ระดับของฌาน กับการละดับกิเลส มันไปทางเดียวกันได้ไหม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ต้นปลาย, 24 มกราคม 2012.

  1. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ไม่รู้หรอก ว่าตั้งอะไรไป แต่ว่า ฌานขนาดไหน ถึงจะดับกิเลสได้สนิท
    แล้ว ฌานในที่นี้ คือ ฌานในพระพุทธศาสนา นะครับ คือสงสัย
    หากฌานสมถะ คือความว่าง แล้วจะพัฒนายังไง เพราะตรงนั้น
    มันเหมือนทางตันของผม
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ป๊ะป๋า รู้ได้อย่างไรหละว่า มีว่าง

    ข้างบนเหมือนคำถาม แต่ไม่ใช่ คำถาม นะฮับ เป็นการ เตือนว่า ป๊ะป๋าก็
    สังเกตเห็นความว่าง ว่ามันมีอยู่ มะใช่เหรอ

    ก็ความว่าง มันถุกสังเกตุอยู่ ป๊ะป๋า ก็แค่เอาสิ่งที่ ถูกสังเกต ถูกสำรวจ หรือ
    ไปพบเข้านั่นแหละ มาเป็น สิ่งอาศัยระลึกดูความไม่เที่ยง

    แค่นั้นเอง ก็เดินต่อได้แล้ว เพียงแต่ว่า กว่าจะดูได้แต่ละครั้งเนี่ยะ มันต้อง
    ไปทำอะไรให้ว่างๆก่อน ซึ่งชำนาญก็ไม่ยาก หากไม่ชำนาญ โลกคับแคบ
    ก็ยุ่งหน่อย กว่าจะยกมาภาวนาต่อยอดได้แต่ละครั้ง จะไม่ทันกินเอา ถ้ามัว
    แต่เลือกของทาน ( ตัณหาจริตก็เรียก )
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ผมยังไม่เคยเห็นเลยว่า ฌานที่ว่าเป็นฌานนอกพระพุทธศาสนาหน้าตามันเป็นอย่างไร.

    เพราะทุกวันนี้ที่ฝึกมาที่เรียนรู้มาก็ฝึกตามแบบพระพุทธเจ้า สอบสภาวะอารมณ์ได้ทั้งในพระไตรปิฏก และ อรรถกถา เช่น วิสุทธิมรรค เป็นต้น.

    ช่วงหลังๆตั้งแต่หลวงพ่อปราโมทย์ท่านพูดบ่อยๆนี่มีคนชอบใช้คำนี้กันเยอะนะ..จริงๆแล้วไม่ถูกต้องหลอกนะครับ.
     
  4. โสรภัตร

    โสรภัตร สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    ดีมากครับ:boo:
     
  5. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ตามกำลัง ตามความเข้าใจ ในตน มันก็ไม่จนหนทาง
    ไม่พาดพิงใคร กรรมฐาน และศีล เขาให้ระวัง วาจา และสัจจะมากที่ซู๊ด
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เคยได้ยินมาอีกทีนะป๋า
    ให้พิจารณาความว่างไป ว่าความว่างมันก็ไม่เที่ยง
    เข้าสมาธิได้แล้ว องค์ฌาณเกิด 1 2 3 4 ก็พิจารณาองค์ฌาณไปว่ามันก็ไม่เที่ยง

    พิจารณาความไม่เที่ยง คือเห็นว่ามัน มีเสื่อม มีเจริญ
    พิจารณาไปเรื่อยๆ จนกว่า จิตมันจะเข้าใจเรื่องความไม่เที่ยง จะสะเทือนเลื่อนลั่น ฟ้าถล่มดินทะลาย
    อาการเป็นไงก็ไม่รู้เหมือนกันนะ เพราะยังไปไม่ถึง
    แต่คิดว่าคงเหมือนกับตอนที่เรารู้ความจริงบางอย่างที่ถูกปกปิดมานาน
    แบบว่าเหมือนโดนฟ้าผ่าเข้ามากลางใจเรา เงี้ย นะ
    หรือความรู้สึกตอนที่ทำผิดแล้วรู้ว่าผิด จิตมันน้ำตาตกใน หายบ้าในทันใด
    จิตมันสยดสยองกับความสำนึกผิด ความรู้ผิด แบบว่าไม่กล้าทำผิดในเรื่องนั้นอีกเลย

    ป๋านั่งสมาธิได้ แล้วเกิดอาการที่เป็นผลจากสมาธิเป็นโล่งเย็นว่าง นี่ก็ขออนุโมทนาด้วยนะ
    จิตที่ทำได้ถึงตรงนี้ พระท่านว่า ให้เจริญสติเจริญปัญญา ด้วยการดูกาย ดูอิริยาบท4 ต่อยอดไปก็ได้
    เพราะจิตมีสมาธิตั้งมั่นได้มากจะพิจารณาได้นาน ได้เนื้อได้หนัง เห็นผลเร็ว
    ป๋านั่งสมาธิได้กำลังแล้ว ก็เอามาพิจารณากาย เจริญสติเจริญปัญญาต่อยอด
    น่าจะได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย

    อะไรที่เราถนัดและทำได้ดี มีประโยชน์ เรารู้ได้ด้วยตัวเราเอง เราก็อย่าไปทิ้ง
    แต่ให้รู้วิธีที่จะใช้สิ่งนั้นมาเจริญต่อยอด สติ สมาธิ และปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    ที่ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับการนั่งสมาธิ คือเรื่องญาณและวิปัสสนูกิเลส 10 ประการ
    ที่เราควรรู้จะได้ไม่ติดข้องในเรื่องกิเลสสุขละเอียดที่เกิดจากสมาธิ อยู่นาน

    บทความประกอบ
    ญาณ16 และ วิปัสสนูปกิเลส 10
    ญาณที่ 1 เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่รู้จัก รูปและนาม โดยจะแยกทั้ง2สิ่งออกจากกัน
    เมื่อผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไป เจริญสติกำหนดรูปนามยิ่งขึ้นไปก็จะขึ้นถึงญาณที่ 2
    ญาณที่ 2 เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ คือ เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม คือจะเห็นว่า รูปนามนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน มีความเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยกันเช่นขณะที่การก้าวไปๆ การคู้ การเหยียด การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพราะว่ามีธรรมชาติอย่างหนึ่งเป็นตัวเหตุปัจจัย คือมีจิต จิตปรารถนาจะให้กายเคลื่อนไหว กายก็เคลื่อนไหวไป จิตปรารถนาจะยืน กายก็ยืน จิตปรารถนาจะเดิน กายก็เดิน จิตปรารถนาจะนอน กายก็นอน คือลมก็ไปผลักดันให้กายนั้นเป็นไป อย่างนี้เรียกว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป นามคือจิตใจเป็นปัจจัยให้เกิดรูป รูปที่ก้าวไป รูปที่เคลื่อนไหว เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าจิตเป็นปัจจัย ส่วนรูปบางอย่างรูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เช่นเสียง เสียงมีมากระทบประสาทหู เสียงเป็นรูป เมื่อกระทบประสาทหูซึ่งเป็นรูปด้วยกัน ก็เกิดการได้ยินขึ้น เกิดการรับรู้ทางหูขึ้น ก็จะมองเห็นว่ามันเป็นเหตุปัจจัยกัน เสียงมากระทบจึงเกิดการได้ยินขึ้น เรียกว่ารูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เย็นร้อนอ่อนแข็งอ่อนตึง เป็นรูปมากระทบกายก็เกิดการรับรู้ซึ่งเป็นนามเกิดขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีความเพียรดูรูปนาม เห็นความเกิดดับ เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของรูปนามอยู่เสมอก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 3
    ญาณที่ 3 สัมมสนญาณ ในสมมสนญาณนี้ก็เป็นญาณที่เห็นไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงของรูปนาม เห็นทุกขัง คือความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของรูปนาม เห็นอนัตตา ความบังคับบัญชาไม่ได้ของรูปนาม แต่ว่าการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในญาณที่ 3 นี้ยังเอาสมมุติบัญญัติมาปน ยังมีสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังมา เอาจินตามยปัญญาความตรึกนึกคิดมาปนอยู่ด้วย ยังไม่บริสุทธิ์ในความเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ทำให้รู้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ยังมีสมมุติบัญญัติ มีปัญญาที่ได้จากการได้ฟัง จากการคิดพิจารณาขึ้นมา ก็เกิดเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติได้ทำความเพียร กำหนดดูรูปนามเรื่อยไปก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 4
    ญาณที่ 4 คือ อุทยัพพยญาณ ในอุทยัพพยญาณนี้ ก็แบ่งเป็น 2 ตอนเป็น ตรุณอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง กับเป็น พลวอุทยัพพยญาณ อย่างหนึ่ง คือ เป็นอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน กับอุทยัพพยญาณอย่างแก่ คือ ญาณที่ 4 อย่างอ่อนกับญาณที่ 4 อย่างแก่ ในขณะที่ญาณที่ 4 อย่างอ่อน คือตรุณอุทยัพพยญาณนี้ ก็จะทำให้เกิด วิปัสสนูปกิเลสขึ้น ที่จะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง ถ้าผู้ปฎิบัติไม่เข้าไปสนใจวิปัสสนูปกิเลสนั้นก็จะผ่านไป ถ้าผู้ปฏิบัติทำความเพียรต่อไปไม่ลดละ เพ่งดูรูปนามที่เกิดดับ เกิดดับ อยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ก็จะขึ้นสู่ญาณที่ 5
    ญาณที่ 5 เรียกว่า ภังคญาณ ในภังคญาณนี้จะเห็นแต่ฝ่ายดับ เห็นรูปนามนั้นดับไป ดับไปด้วยความเร็วเพราะรูปนามเกิดดับรวดเร็วถี่มาก เมื่อญาณแก่กล้า ความรู้สติปัญญาแก่กล้าเข้าไปทันกับรูปนามที่ดับเร็ว มันก็เลยเห็นแต่ดับๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับไป ดับไป ท่านอุปมาเหมือนยืนอยู่ในตรอกมองไปปากตรอก ปากตรอกนั้นเห็นรถวิ่งผ่านแว่บ ผ่านไปๆ ๆ ๆ เห็นแต่ฝ่ายดับๆ ๆ ๆ ไป นี่เป็นญาณที่ 5 เมื่อมีความเพียร ไม่ท้อถอย กำหนดดูไปเรื่อยๆ เห็นรูปนามเกิดดับ ดับไป ดับไป ดับไป ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 6
    ญาณที่ 6 เรียกว่า ภยญาณ จะเห็นรูปนามที่มันดับไปนั้นแต่เกิด ความรู้สึกขึ้นในใจว่าเป็นภัยเสียแล้ว เห็นว่ามันเป็นภัย ก่อนนั้นเคยหลงไหล แต่ตอนนี้รู้สึกว่าเป็นภัย คือรูปนามที่ประกอบเป็นชีวิตเป็นอัตภาพเป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งดูไปแล้วเป็นแต่รูปนาม มันจะเห็นว่าก็มันดับอยู่อย่างนี้ มันย่อยยับ ต่อหน้าต่อตา ไม่ว่าส่วนไหนมันก็ดับไปหมด สิ่งที่ปรากฏให้รู้ดับไป ตัวที่รู้ดับไป ตัวผู้รู้ดับไป มันมีแต่ความดับไป ดับไป มันรู้สึกว่าเป็นภัย เป็นภัยเสียแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่น่าอภิรมย์เสียแล้วในชีวิตนี้ เป็นภัย
    ญาณที่ 7 อาทีนวญาณ ก็จะเกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ ในขณะที่เห็นรูปนามดับไป ดับไป เกิดความรู้สึกว่าเป็นโทษ นอกจากจะเห็นภัยแล้ว ยังรู้สึกว่าเป็นโทษอีก
    ญาณที่ 8 คือ นิพพิทาญาณ นิพพิทาญาณนี้จะรู้สึกเบื่อหน่าย ในเมื่อรูปนามเป็นภัยเป็นโทษมันก็รู้สึกเบื่อหน่ายไม่ได้ติดใจเลยในรูปนามนี้ มันน่าเบื่อจริงๆ แต่ก็ไม่หนี ไม่ท้อถอย ก็ยังคงดูต่อไป แต่บางคนก็อาจจะเลิกรา เบื่อมากๆ เข้า เมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 9
    ญาณที่ 9 มุญจิตุกัมยตาญาณ คือ มีความรู้สึกใคร่จะหนีให้พ้น เมื่อมันเบื่อแล้วก็ใคร่จะหนี มีความรู้สึกอยากจะหนีไป เหมือนบุคคลที่อยู่ในกองเพลิง มันก็อยากจะไปให้พ้นจากกองเพลิงเหล่านี้ จากนั้นเมื่อเพียรพยายามต่อไปก็จะขึ้นญาณที่ 10
    ญาณที่ 10 ปฏิสังขาญาณ ในปฏิสังขาญาณนี้มันจะหาทางว่าทำอย่างไร ถึงจะพ้นได้ ในเมื่อตอนแรกมันใคร่จะหนี พอถึงญาณอันนี้ก็หาทางที่จะหลุดพ้นให้ได้ เมื่อเพียรพยายามต่อไป ก็จะขึ้นถึงญาณที่ 11
    ญาณที่ 11 สังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณนี้ มีลักษณะวางเฉยต่อรูปนาม คือเมื่อกำหนดรู้ หาทางหนี หนีไม่พ้น ยังไงก็หนีไม่พ้น ก็ต้องดูเฉยอยู่ การที่ดูเฉยอยู่นี้ทำให้ สภาวจิตเข้าสู่ความเป็นปกติในระดับสูง ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปเวลาเกิดเห็น ทุกข์เห็นโทษเห็นภัยนี้สภาวะของจิตใจจะดิ้นรนไม่ต้องการ จะกระสับกระส่ายดิ้นรน แม้แต่ในวิปัสสนาญาณก่อนหน้าสังขารุเปกขาญาณ ก็ยังมีลักษณะความดิ้นรนของจิต คือยังมีความรู้สึกอยากจะหนี อยากจะให้พ้นๆ สภาวะของจิตยังไม่อยู่ในลักษณะที่ปกติจริงๆ มันก็หลุดพ้นไม่ได้ แต่เมื่อมันดูไปจนถึงแก่กล้าแล้วไม่มีทางก็ต้องวางเฉยได้ ซึ่งในขณะที่เห็นความเกิดดับเป็นภัยเป็นโทษน่าเบื่อหน่ายอยู่อย่างนั้นมันก็ยังวางเฉยได้ แม้จะถูกบีบคั้นอย่างแสนสาหัส แทบจะขาดใจมันก็วางเฉยได้ เมื่อวางเฉยได้มันก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 12
    ญาณที่ 12 อนุโลมญาณ เป็นญาณที่เป็นไปตามอำนาจกำลังของอริยสัจจ์ที่จะสอดคล้องต่อไปในโลกุตตรญาณ จากนั้นก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณที่ 13 เรียกว่า โคตรภูญาณ
    ญาณที่ 13 โคตรภูญาณ คือญาณที่มีหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชนก้าวสู่ความเป็นอริยะ ในขณะนั้นจะทิ้งอารมณ์ที่เป็นรูปนามไปรับนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ว่าโคตรภูญาณยังเป็นโลกิยะอยู่ ตัวมันเองเป็นโลกิยะ แต่มันไปมีอารมณ์เป็นนิพพาน แล้วจากนั้นก็จะเกิดมัคคญาณขึ้นมา
    ญาณที่ 14 มัคคญาณ มัคคญาณนี้เป็นโลกุตตรญาณ จะทำหน้าที่ประหารกิเลสระดับอนุสัยกิเลส ทำหน้าที่รู้ทุกข์ ละเหตุแห่งทุกข์ แจ้งนิโรธความดับทุกข์ เจริญตนเองเต็มที่ คือองค์มรรค 8 มีการประชุมพร้อมกัน ทำหน้าที่ละอนุสัยกิเลสแล้วก็ดับลง มีนิพพานเป็นอารมณ์
    ญาณที่ 15 ผลญาณ ผลญาณเป็นโลกุตตรญาณ เกิดขึ้นมา 2 ขณะ เป็นผลของมัคคญาณ ทำหน้าที่รับนิพพานเป็นอารมณ์ 2 ขณะ แล้วก็ดับลง
    ญาณที่ 16 ปัจจเวกขณญาณ ญาณพิจารณา มรรค ผล นิพพาน เป็นโลกิยญาณ ญาณพิจารณา เหมือนคนที่ผ่านเหตุการณ์อะไรมา ก็จะกลับพิจารณาสิ่งที่ผ่านมา แต่ญาณนี้ พิจารณามรรคที่ตนเองได้ พิจารณาผลที่ตนเองได้ พิจารณาพระนิพพาน

    วิปัสสนูปกิเลส 10
    วิปัสสนูปกิเลส มี 10 ประการ
    โอภาส คือ แสงสว่าง เกิดความสว่างขึ้นในใจ จิตใจของบุคคลนั้นจะรู้สึกเกิดความพอใจกับสิ่งอัศจรรย์ในใจที่มันปรากฏขึ้น มีความสว่างในจิตในใจขึ้น มีเหมือนเป็นแสงสว่างอยู่ทั่วตัว เกิดความยินดีพอใจ เมื่อเกิดความยินดีพอใจรูปนามก็มองไม่เห็น ไม่เห็นรูปนาม เพราะมัวติดอยู่กับแสงสว่างเหล่านั้น เรียกว่ามี นิกันติ
    ญาณะ คือ ความรู้ เกิดความรู้แก่กล้าขึ้น มีความรู้สึกว่าตัวเองนั้นรู้อะไรทะลุปรุโปร่งไปหมด จะคิดจะนึกจะพิจารณาอะไรมันเข้าใจไปหมด ก็เกิดความพอใจยินดีติดใจในความรู้ของตนที่เกิดขึ้น วิปัสสนาญาณก็ไม่เจริญก้าวหน้า
    ปีติ คือ ความอิ่มเอิบใจ จะมีความอิ่มเอิบใจอย่างมาก อย่างแรงกล้า จิตใจมีความปลื้มอกปลื้มใจปิติอิ่มเอิบอย่างมาก แล้วก็เกิดความยินดีพอใจในปีติเหล่านี้ วิปัสสนาก็ไม่เจริญ
    ปัสสัทธิ คือ ความสงบอย่างแรงกล้า จิตใจมีความสงบอย่างมาก มีความนิ่ง ความสงบ ลงไปอย่างมาก แล้วก็เกิดความพอใจเกิดความยินดี พอใจในความสงบ ที่จริงความสงบมันเป็นเรื่องดี แต่มันไปเสียที่เกิดความยินดีพอใจ ตัวความยินดีพอใจเป็นโลภะ มักจะเกิดขึ้นถ้ารู้ไม่ทัน พอเกิดแล้ว การเห็นรูปนามก็ไม่เห็น ไปติดอยู่กับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้
    สุขะ คือ ความสุขอย่างแก่กล้า คือ ความสบายใจ ใจเย็นสบายมาก แล้วก็เกิดนิกันติ คือความพอใจในความสบาย เป็นโลภะเช่นกัน วิปัสสนาญาณก็เจริญไม่ได้
    อธิโมกข์ คือ ตัดสินใจเชื่อ เกิดความเชื่อลงไปอย่างมาก เชื่อถือลงไป แล้วก็ติดใจในความเชื่อถือเหล่านั้น ไม่เห็นรูปนามอีกเหมือนกัน
    ปัคคหะ คือ ความเพียรอย่างแรงกล้า ผู้ปฏิบัติจะเกิดความเพียรอย่างมาก เพราะทำให้ไม่มีความพอดี ก็ไม่เห็นรูปนามต่อไป เพราะเกิดความติดใจในความเพียรนั้น
    อุปัฏฐานะ คือ สติ เกิดสติแก่กล้า มีความรู้สึกว่าสตินี้คล่องว่องไวเหลือเกินที่จะกำหนดรู้สภาวธรรมต่างๆ อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบในส่วนต่างๆ จุดต่างๆ สติมีความรับรู้ว่องไวมาก แล้วก็เกิดความพอใจในสติที่มีสติระลึกรู้ได้เท่าทัน ที่จริงสติเป็นเรื่องดีเป็นสิ่งที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น แต่มันไปเสียตรงที่มีนิกันติ คือมีความยินดีพอใจในสติที่เกิดขึ้น วิปัสสนาก็ก้าวไปไม่ได้
    อุเบกขา คือ ความเฉยๆ จิตใจมีความเฉยมาก ไม่รู้สึกดีใจเสียใจ ใจมีความเฉย แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดนิกันติ พอใจในความเฉยได้ สังเกตได้ยาก มันเฉยแล้วพอใจในความเฉย ไม่โลดโผน วิปัสสนาก็เจริญไม่ได้
    นิกันติ คือ ความยินดีติดใจ เป็นตัวสำคัญที่ทำให้วิปัสสนาญาณไม่เจริญฉะนั้น ก็เป็นที่เข้าใจว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ที่จริงเป็นเรื่องดี ปิติก็ดี ความสุขก็ดี ความสงบก็ดี ความรู้สติก็ดี มันเป็นเรื่องดีเกิดขึ้นมา แต่ว่ามันเสียตรงที่มีนิกันติ คือความเข้าไปยินดีติดใจ ทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นไม่ก้าวหน้าเพราะไปติดอยู่แค่นั้น
    เมื่อได้เจอ นิมิต หรือ ติดใน วิปัสสนูปกิเลส ในกลับมาที่ องค์ภาวนา หรือ องค์กรรมฐาน เช่น ทำอานาปานสติโดยบริกรรม พุทโธ เมื่อเจอนิมิตก็ให้กลับมาที่พุทโธทันที

    ***********************************************

    .....................................................
    “เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

    ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
    เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
    เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
    เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
    เป็นไปเพื่อสันโดษ
    เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
    เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
    เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

    แสดงกระทู้ - ญาณ16 และ วิปัสสนูปกิเลส 10 • ลานธรรมจักร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วิปัสสนากัมมัฏฐาน[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]วิปัสสนากัมมัฏฐาน[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif] [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]คืออุบายวิธีสำหรับฝึกจิตให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๔ ข้อ ๕๕ หน้า ๓๐ ได้ให้ความหมายของวิปัสสนาไว้ว่า
    กตมา ตสฺมึ สมเย วิปสฺสนา โหติ ยา ตสฺมึ สมเย ปญฺญา ปชานานา วิจโย ปวิจโย ธมฺมวิจโย สลฺลกฺขณา อุปลกฺขณา ปจฺจุปลกฺขณา ปณฺฑิจฺจํ โกสลฺลํ เนปุญฺญํ เวภพฺยา จินฺตา อุปปริกฺขา ภูรีเมธา ปริณายิกา วิปสฺสนา สมฺปชญฺญํ ปโตโท ปญฺญา ปญฺญินฺทฺริยํ ปญฺญาพลํ ปญฺญาสตฺถํ ปญฺญาปาสาโท ปญฺญาอาโลโก ปญฺญาโอภาโส ปญฺญาปชฺโชโต ปญฺญารตนํ อโมโห ธมฺมวิจโย สมฺมาทิฏอยํ ตสฺมึ สมเย วิปสฺสนา โหติ [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]แปลความว่า[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    วิปัสสนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาเหมือนรัตนะ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฎฐิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า วิปัสสนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]อย่างไรก็ตาม แม้พระไตรปิฎกจะให้ความหมายของคำว่า วิปัสสนา ไว้หลายนัยก็ตาม แต่ผู้ปฏิบัติก็ต้องผ่านกระบวนการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฎฐาน ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก จึงจะสามารถพัฒนาวิปัสสนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้ หลักการฝึกเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น แม้ผู้เข้าฝึกจะมีสมาธิในระดับใดก็ตาม ก็สามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ แม้แต่จิตที่สงบชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ก็สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ปราศจากขณิกสมาธิเสียแล้ว วิปัสสนาย่อมมีไม่ได้ (วิสุทธิ.ฏีกา. ๑/๑๕/๒๑) อีกทั้งผู้เจริญสมถกัมมัฏฐานจนได้ผลของสมถะในระดับสูง เช่น แสดงฤทธิ์ได้ ก็สามารถนำผลนั้นมาเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ด้วย เพราะการได้ฌานสมาบัติจนถึงขนาดแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้นั้น ถ้ายังไม่ผ่านกระบวนการฝึกจิต ด้วยหลักวิปัสสนากัมมัฏฐานจนถึงขั้นบรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็ยัง ไม่ถือว่าได้บรรลุจุดหมายสูงสุดในทางพุทธศาสนา เพราะอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เสื่อมสลายไปได้เสมอ ในกรณีที่เกิดกับคนยังมีกิเลสอยู่ แต่ถ้าเกิดกับคนที่ไม่มีกิเลส อิทธิฤทธิ์ก็สามารถใช้เป็นคุณประโยชน์ได้ เช่นการที่พระมหาโมคคัลลานะแสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อประกาศคุณของพระพุทธศาสนา[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาถือว่า การฝึกฝนอบรมจิตให้เกิดปัญญา ตามกระบวนการวิปัสสนากัมมัฏฐานถึงขนาดทำลายกิเลสได้ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะการฝึกฝนอบรมจิตนี้ย่อมจะทำให้ความไม่รู้(อวิชชา)หายไป เปรียบเหมือนแสงสว่างทำให้ความมืดหายไป ด้วยจิตของปุถุชนโดยปกติหนาแน่นไปด้วยกิเลส เมื่อได้รับการชำระโดยกระบวนการวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว สภาพจิตก็จะบางเบาจากกิเลส เปลี่ยนไปในทางที่ดี จากสภาพจิตของปุถุชนธรรมดากลายเป็นกัลยาณปุถุชน จนเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นชีวิตในอุดมคติของพระพุทธศาสนา ดังนั้น เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า พระอรหันต์ทุกรูปต้องผ่านการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน (สติปัฏฐาน) มาแล้วทั้งนั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สรุปสาระสำคัญของหลักมหาสติปัฏฐาน
    ก. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ๑.การกำหนดลมหายใจเข้าออก
    การพิจารณาลมหายใจเข้าออกนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงสอนให้ติดตามพิจารณาลักษณะของการหายใจเข้าออกอย่างใกล้ชิด คือเมื่อหายใจเข้าหรือออกสั้นยาวอย่างไร ก็ให้รู้อย่างแน่ชัด เปรียบเหมือนนายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมฏฐาน ท่านให้พิจารณาอาการที่ท้องพองออก หรือยุบเข้า เนื่องจากการหายใจเข้าหรือหายใจออก ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกับการชักเชือกกลึง การกำหนดรู้อาการพองอาการยุบของท้องนี้เป็นหลักสำคัญยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา เพราะเป็นการกำหนดรูปหยาบ ซึ่งรู้ได้ง่ายกว่าการกำหนดรูปนามอย่างอื่น ๆ และมีปรากฏอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องไปแสวงหาเหมือนอาการที่ปรากฏทางกายอย่างอื่นหรือทางนามธรรม เป็นการปฏิบัติที่สะดวกและง่ายแก่สามัญชนทั่วไป ส่วนอาการที่ปรากฏทางกายอย่างอื่นหรือทางนามธรรมอันได้แก่ เวทนา จิต และธรรมนั้น ให้กำหนดเมื่อสภาวะเหล่านี้ ปรากฏชัดเจนกว่าอาการพองอาการยุบ โดยการกำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ อนึ่ง ขอให้สังเกตว่า ในการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน มีการให้เพ่งลมหายใจด้วยเหมือนกันซึ่งเรียกว่า อานาปานสติ แต่ในการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานวิธีนี้ ไม่เหมือนกับปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน กล่าวคือ แทนที่จะเพ่งดูอาการพองยุบของท้อง ท่านให้เพ่งดูลมที่หายใจเข้าออกซึ่งกระทบปลายจมูกหรือริมฝีปากบน และตามเพ่งเข้าไปในช่องท้อง จนกระทั่งหายใจออกมา แต่พระพุทธโฆษาจารย์ก็กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า การเพ่งลมหายใจเข้าออกนี้ เป็นกัมมัฏฐานที่ทำสำเร็จได้ยาก เพราะเป็นของละเอียดมาก เป็นกัมมัฏฐานของมหาบุรุษ เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๒. กำหนดอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    นอกจากการกำหนดอาการพองยุบของท้องแล้ว ผู้ปฏิบัติยังจะต้องกำหนดรู้อาการที่ปรากฏทั้งหลายอื่นอีกด้วย เช่น การเคลื่อนไหวอิริยาบถต่าง ๆ มี ยืน เดิน นั่ง นอน การแลดู การเหลียวดู การคู้อวัยวะ ฯลฯ ในทุกขณะ การทำกิจประจำวันต่าง ๆ ก็ต้องกำหนดรู้อยู่ทุกขณะเช่นเดียวกัน เช่น การกิน การดื่ม การเคี้ยว การนุ่งห่ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การดู การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัส
    ๓.พิจารณาอาการ ๓๒
    อาการ ๓๒ ซึ่งมีอยู่ในร่างกาย ได้แก่อวัยวะส่วนต่าง ๆ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ และน้ำมูตร ในการพิจารณาอาการ ๓๒ นี้ ให้พิจารณาลักษณะของอาการนั้น ๆ ให้เห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน ถ้าจะพิจารณาให้เห็นอาการเหล่านี้เป็นของปฏิกูลล้วนแต่ไม่สะอาด ก็เป็นการเจริญสมถกัมมัฏฐาน
    ๔.พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย
    ธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ธาตุดินมีลักษณะแข็งและอ่อน ธาตุน้ำมีลักษณะไหลและเกาะกุม ธาตุไฟมีลักษณะร้อนและเย็น ธาตุลมมีลักษณะเคลื่อนไหวและเคร่งตึง ในการพิจารณา ให้ใช้สติพิจารณาว่าร่างกายนั้นไม่ใช่สัตว์ บุคคล เรา เขา เป็นเพียงแต่ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบกันอยู่เท่านั้น แต่ละอย่างเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๕. พิจารณาศพ
    ศพนี้ มีลักษณะแตกต่างกัน แล้วแต่ทิ้งไว้เร็วหรือช้า ตลอดจนเป็นกระดูกและเถ้าถ่าน รวม ๙ ชนิด ในการพิจารณา จะต้องใช้สติพิจารณาเปรียบเทียบกับกายของเราว่า จะต้องเน่าเปื่อยไปอย่างนั้นเป็นธรรมดา เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ข. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    การใช้สติกำหนดรู้อาการของเวทนา ซึ่งเรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการกำหนดรู้ในเมื่อสุขหรือทุกข์กำลังเกิดขึ้นว่า สุขหรือทุกข์อย่างไร หรือเมื่อรู้สึกว่าไม่สุขไม่ทุกข์ก็รู้ชัดแก่ใจ หรือสุขหรือทุกข์เกิดขึ้นจากอะไรเป็นมูลเหตุ เช่น เกิดจากเห็นรูป หรือได้ยินเสียง หรือได้กลิ่น หรือได้ลิ้มรส หรือได้สัมผัส ก็รู้ชัดแจ้ง หรือเมื่อรู้สึกเจ็บหรือปวดหรือเมื่อย หรือเสียใจ แค้นใจ อิ่มใจ ฯลฯ ก็มีสติรู้กำหนดรู้ชัดว่า กำลังรู้สึกเช่นนั้นอยู่

    ค. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    การใช้สติกำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางวิญญาณขันธ์ ซึ่งเรียกว่า จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการกำหนดรู้ว่าจิตมีอารมณ์อย่างไร เช่นเมื่อจิตมีราคะ โทสะ โมหะ ความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน ความสงบ ความไม่สงบ ฯลฯ ก็รู้ชัดว่าจิตมีอารมณ์อย่างนั้น ๆ ตามความเป็นจริง

    ง. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่การใช้สติกำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางสังขารขันธ์ คือความคิดนึก และสัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ กล่าวคือเมื่อเราคิดอะไรอยู่ก็ต้องกำหนดว่าคิดอะไรอยู่ หรือเมื่อเกิดความพอใจรักใคร่ ความพยาบาท ความหดหู่ท้อถอย ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ หรือความลังเลสงสัย ซึ่งเรียกว่า นิวรณ์ ก็ต้องกำหนดรู้ ได้ลิ้มรสหรือได้ถูกต้องสิ่งของ ก็ต้องกำหนดรู้ทันที หรือเมื่อเกิดความไม่พอใจ ความละอาย ความเมตตา ความคิด ความเห็น ความโลภ ความโกรธ ความริษยา ฯลฯ ก็กำหนดรู้เช่นเดียวกันตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]นอกจากนี้ท่านยังให้กำหนดรู้เห็นเบญจขันธ์ คือรู้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดเบญจขันธ์เป็นอย่างนี้ และความสลายของเบญจขันธ์เป็นอย่างนี้ และให้ติดตามกำหนดรู้อาการที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามลำดับ ตลอดจนผลที่เกิดจากอาการกระทบนั้นว่า มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรเกิดขึ้นมา[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อจะกล่าวโดยสรุปแล้ว สติปัฏฐานนี้มิใช่อะไรอื่นนอกจากการใช้สติกำหนดรู้อยู่ทุกขณะว่า ในขณะหนึ่ง ๆ นั้น เรากำลังมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรหรือกำลังทำอะไรอยู่ ทั้งนี้ กำหนดกันเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น ไม่พิจารณาย้อนไปถึงการกระทำหรืออิริยาบถ หรือความรู้สึกนึกคิด ในอดีตที่ล่วงไปแล้ว ไม่ว่าจะช้านานหรือเร็วเพียงใด แม้ในวินาทีที่ล่วงไปแล้วก็ไม่ให้คำนึงถึง และไม่ให้พิจารณาล่วงหน้าถึงการกระทำ หรืออิริยาบถ หรือความรู้สึกนึกคิดในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ตามปกติมนุษย์เราไม่เคยได้ใช้สติกำหนดถึงสิ่งที่กำลังเกิดอยู่ในปัจจุบันมาก่อน แต่ชอบกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่อาจจะเกิดขึ้น คือพิจารณาแต่อดีตและอนาคตแต่ในการชำระใจให้บริสุทธิ์นี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ใช้สติกำหนดถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น เพราะฉะนั้น ทฤษฎีนี้จึงได้ชื่อว่า ปัจจุบันธรรม[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]การกำหนดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เราลืมนึกถึงว่า เรากำลังรู้สึกนึกคิดอะไรอยู่ หรือกำลังทำอะไรอยู่ และทำให้ใจเลื่อนลอยไปตามอารมณ์ที่คิด เช่นเมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความคิดของเราไม่ได้หยุดอยู่ตรงที่เห็นนั้น แต่เราจะคิดต่อไปว่า สวยหรือไม่สวย เมื่อเห็นว่าสวยก็เกิดความชอบใจขึ้น แล้วก็ทำให้อยากได้ และคิดวิธีที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้น ถ้าไม่ได้ก็เกิดทุกข์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยก็เกิดอารมณ์ไม่ชอบใจขึ้น ทำให้เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน เพราะเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบันธรรมคือเมื่อเห็นก็หยุดอยู่เพียงนี้ คือ เพียง สักแต่ว่าเห็น ไม่ให้พิจารณาต่อไปว่า สวยหรือไม่สวย ดีหรือไม่ดี จิตจึงจะไม่เลื่อนลอยไปตามอารมณ์ มีความแน่วแน่ ไม่หวั่นไหวซึ่งจะทำให้จิตมีสมาธิเข้มแข็งแรงกล้าขึ้นเป็นลำดับ การที่มีจิตแน่วแน่เช่นนี้เรียกว่า ได้ถึงซึ่งจิตตวิสุทธิ คือมีจิตหมดจดโดยลำดับ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]วิธีปฏิบัติกัมมัฏฐานในมหาสติปัฏฐานสูตร[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    เนื่องจากในมหาสติปัฏฐานสูตร มีกัมมัฏฐาน ๒๑ วิธี สำหรับให้ผู้ปฏิบัติได้กำหนด มีอารมณ์ทั้งที่เป็นสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน จุดมุ่งหมายของการเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือนิพพาน
    สติปัฏฐาน มีวิธีปฏิบัติอยู่ ๒ วิธี ดังนี้
    - กำหนดอานาปานสติ๑ วิธี
    - กำหนดอิริยาบถ๑วิธี
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๒ วิธีดังนี้[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    - กำหนดสัมปชัญญะ๑วิธี
    - กำหนดอาการสามสิบสอง๑วิธี
    - กำหนดธาตุสี่๑วิธี
    - กำหนดป่าช้า๙วิธี
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑ วิธีดังนี้[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    - กำหนดภาวะจิตเสวยอารมณ์สุข
    --ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์๑วิธี
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๓ วิธีดังนี้[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    - กำหนดจิต และสิ่งที่ปรุงแต่งจิต๑วิธี
    - กำหนดนิวรณ์๑วิธี
    - กำหนดเบญจขันธ์๑วิธี
    [/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๓ วิธีดังนี้
    - กำหนดอายตนะ๑วิธี
    - กำหนดโพชฌงค์๑วิธี
    - กำหนดอริยสัจ๑วิธี[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]รวม๒๑ วิธี
    ในบรรดาแนววิธีปฏิบัติ ๒๑ วิธี การกำหนดลมหายใจเข้าออก (อานาปาน-บรรพ) การกำหนดอาการสามสิบสอง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ว่าเป็นของน่าเกลียด เป็นทั้งอารมณ์สมถะและวิปัสสนา ทำให้สมาบัติเกิดขึ้นได้ ส่วนกัมมัฏฐานอีก ๑๙ วิธี ก่อให้เกิดอุปจารสมาธิ (สมาธิจวนแน่วแน่) หรืออุปจารกัมมัฏฐาน ได้แก่ สมาธิที่เข้าเฉียดใกล้ฌาน คำว่า อุปจารกัมมัฏฐาน หมายถึง วิปัสสนา กัมมัฏฐาน ส่วนข้อกำหนด ป่าช้า ๙ อย่าง (นวสีวถิกาบรรพ) เป็นสมถกัมมัฏฐานล้วน ๆ ส่วนอิริยาบถ ๔ สัมปชัญญะ ๔ และการกำหนดธาตุ ๔ จัดเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อย่างไรก็ตาม ตามหลักการปฏิบัติกัมมัฏฐานทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนา กัมมัฏฐานที่กล่าวมา จะต้องปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานก่อน เพราะสมถกัมมัฏฐานเป็นกัมมัฏฐานพื้นฐานที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิ อันจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาปัญญา โดยเลือกจากวิธีปฏิบัติกัมมัฏฐาน ๔๐ (กัมมัฏฐาน ๔๐ ประการ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อัปปมัญญา (พรหมวิหาร) ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑) วิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะกับจริตของตน มาเป็นข้อวัตรในการปฏิบัติจนจิตเป็นสมาธิ แล้วนำสมาธินั้นมาเป็นบาทฐานในการพัฒนาปัญญาต่อไปในเวลาปฏิบัติจริง สำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน แม้จะไม่เคยนำกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธีมาเป็นข้อวัตรในการปฏิบัติ แต่ก็สามารถปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสมถกัมมัฏฐานเลย จิตมีสมาธิตามหลักสมถกัมมัฏฐานที่ผู้ปฏิบัติคาดหวังที่จะได้ ก็จะเกิดขึ้นมาเองในเวลาเจริญวิปัสสนา- กัมมัฏฐานแนวสติปัฏฐาน อีกทั้งผู้เจริญวิปัสสนาไม่ควรคำนึงว่า ตนเองมีจริตที่เหมาะกับวิปัสสนากัมมัฏฐานหรือไม่ เพราะผู้ปฏิบัติจะมีจริตชนิดใดก็ตาม ก็สามารถปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สราคํ วา จิตฺตนฺติ ปชานาติ ฯลฯ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ... (ที.ม. ๑๐/๓๘๑/๓๓๐)
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จิตที่มีราคะว่าเป็นจิตมีราคะ ฯลฯ ย่อมรู้จิตที่ไร้โมหะว่า เป็นจิตที่ไร้โมหะ เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]โสฬสญาณ[/FONT][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
    โสฬสญาณ (ญาณ ๑๖) ถือว่าเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปัญหาที่คนปัจจุบันสนใจ คือ โสฬสญาณมีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือไม่ หากเราศึกษาพระไตรปิฎก เราจะพบว่าโสฬสญาณ หรือญาณ ๑๖ นั้น มีเนื้อความปรากฏในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ตอนว่าด้วยญาณ ๗๓ ซึ่งท่านพระสารีบุตรได้อธิบายสาระสำคัญของโสฬสญาณไว้อย่างครบถ้วน เพียงแต่ไม่ระบุชื่อญาณเหมือนญาณที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเท่านั้น แต่ความหมายตรงกันทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค ญาณ ๑๖ ประการมีปรากฏดังนี้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๑) นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่สามารถแยกรูปนามได้ เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏแต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเท่านั้น แต่ถ้าเราศึกษาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อันแสดงถึงวัตถุนานัตตญาณ (๑๕) โคจรนานัตตญาณ (๑๖) จริยานานัตตญาณ (๑๗) ภูมินานานัตตญาณ (๑๘) และธัมมานัตตญาณ (๑๙) ๑เราจะพบว่า ได้แก่นามรูปปริเฉทญาณนั่นเอง เมื่อกล่าวโดยเนื้อหาสาระแล้วย่อมมีความเหมือนกันกับการอธิบายในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวคืออัตตาตัวตนที่แท้จริงไม่มีเลย เมื่อว่าโดยปรมัตถธรรม (ความจริงแท้) มีแต่เพียงรูปนามเท่านั้น ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานถึงญาณนี้ก็จะเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองว่า อัตตาตัวตนเป็นเพียงสภาวธรรม ไม่ยึดมั่นว่า มีอัตตาตัวตน (เป็นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา) ตามหลักพระพุทธศาสนา ความเห็นเช่นนี้ถือว่า เป็นทิฏฐิวิสุทธิ คือ มีความเห็นที่บริสุทธิ์[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๒)ปัจจยปริคคหญาณ ญาณที่สามารถรู้เหตุปัจจัยของรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏแต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ถ้าเราศึกษาคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เราก็จะพบว่า เนื้อหาสาระของญาณนี้ตรงกับธัมมัฏฐิตญาณ (ญาณในการกำหนดที่ตั้งแห่งธรรม) (ญาณที่ ๔) กล่าวคือ ท่านพระสารีบุตรได้นำปฏิจจสมุปบาทมาจำแนกไว้ ผู้ปฏิบัติตามถึงญาณนี้จะทราบถึงสรรพสิ่งล้วนเกิดมาตามเหตุปัจจัยตามหลักปฏิจจสมุปบาท สำหรับผู้ปฏิบัติที่เคยนับถือในพระผู้สร้างโลก (God) เมื่อปฏิบัติมาถึงญาณนี้ ก็จะปฏิเสธเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๓)สัมมสนญาณ ญาณที่เห็นแจ้งไตรลักษณ์ เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๕) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติรู้ว่ารูปนามดับไปและเห็นรูปนามใหม่เกิดขึ้นสืบต่อกันไป แต่สันตติยังไม่ขาด เพราะเป็นเพียงความรู้ด้วยจินตาญาณ๑หลักฐานในคัมภีร์สัทธัมมปกาสินี : อิทานิ ยสฺมา เหฏฺฐา สรูเปน นามรูปววตฺถานญาณํ น วุตฺตํ, ตสฺมา ปญฺจธา นามรูปปฺเภทํ ทสฺเสตุ อชฺฌตฺตววตฺถาเน ปญฺญาวตฺถุนานตฺเต ญาณนฺติอาทีนิ ปญฺจ ญาณานิ อุทฺทิฏฺฐานิ (ขุ.ป.อ. ๑/๓๖ มจร.)[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๔)อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้ความเกิดดับของรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๖) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ญาณนี้แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ญาณช่วงที่ ๑ เป็นญาณระดับอ่อน (ตรุณะ) ช่วงที่ ๒ เป็นญาณระดับแก่ (พลวะ) ในระดับอ่อนผู้ปฏิบัติกำหนดรู้สภาวะต่าง ๆ ของรูปนามแล้วเห็นชัดว่าสภาวะดับหายไปเร็วขึ้นกว่าเดิม แม้แต่เวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อกำหนดไปก็หายเร็วขึ้น สภาวะจิตก็เป็นสมาธิที่ดี ในญาณระดับนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะเห็นสภาวะที่แปลก ๆ มีภาพปรากฏให้เห็น มีแสงสว่างเข้ามาปรากฏอยู่บ่อย ๆ (โอภาส) เนื่องจากผู้ปฏิบัติไม่เคยเห็นแสงสว่างเช่นนี้มาก่อน ก็อาจจะเอาใจใส่ดู หรืออาจจะเข้าใจผิดว่า ตนเองได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ก็เป็นได้ ภาวะเช่นนี้ เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งเป็นเหตุให้วิปัสสนาเศร้าหมอง วิปัสสนูปกิเลส มี ๑๐ อย่างคือ แสงสว่าง (โอภาส) ความรู้ (ญาณ) ความเอิบอิ่มใจ (ปีติ) ความสงบ (ปัสสัทธิ) ความสุข (สุข) ความน้อมใจเชื่อ (อธิโมกข์) ความเพียร (ปัคคาหะ) การตั้งสติไว้ (อุปัฏฐานะ) ความวางเฉย (อุเบกขา) และความใคร่ (นิกันติ) กระนั้นก็ตาม ผู้ปฏิบัติก็ยังกำหนดได้ดีกว่าระดับขั้นที่ผ่านมา ในญาณระดับนี้ การมีกัลยาณมิตรที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติ ถ้าผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดพลาดเพราะขาดกัลยาณมิตรคิดว่าตนเองได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ก็จะพลาดโอกาสที่จะได้ผลการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในระดับสูงต่อไป การปฏิบัติในขั้นนี้ จะเป็นเครื่องทดสอบว่าผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติถูกหรือไม่ ในความเป็นจริง ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ยังไม่สามารถกำหนดให้เห็นไตรลักษณ์ได้แจ่มแจ้ง เพราะจิตมักจะถูกวิปัสสนูปกิเลสเข้าครอบงำอยู่เสมอ เมื่อผู้ปฏิบัติได้กัลยาณมิตรก็จะสามารถฟันฝ่าเอาชนะวิปัสสนูปกิเลสได้ ทำให้การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานดำเนินต่อไป ครั้นปฏิบัติมาถึงญาณระดับอุทยัพพยญาณอย่างแก่ (พลวะ) ผู้ปฏิบัติจึงจะสามารถกำหนดรูปนามเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๕) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้ความดับไปของรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๗) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คืออารมณ์ที่เป็นบัญญัติหายไป จะทำให้ผู้ปฏิบัติ เห็นอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ชัดเจนขึ้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๖) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณที่หยั่งรู้นามว่า เป็นของน่ากลัว เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติมักเห็นสภาพของร่างกายที่มีแต่เพียงกระดูกขาวโพลน กระบอกตากลวงโบ๋ น่าเกลียดน่ากลัวยิ่งนักจนเกิดความรู้สึกว่า ไม่อยากได้รูปนามอีกต่อไป เพราะถ้าได้มาอีก รูปนามก็จะตกอยู่ในสภาพเช่นนี้อีกต่อไป[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๗) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้รูปนามว่าเป็นของมีแต่โทษ เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะเห็นร่างกายที่ค่อย ๆ พองขึ้นอืดที่บริเวณท้อง ลำตัว แขน หลังมือ หลังเท้า เป็นต้นสักระยะหนึ่งอาการพองอืดก็จะค่อย ๆ ยุบลงตามปกติ[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๘) นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้รูปนามว่า เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๘) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกเบื่อหน่ายต่อรูปนาม เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ล้วน ๆ มิใช่เกิดขึ้นเพราะนึกคิดเอาเอง[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๙) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณที่ทำให้ผู้ปฏิบัติอยากหลุดพ้นจากรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติอยากหลุดพ้นจากรูปนาม บางครั้ง ผู้ปฏิบัติเกิดอาการคันอย่างรุนแรง บางครั้งก็เกิดทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า จนอยากหนีไปให้พ้นจากรูปนาม แต่ก็ไม่ได้หนีไปไหน ยังคงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปอีก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๑๐) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณที่หยั่งรู้คอยทบทวนรูปนามว่าตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้เห็นไตรลักษณ์ชัดเจนที่สุดกว่าทุกญาณที่ผ่านมา การหยั่งรู้ไตรลักษณ์ มีประโยชน์มาก เพื่อจะได้ยกจิตขึ้นสู่ไตรลักษณ์ต่อไป[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๑๑) สังขารุเปกขญาณ ญาณที่หยั่งรู้ความวางเฉยในรูปนาม เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๙) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจสงบวางเฉยไม่มีทุกขเวทนารบกวน และสามารถกำหนด สภาวะต่าง ๆ ได้ดียิ่ง ผู้ปฏิบัติได้เห็นคุณค่าของการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นอย่างมาก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๑๒) สัจจานุโลมิกญาณ ญาณที่พิจารณารูปนามว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทา-มรรค (ญาณที่ ๔๑) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติจะพิจารณารูปนามว่า เป็นไตรลักษณ์ ตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๔) ถึงสังขารุเปกขญาณ (ญาณที่ ๔๑) เหมือนพระมหากษัตริย์ ทรงสดับการวินิจฉัยคดีของตุลาการ ๘ ท่านแล้ว มีพระราชวินิจฉัยอนุโลมตามคำวินิจฉัยของตุลาการทั้ง ๘ ท่านนั้น
    ดังนั้น สัจจานุโลมิกญาณ จึงตรงกับขันติญาณ (ญาณที่ ๔๑) ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ดังที่ท่านพระสารีบุตรนำธรรม ๒๐๑ ประการ มาจำแนกเป็นขันติญาณเช่น รูปที่รู้ชัดโดยความไม่เที่ยง รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นทุกข์ รูปที่รู้ชัดโดยความเป็นอนัตตา รูปใด ๆ ที่พระโยคาวจรรู้ชัดแล้ว รูปนั้น ๆ พระโยคาวจรย่อมพอใจ เพราะฉะนั้นปัญญาที่รู้ชัด จึงชื่อว่า ขันติญาณ (ญาณในความพอใจ)[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๑๓) โคตรภูญาณ ญาณที่ข้ามเขตปุถุชน เข้าสู่เขตอริยชน เมื่อว่าโดยชื่อญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๐) และในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ สภาวะจิตของผู้ปฏิบัติได้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ข้ามพ้นโคตรปุถุชน บรรลุถึงอริยชน โดยไม่หวนกลับมาอีก ความจริงญาณนี้ แม้มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำลายกิเลสได้หมด เปรียบเหมือนบุรุษที่มาเข้าเฝ้าพระราชา ได้เห็นพระราชาแล้วแต่ที่ไกล เมื่อมีคนมาถามว่า คุณได้เห็นพระราชาหรือยัง เขาก็ตอบว่า ยัง เพราะเขายังไม่ได้เข้าเฝ้า และทำกิจในราชสำนักได้เสร็จสิ้นฉันใดก็ฉันนั้น[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๑๔) มัคคญาณ ญาณที่ทำลายกิเลส เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๖) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้เสวยนิพพานเป็นอารมณ์เป็นครั้งแรก เห็นแจ้งนิโรธสัจด้วยปัญญาของตนเอง รูปนามดับไปในญาณนี้ หมดความสงสัยในพระรัตน-ตรัยโดยสิ้นเชิง มีศีล ๕ มั่นคงเป็นนิจ กิเลสดับไปในญาณนี้ แม้มีโลภะ โทสะ โมหะ อยู่ แต่จางหายไปได้เร็วพลัน สามารถปิดอบายภูมิได้อย่างเด็ดขาด[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๑๕) ผลญาณ ญาณที่เกิดถัดจากมัคคญาณ เมื่อว่าตามชื่อ ญาณนี้ปรากฏทั้งในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๒) และคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติถึงญาณนี้แม้กิเลสจะถูกประหาณไปได้อย่างเด็ดขาดด้วยมัคคญาณ แต่อำนาจของกิเลสก็ยังเหลืออยู่ เช่นเดียวกับที่เอาน้ำไปรดไอร้อนที่เหลืออยู่ในพื้นที่ไฟไหม้ แต่ไฟนั้นดับแล้ว การประหาณกิเลสด้วยผลญาณก็มีนัยเช่นนี้[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif](๑๖) ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่ย้อนกลับไปทบทวนมรรคผลนิพพานที่ตนได้บรรลุมา เมื่อว่าโดยชื่อ ญาณนี้ปรากฏในคัมภีร์ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค (ญาณที่ ๑๔) และในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สาระสำคัญของญาณนี้ก็คือ ผู้ปฏิบัติได้พิจารณากิเลสที่ตนละได้และที่ตนยังละไม่ได้ สำหรับกิเลสที่ยังละไม่ได้ ผู้ปฏิบัติก็จะมุ่งหน้าเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อที่จะได้บรรลุคุณธรรมที่สูงขึ้นไป จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สรุปความว่า โสฬสญาณ - ญาณ ๑๖ ประการนี้ได้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใด้ตรัสสอนลำดับญาณดังที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรก็เป็ผู้รู้พระพุทธประสงค์จึงได้ตั้งชื่อญาณต่างๆดังที่กล่าวแล้ว แต่กระนั้นก็มีเนื้อหาในพระสูตรบางแห่งที่สื่อให้เห็น สภาวะ ของญาณในระดับต่าง ๆ เช่น ในอนัตตลักขณสูตรว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว อริยสาวโก รูปสมีปํ นิพฺพินฺทติ (วิ.ม. ๔/๒๓/๑๙) ภิกษุทั้งหลาย พระอริย-สาวกเมื่อเห็นอยู่อย่างนั้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป. คำว่า นิพฺพินฺทติ (ย่อมเบื่อหน่าย) ในคัมภีร์อรรถกถาท่านหมายเอา ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณที่ ๖) อาทีนวญาณ (ญาณที่ ๗) นิพพิทาญาณ (ญาณที่ ๘) มุญจิตุกัมยตาญาณ (ญาณที่ ๙) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๑๐) สังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) และอนุโลมญาณ (ญาณที่ ๑๒)[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]คำว่า เอวํ ปสฺสํ (เมื่อพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้) ในคัมภีร์อรรถกถาท่านกำหนดเป็น ๓ ญาณ คือ สัมมสนญาณ(ญาณที่ ๓) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๔) และภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ ๕) แม้แต่พระดำรัสว่า วิสชฺชติ (ย่อมคลายกำหนัด) ท่านหมายเอา มัคคญาณ (ญาณที่ ๑๔) วิราคา วิมุจฺจติ เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ท่านหมายเอา ผลญาณ (ญาณที่ ๑๕) วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ (เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีความรู้ (ญาณ)ว่า หลุดพ้นแล้ว) ท่านหมายเอา ปัจเวกขณญาณ (ญาณที่ ๑๖)[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]การอรรถาธิบายอย่างนี้เป็นไปตามแนวสังยุตตนิกายอรรถกถา ฉบับมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย (๒/๖๐-๖๒) อย่างไรก็ตาม การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน สามารถที่จะสำรวจผลของการปฏิบัติได้จากโสฬสญาณ (ญาณ ๑๖) ซึ่งเป็นเครื่องวัดถึงความเจริญก้าวหน้าของการปฏิบัติ ดังนั้น การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน นั้นจึงเป็นพระปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้จริง.
    [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พูดความจริง มันไปผิดศีลข้อใหน เขารู้กันทั่วไป.

    ผิดก็บอกตามผิด ถูกบอกตามถูก ไม่ได้ผิดพุทธธรรมข้อใหน.
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ๘. สัลเลขสูตร
    ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
    รูปฌาน ๔


    [๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
    วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
    แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า
    เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ



    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน
    มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
    สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม
    เครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
    ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ



    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติ-
    *สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
    ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อม
    อยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม
    เครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ใน
    วินัยของพระอริยะ



    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น
    เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ


    [๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
    พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับ
    ปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา
    ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบ
    ระงับ ในวินัยของพระอริยะ



    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจาย-
    *ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
    อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่-
    *ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ


    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจาย-
    *ตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน
    ฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
    แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ



    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญาย-
    *ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิด
    อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย-
    *ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรม
    เครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ




     
  10. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    อานิสังสวรรคที่ ๑
    กิมัตถิยสูตร​

    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้า
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศล
    มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์
    ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
    อานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็น
    อานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
    อานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
    อานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
    อานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณ
    ทัสสนะเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไร
    เป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทา
    วิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น
    อานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณ
    ทัสสนะเป็นอานิสงส์ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิป-
    *ปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์
    ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็น
    อานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิ
    เป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ
    เป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็น
    อานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น
    อานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับ
    ด้วยประการดังนี้แล ฯ

    จบสูตรที่ ๑

    ที่มา : พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2012
  11. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    อานิสังสวรรคที่ ๑
    สีลสูตร
    [๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว
    เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีอวิปปฏิสารปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว
    เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว
    เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติขจัดเสียแล้ว
    เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัดเสียแล้ว
    เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น
    ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ
    ขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อมีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสาร
    วิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอัน
    บุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
    เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร
    เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยปราโมทย์
    เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ
    เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ
    เมื่อสุขมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยสุข
    เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
    เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
    เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น
    ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล
    ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่
    บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ
    ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

    จบสูตรที่ ๓

    ที่มา : พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2012
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตัวผัสสะ ที่จะกระทบให้เราตกจากความว่าง อย่างเลิศ ก็คือคนในครอบครัวเรานี่แหละ
    บททดสอบชั้นดี หุหุ
    ทั้งคุณนาย คุณลูก คงมีเรื่องมาให้ป๋า เข้าวิปัสสนาภูมิได้ เรื่อยๆ อะ ถ้าใส่ใจดู รู้ให้ทันในจิตของตัวเอง
    ไม่ได้หมายถึงไปดูคนอื่น นะ ให้ดูที่ใจตัวเองมันเกิดดับยุบยับ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวว่าง เดี๋ยวไม่ว่าง

    ของ อิชั้นเอง ก็เข้าทำนองนี้อยู่เหมือนกัน
    ทั้งคุณผู้ชายที่บ้าน(สามี) และคุณชายจิ๋ว(ลูกชาย) มีเรื่องให้ตบะแตก อยู่เรื่อยๆ
    คนอื่นๆ กระทบก็เฉยๆ แต่พอเป็นคนที่เรารักหรือผูกพันธ์มากๆนี่ มันจะปรี๊ดแตกได้ง่ายๆ
    ว่างๆอยู่ดีดี ก็กลายเป็นไม่ว่างซะงั้น ทั้งโทสะ ปฏิฆะ ความไม่ได้ดังใจ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ยินดี ยินร้าย
    ความเป็นห่วง ความยึดมั่นถือมั่น ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความทุกข์ใจ ความสุขใจ ปลาบปลื้ม ปิติ
    เฉย เบื่อ ว่าง ไม่ว่าง มันก็เกิดดับวนไปเรื่อย อยู่ที่เราจะรู้ทันหรือสังเกตตัวเองได้มากแค่ไหน

    ในทางกลับกัน คุณผู้ชายที่บ้านก็เม้งแตกเพราะอิชั้น ก็ออกบ่อย
    ขนาดคุณผู้ชายนั่งสมาธิโล่งๆเย็นๆ กินปิติเป็นอาหารใจทุกวันๆเนี่ยแหละ
    เจอคุณนายป่วนหาเรื่องชวนทะเลาะโดยมิได้ตั้งใจเข้าไป พูดไม่เข้าหูก็ตบะแตกเอาง่ายๆ หุหุ

    เอาแค่เรื่อง ว่างไม่ว่าง ก็ใช้พิจารณาเจริญสติในชีวิตประจำวันได้เยอะ
    อย่างของป๋า ถ้ายังเฉยๆกับอาการวีนแตกของคุณนายได้
    ก็พินาไปเลยว่า มันเฉยจริงหรือกดข่ม หรือด้วยอำนาจของสมาธิ
    อาจจะได้เห็นของจริงตอนที่เผลอยังไม่ได้ตั้งท่าแล้วเจอคุณนายวีนแตกจู่โจมทำให้รำคาญใจ
    หรือปฏิฆะฉับพลัน พูดไม่เข้าหู ทัศนะบางเรื่องต่างกัน ความเห็นบางเรื่องต่างกัน (อย่างเรื่องหมอดู)
    หรือการภาวนาปฏิบัติที่ต่างกัน ความไม่เข้าใจในธรรมะปฏิบัติของกันและกัน ก็ทำให้เกิดเป็นไม่ว่างขึ้น
    มาในใจเราได้ง่ายๆ

    ในชีวิตประจำวันมีเรื่องให้ดูให้รู้เยอะ เลยนะป๋า ถ้าป๋านั่งสมาธิออกมาใหม่ๆอาจได้เห็นของดี
    ชัดๆ เนื้อๆ เน้นๆ พิจารณาเข้าวิปัสสนาภูมิได้ง่ายๆ เลยนะเห็นใจมันดีดดิ้น เป็นทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้
    เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เดี๋ยวเฉย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวฟุ้งซ่าน

    ปล.ไม่รู้ใช้คำว่าวิปัสสนาภูมิได้ไหม เอาเป็นว่าหมายถึงเจริญสติเจริญปัญญา รู้กายรู้ใจ ตามจริง โดยไม่กดข่มนะ
    ดูรู้ทันในสภาวะที่เผลอของเรานี่แหละ มันมีช่องให้ดูได้ แป๊บๆ บ้าง นานๆบ้าง อยู่ที่กำลังของสมาธิ
    ถ้าเป็นตอนไม่เผลอนะ มันตั้งการ์ด อยู่ของจริงมันหลบใน หุหุ ไม่พอใจรู้ว่าไม่พอใจ ชอบใจรู้ว่าชอบใจ
    รำคาญใจรู้ว่ารำคาญใจ เบื่อรู้ว่าเบื่อ ให้รู้จักตัวเองตามจริง เมื่อตัวจริงมันรู้จริงมันจะเข้าใจสภาวะและ
    เกิดปัญญา รู้รักษาตัวเองให้กลับมาเป็นกลาง เป็นคนปกติได้ โดยที่เราไม่ต้องไปกดข่มหรือไปแก้ไขอะไร
    พอเกิดอาการที่ใจเป็นกลางบ่อยๆ ก็จะเห็นโลกชัดตามความเป็นจริง เกิดปัญญาเห็นสภาวะตามความเป็นจริง
    จนกระทั่งรู้ซึ้งในใจว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นและดับไปมัน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้ (ไตรลักษณ์)
    ถ้าจะให้ดี ป๋าก็ควรจะหาพระอาจารย์ที่สอนวิปัสสนาโดยตรง จะได้เข้าทางตรงไม่ต้องอ้อมไปอ้อมมา
    ส่วนการนั่งสมาธิก็ไม่ต้องทิ้ง ทำคู่กันไปมันจะเสริมซึ่งกันและกันไปเอง มีกำลังตั้งมั่นจากสมาธิ
    มีสติ มีปัญญา เข้าใจธรรมะได้ตรงตามจริง เข้าใจเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่มีคำว่าตันจนกว่าจะถึง
    ที่สุดของมรรคผลที่จะรู้ได้ด้วยตนเองด้วยปัญญา

    ปล.2 ไม่ได้จะบอกว่าความผูกพันธ์กับคนในครอบครัวเป็นเรื่องดี เพียงแต่ว่าปัจจุบันมันมีอยู่เป็นอยู่
    ก็ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการภาวนา คนที่ไม่ได้มีครอบครัวก็อย่าไปหาห่วงมาเพิ่มบนหัว มีอย่างอื่นๆ
    ให้จับมาภาวนา เจริญสติ เจริญปัญญาในชีวิตประจำวันได้อีกเยอะ

    ปล.3 แก้ไขเพิ่มรายละเอียดเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012
  13. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    ระดับของฌาณ
    ปุถุชน รูปฌาณ๔ อรูปฌาณ๔ เป็นการกดข่มกามคุณทั้ง๕ โดยอาศัยสุขในฌาณเป็นเครื่องอยู่
    พระอริยะ สมาบัติตามภูมิธรรมตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไป เป็นสุขวิหารธรรม

    การละดับกิเลส
    สติปัฏฐาน๔ เป็นทางแห่งมรรคมีองค์๘ สายเดียวที่นำไปสู่การประจักษ์แจ้งในอริยสัจน์๔


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
    มหาโควินทสูตร
    ว่าด้วยอัฏฐังคิกมรรค ( มรรคมีองค์ 8 )


    .............สมัยนั้น เราได้เป็นมหาโควินทพราหมณ์ เราแสดงทางนั้นเพื่อความ
    เป็นสหายแห่งพรหมโลกแก่หมู่สาวก ก็แต่ว่า ปัญจสิขะ พรหมจรรย์นั้นแล
    เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายก็เปล่า เพื่อคลายกำหนัดก็เปล่า เพื่อดับโดยไม่
    เหลือก็เปล่า เพื่อเข้าไปสงบก็เปล่า เพื่อรู้ยิ่งก็เปล่า เพื่อตรัสรู้ก็เปล่า เพื่อ
    พระนิพพานก็เปล่า เพียงเพื่อการเกิดขึ้นในพรหมโลกเท่านั้นเอง ดูก่อนปัญจสิขะ
    ก็พรหมจรรย์ของเรานี้แล จึงจะเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
    คลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ
    พระนิพพาน. ก็แลพรหมจรรย์นั้นเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ
    ความคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
    เพื่อพระนิพพานเป็นไฉน ทางประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้แล อัน
    ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ พูดจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ
    พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ก็นี้แล คือพรหมจรรย์นั้น ที่เป็นไป
    เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับโดยไม่มีเหลือ
    เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.



    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470
    ปฐมฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
    [๑๐๒] ดูก่อนจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌานมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่.
    ภิกษุนั้นจะมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ
    แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส (สัลเลข-
    ธรรม) ในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพ
    นี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม) ในวินัยของพระอริยะ.
    ฯลฯ
    เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญ
    ญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่.
    ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ
    แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมใน
    วินัยของพระอริยะ
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    มีให้ ป๋า สองรูป วลีประโยค แต่ อรรถเหมือนกัน
    ลองอ่านดู

    เกร็ดธรรม หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    (ถอดเทปโดย เพื่อนสมาชิก พลูโตจัง)


    ความรู้ของจิตที่เกิดขึ้นนั้น มีอยู่ 3 ขั้นตอน

    ตอนต้น เป็นความรู้ที่เกิดจากสัญญาความทรงจำ ที่เราอาศัยเป็นหลัก
    หรือเป็นแนวน้อมนึกพิจารณา
    เป็นการพิจารณาพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ก็มีรูปกับนามเป็นเครื่องหมาย เป็นเครื่องรู้
    โดยน้อมนึกเอาว่า
    ..รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    อันนี้เป็นวิปัสสนาในขั้นปฏิบัติ


    เมื่อผู้มาพิจารณา
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    เมื่อจิตยอมรับและเชื่อมั่น ในความ...ที่ตัวเองค้นคิดและพิจารณาแล้ว
    จิตจะเข้าไปอยู่ในความสงบ
    ในเมื่อสงบลงไปอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ
    จิตก็จะสามารถปฏิวัติตนไปสู่ภูมิรู้
    ตามแนวทางที่เราได้น้อมนึกพิจารณามาแล้วนั้น
    ความรู้ในขั้นนี้เกิดขึ้นโดยอัติโนมัติ
    จิตรู้อะไรขึ้นมา จิตกับสิ่งที่รู้นั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ความรู้ในขั้นนี้มีสมมุติบัญญัติตามภาษานิยมของโลก

    เมื่อจิตรู้ ตามรู้ ตามรู้..ตามเห็นสิ่งที่รู้ไป
    จิตก็ค่อยสงบลงไปเรื่อยๆ เพราะสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ของจิต
    เป็นเครื่องระลึกของสติ เมื่อจิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก
    ก็เป็นอุบายทำจิตให้สงบละเอียดลงไป จนกระทั่ง
    จิตรู้สึกว่ากายไม่มี มีแต่จิตดวงเดียวล้วนๆ

    แล้วจิตก็จะสามารถรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นเป็นธรรมดา..ดับไปเป็นธรรมดา
    แต่คำว่า ..เกิดขึ้นเป็นธรรมดา..ดับไปเป็นธรรมดา
    ในความรู้สึกที่ขณะที่จิตรู้เห็นอยู่จะไม่มี
    จิตจะรู้จะมองแต่สิ่งที่รู้ ที่เห็น ปรากฎการณ์อยู่เท่านั้น
    แต่ไม่มีสมมติบัญญัติใดๆ ที่จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร
    อันนี้จิตเดินในขั้นวิปัสสนากรรมฐานอย่างละเอียด

    เมื่อจิตกำหนดรู้แต่เพียง เกิด-ดับ..เกิด-ดับ อยู่แค่นั้น
    โดยไม่ได้นึกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ในขณะนั้นก็ตาม เมื่อจิต..ซึ่งจ้องมอง ความเกิด-ดับ อยู่ภายในจิต
    จิตก็ย่อมจะปฏิวัติตน ไปสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาเอง...




    อีกรูปประโยคนึง



    ... อย่าปล่อยให้จิตมันว่าง ...

    ความหมายของท่านตีความหมายว่าอย่างไร
    บางท่านอาจจะว่าไม่ปล่อยให้จิตว่างนี่
    มันจะต้องคิด
    ต้องสวดมนต์
    ต้องท่องอะไรอยู่ไม่หยุดไม่หย่อน
    อย่าไปเข้าใจเช่นนั้น

    คำว่าอย่าปล่อยให้จิตมันว่างนี้ หมายความว่า
    ให้มีสติกำหนดรู้จิตอยู่ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

    ทำไมหนอท่านผู้นี้จึงสอนว่าอย่าปล่อยให้จิตมันว่าง
    แล้วให้มีสติกำหนดจิต ท่านเอาความรู้และหลักฐานมาจากไหน

    ในเมื่อมองไปในหลักปริยัติ มีพุทธภาษิตที่ทรงตรัสไว้ว่า

    เอฐะปัสสะติมัง โลกังจิตตัง ราชะระถู ปะมัง ยัตฐะ พาราวิสีรันติ
    ระฐิสังโฆ วิจานะตัง เอจิตตัง สัญญะเมตสันติ โมกขันติ
    มานะปัณฑะนา

    สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้
    อันวิจิตรบรรจง ดุจราชรถทรง
    ของพระราชา ที่พวกคนเขาหมกอยู่
    แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่
    ผู้ใดจักสำรวมซึ่งจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

    ชัดเจนหรือเปล่า อย่าปล่อยให้จิตมันว่าง

    คือ มีสติสำรวมจิตอยู่ตลอดเวลา
    ผู้มีสติสำรวมจิตผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

    นี่หลวงปู่ฝั้นท่านอาศัยหลักฐาน ตามพุทธโอวาทตอนนี้

    อธิบายโอวาทหลวงปู่ฝั้น อาจาโร โดยหลวงปู่พุธ ฐานิโย
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ทีนี้ มาดู บริบท ที่หลวงปู่พุธ ฐานิโย<!-- google_ad_section_end -->

    ท่านแยก สมาธิ ไว้สองอย่างให้เราได้ศึกษามาแต่นานแล้ว


    เกร็ดธรรม หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    ฌานในสมถะ อารัมณูปนิชฌาน

    (ถอดเทปดดยเพื่อนสมาชิก พลูโตจัง)


    คำว่า "ฌาน" ฌาน หรือสมาธินี่ เราพอที่จะแยกออกได้เป็น 2 ประเภท 1. สมาธิในฌาน คือ สมาธิในฌานในลักษณะ ฌานสมาบัติ...ฌานฤาษี สมาธิในฌานฤาษีนี่เมื่อจิตสงบลงไปนิ่งแล้ว มีความสว่างไสว ร่างกายตัวตนหายไปหมด ยังแต่ความว่างเปล่า อันนี้คือสมาธิในฌาน เพราะไม่รู้อะไร เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน เมื่อจิตอยู่ในฌานแบบฤาษี จิตจะไปรู้อยู่ในสิ่ง สิ่งเดียว

    เช่นอย่างเพ่งกสิณ ก็ไปรู้อยู่ที่ อุคหนิมิต ถ้าเพ่งอสุภะกรรมฐาน ก็จะไปรู้อยู่ที่โครงกระดูก หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งรู้ จิตก็จะรู้อยู่ที่จิตแล้วสว่างไสวอยู่อย่างไม่มีจุดหมาย ร่างกายตนตัวหายไปหมด ภูมิความรู้เหตุรู้ผลอะไรต่างๆ ไม่เกิดขึ้น มีแต่ความว่างถ่ายเดียว อันนี้เป็นสมาธิแบบฌานฤาษี ..สมาธิแบบฌานฤาษีนี้ เป็นบาทพื้นให้เกิดวิปัสสนา ถ้าเมื่อเราอยู่ในฌานฤาษี ถ้าจิตของเราออกจากฌานฤาษี พอรู้สึกว่ามีกายปรากฎขึ้น ความคิดเกิดขึ้นมาปั๊บ ผู้ภาวนาทำสติกำหนดตามรู้ไป แล้วฌานฤาษีจะกลายเป็นพลังทรง สนับสนุนจิตของเราให้เดินวิปัสสนาได้อย่างแน่วแน่ อันนี้แล้วแต่ความฉลาดของผู้ปฏิบัติ

    ทีนี้ในเมื่อจิตของเราถอนออกมาจากสมาธิเช่นนั้น มากำหนด..หมายเอาความคิดอ่านเป็นอารมณ์ แล้วก็ตามรู้ไป รู้ไป รู้ไป เมื่อเกิดวิตก วิจาร ขึ้นมาเมื่อไหร่ ภูมิจิตคิดเองสติตามรู้เอง ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมเหมาะเจาะกันพอดี ความคิดก็คิดขึ้น สติก็ทำหน้าที่ จดจ่อกันอยู่อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นเอ่อเมื่อมี วิตก วิจารเป็นองค์ประกอบ เป็นองค์ฌานที่ 1 กับที่ 2 ..เมื่อองค์ฌานที่ 1 ที่ 2 เกิดขึ้นแล้ว ปีติและความสุขจะไม่เกิด เป็นไปไม่ได้ ..ปีติและความสุข ย่อมเกิดเป็นผลตามมา

    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิต มีสติจดจ่ออยู่กับความคิดที่เกิดกับในปัจจุบัน กลายเป็น..เอกัคคตา คือจิตทำหน้าที่ของจิต โดยไม่มี อ่า.. เปลี่ยนแปลง จิตก็ทำหน้าที่..คิด พิจารณา สติ..ก็ทำหน้าที่ ของสติ แล้วลักษณะความดูดดื่มพระสัทธรรมคือปีติและความสุข ก็เกิดพร้อมอยู่ตลอดเวลา ความเป็นหนึ่งของจิตตามความหมายของฌานในขั้นนี้ ไม่ได้หมายความว่าหนึ่งจิต โดยไม่มีความรู้ ไม่มีสิ่งรู้ แต่สิ่งรู้นี่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา แต่จิตเป็นหนึ่งจดจ่ออยู่กับสิ่งรู้ในปัจจุบัน เรียกว่าจิตเป็นหนึ่ง เป็นฌานที่ 1 เป็นฌานในวิปัสสนา เป็นสมาธิในอริยะมรรค สมาธิในอริยะมรรค ต้องมีสิ่งรู้ สติ ต้องมีสิ่งระลึก เมื่อจิตผ่านฌานที่ 1 ที่ 2 ไปแล้ว จนกระทั่งเข้าไปสู่ฌานที่ 4 ..กลายเป็นฌานที่ 5 จิตจะขึ้นหนีจากร่างกายลงไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด

    ในช่วงที่ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมดนั้น จิตอยู่ในฌานที่ 5 อากาสานัญจายตนะ (อากาสานัญจายตนฌาน) เมื่อจิตหวลที่จะมายึด.วิญญาณ. เป็นสิ่งรู้ กลายเป็น โคตระภูญาณสิ่งรู้ของจิตปรากฏขึ้นมาทันที บางที เปรียบเหมือนว่า จิตลอยเด่นอยู่เหนือโลก แต่มีกระแสมองดูโลก ทั่วหมดทั้งโลก บางทีปรากฏมีกาย..ตายลงไป จิตดูอยู่ที่ความตายนั้น แล้วก็รู้ไปตลอด จนกระทั่งกายที่มองเห็นสลายตัวไปไม่มีอะไรเหลือ หรือบางทีจิตก็มีสิ่งรู้ที่ผ่านเข้ามามีลักษณะเหมือนเมฆหมอก มีทุกสิ่งทุกอย่างที่มาวนรอบจิตอยู่ตลอดเวลา จิตในอริยะมรรคเอกายะโนมรรโค เขาตั้งตัวยืนหยัดอยู่ในความสงบนิ่ง เด่นสว่างไสวอยู่ และไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งนั้นๆ ที่ผ่านเข้ามา แม้สิ่งนั้นจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เขาจะรู้สิ่งนั้นอยู่ รู้อย่างไม่มีสมมติบัญญัติ ไม่มีความสำคัญมั่นหมายว่าอะไรเป็นอะไร เพราะฉะนั้นความรู้ในขั้นนี้ จึงกลายเป็นความรู้ขั้นโลกุตตระ


    เกร็ดธรรม หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    (ถอดเทปโดย เพื่อนสมาชิก พลูโตจัง)


    ความรู้ขั้น โลกุตระ หมายถึง ความรู้ที่ไม่มี สมมติ บัญญัติ ทีนี้ในเมื่อ จิตไม่มีสมมติบัญญัติ หรือสิ่งรู้ทั้งหลายเหล่านั้นมาจากไหน ก็จิตตัวที่ละเอียดนั่นแหล่ะ มันปรุงแต่งขึ้นมาเพื่ออบรม ตัวเองเพราะจิตปรุงแต่งขึ้นมาสังขารตัวนี้มันปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว จิตไม่ยึด มันก็กลายเป็นวิสังขารเป็นแต่เพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของ สติ รู้แล้วก็ปล่อยวางไปเรียกว่าฌานในอริยะมรรค

    ฌานในอริยะมรรค นี่ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน และจิตทำหน้าที่กำหนดรู้สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากว่าใครรู้เห็นธรรมะในขั้นนี้ แม้จะมองเห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพัง จิตมันก็ไม่ว่าเน่าเปื่อยผุพัง มองเห็นความสุขทุกข์เป็นอนัตตา จิตก็ไม่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีแต่รู้อยู่โดยถ่ายเดียว

    เพราะฉะนั้น...ความรู้อันนี้ ท่านจึงเรียกว่า สังขาร ขั้นวิสังขาร เป็นการปรุงแต่งของจิตขั้นละเอียด จิตที่ปรุงแต่งอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงมีประหนึ่งว่า สิ่งที่รู้ก็เป็นอันหนึ่ง จิตตัวผู้รู้ก็เป็นอันหนึ่ง ในช่วงนี้แหล่ะ นักภาวนาทั้งหลาย อย่าไปเข้าใจว่า สิ่งรู้ทั้งหลายนี่ มีเทพเจ้ามีอะไรบันดาลให้เข้ามา ปรุงแต่งมาให้เรารู้ แต่แท้ที่จริง ไอ้เจ้าจิตตัวมีปัญญาละเอียดมันปรุงขึ้นมาสอนตัวมันเอง

    ทีนี้ในเมื่อจิตไม่มีความสำคัญ มั่นหมายสิ่งใดว่าเป็นอะไร มีแต่รู้อยู่เฉยๆ ยกตัวอย่างเช่น ภาพนิมิตอาจจะบังเกิดขึ้น นี่เป็นร่างศพที่เน่าเปื่อยผุพัง แต่นี่เป็นร่างที่สวยงามที่สุด ในขณะที่จิตรู้อยู่ จิตจะไม่สำคัญ ไม่มีความเอนเอียง ลำเอียงว่า อันนี้ดี อันนี้เสีย มีความรู้สึกเสมอกันหมด

    ทีนี้แม้ว่าจะไปรู้กฏของบุญของบาป อะไรต่างๆ ก็ดี คล้ายๆ ว่าความดี...ความดีไม่ปรากฎ ความชั่วไม่ปรากฎ เพราะในขณะนั้นจิตเป็นกลาง ในเมื่อจิตเป็นกลางแล้ว จิตจึงไม่สำคัญมั่นหมายในสิ่งดีสิ่งชั่ว แต่จิตจะยอมรับกฏของธรรมชาติ กฏธรรมชาติที่เราสมมติว่า บุญนี้ เป็นสิ่งพยุงดวงจิตของเราให้สูงขึ้น แต่สิ่งที่เราสมมติว่า บาปนี้ เป็นกฏที่จะถ่วงดวงจิตของเราให้ต่ำลง คำว่าบุญบาปนี้หายไปหมด เพราะรู้อย่างไม่มีสมมติบัญญัติ เพราะฉะนั้นความรู้ใน จุดนี้จึงเป็นอันตรายแก่นักปฏิบัติ ในเมื่อไปเห็นทุกอย่างไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีสมมติบัญญัติในที่สุด นิพพานัง ปรมัง มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีใครสำเร็จพระนิพพาน บุญบาปที่ทำลงไป มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีอะไร สักแต่ว่าธรรมเท่านั้น นิยตะ มิจฉาทิฏฐิ มันจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นนักภาวนาทั้งหลายควรระมัดระวัง...
     
  16. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ช่วยชี้แจง ระหว่างจิตที่ไม่มีความมั้นหมาย กับจิตเป็นกลาง มันคือเอาเดียวกันถูกไหม
    แล้ว การที่จะเห็นแบบนี้ได้ ต้องอาศัยกำลังสติ ที่มีฌานเป็นฐานใช่ไหม
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เข้าใจถูกแล้ว
    ในสภาวะ ความเป็นของจิต มีลักษณะเดียวกัน

    ต่างกันในรูปพยัญชนะ
    และคำว่าจิตเป็นกลาง อาจจะมีอทิบายเพิ่มในรูปประโยคที่จะส่ง
    ในบริบทของความเป็นที่สุด


    และก็เป็นการถูกต้อง ต้องอาศัยกำลังสติที่มี ฌานเป็นพื้นฐาน

    แต่ จะขอเพิ่มมุมของฌาน ใน สองลักษณะ

    หากเดินมาในแบบ สมถะยานิก จะเดินฌานแบบฤษีมาเป็นกำลัง ที่ฌาน4
    เมื่อจังหวะออกมาจึงมาทำการฝึกหัดพิจารณาไปในทาง อาการ 32 หรือ ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อน้อมส่งไปสร้างสติที่เรียกว่า สัมมาสติ

    สิ่งที่ช่วยสร้างสัมมาสติในช่วงนี้ ก็คือ ตัวความรู้ที่ผุดๆ ขึ้นเองโดย อัตโนมัติ

    ตัวนี่ละจะเป็นตัวอบรม ย้อนมาอบรมให้เป็นเครื่องระลึกของสติ เครื่องรู้ของจิต
    เพื่อเข้าไปสู่ สิ่งที่ไม่มีความหมั่นหมาย หรือเรียกว่าเข้าไปเห็น สภาวะ ปรมัตถ์
    จะเริ่มแยกรูปแยกนามได้ เมื่อ สติสัมปยุตด้วยปัญญา

    ถ้า สติสัมปยุตด้วยปัญญาเพียง 1 ขณะ มันจะเป็นอย่างที่ป๋าบอกว่า
    จิตมันวาง

    ทีนี้ ก็ต้องทำเหตุมาแบบเดิมอีก ผลมันจะทำให้ สติที่สัมปยุตด้วยปัญญา
    มันจะเกิดได้ถี่ ขึ้น อาการเริ่มถี่ขึ้นๆ ก็จะเห็น ปีติ และสุขเกิดตามมา โดยที่ไม่ได้ไปบังคับให้เกิด แต่ เริ่มเป็น ได้ถี่ขึ้น

    ลักษณะความถี่ขึ้น ที่เป็นมากๆ ลักษณะนี้เรียกว่า เริ่มเดิน ฌานในพุทศาสนา
    อันนี้เป็นลักษณะ ฌาน ในลักษณะสอง
     
  18. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    อาการ 32 เป็นไง เหมือนกันหรือต่างกันที่บอกอาการไม่ครบ 32
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ก็เช่น ในส่วน ร่างกายมนุษย์ที่มี อวัยวะ 32 ส่วนน่ะละครับ

    แต่ในทางนำมาฝึกฝน ก็เพื่อ น้อมนำแนวทางในการเข้าไปเห็นไตรลักษณ์

    ทีนี้ ในทางฝึกฝนเกี่ยวกับ อาการ 32 ทำแบบนี้

    หลักจากที่จิตมีความสงบควรแก่การงาน
    ก็ให้น้อมนึก สิ่งใดหรือ ส่วนหนึ่งในอวัยวะ32 ส่วนของร่างกายมนุษย์

    เช่น ถอดมา 1ส่วน

    สมมุติ ถอดมาในส่วน เล็บ ก้เลือกเอามา เล็บใดเล็บหนึ่งของ นิ้วทั้ง 20 มีนิ้วมือนิ้วเท้าเป็นต้น

    สมมุติว่า ยกเอานิ้วหัวแม่มือขวามา

    ก็ให้ นึกภาพสร้างภาพเล็บนิ้วมือขวาขึ้นมาพิจารณาให้เห็นเป็นภาพ
    อยู่ในมโนจิต นึกภาพเล็บนั้นตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนเป็นเด็กหนุ่ม คนวัยทอง
    วัยชรา จนตายไปเล็บก็เน่าสลายหายไป แล้วย้อนกลับจากสลายหายไปกลับมาเป็นวัยชรา วัยทอง วัยหนุ่ม วัยทารก ทำแบบนี้ กลับไปกลับมา
    จนภาพที่นึกสร้างนั้น มันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตรงนี้ ต้องอาศัยการทำบ่อยๆ อาศัยความเพียรจนกว่าจะมีภาพอย่างชัดเจนเหมือนเรานั่งดูทีวี
    อันนี้เป็นตัวอย่างเบื้องต้น ในการพิจารณาอาการ 32
     
  20. คาถาไฟ

    คาถาไฟ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +0
    ได้ทุกส่วน ของร่างกายเลยใช่มั้ยคะ
    คือขอแทรกหน่อยคะ

    หลายวันมานี้เพื่อนๆในเฟรช โพสรูป ผ่าศพกันบ่อยมาก
    พอวันหลังมาเรามาผ่าศพ(ไก่) เหมือนกัน
    อยู่ๆมันก็ผุดขึ้นมาว่า
    เอ???????เหมือนกันเลย
    มีเลือดเหมือนกัน เนื้อแดงเหมือนกัน
    เหม็นคาวเลือดเหมือนกัน ต่างกันที่ขนาด
    เท่านั้น แต่ทำไมเรากลัวการดูศพคนหว่า
    แบบนี้เข้าภูมิ พิจารณาได้รึเปล่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...