ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ให้อะไรกับพวกคุณ ๆ บ้าง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ยมยักษ์, 9 มกราคม 2012.

  1. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ให้อะไรกับพวกคุณ ๆ บ้าง ในชีวิตประจำวัน
     
  2. poopo_n

    poopo_n สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +21
    บวชสึกแล้วหรือครับ
    ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
    คนอย่างคุณสุดยอด มีใจบวชให้ในหลวง
    คนดีในเว็ปนี้คงมีคุณคนเดียวในนี้ที่คิดแล้วทำ ค ฉ
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เป็นคนไม่ชอบสวดมนต์เลย แต่ครั้งแรกที่ได้ยินบทสวดนี้ชอบมาก จนไปหาซีดีมา (จากวัดมหาธาตุ) แล้วก็ฟังอยู่บ่อยๆ เมื่อช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมาก็ฟังอยู่ทุกวันเลย ชอบมากไม่รู้ทำไม:cool:
     
  4. ยมยักษ์

    ยมยักษ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2011
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +35
    คิดถึงเจ้ากรรมมาก แบ่งบุญให้ทุกวันเลยนะครับ
     
  5. starcom1

    starcom1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +726
    ไม่ชอบบทนี้เพราะยาวมาก แต่ปจจุบันสวดเช้าเย็นเลยครับ ให้พรหมมาฟังธรรม และอนุโมทนาบุญครับ
     
  6. TKKH

    TKKH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +554
    ผมพบธรรมใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ผมได้พบทาง ในปริศนาธรรมนี้ครับ

    ปริศนาธรรมข้อที่ ๑
    ทางใหญ่อย่าเที่ยวจร

    อาตมาภาพจะขอพระราชทานถวายวิสัชนาในประถมปัญหาซึ่งว่า ทางใหญ่อย่าเที่ยวจรนี้ ด้วยมีพุทธฎีกา*สมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ* แล้ว แลตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคี*มีพระพุทธฎีกาตรัสดังนี้ เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ฯ<SUP></SUP> ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันว่าทางสองทางนี้เป็นทางลามกอันชั่ว อันถดถ่อยยิ่งนักหนา แลบุคคลผู้เป็นบรรพชิตผู้จะบรรเทาบาปธรรมทั้งปวงเสีย แลจะให้ถึงพระนิพพานด้วยฉับพลันนั้น อย่าพึงส้องเสพ เมาะว่าอย่าพึงได้ท่องเที่ยวไปในสองทางนี้ แลสองทางนี้คือสิ่งใด จึงตรัสวิสัชนาดังนี้
    โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต ฯ<SUP> </SUP>อันว่ากามสุขัลลิกานุโยค* อันกอปร*ด้วยกามสุขในเบญจกามคุณ*ทั้งหลายนั้นเป็นอันชั่วถ่อย เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่เป็นของพระอริยเจ้าทั้งหลาย กอปรด้วยหาประโยชน์มิได้ อันว่ากอปรด้วยกามคุณสุขนี้เป็นทางใหญ่ยาวยิ่งนักหนา เหตุว่าบุคคลผู้กอปรด้วยกามคุณสุขนั้น ก็เที่ยวตายเที่ยวเกิดเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร หากาลที่จะถึงที่สุดมิได้ ดุจบุคคลผู้เที่ยวไปในทางอันใหญ่อันยาวแลหากาลที่จะถึงที่สุดมิได้นั้นแล อธิบายว่ากอปรด้วยกามสุขนี้ เป็นทางใหญ่อันลามก อันชั่ว ถดถ่อยประการหนึ่งแล
    โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต ฯ<SUP></SUP>อันว่าอัตตกิลมถานุโยค* อันกอปรด้วยวัตรปฏิบัติอันให้เกิดทุกข์ลำบากแก่อาตมานั้น คือวัตรปฏิบัติแห่ง เดียรถีย์* นิครนถ์* ทั้งหลาย มิได้เป็นวัตรปฏิบัติแห่งพระอริยเจ้าทั้งหลายแลกอปรด้วยหาประโยชน์มิได้นี้ ก็เป็นทางใหญ่ ทางยาวยิ่งนักหนาอันหนึ่ง เหตุว่าบุคคลที่ปฏิบัติผิดนั้น ก็จะเที่ยวตาย เที่ยวเกิด เวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร หากาลที่จะถึงที่สุดมิได้ ดุจบุคคลผู้เที่ยวจรไปในทางอันใหญ่ยาว แลหากาลที่จะถึงที่สุดมิได้นั้น อธิบายว่ากอปรด้วยวัตรปฏิบัติอันผิดนี้เป็นทางใหญ่ เป็นทางอันลามก อันชั่วถ่อยประการหนึ่ง ฯ วิสัชนาให้รู้แจ้งว่า กามสุขัลลิกานุโยค แลอัตตกิลมถานุโยคนี้ เป็นทางใหญ่อย่าให้เที่ยวจรไปนั้นแล
    ขอถวายพระพรให้ทราบในพระญาณด้วยปริศนานี้ชื่อว่า อวุตตสิทธิ* ในคำอันมิได้กล่าวนั้นก็สำเร็จด้วยคำอันกล่าวแล้วว่า ทางใหญ่อย่าเที่ยวจรนั้น แม้นกล่าวแต่เพียงเท่านี้แลมิได้กล่าวว่าให้เที่ยวจรแต่ทางอันอื่นกว่าทางใหญ่นี้ก็ดี คำนี้ห้ามแต่ทางใหญ่อันเดียวนั้น มิได้ห้ามทางอันอื่นกว่าทางอันใหญ่นั้น เหตุดังนั้นนักปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงรู้ตามพุทธฎีกาอันตรัสเทศนาว่า
    เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธาอยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค ฯ<SUP></SUP> ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันว่ามัชฌิมาปฏิปทา*อันพระตถาคตตรัสรู้นี้ มิได้แปดปนด้วย กามสุขัลลิกานุโยคอันเป็นลามก ดุจทางอันกอปรด้วยเปลือกตม แลอาจมเป็นอสุจินั้น แลมัชฌิมปฏิบัตินี้ มิได้แปดปนด้วย อัตตกิลมถานุโยค อันเป็นที่เกิดทุกข์ ลำบาก ดุจทางอันกอปรด้วยหลักตอ เสี้ยนหนาม แลจะไต่ตามเที่ยวจรไปเป็นอันยากนัก แลมัชฌิมปฏิบัตินี้ประพฤติเป็นไปในท่ามกลางทางแห่งทางทั้งสองนั้น แลมัชฌิมปฏิบัตินั้น คือพระอัฏฐังคิกมรรคธรรม* อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการ อันพระตถาคตตรัสโถมนา*ด้วยพุทธฎีกาว่า
    เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค<SUP></SUP> มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ ฯ อุชุโก นาม โส มคฺโค…เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา ฯ เอตญฺหิ ตุเมฺห ปฏิปชฺชถ มารสฺเสตํ ปโมหนํ เอตญฺหิ ตุเมฺห ปฏิปนฺนา ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสถ ฯ อกฺขาโต โว มยา มคฺโค อญฺญาย สลฺลสตฺถนํ ตุเมฺหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา ฯ<SUP></SUP> ปมาทํ ภยโต ทิสฺวา อปฺปมาทญฺจ เขมโต ภาเวถฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ฯ<SUP></SUP>เอตํ พุทฺธานสาสนนฺติ ฯ<SUP></SUP> ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย อยํ มคฺโค อันว่าทางคือ พระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้ เสฏฺโฐ* เป็นทางอันประเสริฐนักหนา ยิ่งกว่าทางทั้งปวง
    อันว่าทาง คือพระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้ เป็นทางอันตรง อันซื่อ ไปสู่นิพพาน* มิได้คดคลาดแคล้วจากนิพพาน อันว่าทางคือพระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้ เป็นทางอันเดียวมิได้เป็นสองทาง อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้า*ก็ดี พระอัครสาวก*ก็ดี พระอสีติมหาสาวก*ก็ดี พระปกติสาวกเจ้าก็ดี พระอริยเจ้าทั้งปวงนี้ ก็ย่อมไปสู่นิพพานด้วยทาง คือ พระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้ทางเดียว มิได้ไปสู่นิพพานด้วยทางอื่นกว่านี้หามิได้
    อันว่าทางคือ พระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้ ก็เป็นไปเพื่อจะให้บริสุทธิ์แห่งญาณทัศนะ* คือ โสดามรรค* โสดาผล*นั้น อันว่าทางอื่นนั้นมิได้เป็นไปเพื่อจะให้บริสุทธิ์แห่งญาณทัศนะ คือ โสดามรรค โสดาผลนั้น อันว่าทาง คือ พระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้ ก็ยังเสนามารให้หลง เมาะว่าอกุศลธรรมอันเป็นเสนาแห่งกิเลส*มารนั้น มิอาจเพื่อจะเอา พระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนั้นเป็นอารมณ์ได้ ดุจแมลงวันมิอาจจะบินไปจับลงไปในก้อนเหล็กแดง อันเผาด้วยถ่านเพลิงร้อนอยู่ฉะนั้น เหตุดังนั้นจึงว่า พระอัฏฐังคิกมรรคธรรมยังเสนามารให้หลง มิให้รู้แห่งไปในทาง คือพระอัฏฐังคิกมรรคธรรมนั้นแล อันว่าท่านทั้งหลายจงเที่ยวจรไป เมาะว่าจงปฏิบัติตามทาง พระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้เถิด ท่านทั้งหลายจักกระทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ทั้งปวงนั้นแล
    อันว่าพระตถาคตตรัสรู้ด้วยพระสยมภูญาณ* ว่าพระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้ ย่อมย่ำยีเสีย ถอนเสียซึ่งปืนยาพิษ คือ ราคะ ตัณหา* อันบังเกิดในสันดานแห่งสัตว์ทั้งหลาย แลยอกเสียดแทงจิตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้เป็นทุกข์ ร้อนรน กระวนกระวาย ลำบาก ดุจต้องปืนกำซาบอับชุบด้วยยาพิษฉะนั้น ครั้นเจริญพระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการให้บังเกิดในสันดานในกาลเมื่อใด อันว่า ราคะ ตัณหา ดุจปืนยาพิษนั้นก็ระงับดับหายในกาลเมื่อนั้นแล
    พระตถาคตตรัสเทศนาให้แจ้งแก่ท่านทั้งปวงดังนี้ แม้อันว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี ก็ย่อมตรัสเทศนาดังนี้ อันว่าบุคคลทั้งหลายหมู่ใด แลปฏิบัติตามพระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการนี้ บุคคลทั้งหลายหมู่นั้นก็พ้นจากบ่วงมารนั้นแล อันว่าบุคคลผู้มีปัญญาเล็งเห็นซึ่งความประมาทนั้นว่าเป็นที่เกิดภัย เล็งเห็นความไม่ประมาทนั้นว่าเป็นที่ปราศจากภัย ครั้นเล็งเห็นดังนั้นแล้ว ก็พึงเจริญพระอัฏฐังคิกมรรคธรรม อันกอปรด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลผู้นั้นก็จะพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงนั้นแล อันนี้เป็นคำสั่งสอนแห่งองค์พระสรรเพชญพุทธเจ้าทั้งปวงทุก ๆ พระองค์แล ฯ
    อาตมาภาพถวายวิสัชนาประถมปัญหา ด้วยพระธรรมเทศนานี้ เพื่อเป็นต้นหน แลนายเข็ม สำหรับสำเภาเภตรา คือบวรอาตมาพระองค์ผู้ประเสริฐ วิสัชนาประถมปริศนาสำเร็จเท่านี้ก่อนแล



    [FONT=verdana,sans-serif]
    อัฏฐธรรมปัญหาของสมเด็จพระเพทราชา
    ๑. ทางใหญ่อย่าเที่ยวจร ๒. ลูกอ่อนอย่าอุ้มรัด ๓. หลวงเจ้าวัดอย่าให้อาหาร๔. ไม้โกงอย่าทำกงวาน ๕. ช้างสารอย่าผูกกลางเมือง ๖. ถ้าจะให้เป็นลูกให้เอาไฟสุมต้น ๗. ถ้าจะให้ล่มบรรทุกแต่เบา ๘. ถ้าจะเรียนโหราให้ฆ่าอาจารย์ทั้ง ๔ เสีย

    ไขปริศนาธรรม ๘ ข้อ ของสมเด็จพระเพทราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

    อ่านฉบับเต็มได้ที่
    www.reincarnation.tk


    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...