้แจ้งแทงตลอด" .... จึงกล่าวว่า : "เมื่อเข้าถึงธาตุแท้ของวัตถุ จึงรู้แจ้งแทงตลอด เมื่อรู้แจ้งแทงตลอด จึงบังเกิดจิตศรัทธา เมื่อบังเกิดจิตศรัทธา จึงพาให้จิตสำรวม เมื่อจิตสำรวม กายจึงบำเพ็ญ..." ที่กล่าวมานี้เป็นขั้นตอนการบำเพ็ญธรรม

    นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวต่อไปอีกว่า : "สรรพสิ่งมีที่มาและที่ไป ทุกๆ เรื่องราวก็มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด หากเข้าใจในลำดับของต้นสายปลายเหตุ ก็ไม่ห่างจากธรรมะเท่าไร" ผู้บำเพ็ญธรรมต้องมีจิตใจที่มั่นคง เพราะความมั่นคงจะเป็นแรงผลักดันช่วยให้ผู้บำเพ็ญมีความเสมอต้นเสมอปลายทั้งนี้เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์แบบ หากผู้บำเพ็ญ "มีแต่ต้นแต่ขาดปลาย" ก็ไม่อาจพบกับความสำเร็จได้ ตรงกันข้าม หากผู้บำเพ็ญ "เสาะหาแต่ปลายแต่ลืมต้น" ก็จะทำให้ขาดความต่อเนื่องได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อมีต้นก็ย่อมมีปลาย เช่นมีต้นไม้ก็ย่อมมีรากไม้ มีลำธารก็ย่อมมีต้นน้ำ ฉันใดก็ฉันนั้น ยิ่งกว่านั้น หากรากยิ่งหยั่งลึกต้นไม้ก็ยิ่งมั่นคง ไม้ผลที่ตกลงมาก็จะยิ่งสมบูรณ์ผู้บำเพ็ญที่มีความมั่นคง ต่อให้มีปณิธานความมุ่งมั่นที่ยิ่งใหญ่ มีความแข็งแกร่งปานเหล็กกล้า เมื่อพบพานกับวิกฤตการณ์ก็ทำให้ต้องแปรเปลี่ยนทิศทางความมุ่งมั่น จากความแข็งแกร่งเป็นอ่อนปวกเปียก จากความบริสุทธิ์เป็นความมัวหมอง จากบุญคุณกลายเป็นโทษ จากปัญญามาเป็นความลุ่มหลง พบอุปสรรคก็ย่อท้อ เห็นความสบายก็เก็บอุดมการณ์เข้ากระเป๋า รักของใหม่ชังของเก่า เห็นกงจักรเป็นดอกบัว และในที่สุดอาจทำให้ต้องเลิกรากลางคัน เพราเหตุที่ได้ตัดขาดตัวเองไปจากรากเหง้าอุดตันตัวเองจากต้นกำเนิด ช่างเวทนาจริงหนอ ! ปัจจุบัน เหล่าพญาอสูรได้มาเกิดในโลก พร้อมทั้งภูติผีปีศาจที่เหี้ยมโหดชั่วร้าย ทำลายซึ่งแบบแผนประเพณีอันดีงามของสังคม ขาดจริยาไร้คุณธรรม หันหลังให้ธรรมะ จิตใจไม่ประเสริฐงดงามเหมือนครั้งบรรพกาล เสพสุขมั่วสุมตามอารมณ์รักง่ายหน่ายเร็ว ฯลฯ มิหนำซ้ำยังไม่รู้ถึงสัจธรรมที่ดำรงอยู่ไม่รู้ในกาลเวลาแห่งฟ้า ไม่เกรงกลัวต่ออาณัติสวรรค์ ลบหลู่อริยเจ้า ดูแคลนพระสูตรพระคัมภีร์ ไม่เหลือแม้แต่เงาของคุณธรรมความดีงามให้เห็นสักนิด.... บรรยากาศแห่งความชั่วร้ายที่ได้กล่าวมานี้ได้พวยพุ่งสู่เบื้องบน สร้างความพิโรธแก่แม่ฟ้าปางก่อนที่ไม่อาจทนให้ถลำลึกได้อีกต่อไป จึงได้ประทานวิถีธรรมลงมาเพื่อกอบกู้สาธุชนคนบุญทั้งหลาย หากใครก็ตามที่มีจิตสำนึกขอขมากลับเนื้อกลับตัว ก็จะได้รับการนิรโทษกรรม และการคุ้มครองให้แคล้วคลาดต่อมหันตภัยร้าย หากมิฉะนั้นถ้าฟ้าเบื้องบนทรงพิโรธประทานภัยร้ายทั้งสาม และความวิบัติทั้งแปดลงมา กวาดล้างคนชั่ว หรือที่เรียกว่า "ยุคสามมหันตภัย" แล้วละก็ ทุกสิ่งทุกอย่างในสากลจักรวาลต้องถูกทำลายเรียบในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นหมื่นศาสตร์พันลัทธิที่ผุดขึ้น รวมทั้งศาสนานอกรีตอีกมากมายที่ล่อหลอกผู้คน เนื่องจากเป็นช่วงที่ธรรมะแท้ได้อำพรางสิ่งจอมปลอมต่างๆ นานาจึงปรากฏขึ้นเมื่อเป็นเช่นนี้ หากผู้บำเพ็ญขาดความมั่นคง ในการบำเพ็ญไร้สติปัญญาในการแยกแยะ และไม่มีความเชื่อมั่นในวิถีธรรมแล้ว ก็จะถูกมารพาไปได้ง่าย ทั้งนี้และทั้งนั้นมีสาเหตุมาจากจิตใจที่ไม่มั่นคง ไม่แน่วแน่ เพ้อฝันอยู่ตลอดเวลา มีต้นแต่ไร้ปลายทำให้ไม่มีเรื่องใดที่ทำได้ดีและสำเร็จ จนสุดท้ายเมื่อสูญเสียกายเนื้อไปก็ไม่สามารถกลับมามีกายสังขารได้อีกตลอดชั่วนิรันดร์
    </td> </tr> <tr> </tr></tbody></table>
     
  18. iaui

    iaui เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +454
  19. iaui

    iaui เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2007
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +454

แชร์หน้านี้

Loading...