-> ตีแผ่ --> สมเด็จวังหน้า + สมเด็จวัดพระแก้ว + สมเด็จพระธาตุพนม

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย pmorn3339, 29 กันยายน 2011.

  1. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    อันนี้ จาก เจ้าของกระทู้ นะครับ (เรียบเรียงมา)

    ด้วยเพราะพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ประเทศสยามไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสเท่านั้น ประเทศสยามยังได้รับ "ส่วนแบ่งประเทศราช" ซึ่งเป็นดินแดนของอาณาจักรล้านช้างเดิม (หมายถึงภาคอีสานบางส่วนตามแผนที่ ซึ่งรวมทั้ง จังหวัดนครพนม) ตามข้อตกลงมาด้วยส่วนหนึ่ง

    สมัยก่อน ส่วนที่เรียกว่า "สยาม" (ใช้เรียกกลุ่มชนรวมกัน 2 กลุ่ม คือ ไทยน้อย+ไทยใหญ่) ไม่มี "เขตแดน" ที่แน่นอน ดังนั้น คำว่า "ประเทศสยาม" จึงไม่มี "เขตแดน" ที่แน่นอน ต่อเมื่อ ความขัดแย้งระหว่าง สยามกับอังกฤษและฝรั่งเศส ได้ยุติลงเท่านั้น (ยุติลงโดยได้ทำสัญญากันหลายฉบับ...ลองค้นคว้าดูนะครับ อ่านสนุกดี) จึงเริ่มมีการจัดทำแผนที่ "กำหนดแนวเขตแดน" ระหว่างกัน เพื่อใช้แนบท้ายสัญญาหรืออนุสัญญา(เป็นการกำหนดแนวเขตยึดครอง ซึ่งต่อมาก็คือ แนวเขตของประเทศ) กระนั้น แม้ว่าจะมีแผนที่แนบท้ายสัญญาหรืออนุสัญญาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้มีการ "ปักปันแนวเขต" ที่แน่นอนระหว่างกัน จนกระทั่งล่วงเลยมาจนถึงปัจจุบันการตกลง "ปักปันแนวเขต" ก็ยังไม่เรียบร้อย ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายกันอยู่จนทุกวันนี้ (กรณีเขาพระวิหาร คือ ตัวอย่างความวุ่นวาย กรณีหนึ่งเท่านั้น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2011
  2. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ที่เล่ามา 3-4 ตอนตามข้างบนนี้ เพียงแต่จะ "สื่อความหมาย" ว่า

    แต่ก่อน องค์พระธาตุพนม อยู่ในอาณาเขตที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง(ล้านช้างเวียงจันทน์ ซึ่ง เป็นประเทศราชของสยาม)
    และ มีอิสระในการบริหารจัดการปกครองตนเอง เพียงแต่ต้อง "สวามิภักดิ์" ต่อสยาม เท่านั้น

    เมืองประเทศราชในสมัยธนบุรี มี เมืองเชียงใหม่ (ล้านนา) ล้านช้าง (เวียงจันทร์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์) เขมร และเมืองนครศรีธรรมราช (อาณาจักรศรีวิชัย) เมืองประเทศราชต่างๆ ดังกล่าวนี้สามารถปกครองตนเองได้ตามจารีตประเพณีของตนเองอย่างเด็ดขาด ไม่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เหมือนกับเมือพระยามหานคร แต่ต้องส่งบรรณาการเป็นดอกไม้เงินดอกไม้ทองมาถวายพระมหากษัตริย์ยังเมืองหลวง ทุกๆ 3 ปี ในยามศึกสงครามจะต้องให้ความช่วยเหลือตามที่เมืองหลวงขอไป และเมื่อทางเมืองหลวงมีพระราชพิธีสำคัญ เจ้าเมืองประเทศราชจะต้องเข้ามายังเมืองหลวงเพื่อเข้าร่วมพิธีด้วย หากไม่สามารถมาได้ด้วยตนเอง ก็ต้องส่งรัชทายาทหรือราชทูตมาแทน
    http://learn.wattano.ac.th/TCH/suriyan/Part%20TO.htm<O:p></O:p>


    ตอนต่อไป จะมากล่าวถึง การบูรณะองค์พระธาตุพนม แล้วจะเข้าใจว่า
    ทำไม จึงมีแต่ชาวเวียงจันทน์หรือชาวลาว (ทั้งกษัตริย์และประชาชน)
    ที่มาทำการบูรณะองค์พระธาตุพนม ในช่วงแรกๆ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2011
  3. pharm.taung

    pharm.taung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +432
    สุดยอด...ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ครับ
     
  4. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    องค์พระธาตุพนม ก่อนล้ม

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    องค์พระธาตุพนม ก่อนล้ม (ก่อน 11 สิงหาคม 2518)


     
  5. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    องค์พระธาตุพนม สมัย โบราณ

    [​IMG]
    ไม่ทราบปี พ.ศ.​

    [​IMG]
    พ.ศ. 2449
    ภาพถ่ายแสดงได้รับการบูรณะ มีการ ทำความสะอาดโดยรอบบริเวณ ทาสีองค์พระธาตุใหม่
    บูรณะศาลา และ ก่อสร้างกำแพงแก้วล้อมรอบองค์พระธาตุเพิ่ม​

    [​IMG]
    ไม่ทราบปี พ.ศ.
    อาคาร และ กำแพงแก้ว เริ่มเก่าตามกาลเวลา​


    [​IMG]
    พ.ศ. 2477 ภาพถ่ายแสดงอาคารที่มีการบูรณะภายใน
    มีการปรับปรุงเป็นอาคารคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้อง แต่ไม่ได้ทาสีกำแพงแก้วใหม่​

    [​IMG]
    พ.ศ. 2499 ภาพถ่ายแสดงถึงมีการบูรณะ ทาสีองค์พระธาตุใหม่​

    องค์พระธาตุพนม สมัย โบราณ
    (ปี พ.ศ. ที่บอกข้างล่างภาพ คือ ปีที่ถ่ายภาพ ไม่ใช่ปีที่บูรณะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2011
  6. กำธร นครปฐม

    กำธร นครปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2,756
    ค่าพลัง:
    +7,205
    สุดยอดครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับ คนจะได้ตาสว่างอีกเยอะครับ พระทุกองค์ที่นำมาในที่นี้ให้ศึกษาดีครับ มีเหตุและผลให้เปรียบเทียบและได้รู้ว่าปลอมอย่างไร
     
  7. มันตรัย

    มันตรัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    8,346
    ค่าพลัง:
    +8,190
    ทราบข่าว ก็เลยเข้ามาให้กำลังใจครับ เด็กรุ่นใหม่จะได้ไม่หลงผิด ยิ่งเจอพระอุปโลกน์แบบนี้ก็แย่แล้ว ยังเจอพวกทำตัวแอบอ้างว่าเป็นเซียนลงขายพระเก๊แต่ไม่มีใครเอาด้วย แถมยังมีสมุนออกมายกหางคุยเขื่องอีก เดี๋ยวนี้หายไปไหนไม่รู้ ผมเองไม่ได้เข้ามาดูเพราะเบื่อหน่าย แต่พี่ๆน้องๆ(โดยเฉพาะพี่กำธร นครปฐมตามไปให้กำลังใจ เลยเข้ามาเยี่ยมครับ ถ้าว่างจากงานแล้วจะเข้ามาให้บ่อยๆ ขอขบคุณเจ้าของกระทู้อีกครั้งครับ
     
  8. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ขอบคุณท่านทั้ง 2 ข้างบนครับ
    มีข้อมูลดีๆ นำมาเพิ่มเติมได้นะครับ
    เพราะผมไม่ใด้เป็นอะไรเลย ดูความเก่าขององค์พระยังไม่เป็นเลย เพียงแต่ชอบค้นคว้าและอ่านมาก และ ไม่ชอบที่คนไทยมาหลอกกันเองแค่นั้นเองครับ

    ขอบคุณในกำลังใจครับ
     
  9. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    องค์พระธาตุพนมล้ม
    11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น.

    [​IMG]

    ภาพโดยรวม องค์พระธาตุแตกหักออกเป็น 3 ส่วน หรือ 3 ตอน

    [​IMG] [​IMG]
    ตอนที่ 1 คือฐานชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐแดงจำหลักลวดลายสูง 8 เมตร คือตอนที่เก่าที่สุด
    สร้างด้วยอิฐเรียงสอด้วยวัตถุเหนียวแตกทับตัวเอง หลุดร่วงและล้มเป็นกองเศษอิฐแตกกระจายออกทั้ง 4 ด้าน พูนขึ้นเป็นกองอิฐขนาดใหญ่

    [​IMG] [​IMG]
    ตอนที่ 2 ระหว่างเรือนธาตุชั้นที่ 2 กับฐานบัลลังก์เป็นส่วนที่ได้รับการบูรณะในภายหลังแตกออกเป็น 2 ท่อน
    ท่อนล่างละเอียดหมด ท่อนบนยังดีอยู่ ล้มกองไปตามทางทิศตะวันออก

    [​IMG] [​IMG]
    ตอนที่ 3 คือส่วนยอดที่สร้างครอบยอดเดิมไว้เมื่อครั้ง พ.ศ. 2483 เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กยาวประมาณ 20 เมตร
    (ความสูงใหญ่ 10 เมตร ระยะของความสูงเดิมจากฐานบัลลังก์ขึ้นไป) หักล้มไปทางทิศตะวันออก
    ทับศาลาการเปรียญหรือโรงธรรมสภาแหลกละเอียด และหอพระแก้วราบทะลายลงไปทั้งสองหลัง เฉพาะหอพระแก้วเหลือแต่เพียงมุขด้านหน้าไว้เท่านั้น
    ส่วนฉัตรที่ทำด้วยทองคำสวมยอดพระธาตุนั้น เอนปะทะพิงอยู่กับผนังหอพระแก้ว ความเสียหายของฉัตรบุบสลายเพียงเล็กน้อย

    [​IMG] [​IMG]

    h t t p ://www.moohin.com/pratat/pratat044c010.shtml


    องค์พระธาตุพนมล้ม
    11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2011
  10. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    สืบประวัติ พระธาตุพนม (จากองค์พระธาตุ ไม่ใช่จากตำนาน)

    คราวองค์พระธาตุพนมล้ม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 นักโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ทำการค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ และสถาปัตยกรรม รวมทั้งศึกษาจากลักษณะการล้มลงแล้วแตกหัก(แตกหักออกเป็น 3 ส่วน) สิ่งปรักหักพังส่วนที่เหลือขององค์พระธาตุที่ล้มลง เพื่อจะได้ทำการบูรณะสถาปนาองค์พระธาตุขึ้นใหม่ ซึ่งจากการขุดค้นหลักฐานหลังจากองค์พระธาตุพนมล้มลง เมื่อ พ.ศ. 2518-2519 พบหลักฐานอย่างแน่ชัดว่า องค์พระธาตุพนมนั้นได้สร้างทับกันมาอย่างสลับซับซ้อน รูปทรงที่จัดว่าสร้างในช่วงแรกนั้น น่าจะเป็นตรงกลางเรือนธาตุชั้นใน และเรือนธาตุชั้นนอก (ชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างราว พ.ศ. 1200 และได้รับการบูรณะมาตามลำดับ

    ดังนั้นขอนำเสนอการบูรณะ เฉพาะตอนที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และมีบันทึกไว้ ดังนี้

    [​IMG] [​IMG]

    ลำดับ การบูรณะองค์พระธาตุพนม
    ตั้งแต่ องค์เดิมที่เป็นเพียงสถูป บูรณะหลายสมัยจนเป็นองค์พระธาตุ
    (ภาพด้านขวา คือ อาคารจำลองพระธาตุองค์เดิม ใช้เป็นสถานที่เก็บสิ่งของจากองค์พระธาตุที่ล้มลง พ.ศ.2518)

    ๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๑๕๗โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูร เป็นประธานได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตูและเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์ (ถูกพระธาตุหักพังทับยับเยินหมดแล้ว )
    [​IMG]
    จารึกพระยานครพิชิตราชธานี
    พระเจ้าเมืองนครพนมได้มาปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุพนมเมื่อศักราช ๙๗๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๕๗ และได้ทำจารึกขึ้นแผ่นหนึ่ง กล่าวถึงถาวรวัตถุที่ได้บูรณะ ศิลาจารึกหลักนี้เดิมพบอยู่ที่ใต้ฐานหอพระแก้ว จึงขุดขึ้นมาประดิษฐานไว้ตรงมุมกำแพงแก้วด้านเหนือ ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ สร้างกำแพงแก้วใหม่ จึงย้ายมาที่เชิงปราสาทหอข้างพระ ด้านหน้าองค์พระธาตุพนม เมื่อองค์พระธาตุพนมล้ม ศิลาจารึกก็ถูกพังทับด้วย​
    h ttp://www.sac.or.th/databases/inscriptions/th/main.php?p=ZGV0YWls&id=1008&userinput=%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81

    ๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน การบูรณะครั้งนี้ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ให้สูงขึ้นอีกประมาณ ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนาและได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่าง ๆไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม" (ประนม)
    [​IMG] [​IMG]
    ผอูบสำริด ภายในทำเจดีย์เพื่อป้องกันไว้อีก 5 ชั้น รวมผอบที่บรรจุพระอุรังคธาตุ แล้ว รวมเป็น 7 ชั้น
    เพื่อป้องกัน พระอุรังคธาตุ

    ๔. การบูรณะครั้งที่ ๔ ใน พ.ศ.๒๓๕๐ - ๕๖โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธานได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ดและได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปีนั้น ( พ.ศ. ๒๓๕๖ ) ( ฉัตรนี้ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๗ )
    [​IMG] [​IMG]
    ยอดฉัตร องค์เดิม (จะสังเกตุว่ามี ตุ้งติ้ง--ไม่รู้ว่าเรียกถูกหรือเปล่า)​

    ๕. การบูรณะครั้งที่ ๕ ในปี พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๔๙ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบลวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธานได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนมใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆังแผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง

    ๖. การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ -๘๔รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ชุมจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้กรมศิลปากรอันมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นหัวหน้า(ขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ก่อนปี พ.ศ.2483 ท่านดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร(คนแรก) พร้อมกับเป็นรัฐมนตรีลอยอยู่หลายปี และในปี พ.ศ.2483 ท่านได้เลื่อยขึ้นเป็น รมช.ศึกษาธิการ และได้ย้ายไปเป็น รมต.ต่างประเทศในปี พ.ศ.2484)สร้างเสริมครอบพระธาตุพนมองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชัน้ที่ ๓ ขั้นไปและต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร(8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2)

    <O:p</O:p
    ๗. พ.ศ. ๒๔๙๗รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาคและได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้นฉัตรทองคำ มีเนื้อทองของวัดอยู่ประมาณ ๗ กิโลกรัมนอกนั้นเป็นโลหะสีทองหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ฉัตรหนักทั้งหมด ๑๑๐ กิโลกรัมก่อนรื้อนั่งร้าน ทางวัดได้ขอแรงสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารโบกปูนตั้งแต่ยอดซุ้มประตูพระธาตุชั้นที่ ๑ จนถึงยอดสุด ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑เดือนจึงแล้วเสร็จ

    [​IMG]
    ไม่แน่ใจว่า เป็นพิธียกฉัตร ปี พ.ศ.2497 หรือ พ.ศ.2522 (ใครทราบบอกด้วย)
    (ฉัตรไม่มีตุ้งติ้ง)​

    ๘. พ.ศ. ๒๕๐๐ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้ลงรักปิดทองพระธาตุพนมส่วนยอดประมาณ ๑๐เมตรจนถึงก้านฉัตร ได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารช่วยทำใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือน กับ ๑๕ วัน จึงเสร็จเรียบร้อยดี

    ๙. พ.ศ. ๒๕๑๑ทางวัดได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนมลงรักปิดทองลวดลายองค์พระธาตุพนมช่วงบน ซึ่งทำการประดับใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ส่วนยอดสูงประมาณ ๕ เมตร ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วจึงลงรักปิดทอง ใช้เวลาทำงาน ๒เดือนกว่าจึงแล้วเสร็จ

    ๑๐.ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้าง ๆซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมดทั้งนี้สืบเนื่องมาจากฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มากและไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงเกิดพังทลายลงมาดังกล่าว
    [​IMG]
    ยอดฉัตร เมื่อคราวองค์พระธาตุล้ม พ.ศ.2518 เสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
    (ฉัตรไม่มีตุ้งติ้ง)





    <O:p>http://www.moohin.com/pratat/pratat044c009.shtml<O:p</O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2012
  11. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467

    เอานิยาย
    ก่อสร้าง เจดีย์พระธาตุพนม ปี 2407-2408
    มาให้อ่านอีกครั้ง เพื่อใช้เปรียบเทียบกับการบูรณะองค์พระธาตุ

    เมื่อปี พ.ศ. 2407 วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2407 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน10 ปีชวด จุลศักราช 1226 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4ได้ทรงโปรดเกล้าสถาปนาสมณศักดิ์พระเทพกวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ กับได้ทรงรับสั่งมอบหมายท่านให้เป็นแม่กองไปบูรณะองค์พระธาตุพนมด้วย ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พร้อมด้วยท่านเจ้าคุณธรรมทานาจารย์(เจ้าคุณแนบ) ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร(เจ้าคุณช่วง)พร้อมด้วยพระปลัดโฮ้ จึงได้เดินทางไปตรวจสอบองค์พระธาตุพนม ในขณะนั้นชำรุดเสียหายมากน่าจะไม่สามารถทำการบูรณะซ่อมแซมได้ จำเป็นต้องสร้างพระธาตุพนมใหม่ทั้งองค์ ก็ควรที่จะได้สร้างพระเครื่อง พระบูชา บรรจุไว้ในเจดีย์องค์พระธาตุพนมด้วย เพื่อเป็นพุทธบุชา รัชกาลที่4 ทรงเห็นด้วยและโปรดให้ดำเนินการได้กับทรงมีรับสั่งให้สร้างให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2408


    ฉะนั้นการสร้างพระเจดีย์องค์พระธาตุพนม การสร้างพระเครื่อง พระบูชา จำนวน 84,000 องค์ เพื่อนำไปบรรจุในองค์พระธาตุพนม จึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2407 เป็นต้นมา

    ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ได้กำหนดให้การก่อสร้างองค์พระธาตุพนมให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2408 การพิมพ์ พระเครื่อง พระบูชาจำนวน 84,000 องค์ จึงต้องช่วยกันพิมพ์ทั้งที่วัดระฆัง และที่วัดพระธาตุพนม ส่วนผสมในการสร้างพระนั้นเหมือนกันทั้งสองวัดจะแตกต่างกันอยู่บ้างก็ตรงที่ ใครจะนำส่วนผสมอะไรใส่ลงในครกแต่ละครั้งมากกว่ากันเท่านั้น ส่วนพระที่สร้างที่วัดระฆังนั้น ท่านเจ้าพระคุณธรรมทานาจารย์(เจ้าคุณแนบ) ท่านได้ลงรักปิดทองไว้ด้วย
    สำหรับการนำพระเครื่อง พระบูชา บรรจุลงในองค์พระเจดีย์นั้น เมื่อได้ทำการสร้างพระเจดีย์องค์พระธาตุพนมเสร็จเรียบร้อยแล้วได้จัดให้มีการสมโภช เฉลิมฉลององค์พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน
     
  12. กำธร นครปฐม

    กำธร นครปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2,756
    ค่าพลัง:
    +7,205
    นิยายก็คือนิยายนั่นแหละครับ จะเป็นเรื่องจริงเป็นไปไม่ได้ ขอบคุณมาก ๆ ครับที่นำมาเผยแพร่ให้ทราบ นำมาลงอีกเยอะ ๆ นะครับ รวมทั้งพระเก๊มือผีกรุวังหน้า และกรุพระธาตุพนม มาให้ชมให้มาก ๆ ก็ดีนะครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ
     
  13. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ข้อสังเกตุ


    1.ตามประวัติการบูรณะองค์พระธาตุพนม ไม่ได้กล่าวถึง องค์พระธาตุพนมเคยล้ม หรือ ชำรุดเสียหายกระทั่งทำการบูรณะไม่ได้เลย
    และการบรณะครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 4 มีแต่ทางด้าน อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เป็นผู้มาบูรณะ(ครั้งที่ 1ไม่นำมาลงเพราะหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ จะมีก็เพียงแต่ รูปภาพขององค์พระธาตุเปลี่ยนรูปทรงจากทรงสถูปเป็นทรงเจดีย์แล้วเท่านั้น)

    2. ก่อน พ.ศ.2433 ประเทศสยาม ปกครองเมืองขึ้น แบบประเทศราช ซึ่งเมืองธาตุพนม เป็น ส่วนหนึ่งของประเทศราชล้านช้างเวียงจันทน์ (สามารถปกครองตนเองได้ตามจารีตประเพณีของตนเองอย่างเด็ดขาด ไม่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เหมือนกับเมือพระยามหานคร แต่ต้องส่งบรรณาการเป็นดอกไม้เงินดอกไม้ทองมาถวายพระมหากษัตริย์ยังเมืองหลวง ทุกๆ 3 ปี ในยามศึกสงครามจะต้องให้ความช่วยเหลือตามที่เมืองหลวงขอไป และเมื่อทางเมืองหลวงมีพระราชพิธีสำคัญ เจ้าเมืองประเทศราชจะต้องเข้ามายังเมืองหลวงเพื่อเข้าร่วมพิธีด้วย หากไม่สามารถมาได้ด้วยตนเอง ก็ต้องส่งรัชทายาทหรือราชทูตมาแทน) มีกษัตริย์ปกครองตัวเองโดยเด็ดขาด มีอิสระในการปกครอง และเป็นประเทศราชที่อยู่ห่างไกล คนละฟากฝั่งแม่น้ำโขง ดังนั้น กษัตริย์ของสยามจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครอง หรือ กิจกรรมต่างๆ ของประเทศราชล้านช้างทั้ง 3 แห่ง (หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และ จำปาศักดิ์)

    ดังนั้น ในปี พ.ศ.2407-พ.ศ.2408 (หรือ ก่อนปี พ.ศ.2433 ซึ่งรัชกาลที่ 5 ยังไม่ได้ทรงตั้งมณฑลเทศาภิบาล)
    จึงเป็นไปไม่ได้ที่ รัชกาลที่ 4 จะสั่ง(ไม่ว่าจะเป็นใคร) ให้เข้าไปทำการบูรณะองค์พระธาตุพนม เพราะอยู่ในเขตประเทศราช

    สรุป

    นิยาย การก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 4 และสร้างพระสมเด็จบรรจุกรุพระธาตุพนม
    จึงเป็นเพียง "นิยาย" ที่แต่งขึ้น เป็นเรื่องหลอกลวงไม่ใช่เรื่องจริง
    คนแต่งนิยาย ไม่ได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์การปกครองสมัยรัชกาลที่ 4-5
    เพียงแต่อาศัยเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ + ปี พ.ศ.ที่ปรากฏในพระเครื่อง
    เอามาอ้างอิงแต่งนิยาย(น้ำเน่า) เพื่อ หลอกขายพระ(ปลอม) ที่กลุ่มตัวเอง "สร้าง" ขึ้นมา

    ดังนั้น
    พระสมเด็จกรุธาตุพนม หากอ้างว่า สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2401-2408 เพื่อนำไปบรรจุกรุในองค์พระธาตุพนมปี พ.ศ.2408
    คือ พระปลอม


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มีนาคม 2012
  14. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467

    ปลอม

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ปลอม
     
  15. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ปลอม

    เมื่อ สิ่งนี้ ปลอม

    [​IMG][​IMG] [​IMG][​IMG] [​IMG][​IMG]

    สิ่งนี้ เลย ปลอม ตาม

    [​IMG][​IMG] [​IMG][​IMG] [​IMG][​IMG]

    ปลอม

     
  16. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ปลอม

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    ปลอม
     
  17. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    โพสท์อยู่คนเดียว เหงาจัง

    รอท่านที่ "ศึกษาประวัติศาสตร์" แบบแตกฉาน นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เข้ามาคัดค้าน อยู่นะครับ
    จะได้เป็นการช่วยกันศึกษาค้นคว้า

    ประเภท นิทาน นิยาย ตำนานกล่าวไว้ หรือ มีคนเล่าไว้ว่า ไม่เอานะครับ
    เอาชนิดที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีที่มาอ้างอิงได้
     
  18. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    ไม่มีท่านใด แย้ง มั่งหรือครับ
     
  19. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    -----------------------------------------------------------
    เอาไปเอามา ไงนิยายเรื่องที่ 2 จบก่อนเรื่องที่ 1

    เดี๋ยวออกไปธูระแป๊บ จะย้อนมาเล่าเรื่องที่ 1
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------
    นิยายเรื่องที่ 2 (เรื่องหลอกลวง)
    นิยาย ตอน สมเด็จกรุพระธาตุพนม แตกกรุ วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม


    เมื่อปี พ.ศ. 2407 วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2407 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน10 ปีชวด จุลศักราช 1226 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4ได้ทรงโปรดเกล้าสถาปนาสมณศักดิ์พระเทพกวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ กับได้ทรงรับสั่งมอบหมายท่านให้เป็นแม่กองไปบูรณะองค์พระธาตุพนมด้วย ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พร้อมด้วยท่านเจ้าคุณธรรมทานาจารย์(เจ้าคุณแนบ) ท่านเจ้าคุณธรรมถาวร(เจ้าคุณช่วง)พร้อมด้วยพระปลัดโฮ้ จึงได้เดินทางไปตรวจสอบองค์พระธาตุพนม ในขณะนั้นชำรุดเสียหายมากน่าจะไม่สามารถทำการบูรณะซ่อมแซมได้ จำเป็นต้องสร้างพระธาตุพนมใหม่ทั้งองค์ ก็ควรที่จะได้สร้างพระเครื่อง พระบูชา บรรจุไว้ในเจดีย์องค์พระธาตุพนมด้วย เพื่อเป็นพุทธบุชา รัชกาลที่4 ทรงเห็นด้วยและโปรดให้ดำเนินการได้กับทรงมีรับสั่งให้สร้างให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2408


    ฉะนั้น การสร้างพระเจดีย์องค์พระธาตุพนม การสร้างพระเครื่อง พระบูชา จำนวน 84,000 องค์ เพื่อนำไปบรรจุในองค์พระธาตุพนมจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2407 เป็นต้นมา


    ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ได้กำหนดให้การก่อสร้างองค์พระธาตุพนมให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2408 การพิมพ์ พระเครื่อง พระบูชาจำนวน 84,000 องค์ จึงต้องช่วยกันพิมพ์ทั้งที่วัดระฆัง และที่วัดพระธาตุพนม ส่วนผสมในการสร้างพระนั้นเหมือนกันทั้งสองวัดจะแตกต่างกันอยู่บ้างก็ตรงที่ ใครจะนำส่วนผสมอะไรใส่ลงในครกแต่ละครั้งมากกว่ากันเท่านั้น ส่วนพระที่สร้างที่วัดระฆังนั้น ท่านเจ้าพระคุณธรรมทานาจารย์(เจ้าคุณแนบ) ท่านได้ลงรักปิดทองไว้ด้วย
    สำหรับการนำพระเครื่อง พระบูชา บรรจุลงในองค์พระเจดีย์นั้น มื่อได้ทำการสร้างพระเจดีย์องค์พระธาตุพนมเสร็จเรียบร้อยแล้วได้จัดให้มีการสมโภช เฉลิมฉลององค์พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน
    http://www1.mod.go.th/heritage/natio...anom5.htmffice


    -----------------------------------------------------------------------------------------------------
    เอาไปเอามา ไงนิยายเรื่องที่ 2 จบก่อนเรื่องที่ 1
    เดี๋ยวออกไปธูระแป๊บ จะย้อนมาเล่าเรื่องที่ 1
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2011
  20. หนุ่มคอนถม

    หนุ่มคอนถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    2,605
    ค่าพลัง:
    +1,584
    ขอบคุณครับพี่ pmorn3339 ที่มาเสนอข้อมูลดีๆ ยังมีคนหลงผิดอยู่อีกเยอะครับ ทำเป็นหนังสือออกมาก็มีหลายๆเล่ม แล้วก็ขายกันเป็นล่ำเป็นสัน บางที่ถึงขนาดจัดงานประกวดกันเลยทีเดียว :cool::cool::cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...