แท้จริงพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ข้าวใจ, 3 เมษายน 2007.

  1. juniezkitty

    juniezkitty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +1,177
    ก็พระองค์ก็ตรัสไว้แล้วว่า เดินทางสายกลางดีที่สุด ตึงไปก็ไม่ดีนะจ๊ะ คิดมากไปก็ไม่ดีนะเรื่องพวกนี้มันรู้ยาก สู้ทำจิตใจเราให้ดีๆกว่า ก็สิ่งที่กินเข้าไปก็เพื่ออยู่เท่านั้นแหละ เรื่องนี้คงเลี่ยงไม่ได้จริงๆ สัตว์ที่เกิดมาให้เรากินมันก็เหมือนได้ทำบุญอ่ะเกิดมาเพื่อให้ชีวิตต่อชีวิต ก็เรากำลังเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารนี่ ก็พอถึงเทศกาลกินเจก็กินมั่งละกันอย่างน้อยก็ได้ลดได้เพลาลงมาบ้างล่ะ
     
  2. Error404

    Error404 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2007
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +28
    พอดีเคยได้ยินมาว่าสัตว์ที่อยู่ในฟาร์มจะถูกเลี้ยงแบบผผิดธรรมชาติ เห็นรูปของคุณข้าวใจที่เอามาลง ท่าทางจะเป็นแบบนั้นจริงๆครับ ดูหมูแล้วก็ถูกล็อคในกรงเหล็กขนาดพอดีตัว มันแทบกระดุกกระดิกไม่ได้เลยนะครับ ส่วนไก่ก็ถูกขังในกล่องขนาดเตี้ย และมืด ห้ามยืน ห้ามขยับขาและปีก ให้อยู่มืดๆเพื่อจะได้นอนมากกว่าปกติ อ้วนเร็วๆ จะได้จับขาย

    ลองคิดเล่นๆว่าถ้าเป็นชีวิตเราเกิดมาทั้งชีวิต รู้จักแต่ที่แคบๆ มีขาก็ไม่ได้ใช้ มีแขนก็ไม่ได้ใช้ กิน - นอน - รอความตาย...

    ผมสงสารนะ ก็ได้แต่วางอุเบกขา ถ้าโลกนี้คนทุกคนไม่กินเนื้อ ผมก็คงไม่กินไปกับเขาด้วย ฟาร์มทรมารสัตว์ก็คงไม่มี แต่ในความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้นี่ครับ ถึงคนจะไม่ได้เป็นสัตว์กินเนื้อตามชาติพันธ์แต่บางที่เราก็ต้องกินเนื้อเพื่อ
    ความอยู่รอด ผมไม่ได้มองเฉพาะที่เมืองไทยนะ เมืองไทยอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีอีกหลายที่ในโลกที่หนาวเย็นและแห้งแล้งเกินกว่าจะมีพืชผักบริโภคได้


    ใครกินเนื้อก็ไม่ผิด ไม่กินเนื้อผมก็อนุโมสาธุด้วย ใครไม่กินเนื้อนี่ประโยชน์ตกอยู่กับคนนั้นเต็มๆนะครับ เพราะการไม่กินเนื้อจะทำให้ลำไส้ไม่ต้องเจอกับเศษเนื้อที่เน่าฝังในผนังลำไส้
    ลำไส้จะยาว และสะอาดกว่าคนกินเนื้อมาก และที่สำคัญ คนไม่กินเนื้อจะอายุยืนกว่าคนกินเนื้อนะครับ ผมจำได้ว่าเคยอ่านเจอในหนังสืออะไรสักอย่างหลายปีแล้ว เป็นการเปรียบเทียบอายุของคนกินผักกับคนกินเนื้อ ปรากฏว่าอายุเฉลี่ยต่างกันครึ่งๆครับ คนจีนที่กินผักเป็นประจำเป็นอาหารหลัก จะมีสุขภาพดี และอายุยืนถึง 100 ปี ส่วนคนแอสกิโม ที่ต้องกินเนื้อสิงโตทะเล และเนื้อสัตว์อื่นๆเป็นอาหาร อายุจะเฉลี่ยแค่ 50 ปีเองครับ

    ส่วนตัวผมก็แล้วแต่โอกาศครับ กินเนื้อบ้างผักบ้าง กินผักล้วนๆก็ไม่ไหวครับ ที่นี่ผักแพงกว่าเนื้อ :<
     
  3. R112520

    R112520 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +24
    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ธรรมล้วนแล้วเกิดจากใจ จงเดินทางสายกลาง
    ( จงพึงมีสติใว้เสมอ )(i)
     
  4. apple_meppo

    apple_meppo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +135
    อนุโมทนาคะ
    ไม่กินเนื้อหมูเพราะ เส้นกระตุก วัว เพราะ มันย่อยยาก ไก่ และเป็ด เพราะสงสารมัน
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
  6. mossolo

    mossolo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +101
    สิ่งศักสิทธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า คนที่ยังกินเนื้อสัตว์ ไม่มีทางบรรลุหรือสำเร็จแน่นอน เพราะในเมื่อยังมีกรรม กินเนื้อสัตว์ ก็เป็นกรรม และยังไม่มีจิตเมตตาที่แท้จริง ก็ไม่มีทางที่จะกลับไปเบื้องบนได้

    ส่วนตัวของผม แต่ก่อนเคยกิน แต่ตอนนี้ กินเจไปตลอดชีวิต ครับ
     
  7. slowpork

    slowpork สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +23
    [​IMG]<!--endemo--> พระพุทธเจ้าทรงห้ามพุทธบริษัทรับประทานเนื้อสัตว์ หรือไม่ <!--emo&:09:-->[​IMG]<!--endemo-->
    <!--emo&:01:-->[​IMG]<!--endemo--> การรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ งดเว้นจากการรับประทานเนื้อสัตว์ เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ใช่หรือไม่ <!--emo&:01:-->[​IMG]<!--endemo-->
    <!--emo&:01:-->[​IMG]<!--endemo--> การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่ ..... <!--emo&:01:-->[​IMG]<!--endemo-->

    อาหารมังสวิรัติ คือ อาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่พืชผัก ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติจะงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ทุกชนิด

    ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคร่ง และ กลุ่มที่ไม่เคร่ง
    ๑. กลุ่มที่เคร่ง จะกินเฉพาะอาหารที่มาจากพืชเท่านั้น
    ไม่กินอาหารที่มาจากสัตว์ คือ ไข่ นม และเนย
    ๒. กลุ่มที่ไม่เคร่ง จะกินอาหารที่มาจากพืชไม่กินเนื้อสัตว์
    แต่กินไข่ นม และเนย

    การไม่กินเนื้อสัตว์ ไข่ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ทำให้ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุได้ โดยเฉพาะชาวมังสวิรัติที่เคร่งครัด (ไม่กินนมและไข่) อาจขาดธาตุแคลเซียม วิตามินบี และวิตามินดี ทำให้เกิดโรคบางอย่างได้

    อาหารหลัก ๕ หมู่
    นักวิทยาศาสตร์ทางอาหาร หรือที่เรียกว่า นักโภชนาการ ได้แยกธาตุอาหารออกเป็น ๕ ประเภท นิยมเรียกกันว่าอาหารหลัก ๕ หมู่ คือ
    หมู่ที่ ๑ โปรตีน เป็นสารอาหารที่อยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ นม และเมล็ดถั่ว อาหารประเภทโปรตีนสร้างความเจริญเติบโตแข็งแรงให้แก่เซลล์ และเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
    หมู่ที่ ๒ คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต คือ ให้พลังงานแก่ร่างกาย
    หมู่ที่ ๓ ไขมัน เป็นสารอาหารที่อยู่ในอาหารประเภทไขมัน ซึ่งได้มาจากไขมันสัตว์ และไขมันจากพืช ประโยชน์ของไขมัน คือ ให้พลังงานแก่ร่างกาย ละลายวิตามิน และแทรกอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
    หมู่ที่ ๔ เกลือแร่ เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เมล็ดถั่ว และผักใบสีเขียว เกลือแร่ที่สำคัญ เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส ทั้งสองชนิดนี้ร่างกายใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเม็ดโลหิตแดง อาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ เครื่องในสัตว์ พวกตับและหัวใจ
    หมู่ที่ ๕ วิตามิน เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารประเภทตับ หัวใจ ไข่ น้ำนม และผลไม้บางชนิด ถ้าร่างกายขาดวิตามิน หรือ มีปริมาณน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้ร่างกายผิดปกติขึ้นได้ เช่น ขาดวิตามินบี ๑ ทำให้อ่อนเพลีย และเป็นโรคเหน็บชา ขาดวิตามินดี เป็นโรคกระดูกอ่อน ขาดวิตามินเอ ทำให้ตาพร่ามัว มองไม่ชัดเจนและถึงกับตาบอดได้ ขาดวิตามินซี ทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิด มีอาการเลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม และเกิดโรคโลหิตจาง

    การรับประทานอาหารมังสวิรัติ กับ การกินเจ
    การรับประทานอาหารมังสวิรัติกับการกินเจ แม้จะมีพฤติกรรมเหมือนกัน คือ งดเว้นการกินเนื้อสัตว์เหมือนกัน แต่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน คือ
    ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ก็เพราะมีเจตนาจะละเว้นการกินเนื้อสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเบียดเบียนสัตว์ คือ ไม่กินเนื้อสัตว์ เหตุให้ไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อเอามาเป็นอาหาร
    แต่การกินเจ เป็นประเพณีของชาวจีน การกินเจ ไม่ใช่งดเว้นเนื้อสัตว์ตลอดเวลานาน แต่งดกินเนื้อสัตว์ชั่วระยะเวลาเทศกาลกินเจเท่านั้น คือ ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๙ ของจีน เป็นเวลา ๙ วัน ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำเดือน ๑๑ ของไทย (แต่เฉพาะในปีที่ปฏิทินจีนมีเดือน ๕ สองครั้ง จะตรงกับ ขึ้น ๑-๙ ค่ำเดือน ๑๒ ไทย) การกินเจมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาพระเจ้าเก้าพระองค์ (เก๊า-ฮ้วง-ฮุดโจ้ว) ซึ่งเป็นเทพเจ้าอยู่บนสวรรค์ ในหนึ่งปีพระเจ้าเก้าพระองค์จะลงมาตรวจดูคนในมนุษยโลกว่าใครทำดีทำชั่ว แล้วจะจดบัญชีไว้ เพราะเจ้าทั้งเก้าจะลงมาในมนุษยโลก ผู้ที่ต้องการให้พระเจ้าทั้งเก้าช่วยเหลือ ก็ต้องรักษาศีลกินเจเป็นเวลา ๙ วันนอกจากไม่กินเนื้อสัตว์แล้ว ยังต้องไม่กินผักที่มีกลิ่นแรงก่อให้เกิดราคะ ๕ ชนิด ที่มีในเมืองไทย ๓ ชนิด คือ หอม กระเทียม และกุยช่าย (อีก ๒ ชนิด คือ หลักเกี๋ย และเฮงกื๋อ ไม่มีในประเทศไทย)
    ดังนั้น ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำเดือน ๙ ของจีน คนจีนจึงกินเจ เพื่อทำความดีให้เก๊าฮ้วงฮุดโจ้ว เห็นจะได้จดบันทึก และบันดาลให้มีอายุยืนต่อไป

    ทำไมพระมหายานจึงฉันอาหารเจ
    พระสงฆ์มหายาน คือ พระจีนและพระญวน มีอุดมคติ หรือจุดหมายสูง
    สุดในการปฏิบัติธรรมต่างกับพระสงฆ์เถรวาท
    พระสงฆ์เถรวาท คือ พระสงฆ์ไทย ลังกา พม่า ลาว เขมร มีจุดมุ่งหมายสูง
    สุดในการปฏิบัติธรรม คือ ทำจิตให้บริสุทธิ์ หมดกิเลส
    เป็นพระอรหันต์ หรือเรียกว่า บรรลุนิพพาน
    นิพพาน คือ จุดหมายสูงสุด

    แต่พระสงฆ์มหายาน ไม่ต้องการบรรลุนิพพานแต่ลำพังตนเอง แต่ต้องการช่วยให้มหาชน บรรลุนิพพานทั้งหมด จึงต้องบำเพ็ญบารมีให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในระหว่างที่บำเพ็ญบารมีอยู่นี้เรียกว่า เป็นพระโพธิสัตว์ คำว่าพระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์จะต้องรักษาศีลเรียกว่า “สิกขาบท พระโพธิสัตว์” เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ปฏิบัติพร้อมกันกับสิกขาบทที่มีมาในพระปาฏิโมกข์ เหมือนกับพระสงฆ์เถรวาท แต่ต้องรักษาศีลสำหรับพระโพธิสัตว์เพิ่มขึ้น ๕๘ ข้อ ในสิกขาบท พระโพธิสัตว์ ๕๘ ข้อนี้ มีบัญญัติว่าห้ามบริโภคโภชนาหารปลาและเนื้อ และห้าบริโภคผักที่มีกลิ่นฉุน ก่อให้เกิดราคะ ๕ อย่าง คือ หอม กระเทียม และกุยช่าย (อีก ๒ ชนิด คือ หลักเกี๋ย และเฮงกื๋อ ไม่มีในประเทศไทย)

    พระพุทธเจ้าทรงห้ามพุทธบริษัทรับประทานเนื้อสัตว์ หรือไม่
    คำถามนี้ต้องแยกตอบเป็น ๒ พวก คือ
    ๑. พุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์
    ๒. พุทธบริษัทที่เป็นบรรพชิต
    สำหรับพุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์นั้นพระพุทธเจ้าไม่ห้ามการรับประทานอาหารทุกชนิด เพราะชาวบ้านมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างกัน ความเชื่อถือในเรื่องการรับประทานอาหารก็เป็นไปตามตระกูลและวรรณะของตน พระพุทธเจ้าจึงไม่ห้ามชาวบ้านในเรื่องการเลือกอาหาร

    แต่สำหรับบรรพชิต คือ ภิกษุ ภิกษุณี และ สามเณรนั้น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อห้ามไว้ ๒ กรณี คือ
    กรณีที่ ๑ ห้ามรับประทานเนื้อ ๑๐ ชนิด คือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อสุนัข เนื้องู
    การที่พระพุทธเจ้าบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อเสือ ๓ ชนิด แทนที่จะพูดรวมๆ “เนื้อเสือ” เพราะในภาษาบาลี เสือแต่ละชนิด ใช้คำเรียกต่างกัน คือ เสือโคร่ง ใช้คำว่า พยคฺฆมํสํ , เสือดาว ใช้คำว่า ตรจฺฉมํสํ , เสือเหลือง ใช้คำว่า ทีปิมํสํ เนื้อ ๑๐ ชนิดนี้ ถ้าภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฎ (ที่มา : ฉบับหลวง เล่ม ๕ ข้อ ๕๗ หน้า ๖๙-๗๒)
    กรณีที่ ๒ พระพุทธเจ้าห้ามภิกษุฉันเนื้อที่เขาฆ่า เพื่อทำอาหารถวายพระโดยเฉพาะ เรียกในพระวินัยว่า “อุททิสุสมังสะ” แปลว่า เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อถวายภิกษุ ท่านห้ามมิให้ภิกษุฉัน หากภิกษุฉัน ทั้งได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน ต้องอาบัติทุกกฎ

    พุทธบัญญัติข้อนี้ มีในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่ม ๕ ข้อ ๘๐ หน้า ๑๐๐-๑๐๑ ดังนี้
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฎ”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลาเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม
    คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ”

    การรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ งดเว้นจากการรับประทานเนื้อสัตว์ เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ใช่หรือไม่
    คำตอบที่ถูกต้อง คือ ไม่ใช่ พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสนับสนุน มิได้ทรงสรรเสริญ มิได้ทรงติเตียน การบริโภคอาหารมังสวิรัติแต่อย่างใด และการบริโภคอาหารมังสวิรัตินั้น ก็มิได้ช่วยให้บรรลุธรรมพิเศษแต่อย่างใด
    บางคนยึดถือว่า การบริโภคอาหารมังสวิรัติเป็นสิ่งสำคัญ เป็นข้อปฏิบัติอันประเสริฐ จึงสรรเสริญผู้บริโภค ติเตียนผู้ไม่บริโภค
    เคยมีภิกษุสำนักหนึ่ง ติเตียนผู้ที่กินเนื้อสัตว์ว่าเป็นยักษ์มาร ปากที่กินเนื้อสัตว์ เป็นปากของคนใจดำอำมหิต กระเพาะของคนที่กินเนื้อสัตว์เป็นป่าช้า ที่ฝังของเนื้อและปลาทั้งหลาย คำกล่าวอย่างนี้ ความเห็นอย่างนี้เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง คือ มานะ ถือตัว , อติมานะ ดูหมิ่นท่าน , สาเถยยะ โอ้อวด

    การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่
    การที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำอะไร เป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนั้น ต้องอาศัยกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าด้วย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
    ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    ๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
    ๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
    ๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
    ๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
    ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
    ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    ๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง
    เมื่อเทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ รับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา
    ลองคิดดูว่าถ้าการกินพืช เช่น ผัก หญ้า ได้บุญ แล้วสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ก็ต้องได้บุญมากกว่ามนุษย์ เพราะสัตว์พวกนี้กินพืชตลอดชีวิตไม่กินเนื้อสัตว์เลย

    การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?
    การที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
    ๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
    ๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
    ๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
    ๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
    ๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
    เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย
    มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
    “นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต”
    “บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”

    พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่
    ปัญหาเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ นี้ พูดกันถามกันอยู่เสมอ คำตอบที่ถูกต้อง คือ พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ หลักฐานที่จะนำมาอ้างมีในพระไตรปิฎกหลายแห่งที่ยกมาเป็นตัวอย่างเพียง ๒ แห่ง คือ
    ๑. เรื่องสีหะเสนาบดี ในพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม ๕ ข้อ ๘๐ หน้า ๙๙
    ๒. อรรถกถาอามคันธสูตร พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย
    เล่ม ๔๗ หน้า ๘๗ และ หน้า ๙๒

    เรื่องที่ ๑ สีหะเสนาบดี แห่งแคว้นวัชชี เดิมเป็นสาวกของนครนถ์ (นักบวชเปลือย) ต่อมาได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน จึงเปลี่ยนศาสนามาเป็นอุบาสก และอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์หมู่ใหญ่ไปรับภัตตาหารที่นิเวศน์ของสีหะเสนาบดี ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าทรงรับอาราธนาแล้ว สีหะเสนาบดีจึงได้สั่งให้มหาดเล็ก ไปซื้อเนื้อสดที่เขาขายในตลาด มาทำภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงเสวยภัตตาหารนั้น

    เรื่องที่ ๒ อามคันธสูตร ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้มีพราหมณ์คนหนึ่งอามะคันธะบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ มีบริวาร ๕๐๐ ดาบสเหล่านั้น ออกจากป่าหิมพานต์ไปจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นเวลาปีละ ๔ เดือน เป็นประจำชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธามาก ให้การต้อนรับเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
    สมัยต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปยังหมู่บ้านแห่งนั้น พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย เมื่อชาวบ้านได้เห็นพระพุทธเจ้าก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใสถวายมหาทาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่คนเหล่านั้น คนเหล่านั้นบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี บางพวกได้บรรพชาอุปสมบทบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังกรุงสาวัตถี
    ต่อมาดาบสเหล่านั้น ได้เข้าไปสู่หมู่บ้านนั้นอีก แต่คราวนี้ชาวบ้านไม่ได้ให้การต้อนรับอย่างโกลาหล เหมือนคราวก่อนๆ ดาบสเหล่านั้นเห็นผิดจากเดิม จึงถามคนเหล่านั้นว่าเพราะอะไรพวกท่านจึงไม่เป็นเช่นคราวก่อน ชาวบ้านได้เรียนให้ดาบสทราบว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนเป็นอันมาก คนทั้งหลายได้บรรลุธรรม เป็นพระอริยบุคคล ชั้นต่างๆ มีพระโสดาบัน เป็นต้น พวกดาบสเมื่อได้ยินคำว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ก็เกิดความปลาบปลื้มปิติยินดีอย่างยิ่ง แต่ยังไม่ค่อยเชื่อว่า จะเป็นพระพุทธเจ้าจริง จึงสอบถามชาวบ้าน ถึงพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า โดยถามว่าพระพุทธเจ้าเสวยอย่างไร ทรงเสวยปลาหรือเนื้อหรือไม่ คนเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเสวยปลาและเนื้อ” เมื่ออามะคันธดาบส ได้ฟังดังนั้นก็ไม่ชอบใจ เพราะไม่ตรงกับความคิดของตน เพราะมีความเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้าต้องไม่เสวยปลาและเนื้อ อามะคันธะดาบสพร้อมด้วยดาบสที่เป็นบริวารจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเชตวัน ที่พระนครสาวัตถี และได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าพระองค์เสวยปลาและเนื้อหรือไม่ พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า พระองค์เสวยปลาและเนื้อที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ (คือไม่สงสัย ว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้
    อามะคันธะดาบส ได้โต้แย้งกับพระพุทธเจ้าว่าการเสวยปลาและเนื้อไม่เหมาะสมแก่ชาติสกุลของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็ไม่ควรที่จะเสวยปลาและเนื้อ
    พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงให้อามะคันธะดาบสเข้าใจว่า การไม่กินปลา กินเนื้อ ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงความที่บุคคลไม่สามารถจะทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยการไม่บริโภคปลาเนื้อเป็นต้น อย่างนี้แล้ว ทรงแสดงพระธรรมที่สามารถจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้ ด้วยหลักธรรม คือ อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ ความเป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ทำให้บางเบา ซึ่งกิเลสทั้งหลายมีราคะและโทสะ เป็นต้น ดำรงอยู่ในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันจะพึงบรรลุได้ด้วย อริยมรรค
    อามะคันธะดาบส ครั้นสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็มีใจอ่อนน้อม ถวายบังคมที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอบวชพร้อมกับดาบสผู้เป็นบริวารของตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด” ดาบสเหล่านั้นได้เป็นภิกษุด้วยพระวาจานั้น ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ทุกท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์

    การรับประทานอาหารมังสวิรัติไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนของใคร ?
    คำสอนให้งดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ เป็นคำสอนของ พระเทวทัต
    พระเทวทัตเป็นราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถกุมาร เจ้าชายเทวทัต ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายในราชวงศ์ศากยะ ๕ คน มีพระอานนท์ เป็นต้น และมีพนักงานภูษามาลา (ช่างตัดผม) ชื่อ อุบาลี รวมเป็น ๗ คน ออกบวชพร้อมกัน หลังจากออกบวชแล้วเจ้าชายในราชวงศ์ศากยะทั้ง ๕ พระองค์ และพระอุบาลี ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ส่วนพระเทวทัตไม่ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ได้สำเร็จโลกียฌาน มีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ
    ต่อมาพระเทวทัต อยากจะมีอำนาจปกครองสงฆ์ จึงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐิธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์”
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า “อย่าเลย ! เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์เลย”
    แม้พระพุทธเจ้าทรงห้ามแล้ว พระเทวทัตก็ไม่ฟัง ยังกราบทูลขอปกครองสงฆ์ถึง ๓ ครั้ง แต่พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระเทวทัต เป็นผู้ปกครองสงฆ์
    พระเทวทัตโกรธ น้อยใจ จึงคิดจะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง พระเทวทัตเข้าไปหาเจ้าชายอชาตศัตรู ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ยุยงให้เจ้าชายอชาตศัตรูเป็นกบฏ ชิงราชบัลลังก์ โดยกล่าวว่า “ดูก่อนกุมาร ถ้ากระนั้น ท่านจงปลงพระชนม์พระชนกเสีย แล้วเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อาตมาจักปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเป็นพระพุทธเจ้า”

    พระเทวทัตวางแผนปลงพระชนม์ พระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง ดังนี้
    ครั้งที่ ๑ พระเทวทัตขอให้เจ้าชายอชาตศัตรู ส่งทหารแม่นธนูไป พบพระพุทธเจ้าแล้วไม่กล้ายิง พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรม ทหารแม่นธนูได้ฟังธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมประกาศตนเป็นอุบาสกแล้วกลับไป
    ครั้งที่ ๒ เมื่อแผนการแรกไม่สำเร็จ พระเทวทัตจึงลงมือเอง โดยขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏ กลิ้งศิลาก้อนใหญ่ลงมาขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ที่เชิงเขา ด้วยจงใจว่าเราเองจักเป็นผู้ปลงพระชนม์พระสมณโคดม แต่ศิลานั้นกลิ้งไปกระทบศิลาก้อนอื่น แตกเป็นสะเก็ด กระเด็นไปกระทบพระบาท (หัวแม่เท้า) ทำให้ห้อพระโลหิต บรรดาภิกษุช่วยกันทำแคร่หามพระองค์ไปยังบ้านหมอชีวก หมอชีวก ทำการรักษาด้วยการพอกยาจนพระโลหิตที่ห้อนั้นหายสนิท
    ครั้งที่ ๓ พระเทวทัตไม่ละความพยายามเข้าไปหาควาญช้างหลวง แอบอ้างรับสั่งของพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาพระองค์ใหม่ ให้ปล่อยช้าง นาฬาคิรี ออกไปทำร้ายพระพุทธองค์ขณะเสด็จบิณฑบาต เมื่อช้างแลเห็นพระพุทธองค์ก็ปรี่เข้าไปจะทำร้าย พระอานนท์ออกไปยืนขวางหน้าด้วยความจงรักภักดี ตั้งใจสละชีวิต เพื่อปกป้องพระพุทธองค์ ด้วยอำนาจเมตตาจิต ที่พระศาสดาทรงแผ่เจาะจงยังช้างนาฬาคิรี ทำให้ช้างนั้นเมื่อได้สัมผัสกับกระแสเมตตาจิตของพระพุทธองค์ก็ลดงวงลง เข้าไปหมอบอยู่ต่อหน้าพระพักตร์แล้วกลับไปสู่โรงช้างตามเดิม

    ทำสังฆเภท
    พระเทวทัต เมื่อพยายามทำร้ายพระพุทธองค์ถึง ๓ ครั้งไม่เป็นผลสำเร็จ จึงใช้อุบายที่จะทำให้สงฆ์แตกแยกกัน พระเทวทัตจะได้แบ่งแยกพระสงฆ์ส่วนหนึ่งไปจากพระพุทธเจ้า
    พระเทวทัต กับบริวารของตน เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วทูลขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบท ๕ ประการ โดยอ้างว่าเพื่อความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัดกิเลส การไม่สั่งสม เพื่ออาการที่น่าเลื่อมใส เรื่องที่พระเทวทัตทูลขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทขึ้นใหม่ ๕ ข้อนั้น เรียกว่า วัตถุ ๕ ประการ คือ
    ๑. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่รูปนั้น
    พึงต้องโทษ
    ๒. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์รูปนั้น
    พึงต้องโทษ
    ๓. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้น
    พึงต้องโทษ
    ๔. ภิกษุทั้งหลาย พึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง
    รูปนั้นพึงต้องโทษ
    ๕. ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น
    พึงต้องโทษ

    พระศาสดารับสั่งว่า ภิกษุพึงถือเป็นวัตรได้ตามความสมัครใจ ภิกษุรูปใดปรารถนาจะอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจะอยู่บ้าน ก็จงอยู่บ้านรูปใดปรารถนาจะถือบิณฑบาตเป็นวัตร ก็จงถือบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจะรับกิจนิมนต์ก็จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ก็จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดจะรับผ้าคหบดีจีวร ก็จงรับ เราอนุญาตการอยู่โคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน นอกฤดูฝน ในฤดูฝนต้องอยู่ในที่มุงที่บัง เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อถวายพระ
    พระเทวทัต ประกาศให้ประชาชนทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตข้อวัตรที่ตนทูลขอทำให้ประชาชนที่ไร้ปัญญา เข้าใจว่า พระเทวทัตเป็นผู้มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีความประพฤติมักมาก
    พระเทวทัต ประกาศโฆษณาให้พระภิกษุเห็นด้วยกับ วัตถุ ๕ ประการ โดยอ้างว่าเป็นการปรารถนาความเพียร เพื่อความมักน้อย พระเทวทัตอ้างว่าคำสอนของตนประเสริฐกว่า เคร่งครัดกว่า น่าเลื่อมใสกว่า
    พระภิกษุวัชชีบุตร (ชาวเมืองเวสาลี) ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระบวชใหม่ และรู้พระธรรมวินัยน้อย พากันหลงเชื่อ ยอมตนเข้าเป็นสาวกของพระเทวทัต พระเทวทัตพาภิกษุเหล่านี้ไปอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ เป็นการแยกคณะสงฆ์
    พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัต ทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ หลีกไปทางคยาสีสะ
    พระเทวทัตเข้าใจว่า พระอัครสาวกทั้งสองตามมา เพราะชอบใจธรรมะของตน จึงนิมนต์ให้นั่ง หลังจากพระเทวทัตแสดงธรรมกถาเป็นเวลานานแล้ว จึงมอบให้พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ แสดงธรรมต่อ โดยกล่าวว่า “ท่านจงแสดงธรรมต่อจากเราเถิด เราเหนื่อยแล้ว จักนอนพัก” จากนั้นก็ล้มตัวลงนอนแล้วหลับไป
    พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ แสดงธรรมเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ กลับใจภิกษุเหล่านั้นให้เข้าใจความจริง แล้วพาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นกลับไปอยู่กับพระพุทธเจ้าตามเดิม
    พระเทวทัตตื่นขึ้นมา ปรากฏว่าพระภิกษุส่วนใหญ่ตามพระอัครสาวกกลับไปแล้ว คงเหลือพระภิกษุที่ยังอยู่เพียงเล็กน้อย พระเทวทัตเสียใจมาก ล้มป่วยถึง ๙ เดือน ในกาลสุดท้ายสำนึกผิด ต้องการจะไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลขอขมา จึงให้สาวกที่เหลือ นำตนไปเฝ้า เมื่อสาวกนำพระเทวทัตมาใกล้ถึงพระเชตวัน ก็วางคานหามลงริมฝั่งสระโบกขรณี พระเทวทัตลุกขึ้นนั่ง ก้าวลงจากคานหาม พอเท้าทั้งสองถึงพื้นดิน แผ่นดินสูบพระเทวทัตจมลงในพื้นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรก ถูกไฟนรกเผา เพราะอนันตริยกรรมที่ตนได้กระทำทั้ง ๒ อย่าง คือ ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท ทำให้สงฆ์แตกกัน

    คำสอนของพระเทวทัตให้งดเว้นจากการรับประทานปลาและเนื้อ หรือที่เราเรียกกันว่ารับประทานอาหารมังสวิรัติก็ยังมีผู้ปฏิบัติตามจนทุกวันนี้ ..... **********************************************************
    ชำนาญ นิศารัตน์
    อดีตศึกษานิเทศก็ระดับ ๙
    กรมการศึกษานอกโรงเรียน
    (หนังสือทางเดิน)


    ####

    หลวงปู่ดูลย์ “ดีทีเดียวแหละ ท่านผู้ใดสามารถฉันมังสวิรัตได้ก็เป็นการดีมาก ขอนุโมทนาสาธุด้วย ส่วนท่านที่ยังฉันมังสะอยู่ หากมังสะเหล่านั้นเป็นของบริสุทธิ์โดยส่วนสามคือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่สงสัยว่าเขาเจาะจง ได้มาด้วยความบริสุทธิ์แล้ว ก็ไม่ผิดธรรมผิดวินัยแต่ประการใด อนึ่ง ที่ว่าจิตใจสงบเยือกเย็นดีนั้น ก็เป็นผลเกิดขึ้นจากพลังของการตั้งใจปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ไม่เกี่ยวกับอาหารใหม่ อาหารเก่าที่อยู่ในท้องเลย”
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เรื่องบางเรื่องน่าจะคิดได้ นะ เรื่องแค่นี้ไม่จำเป็นต้องพูดต้องบอกหรอกคับ
     
  9. thanatos hipnos

    thanatos hipnos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +26
    กินเจดีที่สุด
     
  10. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    ทานผักเยอะสุขภาพแข็งแรง ทานเนื้อสัตว์ไม่บาป แต่ฆ่าสัตว์ สั่งให้เขาฆ่า บาป
     
  11. มารพรหม

    มารพรหม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +17
    การครั้งหนึ่งผ่านมาไม่นานนัก มีทารกคนหนึ่งได้ถืออุบัตขึ้นในครอบครัวของคนเลี้ยงสุกร

    เขาได้ถูกเลี้ยงให้เติบใหญ่ในครอบครัวของคนผู้เลี้ยงสุกรนั้น โชคดี ที่ทั้งมารดาและบิดาของเขา

    ถึงแม้จะมีอาชีพค้าสุกร ก็ไม่เคยบอกเล่า แนะนำสั่งสอนลูกน้อยให้กระทำตามเลย กับทั้งยัง

    สั่งสอนในการบุญให้ทาน เอื้อเฟื้อเจือจารแก่หมู่เพื่อนผอง เด็กน้อยคนนี้ได้เติบให้ขึ้นมาและได้

    ซึมทราบเพียงคำสอนในด้านดี จึงมีความคิดที่เป็นกุศลยิ่ง มาวันนึง เด็กน้อยได้ยินคุณครูสอน

    เรื่องของศีีล ๕ และโทษของศีล ๕ เขามีจิตคิดกลัวโทษภัยในการสร้างกรรมชั่ว กอบด้วยจิต

    มีแ่ต่ความคิดใคร่อยากสละออกจากเย่าเรื่อน ไปเป็นผู้ไม่มีสิ่งไร่ให้ห่วงใยมาก แต่อีกใจก็ห่วง

    อาลัยในหน้าที่ของตน อันสำคัญยิ่ง กล่าวคือ การเลี้ยงดูมารดาและบิดาของตน จึงนั่งนับนิ้วมือ

    ว่าตนเองจะมีอายุยาวนานเพียงใด แม้จะสั้นหรือยาว ก็ขอให้ได้ออกบวชหนีจากการก่อกรรมอัน

    โหดร้ายทั้งปวง นั่นคือแรงอธิฐานอันมั่นคงในหัวใจ เมตตาธรรม อันโอบอุ้มจิต ทำให้เด็กน้อย

    ไม่หิวกระหายอยากเลือแลเนื้อของปวงสัตว์เลย นับตั้งแต่นั้นมา เด็กน้อยนั้นก็เขี่ยรับทานแต่เพียง

    ผักกับน้ำแกง ไม่ยอมแตะต้องเนื้อเลย ด้วยแลเห็นวิญญานแห่งหมู่สัตว์ลอยวนเวียนอยู่ในหว้ง

    แห่งความทุกข์ทน แต่ทะว่า เด็กน้อยนั้นก็ไม่เคยจะปริปากเอ่ยแก่ผู้ใด และไม่ได้มีจิตลังเกียด

    ผู้ทานเนื้อเลย ทราบแต่เพียงว่าคนทานเนื้อเขาก็คือเพื่อนร่วมโลก เขามิได้ชอบใจหรือไม่ชอบใจ

    กับการทานเนื้อ เพียงแ่ต่เขาทานเพราะความเคยชินมาเท่านั้นเอง แต่บางคนก็เมามันชอบใจในการ

    ทานเนื้อและฆ่าสัตว์ยิ่งนัก ความรู้สึกของบุคคลทั้งสามฝ่ายนี้ ใครหรือจะผิดใครหรือจะถูก เด็กน้อย

    นั้นทราบเองโดยกำลังแห่งจิตตน ว่าความรู้สึกของเขารังเกียดเนื้อเพราะสงสารสัตว์ หากไปกินเนื้อ

    สัตว์คงต้องบาปเพิ่มขึ้นอีกมากมายนักเป็นสองเท่าพูลทวี แ่คนที่เขาไม่ได้ฆ่าเพียงแ่ต่บริโภคไป

    ตามอำนาจแห่งวิถีชีวิตและอำนาจของความต้องการของร่างกาย จิตไม่ได้สงสัยหรือแม้แต่คิดว่านั่น

    คือเนื้อ รู้เพียงว่านั่นคืออาหาร เขาจะผิดอะไรเล่า เขาย่อมพ้นจากความเมาในการบริโภคเนื้อนั้น

    เพราะมิได้ติดในรสแห่งเนื้อ และ ไม่ได้ติดในการเข่นฆ่า แม้โลกนี้ไม่มีแเนื้อ เขาก็อยู่ได้

    ซึ่งต่างจากคนอีกกลุ่ม ที่เขาจ้องที่จะทานแต่เนื้ออย่างเมามัน วันใดไม่มีเนื้อวันนั้น เขาจะพิโรธ

    ขึงโกรธอย่างหนักหน่วง ตามวิ่งไล่เข่นฆ่าสัตว์เพียงเพื่อให้ได้เนื้อนั้นดั่งใจอยากกิน

    ท่านทั้งหลาย ใครหรือผิด ใครหรือถูกกัน ผู้ใดกันหรือคือผู้พ้นแล้วด้วยดี

    โอวาทธรรม ของท่านหลวงพ่อโกวิโท เรื่อง บางตอนของชีวิต ตอน จิตตนนั่นแหละคือผู้ตัดสิน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2008
  12. aodbu

    aodbu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +456
    สมเด็จพุฒาจารย์โต ตอนที่ท่านมาโปรดสัตว์ที่สำนักปู่สวรรค์ ท่านก็บอกว่า
    พระพุทธเจ้าเป็นมังสวิรัติ
    ต่อมาผู้ที่อยากกินเนื้อก็แต่งคำสอนในคัมภีร์ใหม่เสีย

    เรื่องศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อที่ละเอียดอ่อน ผมเคยโพสต์ในเวปพันทิพย ห้องศาสนาแต่โดนด่าเยอะมากครับ

    ส่วนตัวผมเองก็เป็นมังสวิรัสต์ก็ไม่ลำบากในการใช้ชีวิตในสังคม
    และก็ไม่ได้ตัดสินว่าคนที่กินหรือไม่กิน เลวหรือดี อย่างไร

    ในอดีตผมเคยเจอผู้ที่ผู้วิญญาณสัตว์ที่เค้ากินเข้าไปทรมานหลายปี เยอะมาก
    เช่นในรายของ อาจารย์วีรชัย ตรีสุวรรณ
    อดีตอาจารย์ โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ สมุทรปราการ

    ตอนเด็กกินเนื้อเต่าที่แม่ตักให้ทาน ทั้งที่ไม่อยากกินเพราะเหม็น
    ต้องทรมานเป็นคนบ้าอยู่หลายปีทุกวันนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าท่านใดมาอุทยานศาสนาพระโพธิ์สัตว์กวนอิม หรือสำนักปู่สวรรค์
    ลองสอบถามดูได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2008
  13. เทพบุตร

    เทพบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +114
    ไม่ทานเนื้อสัตว์ ไม่เดือดร้อนชาวบ้านแย่เหรอครับ ผมเคยได้ยินตำนานเกี่ยวกับพุทธศาสนา กล่าวไว้ว่า ขนาดพระอานนท์จะปรุงยาโอส ถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ทรงห้ามไว้ว่า ไม่ใช่กิจของสงฆ์ น่าจะเป็นอาจารย์ที่แต่งหนังสือเรื่อง "พระอานนท์ พุทธอนุชา"
     
  14. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    <label for="rb_iconid_17">[​IMG]</label>สิกขาบทหรือข้อห้ามของพระพุทธองค์ผู้ประเสริฐ ทั้งหมดเกิดการทำความผิดครั้งแรกขึ้นในหมู่สงฆ์สาวก
    และมีผู้หนึ่งผู้ใดโจทย์ขึ้นมา
    พระพุทธองค์ทรงเกิดขึ้นมาเพื่อยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งหมดทั้งสิ้น ทุกบุคคล ทุกชนชาติ ทุกความเชื่อ
    ทุกศาสนา ทั้งคน สัตว์ เทวดา มาร พรหม ทั้งคนที่ทานเนื้อและไม่ได้ทานเช่นกัน โดยไม่มีแบ่งแยกอคติ
    ทรงเกิดมาเพื่อเป็นร่มเงาให้เกิดความร่มเย็น ไม่ได้เกิดมาเพื่อสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
    ไม่ได้ชี้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ผิด
    แต่จักทรงแสดงหนทางที่ดีกว่า ถูกต้องต่อเหตุนั้นนั้น
    ทรงบัญญัติทุกสรรพสิ่งเพื่อความเป็นอยู่อย่างง่ายง่าย จะไม่บัญญัติสิ่งใดที่จะเป็นการเบียดเบียนต่อผู้อื่นให้เืดือดร้อนใจ

    เพราะธรรมะคือความธรรมดาอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้ธรรมดาอย่างยิ่งกว่าผู้ใด พระองค์จึงเป็นผู้เลิศกว่าใครในโลก

    **โดยปกติการทานเนื้อ หากเข้าป่าร่างกายคนเราอาจจะมีกลิ่นที่ทำให้สัตว์ป่าไม่ไว้วางใจเราก็เป็นได้
    **และหากเธอเป็นพระ และมีผู้ที่ใกล้ตายผู้หนึ่งหวังจะถวายอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์แก่เธอ
    ด้วยใจศรัทธาอย่างยิ่ง เธอจะทำฉันใด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. พระศุภศิษฏ์

    พระศุภศิษฏ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +98
    ภิกษุไมควรฉันเนื้อ 10 อย่าง คือ เนื้อมนูษย์1 เนื้อช้าง1 เนื้อม้า1 เนื้อสุนัข1 เนื้องู1 เนื้อราชสีห์1 เนื้อหมี1 เนื้อเสือโคร่ง1 เนื้อเสือดาว1 เนื้อเสือเหลือง1
    สิ่งใดที่ไม่ได้กล่าวมานี้คงพอจะอนุโลมได้ เนื้อที่ห้าม รู้ว่า,เขาเจาะจง เหล่านี้ภิกษุรับประเคนต้องอาบัติ แล้วก็ให้ฉันตามมีตามได้ถ้าได้ดีก็ฉันแบบดี ถ้าได้แบบเลวก็ฉันแบบเลว ผิดประการใดติงได้ เจริญธรรม
     
  16. cmessage

    cmessage สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +11
    ขอแก้

    ในเรื่องนี้มีคนถกเถียงกันมากและแต่ละกลุ่มก้ตีความเข้าข้างตนทั้งนั้น หัวข้อนี้มีทั้งจริงและเกิน จริง เพราะ ตามจริงแล้วพระเทวทัตขอไม่ให้ภิกษุฉันเนื้อ ซึ่งพูดไว้เท่านั้น แต่ บางกลุ่ม เติมคำว่าปลาเข้าไป กลายเป็นเนื้อปลา หรือกลุ่มอื่นอาจจะเติมอย่างอื่น ซึ่งเป็นการทำพุทธพจน์ให้บิดเบือน และ คำตอบในข้อนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงตอบแล้ว ก็ควรนำสิ่งที่ท่านตอบอย่างนั้นมาเผยแพร่ มิไช่นำความคิดตนมาตอบและเผยแพร่ อันเป็ฯการทำให้พุทธพจน์บิดเบือน ผิดศีลและวินัยอย่างยิ่ง;hi2
     
  17. cmessage

    cmessage สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +11
    เพิ่มเติม

    และที่สำคัญควรแยกประเด็นของคนที่กินเนื้อสัตว์ กับภิกษุที่กินเนื้ยด้วย คน กับ ภิกษุคนละกรณีกันครับ การปฏิบัติควรพูดคนละเรื่องส่วนผมเองไม่ขออธิบาย เพราะมีคนเห็นต่างกันไปเยอะมากซึ่งมีทั้งเป็นกุศลและอกุศล แต่พึงพิจารณาตามหลังธรรมที่ถูกต้องเถิดครับ สาธุ;hi2
     
  18. คุณพหส

    คุณพหส สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +1
    เรื่องนี้มีการถกเถียงมามากแล้วครับ หลายที่ หลายแห่ง แบ่งเป็นฝ่ายนั่นฝ่ายนี่บ้าง ตามความเชื่อของตนบ้าง ตามพระวินัยบ้างก็ดี ตามพระสูตรบ้างก็ดีครับ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ แต่สำหรับผม ถือว่าเป็นเรื่องไร้สาระ (เมื่อเทียบกับเรื่องอืนที่ต้องปฎิบัติเพื่อการขัดเกลาจิตใจ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า)

    ในความคิดเห็นของผมเองนั้น ผมเป็นคนเคยบวชวัดป่ามา เคยศึกษาพระวินัยมา เคยอ่านพระไตรปิฏกมาพอสมควร ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยครับ พระพุทธองค์ ไม่ทรงให้ความสำคัญในเรื่อง ทานเนื้อสัตว์ หรือทานมังสะวิรัติ ดีล้วนแล้วแต่ ความต้องการของบุคคล ทรงตรัสห้ามเฉพาะเนื้อที่ไม่บรุสุทธิ์ โดยสามอย่าง(ดังที่บางท่านได้กล่าวมาแล้ว) และเนื้อสัตว์อีก10อย่าง ก็เท่านั้นครับ แล้วจะมาเถียงกันทำไมครับ

    แต่เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำก็คือการปฎิบัติ ให้ถึงความหลุดพ้นนี่แหละครับ เรื่องใหญ่ ถึงขั้นพระองค์ได้ตรัสไว้ว่าการปฎิบัตินี้ชื่อว่าเป็นการบูชาสูงสุด

    ผมก็เข้าใจความคิดของท่านทั้งหลายที่ทานมังสะวิรัต และต้องการรณรงค์ให้ทานกัน มันก็ดีนะครับ ไม่ผิดอะไร แต่อย่าได้คิดว่าการทำเช่นนี้จะเป็นวิธีแก้ปัญหาการถูกฆ่าของสัตว์ มันไม่ใช่ครับ ถ้าท่านรณรงค์ได้ตามนี้จริง แล้วจะมีสักกี่คนที่จะไม่ทานเนื้อสัตว์ได้จริงๆ ตลอดชีวิต เพราะความเป็นพุทมามกะ เอาง่ายๆครับ แค่ศีลห้า มีชาวพุทธกี่คนที่บอกคนอื่นว่านับถือพุทธแล้วรักษาได้ครบ มีน้อยมากครับ ทั้งที่เรื่องศีลเป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำ ก็ยังมีคนปฎิบัติได้เป็นส่วนน้อย

    ดังนั้น บุคคลพึงเจริญภาวนา รักษาศีล เพื่อละอกุศลกรรมไม่ให้เกิดขึ้น นี้จึงชื่อว่าวางศาสตราในหมู่สัตว์ทั้งปวงโดยแท้ เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือตัวเราชัดเจนครับ


    สรุปคือ " ปัญหาไม่ได้แก้โดยให้ผู้อื่นทานมังสะวิรัต แต่ปัญหาแก้โดยให้ตัวเราหลุดพ้นจากอาสวะ ละอกุศลกรรมทั้งปวงครับ "

    สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง มีความเพียรเผากิเลส ประพฤติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยนะครับ สาธุ
     
  19. นามิกา

    นามิกา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +52
    ดิฉันมีความเห็นว่า....การปฏิบัติธรรมนั้นก็หวังเพื่อจะลดละกิเลส
    และการยึดติดทั้งปวง..พระสงฆ์ต้องฉันอาหารที่ได้มาจากการบินทบาตร
    ซึ้งถ้าอยู่ในสังคมของหมู่คนที่กินเนื้อก็ต้องฉันอย่างนั้น...จะเลือกอาหารไม่ได้....และต้องละกิเลสในการกิน..ไม่กินเพราะความชอบหรือไม่ชอบอะไรเปนพิเศษ...พิจารณาอาหารว่าเปนเพียงแค่ธาตุทั้ง 4 เท่านั้น..ถึงเราจะทานผักแต่เราก็ยังทานเพราะความชอบความพอใจในรสของมัน....บางคนชอบกินผักอยู่แล้ว..ก็ทานผักเพราะติดในความอร่อย...มันก็เปนกิเลส...
    หรืออาจจะทานผักแต่ก็ยังประดิษประดอยให้มีรูปร่างลักษณะคล้ายเนื้อ...หรือมีรสคล้ายเนื้อ...มันก็ติดอยู่กับกิเลส...ไม่ต่างอะไรกับการทานเนื้อที่เปนเนื้อจริง....

    ดิฉันเคยอาจหนังสือพุทธประวัติแต่งโดยท่านพุทธทาส....
    ท่านพุทธทาสได้สันนิสทานว่า สุกรมันทวะ..อาจเปนเห็ดป่าชนิดหนึ่ง
    ที่หมูป่าชอบกิน..(สุกรมันทวะแปลว่าของชอบของหมูป่า).ธรรมดาเห็ดป่าถ้าไม่รู้จักจริงก็อาจเก็บเห็ดพิษก็เปนไปได้
     
  20. tsilawanno

    tsilawanno Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +69
    ในสมัยพระพุทธเจ้า พระเทวทัตต้องการล้มพระพุทธเจ้าจึงเสนอข้อบัญญัติใหม่เกี่ยวกับเรื่องนั้ไว้เหมือนกัน คือให้พระภิกษุงดฉันเนื้อตลอดชีวิต จากข้อความนี้ก็แสดงในสมัยพุทธกาลก็มีพระภิกษุที่ฉันเนื้อเป็นอาหารเช่นเดียวกัน และพระภิกษุในสมัยนั้นก็มักจะมาจากหลายๆวรรณะ โดยเฉพาะวรรณะที่คนสมัยนั้นคิดว่าเป็นวรรณะที่ต่ำที่สุด คือวรรณะ จัณฑาล หากจะกล่าวว่าในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ว่ามีข้อบังคับไม่ให้ทานเนื้อ แล้ววรรณะอื่นๆล่ะเป็นอย่างไร เพราะในพุทธศาสนานั้น ผู้ที่เข้ามาบวชมีทุกๆวรรณะ และเมื่อพระเทวทัตขอพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงถามตอบกลับไปว่า ท่านทำได้หรือไม่ ซึ่งพระเทวทัตก็ไม่สามารถทำได้ พระพุทธเจ้าท่านจึงได้บอกพระเทวทัตว่า การทำเช่นนี้เป็นการไม่สะดวกแก่อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายในการจัดหาอาหารมาบิณฑบาตร แต่หากภิกษุรูปใดต้องการงดฉันเนื้อก็เป็นเรื่องดี และหากภิกษุรูปใดจำเป็นต้องฉันเนื่อก็ให้ถือกฏ คือเป็นเนื้อที่เราไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รู้ว่าเขาฆ่ามาเพื่อเรา ก็ให้ภิกษุฉันได้ รวมทั้งเนื้ออีก ๑๐ ประเภทที่ห้ามไว้ ก็คือ เนื้อคน ช้าง ม้า สุนัข งู สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว และหมี นอกนั้นก็ให้ฉันได้เพียงแต่อย่าไปติดกับรสชาดของมัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...