ถามเรื่องการกำหนดภาพพระ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย perawatza, 15 พฤษภาคม 2012.

  1. perawatza

    perawatza Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +209
    คือว่าเราต้องนั่งหายใจเข้า นะมะ หายใจออก พะทะ แล้วให้ได้สมาธิก่อนแล้วค่อยกำหนดภาพพระ หรือว่าทำควบคู่ไปเลยครับ อย่างไหนดีกว่าครับ
     
  2. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,849
    การกำหนดภาพพระนั้นจะให้ได้ผลดี ผมว่าต้องเลือกเอาภาพพระที่เราชอบใจที่สุดมาซักภาพ แล้วตั้งจิตเอาไว้ในใจเลยครับว่า จะไม่เอาภาพอื่น นอกจากภาพนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เทวดา นางฟ้า อะไรอื่นๆ ก็ตามแต่ที่แทรกขึ้นมา ก็จะไม่สนใจ เพราะสิ่งต่างๆที่ผุดขึ้นมาจากภาพที่เราตั้้งใจไว้แต่แรกแล้ว เป็นนิมิตร หลอกครับ หากภาพที่ผุดขึ้นไม่ใช่ภาพพระที่เราตั้งใจไว้ ให้เพิกภาพนั้นออกแล้ว ดูภาพพระนั้นใหม่ เอาให้่ฉ่ำ ใจ ทำไปเรื่อยๆภาพเลือนหายเมื่อไร ก็ลืมตาขึ้นมาดูใหม่ ทำจนจำภาพพระนั้น ได้ขึ้นใจ นึกเมื่อไร ก็ได้เมื่อนั้น


    โดยปกติ เวลาผมทำงานผมจะแบ่งความรู้สึกเอามาจับภาพพระ กับจับลม(อานาปานสติ)แล้วก็ท่องคาถาเงินล้านไปด้วย โลภไหมครับ?ไม่ใช่อะไรหรอกครับ เพราะได้กรรมฐานหลายกองดี (พุทธานุสติ+ อุปสมานุสติ+อานาปานสติ+ธรรมานุสติ) เอาซะหลายอย่างเลยครับ จะได้ช่วยคุมจิตไ่ม่ให้ฟุ้งไปที่อื่นจนเกินไปนัก

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->สมัยผมฝึกใหม่ๆ ก่อนผมจะนั่งกรรมฐาน ผมจะเพ่งภาพพระให้ ชุ่มใจ ก่อนซัก ๒-๓ นาที ก่อนจะ นั่งเอาขาขวาทับ ขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายตรง จิตตั้งมั่น แต่ไม่เกร็งจนรู้สึกปวด และไม่ปล่อยจนหลังงอ สบายๆ เพราะสมาธิจะเกิด ร่างกายเราต้องไม่เครียด และต้องไม่ทรมาน เนื่องจาก เวทนากิน มิฉะนั้นจะฟุ้งซ่าน และพาลให้เิลิกทำไปเพราะ ฉะนั้น เอาท่าที่เราสบายๆล่ะกันครับ ถนัดแบบไหน จะยืน เดิน นั่ง หรือ นอน ก็เลือกเอา


    แต่สำหรับผม ผมเลือกแบบนั่งครับ เพราะจะเข้าสมาธิได้ดิ่งดี หลังจากนั้นผมค่อยๆหลับตา สูดลมหายใจลึกๆแรงๆ ยาวๆ เพื่อ ปล่อยลมหยาบออกไปให้หมด ซัก ๓-๔ ครั้ง แล้วกำหนดภาพพระขึ้นมา อธิฐานให้ใส สว่าง เล็กสุด ใหญ่สุดจนเต็มฟ้า ให้เป็นร้อยๆองค์ ไปข้างหน้า ข้างบน ประทับบนไหล่ซ้าย ขวา อยู่ในอก นั่งบนหัว
    เอาให้ชุ่ม เอาให้พอ หลังจากนั้น ประคองภาพไว้ ให้องค์พระมานั่งอยู่ระดับสายตา อธิฐานให้ใหญ่พอระดับที่จะมองเห็นได้ทุกสัดส่วน พอดี เต็มองค์ หลังจากนั้น เริ่ม จับลมหายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนา(ใครใช้คำภานาแบบไหนก็ตามอัธยาศัยเลยนะครับ ส่วนผม ใช้ นะมะ พะธะ)

    ตอน หายใจเข้าพร้อมกับคำภาวนา ให้เอาความรู้สึกทั้งหมดและวิ่งตามลมมากระทบอก จบที่กระทบปลายจมูก
    ส่วนองค์พระกำหนดไว้ให้พอดีระดับสายตา ใหญ่เท่าระดับที่เรากำหนดไว้ตอนแรกก่อนที่จะเริ่มจับลมนั้น
    พอหายใจออกพร้อมคำภาวนาความรู้สึกไหลขึ้นมา กระทบจุดแรกคือ ท้อง ตามด้วย หน้าอก และสุดท้ายคือปลายจมูก(แบบที่ผมทำเขาเรียกว่าจับลมสามฐานครับ) และให้กำหนดเอาความรู้สึกว่าองค์พระวิ่งลงตามลมหายใจ จากตรงหน้าไหลมาอก และและองค์พระเริ่มเล็กลง และไปสุดที่สะดือ กลายเป็นองค์เล็กสุด สว่างเล็กๆอยู่ตรงนั้น

    หายใจ เข้า พร้อมคำภาวนา เอาความรู้สึกไหลตามลมหายใจ ให้องค์พระไหลตามขึ้นมาด้วยกระทบที่อก จบที่ปลายจมูก จนองค์พระใหญ่เท่าเดิมเริ่มแรกที่เรากำหนด

    พอหายใจออกพร้อมคำภาวนาความรู้สึกไหลขึ้นมา กระทบจุดแรกคือ ท้อง ตามด้วย หน้าอก และสุดท้ายคือปลายจมูก และให้กำหนดเอาความรู้สึกว่าองค์พระวิ่งลงตามลมหายใจ ไหลมาอก และเริ่มเล็กลง และไปสุดที่สะดือ กลายเป็นองค์เล็กสุด สว่างเล็กๆอยู่ตรงนั้น

    หายใจเข้าองค์พระใหญ่ระดับสายตา
    หายใจออก องค์พระเล็กสุด ไปอยู่ระดับจุดกำเนิดลมคือระดับสะดือ
    ทำ แบบนี้ติดต่อกันไปเรื่อย จนคำภาวนาหายไป จิตจะเริ่มรวมได้ กำหนดรู้ทั้งองค์พระและ ลมหายใจที่กระทบตลอดเวลา ถ้าเผลอ ไปคิดเรื่องอื่น ดึงกลับมาที่จุดเริ่มต้นใหม่



    ผม ทำแบบนี้ จนคำภาวนาหายไป ผมไม่สนใจ เอาจิตจับที่ลม กับองค์พระอย่างเดียว พอจิตนิ่งได้ที่ ผมจะมองเห็นลม วิ่งเป็นสายตามองค์พระขึ้นมาเลยครับ จนในที่สุด จับลมได้แผ่วๆ องค์พระเป็นประกายใส สว่างไสว ไหลเข้าไหลออกอยู่อย่างนั้น ทีนี้นึกครึ้มอก ครึ้มใจ ก็ให้ไปสว่างบนหัวบ้าง ตรงไหล่ ทั้งสองข้างบ้าง ข้างหลังบ้าง เรียกว่า เอาให้ครบทั้ง ๓๖๐ องค์ศาเลยครับ
    พอจิตนิ่งดีแล้ว จะรู้สึกว่า มันสว่างจ้าเหมือน กับ เอากระจกมาส่องพระอาทิตย์นั้นล่ะครับ แต่ไม่รู้สึกแสบตา องค์พระใสดีจนเป็นประกายระยิบระยับ ทีนี้ผมไม่ให้องค์พระไหลแล้วครับ กำหนดให้ท่านนั่งอยู่ตรงหน้า อย่างนั้นในระดับสายตาพอดี พร้อมกับความโพรงของจิต ที่มันรู้สึกได้ เหมือนกับมันสว่างๆไปหมด ลมหายใจแผ่วแทบไม่รู้สึก แขน ขา หายไป (หากอยากรู้ว่า ประสาทกับกายแยกกันรึยังให้ลองกำหนดขยับนิ้วดู ถ้านิ้วยังขยับอยู่แสดงว่ายังใช้ไม่ได้ ถ้า นิ้วไม่ขยับแสดงว่า ประสาทแยกกับกายสิ้นเชิงแล้ว ถือว่าใช้ได้)
    ทรง อารมณ์แบบนั้นให้นานที่สุดครับ จะรู้สึกถึง ความว่าง สว่าง จิตรวมเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีวอกแวกเรื่องอื่น พอจิตมันอิ่มได้ที่แล้ว มันจะคลายตัวของมันเอง ให้ลองกำหนดจิตให้เห็นคำภาวนาใหม่ จับที่ลมหายใจใหม่ พร้อมกับกำหนดภาพพระใหม่ เหมือนซักซ้อม ฌานเพื่อให้เกิด วสี คือความคล่อง ในการ เข้าออก ฌาน
    ผมเข้าใจตามความรู้สึกของผมอย่างนี้ครับ
    ฌาน๑ วิตก วิจาร์ณ ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกว่าหายใจเข้าหรือออก ทั้งคำภาวนา และภาพพระ[FONT=&quot]

    [/FONT]
    ๒. วิจารณ์ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่าเราหายใจเข้าหรือหายใจออก[FONT=&quot]
    [/FONT]
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้นหายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือหายใจเข้า[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อยหายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก[FONT=&quot]
    [/FONT]
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไรมีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิมภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำดังนี้เป็นต้น อย่างนี้[FONT=&quot]
    [/FONT]
    เรียกว่า วิจาร[FONT=&quot]ณ์
    [/FONT]
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีตซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียงเสียงก็ได้ยิน[FONT=&quot]
    [/FONT]
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่โดยไม่รำคาญในเสียง[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้วตามปกติจิตย่อมสนใจ[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียงแต่พอจิตเข้าระดับ[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ[FONT=&quot]
    [/FONT]
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌานที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง
    ซึ่งเรามีครบหมดทุกองค์ประกอบ
    ฌาน๒. คำภาวนาหายไป มีบ้างที่กลับมา ลมหายใจแผ่วๆ ลงภาพพระชัดเจนขึ้น ได้เสียงข้างนอกอยู่แต่ไม่รำคาญ ครับ
    ฌาน๓ ลมละเอียดมากขึ้น คำภาวนาหายไปสิ้นเชิง ภาพพระแจ่มใสขึ้นกว่าเดิมจนเกือบจะเป็นประกายพรึก มีแสงแวปๆบ้าง
    ฌาน๔ แทบจะจับลมหายใจไม่ได้ แขน ขาหายไป เหลือเพียงจิตดวงเดียว สว่างโพลง แต่ไม่รู้สึกแสบตา ภาพพระเป็นประกายพรึก แจ่มใสขีดสุด
    ผมลองกำหนดคำภานาขึ้นมาจดจ่ออยู่กับคำภาวนา สักพัก คำภานาก็หายไปเหลือแต่จิตดวงเดียวเหมือนเดิม คือผมพยายามจะไต่ระดับจาก ฌาน๑-๔เพื่อฝึกความคล่องตัว(วสี) เริ่มสนุกครับ มันส์ดี ไม่รู้สึกเบื่อเลย

    พอกำหนดให้มาอยู่ ฌาน๔ มากๆ จิตมันจะเริ่มอิ่มตัว มันจะคลายของมันเอง
    ตอนนี้ล่ะครับ ก่อนที่มันจะคลายมากกว่านี้ ผมก็กำหนดจิตไปกราบพระบนนิพานเลยเอากำไรไว้ก่อน ฮ่าๆ เดี๋ยวจะขาดทุน

    พอจิตมันถึงจุดของมัน มันจะอิ่มตัวเอง แล้วมันจะคลายตัวออกมาเอง พอจิตคลาย เวทนาเริ่มกินล่ะ ไอ้ตอนที่จิตเริ่มคลายนี่ล่ะครับ เป็นช่วงสำคัญ เนื่องจากจิตจะมีกำลังมาก หากไม่จัีบวิปัสสนา มันจะกลายเป็นไปกำลังให้กิเลสไป ให้จับวิปัสสนาเลยครับ จะ
    จับอริยสัจ หรือวิปัสสนาญาณ๙ ก็ตามแต่อัธยาศัยของแต่ล่ะท่าน แต่สำหรับผม ผมจะจับอริยสัจทันทีที่จิตเริ่มคลายตัว เริ่มจาก


    ทุกข์
    ไอ้ความรู้สึก ปวดนี่ล่ะ ปวดแข้ง ปวดขา ปวดหลัง โอ๊ย สารพัดปวด ตอนนี้ท้องเริ่มร้อง เพราะหิว เริ่มเห็นตัวทุกข์ชัดเจน
    สมุทัย เหตุที่ทุกข์ เพราะมันมีร่างกายนี่ล่ะ เจ็บแข้งปวดขา ปวดหลัง อยู่นี่ ก็เพราะร่างกายตัวเดียว นอกจากมันจะทุกข์แล้วมันยังจะแก่ ไม่มีความสวยความงาม มีแต่เจ็บไข้ได้ป่วย แถมยังไม่รู้จักบุญคุณเราอีก เวลามันตายก็ห้ามมันให้ตายไม่ได้
    นิโรธ คือสภาพที่หายจากทุกข์ ก็ตอนที่ไปกราบพระบนนิพานนี่ล่ะครับ จิตมันสุขอย่าบอกใครเชียว สงบ สะอาด สว่าง เบาสบายไปหมด
    มรรค อันนี้ก็ชัดเจนอยู่แล้ว ทางดับทุกข์ อันประกอบด้วย องค์แปดประการ เริ่มแรกเลย


    สัมมาทิฏฐิ
    เห็นชอบเห็นชอบอะไร[FONT=&quot]? [/FONT]ก็เห็นว่า พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์มีจริงน่ะสิเห็นอริสัจที่ พระพุทธองค์ตรัสรู้ แล้วนำมาสั่งสอนให้พวกเราได้รู้อยู่นี่ไง
    สัมมาสังกัปปะ
    คืออะไรคือการดำริชอบ การคิดชอบนั่นเอง ก็เหมือนกับที่พวกท่านกัลยามิตรทั้งหลายนี้ กำลังมีความคิดที่ถูกต้องแล้ว เช่นการคิดจะทำความดี สั่งสมบุญบารมี ทำตรัยสิกขาให้ถึงพร้อมทำบารมีสิบให้ครบถ้วน แม้ไม่ได้บวชกาย แต่เราก็บวชด้วยใจ
    สัมมากัมมันตะ
    การประพฤติชอบอันนี้ พวกเราก็รู้แล้วไม่ต้องคุยกันมาก บุคคลที่สั่งสมบุญย่อมรู้ว่าอะไรควรไม่ควรอยู่แล้ว
    สัมมาวาจา
    คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ ไม่พูดเพ้อเจอ ส่อเสียด โกหก หยาบคาย ผมว่าปิยะวาจา คือสิ่งที่บ่งบอกว่าเราถูกอบรมเีลี้ยงดูมาแบบไหนนะครับ

    สัมมาอาชีวะ
    คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ มากเกินไป
    สัมมาวายามะ คือ ความเพียร เพียรจะทำแต่สิ่งที่ดีๆ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์ ผมว่า หลายคนในที่นี้มีเต็มเปี่ยมแล้ว

    สัมมาสติ
    คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นประจำ อันนี้สำคัญนะครับ เป็นตัวยับยั้งอกุศลกรรมทั้งปวง

    สัมมาสมาธิ
    คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ อันนี้เราทำกันประจำยิ่งคนได้มโนมยิทอย่างท่านในที่นี้หลายคนๆ ผมว่า คงไม่เคยขาดกัน ยิ่งเจริญมากเท่าไร ยิ่งดีครับ

    สรุปง่ายๆคือ มรรคแปด แยกย่อยได้ เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ครับ

    ผมคงไม่อธิบายยืดยาวมากมายครับ เดี๋ยวจะกลายว่าเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน คิดว่าหลายๆท่านคงจะทราบดีกันอยู่แล้ว
    เจ้าของกระทู้ ลองพิจารณาดูก็ได้นะครับ อันไหนที่ถูกจริต ก็ลองดู แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องทำให้ต่อเนื่อง ทำเป็นประจำ อย่าให้ขาด ทำให้เป็นฌาณ อันนั้นล่ะครับจึงจะเกิดผล สมาธิจึงจะเกิด แล้วสิ่งที่ไม่เคยรู้ ก็จะรู้ สิ่งที่ไม่เคยเห็นก็จะเห็น เรื่องนี้เป็นปัจจัตตังครับ ทำเองรู้เอง

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2012
  3. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    กำหนดภาพพระให้ใช้นึกภาพเอาครับ เหมือนเรานึกถึงบ้านเราก็เห็นภาพแบบ
    นั้น เรามองรูปพระแล้วก็นึกขึ้นมาครับ ไม่ใช่ไปวาดรูปในใจ นึกเหมือนบ้าง ไม่
    เหมือนบ้าง พอฝึกบ่อยๆ รายละเอียดจะมาเอง จับแล้วนึกภาพพระใสเป็นแก้ว
    ประกายพฤกษ์ พออารมณ์ใจของเราเบา สบาย เบิกบานความรู้สึกก็เป็นทิพย์
    แล้ว ถ้าครูฝึกถามมาตอนนี้จะตอบคำถามโดยใช้ความรู้สึกแรกได้ ส่วนการขึ้น
    ไปข้างบนใช้การขอบารมีพระสงเคราะห์ครับ
     
  4. อากาสดีมาก

    อากาสดีมาก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +32
    ขอบคุณนะคะที่นำธรรมะ ดีดี มาบอก

    ขอโมทนาด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...