ทุกชีวิต...นิพพานกันอยู่แล้ว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เอกรินทรา, 23 พฤษภาคม 2012.

  1. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    ทุกชีวิต...นิพพานกันอยู่แล้ว
    มันจบอยู่ก่อนแล้ว...ก่อนที่จะเริ่ม
    ไม่มีตัวตนอยู่ก่อนแล้ว...แค่หลงยึดมั่นกันเอง
    ปรุงไม่ได้อยู่แล้ว...แค่หลงคิดไปว่ามันปรุงได้
    เป็นเช่นนั้น...อยู่อย่างนั้น...ไม่เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น
     
  2. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ผมขอเสวนาด้วยนะครับ
    คำว่าว่างเปล่าคือเต็มไปหมดหรือไม่
    คำว่าเต็มไปหมดคือว่างเปล่าหรือไม่

    ขอท่านเจริญในธรรมครับ
     
  3. หมาปากซอย

    หมาปากซอย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +11
    จบก่อนเริ่ม... ไม่เข้าใจครับ
    ถ้าจบแล้วคุณจะมาเริ่มใหม่ทำมัยครับ
    ถ้านิพพานคือจบ... คุณเขียนอย่างนี้แสดงว่ามันก็เริ่มใหม่ได้สิครับ
     
  4. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ความหลงไม่ปราณีใคร
    แต่ถ้าไม่หลงได้จะดีมากเลย
    เช่นผีที่สิงตามบ้าน ตามโรงแรม แทนที่คนอื่นจะได้ใช้ประโยชน์ ก็ต้องมาเสียพื้นที่ให้พวกผีที่ยังหลง ยึดมั่น อาฆาตอะไรก็ตามแต่
    ถ้าใช้เป็นที่ปฎิบัติธรรม ที่พักคนเดินทางได้จะดีมาก ดีกว่าเป็นบ้านผีสิง หรือโรงแรมผีสิงจนเจ้าของโรงแรมเจ๊งไปแบบนั้น
    ใครไปพัก ไปเจอก็ช่วยเทศนาสอนเค้าครับ หยุดก่อกรรม ให้อภัย ไปเกิดไปทำกุศลอยู่ในความดีงาม เวรระงับด้วยการไม่จองเวร ถ้าไม่เชื่อให้ดูความรู้สึกที่เกิดภายในใจของตนเอง ว่าตอนจองเวร โกรธเกลียด กับตอนใหอภัย อันไหนสบายใจกว่า
    คุยกัยด้วยเหตุด้วยผลแบบนี้ไปเลย
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ก็ถูกของเขา หากปราถนาพ้นเวียนว่ายในสังสารวัฏ ต้องนิพานเท่านั้น ไม่มีอื่น

    แต่ถ้าเข้าใจเอาเองว่า นิพพานอยู่แล้ว อยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปทำอะไร แค่วางๆเดี๋ยวก็นิพานเอง

    ต้องถามกลับไปว่า รู้จักทุกข์แล้วหรือ ถ้าไม่รู้จักก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องไปพ้นทุกข์

    พระพุทธเจ้าสั่งสมปัญญาบารมี อุบัติมานั้น ไม่ใช่ของง่าย

    และไม่ได้ทรงสอนนิพานอย่างนี้ ^^
     
  6. หมาปากซอย

    หมาปากซอย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +11
    สาธุ...
    แต่จับโยงเข้าเรื่องกับกระทู้ไม่ได้...
     
  7. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ก็หลงยึดเอาเป็นตัวตนเราเขาบุคคลนั่นไง ตายแล้วเห็นแท้ๆก็ยังไม่มีความเห็นที่ว่าร่างกายเองก็ไม่ใช่เรา เรื่องราวต่างๆที่เกิดกับกายเนื้อ ก็ยังหลงยึดอารมณ์ ความคิดแค้นต่างแม้ว่ากายเนื้อแท้จะเน่าไปนานแล้วก็ยังยึดมั่นในความโกรธนี่อาฆาตแค้นไม่เลิกประมาณนี้ครับ

    ตายแล้วก็ยังแค้นฝังหุ่น เกิดใหม่ขออาฆาตต่ออะไรประมาณนี้นะครับ
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นี่กระทู้ปาร์ตี้สัตว์เลี้ยงรึเปล่าเนี่ย ^^

    มีแต่เจ้าตูบกับหนูหริ่งคุยกัน
     
  9. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า...ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวยผล...ดังนี้เสียแล้ว
    เขามีวาทะ คือลัทธิยืนยันอยู่ว่า...ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง...ดังนี้
    นั้นย่อมแล่นไปสู่ทิฏฐิที่ถือว่าเที่ยง
      เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า...ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวยผล...ดังนี้เสียแล้ว
    เขามีวาทะ คือลัทธิยืนยันอยู่ว่า...ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้...ดังนี้
    นั้นย่อมแล่นไปสู่ ทิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ
      ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ
    ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า...เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.....,,......
      เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสาทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน  ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
    เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
    เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ.....,,.....
    เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสาทั้งหลาย จึงดับสิ้น  ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
    นิทาน. สํ. 16/24/50

    พระสูตรบทนี้คือ  เครื่องยืนยันได้ว่า
    ...นี้  เป็นธรรมอันเอื้อไปสู่ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม
    ...นี้  เป็นธรรมอันบ่งบอกความหมายว่า  ทุกสรรพชีวิตปราศจากการมีตัวตนอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน
    ...นี้  เป็นธรรมสำหรับผู้เริ่มต้น  ในการเข้าใจให้ถูกต้องว่า  ความนึกคิดปรุงแต่งทั้งปวงเกิดขึ้นได้อย่างไร  และเมื่อเข้าใจความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมว่า...
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน  
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งปราศจากการปรุงแต่งอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน  
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งนั้นบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือนิพพานอยู่แล้วโดย  ธรรมชาติของมัน  และเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างนั้นทุกวันทุกเวลา...
    จึงเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดความจางคลาย กระจ่าง ตระหนักชัด หรือที่พระพุทธองค์กล่าวว่า  “ ความดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว ” จึงเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งปวง  นั่นก็คือ นิพพาน หลุดพ้นนั่นเอง  เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้เอง  ไม่มีวิธีการปฏิบัติ  ไม่มีความยากความง่าย  เมื่อเข้าใจก็หมดสงสัย  เมื่อหมดสงสัยก็กระจ่าง  เมื่อกระจ่างก็ตระหนักชัด  เมื่อตระหนักชัดก็เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติแห่งความเป็นเช่นนั้นทุกวันทุกเวลา
     
  10. ไร้นา

    ไร้นา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +108
    ทุกสรรพสิ่งนั้นบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือนิพพานอยู่แล้วโดย ธรรมชาติของมัน และเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างนั้นทุกวันทุกเวลา หากเป็นเช่นนั้นจริงก็ไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ หลงเหลืออยู่ แต่บนโลกใบนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2012
  11. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย...เพราะท่านปรุงขึ้นมาเอง
     
  12. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    จากศูนย์ไปสู่ศูนย์
    ​สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้โคนต้นศรีมหาโพธิ์นั้นคือ  ความจริงแห่งธรรมชาติ  ความจริงของทุกสรรพสิ่ง  ความจริงของทุกชีวิตจิตวิญญาณ  ว่า...
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน  
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งปราศจากการปรุงแต่งอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน  
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งนั้นบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือนิพพานอยู่แล้วโดย  ธรรมชาติของมัน  และเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างนั้นทุกวันทุกเวลา...
    ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งนี้  เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยากสำหรับปุถุชนผู้มีปัญญาอันน้อยนิด  จึงเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงดำริที่จะไม่แสดงธรรมแก่ใคร  แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระพุทธองค์  ที่ทรงมองเห็นว่ายังมีปุถุชนอยู่หลายเหล่าที่สามารถสอนให้เข้าใจ  ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งได้  พระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่ปุถุชนแต่ละเหล่าด้วยข้อธรรมที่แตกต่างกัน  ตามระดับปัญญาของปุถุชนเหล่านั้นที่จะมองเห็น  จึงเกิดข้อธรรมอยู่ 2 ระดับ  คือ  ธรรมอันเอื้อไปสู่ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม  และธรรมแห่งความจริงอันยิ่งยวด  ดังนี้
     
    ธรรมอันเอื้อไปสู่ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม
    ​  ธรรมอันเอื้อไปสู่ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมนี้มีอยู่มากมาย  และพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหลายๆเรื่องตามความเหมาะสมแห่ง สถานที่ เวลา และบุคคล  แต่บทสรุปรวมแห่งธรรมอันเอื้อไปสู่ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมนี้  มีใจความเดียวคือ  เรื่องจิตหรือจิตใจ    พระพุทธองค์ทรงสอนสิ่งสมมุติที่เรียกว่าจิตนี้ เพื่อจุดประสงค์เดียวคือให้ปุถุชนหันกลับมามองถึงต้นเหตุ ที่ทำให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งทั้งปวง  นี่คือพระมหาปัญญาธิคุณแห่งพระพุทธองค์โดยแท้ เอาจิตหรือจิตใจ ที่เป็นสิ่งสมมุติ ซึ่งไม่มีอยู่จริง มาเป็นเครื่องหันเห นำออก สำรอกออก เพื่อความเข้าใจอันเด็ดเดี่ยวเด็ดขาด และตระหนักชัด ในความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม                                    ดังตัวอย่างพระสูตรบทนี้
     
    เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า...ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวยผล...ดังนี้เสียแล้ว
    เขามีวาทะ คือลัทธิยืนยันอยู่ว่า...ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง...ดังนี้
    นั้นย่อมแล่นไปสู่ทิฏฐิที่ถือว่าเที่ยง
    เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า...ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวยผล...ดังนี้เสียแล้ว
    เขามีวาทะ คือลัทธิยืนยันอยู่ว่า...ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้...ดังนี้
    นั้นย่อมแล่นไปสู่ ทิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ
    ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ
    ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า...เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ.....,,......
    เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสาทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน  ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
    เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
    เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ.....,,.....
    เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสาทั้งหลาย จึงดับสิ้น  ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
    นิทาน. สํ. 16/24/50
    ​หากโลกนี้ไม่มีผู้ใดกล่าวเรื่อง ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม แล้วคำว่าพระพุทธเจ้าก็ยังไม่ปรากฏ ก็คงจะมีปุถุชนอยู่ 2 ประเภทคือ ประเภทแรกเป็นประเภทที่เข้าใจว่า ทุกชีวิตจิตวิญญาณมีตัวตน มีเรามีเขา มีของของเรา มีของของเขา และความทุกข์ทั้งปวงเกิดขึ้นจากเราเป็นผู้กระทำเอง นี้เป็นความยึดมั่นถือมั่นไปในทางสุดโต่งข้างหนึ่ง
    ​ประเภทที่สองเข้าใจว่า ทุกชีวิตจิตวิญญาณมีตัวตน มีเรามีเขา มีของของเรา มีของของเขา และความทุกข์ทั้งปวงเกิดขึ้นจาก บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำให้เรา นี้เป็นความยึดมั่นถือมั่นไปในทางสุดโต่งอีกข้างหนึ่ง แต่เมื่อมีพระพุทธเจ้ามาปรากฏ แล้วท่านทรงกล่าว ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมว่า...
     
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน  
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งปราศจากการปรุงแต่งอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน  
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง  ทุกสรรพสิ่งนั้นบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือนิพพานอยู่แล้วโดย     ธรรมชาติของมัน  และเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างนั้นทุกวันทุกเวลา...
    ​นี้เป็นความจริงที่ไม่ได้มีความหมายไปในทางสุดโต่งทั้งสองข้าง เมื่อไม่เข้าใจความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม ตรงนี้เรียกว่า อวิชชา คือความไม่รู้ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม จึงเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งที่เรียกว่าความทุกข์ขึ้นมา แต่เมื่อเข้าใจความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมแล้ว ตรงนี้เรียกว่า วิชชา คือการรู้เห็นตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม จึงเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดความจางคลาย หายสงสัย กระจ่าง และตระหนักชัด หรือที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า  “ ความดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว ” จึงเป็นเหตุเป็นผลให้เกิดความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งปวง  นั่นก็คือ นิพพาน หลุดพ้นนั่นเอง  เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้เอง  ไม่มีวิธีการปฏิบัติ  ไม่มีความยากความง่าย  เมื่อเข้าใจก็หมดสงสัย  เมื่อหมดสงสัยก็กระจ่าง  เมื่อกระจ่างก็ตระหนักชัด  เมื่อตระหนักชัดก็เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติแห่งความเป็นเช่นนั้นทุกวันทุกเวลา
     
    ตัวอย่างพระสูตรอีกบทหนึ่ง...
    พาหิยะ เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น ได้ฟังเสียงแล้ว สักว่าฟัง ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางผิวกาย ก็สักว่า ดม ลิ้มรส สัมผัส ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว เมื่อนั้น เธอจักไม่มี เมื่อใดเธอไม่มี เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ แล
    อุ. ขุ. 25/83/49
     
     
    พระสูตรบทนี้ คือเครื่องยืนยันว่า...
      ...นี้  เป็นธรรมอันดีเยี่ยมสำหรับผู้เริ่มต้น ในการหันเหออก นำออก สำรอกออก จากต้นเหตุแห่งการเกิดความนึกคิดปรุงแต่งทั้งปวง เมื่อเข้าใจความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมแล้ว เมื่อตาเห็นรูป เมื่อหูได้ยินเสียง เมื่อจมูกได้กลิ่น เมื่อลิ้นรู้รส เมื่อร่างกายรับรู้การสัมผัส เมื่อใจรับรู้ถึงสิ่งที่ปรุงขึ้นมา เมื่อไม่อะไรกับอะไร ในสิ่งที่ตาเห็น ในสิ่งที่หูได้ยิน ในสิ่งที่จมูกได้กลิ่น ในสิ่งที่ลิ้นรู้รส ในสิ่งที่ร่างกายรับรู้การสัมผัส ในสิ่งที่ใจปรุงขึ้นมา ก็เป็นธรรมชาติแห่งการเห็น เป็นธรรมชาติแห่งการได้ยิน เป็นธรรมชาติแห่งการได้กลิ่น เป็นธรรมชาติแห่งการรู้รส เป็นธรรมชาติแห่งการรับรู้การสัมผัส เป็นธรรมชาติแห่งการคิด ซึ่งไม่สามารถสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดความนึกคิดปรุงแต่งได้เลย
      ...นี้  เป็นธรรมที่บ่งบอกความหมายว่า เมื่อเข้าใจธรรมชาติแห่งการเห็น ธรรมชาติแห่งการได้ยินธรรมชาติแห่งการได้กลิ่น ธรรมชาติแห่งการรู้รส ธรรมชาติแห่งการรับรู้การสัมผัส                                    และธรรมชาติแห่งการคิด แล้วปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามหน้าที่ของมัน โดยไม่มีความเป็นเราเข้าไปกำหนด บังคับ ควบคุม "เมื่อนั้นเธอจักไม่มี (ไม่มีตัวตน)" และนี่คือ "ที่สุดแห่งทุกข์ (นิพพาน)"
      ...นี้  เป็นธรรมที่เป็นเครื่องยืนยันว่า ไม่มีขั้นตอน หรือวิธีการปฏิบัติใดๆเลยในเรื่องของนิพพาน เป็นเพียงการเข้าใจ กระจ่าง หมดสงสัย ตระหนักชัด และเป็นหนึ่งเดียวกับความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมที่ว่า...
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง ทุกสรรพสิ่งปราศจากความหมายแห่งการมีตัวตน
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง ทุกสรรพสิ่งปราศจากการปรุงแต่งอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน
    ...โดยธรรมชาติโดยความเป็นจริง ทุกสรรพสิ่งนั้นบริสุทธิ์หลุดพ้น หรือนิพพานอยู่แล้วโดย ธรรมชาติของมัน และเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างนั้นทุกวันทุกเวลา...
     
    ธรรมแห่งความจริงอันยิ่งยวด
            ธรรมแห่งความจริงอันยิ่งยวดนี้ เป็นความจริงของทุกสรรพสิ่ง เป็นความจริงของทุกชีวิตจิตวิญญาณ เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงกล่าว เป็นธรรมที่มีอยู่ก่อนแล้วคู่โลกคู่จักรวาล บทสรุปของธรรมแห่งความจริงอันยิ่งยวดนี้ มีใจความเดียวคือ ความเป็นเช่นนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น และไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น
    ดังตติยนิพพานสูตรบทนี้...

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
    เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
    ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้
         การสลัดออก ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว
    ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่
         ฉะนั้น การสลัดออกซึ่ง ธรรมชาติที่เกิดแล้วเป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 722

     
    ความหมายแห่งพระสูตรบทนี้...
    - ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว คือ เป็นความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมที่ไม่ปรุงแต่ง                         หรือปรุงแต่งไม่ได้
    - ไม่เป็นแล้ว คือ เป็นความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมที่ทุกชีวิต ไม่มีตัวตน
    - อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว คือ รู้เห็นตามความเป็นจริงแห่งธรรมชาติแห่ง               สัจธรรมแล้ว จึงไม่มีความหลงให้ก่อเกิดเหตุปัจจัยในการปรุงแต่งได้อีกเลย
    - มีอยู่ คือ เป็นความจริงที่มีอยู่ก่อนแล้วตลอดเวลาโดยธรรมชาติของมัน
    แต่ถ้ามองในมุมกลับกันว่า ถ้าธรรมแห่งความจริงอันยิ่งยวดนี้ไม่มีอยู่จริง จะเป็นอย่างไร
    - จะไม่ปรากฏคำว่าพระพุทธเจ้าและสัจธรรม
    - จะไม่ปรากฏคำสอนอันคือ ธรรมอันเอื้อไปสู่ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม ซึ่งเป็นเครื่องหันเห นำออก และสำรอกออก จากการเห็นผิดต่างๆ ดังที่พระพุทธองค์กล่าวว่า              “ ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
    ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ ”
    “ การสลัดออก ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว
    อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ”
         ​แต่เพราะ...ธรรมแห่งความจริงอันยิ่งยวดนี้มีอยู่จริง  พระพุทธองค์จึงทรงใช้ศิลปะในการแสดงธรรม เป็นลีลาการแสดงธรรมของพระพุทธองค์เอง เมื่อปุถุชนไม่มีปัญญาที่จะมองเห็น                      และตระหนักชัด ในความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม ที่เป็นเนื้อหาแบบตรงๆได้ พระพุทธองค์จึงทรงกล่าว ธรรมอันเอื้อไปสู่ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรมคือ
    การสลัดออก ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏคือ พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องจิตหรือจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งสมมุติที่ไม่มีอยู่จริง เพื่อเป็นการหันเหออก นำออก สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว หลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตนแล้ว กลายเป็นความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆนานาแล้ว เพื่อจุดประสงค์สุดท้ายคือ การตระหนักชัดในความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติแห่งความเป็นเช่นนั้น เป็นอยู่อย่างนั้น และไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น
    แต่ถึงอย่างไรธรรมแห่งความจริงอันยิ่งยวดนี้ ก็ยังคงเป็นธรรมอันบริบูรณ์อยู่แล้ว ไม่มีการเพิ่มไม่มีการลด ปราศจากความหมายแห่งการมีคุณค่ามากคุณค่าน้อย เปรียบเสมือนเลขศูนย์ที่มีความคงตัวอยู่อย่างนั้น ไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่บริบูรณ์อยู่แล้วโดยตัวมันเอง
    นี้...คือการไปสู่ศูนย์ กลับสู่ธรรมชาติเดิมแท้ที่บริบูรณ์อยู่แล้ว บริสุทธิ์อยู่แล้ว เติมแต่งไม่ได้แล้ว
    นี้...เป็นธรรมจากศูนย์ไปสู่ศูนย์โดยแท้ ก่อนมีก็ไม่มีอะไรอยู่ก่อนแล้ว ก่อนจบมันก็จบอยู่แล้วโดยตัวมันเอง
    นี้...คือความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม คือความจริงอันยิ่งยวด คือความจริงที่ทุกชีวิตจิตวิญญาณหลีกหนีไปไม่ได้เลย อย่างไรก็ต้องกลับสู่ศูนย์ สู่ธรรมชาติแห่งความเป็นเช่นนั้น เป็นอยู่อย่างนั้นตลอดกาล
                                    ........................................
     
  13. loguttara

    loguttara Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +39
    อนุโมทนาในปัญญาที่มีอยู่ และที่แสดงออกมา ของคุณไร้นาด้วยนะครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ทิฏฐิ ของ จขกท. เป็นมหาโมหะเลยนะครับ
     
  14. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    เป็นเรื่องปกติ...ผู้ไม่ถึงแก่นย่อมลูบคลำเปลือกกะพี้
    ผู้ชอบวิจารณ์...เพราะตัวเองยังไม่จบ
    ที่ยังไม่จบ...เพราะกรรมแห่งการวิจารณ์มันเกาะจิตเกาะใจ
    คนจบจริง...จะพูดแต่เรื่องจริงของจริง...ตามทางที่จบมา
    คนวิจารณ์ก็หัวชนฝา...และไม่กล้าลองตาม...คนที่จบจริง
    ธรรมดา...ธรรมดา...กี่ยุคกี่สมัย...
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เขาอาจจะชอบจบ แบบจบมานะ ก็ได้นะ

    แบบว่า ไม่ได้ ให้มันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
    แล้วมาใหม่
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ เรื่องอริอัฎฐังคิกมรรค คือ มัชฌิมาปฎิปทาที่ตรัสรู้เอง พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย (ข้อปฎิบัติเป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่งไปหาสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฎิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฎิบัติทำให้เกิด จักษุ เป็นข้อปฎิบัติที่ทำให้เกิด ญาน เป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ...............ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฎิปทา(ข้อปฎิบัติที่เป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า....................ภิกษุทั้งหลายข้อปฎิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฎิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการนี่เอง แปดประการคืออะไรเล่า คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำงานที่ถูกต้อง การดำรงชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้องความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง...........ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือข้อปฎิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฎิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาน เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อ นิพพาน--มหาวาร.สํ.191/528/1664.:cool:
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญทำให้มาก โดยอาการที่พรห์มจรรย์(ศาสนา)นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย....................ภิกษุทั้งหลายธรรมเหล่าใด ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งพวกเธอควรเรียนเอาให้ดี เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้น คือ สติปัฎฐานสี่ สัมมัปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริมรรคมีองค์แปด................ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้แล คือธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งอันพวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่พรห์มจรรย์(ศาสนา)นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน และข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย---มหา.ที.10/140/107.:cool:
     
  18. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    คุณๆท่านๆทั้งหลาย กำลังจะบอกว่า พระสูตรที่ผมโพสต์เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ มิได้ทรงกล่าว
    หากเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว ก็ต้องเป็นธรรมที่มีความหมายเดียวกัน แต่ทำไมพระสูตรที่ผมลง
    จึงมีความหมายแตกต่างจากที่ท่านทั้งหลาย ยกมาเพื่อจะกลบผมล่ะ
    แสดงว่า...ท่านยังไม่เข้าใจว่า...พระพุทธองค์แสดงธรรมแก่บัวแต่ละเหล่าด้วยข้อธรรมที่แตกต่างกัน
    ท่านเป็นบัวเหล่าไหนล่ะ...ถึงมีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง...กับธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ง่ายๆตรงๆ เช่น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา คือความทุกข์หรือการปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง ตั้งอยู่ไม่ได้ย่อมดับไปโดยธรรมชาติของมัน และเป็นอนัตตาคือไม่มีตัวตนอยู่แล้ว
    แล้วท่านจะเข้าไปทำให้มันไม่ปรุงแต่ง ให้มันไม่เที่ยง ให้มันอนัตตาได้อย่างไรเล่า
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ........ก็ถ้าคุณเข้าใจแล้วว่า บัวมีหลายเหล่า แล้วจะทำให้มันเหมือน หรือเท่ากันไม่ได้อยู่แล้ว...แล้วที่คุณต้องการสื่อคืออะไร อยากให้บัวเลื่อนระดับขึ้นมาได้อย่างฉับพลันด้วยคำพูดที่คุณเข้าใจนะหรือ?....คุณอยากให้มันเป็นไปได้เลย หรือ แค่ แสดงเท่านั้นก็พอละ?....สำหรับผมก็ แค่ นำมาแสดงเฉย เฉยก็พอ:cool:
     
  20. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    อย่าออกนอกประเด็นเลยท่าน...พาเข้ามายิ่งเยอะยิ่งดี
    เข้ามาสนทนาธรรมกันในประเด็นนี้...มาอธิบายพระสูตรที่ผมโพสต์
    ว่า...ที่ไม่ตรงกับของคุณๆท่านๆ...เพราะพระพุทธองค์กล่าวผิด
    หรือคุณๆท่านๆ...เข้าใจผิดกันแน่...ของจริงต้องยกเหตุผล...ไม่ใช่มารุมกัน
    เถียงกันแบบปุถุชนน่ะ...เค้าเรียกโต้วาที
     

แชร์หน้านี้

Loading...