๙๙๙ อิทธิมงคล มหาบารมี วัตถุมงคล หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ๙๙๙

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย FALCON1, 9 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. FALCON1

    FALCON1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,522
    ค่าพลัง:
    +4,863
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>
    "ตราบใดยังมีคนอยู่ ของหลวงปู่จะไม่เสื่อม จะไม่จน"
    คำขอของหลวงปู่ต่อครูบาอาจารย์เสมอ..สาธุ
    ********************
    "รักมากที่สุดคือในหลวง หวงมากที่สุดคือแผ่นดิน"
    *****************************************************************
    </TD><TD class=thead width="14%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    วันวิสาขบูชา




    [​IMG]


    วันวิสาขบูชา 2555 ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ


    [​IMG] ความหมายของ วันวิสาขบูชา

    คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

    [​IMG] การกำหนด วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

    อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

    [​IMG]ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...


    [​IMG]


    [​IMG]1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

    เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

    เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส


    [​IMG]


    [​IMG]2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

    หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

    สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ


    [​IMG] ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
    [​IMG] ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
    [​IMG] ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา



    [​IMG]



    [​IMG]3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

    เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน

    เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธุ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น


    [​IMG] ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย

    ปรากฎหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ.420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

    ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

    สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ​
    ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

    หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ.2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

    [​IMG] วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

    วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน


    [​IMG]


    [​IMG] การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา

    การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

    [​IMG] 1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
    [​IMG] 2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
    [​IMG] 3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

    [​IMG] กิจกรรมใน วันวิสาขบูชา

    กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

    [​IMG] 1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
    [​IMG] 2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
    [​IMG] 3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
    [​IMG] 4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    [​IMG] 5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
    [​IMG] 6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
    [​IMG] 7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
    [​IMG] 8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

    [​IMG] หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

    ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

    [​IMG]1. ความกตัญญู

    คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

    ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

    [​IMG]2. อริยสัจ 4

    คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

    [​IMG] ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลาดจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

    [​IMG] สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    [​IMG] นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

    [​IMG] มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ


    [​IMG]3. ความไม่ประมาท

    คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


    วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead>
    ศิษย์มีครู
    นะเมติ นะเมติ นะเมติ






    </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  2. thaiisuzu

    thaiisuzu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2011
    โพสต์:
    838
    ค่าพลัง:
    +777
    พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

    พุทธชยันตี 2600 ปี หรือ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (อังกฤษ: Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment)<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup><sup id="cite_ref-1" class="reference">[2]</sup> เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555<sup id="cite_ref-2" class="reference">[3]</sup>
    การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา<sup id="cite_ref-3" class="reference">[4]</sup> พม่า และประเทศไทย<sup id="cite_ref-4" class="reference">[5]</sup> <sup id="fn_1_back">1</sup>
    โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน)
    ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555 <sup id="cite_ref-5" class="reference">[6]</sup>


    ประเทศไทย

    [​IMG] [​IMG]
    ธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้


    การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยได้ เสนอรูปแบบพร้อมความหมายธงสัญลักษณ์แก่มหาเถรสมาคม และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เป็นสัญลักษณ์การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ให้คณะสงฆ์ หน่วยงานทางราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ใช้ประดับตกแต่ง ณ สถานที่ราชการ วัดและเคหสถานทั่วประเทศ ตั้งแต่ช่วงมาฆบูชา<sup id="cite_ref-6" class="reference">[7]</sup> หรือช่วงเทศกาลวิสาขบูชา (วันที่ 29 พฤษภาคม 2555) เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี 2555<sup id="cite_ref-7" class="reference">[8]</sup> โดยธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี มีรูปแบบดังนี้

    1. ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงสีเหลือง
    2. มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี
    3. รูปธรรมจักรมีซี่ จำนวน 12 ซี่ ซึ่งหมายถึง ญาณ 3 ในอริยสัจ 4
    4. มีชื่องานภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะอยู่รอบวงธรรมจักร หากใช้ประดับในต่างประเทศหรือสถานที่ระดับสากล สามารถสลับที่ระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้
    ความหมายของธงสัญลักษณ์นั้น ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สีเขียวแห่งใบโพธิ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยได้เชิดชูพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า <sup id="cite_ref-8" class="reference">[9]</sup>


    รายละเอียด

    การจัดงานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ
    1. พิธีหลวง พิธีที่มีความเกี่ยวข้องกับสำนักพระราชวัง หรือเป็นพิธีพุทธบูชาที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ ประธานในกิจกรรมพุทธบูชาในช่วงเวลาการฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในวาระต่าง ๆ เช่น พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวงจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานยังมณฑลพิธี งานพุทธชยันตี 2600 ปี ณ ท้องสนามหลวง การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า<sup id="cite_ref-9" class="reference">[10]</sup> การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปสมโภชพุทธชยันตี<sup id="cite_ref-10" class="reference">[11]</sup> การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกฉัตรประดิษฐานเหนือพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง<sup id="cite_ref-11" class="reference">[12]</sup> เป็นต้น
    2. รัฐพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ภาครัฐอำนวยการ รวมถึงพิธีต่าง ๆ ที่มหาเถรสมาคมดำริ หรือมีมติให้เป็นกิจกรรมโดยคณะสงฆ์ไทย เช่น การจัดตั้งคณะอำนวยการจัดงาน ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในลักษณะต่าง ๆ การจัดกิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรม 1 จังหวัด 1 อำเภอ 1 ท้องถิ่น : 1 พุทธบูชา เป็นต้น<sup id="cite_ref-12" class="reference">[13]</sup><sup id="cite_ref-13" class="reference">[14]</sup> <sup id="cite_ref-14" class="reference">[15]</sup>
    3. ราษฎรพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ วัด พระสงฆ์ องค์กรภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนร่วมกันจัดขึ้นด้วยความศรัทธา ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการเวียนเทียน การจัดทำบุญและถวายมหาสังฆทาน<sup id="cite_ref-15" class="reference">[16]</sup> กิจกรรมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ<sup id="cite_ref-16" class="reference">[17]</sup><sup id="cite_ref-17" class="reference">[18]</sup> กิจกรรมงานวัดลอยฟ้า กิจกรรมฉายภาพยนต์สื่อธรรมะทางพระพุทธศาสนา <sup id="cite_ref-18" class="reference">[19]</sup> กิจกรรมตักบาตรพระ 1,000,000 รูป<sup id="cite_ref-19" class="reference">[20]</sup> เป็นต้น
    การเตรียมงาน

    [​IMG] [​IMG]
    ริ้วกระบวนอิสริยยศอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวง จากพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในโอกาสพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้


    ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 28/2553 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 มหาเถรสมาคมได้เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 ครบรอบ 26 ศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเบื้องต้น และมหาเถรสมาคมได้มีมติที่ 628/2553<sup id="cite_ref-20" class="reference">[21]</sup> เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 เป็นพิเศษ เพราะวันวิสาขบูชา ปี 2555 ถือเป็นวันสำคัญยิ่งเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 2,600 ปี หรือครบศตวรรษที่ 26 แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประสานขอรับฟังความคิดเห็นจากกรรมการมหา เถรสมาคม อธิการบดีและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสงฆ์ เจ้าคณะภาค นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการจัดกิจกรรมพิเศษให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    ในปี พ.ศ. 2555 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีการประชุมหารือร่วมกับ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนกรมการศาสนา ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผู้แทนมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ และองค์กรภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อสรุปหาแนวทางการจัดงาน และเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อเห็นชอบ และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้แนวทางการดำเนินงานตามที่ที่ประชุมของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดังกล่าวเสนอมา โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการจัด<sup id="cite_ref-21" class="reference">[22]</sup> โดยที่ประชุมมีมติร่วมกันดังนี้

    1. ใช้ชื่อว่า “งานฉลองสัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า”
    2. รัฐบาลและคณะสงฆ์ไทยโดยมหาเถรสมาคม เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานหลัก
    3. ใช้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล
    4. การจัดงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ด้านการปฏิบัติบูชา ด้านวิชาการ และด้านกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
    5. ระยะเวลาจัดงานในช่วงสัปดาห์เทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 - วันที่ 4 มิถุนายน 2555 รวม 7 วัน
    6. ให้มีธงสัญลักษณ์ “งานฉลอง สัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” เพื่อให้ทุกวัดทั้งในและต่างประเทศใช้ประดับบริเวณวัดและสถานที่เหมาะสม
    คณะกรรมการจัดงานภาครัฐ

    ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า<sup id="cite_ref-22" class="reference">[23]</sup><sup id="cite_ref-23" class="reference">[24]</sup> กรรมการประกอบด้วย
    มหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ<sup id="cite_ref-24" class="reference">[25]</sup><sup id="cite_ref-25" class="reference">[26]</sup>
    พิธีหลวง

    หมายกำหนดการพิธีและพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พุทธศักราช 2555 ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ดังต่อไปนี้
    <table class="wikitable"> <tbody><tr> <th width="150px">วันที่</th> <th width="60px">เวลา</th> <th>พระราชพิธี</th> <th>สถานที่</th> </tr> <tr> <td>วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม</td> <td>07.00 น. - 10.00 น.</td> <td>พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง*</td> <td>วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง</td> </tr> <tr> <td>วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน</td> <td>17.00 น.</td> <td>พระราชพิธีทรงตั้งเปรียญ</td> <td>วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง</td> </tr> <tr> <td>วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน</td> <td>16.00 น. - 17.00 น.</td> <td>พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา*<sup id="cite_ref-26" class="reference">[27]</sup></td> <td>ลานพระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล</td> </tr> <tr> <td>วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน</td> <td>17.30 น.</td> <td>สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปงานวันวิสาขบูชา<sup id="cite_ref-27" class="reference">[28]</sup></td> <td>มณฑลพิธีท้องสนามหลวง</td> </tr> <tr> <td rowspan="3">วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน</td> <td>18.00 น.</td> <td>พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา</td> <td>วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง</td> </tr> </tbody></table>

    <sup id="cite_ref-8" class="reference"></sup>

    <sup id="cite_ref-5" class="reference"></sup>
     
  3. thaiisuzu

    thaiisuzu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2011
    โพสต์:
    838
    ค่าพลัง:
    +777
    บูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตุที่บ้านครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_8161.JPG
      IMG_8161.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.9 MB
      เปิดดู:
      38
    • IMG_8162.JPG
      IMG_8162.JPG
      ขนาดไฟล์:
      4.2 MB
      เปิดดู:
      42
    • IMG_8163.JPG
      IMG_8163.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      39
    • IMG_8164.JPG
      IMG_8164.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      32
    • IMG_8165.JPG
      IMG_8165.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      41
    • IMG_8166.JPG
      IMG_8166.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      40
    • IMG_8169.JPG
      IMG_8169.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      31
    • IMG_8170.JPG
      IMG_8170.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      33
    • IMG_8168.JPG
      IMG_8168.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      29
    • IMG_8172.JPG
      IMG_8172.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      41
    • IMG_8173.JPG
      IMG_8173.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      29
    • IMG_8174.JPG
      IMG_8174.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      34
    • IMG_8175.JPG
      IMG_8175.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      39
    • IMG_8176.JPG
      IMG_8176.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      31
    • IMG_8177.JPG
      IMG_8177.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      31
    • IMG_8178.JPG
      IMG_8178.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      32
    • IMG_8179.JPG
      IMG_8179.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      34
    • IMG_8180.JPG
      IMG_8180.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.9 MB
      เปิดดู:
      36
    • IMG_8184.JPG
      IMG_8184.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      35
    • IMG_9907.JPG
      IMG_9907.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.7 KB
      เปิดดู:
      33
    • IMG_99073a.JPG
      IMG_99073a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.5 KB
      เปิดดู:
      43
    • IMG_9913.JPG
      IMG_9913.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.6 KB
      เปิดดู:
      32
    • IMG_9913a.jpg
      IMG_9913a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      51 KB
      เปิดดู:
      33
    • IMG_99122.jpg
      IMG_99122.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.8 KB
      เปิดดู:
      38
    • IMG_3654.JPG
      IMG_3654.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      40
    • IMG_3659.JPG
      IMG_3659.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      37
    • IMG_3668.JPG
      IMG_3668.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.9 MB
      เปิดดู:
      33
    • IMG_3674.JPG
      IMG_3674.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      37
    • IMG_3691.JPG
      IMG_3691.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      49
    • IMG_3680.JPG
      IMG_3680.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      31
    • IMG_3682.JPG
      IMG_3682.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.5 MB
      เปิดดู:
      33
    • IMG_3750.JPG
      IMG_3750.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.8 MB
      เปิดดู:
      40
    • IMG_3702.JPG
      IMG_3702.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      35
    • IMG_3734.JPG
      IMG_3734.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      37
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2012
  4. ejob

    ejob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +366
    อีกเพียง 35 ท่าน หน้าเพจหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ ทางเฟสบุ๊ก
    จะมีลูกศิษย์สมาชิก เป็น 2,000 คน ข่าวสารและวัตถุประสงค์ต่างๆของหลวงปู่ก็จะกระจายถึงลูกศิษย์ได้ในวงกว้างยิ่งขึ้น


    ให้ของรางวัลคนที่ 2000 เป็นอะไรดีนะ
     
  5. freedomk

    freedomk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,022
    ค่าพลัง:
    +3,913
    พี่วุฒิครับของผมเป็น 2 รายการครับ...กริช ...กับ...วัชระ...ถ้า 3 เล่มเดี๋ยวไม่ไหวครับ..อิอิ
     
  6. เด็กท้ายตลาด

    เด็กท้ายตลาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +412


    เอาเลยครับ คนที่ 2000 มีรางวัลให้ครับ เรื่องรางวัล เดี๋ยวผมจัดให้ครับ (ขอกลับไปหาก่อน) แล้วจะมาแจ้งภายหลังครับ
     
  7. thaiisuzu

    thaiisuzu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2011
    โพสต์:
    838
    ค่าพลัง:
    +777
    ดีครับพี่วุฒิได้โอนเงินเหลือจากการจัดส่งผ้าป่า ๕๕ ไปให้แล้วครับ ยอด 2187 บาท โอนเข้าบัญชีค่ายาหลวงปู่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00sss.JPG
      00sss.JPG
      ขนาดไฟล์:
      60.1 KB
      เปิดดู:
      46
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2012
  8. ejob

    ejob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    247
    ค่าพลัง:
    +366

    ขอบคุณพี่สุวัตมากครับ ไม่รู้ว่าสมาชิคท่านใดจะเป็นผู้โชคดี
    ตอนนี้เหลือเพียง 13 ท่าน แล้ว เร็วมากๆ ลูกศษย์หลวงปู่ล้นหลามจริงๆ
     
  9. sauce_pan

    sauce_pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +281
    คน ที่เท่าไหร่ไม่รู้แต่ขอด้วยได้ป่าว
     
  10. ลูกเสือดำ

    ลูกเสือดำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +22
    พี่วุฒิคับผมจองกริช1ด้าม ตรีศูล1ด้าม วัชระ1ด้ามคับผม ลงให้ผมด้วยคร้าบ
     
  11. เด็กท้ายตลาด

    เด็กท้ายตลาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +412

    รางวัลครับ พระรูปเหมือนลอยองค์เนื้อว่านผสมชานหมาก ชุดนี้แจกพระสงฆ์ในพิธีประกาศปริญญาบัตรแก่องค์หลวงปู่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. เด็กท้ายตลาด

    เด็กท้ายตลาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +412


    ส่วนเจ้าเด็กคนนี้ ถ้าอยากได้ต้องเข้ามาคุยหลังเวที จะจัดให้อย่างหนัก (หนาสาหัส) เลย
     
  13. FALCON1

    FALCON1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    3,522
    ค่าพลัง:
    +4,863
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>
    "ตราบใดยังมีคนอยู่ ของหลวงปู่จะไม่เสื่อม จะไม่จน"
    คำขอของหลวงปู่ต่อครูบาอาจารย์เสมอ..สาธุ
    ********************
    "รักมากที่สุดคือในหลวง หวงมากที่สุดคือแผ่นดิน"
    *****************************************************************
    </TD><TD class=thead width="14%">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [​IMG]แจ้งเปิดจองวัตถุมงคล[​IMG]
    [​IMG]ของสุสานทุ่งมน[​IMG]
    กริช ตรีศูล วัชระ
    [​IMG](สุดยอดแห่งมวลสาร )[​IMG]
    บูชาด้ามละ 6,000 บาท
    ( จัดสร้างตามจำนวนสั่งจองครับ )
    ปิดรับจองวันที่ 30 มิถุนายน 2555
    เริ่มโอนปัจจัยหลังปิดรับจอง
    กำหนดรับวัตถุมงคล หลังวันออกพรรษา
    [​IMG]
    กริช

    [​IMG]
    ตรีศูล

    [​IMG]
    วัชระ


    รายนามผู้สั่งจอง
    <TABLE style="WIDTH: 376pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=502 border=0><COLGROUP><COL style="WIDTH: 74pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 3168" width=99><COL style="WIDTH: 140pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 5984" width=187><COL style="WIDTH: 54pt" span=3 width=72><TBODY><TR style="HEIGHT: 15pt" height=20><TD class=xl64 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 74pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; HEIGHT: 15pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=99 height=20></TD><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 140pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" width=187></TD><TD class=xl88 style="BORDER-RIGHT: black 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; WIDTH: 162pt; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow" width=216 colSpan=3>รายการจอง</TD></TR><TR style="HEIGHT: 15pt" height=20><TD class=xl78 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; HEIGHT: 15pt; BACKGROUND-COLOR: yellow" height=20>วันที่จอง</TD><TD class=xl78 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow">ผู้จอง</TD><TD class=xl82 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow">กริช</TD><TD class=xl83 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow">ตรีศูล</TD><TD class=xl84 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: yellow">วัชระ</TD></TR><TR style="HEIGHT: 14.25pt" height=19><TD class=xl76 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 14.25pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" height=19>1/6/2555</TD><TD class=xl77 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" align=left>tonyoam</TD><TD class=xl79 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">2</TD><TD class=xl80 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl81 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 14.25pt" height=19><TD class=xl71 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 14.25pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" height=19>1/6/2555</TD><TD class=xl74 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" align=left>thaiisuzu</TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl65 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl67 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 14.25pt" height=19><TD class=xl71 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 14.25pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" height=19>1/6/2555</TD><TD class=xl74 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" align=left>VenHongDisciple</TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl65 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent"> </TD><TD class=xl67 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 14.25pt" height=19><TD class=xl71 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 14.25pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" height=19>1/6/2555</TD><TD class=xl74 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" align=left>sauce_pan</TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl65 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl67 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 14.25pt" height=19><TD class=xl71 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 14.25pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" height=19>1/6/2555</TD><TD class=xl74 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" align=left>หนูนเวย์</TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent"> </TD><TD class=xl65 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl67 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent"> </TD></TR><TR style="HEIGHT: 14.25pt" height=19><TD class=xl71 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 14.25pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" height=19>1/6/2555</TD><TD class=xl74 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" align=left>freedomk</TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl65 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent"> </TD><TD class=xl67 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 15pt" height=20><TD class=xl71 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; HEIGHT: 15pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" height=20>5/6/2555</TD><TD class=xl74 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent" align=left>ลูกเสือดำ


    </TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD><TD class=xl65 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent"> </TD><TD class=xl67 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 0.5pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">1</TD></TR><TR style="HEIGHT: 15pt" height=20><TD class=xl64 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; HEIGHT: 15pt; BACKGROUND-COLOR: transparent" height=20></TD><TD class=xl64 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent">รวม</TD><TD class=xl85 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext 1pt solid; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">7</TD><TD class=xl86 style="BORDER-RIGHT: windowtext 0.5pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">4</TD><TD class=xl87 style="BORDER-RIGHT: windowtext 1pt solid; BORDER-TOP: windowtext 1pt solid; BORDER-LEFT: windowtext; BORDER-BOTTOM: windowtext 1pt solid; BACKGROUND-COLOR: transparent">6</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead>
    ศิษย์มีครู
    นะเมติ นะเมติ นะเมติ






    </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. tonyoam

    tonyoam Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +29
    พี่วุฒิ คุณลูกเสือดำ จองอย่างละ 1 ไม่ใช่เหรอครับ?

     
  15. sauce_pan

    sauce_pan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +281
    รับทราบครับผม ^_^
     
  16. ลูกเสือดำ

    ลูกเสือดำ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +22
    พี่วุฒิคับผมจอง3อย่างนะคับมี ตรีศูล....วัชระ.....และ กริช...ด้วยนะคร้าบรบกวนศิษย์พี่ใหญ่เเก้รายการจองด้วย....ก๊าบ....ขอบคุณคับ
     
  17. ยันต์พนัง

    ยันต์พนัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +98
    เดี๋ยวคนที่ 2000 ติดต่อที่ยันต์พนังได้เลยจัดหนักของดีของหลวงปู่ให้เลยครับพี่จ็อบ แจ้งในเฟสได้เลย
     
  18. ยันต์พนัง

    ยันต์พนัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +98
    ร่วมบุญกันครับ ใครทำบุญค่ายาหลวงปู่เดือนนี้ยอด 5000 บาท รับไปเลยรูปหล่อไม้จันหอมแกะยุคแรกๆศิลปสวยงามมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1308.jpg
      DSCF1308.jpg
      ขนาดไฟล์:
      106.5 KB
      เปิดดู:
      52
    • DSCF1310.jpg
      DSCF1310.jpg
      ขนาดไฟล์:
      107.3 KB
      เปิดดู:
      29
    • DSCF1311.jpg
      DSCF1311.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95 KB
      เปิดดู:
      41
    • DSCF1309.jpg
      DSCF1309.jpg
      ขนาดไฟล์:
      107.6 KB
      เปิดดู:
      36
  19. BROSNAN

    BROSNAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +2,440
    [​IMG]


    อนุโมทนาจ้า
     
  20. wiraphat1

    wiraphat1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +3,348

    ศาสตราวุธ ทั้งสามมีคุณสมบัติพิเศษและอิทธิคุณ อย่างไรบ้างครับ...:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...