ขอคำแนะนำในการสวดมนต์ทำสมาธิ ทุกๆวันพระด้วยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย TanaDream, 13 พฤษภาคม 2012.

  1. TanaDream

    TanaDream Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +36
    ผมเพิ่งจะเริ่มหัดทำสมาธิครับ
    แต่วันพระอยากจะถือศีลด้วยแบบจริงๆจังๆ (ศีล8)
    ใครมีคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นอย่างผมบ้าง รบกวนด้วยนะครับ

    อนุโมทนา
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]




    เรื่องของน้ำปานะ



    น้ำปานะ คือ เครื่องดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ ท่านจัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่ร้บประเคนไว้แล้ว ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถือเอาใจความง่าย ๆ ก็คือ ของที่ฉันได้หลังเที่ยงไปแล้วนั่นเอง หรือ ฉันได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งอรุณ



    ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องน้ำปานะ ก่อความกังวลใจให้แก่ชาวพุทธพอสมควร เพราะมีเครื่องดื่มเกิดขึ้นมากมายล้วนแต่ไม่มีในสมัยพุทธกาล แต่เราก็อาศัยเปรียบเทียบเอาจากมหาปเทศฝ่ายพระวินัยได้
    แต่ถึงอย่างนั้น ในวงพระเองก็ยังมีการตีความไม่ตรงกัน เช่น นมสด พระฝ่ายมหานิกายก็ว่าฉันได้ แต่พระฝ่ายธรรมยุตว่าฉันไม่ได้ แต่ก็ฉันเนยแข็งที่ทำจากนมสดได้มันก็ชอบกลอยู่


    ผู้ที่เป็นต้นบัญญัติ ให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรก ก็คือ เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก พระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ในที่นั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงน้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบานไว้ 8 อย่าง ดังนั้น



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 51.64%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="51%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">1. น้ำมะม่วง


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">2. น้ำลูกหว้า</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">3. น้ำกล้วยมีเมล็ด</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">4. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">5. น้ำมะทราง</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">6. น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">7. น้ำเง่าบัว</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">8. น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่</B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>


    ถ้านับเรียงชนิดก็เป็น 10 ชนิด แต่จริง ๆ แล้วมีมากกว่านี้แยะ เพราะทรงอนุญาตเพิ่มเติมไว้อีก ดังนี้
    ทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
    ทรงอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง
    ทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด


    ถ้าจะพิจารณากันตามพระพุธานุญาตในตอนท้ายนี้แล้ว ก็น่าจะตีความได้กว้างขวางมาก กล่าวคือ ถ้าเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือกและน้ำดอกมะทรางแล้ว อย่างอื่น ๆ ก็น่าจะฉันได้หมด


    ที่มีปัญหามากก็เรื่องนมสดและน้ำเต้าหู้ ที่ทำจากเมล็ดถั่วเหลือง น้ำถั่วเหลืองนี้ แม้ในฝ่ายพระมหานิกายบางพวกก็ไม่ฉัน และผู้ที่ตีความค่อนข้างเคร่งก็เป็นพระฝ่ายปฏิบัติ หรือพระกรรมฐาน ส่วนพระตามวัดทั่วไป ท่านก็ฉันได้ทุกอย่าง ขอให้โยมเอามาประเคนเถอะ แม้แต่นมข้น (มีแป้งผสมอยู่ด้วย) ชงโอวัลตินหรือไมโล ท่านก็ไม่รังเกียจ


    ก่อนที่จะคุยกันเกี่ยวกับน้ำปานะต่อไป ควรจะมาดูหลักฐานกันก่อน ว่าเรื่องน้ำปานะนี้ มีหลักฐานในที่ใดบ้าง ? ที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นพระพุทธบัญญัติจากพระวินัย แต่ยังมีหลักฐานในพระสูตรอีกแห่งหนึ่ง คือเล่มที่ 29 ข้อ 7 ดังนี้



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 64.02%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="64%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">1. น้ำผลสะคร้อ


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">2. น้ำผลเล็บเหยี่ยว</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">3. น้ำผลพุทรา</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">4. น้ำมัน (งา)</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">5. น้ำเปรียง</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">6. น้ำข้าวยาคู (รสเปรี้ยว)</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">7. น้ำนม</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">8. น้ำปานะที่ทำด้วยรส (ผักหรือผักดอง)</B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>



    จากมังคลัตถทีปนี (แปล) เล่ม 3 ข้อ 8 ดังนี้



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 64.02%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="64%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">1. น้ำผลเล็บเหยี่ยว


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">2. น้ำผลพุทราเล็ก</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">3. น้ำผลพุทราใหญ่</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">4. น้ำเปรียง</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">5. น้ำมัน</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">6. น้ำนม</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">7. น้ำยาคู</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">8. น้ำรส </B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>

    ข้อที่ควรคิด ก็คือ คำว่า น้ำนม หรือ นมสด จะเป็นนมสดจากเต้า หรือจากกล่องก็ตาม พระเณรหรือผู้ถืออุโบสถ ฉันหรือดื่มหลังเที่ยงได้หรือไม่ ?


    ผู้เขียนเคยถามอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก และอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านว่าฉันได้ ถ้าใครว่าฉันไม่ได้ ให้ลองถามท่านผู้รู้ดูทีหรือว่า คำว่า ปโยปานัง แปลว่าอะไร ?
    ศัพท์ที่ว่า ปย หรือ ปโยปานํ ท่านแปลว่า น้ำนม ถ้าไม่ใช่นมสดแล้วจะเป็นนมอะไร ? ที่ควรพิจารณาก็คือมีหลักฐานในที่ 2 แห่ง คือ ทั้งในพระไตรปิฎก และในมงคลทีปนี ดังที่บอกไว้แล้ว


    เดิมที่ผู้เขียนก็ไม่ฉันนมสด เพราะเหตุว่าไม่พบหลักฐาน แต่เมื่อเห็นว่ามีหลักฐานบ่งไว้ชัด ๆ ก็เลยฉันมาตลอด แต่ ที่น่ารังเกียจก็คือ นมข้นหรือหางน้ำนม ซึ่งมีแป้งผสมอยู่ด้วย และไมโลหรือโอวัลติน ซึ่งมีไข่ผสมอยู่ด้วยกับน้ำเต้าหู้ ซึ่งบางท่านว่าฉันไม่ได้


    ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องดื่มออกมาใหม่ ๆ แปลก ๆ แยะ ถ้าเราไม่รู้จริงในส่วนผสม หรือในพระวินัย ก็ไม่ควรจะดื่ม ถ้าเกิดมีการหิวกระหาย ก็ยังมีทางบรรเทาได้ เช่น น้ำตาล เป็นต้น แก้หิวได้ดีนัก การอ้างเพียงแต่ว่า องค์โน้นท่านยังฉันได้ สำนักนี้ก็ฉันได้ ไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะเกิดค่านิยมทำตาม ๆ กันไป แล้วแก้ภายหลังยาก เพราะความเคยชิน ควรจะคำนึงถึงพุทธบัญญัติเป็นหลัก


    พระพุทธองค์ทรงทราบดี ว่าการทรมานร่างกายเกินไปหรือการบำรุงจนเกินไป จะเป็นผลเสียทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การเดินสายกลาง คือไม่ตึงนักและไม่หย่อนนักย่อมจะสำเร็จประโยชน์ได้เร็วกว่า
    ถ้าเกิดว่า มีความสงสัยในข้อใดหรืออะไร ? เราควรจะศึกษา หรือสอบถามท่านผู้รู้ก่อน ยึดหลักฐานจากพระไตรปิฎกไว้ก่อนเป็นดีที่สุด จะได้ไม่ก่อปัญหา หรือความขัดแย้งตามมาในภายหลัง


    ข้อน่าสังเกต ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนใคร่ขอฝากความเห็นเกี่ยวกับพระวินัย และการตีความไว้สักเล็กน้อยว่า เป้าหมายหลักในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธองค์นั้น ผู้เขียนจับพระพุทธประสงค์ได้ว่า ทรงมุ่งเป้าไว้ 3 จุดใหญ่ คือ


    1. เพื่อมิให้ชาวบ้านรังเกียจ หรือติเตียนพระเป็นใหญ่
    2. เพื่อให้พระเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน
    3. เพื่อมิให้เกิดการขัดแย้งกันเองภายในหมู่สงฆ์



    ในข้อหนึ่ง เราจะเห็นตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมากมาย ที่พระทำอะไรแล้วชาวบ้านไม่รังเกียจ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงบัญญัติเป็นข้อห้าม แต่ถ้าสิ่งใดชาวบ้านตำหนิแล้วก็จะทรงบัญญัติห้ามในทันที


    ในข้อสอง พระต้องพึ่งชาวบ้าน ต้องฝากปากท้องเขาอยู่ ถ้าเขาไม่เลื่อมใสในสิ่งใด ? พระไปทำเข้าก็เกิดปัญหา เขาไม่ศรัทธา พระก็อดตายแน่


    ในข้อสาม ความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนายิ่งนัก เพราะถ้าภายในสงฆ์แตกกันเสียแล้ว ศาสนาก็อยู่ไม่ได้


    ในอดีตที่ผ่านมา ความแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ส่วนมากจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แล้วกลายมาเป็นการแยกพวกแยกหมู่กัน เป็นเรื่องที่ไม่ควรให้เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก ทางที่ดีและถูกต้องนั้น ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เราทำแล้วหรือยังไม่ทำก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจ่ว่าจะถูก ก็ควรค้นดูหลักฐานพระพุทธบัญญัติก่อน ถ้าหาไม่พบหรือไม่แน่ใจ ก็ควรที่จะสอบถามท่านผู้รู้


    การที่เราไม่รู้ และขืนทำไปก่อนนั้น ย่อมจะเกิดผลเสียอย่างน้อย 2 ประการ คือ


    1. ทำให้ท่านผู้รู้รังเกียจ และดูหมิ่นเอาได้ ว่าเราไม่มีความรู้ เมื่อไม่รู้แล้ว ก็ไม่ยอมศึกษาหรือสอบถามอีกด้วย เป็นเหตุให้บัณฑิตไม่อยากคบหาเรา


    2. มักจะเกิดการเคยตัว และเคยชินจนติดเป็นนิสัย แม้จะรู้ว่าผิดในภายหลังก็แก้ยาก เพราะการตามใจกิเลสตัณหานั้น มีแต่จะพอกพูนยิ่งขึ้น ได้ที่จะเบาบาง หรือหมดไปนั้น อย่าคิดเลย


    ดังนั้น ทางที่ดีและถูกต้องในการบวช ควรจะตั้งเป้าไว้ที่การศึกษาก่อนอื่นใด คือก่อนที่จะลงมือปฏิบัติทางจิต เพราะถ้าบวชแล้วไปปฏิบัติในทันที มันจะเบื่อการเรียนหรือบางทีก็นึกรังเกียจพวกที่เรียนปริยัติ หาว่าเป็นพวกในลานเปล่า



    แน่นอน, ถ้าเรียนรู้แล้วไม่ปฏิบัติ มันก็เป็นพวกใบลานเปล่าแน่ และในทำนองเดียวกัน การปฏิบัติโดยไม่เรียน มันก็มีผลเสียอย่างน้อย 2 อย่าง คือ อาจทำให้หลงผิด หรือปฏิบัติผิด เมื่อปฏิบัติผิดมรรคผลก็ไม่เกิด และอาจทำให้ล่าช้า หรือติดอาจารย์ได้ง่าย คือติดในทางผิดๆ แต่ถ้าเรายึดพระพุทธพจน์ พระไตรปิฎกไว้ก่อน โอกาสที่จะเสี่ยงหรือผิด ก็เป็นไปได้ยาก หรือไม่มีเลย เพราะพระไตรปิฎกผ่านการกลั่นกรองมามาก และเป็นที่รับรองกันทั่วโลก.



    ข้อมูล: หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับเก็บตก" จัดทำโดย ธรรมรักษา



     
  3. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ว่าแต่จำศีล8 ได้ครบทุกข้อยัง???

    จขกท.;ผมเพิ่งจะเริ่มหัดทำสมาธิครับ
    ตอบ; ไม่ต้องรีบ ทุกคนที่เข้ามาอ่านเว็บนี้ก้อยากจรีบทำสมาธิเกือบทุกคน
     
  4. wineice

    wineice Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +69
    อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
    นอกเหนือจากวันพระ ควรถือศีล 5 เป็นอย่างน้อยด้วยนะคะ
     
  5. บารมี 10

    บารมี 10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +1,072
    - ขอแนะนำให้เตรียม น้ำปานะ ไว้รับประทานช่วงเย็นหรือก่อนสวดมนต์และปฏิบัติธรรมด้วยครับ

    - เพราะเรากินมื้อเย็นสัปดาห์ละ ๖ วันแล้วมาหยุดกินวันพระเพียง ๑ วัน

    - พอถึงเวลาที่เคยกินมื้อเย็นในวันพระกระเพาะของเราจะโหยหาอาหาร
    (โอ้โฮหิวจริง ๆ นะท่าน)

    - ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ ขออนุโมทนาสาธุด้วย
     
  6. thammakarn

    thammakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +376
    สู้ สู้ เริ่มทำอะไรใหม่มันก็ยากทั้งนั้นแหละ แต่เมื่อผลที่เป็นความร่มเย็นใจปรากฏ จะได้กำลังใจขึ้นอีกเยอะเลย
     
  7. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    แนะนำลองเข้าไปฟังการอธิบายวิปัสนาของ ท่านเจ้าคุณโชดก ค่ะ
    ตามลิ้งค์นี้นะคะ ท่านอธิบายได้อย่างละเอียดมากๆ


    วิปัสสนาที่ถูกต้อง พระอาจารย์โชดก
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=OMbAwrUSMmo&feature=related]วิปัสสนาที่ถูกต้อง พระอาจารย์โชดก - YouTube[/ame]


    ท่านเจ้าคุณโชดก สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=tB1tH3daPs4]ท่านเจ้าคุณโชดก สิ่งที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง - YouTube[/ame]

    ธรรมะ 68 เทศน์ลำดับญาน (วิปัสสนาญาณ 16)
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=iteNBUS41qU&feature=related]ธรรมะ 68 เทศน์ลำดับญาน (วิปัสสนาญาณ 16) - YouTube[/ame]
     
  8. รัตนหงษ์

    รัตนหงษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +48
    เรื่องการถือศีล8ค่ะ

    ขออนุโมทนาบุญกับเจ้าของกระทู้ด้วยนะค่ะ
    สำหรับตัวข้าพเจ้าเองก็เช่นกัน อธิฐานจิตถือศีล 8 3เดือนต่อจากนี้(ทุกวัน)ถวายพุทธบูชาในปีมงคลครบรอบ 2600ปีพุทธชยันตีค่ะ เพราะคิดว่าไม่งั้นคงต้องรออีก100ปีกว่าจะบรรจบอีกครั้งเลยตั้งใจมาก
    รักษาศีล8ทุกวัน(ในเพศฆราวาส)ต้องไปทำงานทุกวัน แต่ถือตามศีลทุกข้ออย่างเคร่งครัด บริจาคทานด้วยทุกๆวันตามกำลังสมควร พร้อมทั้งอธิฐานจะนั่งสมาธิภาวนาอย่างน้อยวันละ10นาทีเป็นอย่างน้อยทุกวัน
    ทำแล้วรู้สึกดี เพราะเราตั้งใจมุ่งมั่นเป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้นะค่ะ
    การพิจารณาความบริสุทธิ์ของศีล ดูที่เจตนาเป็นสำคัญ
    พิจารณาทุกๆวันว่าวันนี้เรา
    รักษาทาน ศีล และภาวนาได้บริสุทธิ์มากน้อยแค่ไหน
    เป็นกำลังใจให้ค่ะ.....บุญรักษาค่ะ ไม่มีกลิ่นใดหอมเท่ากลิ่นหอมของศีลค่ะ
     
  9. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    กำลังคิดจะเริ่มรักษาศิล 8 ทุกวันพระเหมือนกันค่ะ
    พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาฝากค่ะ
    http://palungjit.org/threads/การรักษาศีล-๘-และโทษของอาหารมื้อเย็น.298994/
     
  10. Unlimited Indy

    Unlimited Indy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,228
    ค่าพลัง:
    +803
    ขออนุโมทนาบุญกับการปฏิบัติธรรมด้วยนะครับ เจริญในธรรม
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ศึกษาคุณประโยชน์ของศีลให้เข้าใจก่อน

    ว่าล่วงศีลแล้วเป็นโทษ เป็นภัยอย่างไร

    จะได้เข้าใจเหตุที่รักษานั้นเป็นเหตุให้เกิดอะไร และเป็นเหตุให้อะไรไม่ได้ช่อง

    เมื่อพิจารณาเข้าประโยชน์ดีแล้ว อยู่ที่ไหนก็ไม่สงสัยในศีล ไม่ถือเอาเข้มขลัง ไม่ถือเอาพิธีรีตรองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...