แท้จริงพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ข้าวใจ, 3 เมษายน 2007.

  1. ข้าวใจ

    ข้าวใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    64
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +975
    <CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่?</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่? พุทธศาสนิกชนเป็นอันมาก บางกลุ่มก็เชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่เสวยเนื้อสัตว์ บางกลุ่มก็ว่าพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ เพื่อให้เข้าถึงความถูกต้องสาธุชนควรใช้จิตสำนึกที่เที่ยงธรรม มาพิจารณาเหตุผลให้ถ่องแท้ ข้อคิดที่น่าพิจารณาก็คือ





    1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เป็นผู้มีพระเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหหลายในโลกอย่างหาประมาณมิได้ ทรงสอนพุทธบริษัทของพระองค์ไม่ให้ฆ่าสัตว์ แม้แต่สัตว์ที่เล็กที่สุดต่ำต้อยที่สุด ศีลข้อที่ 1 ว่าด้วยการไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น ทั้งที่มนุษย์จะกระทำต่อมนุษย์หรือมนุษย์กระทำต่อสัตว์ก็อยู่ในข้อเดียวกัน ถ้าคำว่า อย่าฆ่าสัตว์ ไม่ได้หมายความถึงอย่าเสพเนื้อสัตว์ ด้วย ศีลข้อที่ 1 ก็ไร้ค่าหมดความหมายไปสิ้น เพราะจะมีการกินเนื้อสัตว์ไม่ได้เลยถ้าไม่มีการฆ่าสัตว์เสียก่อนการกินเนื้อสัตว์ทำให้เกิดการฆ่า ถ้าหยุดกินก็คือ หยุดฆ่าด้วย แต่เพราะคนทั้งหลายแยกการกินและการฆ่าออกจากกัน สัตว์จึงถูกฆ่าอยู่ร่ำไปไม่สิ้นสุด การกินสัตว์กับการฆ่าสัตว์ย่อมเกี่ยวข้องเป็นเหตุและผลคู่กัน เราไม่สามารถจะแยกการกินออกจากการฆ่าได้พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บัญญัติศีล ไม่ให้ฆ่า แล้วพระองค์จะมากินเสียเองดูกระไรอยู่

    2 . ชาติภูมิกำเนิดของพระพุทธเจ้าเป็นชาวฮินดูอยู่ในวรรณะสูงแม้แต่ชาวฮินดูธรรมดาก็ไม่เสพเนื้อสัตว์มาตั้งแต่พุทธกาลหลายพันปีมาแล้วจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ และบรรดาศากยวงค์อันเป็นเชื้อสายของพระพุทธเจ้าปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ล้วนเป็นผู้ไม่เสพเนื้อสัตว์ ต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “ในศากยวงค์ไม่เคยปรากฏว่า มีการเสพเนื้อสัตว์”

    3 . พระพุทธเจ้ามีพระจริยาวัตรงดงามทรงฉันโดยอาการสำรวม อาหารผักผลไม้ย่อมสะดวกต่อการขบฉันเป็นอันมาก เนื้อสัตว์ที่คนเราธรรมดากินมีทั้งก้าง กระดูก หนัง ลำบากต่อการกินต้องฉีกดึงแทะกัด ล้วนเป็นอาการกินที่ไม่สำรวม ไม่น่าดูเลย กริยาอย่างนี้ย่อมไม่พบในองค์พระบรมศาสดาเป็นแน่

    4 . ขณะที่ทรงเสด็จออกบวชจนกระทั้งตรัสรู้และออกจาริกเทศนาตลอดพระชนม์ชีพพระพุทธเจ้าใช้เวลาส่วนใหญ่ประทับอยู่ในป่า อาหารที่เป็นธรรมชาติที่สุดก็คืออาหารจำพวกพืชผักผลไม้ สามารถหาได้ง่ายไม่สิ้นเปลืองสะดวกต่อการจัดหามาบริโภค เหมาะแก่การดำรงตนเป็นผู้เลี้ยงง่าย อันหมายถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่แท้จริง

    5 . น่าคิดว่านายจุนทะเองก็เป็นแขกฮินดู ซึ่งตามธรรมดาชาวฮินดูจะไม่กินเนื้อสัตว์กันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล นายจุนทะจะเอาเนื้อหมูมาถวายพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ? -หมายเหตุ “พระมหาเถระอัมริตนันทะ ผู้มีชื่อเสียงแห่งประเทศเนปาล ซึ่งเป็นบุตรหลานในตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจาก ศากยวงศ์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ยืนยันให้โลกรู้ว่า นับตั้งแต่โบราณกาลมาตราบจนถึงทุกวันนี้ ในราชวงศ์ของท่านนั้นไม่เคยมีใครเสพเนื้อสัตว์เลยพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายก็มิได้เสพเนื้อสัตว์เช่นกัน ใน ลังกาวตารสูตร และพระสูตรอื่น ๆอีกมาก ได้จารึกพระวจนะของพระพุทธองค์มีบ่งบอกไว้ชัดเจนว่าพระองค์มิได้เสวยเนื้อสัตว์ใดๆ และทรงสรรเสริญคุณของการงดเสพเนื้อสัตว์

    จนกระทั่งราวปี พ.ศ. 900 มีการเขียนเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงโดยชนรุ่นหลังว่า พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ คงเป็นเพราะอยากกินเนื้อสัตว์เสียเอง จึงถือโอกาสอ้างพระนามของพระบรมศาสดาเสียเลย
    เวรกรรมจริงๆ กรรมหนักมากเสียด้วย !





    พระพุทธเจ้าได้ทรงเสวย"เนื้อสุกร"ที่นายจุนนำมาถวาย มิใช่หรือ ?

    <CENTER></CENTER>ในพระพุทธประวัติของไทยกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงเสวยเนื้อสุกรที่นายจุนทะนำมาปรุงถวาย แล้วประชวรจนกระทั้งปรินิพพานในวันนั้นมิใช่หรือ ? </B>พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้แปลศัพท์คำว่า สุกรมัทวะ ว่า เนื้อสุกรอ่อน ซึ่งเป็นการแปลที่ผิดพลาดอย่างมาก จนกระทั้งถึงปี พ.ศ. 2526 ได้แก้ไขแปลใหม่ให้ถูกต้องว่า เห็ดอ่อนที่สุกรชอบ สุกรมัทวะ เป็นชื่อของเห็ดสนิดหนึ่งแปลตามศัพท์หมายถึงเห็นอ่อนที่หมูชอบ เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะ เห็ดชนิดนี้ขึ้นอยู่ใต้ผิวดิน เป็นเห็ดที่หมูชอบมันจะใช้จมูกดมหาแล้วคุ้ยขึ้นมารับประทาน เห็ดนี้ขณะยังอ่อนๆ มีรสชาติดีพิเศษ เป็นของหายากแต่ข้อเสีย ก็คือ จะทีเปาะที่เป็นพิษอยู่ด้วย หากปลอกไม่ดีเมื่อเวลานำไปปรุงก็จะทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย



    สุกรมัทวะ ที่นายจุนทะปรุงถวายพระพุทธเจ้านั้น เป็นอาหารที่มีของผสมคือ โอทนะ แล้วปรุงด้วยเบญจโครส ได้แก่ นมโค 5 อย่างคือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น นมเปรี้ยว ถือเป็นอาหารที่มีรสดีประณีต แต่ค่อนข้างจะย่อยยาก ไม่เหมาะกับคนชราเพราะทำให้ธาตุผิดปกติได้ง่าย

    แม้อาหารมื้อสุดท้ายที่นายจุนทะนำมาถวายพระบรมศาสดานั้นเป็นพิษ แต่พระองค์ก็ทรงรับประเคนทั้งนี้เพราะทรงล่วงรู้ด้วยพระญาณว่าเป็นด้วยเศษหนี้กรรมในอดีตชาติของพระองค์เอง พระองค์จึงไม่ให้พระภิกษุอื่นฉัน โดยมีพระดำรัสสั่งให้นายจุนทะนำส่วนที่เหลือไปฝังดินเสีย เมื่อได้ทรงเสวยเข้าไปแล้วไม่นานพระธาตุก็ย่อยยับเกิดโลหิตปักขันทิกโรค (โรคท้องร่วงอย่างแรงจนมีโลหิตออกมาด้วย) และทรงปรินิพพานในเวลาต่อมา


    จากพุทธประวัติข้างต้นมีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อคิดว่า “พระอาการประชวรของพระพุทธเจ้า หลังจากที่ทรงเสวย “สุกรมัทวะ” แล้ว เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันที ซึ่งเป็นอาการของการรับประทานอาหารที่มีพิษจำพวกเห็ด เนื้อหมูที่เป็นพิษทำให้เกิดอาการดังกล่าวนั้นไม่มี หากนายจุนทะปรุงอาหารด้วยเนื้อหมูอย่างที่เข้าใจกัน แล้วเนื้อหมูนั้นมีเชื้อโรค กว่าที่โรคจากการกินเนื้อหมูติดเชื้อจะปรากฎก็ต้องใช้เวลาหลายวันเป็นอันไม่ตรงกับพระอาการของพระพุทธองค์”


    ชาวพุทธบางคนเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหมูในอาหารมื้อสุดท้ายแล้วตัวเองกลับไม่กินเนื้อสัตว์เลยเมื่อสอบถามกันดูก็ได้คำตอบว่า “เนื้อหมูนี่ ขนาดพระพุทธเจ้ากินแล้วยังตาย ช่างน่ากลัวเสียจริง ฉะนั้นไม่ว่าเนื้ออะไรเราก็ไม่น่าเสี่ยงกินเข้าไป” อย่างนี้ก็ต้องถือว่าเป็นผู้ที่มีรากบุญกุศลเดิมที่บำเพ็ญมาดีจึงสามารถเอาคำพูดที่ผิดพลาดของคนอื่นมาเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง






    [​IMG]


    เนื้อที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ถือว่าเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์ มิใช่หรือ ?

    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>เนื้อที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ถือว่าเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้กินได้มิใช่หรือ?

    เนื้อที่ไม่รู้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจเลยว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงมาให้ตนกินนั้นในโลกนี้เนื้อสัตว์ที่พระพุทธองค์ตรัสถึงมีอยู่หรือ?



    เนื้อที่ตนซื้อมาใครกล้าพูดได้ว่าตนไม่รู้ไม่เห็นว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงมาขาย ทุกคนย่อมต้องรู้ต้องเห็นด้วยสามัญสำนึกกว่า เขาฆ่ามาเพื่อเจาะจงให้คนซื้อกินไม่ใช่ต้องไปเห็นด้วย “ตา” ว่าเขากำลังฆ่าอยู่ มีใครบ้างไม่ได้ยินที่เขาเจาะจงถามว่า “ต้องการกินเนื้อไหม กินเนื้ออะไร” ไม่ใช่หมายถึงให้เราต้องไปได้ยินเสียงสัตว์ที่ถูกฆ่าต่อหน้า ในเมื่อทั้งเห็นทั้งได้ยินว่าเขาฆ่าเจาะจงมาให้คนซื้อกินเท่านั้น หากรู้เช่นนี้แล้วไม่รังเกียจจะกินก็กินไปได้เลย บาปก็บาปไปเลย คงมีแต่คนหูหนวกตาบอดเป็นใบ้สติวิปลาสเท่านั้น จึงจะกินเนื้อได้โดยไม่เห็นไม่ได้ยินไม่รังเกียจไม่เจาะจงใดๆทั้งสิ้น เนื้อที่บริสุทธิ์ที่คนกินไป แล้วไม่บาป พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าคือ “เนื้อบัง สกุล” หมายถึงเนื้อของสัตว์ที่ตายเอง ชาวพุทธส่วนใหญ่เข้าใจว่าเนื้อที่ขายในตลาดเป็นเนื้อบัง สกุลเพราะ “ตายแล้ว” ซื้อมากินไม่ผิดจึงควรทำความเข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้องว่า เนื้อสัตว์ที่ขายในตลาดทุกชิ้นไม่ใช่เนื้อบังสกุลอย่างที่เข้าใจ



    เนื้อในตลาดเป็นเนื้อที่ “ตายแล้ว” ก็จริงแต่ไม่ใช่ “ตายเอง” เป็นเนื้อของสัตว์ที่ถูกฆ่าตายทั้งหมด สมัยนี้ถ้ารู้ว่าสัตว์ตายเองไม่มีใครกล้าซื้อมากินเพราะกลัวติดโรคมีคำกล่าวอรรถาธิบายเกี่ยวกับเนื้อบังสกุลอันถือว่าเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์สำหรับคนที่จะกินว่า “ผู้ที่กินเนื้อของสัตว์ที่ตายเอง ก็ให้รู้สึกเหมือนดั่งกินเนื้อของลูกตนเองที่ตายลงในทะเล ทราย” ก็คือหากเราต้องไปหลงทางในทะเลทรายตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ไม่มีทางเลือกอื่นใด ไม่มีอะไรที่พอจะกินได้แล้ว จึงต้องจำใจกินเนื้อลูกของตนที่ตายไปก่อนเพื่อประทังชีวิตให้รอดไปได้เท่านั้นผู้กินเนื้อบังสกุลก็ควรรู้สึกอย่างนี้


    ไม่มีเขียนไว้ที่ไหนเลยว่าถ้าตกอยู่ในถานการณ์จำเป็นดังกล่าวให้ฆ่าลูกคนกินได้โดยไม่บาปเหมือนกับฆ่าสัตว์กิน หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ใช่คำสอนสำหรับชาวพุทธแน่ต้องเป็นคำสอนของลัทธิมารลัทธิอุบาทว์ไปแล้ว ในคัมภีร์เก่าแก่ที่มีอยู่ทุกศาสนาในโลกเล่าว่า สมัยดึกดำบรรพ์ตั้งแต่แรกเริ่มที่มีมนุษย์เกิดขึ้น เวลานั้นมนุษย์กินเนื้อสัตว์ที่ตายลงเอง นานๆเข้าก็ติดใจในรสชาดก็เลยฆ่ากิน คงขี้เกียจรอให้ตายเองถึงได้มีคำพูดติดปากว่า “บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน” คือร่วมมือร่วมใจสมรู้ร่วมคิดกันทั้งฆ่าทั้งกิน ผลกรรมก็แบ่งกันคนละเท่าๆกันก็ยุติธรรมดี ที่ทุกวันนี้คนจำนวนมากต้องตายเพราะโรคต่าง ๆ มากมาย ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีสิ่งใดเป็นสิ่งร่วมอยู่ในสาเหตุนั้น






    ทำไมพระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติข้อห้ามสำหรับภิกษุตามที่พระเทวทัตทูลขอ 5 ข้อ


    <CENTER></CENTER>ทำไมพระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติข้อห้ามสำหรับภิกษุตามที่พระเทวทัตทูลขอ 5 ข้อ ? ข้อบัญญัติทั้ง 5 ข้อที่พระเทวทัตทูลขอให้พระองค์บัญญัติให้ภิกษุต้องทำ ไม่ทำไม่ได้นั้นคือ


    1. ภิกษุทั้งหลายจักต้องอยู่ในป่าตลอดชีวิต จะอาศัยในเขตแดนบ้านไม่ได้

    2.ภิกษุทั้งหลายจักต้องเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิตจะยินดีรับนิมนต์ไปฉันในเรือนไม่ได้

    3. ภิกษุทั้งหลายจักต้องนุ่งห่มแต่ผ้าบังสกุลตลอดชีวิตจะรับผ้าจีวรจากผู้นำมาถวายไม่ได้

    4. ภิกษุทั้งหลายจักต้องอยู่โคนไม้ตลอดชีวิตจะเข้าอาศัยที่มุงบังไม่ได้

    5. ภิกษุทั้งหลายจักต้องไม่กินเนื้อกินปลาตลอดชีวิตผู้ที่กินมีความผิด
    เหตุผลที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติตามที่ขอก็เพราะ


    ข้อที่ (1.) พระสงฆ์สาวกต้องอยู่แต่ในป่าตลอดชีวิตย่อมขัดกับจุดประสงค์ของการออกบวชเพราะถ้าหากพระสงฆ์อยู่แต่ในป่าเข้ามาในเขตบ้านไม่ได้ พระสงฆ์สาวกจะเผยแผ่พระธรรมให้แก่มหาชนทั้งหลายที่ยังตกอยู่ในทะเลทุกข์ได้อย่างไร

    ข้อที่ (2.) พระสงฆ์สาวกต้องเที่ยวบิฯฑบาตตลอดชีวิต จะรับนิมนต์ไปฉันในบ้านเรือนไม่ได้ ข้อนี้หากพระพุทธองค์ทรงอนุญาตตามข้อ 1 แล้ว คือให้พระอยู่แต่ในป่า จะหาคนมาถวายบิณฑบาตได้อย่างไร ผู้ที่จะถวายอาหารก็ต้องเข้าไปในป่าย่อมทำให้เกิดความยากลำบาก ในบางคราวที่ชาวบ้านต้องการทำกุศลถวายทานฟังธรรมในบ้านเรือนตน หากพระไม่รับนิมนต์แล้วเขาจะสร้างบุญกุศลได้อย่างไร คำขอนี้ ถ้าพระองค์ทรงบัญญัติแล้วก็หมายถึง ไม่ให้พระสงฆ์เข้าไปในเมือง ถึงพระสงฆ์จะมีอยู่ก็มารับนิมนต์ในบ้านเรือนไม่ได้ เพราะพากันเข้าป่าไปหมด

    ข้อที่ (3) พระสงฆ์สาวกต้องนุ่งห่มผ้าบังสกุลตลอดชีวิตห้ามรับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ข้อนี้หากพระมีจำนวนน้อยๆ ก็อาจพอแสวงหาผ้าตามป่าช้าหรือกองขยะได้ แต่ด้วยพระพุทธองค์ทรงล่วงรู้ว่าต่อไปภายหน้าจะมีบรรดากุลบุตรทั้งหลายเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนามากมายแล้วจะหาผ้าบังสกุลให้ครบทุกรูปได้อย่างไร

    ข้อที่ (4) พระสงฆ์สาวกต้องอยู่แต่โคนไม้ตลอดชีวิต จะเข้าสู่ที่มุงไม่ได้ ข้อนี้ขัดกับภูมิอากาศหากเป็นฤดูแล้งก็พออยู่ได้แต่ในฤดูฝนจะทำอย่างไร พระสงฆ์คงต้องตากแดดตากฝนอยู่ตลอดชีวิตยังไม่ทันจะสำเร็จธรรมใดๆก็ป่วยตายเสียก่อน ซึ่งเป็นหนท่งที่ไม่ถูกต้องในฤดูที่ผลไม้สุกใบไม้ร่วงหล่นต้องทับถมเป็นปุ๋ยตามโคนต้น พระจะอาศัยอยู่กับเศษใบไม้ผลไม่ที่ล่วงหล่นและเน่าเปื่อยส่งกลิ่น ย่อมไม่เป็นที่สะดวกแก่การปฏิบัติธรรม

    ข้อที่ (5) ถือเป็นข้อกังวลสงสัยอย่างมากของชาวพุทธ ก็คือพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ “ห้าม” พระสงฆ์สาวกไม่ให้ฉันปลาและเนื้อเพราะเหตุอะไร ในข้อนี้อรรถจารย์ได้อธิบายว่าพระบรมศาสดาทรงเป็นพระสัตตัญญูมีพระญาณล่วงรุ้ทุกสิ่งพระองค์ย่อมต้องรู้ว่า อีกนับเป็นพันปีในกาลข้างหน้าพระพุทธศาสนาจะแผ่กระจายไปทั้วโลกหากพระพุทธองค์ทรงบัญญัติ “ห้าม” กุลบุตรผู้ที่จะเข้ามาสู่ศาสนาของพระองค์ไม่ให้กินเนื้อสัตว์เสียจั้งแต่ทีแรกโดยยังไม่ทันได้รู้ถึงหลักธรรมอันถูกต้องก็คงไม่มีใครจะก้าวเข้ามาศึกษาอันเป็นการปิดกั้นหนทางของกุลบุตรผู้ม่วิสัยอันจะฝึกตนให้ดีได้


    เวไนยสัตว์ก็คือ ผู้ที่ยัง “หลง” อยู่ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะเขายังมีปัญญาไม่มากพอที่จะพาตัวเองออกมาจากความผิดกลับไปสู่ความถูกต้องได้อย่างแท้จริงนั่นเอง เวไนยสัตว์ทั้งหลายยังต้องแสวงหาความ “รู้แจ้ง” เพื่อพัฒนาจิตญาณของตนให้สูงขึ้นไป คนตาบอดที่ต่อมาสามารถมองเห็นแสงสว่างได้แล้วเท่านั้น จึงจะรู้ว่า ชีวิตที่ต้องจมอยู่ในความมืดมน มันช่างน่ากลัวและทุกข์ยากเพียงไร

    หากเป็นบุญวาระโชคดี คนที่ยังหลงได้พบผู้มีปัญญาช่วยชี้แนะอบรมจนเกิดความสว่างสามารถเห็นความแตกต่างระหว่างความดีความชั่ว ความผิดความถูกได้แล้ว เมื่อนั้นเขาก็จะเป็น “ผู้รู้แจ้ง” สามารถเดินไปบนหนทางแห่งความถูกต้องดีงาม ด้วยเหตุและผลที่ตนค้นพบแล้วด้วยคนเองอย่างไม่ผันแปร ดังอธิบายมาข้างต้นก็ย่อมจะเห็นว่าคำขอทั้ง 5 ข้อของพระเทวทัตเป็นไปด้วยอกุศลเจตนา ที่มุ่งหวังจะทำลายพุทธจักรให้สะดุดหยุดลง ปิดกั้นขัดขวางเวไนยสัตว์มิให้มีโอกาสเข้าถึงพุทธธรรมได้นั่นเอง


    จากการที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราไม่ทรงบัญญัติข้อ “ห้ามกินเนื้อสัตว์” นั้นเพื่อเป็นช่องทางให้มนุษย์รู้จักใช้วิจารณญาณอำเภอใจได้เลือกกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่แล้วมนุษย์ทั้งหลายก็อาศัยช่องทางที่เปิดไว้น้อยนิดนี้ พากันกระโดดเข้าไปขยายช่องทางนั้นให้กว้างออกไปจนโตเต็มความพอใจในทางที่ผิดของตน อกุศลเจตนาของมนุษย์นั้นไม่มีที่สิ้นสุดได้ เขาจะถือเอาความผ่อนผันของพระศาสดาไปใช้โดยไม่มีจำกัดขีดขั้นต่างยกเอาพุทธานุญาติขึ้นบังหน้าแล้วระเริงกันไปโดยไม่มีการเหนี่ยวรั้ง ในข้อที่พระองค์ไม่ได้บัญญัติห้ามพระภิกษุสงฆ์ในข้อนี้คนธรรมดาผู้ไม่ใส่ใจพิจารณาด้วยสติปัญญา ก็พากันพูดว่า “ก็เมื่อพระภิกษุสงฆ์ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้นำของเราบริโภคเนื้อสัตว์เหตุไรเราจะเอาอย่างไม่ได้ เรากินเนื้อสัตว์กันเถิด” คารมเหตุผลนั้นถูกแต่ความหมายสุดท้ายนั้น ผิด



    [​IMG]



    ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ทรงสั่ง "ห้าม" กินเนื้อสัตว์ โดยตรงเล่า ???


    <CENTER></CENTER>สำหรับพระบรมศาสดาแล้วพระองค์ไม่เคยใช้คำว่า “ห้าม” เลยในคำเทศนาสั่งสอนทั้งหลาย แม้ในคราวที่ทรงสรุปหลักธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาคือพึงละเว้นความชั่วทั้งปวง พยายามทำแต่ความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส พระองค์ทรงตรัสให้ “พึง” ละเว้น หมายถึงความชั่วทั้งหลายชาวพุทธควรเว้นไปเสียที่ละได้ก็ควรละเสีย เหตุไฉนไม่ทรงตรัส “ห้าม” ไม่ให้คนทำชั่ว ในโลกนี้มีใครสั่งห้ามคนไม่ให้ทำชั่วได้ทั้งนี้เพราะคนเป็นสัตว์โลกที่มีสมองมีอำเภอใจที่เลือกเองระหว่างความดีและความชั่วแต่น่าเสียดายที่คนจะเลือกอยู่ฝ่าชั่วเสมอ พระบรมศาสดาผู้ยอดยิ่งทุกพระองค์ที่มาจุติในโลกนี้ หากสามารถ สั่งห้าม มนุษย์ทั้งหลายไม่ให้ทำความชั่วได้ ในโลกนี้ยังจะมีคนทำความชั่วอยู่อีกหรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ไม่ทรงอาจสั่ง ห้าม ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

    ในเรื่องของการทำความดีและทำใจให้บริสุทธิ์ พระองค์ให้ทุกคนพยายามทำให้มากให้บ่อยที่สุด ใครเล่าจะออกคำสั่งให้เขาทำดีได้ ใครจะสั่งให้คนเป็นคนดีได้ ใครจะสั่งให้ทุกคนบริสุทธิ์ได้ทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับตัวของแต่ละคนเอง ที่จะกระทำออกมาด้วย ใจที่รู้แจ้งในเหตุและผล โดยตัวของตัวเองแล้วเท่านั้น พระองค์ทรงตรัสว่า “เราเป็นแต่เพียงผู้บอกให้เวไนยสัตว์ได้รู้ถึงความถูกต้องดีงาม แต่เราไม่สามารถบังคับให้เขาเชื่อ” พระองค์ทรงเรียกให้ทุกคนเข้ามาฟังคำของพระองค์ดูก่อน เชื่อหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ความศรัทธาเชื่อมั่นจะต้องเกิดมาจากจิตใจจากมโนธรรมสำนึกที่อยู่ลึกภายในตัวของเขาเอง



    พืชผักทั้งหลายก็เป็นของมีชีวิต กินแล้วมิเป็นบาปด้วยหรือ?

    พืชผักเป็นสิ่งมีชีวิตก็จริงอยู่แต่มีองค์ประกอบชีวิตที่ต่างไปจากมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือ มนุษย์มีองค์ประกอบของชีวิต 3 ส่วนคือ​

    1. จิตญาณแห่งความรู้เหตุและผล คือ วิจารณญาณ

    2. จิตญาณแห่งการต่อสู้ดิ้นรนหนีภัย คือ สัญชาติญาณ

    3. พลังแห่งการเจริญเติบโต คือ พลังชีวิต สัตว์ทั้งหลายมีองค์ประกอบของชีวิต 2 ส่วนคือ

    3.1 จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ดิ้นรน หลบหลีกหนีภัย คือ สัญชาติญาณ
    3.2 พลังแห่งการเจริญเติบโต คือ พลังชีวิต


    แต่พืชมีองค์ประกอบของชีวิตเพียงหนึ่งส่วนคือ พืชจะมีพลังชีวิต คือ พลังแห่งการเจริญเติบโตเท่านั้น ไม่มีเวทนาความรู้สึกเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ไม่มีสัญญาหรือความจำได้หมายรู้ การกินพืชผักผลไม้จึงไม่มีเหตุปัจจัยก่อให้เกิดบาปเวร การกินพืชผักผลไม้ไม่เป็นการทำลายล้างโดยธรรมชาติพืชผักผลไม้จะหมุนเวียนผลิดอกออกผลให้ทุกชีวิตได้อาศัยรับประทานอยู่ตลอด

    แม้ไม่มีผู้ใดเก็บมารับประทานผลก็จะหลุดล่วงตกหล่นกลับเป็นปุ๋ยบำรุงต้นต่อไป พืชผักผลไม้อาศัยการกินของมนุษย์และสัตว์เพื่อช่วยขยายพันธุ์ ยิ่งบริโภคก็ยิ่งแพร่พันธ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ธรรมชาติสร้างให้ต้นไม้ไม่โต้ตอบไม่ทำร้ายใครไม่วิ่งหนี แต่มีพลังชีวิตสูงเป็นพิเศษสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเพื่อการดำรงอยู่

    ดังนั้นพืชผักผลไม้จึงเป็นอาหารที่ธรรมชาติมอบให้แก่ทุกชีวิตบนโลก พืชพรรณไม้ทั้งหลายก็เฉกเช่นเดียวกันกับธรรมที่ให้ความสุขใจและความร่มเย็นแก่ชีวิตโดยแท้



    http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=137&page=28
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2007
  2. ณัฐสิทธิ์

    ณัฐสิทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,916
    ขออนุโมทนา กับบทความที่นำมาลงครับ ผมเข้าใจโดยธรรมครับ
    ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ


    1. พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านทรงบำเพ็ญพระโพธิสัตว์ธรรมบารมีมาหลายภพชาติก่อนจะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัทถะ โดยวิสัยของพระโพธิสัตว์ย่อมประกอบด้วยมหาเมตตา-มหาปัญญา อย่างขั้นปรมัตถะเป็นปกติอยู่แล้ว (ปารมี ๓๐ ทัศน์) เมื่อพระองค์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตมาสู่โลกมนุษย์ในชมพูทวีปซื่งผู้คนยุคนั้นนับถือลัทธิพราหมณ์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสังคมของพวกมังสะวิรัติ (อาจจะกินนม-ไข่ได้-ที่รู้ๆก็ข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาปรุงถวายพระองค์ ฯลฯ) แต่ที่พระองค์ตรัสยกเว้นการฉันเนื้อสัตว์แก่พระภิกษุก็ด้วยว่า เวลาจาริกธุดงค์ออกบิณฑบาทอาจจะมีชาวบ้านป่า-พรานป่าที่ล่าเนื้อเป็นอาหาร(และหรือเพื่อขายซากหนัง-เขา-ขน-กระดูกเป็นการค้า ) มาถวายอาหารที่ปรุงจากเนื้อเหล่านั้น ถ้าไม่รับก็จะเป็นที่เสียใจแก่ชาวบ้าน หรือทำความลำบากแก่ชาวบ้านในเรื่องการอุปฐากก็ได้ จึงตรัสให้พึงพิจารณาอาหาเรปฏิกูล แยกธาตุขันธ์ ไม่ติดในรสชาติอาหารและไม่เศร้าหมองเมื่อได้อาหารเลว ทั้งนี้เพื่อยังธาตุขันธุ์นี้มีชีวิตต่อไปเพื่อธรรมอันยิ่งเท่านั้น


    2. ด้วยอนาคตังศญาณ คงทรงเล็งเห็นอนาคตกาลแล้วว่า มนุษย์โลกจะเลี้ยงชีวิตตนด้วยชีวิตสัตว์มากขึ้นเป็นลำดับ การจะให้ศาสนายั่งยืนอยู่ได้ก็ต้องอาศัยศรัทธาของชาวบ้านเป็นหลักด้วย (ภิกขุ คือ ผู้เลี้ยงชีพด้วยการขออาหารเพื่อจะได้ไม่ต้องห่วงเรื่องทำมาหากิน-ให้ปฏิบัติธรรมแล้วให้รู้ธรรมเพื่อโปรดสอนสัตว์โลกที่มีทุกข์เป็นการตอบแทนก้อนข้าวของชาวบ้าน ) การเป็นผู้เลี้ยงง่ายก็ต้องไม่เลือกอาหาร แต่ให้แนวทางไว้ ๓ อย่างในการรับพิจารณาอาหาร
    จึงเห็นว่า ถ้าไม่เอากิเลสความติดในรสชาติ-กลิ่นอันหอมหวล-สันสีหน้าตาน่ากินของอาหารเนื้อ แล้วคิดพิจารณาอย่างแยบคาย -โยนิโสมนสิการ-จะเห็นว่าการไม่กินเนื้อสัตว์ก็จะไม่มีการฆ่ามาสนองความต้องการการกิน แต่สัตว์โลกก็ย่อมมีกิเลสตัญหาเป็นพื้นฐานของจิต และสัตว์ที่ถูกฆ่ามาเป็นอาหารก็มีวิบากกรรมของตนเป็นภพภูมิแดนเกิด วงจรแห่งการกินและการถูกกินจึงคงมีอยู่ตลอดไป


    3. การจะกินเนื้อ ก็เป็นกฎธรรมชาติของสัตว์โลก การไม่กินเนื้อ ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลซึ่งก็ต้องไม่ประกอบด้วยความมานะถือตน-หลงตัวเองว่าดีกว่าชาวบ้าน


    4. พวกสุดโต่งเช่น ลัทธิเชน ที่ไม่นุ่งผ้า-ขอข้าวชาวบ้านกินจากฝ่ามือ-ทรมานเผากิเลสโดยทรมานตน ก็ไม่เห็นจะบรรลุธรรมวิเศษใดๆ เพราะยังมีอัตตาอยู่เต็มส่วน

    ประเด็นนี้ ถกเถียงกันมาหลายเวทีแล้ว จบไม่ลงซักที
    ผมว่านะ หลายๆคน กินก็ดี-ไม่กินก็ดี
    แต่คนบางคน กินก็ไม่ดี-ไม่กินก็ไม่ดี
    ครับผม
     
  3. singkaew_k

    singkaew_k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +159
    ผมขอสนับสนุนคำตอบของคุณณัฐสิทธิ์ พระพุทธองค์กล่าวไว้ชัดเจนแล้ว อย่าทำให้ชาวพุทธที่ศึกษาไม่ลึกซึ้งไขว้เขว แม้องค์หลวงปู่มั่น องค์ท่านก็ฉันเนื้อ กระดูกก็แปลเป็นพระธาตุอันบริสุทธิ์ ท่านลองไปอ่านประวัติดูนะ ว่าองค์ท่านกล่าวไว้อย่างไร การจะวิจารณ์พุทธวิสัยนั้นเสี่ยงอย่างยิ่ง อย่าเอาความคิดอันน้อยนิดของเราไปเดาความหมาย ความคิดของพระพุทธเจ้า เรานั้นกิเลสยังหนาอยู่ ทำใจเป็นกลางๆไว้ กินก็ได้ ไม่กินก็ได้ แต่อย่าไปเจตนาฆ่าด้วยความสะใจ หรือเห็นเขาฆ่ามแล้วพอใจ นำมากินก็แล้วกัน ธรรมะไม่ได้เถียงกันแบบศรีธนนชัย จงใช้ความจริง ความเป็นกลางเป็นตัวตัดสิน
     
  4. ข้าวใจ

    ข้าวใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    64
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +975
    [​IMG]
     
  5. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    คือผมขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนึงนะครับ ผมว่าหลวงปู่มั่นท่านคงไม่ได้คิดว่าท่านฉันเนื้อหรอกนะครับ เพราะพระกรรมฐานระดับท่านเวลาฉันท่านคงต้องพิจารณาก่อนอยู่แล้วล่ะครับ ดังในพระวินัยก็มีบัญญัติไว้อยู่แล้วว่าภิกษุใดฉันเนื้อโดยไม่พิจารณาก่อนต้องอาบัติทุกกฎนะครับ เรียนมาด้วยความเคารพ _/\_
     
  6. wara99

    wara99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +892
    เป็นพระต้องกินง่ายอยู่ง่าย ถ้ามัวแต่เลือกไม่รับบาตร หรือเลือกฉันก็ดูจะเป็นอัตตาไปหน่อย ดูอย่างไรก็ไม่งาม เป็นพระเขาถวายอย่างไรก็ต้องรับตามนั้น จะมาบอกไม่เอาอย่างโน้น ไม่เอาอย่างนี้ แต่จะเอาอย่างนั้น ไม่ได้ มันน่าจะจบนานแล้วเรื่องแบบนี้ ใครที่คิดจะกินแต่พืชผัก ก็อาจมีความคิดแบบพระเทวทัต หรือสมัยก่อนเรียกว่าขวาจัด ต้องระวังนะครับเพราะความคิดแบบนี้สักวันอาจกลับมาทำลายตัวเราเองก็ได้ เดินทางสายกลางครับ และมองให้เป็นปรมัตธรรม
     
  7. แก้วกลม

    แก้วกลม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +239
    ผมว่าการจำกัดตนเองว่าไม่กินอะไรหรือควรกินอะไรเป็นการเพิ่มอัตตาให้กับตนเองด้วย ลองคิดดูถ้าเป็นแค่ตัวเราเองไม่กินเนื้อสัตว์แต่ต้องคอยปฎิเสธคำเชิญให้กินอาหารที่เป็นเนื้อของเพื่อนๆเราซึ่งก็อาจมีบางคนที่ไม่รู้หรือลืมว่าเราไม่กินเนื้อสัตว์ เมื่อเราต้องคอยปฎิเสธอยู่เสมอ สังเกตดูว่าจิตเราหงุดหงิดหรือเปล่า หรือจิตเราแจ่มใสดี ถ้าจิตเรารู้สึกไม่ดีเมื่อต้องคอยอธิบายหรือปฎิเสธอาหารอยู่เสมอ จิตเราจะสงบจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจหรือ กลับกันถ้าเราไม่สนว่านั่นจะเป็นเนื้อหรือผักเรากินเพื่อดำรงขันธ์ตามอัฒภาพของเราให้คงอยู่ได้ก็แค่นั้น อย่างนี้จิตเราจะสบายกว่าหรือเปล่า การกินเนื้อก็ดีไม่กินเนื้อก็ดีขอแต่ให้จิตของเราอยู่ในแนวทางของทางสายกลางน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ได้แก่ตนเองได้มากกว่านะครับ
     
  8. ขออนุโมทนา

    ขออนุโมทนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2007
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +681
    เป็นพระก็ต้องบินทะบาท เกิดเค้าใส่บาตรเป็นเนื้อมา10วันต่อกันแล้วจะทำยังไงครับ ถ้าจำไม่ผิเรื่องกินเนื้อนี่เป็นของมหายานใช่มั้ยครับ
     
  9. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อืม....จริงๆ เรื่องการถวายอาหารให้พระนั้นสำคัญที่ความศรัทธานะครับ อย่างท่านครูบาศรีวิชัย,ท่านเจ้าคุณนรฯ,หลวงพ่อสุทัศน์ วัดกระโจมทอง ฯลฯ และอีกหลายๆท่านก็ฉันมังสวิรัติ และผมก็ไม่เห็นว่าฆราวาสจะเดือดร้อนตรงไหน ก็เห็นมีผู้นำอาหารมังสวิรัติไปถวายท่านเหล่านั้นอย่างไม่หวาดไม่ไหวทีเดียวครับ ลองถ้าอุบาสกอุบาสิกามีศรัทธาซะอย่าง เรื่องการจะนำอาหารมังสิวิรัติไปถวายพระภิกษุนั้นผมว่าคงไม่เหลือบ่ากว่าแรงหรอกครับ

    ดูอย่างสังฆทานที่พึ่งออกข่าวไปสิครับ เขายังรณรงค์กันให้เลือกของดีๆไปถวายพระกันหน่อย นี่ถ้าเราเลือกอาหารที่บริสุทธิ์ที่ไม่ได้มาจากการนำชีวิตของสัตว์อื่นมาเป็นอาหาร วัตถุทานนั้นก็ย่อมบริสุทธิ์ทั้งในแง่ของเจตนาและที่มา ทำให้ได้บุญอย่างเต็มที่เลยล่ะครับ
     
  10. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    อืม....จริงๆ เรื่องการถวายอาหารให้พระนั้นสำคัญที่ความศรัทธานะครับ อย่างท่านครูบาศรีวิชัย,ท่านเจ้าคุณนรฯ,หลวงพ่อสุทัศน์ วัดกระโจมทอง ฯลฯ และอีกหลายๆท่านก็ฉันมังสวิรัติ และผมก็ไม่เห็นว่าฆราวาสจะเดือดร้อนตรงไหน ก็เห็นมีผู้นำอาหารมังสวิรัติไปถวายท่านเหล่านั้นอย่างไม่หวาดไม่ไหวทีเดียวครับ ลองถ้าอุบาสกอุบาสิกามีศรัทธาซะอย่าง เรื่องการจะนำอาหารมังสิวิรัติไปถวายพระภิกษุนั้นผมว่าคงไม่เหลือบ่ากว่าแรงหรอกครับ

    ดูอย่างสังฆทานที่พึ่งออกข่าวไปสิครับ เขายังรณรงค์กันให้เลือกของดีๆไปถวายพระกันหน่อย นี่ถ้าเราเลือกอาหารที่บริสุทธิ์ที่ไม่ได้มาจากการนำชีวิตของสัตว์อื่นมาเป็นอาหาร วัตถุทานนั้นก็ย่อมบริสุทธิ์ทั้งในแง่ของเจตนาและที่มา ทำให้ได้บุญอย่างเต็มที่เลยล่ะครับ
     
  11. chotiwit

    chotiwit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,616
    ค่าพลัง:
    +1,794
    เลิกทานได้ก็ดีครับ เวลาสัตว์แต่ละตัว รอความตายเข้ามาหรือกำลังจะตายน่าสงสารมาก ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  12. tingman

    tingman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +281
    กินเนื้อ

    ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านมีความ สุข จากการกินเนื้อก็กินไป พึงละได้ก็ดี ผู้กินมังสวิรัติ ก็กินไป tingman เป็นมังสวิรัติเหมือนกัน ไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร ไม่ได้คิดว่าตัวเองวิเศษวิโสกว่าคนอื่น และไม่ได้สร้างความยุ่งยากให้คนอื่นด้วยซ้ำ เพื่อนๆที่เค้ากินแบบธรรมดาเค้าก็เข้าใจไม่รังเกียจ ทำให้ไม่คิดอะไรมาก กลับทำให้เรารู้สึกสงสารสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทำให้เราไม่คิดทำร้ายไม่ว่าทั้งคนและสัตว์ การปฎิบัติธรรมนะต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆไป จึง จะรู้เอง นะครับไม่ใช่มานั่งวิจารกัน หรือรอรับผลบุญจากการปฎิบัติธรรมของผู้อื่น tingman ปัญญาน้อยนิด รู้แต่เพียงว่าไม่มีสัตว์ชนิดใดในโลก และหรือในจักรวาล มีความรู้สึกยินดีปรีดา ในขณะที่กำลังถูก ฆ่า เพื่อมาให้สัตว์ใด ๆกินเป็นอาหาร ตลอดจนถึงมนุษย์ ดังนั้นมันจึงวิ่งหนีสุดแรงเกิด เพราะกลัวตาย หลายตัวร้องให้จนน้ำตาไหล เสียงร้องอย่างโหยหวน เจ็บปวดทรมานมากก่อนตาย และจิตวิญญานของมันจะไม่มีการ อาฆาต พยาบาททั้งคนฆ่าและคนกินมันหรือกระไร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ tingman งดกินเนื้อสัตว์ได้ด้วยใจของตัวเอง และไม่คิดจะหวนกลับไปกินเนื้อสัตว์อีกเลยตลอดชีวิต ใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง ครับผม........
     
  13. yaytae

    yaytae Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +92
    อย่าคิดมาก

    วัวกินหญ้า ไปสวรรค์ สิงโตกินเนื้อไปนรก อันนี้ความคิดผมนะ กินอยู่อย่างง่ายดีกว่าครับ มีไรกินอย่างนั้นอย่ายึดติด ถ้าไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วยังผิด ศีล 5 อยู่ก็ถือว่าปาบ อยู่นะ ผมว่าธรรมชาติสร้างเรามา เพื่อความสมดูล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2007
  14. ลูกชินราช

    ลูกชินราช สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +11
    เดินสายกลางสิครับ.....
     
  15. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,434
    ก็แล้วแต่ญาติโยมจะใส่บาตรนะครับ พระพุทธองค์ท่านให้โอกาสพุทธศาสนิกชนทำดีทั้งนั้น เพราะเป็นการโปรดสัตว์ ช่วยให้เขาเหล่านั้นพ้นทุกข์ต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 เมษายน 2007
  16. virot05

    virot05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,679
    ไม่รู้เหมือนกันครับ ว่าสิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดไม่ถูกต้อง ก็ว่ากันไปแล้วกันขอรับ
     
  17. ข้าวใจ

    ข้าวใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    64
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +975
  18. รากแห่งธรรม

    รากแห่งธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    667
    ค่าพลัง:
    +3,173
    สาธุ สาธุ สาธุ ท่านทั้งหลายเราจะมาโต้เถียงในเรื่องนี้กันทำไมในว่ากินไดไม่ได้ของอย่างนี้มันนานาจิตตังแล้วแต่ความคิดคนเรากินเพื่อการดำรงชีวิตเรากินตามแต่สมควรแก่การบริโภคหรือเราจะไม่กินก้อไม่ต่างกันเพราะเนื้อหาใจความของพระพุทธศาสนาที่พระองค์ทรงตต้องการการให้ทุกคนปฎิบัติคือการมุ่งตรงต่อพระนิพพาน เอาง่ายๆนะพระอรหันต์หลายๆองค์ในปัจจุบันที่ยังไม่ดับขันธ์ก้อดีดับไปแล้วก้อดีบางรุปท่านก้อฉันเนื้อสัตว์ บางรูปก้อไม่ฉัน ที่ต้องอ้างถึงท่านทั้งหลายอ่างนี้ก้อเพราะว่าแม้พระอรหันต์ก้อยังมีวตรข้อปฎิบัติตนในแต่ละณุปไม่เหมือนกันเลย แล้วเราจะมาโต้เถียงในเรื่องที่มันเกินแก่วิสัยของเราได้อย่างไรเพราะพระวจนะขจองพุทธองค์นั้นเป็นเรื่องของอจินไตยเป็นเรื่องเราไม่อาจล่วงรุ้ทำให้แน่ชัดเสียนอกจากว่าเราจะได้ยินได้รุ้ด้วยตัวเอง การนำพระไตรปิฏกมาแปลความถอดความอย่างเข้าข้างฝ่ายตนก้ออีกเราไม่สมควรทำเพราะถือเป็นการแสดงความไม่เชื่อถือในหลักปฎิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2007
  19. khwamsawat

    khwamsawat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +99
    มีหนังสือแนะนำให้ท่านที่ยังไม่ได้ศึกษาครับ

    อริยวินัย

    หนังสือรวบรวมพระวินัยในพระไตรปิฎกไว้ โดย

    บอกทั้งที่มาของพระวินัยด้วยครับ
     
  20. Padmapani_AM

    Padmapani_AM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +158
    กินเพื่ออยู่
    สามัญชนเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
    สงฆ์ฉันในทานที่ได้รับ ไม่ควรเลือกและไม่ควรเลี่ยง
    การกินเป็นการดำรงตนของกายหยาบ
    การระลึกรู้แห่งการกินต่างหากที่สำคัญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...