ปรัชญาแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (มหายาน-วัชรยาน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 14 มกราคม 2012.

  1. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประทีปแห่งมหามุทรา : ภาคที่สาม ผลมหามุทรา ตรีกายแห่งพุทธะ

    [​IMG]

    เหตุแห่งความบรรลุถึงตรีกาย


    ผลจากความมุ่งความสนใจที่ความว่างแห่งมหามุทราในขณะปฏิบัติ ตามมรรคคือการบรรลุถึงธรรมกาย ผลชั้นรองหรือแง่มุมจากมรรคคือ เธอบรรลุถึงนิรมาณกาย โดยพลังแห่งการพัฒนาโพธิจิต สร้างแรง บันดาลใจ หรืออื่น ๆ เธอบรรลุถึงสัมโภคกายเพราะเหตุคือฝึกปฏิบัติ ภาวนาขั้นรากฐาน โดยพลังความเพียรในการปฏิบัติเหล่านี้ ไม่สะเปะ สะปะ แต่เป็นเอกภาพระหว่างวิธีและปัญญา ความบริสุทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ สามประการ เธอจะได้รับความมั่นคงในแก่นแท้ซึ่งกายทั้งสามไม่แยก จากกัน


    ตรีกายที่อธิบายที่นี่เช่นเดียวกับ การแบ่งเป็นกายสี่ กายห้าเป็นสิ่งเดียว กันแต่มีหลากหลายชื่อ เพราะมีหน้าที่หรือองค์คุณต่าง ๆ กัน พูดสั้น ๆ มันไม่ได้เป็นสิ่งอื่น ๆ นอกเสียจากแก่นแท้ที่มีอยู่ ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ในจิตของเธอ ซึ่งเมื่อบรรลุถึงผล มันก็ชื่อว่า ตรีกาย







    สรุป



    ในบริบทนี้ ยานแห่งเหตุและตันตระต่ำมีระบบและคำอธิบายมากมาย ซึ่งล้วนแต่ผูกติดกับหลักธรรมเฉพาะของตน เช่นเดียวกับคำกล่าวอ้าง เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ หรือเจตนาที่ไม่เปิดเผย เช่น ธรรมกายมีมือ และแขนหรือไม่ ภพภูมิเหล่านี้สามารถแสดงให้เห็นได้หรือไม่ หรือ พระพุทธเจ้ามีปัญญาที่เป็นกระแสที่เฉพาะของพระองค์เองหรือไม่ หรือ รูปกายทั้งสองมีความรู้สึกเหมือนเป็นบุคคลหือไม่ และอื่น ๆ ข้อถกเถียง ต่าง ๆ เหล่านี้ รวมทั้งข้อพิสูจน์และข้อหักล้างดูซับซ้อนมาก แต่ขณะที่ หัวข้อต่าง ๆ เหล่านี้ดูเหมือนใช้ได้ ในบริบทของมันเอง ธาตุแท้หรือ หัวใจแห่ง ( มรรค ) ยาน บุคคลไม่จำเป็นต้องขึ้นกับการตั้งหลักธรรม แห่งยานชั้นต่ำ


    ความหมายในที่นี้คือ " กลมกลืนกับบุคคลชั้นสูงกว่า " ความหมายนี้ มุ่งสู่อะไร ไม่ต้องซาบซึ้ง ไม่ต้องยึดติด ไม่ต้องหักล้าง และไม่ต้อง ชี้ขาดลงไปว่า ปรากฏการณ์ใดทั้งสังสารและนิพพาน ปรากฏการณ์ และความดำรงอยู่ ว่าเป็นจริงหรือไม่จริง ดำรงอยู่หรือไม่ดำรงอยู่ เกิดหรือดับ มาหรือไป สัสสตะหรืออุจเฉทะ ผู้ที่ยึดถือข้างไม่ดำรงอยู่ สุดโต่งไปด้านอุจเฉทะ ผู้ยึดถือข้างดำรงอยู่สุดโต่งไปข้างสัสสตะ ความคิดว่า " สิ่งทั้งหลายไม่ใช่ทั้งดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่ " ก็ยังไม่พ้น จากความคิดปรุงแต่ง ดังนั้น ถ้าบางสิ่งดำรงอยู่ในประสบการณ์ของ บางคน จงปล่อยไปอย่างนั้น เพราะสัญญาที่ไม่ถูกขัดจังหวะยังไม่หมด กำลัง และการประจวบกันของเหตุปัจจัยยังไม่ล้มเหลว ถ้าบางสิ่ง ไม่ดำรงอยู่ในสัญญาของบางคน จงปล่อยไปเช่นนั้น เพราะโดยแก่นแท้ แล้ว มันไม่ได้เคลื่อนออกจากความว่าง ธรรมชาติที่เป็นเจ้าของสิ่งใด ไม่ได้เลย ถ้าบางสิ่งไม่ได้ดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่ จงปล่อยให่เป็นอย่าง นั้น ในฐานะที่มันไม่ได้สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง และมันก็ไม่ได้เข้า กับการจำแนกแบบใดแบบหนึ่ง


    ทุกสิ่งที่ปรากฏเป็นโลกภายนอกและสรรพสิ่งถูกสำคัญมั่นหมายโดย ความเคยชินและประสบการณ์แห่งกรรมของสรรพสัตว์ที่เศร้าหมอง เป็นวัตถุและธาตุทั้งห้าที่เป็นตัวตน ผู้ปฏิบัติตามมรรคสำคัญว่าเป็นการ แสดงของจิตของตน พระพุทธะและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายสำคัญหมาย ว่าเป็นการแสดงออกแห่งชั้นภูมิแห่งการตื่นรู้ ท้ายสุดทุกสิ่งไม่มีอะไร มากไปกว่าการแสดงออกอย่างมหัศจรรย์ของภาวะที่แท้ของจิต


    ทำนองเดียวกัน พฤติกรรมการรับรู้ภายในและความคิดของจิตสำหรับ สรรพสัตว์ที่เศร้าหมองและหลงอยู่คือ ธรรมชาติของกรรม อารมณ์ ยุ่งเหยิง และความเคยชินตามนิสัย สำหรับผู้ปฏิบัติตามมรรคการรับรู้ คือแง่มุมต่าง ๆ ของหลักธรรมและการภาวนา ประสบการณ์และการ รู้แจ้ง ท้ายสุดสำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย การรับรู้คือการแสดงออก ด้วยความฉลาดแห่งปัญญาและกรุณา


    แม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างแม้เพียงน้อยนิดในธรรมชาติแห่ง " มูลฐาน " ความแตกต่างขึ้นอยู่กับว่ามัน ( มูลฐาน ) ถูกห่อหุ้มด้วยความมืดมัวเพราะ มโนคติ ( เช่นในกรณีของสรรพสัตว์ ) หรือไม่ มันถูกปกคลุมเล็กน้อย ( เช่นในกรณีของผู้ปฏิบัติตามมรรค ) ด้วยหรือไม่ หรือมันเป็นอิสระจาก ความมืดมัว ( เช่นในกรณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย )


    ประเด็นสำคัญสุดคือผ่อนคลายสู่ภาวะแห่งมหามุทรา จิตที่ไร้การปรุงแต่ง ของเธอ แก่นแท้แห่งธรรมชาติที่ไม่เคยมีสิ่งใดอยู่เหนือกว่า ไม่มีทั้งใน ปัจจุบันและจะไม่มีในอนาคต ทั้งแก่นแห่งมูลฐาน มรรคและผลและเอก ภาพแห่งกายทั้งสอง หรือความแบ่งแยกไม่ได้แห่งกายทั้งสาม


    ผู้ที่ขยายหรือลดทอน อสังขตธรรมด้วยสติปัญญาชนิดสังขตะ ผู้ผูกพันอยู่ กับความจำกัดของถ้อยคำและข้อโต้แย้ง ขณะที่ยึดติดกับสำนักปรัชญาแบบ แบ่งแยก คือทารกอ่อน ผู้พยายามจับฉวยขอบเขตของท้องฟ้า ดังนั้น จงพัก อยู่ในธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่ง ซึ่งยิ่งใหญ่ไพศาลไร้ขอบเขต จึงไม่ต้อง สงสัยว่า ด้วยมโนคติแห่งทางและผู้เดินทาง เธอจะหลุดพ้นสู่ธรรมชาติแห่ง ผล ซึ่งประกอบด้วยโยคะสี่ ภูมิทั้งสิบ มรรคทั้งห้า และกายทั้งสาม
     
  2. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    [​IMG]


    ปัจฉิมกถา


    ธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นอิสระแต่เริ่มต้น
    พุทธภาวะแห่งตรีกายซึ่งดำรงอยู่เองตามธรรมชาติ
    ในสรรพสัตว์แม้เล็กสุดเท่าแมลง
    ดำรงอยู่เสมอไม่แยกออกไปได้แม้มืดมัวด้วยอวิชา

    ธรรมทาวรมากมายเท่าปริมาณแห่งสรรพสัตว์ผู้ฝึกได้
    ใช้สอนเพื่อฝึกสรรพสัตว์
    เขาหลงอยู่ในสัญญาวิปลาส
    ในมรรคที่จับฉวยมาผิด ( ผู้อยู่ในโลกธรรม )
    มรรคที่ผิด ( พวกพาหิรลัทธิ )

    และพวกถูกล่ามด้วยมรรค ( พวกตันตระชั้นต่ำ )
    ที่จะเดินไปตามมรรคอันเยี่ยมช่างหาได้ยากนัก
    ราวกับดอกอุทุมพร

    ถูกมัดด้วยความสุดโต่งขณะอยู่เหนือความโต่ง ( หลักธรรม )
    โดยไม่ตระหนัก เปรียบเสมือนกับทรัพย์ของคนจน
    ซึ่งปรากฏอยู่ในบุคคลแล้ว ( การภาวนา )
    ถูกทำลายด้วยการปรุงแต่งขณะที่
    ทั้งแสดงออกมาเองและไม่ปรุงแต่ง( การกระทำ )
    เป็นความโง่งมงายเพียงใดที่ไม่รู้ตามที่มันเป็น

    คนมั่งมีและแข็งแรงถูกบุญเข้าครอบครอง

    ผู้ถูกอบรมด้วยการศึกษากลายเป็นคนแข็งกระด้างคล้ายผิวเนย
    นักภาวนาผู้อยู่ภายใต้อวิชชายืนหยัดในความกระด้าง
    คล้ายบีบน้ำมันจากทราย
    ใครจักได้รับมหามุทราแห่งภาวะธรรมชาติ

    คำสอนชั้นเลิศของพระสูตรและตันตระ
    คล้ายคู่แห่งอาทิตย์และจันทร์
    ยังคงเหลืออยู่เพียงเศษเสี้ยว
    คล้ายแสงแดงเรื่อจากก้อนเมฆในเวลาเย็นย่ำ
    ไฉนจึงผูกเสรีภาพไว้ด้วยท้องไส้เพียงเพื่อชีวิตนี้

    พำนักในอาศรมกลางขุนเขาไร้ผู้คน
    อาศัยอาหารพื้น ๆ เพื่อยังชีพ
    เพ่งมองหาโฉมหน้าดั้งเดิม เป้าหมายที่ยั่งยืน
    นี่มิใช่ธรรมเนียมของสายปฏิบัติหรือ

    ในยุคปัจจุบัน ความมุ่งหวังลาภคือเหตุแห่งความเสื่อม
    และความเพียรก็มิใช่เพื่อความจริงแท้

    ใครเล่าจักต้องการและให้ความเทิดทูน
    บทประพันธ์ของฉัน

    อาจเติมห้องด้วยบทประพันธ์เขียนหวัด ๆ
    ไม่ต้องการจากตนเองและไม่ทราบซึ้งโดยใครอื่น
    ไม่สามารถฝึกจิตใครแม้สักคน
    เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากกระดาษเปื้อนหมึก
    และแรงงานเหนื่อยยากจากนิ้วมือฉัน

    คำร้องยากปฏิเสธ
    จากบางคนอย่างยาวนาน
    ฉันทำสิ่งนี้จากอนุมาน
    ขาดพลังแห่งบทประพันธ์ที่มั่นคงในความหมาย

    อ่อนเชิงในการหยั่งรู้ความหมายแห่งถ้อยคำ
    กระทั่งประสบการณ์ในการหยั่งถึงความหมายแห่ง
    ถ้อยคำอันล้ำลึก
    บทประพันธ์นี้
    จะเป็นอย่างอื่นเว้นเสียแต่ที่ตั้งแห่งการยิ้มการยิ้มเยาะของผู้รู้
    และผู้บรรลุทั้งหลายได้ไหม

    ไม่ว่าอย่างไร บัวแรกบานงามตาดอกนี้
    เปล่งประกายด้วยลีลาชั้นอริยะ
    และไม่พร่ามัวด้วยความตั้งใจชั่วร้าย
    อาจเป็นเครื่องประดับโสต
    นักภาวนาเปี่ยมพลังบันดาลใจเช่นฉัน


    ด้วยกุศลจากการประพันธ์งานชิ้นนี้
    ร่วมกับคุณธรรมชั้นอสังขตะ สังขตะ แห่งสังสาระ นิพพาน และมรรค
    ขอให้คำสอนแห่งสายปฏิบัติจงขจรขจายไปทุกทิศทาง
    ขอให้สรรพสัตว์หยั่งรู้ผลแห่งมหามุทรา



    เป็นเวลายาวนานที่ฉันได้รับคำขอร้องครั้งแล้วครั้งเล่าจาก ซุลตริม ซังโป วิทยาธรแห่งมังคม ด้วยถ้อยคำเหล่านี้ " โปรดรจนาตำราที่ ละเอียดและลึกซึ้งเกี่ยวกับคำสอนที่จำเป็นที่ส่งเสริมและบ่งบอกขั้น ตอนในการปฏิบัติมหามุทรา " แต่เพราะมีตำราอยู่มากมายแล้ว ทั้งที่ เป็นพื้นฐานและลึกซึ้งของบูรพาจารย์สายปฏิบัติต่าง ๆ จึงไม่จำเป็น ต้องรจนางานใด ๆ ขึ้นมาใหม่


    อย่างไรก็ตาม ฉันได้รับข้อคิดจากอาจารย์ผู้เป็นที่พึ่ง และได้รับผล งานด้านมรรคมหามุทราหลายชิ้น เช่น รวมเป็นหนึ่งกับสิ่งเกิดร่วม จตุรพจน์ ปราศจากถ้อยคำ แก่นแห่งมรรค ประกายแห่งปัญญา และตำราอื่น ๆ ที่มีชื่อสำนักใหม่ จากสำนักเก่าก็ได้รับตำราเหล่านี้ คือ วงสุริยะ หนึ่งการเกิดขึ้นแห่งสติสัมปชัญญะ ขับความมืดแห่ง อวิชชา เห็นมรดกแต่ดั้งเดิมโดยตรง และอื่น ๆ


    ทั้งที่ได้รับงานเหล่านี้ ฉันก็ไร้ความสามารถในการประพันธ์งานที่ทรง คุณค่าเช่นนี้ เพราะถูกซัดไปมาด้วยกระแสกรรม อารมณ์ปั่นป่วนและ ความฟุ้งซ่าน ไม่มีประสบการณ์และการรู้แจ้งแม้สักนิดในใจฉัน


    อย่างไรก็ตาม ฉันขอร้องด้วยใจจริงว่า ผู้รู้ทั้งหลายอย่าได้ดูถูกเหยียด หยาม บทประพันธ์ของชายตาบอด ในความมืดมนอนนธกาล เพื่อ จะไม่ต้องสลายค่าคำขอร้องต่อฉัน

    ด้วยบุญกุศลนี้ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล มารดาของ ฉัน บรรลุถึงการตรัสรู้ที่ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่าในชีวิตนี้

    ขอให้คุณธรรมจงเจริญ
    ขอให้คุณธรรมจงเจริญ
    ขอให้คุณธรรมจงเจริญ


    http://www.tairomdham.net/index.php?topic=4848.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2012
  3. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    ขอบพระคุณในธรรมทานท่านเทพอภิบาลและท่านเทพธรรมบาล
    ผู้น้อยขอนอบน้อมต่อพระคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย
     
  4. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]


    ครูชาวธิเบตที่มีชื่อเสียงที่สุดผู้หนึ่ง และเป็นทั้งคุรุคนสำคัญผู้หนึ่งของ นิกายคากิว ซึ่งข้าพเจ้าสังกัดอยู่(ท่านตรุงปะ) ก็คือ มารปะ ผู้เป็นศิษย์ของครูชาว อินเดียชื่อ นโรปะ และเป็นคุรุของมิลาเรปะ บุตรทางศาสนธรรมที่มี ชื่อเสียงที่สุดของท่าน มารปะเป็นตัวอย่างของบุคคลที่กำลังไปตามหน ทางที่จะสร้างตัวเองให้ประสบความสำเร็จ ท่านเกิดในตระกูลชาวนา แต่ครั้นเป็นหนุ่มก็ทะเยอทะยาน และเลือกเอาความเป็นปราชญ์และ ความเป็นนักบวชเป็นหนทางที่จะไปสู่ความมีชื่อเสียง เราคงจะจินตนา- การได้ว่าลูกชาวนาอย่างท่านจะต้องใช้ความพยายามและความเด็ดเดี่ยว สักเพียงใด ในการปลุกปั้นตัวเองขึ้นสู่ญานะกบวชในศาสนาพื้นบ้าน ของท่าน มีหนทางน้อยมากที่คนอย่างท่านจะได้รับตำแหน่งอะไรใน ธิเบตเมื่อศตวรรษที่สิบ ไม่ว่าจะเป็น พ่อค้า ขุนโจร หรือโดยเฉพาะ นักบวชในสมัยนั้น การเข้าไปร่วมกับนักบวชท้องถิ่นได้ นับว่าท่าน เป็นทั้งนักกฏหมายและศาสตราจารย์รวมกันทีเดียว


    มารปะเริ่มต้นด้วยการศึกษาภาษาธิเบต สันกฤต และภาษาอื่น ๆ อีก หลายภาษา ตลอดจนภาษาพูดของอินเดีย ท่านใช้เวลาศึกษาอยู่เพียง สามปีก็เก่งพอที่จะหาเงินได้ในฐานะนักปราชญ์ ครั้นได้เงินมา ก็เอามา ใช้เป็นทุนในการเล่าเรียนทางศาสนา จนในที่สุดได้เป็นนักบวชในพุทธ ศาสนา ซึ่งตามโวหารในสมัยนั้น ฐานะดังกล่าวได้สร้างชื่อเสียงให้ไม่ น้อยในระดับท้องถิ่น แต่มารปะยังทะเยอทะยานกว่านั้น ดังนั้น แม้ ตอนนั้นท่านจะแต่งงานและมีครอบครัวแล้ว ท่านก็ยังสะสมรายได้ต่อ ไปจนรวบรวมทองคำได้เป็นจำนวนมาก

    ถึงตอนนี้ มารปะก็ได้ประกาศต่อหมู่ญาติท่านตั้งใจจะเดินทางไปอินเดีย เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม เวลานั้นอินเดียเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา ของโลก เป็นดินแดนของมหาวิทยาลัยนาลันทาและบัณฑิตนักปราชญ์ชาว พุทธทั้งหลาย มารปะตั้งใจจะไปศึกษาและรวบรวมตำรับตำราที่ไม่มีใน ธิเบตกลับมาแล้วแปลมัน ซึ่งจะทำให้ท่านก้าวสู่ฐานะนักปราชญ์นักแปล ผู้ยิ่งใหญ่ การเดินทางไปอินเดียในเวลานั้นและแม้กระทั่งจนเมื่อไม่นาน มานี้ เป็นการเดินทางที่อันตรายไม่น้อย ครอบครัวและผู้หลักผู้ใหญ่ของ มารปะจึงพากันห้ามปราม แต่ท่านได้ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวแล้วและเริ่มออก เดินทางร่วมกับเพื่อนปราชญ์อีกคนหนึ่ง

    หลังจากที่ได้เดินทางเป็นแรมเดือน ทั้งคู่ได้ข้ามเทือกเขาหิมาลัยสู่แคว้น เบงกอล แล้วแยกกันที่นั่น ทั้งสองคนต่างศึกษาภาษาและศาสนามาอย่าง ดี จึงต่างตัดสินใจแสวงหาครูบาอาจารย์ด้วยลำพังตน เพื่อให้เหมาะกับ จริตของตน ก่อนจะจากกัน ทั้งคู่ตกลงกันว่าจะมาพบกันอีกเพื่อจะเดิน ทางกลับบ้านด้วยกัน

    ขณะที่มารปะเดินทางผ่านเนปาล ท่านเกิดได้ยินกิติศัพท์ของนโรปะ ซึ่ง เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงมาก นโรปะเคยเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย นาลันทา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นศูนย์กลางศึกษาพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เท่าที่โลกเคยมีมา ขณะที่กำลังประสบความสำเร็จทางการงานอยู่นั่นเอง ท่านกลับรู้สึกว่าท่านเข้าใจคำสั่งสอนได้แต่พอสัมผัส แต่ยังไม่ถึงความ หมายที่แท้จริงของคำสั่งสอน ท่านจีงสละตำแหน่งของท่านและออก เดินทางแสวงหาคุรุ ท่านต้องทนทรมาณอย่างแสนสาหัสอยู่กับการศึกษา ปฏิบัติกับครูติโลปะเป็นเวลาถึง ๑๒ ปี จนกระทั่งในที่สุดท่านก็ได้บรรลุ ขณะที่มารปะได้ยินชื่อท่าน ท่านได้รับการกล่าวขวัญแล้วว่าเป็นหนึ่งใน บรรดาพระอริยบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ มารปะย่อมถามหาตัว ท่านเป็นธรรมดา

    ในที่สุดมารปะก็ได้พบนโรปะ ซึ่งกำลังใช้ชีวิตอยู่อย่างยากจนในกระต๊อบ เล็ก ๆ ในป่าแคว้นเบงกอล ท่านคาดคิดไว้ว่าจะได้พบคุรุผู้ยิ่งใหญ่อาศัย อยู่ท่ามกลางศาสนวัตถุที่วิจิตรตระการตา ท่านจึงค่อนข้างจะไม่พอใจ อย่างไรก็ตาม ท่านก็ออกจะงง ๆ กับภูมิประเทศที่แปลกหูแปลกตาใน ถิ่นต่างเมืองและยอมยกครู ด้วยคิดว่าครูชาวอินเดียคงจะอยู่กัแบบนี้กระมัง ทั้งชื่อเสียงของนโรปะที่ท่านกำลังชื่นชมอยู่ ก็มีน้ำหนักมากกว่าความไม่พอ ใจของท่าน ท่านจึงให้ทองคำเกือบทั้งหมดแก่นโรปะและขอให้ท่านช่วย สั่งสอน มารปะอธิบายว่าท่านแต่งงานแล้ว ท่านเป็นนักบวช นักปราชญ์ และชาวนาจากธิเบตจึงไม่ได้คิดจะทิ้งชีวิตทั้งชีวิตที่อุตส่าห์หมายมั่นปั้นมา กับมือ แต่ใคร่จะรวบรวมคำสั่งสอนแล้วนำกลับไปแปลที่ธิเบต เพื่อจะได้ เงินมากกว่านี้ นโรปะยอมรับคำขอของมารปะอย่างง่ายดาย แนะนำสั่งสอน มารปะและทุกสิ่งทุกอย่างก็ดำเนินไปด้วยดี

    ไม่นานนักมารปะก็เห็นว่าท่านได้รวบรวมคำสั่งสอนได้มากเท่าที่ประสงค์ แล้ว จึงเตรียมตัวกลับบ้าน ท่านไปที่โรงเตี๊ยมแห่งหนึ่งในเมืองใหญ่อันเป็น ที่นัดพบกับเพื่อน แล้วทั้งคู่ก็นั่งลงเปียบเทียบผลของความพยายามของกัน และกัน ครั้นเพื่อนของท่านเห็นสิ่งที่ท่านรวบรวมมา กลับหัวร่อแล้วพูดว่า " ที่แกได้มานี่น่ะไร้ค่า เรามีคำสั่งสอนพรรค์นี้แล้วในธิเบต แกจะต้องหา สิ่งที่น่าตื่นเต้นและหายากกว่านี้ ส่วนฉันน่ะ ได้คำสั่งสอนที่วิเศษมหัศจรรย์ ทีเดียว จากครูบาอาจารย์ผุ้ยิ่งใหญ่หลายท่าน "


    แน่ล่ะ มารปะย่อมรู้สึกหัวเสียและเป็นทุกข์มาก เมื่อเห็นว่าอุตส่าห์เดิน ทางมาไกลด้วยค่าใช้จ่ายและความอยากลำบากถึงเพียงนี้แล้ว จึงกลับไป หานโรปะเพื่อจะลองดูอีกสักครั้ง เมื่อมาถึงกระต๊อบของนโปะ ท่านก็ ขอคำสั่งสอนที่หายากแปลกพิศดารและสูงกว่าที่เคยได้รับ แต่ท่านกลับ ต้องประหลาดใจเมื่อนโรปะพูดว่า " ฉันเสียใจ ที่ฉันไม่มีปัญญาให้คำ สั่งสอนเหล่ากับเธอได้ เธอต้องไปหาอีกท่านหนึ่งคือชายที่ชื่อ คูคุริปะ หทางที่จะไปนั้นลำบากยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะว่าคูคุริปะอยู่บนเกาะ กลางทะเลสาปที่เป็นพิษ แต่ท่านเป็นคนที่เธอต้องไปพบให้ได้ ถ้าเธอ อยากได้คำสอนอย่างที่เธอว่า " ตอนนี้มารปะชักสิ้นหวัง แต่ก็พยายาม เดินทางไปหา ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าคูคุริปะมีคำสั่งสอนที่แม้แต่นโรปะผู้ยิ่ง ใหญ่ยังให้เขาไม่ได้ และยังอาศัยอยู่กลางทะเลสาปพิษอีกด้วย คูคุริปะ จะต้องเป็นคุรุที่พิเศษสุดผุ้หนึ่งเป็นแน่ เป็นบุคคลผู้ลี้ลับมหัศจรรย์

    ดังนั้นมารปะจึงออกเดินทางและหาทางข้ามทะเลสาปพิษได้ แล้วเริ่ม ตามหาคูคุริปะ ที่นั่นท่านได้พบกับชายชราอินเดียอาศัยอยู่ในที่อันแสน โสโครก ห้องล้อมด้วยสุนัขตัวเมียนับร้อยตัว ว่ากันง่าย ๆ สิ่งที่มารปะ ได้พบย่อมนับว่าประหลาดพิษดารยิ่ง แต่มารปะก็ยังพยายามพูดกับ คูคุริปะ แต่คำสนนทนาที่ได้รับล้วนเลอะเทอะเหลวไหล ดูเหมือนว่า คูคุริปะพูดอะไรไม่ได้เรื่องไม่ได้ราวเอาเลย


    ถึงตอนนี้ ท่านชักทนไม่ไหวแล้ว ไม่ใช่เพียงเพราะคำพูดของคูคุริปะ จะทรามปัญญาแต่ถ่ายเดียว แต่มารปะยังต้องคอยตั้งท่านระวังเจ้าหมา ตัวเมียนับร้อยอีกด้วย พอท่านผูกมิตรกับหมาได้ตัวหนึ่ง อีกตัวก็จะเห่า และทำท่าจะกัดในที่สุด จนแทบจะเสียสติอยู่แล้ว ท่านจึงเลิกหมด เลิก จดคำสั่งสอน เลิกหาคำเทศน์อันเร้นลับ ถึงจุดนั้นั่นแหละ ที่คูคุริปะจึง เริ่มพูดกับท่านด้วยนน้ำเสียงเป็นมิตรและฟังดูหลักแหลมยิ่ง ทั้งพวก หมายังเลิกกวนท่านอีกด้วย มารปะจึงได้รับการสั่งสอน


    หลังจากที่มารปะได้ศึกษากับคูคุริปะสำเร็จแล้ว เขาจึงกลับไปหาคุรุ คนเก่าคือ นโรปะอีกครั้งหนึ่ง นโรปะบอกเขาว่า " บัดนี้ เธอจะต้อง กลับไปธิเบตและสั่งสอนบ้าง มันไม่พอดอกที่จะเพียงรับคำสอนทาง ทฤษฎี เธอจะต้องผ่านประสบการณ์ที่แท้จริงของชีวิต แล้วเธอจึงจะ กลับมาศึกษาต่อได้อีก "


    มารปะกับเพื่อนร่วมแสวงหาพบกัอีกครั้งหนึ่ง และเริ่มเดินทางกลับสู่ ธิเบต เพื่อนของมารปะก็ได้ศึกษามามากและทั้งคู่นั้นมีถุงจำนวนมาก ที่บรรจุต้นฉบับคำสั่งสอน ขณะที่เดินทางไปทั้งคู่ต่างสทนาในสิ่งที่ได้ เล่าเรียนมา ไม่นานนักมารปะก็ชักจะรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ ที่เพื่อนของ ท่านชักอยากรู้ อยากเห็นคำสอนที่ท่านได้สะสมมายิ่งขึ้นทุกที ๆ การ สนทนาดูจะวนเวียนอยู่แต่ในประเด็นนี้ จนกระทั่งในที่สุดเพื่อนร่วมทาง ของท่านตระหนักได้ว่ามารปะได้คำสั่งสอนที่มีค่ามากกว่าเขา เขาจึงเริ่ม ริษยา ขณะที่ทั้งคู่กำลังลงเรือข้ามแม่ำสายหนึ่ง สหายร่วมทางของมารปะ เริ่มบ่นว่านั่งไม่สบายเพราะถึงตำรับตำราที่ช่วยกันขนมาเต็มไปหมด เขา จึงย้ายที่นั่ง ทำท่าว่าจะหาทางนั่งให้สบายกว่านนั้น และขณะที่ทำเช่นนั้น ก็ได้ทำให้ต้นฉบับตำรับตำราของมารปะตกน้ำไปหมด มารปะพยายาม อย่างสุดความสามารถที่จะเอามันขึ้นมา แต่มันก็จมลงไปเสียทั้งหมดแล้ว ตำรับตำราทั้งหมดที่อุตส่าห์ดั้นด้นไปรวบรวมมาเป็นเวลานาน กลับ อันตรธานไปในชั่วขณะเดียว


    ดังนั้นมารปะจึงกลับธิเบตด้วยความรู้สึกสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ท่าน มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการเดินทางและการร่ำเรียนของท่านที่จะเล่า ให้ใครต่อใครฟัง แต่ท่านก็ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนที่จะมาพิสูจน์ความรู้ และประสบการณ์ที่ท่านได้รับ แม้กระนั้นก็ดี ท่านก็ยังคงทำงานและ สอนสั่งอยู่ จนกระทั่งท่านกลับประหลาดใจเมื่อท่าเริ่มเห็นจริงว่า แม้ ท่านจะพกเอาตำรับตำราที่สะสมไว้กลับมาได้ มันก็หามีประโยชน์กับ ท่านไม่ ขณะที่ท่านอยู่อินเดียท่านเพียงแต่บันทึกบางส่วนของความรู้ที่ ท่านไม่เข้าใจ ท่านไม่ได้บันทึกความรู้ในส่วนที่เป็นประสบการณ์ของ ท่านเอง ไม่กี่ปีต่อมา ท่านเริ่มพบว่าความรู้ทั้งหลายได้กลายมาเป็นส่วน หนึ่งของตัวท่าน


    เมื่อค้นพบเช่นนี้ มารปะจึงไม่อยากหากำไรจากคำสั่งสอนอีกต่อไป ท่านเลิกเอาธุระกับการหาเงินหรือสร้างสถานะ แต่กลับเกิดแรงบันดาล ใจที่จะบรรลุถึงการตรัสรู้อย่างจริงจัง ดังนั้น ท่านจึงรวบรวมผงทองคำ ไว้เป็นของกำนัลแก่นโรปะและเดินทางสู่อินเดียอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ ท่านไปด้วยเสียงร่ำร้องที่จะได้พบคุรุของท่านและต้องการคำสั่งสอน

    อย่างไรก็ตาม เมื่อมารปะได้พบนโรปะอีกครั้งหนึ่งนโรปะดูไม่เหมือน แต่เก่าก่อนเสียแล้ว ท่าทางท่านเย็นชาและไม่เป็นกันเอง อยู่ข้างจะเป็น ปฏิปักษ์เสียด้วยซ้ำ คำแรกที่ท่านพูดกับมารปะก็คือ " ดีนี่ที่ได้พบเธออีก เอาทองคำติดตัวมาเท่าไหร่ สำหรับเป็นค่ายกครู " มารปะเอาทองคำ ติดตัวมามาก แต่ต้องการเก็บบางส่วนไว้ใช้ส่วนตัวและสำหรับการเดิน ทางกลับบ้าน ท่านจึงเปิดถุงแล้วให้นโรปะไปส่วนหนึ่ง นโรปะมองดู ค่าเล่าเรียนแล้วพูดว่า " ไม่พอ แค่นี้ไม่พอ ฉันต้องการค่าเล่าเรียนมาก กว่านี้ เอาทองคำของเธอมาทั้งหมดนั่นแหละ " มารปะให้ทองคำแก่ ท่านไปอีกหน่อยหนึ่ง แต่นโรปะก็ยังคงบอกให้เอามาทั้งหมด กระทำ เช่นนี้อยู่หลายครั้ง นโรปะจึงหัวร่อแล้วเย้ยว่า " เธอคิดหรือว่าเธอจะซื้อ คำสั่งสอนของฉันไปด้วยการหลอกลวงของเธอ " ถึงจุดนี้ มารปะจึง ยอมจำนนและให้ทองคำทั้งหมดแก่นโรปะ แต่แล้วท่านกลับแทบสิ้นสติ เมื่อนโรปะหยิบถุงขึ้นมาแล้วโปรยผงทองคำล่องลอยไปในอากาศ


    ทันทีทันใดนั้น มารปะรู้สึกสับสน งุนงงและแทบคลั่ง ท่านไม่เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้น ท่าทำงานแทบตายเพื่อให้ได้ทองคำมาซื้อคำสัง่สอนที่ท่าน ใฝ่หา นโรปะทำท่าว่าต้องการทองคำและจะสอนท่านเป็นการตอบแทน แต่แล้วท่านกลับขว้างมันทิ้งเสีย ครั้นแล้วนโรปะจึงพูดกับท่านว่า " ฉัน จะเอาทองคำมาทำอะไรกัน ในเมื่อโลกทั้งโลกเป็นทองคำสำหรับฉันแล้ว "


    นี้นับเป็นชั่วขณะอันยิ่งใหญ่แห่งการเปิดออกสำหรับมารปะ ท่านเปิด ตัวเองแล้วพร้อมจะรับคำสั่งสอนได้แล้ว จากนั้นท่านได้อยู่กับนโรปะ เป็นเวลานาน การฝึกฝนของท่านดูง่ายดายยิ่ง แต่ท่านมิเพียงแต่ฟังคำ สั่งสอนดังแต่ก่อน ท่านต้องกระทำมรรคผลของคำสั่งสอนให้แจ้งด้วย ตัวเอง ท่านต้องสละทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านมีอยู่ ไม่เพียงแต่ทรัพย์สิน ทางวัตถุเท่านั้น หากอะไรก็ตามที่ท่านยังเก็บงำอยู่ในใจ มันเป็นกระ บวนการต่อเนื่องของการเปิดออกและยอมจำนน
     
  5. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    มาช่วยทำมาหากิน เหมือนเดิม นะจ๊ะ นะจ๊ะ ท่านมารปะท่านนี้เป็นคุรุคนหนึ่งของวัชรยาน และก็เป็นคุรุที่มีชื่อเสียงเป็นรองแค่ ท่านมิลาเรปะ(ศิษย์ของมารปะ) ท่านปัทมสมภวะ นะจ๊ะ

    อ่านดูเถิดแลจักได้อะไรมากกว่าที่คิดนะจ๊ะ
    แถมจ๊ะ

    คำตักเตือนของท่านมารปะ
    ในบรรดาที่พึ่งทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเลิศที่สุด
    ในหมู่เพื่อนทั้งหลาย ศรัทธาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
    ในบรรดามารทั้งหลาย Nhamdog ร้ายที่สุด
    ในบรรดาความชั่วร้ายทั้งหลาย ความหยิ่งทะนงตนร้ายที่สุด
    ในบรรดาความเลวทั้งหลาย การหมิ่นประมาทเลวที่สุด

    ผู้ที่มิได้ชำระล้างบาปของตนให้บริสุทธิ์ด้วยพลังทั้งสี่
    ย่อมถูกผูกติดให้เวียนว่ายไปในสังสารวัฏ(การสำนึกผิดด้วยความจริงใจ, ความแน่วแน่ที่จะไม่กระทำอีก,-
    ตั้งใจกระทำดีเพื่อทดแทนความผิด,พิจารณาธรรมชาติแห่งความว่างของทุกสิ่ง)
    ผู้ที่ไม่ขยันหมั่นเพียรสร้างสมบุญกุศล ย่อมไม่สามารถได้รับวิมุตติสุขได้เลย
    ผู้ที่ไม่สามารถละเลิกการกระทำอกุศลทั้งสิบได้
    ย่อมถูกผูกมัดอยู่กับความทุกข์ทรมาน ตลอดทางดำเนิน
    ผู้ที่มิได้บำเพ็ญภาวนาในเรื่องสุญญตาและความเมตตากรุณา
    ย่อมไม่มีทางเข้าถึงพุทธภาวะ

    หากเธอต้องการจะเข้าถึงพุทธภาวะในชาตินี้
    ให้เฝ้าสังเกตเรียนรู้จิตของเธออย่างต่อเนื่อง
    และปฏิบัติโยคะทั้งหก,แก่นแท้และคำสอนอันเป็นที่สุดแห่งตันตระทั้งหมด
    ปฏิบัติในหนทางแห่งกุศโลบายอันแยบคายของตันตระ,แก่นแท้และคำสอน
    อันเป็นที่สุดของคำแนะนำอันเป็นประเด็นสำคัญเฉพาะตน
    หากเธอแสวงหาชื่อเสียง ทรัพยสมบัติ และการยอมรับ
    นั่นเธอกำลังโยนตัวเองเข้าไปในปากแห่งมาร
    หากเธอด่าทอผู้อื่น แต่ยกย่องตัวเอง นั่นเธอกำลังตกลงสู่อเวจี
    หากเธอไม่สามารถฝึกจิตอันเป็นดั่งช้างป่าให้เชื่องได้
    คำสอนทั้งหลายและคำแนะนำอันจำเพาะ ก็เปล่าประโยชน์
    บารมีอันสูงสุดคือการยกจิตขึ้นสู่โพธิจิต
    การเข้าใจแจ้งชัดในความไม่เกิด คือ ความเห็นอันสูงสุด
    การภาวนาอันลึกซึ้ง คือ คำสอนเรื่องความเชี่ยวชาญแห่งมรรค
    นาดิส และ การฝึกลมหายใจ ควรต้องปฏิบัติเช่นกัน

    จงเฝ้าสังเกตและตระหนักรู้ให้แจ้งชัดในหน้าตาของสิ่งที่มีมาอยู่แต่ดั้งเดิม
    จงฝากตัวไว้ในอุ้งมือของผู้ประเสริฐ
    อย่าทำชีวิตให้สูญเปล่า ไปกับการทำสิ่งที่ไร้ค่า

    จงเฝ้าสังเกตจิตเดิมแท้อันนอกเหนือการเกิด
    จงอย่าได้สนใจต่อความสุขในสังสารวัฏ
    จงอย่าได้คิดว่าความทุกข์ทั้งหมดเป็นสิ่งเลวร้าย

    เมื่อเธอรู้แจ้งในจิตของเธอ เธอจะกลายเป็นพุทธะ
    มันไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องพูด หรือ ทำอะไรให้มาก
    มันไม่มีคำสอนใดอีกแล้วที่ลึกซึ้งกว่านี้
    ดังนั้น จงปฏิบัติตามคำแนะนำทั้งหมดนี้เถิด


    อ่านดูเถิดแลจักได้เป็นคนฉลาด โศลกนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งมากนะจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มกราคม 2012
  6. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ความลวงหลอกสิบสองอย่าง
    เรื่องโลกๆนั้นล้วนเป็นสิ่งลวงหลอก
    ดังนั้นฉันจึงแสวงหาแต่เรื่องสัจธรรมอันสูงสุด

    ความรุ่มร้อนและความหวั่นไหว ล้วนเป็นเพียงมายา
    ดังนั้นฉันจึงภาวนาถึงสัจจะอันปราศจากความเป็นคู่

    มิตรสหายและคนรับใช้ ล้วนเป็นสิ่งลวงหลอก
    ดังนั้นฉันจึงคงอยู่อย่างวิเวกผู้เดียว

    ทรัพย์สมบัติและเงินทอง ทั้งหมดล้วนลวงหลอกเช่นกัน
    ดังนั้น หากฉันมีมัน ฉันก็จะสละทิ้งมันไป

    ทุกสิ่งในโลกภายนอกล้วนลวงหลอก
    ฉันจึงเฝ้าสังเกตเรียนรู้จิตภายใน

    ความคิดที่เรื่อยเปื่อยสับสน ล้วนลวงหลอก
    ดังนั้น ฉันจึงเดินไปในวิถีทางแห่งปัญญา

    ความลวงหลอกคือ คำสอนอันเกี่ยวกับความจริงง่ายๆขั้นพื้นฐาน
    ความจริงอันยิ่ง คือสิ่งที่ฉันภาวนา

    หนังสือที่เขียนด้วยหมึกดำล้วนนำไปสู่ความผิดพลาด
    ฉันจะภาวนาแต่เพียงในคำแนะนำอันได้กระซิบสืบทอดกันมาเท่านั้น

    ภาษาและคำพูดก็เช่นเดียวกัน ล้วนเป็นเพียงสิ่งลวงหลอก
    ด้วยความผ่อนคลาย ฉันจึงพักจิตของฉันอยู่ในสภาวะแห่งการไร้การดิ้นรนพยายามใดๆ

    เกิดและตาย ล้วนเป็นสิ่งลวงหลอกทั้งคู่
    ฉันจึงเฝ้าสังเกตแต่สัจธรรมอันไร้การเกิด

    จิตธรรมดานั้นล้วนนำไปสู่ความผิดพลาดในทุกๆทาง
    ดังนั้นฉันจึงปฏิบัติเพื่อให้มีความตื่นรู้อย่างแคล่วคล่อง

    การปฏิบัติเพื่อบังคับจิตให้อยู่นิ่งนั้น มักนำไปผิดทาง และ ลวงหลอก
    ดังนั้นฉันจึงพักอย่างผ่อนคลายอยู่ในสภาพความเป็นจริง

    โศลกที่ได้สดับนี้เป็นโศลกของท่านมิลาเรปะนะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
  7. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    อาณาจักรทั้งแปด
    ผู้ที่เห็นแจ้งชัดว่า โลกและความว่างเป็นสิ่งเดียวกัน
    เขาได้เข้าถึงอาณาจักรแห่งความเห็นที่แท้จริง

    ผู้ที่รู้สึกไม่แตกต่างระหว่าง ความฝัน กับการตื่นอยู่
    เขาได้เข้าถึงอาณาจักรแห่งการปฏิบัติที่แท้จริง

    ผู้ที่รู้สึกไม่แตกต่างระหว่าง ความปีติสุข กับ ความว่าง
    เขาได้เข้าถึงอาณาจักรแห่งการดำรงตนที่แท้จริง

    ผู้ที่รู้สึกไม่แตกต่างระหว่าง “ตอนนี้” กับ “ตอนนั้น”
    เขาได้เข้าถึงอาณาจักรแห่งความเป็นจริง

    ผู้ที่เห็นแจ้งชัดว่า จิตและความว่างคือสิ่งเดียวกัน
    เขาได้เข้าถึงอาณาจักรแห่งธรรมกาย

    ผู้ที่รู้สึกไม่แตกต่างระหว่างความทุกข์ และ ความสุข
    เขาได้เข้าถึงอาณาจักรแห่งคำสอนที่แท้จริง

    ผู้ที่เห็นว่า ความปรารถนาของมนุษย์ และ ปัญญาญาณแห่งพุทธะนั้น เป็นสิ่งเดียวกัน
    เขาได้เข้าถึงอาณาจักรแห่งการรู้แจ้งอันสูงสุด

    ผู้ที่เห็นแจ้งชัดว่า จิต และพุทธะนั้นคือสิ่งเดียวกัน
    เขาได้เข้าถึงอาณาจักรแห่งการบรรลุผลที่แท้จริง
     
  8. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    ดัน........................
     
  9. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ช่วงนี้ข้ามีกิจมากจึงมิค่อยได้มาเยือนเว็ปพลังจิตเสียเท่าไหร่
    ช่วงนี้ฝึกฝนตนด้วย นะจ๊ะนะจ๊ะั จึงมีเวลาว่างวันหนึ่งหาได้เกิน 2 ชั่วโมงไม่
    ไว้ว่างๆจะมาใหม่

    นะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
  10. หนูฝ้าย^^

    หนูฝ้าย^^ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +0
    แบบนี้หนูยกให้สิบนิ้วค่ะ..ชอบมากกกกกกกก..สาธุจร้าา
     
  11. หนูฝ้าย^^

    หนูฝ้าย^^ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +0
    ลุงกำลังฝึกแบบไหนจ๊ะ? หนูอยากฝึกมั่ง
     
  12. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    555+ ฝึกตาม ครูบาแลอาจารย์ท่าบอกนั้นแหละจ้า อีหนูเอ้ย...
     
  13. หนูฝ้าย^^

    หนูฝ้าย^^ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +0
    แล้วแบบของลุง เป็นแบบไหนล่ะจ้ะ? หนูอยากฝึกตามแนวน่ะจ๊ะ
     
  14. หนูฝ้าย^^

    หนูฝ้าย^^ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +0
    ตอบหนูหน่อยสิจ้ะ? หนูรอคำตอบอยู่ หนูไม่มีเวลามากนัก อิอิ..
     
  15. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ประตูสู่การภาวนา : ก่อกำเนิดโพธิจิต

    [​IMG]


    ก่อกำเนิดโพธิจิต


    การที่จะมุ่งไปบนหนทางธรรมได้ เราจำเป็นต้องมีจุดมุ่งหมายดุจดังลูกศร ที่พุ่งเข้าหาเป้า โดยผ่านโพธิจิตนี้เอง คือประตูลำดับถัดไปที่จะเปิดไปสู่ การปฏิบัติในสายมหายานและวัชรยาน เรายังคงเล็งไปที่เป้าแห่งการตรัสรู้ เพื่อยังประโยชน์แก่ผู้อื่นในทุก ๆ ขณะแห่งการปฏิบัติ นี่คือจุดมุ่งหมายอัน ประเสริฐสุดเท่าที่มีอยู่


    โพธิจิตคือรากฐานของทุกสิ่งที่เราทำ ดุจดังรากของพืชสมุนไพรซึ่งทุกสัด ส่วนไม่ว่าจะเป็นกิ่ง ใบ หรือดอก ล้วนมีสรรพคุณทางยาสิ้นความบริสุทธิ์ เพียบเพร้อมในการปฏิบัติของเราขึ้นอยู่กับการใช้ทุกอุบายวิธีอย่างเต็มเปี่ยม ด้วยโพธิจิต นี่เองทุกสิ่งย่อมดำเนินไปด้วยดี ทว่าหากปราศจากโพธิจิตเป็น รากฐานแล้ว ก็หามีสิ่งใดอาจสำเร็จผลไม่


    ด้วยเหตุนี้เองตั้งแต่แรกที่เราได้สดับธรรม เราจึงถูกกำชับให้ถือเอาการช่วย ปลดปล่อยสรรพสัตว์ออกจากห้วงทุกข์เป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ เรา กระทำตนให้เป็นผู้สมควรแก่การปฏิบัติธรรม โดยการหันเหออกจากความ เห็นแก่ตนไปสู่ความเอื้อเฟื้อแผ่กว้าง


    โพธิจิตนั้นมีองค์สามด้วยกัน คือการแผ่ความกรุณาออกสู่มวลหมู่สัตว์ผู้ได้ รับทุกข์ ตั้งปณิธานที่จะบรรลุธรรมเพื่อที่จะบรรลุถึงภูมิธรรมอันสามารถที่ จะช่วยเหลือสัตว์โลก ซึ่งเรียกว่า ฉันทะโพธิจิต กับความพากเพียรในหน ทางธรรมเพื่อจะได้บรรลุถึงพระนิพพาน ซึ่งเรียกว่า วิริยะโพธิจิต

    คำภาษาทิเบตซึ่งใช้เรียกโพธิจิตคือ จังชุบเซม จัง หมายถึง การไถ่ถอนความ มืดมัว ชุบ คือ การเผยถึงคุณลักษณ์อันบริบูรณ์ภายใน และ เซม คือ จิต โดย การปฏิบัติโพธิจิต เราได้ขจัดความมืดมัวและเสริมกุศลนิสัย ซึ่งจะเผยถึงจิต แห่งพุทธะ


    ความมืดมัวแห่งดวงจิตอาจเปรียบได้กับตะกอนดินที่เคลือบแก้วผลึกซึ่งจม อยู่ในพื้นปฐพี ถ้าเราหยิบดวงแก้วนั้นขึ้นมา มันก็ดูเหมือนลูกดินธรรมดา ทว่าธาตุลักษณ์ดั้งเดิมของมันก็หาได้ลดทอนลงไม่ มันเพียงแต่มืดมัวเคลือบ คลุมไปเท่านั้น ถ้าหากเราชำระล้างตะกอนดินออก แก้วผลึกก็จะกลับใส กระจ่าง ธาตุลักษณ์ของมันก็ย่อมเผยปรากฏ ในทำนองเดียวกัน โดยการ ชำระล้างความมืดมัวในดวงจิต เราก็ได้เผยธรรมชาติเดิมแท้อันกระจ่างใส ให้ปรากฏ


    เรามักจะมองหาแก่นแท้นี้จากภายนอก แม้ว่ามันจะดำรงอยู่ภายใน เหมือน กับการเที่ยวตามหาอาชาที่หายไป แกะรอยตามไปในป่า ที่สุดก็พบว่าม้านั้น อยู่ในคอกมาโดยตลอด


    ความกรุณาอันเป็นองค์แรกของโพธิจิตนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวเรา แล้วและถึงแม้ว่าเราจะเป็นผู้มีน้ำใจดีงาม ทว่าคุณสมบัติดังว่าก็ยังมีขอบ เขตจำกัดอยู่ อาศัยการปฏิบัติ เราก็อาจแผ่ความกรุณาอันไพศาลออกมา


    จังชุบเซม เป็นทั้งอุบายวิธีและมรรคผลของการปฏิบัติธรรมโดยอาศัย แรงโน้มเหนี่ยวจากโพธิจิต พลังแห่งปณิธานมุ่งหวังที่จะปลอดปล่อย สัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แก่นแท้ของดวงจิตอันเจิดจรัสดุจดวงอาทิตย์ย่อม เผยออกอย่างหมดจด และการุณยกิจเพื่อผู้อื่นย่อมอุบัติขึ้นอย่างเป็นธรรม ชาติ ดุจดังแสงสุริยาฉายที่อาบไล้อยู่บนผิวน้ำและบนนาวาทุกลำ


    เราเริ่มปฏิบัติ จัง อันได้แก่การไถ่ถอนความมืดมัวออกจากดวงจิต ด้วย การลดทอนการให้ค่าแก่ตัวเองลง และหันไปใส่ใจต่อผู้อื่น นิสัยที่จดจ่อ สนใจอยู่แต่ตัวเองนั้นได้สั่งสมมาแล้วในอดีตชาติสุดประมาณนับ อันส่ง ผลให้เราติดกับอยู่ในวัฏสงสาร พระพุทธองค์ได้ทรงขจัดเสียสิ้นซึ่งความ เห็นแก่ตัวและความคิดอย่างสามัญ ได้สั่งสมกรุณาบารมีอันบรรลุถึงพระ นิพพาน


    การจะบรรลุถึงโพธิจิตปณิธานได้ จำต้องอาศัยคุณธรรมสี่ประการซึ่งเรียก ว่า พรหมวิหารสี่ แรกสุดคือ อุเบกขา อันได้แก่การถือว่าสัตว์ทั้งหลาย เสมอกัน ถ้าหากเรามีชีวิตอยู่อย่างปาศจากอคติโดยไม่แบ่งแยกในดวงจิต ระหว่างมิตรและศัตรู เมื่อนั้นเราก็ได้เข้าถึงแก่นแท้แห่งภาวะการดำรง อยู่ และเท่ากับได้ปลูกฝังเมล็ดพันธุ์แห่งอิสรภาพ และความสุขทั้งของ ตนเองและผู้อื่น


    ความรัก ความกรุณาของเราในบัดนี้แผ่ไปถึงคนบางคนในบางสภาพการณ์ เท่านั้น คือคนในครอบครัว มิตรสหายและคนที่เรารัก แต่มิได้เลยไปถึงผู้ ที่เราถือว่าเป็นศัตรู เราอาจมิได้มุ่งร้ายหมายขวัญต่อคนพาลหรือคนไม่น่ารัก แต่ก็คงยิดีอยู่ลึก ๆ หากมีเรื่องร้าย ๆ อุบัติขึ้นกับเขา ความกรุณาที่เรามีต่อ เด็กที่เจ็บไข้ได้ป่วยอาจเกิดขึ้นจากความรักความผูกพัน ทว่าโดยการฝึกฝน อุเบกขา เราย่อมบ่มเพาะการุณยกิจอันสูงส่งต่อสัตว์ทั้งมวลโดยไม่แบ่งแยก จากส่วนลึกของดวงใจ จนกว่าดวงใจของเราจะบริสุทธิ์เยี่ยงนี้ หาไม่การ ปฏิบัติของเราก็ยังคงเป็นแค่สิ่งผิวเผิน เรายังหาได้เข้าใจถึงจุดประสงค์แห่ง หลักธรรมอย่างแท้จริงไม่


    เราอาจบ่มเพาะอุเบกขาขึ้นได้ แรกสุดก็โดยการตระหนักว่าสัตว์ทั้งมวล ล้วนต้องการจะมีสุข ไม่มีผู้ใดปรารถาทุกข์ ประการต่อมาคือ เราต้องคิด พิจารณาให้เห็นว่าสัตว์ทั้งมวลในชาติภพอันสุดประมาณนั้น ย่อมมีครั้งใด ครั้งหนึ่งที่เคยเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดเรามาก่อน องค์ศากมุนีพุทธรวมทั้ง เหล่าพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์อื่น ๆ ผู้สามารถชำระล้างมลทิน ออกจากธรรมชาติอันแจ่มกระจ่างแห่งดวงจิตจนบรรลุถึงสัพพัญญุตาญาณ ได้สอนไว้ว่าไม่มีแม้แต่ดวงชีวิตเดียวที่มิได้เคยเป็นบิดามารดาของเรามา ก่อน นี้ก็เช่นกัน เป็นสิ่งที่เราอาจตระหนักรู้ได้ หากสามารถชำระล้างจิต จนผ่องแผ้ว ทุก ๆ ชีวิตแม้จะเป็นอริกับเราเพียงใดก็ตามในบัดนี้ ล้วน เคยรักเมตตาเรามาก่อนดุจดังบิดามารดาในชาตินี้ ผู้ที่บัดนี้ดูเหมือนจะ คอยเบียดเบียนกลั่นแกล้งในละครแห่งชีวิตของเรา ล้วนแต่เคยรักและ ช่วยเหลือเกื้อกูลมาก่อน


    การจะปลูกฝังความรู้สึกซาบซึ้งในความเมตตานี้ได้ เราจำต้องระลึกถึง พระคุณอันใหญ่หลวงของบิดามารดา ประการแรกสำคัญที่สุดคือท่านได้ มอบกายมนุษย์ให้แก่เรา ตอนที่เราสิ้นชีวิตลงในชาติที่แล้วดวงจิตของเรา ดิ่งเข้าสู่แดนบาร์โด อันเป็นภพเนื่องต่อระหว่างความตายกับการเกิดใหม่ ซึ่งน่าหวาดหวั่นและปั่นป่วนสับสนยิ่ง เราจะถูกพัดพาไปดุจขนนกในสาย ลม โดยปราศจากสิ่งยึดเหนี่ยว ได้ยินเสียงและแลเห็นภาพอันน่าหวาด หวั่น จนที่สุดเราก็ได้พบที่พำนักพักพิงอันอบอุ่นปลอดภัยในครรภ์มารดา ในช่วงกาลปฏิสนธิ นับแต่นั้นมาที่แม่ของเราต้องอุ้มท้องอยู่เป็นเวลานาน เก้าถึงสิบเดือน ต้องลำบากยากเข็ญหรือแม้กระทั่งป่วยไข้เพื่อที่จะให้กำ เนิดเรามาเป็นมนุษย์


    ยามที่เรานอนอยู่ในเปลและไม่อาจช่วยตัวเองได้นั้น มารดาของเราถนอม กล่อมเลี้ยงเพื่อที่เราจะได้เติบแข็งแรง หากท่านมิได้เลี้ยงดูเรามา หรือขอ ให้ผู้อื่นช่วยดูแลแทน เราก็คงไม่อาจรอดชีวิตเป็นแม่นมั่น


    ท่านช่วยเหลือค้ำจุนชีวิตน้อย ๆ ของเรามาโดยตลอด ประคองเรามิให้ล้ม ห้ามมิให้กินสิ่งที่จะทำให้ป่วยไข้ กันมิให้เข้าใกล้ไฟ น้ำหรือยวดยาน หา อาหารและเสื้อผ้าให้ ช่วยอาบน้ำ และปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ลอง คิดดูว่าเราต้องจ่ายเงินมากเพียงใดเพื่อที่จะจ้างคนให้มาคอยดูแลทำความ สะอาดและหุงหาอาหารให้มาคอยดูแลทำความสะอาดและหุงหาอาหารให้ ในทุกวันนี้ หากมีใครรินชามาให้ดื่มหรือช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยมิ หวังสิ่งตอบแทน เราย่อมรู้สึกว่าคนผู้นั้นมน้ำใจอย่างยิ่ง ทว่าความมีน้ำใจ เยี่ยงนั้นย่อมซีดจางไปเมื่อเปรียบกับความเมตตาเอื้อเฟื้อของผู้เป็นมารดา


    ความสามารถที่จะพูด ที่จะวางตัวในสังคม ที่จะคบหาสัมพันธ์กับผู้คน ล้วนเป็นของขวัญจากบิดามารดา แทนที่จะทะนงในความชาญฉลาดของ ตน เราพึงระลึกไว้ว่าครั้งหนึ่งเราไม่รู้แม้แต่จะเปล่งถ้อยคำ ไม่รู้แม้แต่จะ เชิดล้าง ใส่เสื้อผ้า กินอาหาร หรือแม้แต่จะอาบน้ำ พ่อแม่สอนเราให้พูด ทีละคำ สอนให้เดิน กิน แต่งตัว ท่านเป็นครูคนแรกของเรา


    ในชาตินี้และในชาติภพที่ผ่านมาสุดประมาณนับ สัตว์ทั้งหลายได้แสดงความ เมตตาเอื้อเฟื้อในทางโลกเยี่ยงนี้ต่อเรา สรรพสัตว์จึงเป็นแก่นหลักแห่งความ รุดหน้าทางธรรมของเรา ด้วยการถือเอาการช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์เป็นจุด มุ่งหมายแห่งการปฏิบัติ เป็นรากฐานแห่งปณิธานอันบริสุทธิ์ ซึ่งหากปราศจาก ปณิธานเยี่ยงนี้แล้วเราย่อมไม่อาจเข้าถึงการตรัสรู้ได้ เมื่อพิจารณาใคร่ควรญ ดูสิ่งเหล่านี้ เราย่อมก่อเกิดความสำนึกตื้นตันและตระหนักอย่างลึกซึ้งว่าเรา เป็นหนี้ใหญ่หลวง


    ดังนั้นในการบ่มเพาะอุเบกขา เราพึงระลึกว่าสัตว์ทั้งมวลล้วนเคยเป็นมารดา ของเรามาก่อนในชาติภพหนึ่ง ดังนั้นเราจึงรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของ ท่านและปรารถนาที่จะตอบแทน ด้วยอาการเยี่ยงนี้เองเราจึงก่อเกิดปณิธาน อันสูงส่งที่จะเกื้อกูลสรรพสัตว์ มิใช่ด้วยอาการอันผิวเผิน ทว่าอย่างสูงส่ง ลุ่มลึก นั่นคือการบรรลุพระนิพพานเพื่อที่จะช่วยผู้อื่นให้สามารถกระทำเช่น เดียวกัน


    มีศิษย์ชาวตะวันตกผู้หนึ่งถามลามะว่า " ผมมีปัญหาเรื่องการกำหนดจิตว่า สัตว์ทั้งมวลล้วนเคยเป็นมารดาของเรามาก่อน แม่ของผมไม่ค่อยจะดีสัก เท่าไร ความสัมพันธ์ของเราไม่ค่อยจะดีนัก ดังนั้นทุกครั้งที่นั่งลงภาวนา กำหนดอารมณ์ในโพธิจิต ก็จะหวนคิดถึงแม่และรู้สึกโกรธ ผมจะขอหยุด คิดถึงแม่ในตอนนี้ก่อนจะได้ไหม "

    ลามะก็ตอบคนผู้นี้ว่าหลักการที่มีอยู่ก็คือการบ่มเพาะความกรุณาต่อทุกชีวิต รวมถึงมารดาของตนด้วย ดังนั้นจะเรียงลำดับใครก่อนใครหลังก็มิใช่ปัญหา ท่านกล่าวอีกว่าในทิเบตและอินเดียนั้นจะถือว่าแม่เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยเมตตา เป็นบุคคลอันวิเศษสุดเท่าที่มีอยู่ ดังนั้น เมื่อผู้เริ่มปฏิบัติต้องการอุบายเข้าสู่ การภาวนา คุรุก็มักจะใช้ความรู้สึกรักผูกพันต่อมารดาเป็นพื้นฐานเพื่อบ่ม เพาะความอบอุ่นการุณย์ต่อผู้อื่น


    ท่านยังกล่าวต่อไปอีกว่า " ถ้าหากเธอเห็นว่าวิธีการที่เหมาะสมกว่าสำหรับ ตัวเธอ คือการบ่มเพาะความกรุณาต่อผู้อื่นก่อน แล้วค่อยแผ่มาถึงแม่ของ ตน นั่นก็ใช้การได้ ประเด็นก็คือการมีความเมตตาการุณย์ต่อทุกผู้คน รวม ทั้งมารดาของเธอด้วย "


    ในที่สุดเราก็ประจักษ์แจ้งถึงความเท่าเทียมกันของสรรพสัตว์ในธรรมชาติ เดิมแท้ของแต่ละดวงชีวิต ตั้งแต่แมลงที่เล็กที่สุดเรื่อยไปจนถึงพระอริย บุคคล ว่าธรรมชาตินนั้นบริสุทธิ์มาตั้งแต่แรก


    เมื่อเข้าใจความเท่าเทียมกัน ที่ว่าสัตว์ทั้งมวลล้วนปรารถนาความสุข ล้วน มีทุกข์ ล้วนเคยเมตตาเอื้อเฟื้อต่อเราในฐานะบิดามารดาและล้วนมี ธรรมชาติ แห่งพุทธะ ดังนี้แล้ว เราย่อมก่อเกิดความกรุณาต่อทุกดวงชีวิต เมื่อตระหนัก ได้ถึงโศกนาฏกรรมของเขาเหล่านั้น ว่าถึงแม้เขาจะปรารถนาความสุข แต่ ด้วยเหตุแห่งอวิชชา จึงสร้างเหตุปัจจัยที่หนุนส่งให้ความทุกข์นั้นสืบไป


    ความกรุณา คือความปรารถนาที่จะให้ทุกข์ของผู้อื่นสิ้นสุดลง นี้คือพรหม วิหารประการที่สอง ความกรุณาเป็นโอสถถอนพิษร้ายของความสำคัญตน ผิดและความเห็นแก่ตัว ในเบื้องแรกมันจะช่วยให้เราไถ่ถอนความยึดติดใน ตนเองและหมกมุ่นอยู่แต่ปัญหาของตน ทั้งยังมีคุณในเบื้องปลาย ด้วยเหตุ ที่ความเกื้อการุณย์ในหัวใจแม้เพียงชั่วขณะหนึ่งก็อาจช่วยชำระล้างผลกรรม ได้ทบทวี


    เราจะก่อเกิดความกรุณาได้อย่างไร เริ่มด้วยการคิดพิจารณาความทุกข์ยาก ของผู้อื่น ครั้นแล้วก็ลองเปรียบให้เห็นความทุกข์ของเรา โดยเริ่มจากความ ทุกข์ในมนุษยภูมิ เพราะคงเป็นการยากที่จะเริ่มด้วยการพิจารณาความทุกข์ ของสัตว์ในภพภูมิอื่น
     
  16. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    เราลองพิจารณาดูความทุกข์ของคนที่เรารู้จักสักหนึ่งหรือสองคนแล้วค่อย ๆ แผ่กว้างออกโดยอาศัยการปฏิบัติ จนกระทั่งความทุกข์ของทุกผู้คนล้วนมี ความหมายต่อเรา เรารู้สึกได้อย่างแจ่มชัดถึงความทุกข์เหล่านี้จนสามารถ แลเห็นได้เบื้องหน้าสายตา

    [​IMG]

    ดังเช่น ลองจินตนาการดูว่า มีคนไกล้ชิดกำลังจะสิ้นใจอยู่ในโรงพยาบาล แวดล้อมด้วยครอบครัว มิตรสหาย ครั้นเมื่อทุกนั้นยิ่งหน่วงหนักเป็นจริง เป็นจังยิ่งขึ้น ก็ลองสมมติว่ตนเองตกอยู่ในสภาพนั้น ทั้งครอบครัวมิตร สหายต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญขออย่าให้ด่วนจากไป แพทย์บอกกับคุณ ว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงชั่วครู่ คุณยิ่งหายใจขัดยากลำบากและรู้สึกหวาด หวั่นยิ่ง ไม่รู้เลยว่าจะมีอะไรรออยู่ ทุกสิ่งที่คุ้นเคย แม้แต่ร่างกายนี้จะถูกละ ไว้เบื้องหลัง ไม่มีเงินแม้สักแดงเดียวที่อาจนำติดตัวไปได้ ไม่มีญาติมิตร แม้สักคนอาจติดตามไปแม้ว่าจะสนิทสนมรักใคร่เพียงใดก็ตาม


    หรือแทนที่จะพิจารณาดูความทุกข์ของคนที่คุณรู้จักมักคุ้น อาจลองจินตนา การถึงผู้ที่อยู่ในบ้านเมืองที่ประสบภัยแล้ง ซึ่งทั้งครอบครัวหรือทั้งหมู่บ้าน กำลังจะตายลงด้วยความอดอยาก ลองนึกว่าตนเองกำลังตกอยู่ใสภาพเยี่ยง นั้น เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวเพียงไม่กี่คนซึ่งยังรอดชีวิตอยู่ ทว่าชีวิต เหมือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย คุณรู้ตัวดีว่าตนก็จะต้องตายลงในไม่ช้าเช่นกัน ไม่มีอาหารเหลือพอให้ประทังชีพ คุณรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรงจนเกินกว่าจะ ช่วยเหลือญาติมิตรที่ยังคงรอดชีวิตอยู่ และพวกเขาก็เช่นกัน ทุกคนกำลัง เผชิญหน้าอยู่กับมรณภัย


    คุณอาจลองคิดถึงผู้คนที่บาดเจ็บล้มตายในสงคราม และลองนึกว่าตนตก อยู่ในสภาพเยี่ยงนั้น เพื่อนรักของคุณนอนอยู่ข้าง ๆ และสิ้นชีวิตลงแล้ว ส่วนตัวคุณก็บาดเจ็บสาหัส โลหิตหลั่งไหล ไม่อาจขยับร่างได้ ผู้คนที่แวด ล้อมอยู่ถ้าไม่บาดเจ็บสาหัสก็ยุ่งเกิกว่าที่จะมาใส่ใจคุณ คุณรู้สึกโดดเดี่ยว และประหวั่นพรั่นพรึ่งยิ่ง


    หรืออาจนึกจินตนาการถึงสถานะของผู้สูงอายุ คิดถึงตอนที่ลูก ๆ ซึ่งตน ถนอมกล่อมเลี้ยงมานานนับปี ทว่าบัดนี้กลับไม่ช่วยเหลือสิ่งใดเลย ทั้งไม่ ยอมรับฟังคำตักเตือนสั่งสอน หรือแม้กระทั่งอาจคาดหวังให้คุณตายไป เสียเร็ว ๆ คุณไม่อาจดูแลตนเองได้ ทั้งลูก ๆ ก็มิได้เอาใจใส่ อาจต้องอยู่ ในบ้านพักคนชรา ซึ่งลูกหลานจะมาเยี่ยมเพียงปีละครั้งสองครั้งเท่านั้น เพื่อน ๆ ก็ไม่เคารพับถือคุณอีกต่อไป ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น คุณอยาก จะไปโน่นไปนี่ กระทำการงานพูดจาดุจดังที่เคยทำเมื่อวัยหนุ่ม ทว่าบัดนี้ กลับไม่สามารถ


    ยามเมื่อพิจารณาถึงสภาพการณ์เหล่านี้ คุณจะรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึ่งยิ่ง ตรง จุดนี้ จงถามตนเองว่า " เพียงแค่คิดถึงความทุกข์เหล่านั้น ฉันก็ยังรู้สึกหวาด กลัวถึงเพียงนี้ และผู้ที่ต้องเผชิญกับมันเล่าจะยิ่งทุกขเวทนาเพียงใด "


    ครั้นแล้วลองคิดถึงข้อเท็จจริงที่ว่ามีผู้คนเป็นอันมากในโลกที่พากันทำร้าย ผู้อื่น ต่างสร้างสมบาปกรรมซึ่งรังแต่จะก่อให้เกิดผลร้ายต่อตนเอง ทว่า กลับมิได้ตระหนัก หากคิดว่าตนได้กระทำสิ่งที่ถูกต้องนั้นเท่ากับเป็นการ ทำลายตนเองลง


    เมื่อครุ่นคิดพิจารณาดังนี้ ย่อมก่อเกิดความเมตตาและปณิธานอันแรงกล้า ขึ้นในใจที่จะช่วยเหลือผู้ที่ทนทุกข์อยู่ในปัจจุบัน และผู้ที่เพาะหว่านเมล็ด พันธุ์แห่งความทุกข์ไว้ภายภาคหน้า จงตระหนักถึงความมีโชคของตนและ ตั้งใจแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น คุณได้มีโอกาสสดับธรรม ได้ล่วง รู้ถึงอุบายวิธีที่จะขจัดเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดทุกข์ ทว่าสรรพสัตว์เหล่านี้ ผู้ ซึ่งได้เคยเมตตาเอื้อเฟื้อต่อคุณในฐานะมารดา กลับมิได้ล่วงรู้สิ่งใดเลย ช่าง น่าเศร้ายิ่ง


    ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ความกรุณาอันยิ่งใหญ่อย่างเท่าเทียมกันต่อ สัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่ามิตรหือศัตรู นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง จากรากฐานอันมั่น คงแห่งมหากรุณานี้เอง แม้คุณมิได้พยายามที่จะเข้าถึงการตรัสรู้ ทว่าโมก- ษธรรมนั้นก็อยู่ในอุ้งหัตถ์ของคุณแล้ว แต่หากคุณมิได้บ่มเพาะความกรุณา ขึ้น ทว่ากลับมุ่งหวังเพียงจะหลีกหนีจากความทุกข์เพียงลำพังตนแล้ว คุณ ย่อมไม่มีทางบรรลุถึงอริยผลได้


    ความกรุณาจะได้รับการหนุนเสริมด้วยพรหมวิหารประการที่สาม คือ ความ เมตตา ที่แผ่ไปถึงทุกชีวิตโดยถ้วนหน้า ความเมตตาคือ ความปรารถนาอัน แท้จริงของทุกชีวิตที่จะก่อให้เกิดสุขทั้งในทางโลกและทางธรรม เราย่อม ตั้งจิตแน่วแน่ที่จะพยายามทุกวิถีทางทั้งโดย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่จะน้อมนำความเมตตาไปสู่ทุกชีวิต


    ยามที่เรามุ่งมั่นอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น เราจะต้องกระทำด้วย ความจริงใจ เพราะหากมีความเห็นแก่ตัวแฝงเร้นอยู่ในการกระทำดังกล่าว แล้วไซร้ ความล้มเหลวย่อมทำให้เราผิดหวังเสียใจและความทุกข์เยี่ยงนี้จะ ทำให้พรหมวิหารของเรามัวหมอง


    เพื่อที่จะช่วยให้เราบ่มเพาะความเมตตาอันบริสุทธิ์ต่อทุกชีวิตขึ้น มีอุบาย การปฏิบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่าการภาวนาแบบ ทองเลน เริ่มด้วยการแผ่ เมตตาสู่สัตว์ผู้ได้รับทุกข์ ครั้นแล้วขณะที่เราหายใจเข้าก็ให้จินตนาการว่า เรากำลังสูดเอาความทุกข์และเคราะห์กรรมของสัตว์ทั้งมวลในกามภพ ในรูปของแสงสีดำเข้าไปภายในกาย และขณะที่หายใจออกก็ให้เพ่งเห็น ความเมตตา ความสุข และสิ่งดี ๆ แผ่กำจายออกสู่ผู้อื่นในรูปของลำแสง สีขาว


    ในตอนแรกเราอาจลังเลที่จะปฏิบัติภาวนาเยี่ยงนี้ ด้วยกลัวว่ามันอาจมี ผลร้ายต่อตนเอง แต่หากเรามีความจริงใจอันบริสุทธิ์ที่จะอนุเคราะห์ผู้อื่น ความลังเลสงสัยของเราจะสิ้สุดลง และการปฏิบัติของเราจะยิ่งช่วยเพิ่ม พูนกุศลจิต มีเพียงความกลัวของเราเท่านั้นที่อาจทำร้ายตัวเอง เพราะ มันเป็นเหมือนแม่เหล็กที่ดึงดูดสิ่งร้าย ๆ เข้ามา


    หลังจากฝึกฝนการภาวนาเยี่ยงนี้ด้วยดวงใจอันบริสุทธิ์ เราจะเริ่มพบว่า ตนเองเป็นเสมือนสื่อแห่งความสุขของผู้อื่น ไม่เพียงแต่ความรักความ กรุณาของเราจะยิ่งเพิ่มพูนขึ้นเท่านั้น ทว่าแม้แต่อกุศลจิตและอกุศลกรรม ก็จะลดน้อยถอยลง ความยึดมั่นนถือมั่นในตนเองจะจางคลาย และผล กรรมจะได้รับการชำระล้าง หากจะกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว เราย่อมบ่ม เพาะฉันทะในโพธิจิต จนถึงขั้นที่เราอาจยอมสละหรือพร้อมจะกระทำ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่หวั่นเกรงหรือลังเล เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น


    ในหลายภพหลายชาติบนหนทางแห่งพระโพธิสัตว์นี้ องค์ศากยมุนีพุทธ ได้สละแม้ร่างกายนี้เพื่อประโยชน์แก่เหล่าสัตว์ มีอยู่ครั้งหนึ่งพระองค์เสวย พระชาติเป็นโอรสองค์กลางของราชาผู้ปกครองแว่นแคว้น ขณะที่โอรส ทั้งสามหลงอยู่ในป่า พระองค์ได้ประสบพบแม่เสือหิวโซที่เลี้ยงลูกน้อยห้า ตัว เสือนั้นไม่อาจขยับเขยื้อนกายและน้ำนมที่จะเลี้ยงลูกน้อยก็เหือดแห้ง โอรสจึงดำริอยู่ในใจว่า " กี่ครั้งกี่หนมาแล้วในอดีตชาติ ที่เราคิดถึงแต่ตน เอง และได้สิ้นชีวิตลงครั้งแล้วครั้งเล่าโดยไม่เคยยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้ใด กายของเราเป็นเพียงสิ่งไม่จีรัง มันมิได้คงทนอยู่นาน หากมันจะพอยังคุณ แก่แม่เสือแและลูกน้อยนี้ได้บ้างก็ขอจงสำเร็จตามประสงค์ "


    พระองค์ให้ภราดรออกไปเสาะหาลูกไม้ป่า ส่วนตนเองลงนอนทอดร่างอยู่ ข้างกายแม่เสือ ทว่าเสือนั้นอ่อนแอไร้เรี่ยงแรงแม้แต่จะกัดกิน พระองค์จึง หักกิ่งไผ่มาแทนมีด กรีดข้อมือให้โลหิตหยดลงสู่ปากเสือ แล้วก็เฉือนเนื้อ ออกเลี้ยงนางเสือ ครั้นเมื่อเสือเริ่มฟื้นเรี่ยงแรง พระองค์ยิ่งสูญเสียเลือดเนื้อ มากขึ้นทุกที ทว่ากลับมิได้สำนึกเสียใจกระทั่งสิ้นชีพชนม์ พระองค์อุทิศ ชีวิตมิใช่เพียงเพื่อแม่เสือกับลูกน้อยเท่านั้น แต่เพื่อสรรพสัตว์ทั้งมวล


    ขณะนั้นเอง พระมารดาของพระองค์ก็เกิดสุบินนิมิตเห็นอาทิตย์สามดวง ปรากฏอยู่ในนภากาศ ดวงกลางนั้นจับคราสมืดมัว พระนางตื่นขึ้นเกิดลาง สังหรณ์ว่าคงจะเกิดเหตุร้ายแก่โอรสองค์กลาง พลางเกิดนิมิตประหลาด พื้นพสุธาสะเทือนเลื่อนลั่น มีบุปผาทิพย์โปรยปรายและดนตรีสวรรค์กัง วานแว่ว


    เกศาและอัฐิของพระองค์ถุกนำไปบรรจุไว้ในสถูป อันเป็นอุสรณ์สถาน แห่งธรรมชาติดวงจิต ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันมีนามว่า นโมพุทธา ใน ประเทศเนปาล ผู้คนเป็นอันมากยังคงได้รับผลบุญอันไพศาล ได้รับการ ชำระล้างกรรมโดยการกระทำประทักษิณรอบสถูปนั้น

    ธรรมข้อสุดท้ายในพรหมวิหารสี่ ก็คือ มุทิตาจิต คือความยินดีเมื่อผู้อื่นมี สุข เรายินดีในความสุขทางโลกของผู้อื่น พลานามัย ความมีทรัพย์ ความ สัมพันธ์อันงดงามกับผู้อื่น และโอกาสในทางธรรม เราจะไม่ยอมให้ความ ริษยามาเป็นเจ้าเรือน หรือครุ่นคิดน้อยใจว่า " เหตุใดเขาจึงได้รับสิ่งนี้สิ่ง นั้น มิใช่ฉัน " หากแต่ให้เราตั้งจิตปรารถนาหวังให้ความสุขของเขาเหล่า นั้นยั่งยืนนาน และพยายามกระทำทุกวิถีทางเพื่อยังให้เป็นไป


    ด้วยความเบิกบานยินดีในสุขของผู้อื่น เราย่อมได้รับสุขเทียบเทียมกัน แต่ หากเรายินดีในทุกข์ของผู้อื่น เราก็ย่อมได้รับวิบากดุจเดียวกับผู้ที่ก่อกรรม ทำเข็ญให้ผู้อื่นได้รับทุกข์


    ในสมัยพุทธกาล มีเด็กสองคนมาขอบริจาคอาหารอยู่นอกพระราชวัง พระ ราชานิมนต์พระพุทธเจ้าและเหล่าสงฆ์สาวกมาฉันเพล และได้เตรียมเครื่อง คาวหวานเลิศรส เด็กคนหนึ่งเริ่มร้องขออาหารก่อนที่พระพุทธองค์จะได้ รับถวาย จึงไม่มีผู้ใดยอมให้ เด็กคนนั้นโกรธมาก คิดอยู่ในใจว่า " หากข้า เป็นกษัตริย์จะตัดหัวพระพุทธเจ้ากับพระราชาองค์นี้และเหล่าข้าราชบริพาร เสียให้สิ้น "


    ส่วนเด็กอีกคนทนรอจนกระทั่งพระพุทธองค์และพระสงฆ์สาวกได้รับภัต ตาหาร ครั้นแล้วจึงขออาหารที่เหลือ และก็ได้รับมากมายจนบริโภคไม่สิ้น จึงคิดอยู่ในใจว่า " ช่างเป็นพระราชาที่ประเสริฐยิ่ง พระองค์ได้สร้างบุญ กุศลอันไพศาลโดยการนิมนต์พระพุทธองค์มาฉันภัตตาหารและได้ให้ทาน แก่พวกเราเหล่าผู้ยากไร้ หากข้าได้เป็นกษัตริย์ ทุกสิ่งที่ข้ามีจะขอถวายเป็น พุทธบูชา และแจกจ่ายให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก "


    หลังจากกินเสร็จ เด็กทั้งสองก็แยกย้ายกันไป เด็กผู้มีความคิดดีงามก็สัญจร ไปสู่เขตแดนของอาณาจักรใกล้เคียง ไปนอนหลับหลบร้อนอยู่ใต้ร่มไม้ โดย หารู้ไม่ว่าราชาแห่งอาณาจักรนั้นได้สิ้นชีพลงและเหล่าเสนามาตย์กำลังเสาะ หาผู้มีคุณความดีขึ้นเป็นราชาองค์ใหม่ชาวบ้านในละแวกนั้นสังเกตเห็นว่า แม้ดวงอาทิตย์จะโคจรเคลื่อนคล้อย แต่ร่มไม้ที่เด็กนอนอยู่นั้นกลับหาได้ เปลี่ยนตำแหน่งไม่ ต่างพากันคิดว่านี่เป็นการณ์อันมหัศจรรย์ จึงไปรายงาน ให้เสนาบดีได้รับรู้


    ครั้นเมื่อได้ทราบ เสนาบดีจึงสั่งให้นำตัวเด็กผู้นั้นมารวมอยู่ในหมู่ผู้ที่จะ ได้รับการเลือกสรร ท่ามกลางชุมนุมของเหล่าพสกนิกร กษัตริย์องค์ใหม่ จะได้รับเลือกโดยช้างเผือกคู่บ้านคู่เมือง พอถึงวันพิธีช้างนั้นก็เดินตรงไป หาเด็กที่มอมแมมรุ่งริ่ง ซึ่งยืนอยู่หลังสุดของหมู่ผู้รอรับเลือก เจิมหน้าผาก ด้วยน้ำมนต์จากเต้าน้ำ และใช้งวงยกเด็กนั้นขึ้นวางไว้บนบัลลังก์


    ขณะที่เด็กผู้มีใจอกุศลไปนอนหลับอยู่ในราชอุทาน มีรถม้าคันหนึ่งวิ่ง เตลิดมาทับร่างและบั่นคอเด็กสิ้นชีพลงตรงนั้น


    ในเบื้องแรกนั้น การฝึกฝนพรหมวิหารนับเป็นเรื่องยาก เราจะค่อย ๆ คลายปมที่ผูกมัดเราอยู่ทีละเปลาะ อันได้แก่ความหลง และพิษร้ายทั้ง มวลในดวงจิต อุเบกขาจะช่วยลดทอนทิฏฐิมานะ มุฑิตาช่วยลดทอน ริษยา กรุณาช่วยลดทอนโลภะ และเมตตาช่วยลดทอนโทสะและความ โกรธ เมื่อโทสะหมดสิ้นลง ปรีชาญาณดุจกระจกเงาย่อมฉายเรืองรอง เมื่อความโลภหมดสิ้นลง ปรีชาญาณแยกแยะย่อมอุบัติเรืองโรจน์ เป็น ไปโดยลำดับดังนี้ เมื่อการปฏิบัติของเราแก่กล้าขึ้น และปรีชาญาณได้ เผยออก พรหมวิหารสี่ย่อมอุบัติขึ้นโดยธรรมชาติ โดยมิต้องใช้ความ พยายาม ดุจดังรัศมีและความอบอุ่นที่แผ่กำจายออกจากดวงอาทิตย์


    แม้จะมีคนเป็นอันมากคิดว่าตนอาจเข้าถึงปัญญาญาณได้โดยตรง ทว่า มันกลับมิได้ง่ายดายปานนั้น จนกว่าปมเงื่อนต่าง ๆ จะได้คลายออกแล้ว เท่านั้น หาไม่การกำหนดรู้ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ และโดยผ่านทวารทั้งสี่ แห่งเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เราจึงอาจเข้าสู่มณฑลแห่งธรรม ชาติอันสูงสุดของดวงจิต



    * จาก ประตูสู่การภาวนา *
    -ธรรมเทศนาของ ท่านชักดุด ตุลกู หนึ่งในธรรมาจารย์ รุ่นสุดท้าย -
    - แห่งวัชรนิกายของทิเบต-
     
  17. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    ขอบพระคุณในธรรมทานจ้า
     
  18. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    "เมื่อกลียุคทั้ง ห้าอุบัติขึ้น
    นี่คืออุบายวิธี แปรเปลี่ยนมัน
    ให้กลายเป็นหนทางแห่ง การตรัสรู้
    นี่คือแก่นแท้แห่งอมฤต คำสอนกระซิบบอก
    ซึ่งสืบทอดมาจากพุทธบัณฑิตแห่งสุวรรณทวีป
    เมื่อได้ปลุกกุศลกรรม แห่งการปฏิบัติธรรมในอดีตชาติ
    และถูกผลักดันด้วยการอุทิศอันแรงกล้า
    ข้าพเจ้าไม่ใยดีในเคราะห์กรรมและคำว่าร้าย
    เพื่อรับคำสอนกระซิบบอกว่าด้วยการบำราบ อัตตา
    บัดนี้ แม้ความตายจะมาถึง ข้าพเจ้าก็หาได้เศร้าเสียใจไม่"
    บทโศกลของท่านเกเช เชคาวา เยเช ดอร์เจ
    อ้างอิงจาก : The Root Text of the Seven
    Points of training the Mind

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  19. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    เมื่อพูดถึงตันตระ มีเรื่องที่พึงทำความเข้าใจกันก่อนว่า
    ตันตระ นั้น มิใช่เรื่องของสติปัญญา
    ทั้งไม่ใช่เรื่อง ปรัชญาที่ต้องอาศัยความนึกคิด
    หลักคำสอนใดๆ
    แม้พุทธปรัชญาสูงส่งที่ได้รับสืบทอดกันมาจากพุทธบัณฑิตแห่งสุวรรณทวีป
    ก็ล้วนไร้ความหมาย


    อันที่จริงแล้วคำสอนเกี่ยวกับตันตระนี้มีมานาน
    นับห้าพันปีดังหลักฐานที่บันทึกไว้ในคัมภีร์วิชญาณไภรวตันตระ ที่เล่าขานถึง
    เรื่องราวเมื่อครั้ง พระศิวะ และ เทวีของพระองค์ ปุจฉาวิสัจฉนา เกี่ยวกับสัจธรรมแห่งสากลจักรวาล
    เมื่อเทวีภามพระศิวะหาได้ตอบไม่
    พระองค์เพียงแต่ประทานวิถีทางหลายร้อยวิธีเพื่อช่วยให้
    พระชายาของพระองค์ได้พบกับคำตอบนั้นคำตอบ
    อย่างไรก็ตาม หากคุณเข้าใจได้อย่างแท้จริงถึงแก่นแท้แห่งตันตระ

    คุณก็คงจะไม่แปลกใจเลบยว่าเพราะอะไร ตันตระจึ่งเป็นคำสอนที่ถูกเข้าใจผิดมากที่สุด
    อย่างไรก็ตาม เมื่อนักคิดทางพุทธปรัชญามหายานในยุคหลัง (เมื่อนับจากยุคเริ่มต้นสมัยพุทธกาลไปจนถึงยุดก่อนที่พุทธศาสนาจะหายไปจากชมพูทวีป)
    ได้เห็นถึงความงดงามและแก่นแท้ของคำสอนสายนี้
    เขาเหล่านั้นก็ได้นำเอาแก่นคำสอนนี้ผสมผสาน
    เข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสายธาราที่งดงามแห่งพุทธปรัชญา
    ก่อเกิดพุทธสายโยคาตันตระ
    และแล้วเมื่อนิกายนี้ได้เข้าสู่ธิเบตก็ได้เข้าผสมผสานกับ ปรีชาญาณดั้งเดิมแห่งบอนปะก่อเกิดเป็นขุมทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่มีนามว่าพุทธวัชรยาน
    ดังนั้นตันตระจึ่งไม่ใช่สมบัติของใคร? ลัทธิใด?
    แต่เป็นสมบัติของมนุษย์ชาติ เฉกเช่นที่สัจจะนั้นเป็น


    แล้วตันตระนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใด?ล่ะ
    สิ่งที่ตันตระ นั้นสนใจก็คือ "ทำอย่างไร?"
    มนุษย์คนหนึ่ง จึ่งจะเป็น มนุษย์ที่แท้ มนุษย์ที่เป็นอิสระชน
    และไม่ถูกร้อยรัดด้วยอำนาจใด
    ไม่ว่าภายนอกนั้น จะเป็นเช่นไร สูงส่ง หรือ ต่ำต้อย
    อัปลักษณ์ หรือ งดงาม สมบรูณ์ หรือ พิการ เยาว์วัย หรือ ชรา
    หญิง หรือ ชาย ชาญฉลาด หรือ ขลาดเขลา
    จักรพรรดิ์ หรือ โสเภณี ขอทาน หรือ มหาเศรษฐี
    นักบวช หรือ โจรร้าย
    สำหรับ โลกของ ตันตระแล้ว เมื่อชี้ตรงเข้าไปในแก่นแท้แล้ว
    ธรรมชาติแท้ๆของมนุษย์(โพธิปัญญา)นั้น หาได้แตกต่้างกันไม่
    ดังมหาโจรผู้ชั่วร้าย นั้น สามารถกลายเป็น พุทธะได้เพียงชั่วข้ามคืน
    เขาสามารถแปรเปลี่ยนจนกลายมาเป็น
    ครูผู้ประเสริฐของมนุษย์ เทวา อสูร เดรัจฉาน เปรต หรือ สัตว์นรกได้ทั้งนั้น......
    ตันตระ ไม่สนว่า ท่านจะเป็นฮินดู พุทธ คริสต์ อิสลาม ท่านจะปฏิบัติโยคะ ซาเซน
    วิชญาณไภรวตันตระ หรือ มรณานุสติ เหล่านี้ล้วนเป็นเพียงหน้ากาก
    ภายใต้หน้ากากนั้นเราทุกคนก็เป็นมนุษย์ที่แท้ ที่มีความรัก ความทุกข์ ความเกลียดชัด ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    เวียนว่ายเหมือนกัน
    อันใดที่มีประโยชน์ก็ทำไป หาได้มีสิ่งใดขัดกับตันตระไม่
    เพราะ ตันตระสนใจในสิ่งเดียวเท่านั้น นั้นคือ
    โฉมหน้าทีึ่่แท้ภายในหน้ากากนั้น หากอุบายวิธีใดช่วยปลดหน้ากากนั้นออก
    เผยให้เห็น
    ธรรมชาติแท้ของมนุษย์ สิ่งนั้นย่อมอยู่ภายใต้ขอบข่ายของ ตันตระ


    ราได้กล่าวไปแล้วว่า ตันตระนั้น สนใจเพียงคำถามเดียว
    นั้นก็คือ"ทำอย่างไร?"
    มนุษย์คนหนึ่ง จึ่งจะเป็น มนุษย์ที่แท้ มนุษย์ที่เป็นอิสระชน
    และไม่ถูกร้อยรัดด้วยอำนาจใด
    ดังนั้น ตันตระ จึ่งเป็นเรื่อง ของอุบายวิธี ตลอดจนแนวทางแห่งการปฏิบัติ
    ตันตระมุ่งไปที่คำถามว่า อย่างไร? มิใช่ ทำไม?
    เนื่องด้วยคำถามว่าทำไม? มิใช่คำถามที่แท้
    เธอไม่อาจจะหาคำตอบใดๆได้จากคำถามทำนองนี้
    เช่น เธออาจจะถามว่า
    ทำไม? สรรพสิ่งจึ่งต้องเป็นไปตามอำนาจแห่งกฏ
    อิทัปปัจจยตา
    ใครล่ะ จะรู้
    แม้แต่พุทธองค์ก็หาได้ ล่วงรู้ อันที่จริงพระองค์เองได้ตรัสว่า
    "ไม่ว่าเราจะถือกำเนิดขึ้นหรือไม่ สัจจะนั้นดำรงอยู่เสมอก่อนแล้ว
    เรานั้นเป็นเพียงผู้ค้นพบ และ เปิดเผยมันเท่านั้น
    ดั่งเราเป็นผู้หงายถ้วยที่คว่ำไว้แล้วนั้นเอง
    ดังนั้นไม่ว่าจะมีพุทธะหรือไม่ก็ตาม ธรรมธาตุก็เป็นไปของมันเช่นนั้นเอง
    ดังที่มันเป็น ..."
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อเธอตั้งคำถามว่า เหตุใดสัจจะจึ่งต้องเป็นเช่นนี้ เหตุใดจึ่ง
    ไม่เป็นอย่างอื่นเล่า
    ขอให้เธอพึงรับรู้ไว้เถอะว่า แม้แต่พระพุทธองค์ก็
    หาได้มีความสามารถอันใดไม่ที่จะตอบคำถามนี้ของเธอได้
    นอกจากว่า มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง และนี้เลคือธรรมชาติแท้ของความจริง

    หากความจริงนั้นแปรเปลี่ยนไปเสมอๆตามเหตุและปัจจัย
    สิ่งนี้ยอมมิอาจจะเรียกได้ว่าเป็นสัจจะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กุมภาพันธ์ 2012
  20. datedoctor

    datedoctor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +678
    [​IMG]

    Dorje Tröllö


    ตันตระ เป็นเรื่อง ของ อุบายวิธี ด้วยเหตุนี้
    ตันตระจึ่งไม่ใช่ข้อเสนอแนะนำใดๆทางด้านสติปัญญา
    ไม่มีหลักคิด ทฤษฏี ไม่คำสอน ตันตระมีเพียงสิ่งเดียวคือ
    ทำอย่างไร? มนุษย์จึ่งจะเข้าปฏิสัมพันธ์ กับ สถาณการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆในชีวิต
    ตามคำสอนแห่งตันตระแล้ว สรรพสิ่งที่ถูกแบ่งแยกโดยหลักธรรมนั้น
    หาใช่สรรพสิ่งอย่างที่เป็นตามจริงไม่
    ดังนั้นตันตระจึ่ง สัมพัทธกับสภาวะที่เรียกว่าความไร้หวังมันเกิดจากคุณทิ้งหลักการทั้งหมดเสีย การคิดเชิงเหตุผลเสีย
    และ สัมพัทธกับสิ่งที่เป็นจริง ดังนั้นปรีชาญาณเยี่ยงนี้จึ่งได้ชื่อว่าปรีชาญาณบ้า
    เพราะความบ้าในที่นี้เกิดจากการไปพ้นหลักการ
    เมื่อสิ่งที่สับสน ระทมทุกข์และผิดปกติในชีวิตประจำวันถูก
    ยึดถือราวกับภาพลักษณ์ของความเป็นปกติ
    ดังนั้นสิ่งที่สุกสว่าง จริงแท้จึ่งดูราวกับเป็นความบ้า
    แต่ทว่าในความบ้านั้นปราศจากความสับสน

    ในวิถีชีวิตประจำวัน ความเกลียดชัง ความโกรธแค้น ชิงชัง ความขื่นขม
    ความรัก ความสุขทุกรุปแบบ ความปีติ ความตาย และ การมีชีวิต
    เหล่านี้คือสิ่งจริงแท้ที่ปรากฏ
    หากเราสามารถเข้าใจมันได้โดย ผ่านทางประสบการณ์
    มิใช่ความคิด หรือทฤษฏี ที่เสแสร้ง ดัดจริต ตอแหล เพื่อหลอกลวงตัวเอง และ ปกปิดความขาดเขลาของตน
    เพื่อความชอบธรรม หรือ กระทั้งเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับจิต
    นั้นแลคือหัวใจของการปฏิบัติตันตระ ในวัชรยาน
    ตันตระ จะตบหน้าคุณ จะเหยียบคุณไว้ บดขยี้คุณ กลืนกินคุณลงไปและ
    ขี้เอาคุณที่แหลกเหลวออกมาทางทวาร
    นำเอาพรมออกจากเท้าที่คุณยืนเหยียบไว้
    เพื่อ ที่ว่าคุณจะได้ดำรงอยู่อย่างหมดจด
    เป็นองค์รวม และ ไม่แบ่งแยกสิ่งต่างๆ หลีกเร้น ยึดถือ เพียงส่วนเสี้ยว
    มันอยากนะที่จะอธิบายถึงสิ่งนี้
    แต่ถ้าคุณเรียนรู้ที่จะมองแล้วล่ะก็คุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนทีเดียวว่า
    คุรมีชีวิตอยู่แต่เพียงภายใต้ถ้อยคำ
    และภาพมายาของความคิดของตนมากแค่ไหน?
    ไฟต้องร้อน ท้องฟ้าต้องเป็นสีฟ้า นั้นคือความจำได้หมายรู้ของคุณ
    พระพุทธเจ้าคือครูผู้ประเสริฐ นี่ก็เป็นความจำได้หมายรู้ของคุณ
    แม้กระทั้งความคิดที่ว่าคุณเป็นใครมีสถานภาพบทบาทอย่างไรในสังคม
    นั้นก็เป็นรูปแบบหกนึ่งของความจำได้หมายรู้ของคุณ
    คุณเคยชินกับสิ่งเหล่านี้แล้วยึดเอาภาพลักษณ์ของสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งตายตัว
    แต่ทว่าถ้าวันหนึ่งเกิดสรรพสิ่งจะไม่ได้เป็นไปตามภาพลักษณ์ที่คุณวาดไว้เล่า
    คุณจะยอมรับมันได้หรือ
    หากไฟนั้นไม่ได้ร้อนคุณจะยอมรับได้ไหมว่าสิ่งนี้คือไฟ หากพระพุทธองค์มิได้เป็นไปอย่างภาพลักษณ์ที่คุณวาดภาพไว้
    คุณจะปฏิเสธพระองค์ไหม?

    ในคัมภีร์เต๋า เต้อ จิง เล่าจื่อกล่าวว่า
    "ธรรมะให้กำเนิด หนึ่ง หนึ่งให้กำเนิด สอง สองให้กำเนิด สาม สามให้กำเนิดต่อไปนับไม่ถ้วน ธรรมะ เดิมทีไม่มีนาม รูป
    นามรูปที่เกิดมีในภายหลัง ล้วนเป็นเพราะมนุษย์นั้นเป็นผู้กำหนดเรียกขาน "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กุมภาพันธ์ 2012

แชร์หน้านี้

Loading...