ดวงปฐมมรรค เป็น มิจฉาทิฐิ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิถีคนจร, 4 ตุลาคม 2011.

  1. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    ไปชมเทศน์ลำดับญาณ มาครับ ขอยกตอนที่๔ นะครับ
    แนะนำให้เข้าไปดูที่ youtube ให้ครบทั้ง๑๒ ตอนครับ เพื่อตรวจสอบผลการปฏิบัติครับ


    <object width="420" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/YKcWUGUnMY4?version=3&amp;hl=th_TH"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/YKcWUGUnMY4?version=3&amp;hl=th_TH&autoplay=1" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=3eslms2QNS0&feature=results_main&playnext=1&list=PL6CAD60EC2A5E0BE3"]ดูทั้ง๑๒ตอนเชิญคลิ๊กตรงนี้ครับ^^[/ame]
     
  2. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ลองมองตรงจุดที่ว่า การตีความหมายของปฏิภาคนิมิตของแต่ล่ะคนดีไหมครับ?
     
  3. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อนุโมทนา ธรรมทาน ท่านเจ้าคุณโชดก ครับ

    สาธุกุศลจิต ท่าน จขกท.

    ,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
    ขอนอกเรื่องหน่อย

    วิปัสสนาจารย์เดี๋ยวนี้จ่ายยาตามสั่ง

    บางทีวิปัสสนาภูมิไม่ถึง อธิบายของนอกตำราไม่ได้จริง

    อะไร อะไร ก็กำหนดรู้ไปเน๊อะ รู้รูปนั่ง รูปยืน รูปนอน ไปเน๊อะ

    ชอบก็รู้ว่าชอบ โกรธก็รู้ว่าโกรธไปเน๊อะ

    ซึ่งไม่ได้เน้นให้เห็น ใส่ใจในอาการลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏจริงในขณะนั้น

    เอาสติไปตัดอารมณ์ดื้อๆ แข็งๆ เป็นสักว่า สักว่า

    ไปรู้กันตรงสมมุตติ กำหนดสมมุตติมาเป็นอารมณ์ ไม่ต่างกับบริกรรม

    อารมณ์ดื้อๆ แข็งๆนี่ล่ะ โมหะ โลภะ ที่รู้ตัว ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ

    สุดท้ายไปคว้าเอานิมิตเป็นสัญลักษณ์ในการถึงธรรม
     
  4. NuJulie

    NuJulie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +64
    คุณวิถึคนจรนี่ยังไง

    เคยไปตั้งกระทู้ในหลุมดำแล้วมิใช่หรือ

    แล้วก็มีคนมาตอบคุณไปแล้ว ผ่านมาไม่นาน คุณก็มาถาม

    ที่ห้องนี้อีก
     
  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขออนุญาตนำเสนอข้อมูลในอีกแง่มุมหนึ่งนะครับ เพื่อความกว้างขวางในธรรมทั้งปวง

     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    แหมพี่ โก็ะ ก็!!! อย่าเพิ่งตัดรอน การภาวนาต้องเริ่มจากสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา เราท่าน ก็ ต้องสะสมไปตามกำลังละครับ :cool:
     
  7. NuJulie

    NuJulie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +64
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=PPsjgE7sxPE&feature=related]ธรรมบรรยายเรื่อง ธรรมกายคืออะไร Full - YouTube[/ame]

    "คมฺภีโรจายํ ธมฺโม ทุทฺทโส ทุรนุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย"

    "ธรรมนี้เป็นสภาพลึก เห็นได้ยาก ตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต คิดเดาด้วยเหตุผลธรรมดาไม่ได้ [หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ] เป็นธรรมละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตเท่านั้นที่จะถึงรู้ได้" - พุทธภาษิต

    ธรรมกายคืออะไร

    ธรรมกาย คือ กายในกายที่สุดละเอียดของสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เป็นกายโลกุตตระ (คือพ้นโลก) พ้นจากกายในกายอันเป็นโลกิยะ (กายมนุษย์หยาบ-ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-ละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ-ละเอียด)
    ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน ของพระอรหันตสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า

    พระพุทธลักษณะของธรรมกาย
    ผู้ที่ได้ปฏิบัติภาวนาธรรมจนได้เข้าถึง ได้รู้ ได้เห็นและได้เป็น ทุกท่าน ต่างเห็นพระธรรมกายมีพระพุทธลักษณะดังต่อไปนี้
    • ลักษณะเหมือนพระพุทธปฏิมา เกตุดอกบัวตูม
    • ขาวใส บริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งนัก
    • ครองจีวรม้วนลูกบวบเข้าใน คือม้วนขวาเท่านั้น ไม่ม้วนซ้าย
    • ประทับนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย นิ้วชี้พระหัตถ์ขวาแตะนิ้วหัวแม่มือพระหัตถ์ซ้าย
    • ประทับอยู่บนองค์ฌาน มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ขาว ใส หนาประมาณ 1 ฝ่ามือของธรรมกาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย อยู่โดยรอบ จึงเห็นเหมือนพระธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่ ซึ่งต่างจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (กายของมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)

    รัตนบัลลังก์

    ในอายตนะนิพพาน อันเป็นที่ประทับอยู่ของธรรมกายธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ที่ทรงสภาวะนิพพานนั้น มีทั้งธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ประทับอยู่

    ธรรมกายตรัสรู้ของพระอรหันตสาวกทั้งหลายคงประทับ อยู่บนองค์ฌาน เฉยๆ
    เฉพาะธรรมกายตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ล้วนประทับ อยู่บนรัตนบัลลังก์ อีกทีหนึ่ง

    ธรรมกาย มีหยาบมีละเอียดไปจนสุดละเอียด

    แม้จะเป็นธรรมกายเหมือนกัน เป็นกายโลกุตตระเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีหยาบละเอียด ขึ้นอยู่กับระดับความบริสุทธิ์ มีประเภทดังนี้
    1. ธรรมกายโคตรภู สำหรับผู้ได้โคตรภูญาณ มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม 4 วาครึ่ง
    2. ธรรมกายพระโสดา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด 5 วาขึ้นไป
    3. ธรรมกายพระสกทาคา มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด 10 วาขึ้นไป
    4. ธรรมกายพระอนาคามี มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ขนาด 15 วาขึ้นไป
    5. ธรรมกายพระอรหัต หรือธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี้เอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะพระนิพพานนั้น มีขนาดหน้าตักและความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมขนาด 20 วาขึ้นไป เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ (ตาย) แล้ว พระนิพพานธาตุอันเป็นอมตธรรมนี้น ย่อมสถิตยั่งยืนอยู่ในอายตนะนิพพาน เข้านิโรธสงบตลอดกันหมด เป็นบรมสุข
    สภาวะของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผล

    • ธรรมกายนั้นเป็น กายอันประเสริฐเพราะเป็นอมตธรรมที่เที่ยงและเป็นบรมสุข
    • ธรรมกายเป็น กายที่บริสุทธิ์ คือเป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน
    • ธรรมกาย มีชีวิตจิตใจ แต่ก็มีใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ คือไม่ใช่เบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์ เป็นวิสุทธิขันธ์
    • ธรรมกาย ปราศจากตัณหาราคะใดๆ (วิราคธาตุ-วิราคธรรม)
    • ธรรมกาย เป็นวิสังขารธรรม ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง พ้นจากความปรุงแต่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นความปรุงแต่งด้วยผลของ บาปอกุศล หรือ บุญกุศล (คือเป็นอสังขตธาตุ-อสังขตธรรม หรือ วิสังขาร) จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์หรือสามัญญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกันของสังขาร คือ ความเป็นของไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) ความเป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และความเป็นของไม่ใช่ตน (อนตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุล้วนธรรมล้วน ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (วิสังขาร) จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจัยดังสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งเขาเป็นกัน นี้เอง ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว จึง มีสภาวะที่ตรงกันข้ามกับสังขาร โดยเหตุนี้จึงเป็นกายที่เที่ยง (นิจฺจํ) เป็นสุข (สุขํ) และเป็นกายที่เป็นตัวตนที่แท้จริง (โลกุตฺตรอตฺตา)
    • ธรรมกาย เป็น ธาตุเป็นธรรมเป็น คือเป็น กายที่มีชีวิตจิตใจ แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวะ อย่างสัตว์โลกทั้งหลาย ซ้อนอยู่ในที่สุดละเอียด ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณศูนย์กลางกายของสัตว์โลกทั้งหลาย
    • ธรรมกาย เป็น อมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย จึงไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย อีก
    • ธรรมกาย มีความสุขที่เหนือความสุขทางโลกทั้งสิ้น ดังพระพุทธพจน์ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ - นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่สุขในนิพพานก็ไม่ใช่สุขเวทนาอย่างชาวโลก
    • ธรรมกาย เป็นกายที่ประมวลความบริสุทธิ์ 3 ประการเข้าไว้ คือ
      • กายและหัวใจ เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก เป็น ปฐมมรรค [พระวินัยกลั่นออกมาเป็นกายและหัวใจ]
      • ดวงจิต เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระสุตตันตปิฎก เป็น มรรคจิต [พระสูตรกลั่นออกมาเป็นดวงจิต]
      • ดวงปัญญา เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมหรือพระปรมัตถปิฎก เป็นมรรคปัญญา [พระอภิธรรมกลั่นออกมาเป็นดวงปัญญา]
    ฐานะ ความสำคัญ ของธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว
    • ธรรมกายเป็น กายในกาย ที่สุดละเอียด ของมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลาย ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเอง คือ พระนิพพานธาตุ อันเป็นอมตธรรม ที่ทรงสภาวะนิพพาน (เที่ยงและเป็นบรมสุข) ไว้
    • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ธรรมกาย" เป็นชื่อของพระองค์ - อหํ ธมฺมกาโย อิติปิ ก็คือ พระองค์เป็นธรรมกาย นั่นเอง
    • ธรรมกายทำหน้าที่ตรัสรู้อริยสัจ 4 (กรณีพระอรหันตสาวก) และตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (กรณีพระพุทธเจ้า)
      • ธรรมกายจึงเป็นพระพุทธรัตนะ
      • ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายคือพระธรรมรัตนะ
      • ธรรมกายที่ละเอียดๆ ทั้งหลาย คือ พระสังฆรัตนะ
    ความอุบัติขึ้นของธรรมกาย" เป็นของยาก


    ความปรากฏขึ้นของ "ธรรมกาย" แก่สัตว์โลก เป็นเรื่องที่สัตว์โลกมีได้ด้วยยาก แต่ก็มิใช่จะเหลือวิสัยที่สัตว์โลกจะทำได้ เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี หรือพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้บรรลุพระอรหัตตผลหรือพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย "พระธรรมกาย" นั้น ก็เริ่มตั้งแต่ความเป็นมนุษย์ปุถุชนมาก่อนเหมือนกัน
     
  8. NuJulie

    NuJulie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +64
    ธรรมกาย

    (1) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย
    "ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ"
    "วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต" (ที.ปา.11/55/92)
    (2) พระแม่น้า มหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย
    <TABLE style="WIDTH: 70%" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 50px"></TD><TD>"อหํ สุคต เต มาตา</TD><TD>ตุวํ ธีร ปิตา มม</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สทฺธมฺมสุขโท นาถ</TD><TD>ตยา ชาตมฺหิ โคตม."</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สํวทฺธิโตยํ สุคต</TD><TD>รูปกาโย มยา ตว</TD></TR><TR><TD></TD><TD>อานนฺทิโย ธมฺมกาโย</TD><TD>มม สํวทฺธิโต ตยา.</TD></TR><TR><TD></TD><TD>มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ</TD><TD>ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ</TD><TD>ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.</TD></TR><TR><TD></TD><TD>พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ</TD><TD>อนโณ ตฺวํ มหามุเน."</TD></TR><TR><TD colSpan=4>"ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน." (ขุ.อป.33/153/284)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    (3) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่
    "เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ 5 ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า 7 พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง."
    (4) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า "ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?" ว่า
    <TABLE style="WIDTH: 50%"><TBODY><TR><TD>
    "วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ..."

    "นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก..." (ขุ.อป.32/2/20)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    อายตนะ(นิพพาน)

    (1) ตรัสว่า อายตนะ(นิพพาน) นั้น มีอยู่ดังนี้
    "อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ. ยตฺถ เนว ปฐวี น อาโป น เตโช น วาโย น อากาสานญฺจายตนํ น วิญญาณญฺจายตนํ น อากิญฺจญฺญายตนํ น เนวสญฺญานาสญฺญายตนํ นายํ โลโก น ปรโลโก น อุโภ จนฺทิมสุริยา. ตมหํ ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ น คตึ น ฐิตึ น จุตึ น อุปฺปตฺตึ. อปฺปติฏฺฐํ อปฺปวตฺตํ อนารมฺมณเมว ตํ เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺสาติ."
    "ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มี ในอายตนะนั้น.
    ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ. อายตนะนั้นหาที่ตั้ง อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์." (ขุ.อุ.25/158/206-207)
    (2) ตรัสว่า เป็นที่ที่พระอเสขมุนีคือพระอรหันต์ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก ดังนี้
    "สตฺถา 'ภิกฺขเว เอวรูปานํ อเสขมุนีนํ อภิสมฺปราโย นาม นตฺถิ. เอวรูปา หิ อจฺจุตํ อมตํ มหานิพฺพานเมว ปาปุณนฺตีติ วตฺวา อิมํ คาถมาห
    <TABLE style="WIDTH: 50%"><TBODY><TR><TD>"อหึสกา เย มุนโย</TD><TD>นิจฺจํ กาเยน สํวุตา</TD></TR><TR><TD>เต ยนฺติ อจฺจุตํ ฐานํ </TD><TD>ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเรติ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ... อจฺจุตนฺติ สสฺสตํ. ฐานนฺติ อกุปฺปฏฺฐานํ ธุวฏฺฐานํ. ยตฺถาติ ยสฺมึ คนฺตฺวา น โสจนฺติ น วิหญฺญนฺติ ตํ นิพฺพานฏฺฐานํ คจฺฉนฺตีติ อตฺโถ."
    "พระศาสดาตรัสว่า 'ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าอภิสัมปรายภพของพระอเสขมุนีทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น ย่อมไม่มี, เพราะว่าพระอเสขมุนีผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุมหานิพพานอันไม่จุติ อันไม่ตาย' ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    'มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์, มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่ฐานะ (ที่) อันไม่จุติ, ซึ่งเป็นที่ชน (อเสขมุนี) ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก.'
    ... บทว่า อจฺจุตํ ได้แก่ เที่ยง.
    บทว่า ฐานํ ได้แก่ ฐานะ (ที่) ที่ไม่กำเริบ คือ ฐานะ (ที่) ที่ยั่งยืน.
    บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า มุนีทั้งหลาย ย่อมไปสู่ฐานะ (ที่) คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ชน (อเสขมุนี) ทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อน." (ขุ.ธ.25/27/45)
    (3) ตรัสว่า พระนิพพาน เห็นได้ยาก ดังนี้

    <TABLE style="WIDTH: 50%"><TBODY><TR><TD>"ทุทฺทสํ อนตํ นาม</TD><TD>น หิ สจฺจํ สุทสฺสนํ</TD></TR><TR><TD>ปฏิวิทฺธา ตณฺหา ชานโต</TD><TD>ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจนํ.</TD></TR><TR><TD colSpan=2>"ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่า นิพพาน ไม่มีตัณหา. นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย. ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่." (ขุ.อุ.25/159/207)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    (4) ตรัสว่า พระนิพพาน ตรัสรู้ตามได้ยากดังนี้
    "อธิคโต โข มยายํ ธมฺโม คมฺภีโร ทุทฺทโส ทุรานุโพโธ สนฺโต ปณีโต อตกฺกาวจโร นิปุโณ ปณฺฑิตเวทนีโย."
    "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ด้วยการนึกคิด เป็นธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง." (วิ.มหา.4/7/8)
    (5) ตรัสว่า พระนิพพาน มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด ดังนี้
    <TABLE style="WIDTH: 65%" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 10%"></TD><TD style="WIDTH: 33%">"วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ
    เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ
    อตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ
    วิญฺญาณสฺส นิโรเธน
    </TD><TD style="WIDTH: 33%">อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
    อนุ ํ ถูลํ สุภาสุภํ
    อเสสํ อุปรุชฺฌติ
    เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ."
    </TD></TR><TR><TD colSpan=4>"ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้, นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้." (ม.มู.12/554/596)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ "ปหาราทะ มหาสมุทร มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนเป็นเอนก ในมหาสมุทรนั้น มีรัตนะเหล่านี้คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพทูรณ์ สังข์ แก้วศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง โกเมน แก้วลาย ฉันใด ปหาราทะ ธรรมวินัยก็ฉันนั้น มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนะเป็นเอนก ในธรรมวินัยนั้น มีรัตนะเหล่านี้คือ สติปัฎฐานสี่ สัมมัปทานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์7 อริยมรรคมีองค์8 ..................ปราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะเป็นอันมาก มีรัตนะเป็นเอนก ธรรมวินัยนี้จึงเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ไม่เป็นสิ่งธรรมดา เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วย่อมยินดีอย่างยิ่งในธรรมวินัยนี้.......................(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส)
     
  10. NuJulie

    NuJulie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +64


    [​IMG]

    ความแตกต่างระหว่างดวงนิมิต กับดวงธรรม ( ปฐมมรรค ) คืออะไร

    ๑. ดวงนิมิต คือ ดวงที่เรากำหนดขึ้นมาเพื่อให้ใจเกาะ คือดวงที่เราคุ้น เมื่อใจค่อยๆ หยุดจะเห็น เป็นสัญลักษณ์ ตรวจใจเราว่า หยุดได้แค่ไหน จากความใส ความชัด ความสว่าง
    ๒. ดวงธรรม คือดวงที่จะเกิดขึ้นมาเอง จะนึกหรือไม่นึกก็เกิดขึ้นเองเมื่อเราวางใจได้สัดส่วนกับศูนย์กลางกาย เกิดแล้วจะไม่หายไปไหนเลย ไม่ต้องใช้ความพยายามในการทำให้เกิดขึ้น มี 3 ระดับ คือ
    ๑) เห็น (เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง)
    ๒) ได้ (ทุกครั้งที่นั่งสมาธิจะเห็นทุกครั้ง)
    ๓) เป็น (เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเลย มีชีวิตชีวาสามารถต่อไปสู่ดวงอื่นๆ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญานทัสนะ จนเช้าสู่กายต่าง
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    แปลว่า นิพพานไม่ใช่เมือง ถูกไหมครับ

    แต่เป็นเรื่องความดับสนิทแห่งขันธ์ ผมเข้าใจถูกรึเปล่าหนอ
     
  12. NuJulie

    NuJulie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +64
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=GRsGBCkA7AU"]บุคคลยุคต้นวิชชา พระธรรมรัตนากร 1 - YouTube[/ame]​

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=7Q-H0pzwvyk"]บุคคลยุคต้นวิชชา พระธรรมรัตนากร 2 - YouTube[/ame]​


    "ที่มีใครว่าหลวงพ่อเลิกฝึกธรรมกาย นั้นไม่จริง หลังกลับมาจากวัดมหาธาตุท่านยังฝึกสอนธรรมกาย ท่านยังว่าให้เผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก หลังกลับจากวัดมหาธาตุ6เดือนแล้ว ท่านยังบอกว่าท่านมาจากต้นธาตุต้นธรรม ส่งท่านมาปราบมาร"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2011
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย สำหรับภิกษุเสขะผู้มีความปรารถนาแห่งใจอันยังไม่บรรลุ ยังปรารถนาอนุตรโยคักเขมธรรมอยู่นั้น เรามองไม่เห็นธรรมอื่นแม้หนึ่ง ซึ่งเมื่อกระทำให้เป็นองค์ธรรมภายในแล้ว จะมีอุปการะมาก เหมือนอย่างโยนิโสมนสิการ นี้.........................ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุกระทำโยนิโสมนสิการอยู่ ย่อมละอกุศล และกระทำ กุศลให้เจริญ โยนิโสมนสิการธรรม มีอยู่สำหรับภิกษุผู้เสขะ ไม่มีธรรมอื่นมีอุปการะเหมือนอย่างนั้น สำหรับการบรรลุประโยชน์อันสูงสุด ภิกษุ ตั้งจิตไว้โดยแยบคาย พึงบรรลุความสิ้นไปแห่งทุกข์........................(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส)
     
  14. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ไปพิสูจน์เอาเอง ^^
     
  15. ธงสามสี

    ธงสามสี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2011
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +72
    “นิพพานเป็นอัตตา” ไม่รู้จริงหรือ!!



    บทนำ


    บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อชี้แจงให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้และเข้าใจว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้สอนว่า นิพพานเป็นอัตตา” อย่างที่คนจำนวนหนึ่งเชื่อกัน เนื่องจากมีผลงานทางวิชาการของพุทธวิชาการ/นักปริยัติ ได้เผยแพร่แนวความคิดดังกล่าวเป็นจำนวนมากครั้ง<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    ส่วนใหญ่แล้ว เป็นข้อเขียนที่มีเจตนาโจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่ไม่ถูกต้องตามความ เป็นจริง เพราะ ในความเป็นจริงแล้ว เป็นการตีความของพวกที่ต้องการโจมตี และเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้อง เป็นการตีความที่ขาดจริยธรรมในทางวิชาการเป็นอย่างมาก <O:p></O:p>


    หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่เคยสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา” แม้กระทั่งว่า “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” หลวงพ่อวัดปากน้ำก็ไม่เคยสอนเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความได้ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา<O:p></O:p>


    ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ข้อความ “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” เป็นการตีความ ไม่ใช่คำสอนตรงๆ <O:p></O:p>


    ดังนั้น จึงข้อเสนอหลักฐานเป็นเบื้องต้นไว้ก่อนว่า ไม่มีสักครั้งเดียวที่หลวงพ่อวัดปากน้ำจะสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา” และไม่ปรากฏหลักฐานในที่ใดๆ ที่เป็นข้อเขียน คำสอน หรือคำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่กล่าวว่า “นิพพานเป็นอัตตา”<O:p></O:p>


    ความหมายของประโยคทั้ง 2 ประโยคนี้ กล่าวคือ นิพพานเป็นอัตตา” และ “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” พุทธศาสนิกชนบางท่านอาจจะตั้งข้อสงสัยว่า ไม่เห็นจะแตกต่างกันเลย ความหมายก็น่าจะคล้ายกัน เพราะตัดเอาคำว่า “นิจจัง/สุขัง” ออกไปเท่านั้น<O:p></O:p>


    ความเห็นดังกล่าวนั้นไม่เชิงถูกต้องนัก เพราะในสถานการณ์และบริบทของการใช้ภาษาในปัจจุบัน ความหมายของทั้ง 2 ประโยคดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมาก<O:p></O:p>


    สาเหตุนั้นเกิดจากความหมายของคำว่า “อัตตา” ในภาษาธรรมดา (ordinary language) ในชีวิตประจำวันนั้น มักนิยมใช้กันในความหมายที่ว่า “ยึดมั่น ถือมั่นว่าตนเองว่าดีกว่าคนอื่น” ซึ่งเป็นความหมายที่แตกต่างจากความหมายของคำว่า “อัตตา” ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาไทย<O:p></O:p>


    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพบว่า นักวิชาการคนใดไม่ยอมฟังความคิดเห็นของคนอื่น เชื่ออยู่อย่างเดียวว่าความคิดเห็นของตนเองถูกต้อง นักวิชาการคนดังกล่าวก็อาจจะถูกวิพากษ์ว่า “อัตตาสูง” หรือ “มีอัตตา”<O:p></O:p>


    สำหรับความหมายของคำว่า “อัตตา” ในพระไตรปิฎกภาษาไทยนั้น พุทธวิชาการ/นักปริยัติส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเข้าใจความหมายถูกต้องนัก เพราะ เข้าใจผิดกับประเภทของคำ คำว่า “อัตตา” <O:p></O:p>


    ในพระไตรปิฎกภาษาไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไม่ใช่คำนาม (noun) อย่างที่หลายๆ ท่านเชื่อกันอยู่ ซึ่งความหมายที่ถูกต้อง ผู้เขียนจะกล่าวถึงต่อไปในเนื้อหาของบทความนี้<O:p></O:p>


    ธรรมชาติของการเรียนรู้ในปัจจุบันนั้น คนรุ่นใหม่มักจะได้รับความรู้พื้นฐานหรือส่วนหนึ่งมาจากคนรุ่นเก่ากว่า หรือนักวิชาการรุ่นใหม่ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้จากนักวิชาการรุ่นก่อนหน้า ในการที่จะคิดค้นความรู้ใหม่ๆ ออกมา เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การหาความรู้ในปัจจุบันนั้น เหมือนกับการเล่นต่อภาพจิ๊กซอว์ (Jigsaw)<O:p></O:p>


    เมื่อมีผู้ค้นคว้าความรู้ได้หนึ่งอย่าง ก็จะนำความรู้นั้นมาติดลงไปในแผ่นภาพจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ความรู้ทางวิชาการจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ในงานวิชาการต่างๆ จึงเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะเกิดจากความรู้ของคนใดคนหนึ่ง โดยไม่ได้พึ่งความรู้จากคนอื่นๆ เลย<O:p></O:p>


    เมื่อคิดค้นความรู้ได้แล้ว และนำมาเขียนเผยแพร่ จึงเป็นความธรรมดาอย่างมากที่จะต้องมีการนำ “ความคิด” หรือ “ข้อเขียน” ของบุคคลอื่นๆ นำมาเขียนในหนังสือหรือบทความของเรา<O:p></O:p>


    ในการกระทำอย่างนั้น มารยาท จริยธรรม หรือคุณธรรมที่ต้องกระทำก็คือ การอ้างอิงแหล่งที่มาของ “ความคิด” หรือ “ข้อเขียน” เหล่านั้น<O:p></O:p>


    การอ้างอิงแหล่งที่มา<O:p></O:p>
    การที่จะพิสูจน์คำกล่าวของผู้เขียนที่กล่าวว่า ไม่มีสักครั้งเดียวที่หลวงพ่อวัดปากน้ำจะสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา” นั้น มีหนทางพิสูจน์ได้ 2 หนทาง ดังนี้<O:p></O:p>


    หนทางแรก<O:p></O:p>
    หนทางนี้ค่อนข้างจะยากนิดหนึ่งก็คือ ไปอ่านหนังสือที่หลวงพ่อวัดปากน้ำเขียน และหนังสือคำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่มีคณะลูกศิษย์ถอดเทปและนำมาเผยแพร่ ทั้งหมด หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้<O:p></O:p>


    โดยต้องพยายามอ่านหาให้ได้ว่า มีข้อความที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่า “นิพพานเป็นอัตตา” หรือไม่ ซึ่งวิธีที่หนึ่งนี้ ผู้เขียนทำมาแล้ว ผลก็ปรากฏออกมาว่า ไม่พบหลักฐานในที่ใดๆ ที่เป็นคำสอนหรือคำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่กล่าวว่า “นิพพานเป็นอัตตา” แม้แต่คำสอนที่ว่า “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” ก็ไม่มี<O:p></O:p>


    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านสอนว่า กายโลกีย์เป็นกายอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ส่วนกายโลกุตระเป็นกายนิจจัง สุขัง อัตตา ในประเด็นที่เกี่ยวกับนิพพานนั้น กายธรรมพระอรหัต ซึ่งเป็นกายโลกุตระ จะไปอุบัติอยู่ในนิพพาน <O:p></O:p>


    ดังนั้น จึงมีการตีความคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา ขอให้ไปอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ <O:p></O:p>


    https://sites.google.com/site/manaskomoltha/niphphan<O:p></O:p>


    หนทางที่สอง<O:p></O:p>


    สำหรับหนทางที่สองนี้ ง่ายมากๆ ก็คือ ไปอ่านหนังสือที่พุทธวิชาการ/นักปริยัติที่ชอบนำข้อความว่า นิพพานเป็นอัตตา” มาโจมตีคำสอนของวิชชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำว่า มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่ <O:p></O:p>


    วิธีนี้ที่สองนี้ ผู้เขียนก็ทำมาแล้ว ผลก็ปรากฏออกมาว่า หนังสือทุกเล่มที่โจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ไม่เคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความที่ว่า นิพพานเป็นอัตตา” แม้แต่ครั้งเดียว<O:p></O:p>


    การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ขาดมารยาทในทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง ในกรณีที่เป็นงานวิชาการ เช่น วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกนั้น การกระทำดังกล่าวนี้ถึงกับทำให้ไม่จบการศึกษาเลยทีเดียว<O:p></O:p>


    ในการนำข้อเขียนของผู้อื่นมาเขียนลงในหนังสือของเราเพื่อสนับสนุนความคิด นั้น ในทางปฏิบัติแล้วมีอยู่ 2 วิธีการ คือ หนึ่ง นำเฉพาะความคิดมา และนำมาเขียนด้วยสำนวนภาษาของผู้เขียน <O:p></O:p>


    สอง นำข้อเขียนของต้นฉบับมาทุกตัวอักษร แม้กระทั่งการพิมพ์ผิดก็ต้องนำมาทุกตัวอักษรอย่างผิดๆ แล้วทำเชิงอรรถว่า คำนั้นพิมพ์ผิดนั้น สันนิษฐานว่าเกิดจากกระบวนการพิมพ์เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะใช้แบบที่หนึ่งหรือแบบที่สอง ก็จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาว่า นำมาจากหนังสือเล่มใด หรือการเทศน์ที่ไหน เมื่อไหร่ เป็นต้น<O:p></O:p>


    การที่พุทธวิชาการ/นักปริยัติที่ชอบนำข้อความว่า นิพพานเป็นอัตตา” มาโจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา เป็นการโจมตีแบบลอยๆ ไม่มีหลักฐานทางวิชาการ ก็เป็นเครื่องพิสูจน์หรือหลักฐานสนับสนุนได้เป็นอย่างดีว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำ ไม่เคยสอนว่า “นิพพานเป็นอัตตา”<O:p></O:p>


    การกระทำดังกล่าวนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่า พุทธวิชาการ/นักปริยัติเหล่านั้นขาดมารยาททางวิชาการที่ควรจะเป็น แต่อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า ผู้ที่สนใจในประเด็นที่เกี่ยวกับนิพพานนั้นมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้ไม่รู้จริงๆ และกลุ่มผู้แกล้งไม่รู้<O:p></O:p>


    ******************************<O:p></O:p>

     
  16. ธงสามสี

    ธงสามสี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2011
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +72
    “นิพพานเป็นอัตตา” ไม่รู้จริงหรือ!![2]



    ในท้ายบทความที่แล้ว ผมได้สรุปไปว่า พวกที่ชอบโจมตีว่า นิพพานเป็นอัตตา” นั้น บางคนก็รู้ว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้สอนอย่างนั้น บางคนก็ไม่รู้จริงๆ


    ไม่รู้จริงหรือแกล้งไม่รู้<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ผู้ที่สนใจประเด็นเกี่ยวกับนิพพานตามคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น อาจจะแบ่งอย่างคร่าวๆ ได้เป็น 2 กลุ่มคือ <O:p></O:p>


    กลุ่มผู้ไม่รู้จริงๆ ว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่เคยสอนทั้งข้อความว่า “นิพพานเป็นอัตตา” กับ “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” แต่คำสอนเรื่องพระไตรลักษณ์กับเรื่องนิพพานของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความไปเช่นนั้นได้ <O:p></O:p>


    เพราะ อ่านหนังสือทีไรก็เจอแต่หนังสือที่กล่าวว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่า นิพพานเป็นอัตตากล่าวคือ กลุ่มนี้ไม่ได้อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง<O:p></O:p>


    ถ้ามีคนถามว่า จะเป็นได้หรือที่นักวิชาการจะไม่รู้ว่า คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความได้ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” เท่านั้น หลวงพ่อไม่เคยสอนอย่างนี้ คิดได้แต่ว่าหลวงพ่อสอนว่า “นิพพานเป็นอัตตา” ตามหนังสือหลายๆ เล่ม<O:p></O:p>


    ผู้เขียนขอยืนยันว่าเป็นไปได้ เพราะ นักวิชาการที่สนใจประเด็นเรื่องนิพพานนั้น ไม่ใช่มีเพียงนักวิชาการที่เกี่ยวกับศาสนาเท่านั้น ยังมีนักวิชาการที่ข้ามสาขามาจากสาขาอื่นๆ เช่น แพทย์ นักเศรษฐศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ หรือนักสังคมวิทยา เป็นต้น<O:p></O:p>


    นักวิชาการเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไม่มีเวลามีศึกษาค้นคว้าลึกลงไปในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ เมื่อพบว่า มีหนังสือหรือบทความวิชาการที่คนเขียนมีความน่าเชื่อถือ มีคุณวุฒิก็จะเชื่อกันตามๆ ไป <O:p></O:p>


    เมื่อพบข้อความโจมตีหลวงพ่อวัดปากน้ำแบบผิดๆ ว่า นิพพานเป็นอัตตา” หลายเล่ม หลายแห่งเข้า ก็จึงมีความเชื่อไปเช่นนั้น<O:p></O:p>


    สำหรับกลุ่มที่สองนั้น รู้ว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำสอนไม่เคยสอนว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาและไม่เคยสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา” คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความได้ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” เท่านั้น<O:p></O:p>


    แต่ถ้าเขียนไปตรงๆ เช่นนั้น ก็หาหนทางโจมตีหลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ได้ เพราะ ข้อเขียนดังกล่าวนั้นถูกต้องตามพระไตรปิฎกทุกประการ จึงจำเป็นจะต้องตีความให้ผิดเข้าไว้ โดยตัดเอาคำว่า “นิจจัง/สุขัง” ออกไปให้เหลือเพียงว่า นิพพานเป็นอัตตา<O:p></O:p>


    ที่สำคัญไปยิ่งกว่านั้นก็คือ มีการเปลี่ยนแปลงความหมายคำว่า “อัตตา” ของหลวงพ่อวัดปากน้ำอีกด้วย<O:p></O:p>


    “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขขัง/อัตตา” ถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎกแล้ว<O:p></O:p>


    ในทางภาษาศาสตร์นั้น เมื่อจะศึกษาข้อความใดจะต้องพิจารณาศึกษาทั้งตัวบท/ข้อความ (text) และสถานการณ์ในการใช้ภาษาในช่วงที่กล่าวหรือเขียนข้อความนั้นหรือบริบท (context) ของข้อความนั้นๆ ด้วย<O:p></O:p>


    เฉพาะส่วนที่เป็นตัวบท/ข้อความ (text) นั้น นักภาษาศาสตร์จะต้องรู้และเข้าใจให้ได้ก่อนว่า คำแต่ละคำเป็นประเภทอะไร กล่าวคือ คำนาม กริยา วิเศษณ์ (adverb) หรือคุณศัพท์ (adjective) เป็นต้น<O:p></O:p>
    ประเภทของคำว่า “อัตตา”<O:p></O:p>


    คำว่า อัตตา” ในภาษาบาลีนั้น เมื่อเข้ามาอยู่ในภาษาไทย มี 2 ลักษณะ คือ<O:p></O:p>


    1) แปลมาเป็นภาษาไทย คือ แปลเป็นคำว่า “ตน” หรือ “ตัวตน”<O:p></O:p>


    2) ใช้การทับศัพท์ ก็เขียนเป็นภาษาไทยว่า “อัตตา”<O:p></O:p>


    ตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมนิดหนึ่งว่า ภาษาบาลีที่เข้ามาในภาษาไทยนั้น มาแต่ “เสียง” ตัวอักษรที่สังคมไทยใช้เขียนแทนเสียงบาลีที่ว่านั้น มีหลายรูปแบบ<O:p></O:p>


    พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ก็จะเขียนดังนี้ “อตฺตา” อย่าไปเข้าใจผิดว่า อ อ่าง ต เต่า สระอานั้น เป็นภาษาบาลีนะครับ เป็นตัวอักษรไทย<O:p></O:p>


    ตกลง “เสียง” ของภาษาบาลีที่ว่าอัตตานั้น ในภาษาไทยมี 2 คำคือตน/ตัวตน และอัตตา<O:p></O:p>


    ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นดังนี้<O:p></O:p>


    หลักฐานประการที่ 1<O:p></O:p>
    ผู้เขียนขอยกหลักฐานจากอนัตตลักขณสูตร แต่เพียงบางส่วนสั้นๆ ดังนี้<O:p></O:p>


    [20] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว ......<O:p></O:p>
    [21] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?<O:p></O:p>
    พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.<O:p></O:p>
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?<O:p></O:p>
    ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.<O:p></O:p>
    ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?...<O:p></O:p>


    ผู้เขียนขีดเส้นใต้และทำตัวหนาไว้ จำนวน 3 ข้อความคือ<O:p></O:p>
    รูปเป็นอนัตตา<O:p></O:p>
    ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตา<O:p></O:p>
    นั่นเป็นตนของเรา?...<O:p></O:p>


    ตรงนี้เป็นที่น่าตั้งข้อสงสัยว่า คำในภาษาบาลีคำเดียวกัน คือ อัตตา ทำไมต้องใช้ภาษาไทยถึง 2 คำในถ่ายทอดความหมายจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย<O:p></O:p>


    ลักษณะทางภาษาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การประหยัด ในทางภาษาศาสตร์จึงไม่มีคำซ้ำซ้อน ประเภทที่ว่า คำ 2 คำ สามารถใช้แทนที่กันได้ทุกตำแหน่ง คำ 2 คำไม่ว่าจะมีความหมายคล้ายกันเพียงใดก็ตาม ไม่สามารถจะใช้แทนที่กันได้ทุกตำแหน่ง<O:p></O:p>


    คำ 2 คำที่นักภาษาศาสตร์มักจะได้เรียน เมื่อศึกษาถึงตอนนี้ก็คือ ปิ้งกับย่าง คำ 2 คำนี้ หาความแตกต่างกันได้ยากเหลือเกิน ส่วนใหญ่จะใช้แทนกันได้เกือบทุกตำแหน่ง<O:p></O:p>


    ดังนั้น คำว่า อัตตา กับ ตน/ตัวตน ในภาษาไทยนั้น น่าจะเป็นคำคนละประเภทกัน อันที่จริงในภาษาบาลีก็ต้องเป็นคำคนละประเภทกันด้วย แต่เขียนเหมือนกัน<O:p></O:p>


    ตรงนี้ก็ยกตัวอย่างภาษาอังกฤษจะเข้าใจง่าย (ผู้เขียนนึกออกแต่คำภาษาอังกฤษ) คือ คำว่า water คำว่า water ถ้าเป็นคำนามก็แปลว่า “น้ำ” ถ้าเป็นคำกริยาก็ต้องแปลว่า “รดน้ำ”<O:p></O:p>


    แล้วคำว่า “อัตตา” กับ “ตน” ของภาษาไทยเป็นคำอะไร<O:p></O:p>


    นักภาษาศาสตร์ เขาดูโครงสร้างประโยคกันก่อน โครงสร้างประโยคแบบนี้คือ<O:p></O:p>


    ประธาน + เป็น + กรรม<O:p></O:p>


    โครงสร้างประโยคที่ประธาน มีกริยา “เป็น” และมีกรรมนั้น กรรมสามารถเป็นได้ 2 ประเภทคือ นามกับ คุณศัพท์ (adjective)<O:p></O:p>


    เมื่อพิจารณาจากพระสูตรดังกล่าวแล้ว สรุปได้ว่า ผู้ที่แปลภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทยนั้น แปลเป็นคำว่า “อัตตา” ที่เป็นคำนามในภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทยว่า “ตน” หรือ “ตัวตน” แต่จะใช้การทับศัพท์ ถ้าคำว่า “อัตตา” ในภาษาบาลีเป็นคำคุณศัพท์ (adjective)<O:p></O:p>


    เมื่อคำว่า “อัตตา” เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) แล้ว คำว่า “อนัตตา” ที่ผมเน้นด้วย ในการยกตัวอย่างที่ผ่านมา ก็เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ด้วย<O:p></O:p>


    หลักฐานประการที่ 2<O:p></O:p>


    คำว่า “อนัตตา” นั้น ถ้าเป็นคำนามแล้ว นิยมจะเขียนดังนี้ “อนัตตตา” คำว่า “อัตตา” นั้น ถ้าเป็นคำนามแล้ว นิยมจะเขียนดังนี้ “อัตตตา”<O:p></O:p>


    เป็นที่น่าแปลกใจว่า พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่ได้เก็บความหมายของคำว่า “อัตตา” ในกรณีที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไว้ ในการหาความหมายของคำว่า “อัตตา” ผู้เขียนจึงต้องไปหาหลักฐานมาจากแหล่งอื่นๆ<O:p></O:p>


    ******************************<O:p></O:p>
     
  17. ธงสามสี

    ธงสามสี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2011
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +72
    <!-- google_ad_section_start(name=default) -->“นิพพานเป็นอัตตา” ไม่รู้จริงหรือ!![3]




    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่ได้เก็บความหมายของคำว่า “อัตตา” ในกรณีที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไว้ ในการหาความหมายของคำว่า “อัตตา” ผู้เขียนจึงต้องไปหาหลักฐานมาจากแหล่งอื่นๆ

    ความหมายของคำว่า “อัตตา”
    จากข้อความของอนัตตลักขณสูตรที่กล่าวมาข้างต้นว่า “ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว


    โครงสร้างประโยคแบบนี้ แสดงให้เห็นว่า อนัตตากับอัตตาเป็นคำประเภทเดียวกัน คือ ถ้าเป็นคำนามก็ต้องเป็นคำนามด้วยกัน ในกรณีนี้เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ก็เป็นคำคุณศัพท์ด้วยกัน และความหมายต้องตรงกันข้ามกันด้วย


    จากบริบท (context) การใช้คำ “อนัตตา” ของพระพุทธเจ้า พุทธเถรวาททั่วไปเข้าใจกันดีว่า คำว่า “อนัตตา” นั้น พระพุทธองค์ท่านกำหนดมาให้ตรงกันข้ามกับคำว่า “อัตตา” ของความเชื่อของศาสนาพราหมณ์/ฮินดูในสมัยนั้น


    ดังนั้นจึงเป็นหลักฐานอีกประการหนึ่ง ซึ่งพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่า อนัตตากับอัตตาเป็นคำประเภทเดียวกันและความหมายตรงข้ามกันด้วย


    คำว่า อนัตตา” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเก็บความหมายไว้ว่า “ว. ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน” และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเก็บความหมายของคำว่า อัต- ไว้ว่า “น. ตน, ตัวเอง


    ส่วนคำว่า อัตตา เก็บความหมายไว้ว่า น. ตน


    ความหมายของพจนานุกรรมดังกล่าวไม่สามารถให้ความหมายที่ถูกต้องของทั้งคำ ว่า อนัตตา” และ “อัตตา” ได้เลย กล่าวคือ กำหนดว่า “อัตตา” เป็นคำนามแปลว่า “ตน” แต่ไม่ได้กำหนดความหมายของคำว่า “อัตตา” ที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไว้


    พอมาถึงคำว่า “อนัตตา” เก็บแต่ความหมายของคุณศัพท์ (adjective) ซึ่งแปลแบบกำปั้นทุบดินให้ตรงข้ามกับความหมายของคำว่า “อัตตา” ซึ่งเป็นคำนาม คือ แปลว่า “ไม่ใช่ตน” ซึ่งไม่ควรจะไปแปลเช่นนั้น เพราะ เป็นคำคนละประเภทกัน


    โดยสรุป ความหมายของคำว่า อัตตา”, “อนัตตา” ทั้งคำคุณศัพท์ (adjective) และคำนาม พึ่งพาพจนานุกรมไม่ได้ ต้องไปหาจากแหล่งอื่นอีกเช่นกัน


    เพื่อไม่ให้บทความชิ้นนี้ยืดยาวจนเกินไปนัก ผู้เขียนขอสรุปสั้นว่า อนัตตานั้น หลายๆ ท่านให้ความหมายว่า “แปรปรวน” ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า คำว่า “อัตตา” นั้นควรแปลว่า “คงที่”


    ความหมายของข้อความที่ว่าคำว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขขัง/อัตตา
    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า คำว่า นิจจัง/สุขัง/อัตตา เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ซึ่งหน้าที่ของคำคุณศัพท์มี 2 ประการ แล้วแต่ตำแหน่งที่อยู่ในประโยค


    ถ้าอยู่ติดกับคำนามก็ทำหน้าที่ขยายนาม แต่ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่เป็นกรรม ตามหลังกริยา เป็น” ก็ทำหน้าที่บรรยายสภาพของประธาน


    ความหมายของคำว่า นิจจัง/สุขขัง ไม่มีปัญหาในการถกเถียงกันครั้งนี้ คือ ไม่มีพุทธเถรวาทถกเถียงหรือโต้แย้งกันว่า นิพพานเป็นเที่ยงหรือนิพพานเป็นสุข ทุกคนยอมรับในประเด็นนี้


    ดังนั้นข้อความที่ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขขัง/อัตตา” ก็ควรจะแปลได้ว่า “นิพพานนั้นเที่ยง/เป็นสุข/คงที่” ซึ่งก็จะถูกต้องตามหลักคำสอนของพุทธเถรวาททุกประการ เนื่องจากมีพระสูตรของพระไตรปิฎกเป็นจำนวนมากที่ยันยืนว่า นิพพานมีจริง


    ความหมายที่ว่า นิพพานเที่ยง และนิพพานเป็นสุข ก็เป็นหลักฐานยืนยันได้เป็นอย่างดีอยู่แล้วว่า นิพพานมีจริง ถ้านิพพานไม่มีจะมีความสุขและความเที่ยงได้อย่างไร


    ผู้เขียนขอย้ำหลักวิชาการอีกประการหนึ่งซึ่งสำคัญมาก ผู้ที่สนใจในประเด็นนี้เข้าใจผิดกันมากก็คือ ในทางวิชาการนั้น ถึงแม้ว่าจะมีนักวิชาการคนหนึ่งคนใด หรือ ใครก็ตามใช้คำในพระไตรปิฎกในความหมาย ที่ไม่เหมือนนักวิชาการคนอื่นๆ เขา แต่ใช้ไปตามความต้องการของตน ในการวิเคราะห์ข้อเขียนของท่านเหล่านั้น ก็ต้องยึดความหมายของท่านผู้นั้นมาวิเคราะห์


    ไม่ใช่เอาความหมายของผู้วิเคราะห์คิดเอาไปใส่แทน แล้ววิเคราะห์ มันไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ยกตัวอย่างเช่น พระโพธิรักษ์แห่งสันติอโศก เป็นต้น


    พระโพธิรักษ์นั้นขึ้นชื่อในเรื่องที่ใช้ “คำ” ในพระไตรปิฎกไปตามความหมายที่ท่านต้องการ โดยที่ไม่คำนึงถึงความหมายที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน


    ในการวิเคราะห์ข้อเขียนของพระโพธิรักษ์นั้น ก็ต้องยึดความหมายของท่านไว้ก่อน การที่จะนำคำหรือข้อเขียนของพระโพธิรักษ์มาแปลให้ตรงตามคนส่วนใหญ่ใช้ แล้วไป วิเคราะห์นั้น ผิดหลักวิชาการเป็นอย่างยิ่ง


    ในกรณีของหลวงพ่อวัดปากน้ำก็เช่นเดียวกัน ประการสำคัญเลย ก็ต้องหาความหมายของคำว่า อัตตา” ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้ ถึงแม้ว่า มันจะแตกต่างจากคนอื่นใช้ก็ตาม ก็ต้องวิเคราะห์ไปตามนั้นก่อน


    สำหรับ ความหมายของคำว่า อัตตา” ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำต้องการสื่อสารไปให้คนฟังนั้น อธิบายให้เห็นภาพพจน์เลย ต้องขอยืมหลักการของทางคณิตศาสตร์ กล่าวคือ ในความหมายของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น


    นิจจัง = สุขัง = อัตตา


    ในความเป็นจริงแล้ว คำอธิบายที่ว่า "นิจจัง = สุขัง = อัตตา" ยังไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงนัก เป็นเพียงคำอธิบายให้เห็นภาพพจน์เท่านั้น ความหมายของนิจจัง/สุขัง/อัตตาเป็นความหมายเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน แต่แยกอธิบายออกเพื่อให้เข้าใจ


    ถ้าบอกว่า "สิ่ง" หนึ่งเป็นนิจจัง โดยไม่ได้บอกว่าเป็นสุขัง/อัตตา ด้วย ก็พึงโปรดรู้ด้วยว่า "สิ่ง" นั้นเป็น "นิจจัง/สุขัง/อัตตา" ไปโดยอัตโนมัติ


    โดยสรุปอย่างสั้นๆ


    ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "นิจจัง" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น สุขัง/อัตตา เป็นโดยอัตโนมัติ
    ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "สุขัง" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น นิจจัง/อัตตา เป็นโดยอัตโนมัติ
    ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "อัตตา" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น นิจจัง/สุขัง เป็นโดยอัตโนมัติ


    เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้


    ในทางพุทธเถรวาท ทุกคนเข้าใจดีว่า นิพพานในศาสนาของพระสมณโคดมหรือพระพุทธเจ้าของเรานี้ มีนิพพานเดียว ดังนั้น ข้อความที่ว่า “นิจจัง/สุขัง/อัตตา” จึงเป็นการอธิบาย "สิ่ง" เดียว ไม่ใช่อธิบาย "สิ่ง" จำนวน 3 ชิ้น กล่าวคือ ถ้ามีนิพพาน 3 แห่ง


    นิพพานแห่งหนึ่งเป็น "นิจจัง" นิพพานแห่งหนึ่งเป็น "สุขัง" นิพพานแห่งหนึ่งเป็น “อัตตา” ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เราอาจจะตีความไปได้ว่า นิจจัง/สุขัง/อัตตา มีความแตกต่างกันในทางความหมาย


    สำหรับปัญหาที่ว่า ทำไมพระพุทธองค์ต้องทรงอธิบายหรือบรรยายสภาพของนิพพานเป็น 3 คำด้วย คำตอบสำหรับปัญหาที่ว่าก็คือ มาจากธรรมชาติ 2 ประการคือ ธรรมชาติของพุทธศาสนิกชนและธรรมชาติของภาษา


    ธรรมชาติของพุทธศาสนิกชนนั้น ต้องยอมรับว่า มีหลายระดับหลายความคิดหลายความรู้หลายบารมี การแยกแยะอธิบายให้เห็นชัดเจนในทุกแง่ทุกมุมจะทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจพุทธ ธรรมได้ดีและง่าย


    บางสิ่งบางอย่างถ้าจะใช้คำว่า “นิจจังหรืออนิจจัง” อธิบายให้เห็นสภาพอาจจะง่ายกว่าคำว่าทุกขัง/สุขขัง หรืออนัตตา/อัตตา เป็นต้น


    สำหรับธรรมชาติของภาษาก็คือ ในการรับรู้อายตนะภายนอก พุทธศาสนิกชนสามารถรับรู้ได้พร้อมๆ กัน ทั้ง หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ แต่เมื่อต้องการจะสื่อสารออกไป เนื่องจากมนุษย์มีเพียง “ปาก” เดียวเท่านั้น


    ธรรมชาติของภาษาจึงต้องสามารถพูดออกมาได้ทีละเรื่องๆ ไป ไม่สามารถพูดได้ทีละหลายๆ เรื่อง


    สมมุติว่า เราเกลียดคนๆ หนึ่งที่มีความเลวมากๆ อย่างเช่น นักการเมืองในอดีตหลายๆ ท่าน ในกรณีเช่นนี้ ถ้าเราต้องการบรรยายความเลวของนักการเมืองเลวๆ ดังกล่าว ไม่ว่าจะมีความเลวทรามมากเท่าใดก็ตาม เราก็จะทำได้แต่เพียงบรรยายมาทีละเรื่องเท่านั้น


    จบเรื่องนี้จึงไปเรื่องอื่นๆ ต่อไป ก็เพราะ ธรรมชาติของภาษาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น


    ถ้ามีคนจะตั้งคำถามขึ้นว่า ในกรณีที่ทศกัณฐ์มีจริงๆ ท่านมีสิบปาก ท่านสามารถจะพูดทีละสิบปากเลย ดังนั้น ทศกัณฐ์น่าจะบรรยายความเลวของนักการเมืองได้ทีละสิบเรื่องด้วยกัน


    ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องขอบอกว่า ทศกัณฐ์ก็ต้องบรรยายทีละปากทีละเรื่องอยู่ดี เพราะ ผู้ฟังมีแค่ 2 หูเท่านั้น ไม่สามารถจะฟังทีละหลายเรื่องหรือทีละหลายปากได้


    โดยสรุป
    ความหมายของข้อความที่ว่า “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎกดีแล้ว ทำไมจึงต้องการการตัดคำว่า “นิจจัง/สุขัง” ออกไป แล้วโจมตีว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่า “นิพพานเป็นอัตตา”




    ******************************
     
  18. ธงสามสี

    ธงสามสี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2011
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +72
    <!-- google_ad_section_start(name=default) -->"นิพพานเป็นอัตตา" ไม่รู้จริงหรือ!![4]




    ทำไมต้องนิพพานเป็นอัตตา


    ธรรมชาติของการเรียนรู้ประการหนึ่งที่นักวิชาการปัจจุบันเข้าใจกันดีก็คือ นักวิชาการในยุคใดยุคหนึ่งส่วนใหญ่จะถูกบริบททางสังคมในช่วงขณะนั้นครอบงำ อยู่เสมอๆ


    การที่นักวิชาการคนใดคนหนึ่งจะ “แหวก” วงล้อมที่ครอบงำอยู่ในยุคนั้นได้ และสามารถทำให้คนส่วนใหญ่หันมาเชื่อตาม ส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาที่นานมากพอควร ในภาษาทางวิชาการเรียกสภาพการณ์นี้ว่า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (paradigm shift)


    ตัวอย่าง
    ในยุโรปสมัยหนึ่งเชื่อว่า โลกแบน เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า โลกกลมและพยายามจะเผยแพร่ความรู้นั้นออกไป ก็ถูกผู้นำทางศาสนาคริสต์ในยุคนั้น ฆ่าตายไปหลายคน กว่าคนส่วนใหญ่ในโลกจะเห็นมาเชื่อว่าโลกกลมก็ต้องใช้เวลานาน หรือในกรณีที่ไอสไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relative theory) กว่าที่จะมีคนยอมรับว่าทฤษฎีของเขาถูกต้องก็ต้องใช้เวลาเป็นสิบปีทีเดียว


    พุทธวิชาการ/นักปริยัติปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ตกอยู่ในภายอิทธิพลของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนของนิ วตัน กาลิเลโอและเดส์คาร์ต เมื่อไอสไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relative theory) แล้ว


    นักวิชาการได้กำหนดนับเป็นยุคของฟิสิกส์ใหม่ ซึ่งองค์ความรู้ (body of knowledge) ของฟิสิกส์ใหม่นั้นแตกต่างไปจากองค์ความรู้ (body of knowledge) ของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนแบบหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว


    วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนนั้น จะเชื่อว่าอะไรมีจริงหรือเป็นความจริงก็ต้องสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เท่านั้น คือ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย นักวิทยาศาสตร์ของวิทยาศาสตร์แบบเก่าจึงไม่เชื่อเรื่อง นรก-สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด อิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า ฯลฯ


    พวกนี้จะถือว่าสิ่งเหล่านี้ในพระไตรปิฎกเป็นมายาคติ (myth) หรือความไม่จริงทั้งสิ้น ซึ่งถ้าอ่านหนังสือ/บทความของกลุ่มพุทธวิชาการ/นักปริยัติจะเห็นร่องรอย อิทธิพลของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนอย่างเห็นได้ชัดเจน


    พุทธวิชาการ/นักปริยัติเหล่านี้ อาจจะแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกประกาศตัวออกมาว่า นำเอาวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนมาศึกษาศาสนาพุทธอย่างเปิดเผย ด้วยคิดว่า วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนเป็นความจริงที่สุดแล้ว เป็นความจริงยิ่งกว่าศาสนาพุทธ


    ตัวอย่างของพุทธวิชาการ/นักปริยัติกลุ่มนี้ก็เช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ หรือคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นต้น


    อีกกลุ่มหนึ่ง ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนเช่นเดียวกัน แต่ไม่ยอมเปิดเผยว่า ตนเองถูกครอบงำ แต่มักจะวิพากษ์วิจารณ์ว่า วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนไม่จริง ไม่ดีเท่าศาสนาพุทธ แต่ถ้าศึกษาหนังสือ/บทความอย่างจริงจังและจะพบร่องรอยอิทธิพลของวิทยาศาสตร์ เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนครอบงำอยู่อย่างชัดเจน


    ข้อเขียนของบุคคลกลุ่มนี้จะมีว่า นรก-สวรรค์ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ชอบอธิบายหลักธรรมของศาสนาพุทธที่สำคัญ เช่น ปฏิจจสมุปบาท เรื่องของกรรมเป็นต้น ในลักษณะที่เป็นชาติเดียว เพราะลึกๆ แล้ว พุทธวิชาการ/นักปริยัติเหล่านี้ เชื่อว่า ตายแล้วเกิดเพียงชาติเดียวเท่านั้นตามความเชื่อของวิทยาศาสตร์เก่าแบบ กลไก/แยกส่วน/ลดทอน


    เมื่อเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนตายแล้วเกิดเพียงชาติเดียว ดังนั้น สวรรค์ พรหม อรูปพรหม รวมถึงนิพพานก็ต้องไม่มี


    การที่จะเสนอความคิดความเชื่อของตนเองที่ตกอยู่ในอิทธิพลของวิทยาศาสตร์เก่า แบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนว่าสวรรค์ พรหม อรูปพรหม รวมถึงนิพพานไม่มีจริงๆ นั้น ไม่ต้องไปโจมตีทั้งหมด แค่โจมตีว่า นิพพานไม่มีก็สำเร็จ


    การที่จะโน้มน้าว (persuade) ให้ผู้คนหลงเชื่อตาม พุทธวิชาการ/นักปริยัติเหล่านี้ จึงชูประเด็นขึ้นมาว่า “นิพพานเป็นอนัตตา”


    เมื่อชูประเด็นดังกล่าวขึ้นมาแล้ว แต่เมื่อมีพุทธเถรวาทเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ พุทธปฏิบัติธรรมทุกสายไม่ว่าจะเป็นสายนะมะพะทะ สายพุทโธ สายยุบหนอพองหนอ และสายวิชชาธรรมกายต่างก็มีความเชื่อว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตาทั้งนั้น ถ้าไม่มีความเชื่อดังกล่าวแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติธรรมเพื่อสร้างบารมีกันไปทำไม


    ทำไมจะต้องโจมตีหลวงพ่อวัดปากน้ำและวิชชาธรรมกายด้วย?


    ต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่งว่า ในปัจจุบันนี้สายปฏิบัติธรรมนั้น สายวิชชาธรรมกายมาแรงสุดๆ ในขณะที่หลวงพ่อวัดปากน้ำมีชีวิตอยู่นั้น ก็สามารถเผยแพร่วิชชาธรรมกายได้อย่างกว้างขวางแล้ว แต่เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำมรณภาพไปแล้ว วิชชาธรรมกายกลับไม่ตกต่ำไปเช่นเดียวกับสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ หรือเกจิอาจารย์อื่นๆ


    คณะลูกศิษย์ต่างแตกแยกกลุ่มกันออกไป และสามารถเผยแพร่วิชชาธรรมกายไปได้มากกว่าสมัยที่หลวงพ่อวัดปากนำยังมีชีวิต อยู่เสียอีก ดังนั้น ถ้าสามารถโจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ ก็สามารถเอาชนะสายปฏิบัติธรรมอื่นๆ ไปได้ด้วยปริยาย


    นี่คือคำตอบที่ว่า ทำไมจะต้องมีการโจมตีคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำด้วย


    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำสามารถตีความไปได้ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” เมื่อจะโจมตีกัน ถ้ายกข้อความมาเต็มๆ ก็ไม่สามารถจะโจมตีได้


    ดังนั้น จึงเป็นคำตอบที่ว่า นิจจัง/สุขัง” จึงหายไป เหลือแต่เพียง “นิพพานเป็นอัตตา” และเป็นคำตอบอีกที่ว่า ทำไมจึงเป็นการโจมตีลอยๆ ไม่มีการอ้างอิงแบบหลักวิชาการ เพราะ ไม่รู้จะหาที่อ้างอิงมาจากไหน


    ทำไมคนถึงเชื่อว่า “นิพพานเป็นอัตตา” ไม่ถูกต้อง
    ถ้ามีคนถามว่า ถ้าจะกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า นิพพานเป็นอัตตา” แค่นี้ แล้วหมายถึงว่า “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” ได้ไหม


    คำตอบก็คือ ถ้าเป็นนักภาษาศาสตร์หรือเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในเรื่องภาษาค่อนข้างดี และศึกษาแบบไม่มีอคติแล้วก็สามารถกล่าวได้ว่า ความหมายน่าจะไม่แตกต่างกัน เพราะผู้พูดต้องการที่จะพูดอย่างสั้นๆ แต่ในปัจจุบันนี้ พุทธวิชาการ/นักปริยัติได้พยายามเผยแพร่องค์ความรู้ที่ไม่ถูกต้องว่า นิพพานเป็นอนัตตา” อยู่เป็นประจำ


    ประการสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ คำว่า “อัตตา” ที่ใช้กันอยู่ชีวิตประจำวันนั้น ใช้กันในความหมายว่า “ถือตัวถือตัวตน” หรือ “ยึดมั่น ถือมั่นว่าตนเองว่าดีกว่าคนอื่น” เป็นต้น


    จึงทำให้คนส่วนหนึ่งหลงเชื่อไปว่า ถ้ามีใครสอนว่า “นิพพานเป็นอัตตา” คำสอนดังกล่าวนั้น ไม่ถูกต้อง


    สรุป


    หลวงพ่อวัดปากน้ำไม่เคยสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา” และไม่เคยว่าสอนว่า “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” แต่คำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำในหลายๆ แห่งเมื่อนำมารวมกัน สามารถตีความหมายได้ว่า “นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” ความหมายก็คือ นิพพานมีสภาพที่เที่ยง เป็นสุข และคงที่ซึ่งถูกต้องตามพระไตรปิฎกเถรวาทแล้ว


    ในการโจมตีคำสอน ของหลวงพ่อวัดปากน้ำว่า นิพพานเป็นอัตตา” จึงไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความดังกล่าวแม้แต่ครั้งเดียว เพราะไม่รู้จะไปอ้างอิงมาจากไหน


    กลุ่มคนที่เชื่อว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนว่านิพพานเป็นอัตตามีทั้งคนที่ไม่รู้จริงๆ เนื่องจากไม่มีโอกาสได้อ่านหนังสือสายวิชาธรรมกายอย่างจริงจัง หรืออาจจะเป็นนักวิชาการสาขาอื่น ที่สนใจเรื่องนิพพานด้วย


    อีกกลุ่มนั้น แกล้งไม่รู้ เพราะ ตกอยู่ใต้อิทธิพลของวิทยาศาสตร์แบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน ที่เชื่อมนุษย์ตายแล้วเกิดเพียงชาติเดียวเท่านั้น นรก สวรรค์ พรหม อรูปพรหม นิพพาน ไม่มีทั้งสิ้น


    พุทธวิชาการ/นักปริยัติกลุ่มนี้จึงชูประเด็นที่ไม่ถูกต้องออกมาว่า นิพพานเป็นอนัตตา


    เมื่อมีคำสอนของสายวิชาธรรมกายสามารถตีความไปได้ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา” จึงต้องออกมาโจมตีแบบไม่มีมารยาททางวิชาการคือ ตัดเอาคำว่า “นิจจัง/สุขขัง” ออกไป ให้เหลือแต่เพียง “นิพพานเป็นอัตตา


    แล้วไปนำความหมายของคำว่า “อัตตา” ที่ใช้ในการภาษาไทยประจำวัน ซึ่งมีความหมายในทำนองยึดมั่นถือมั่น นำเข้าไปใส่แทน เพื่อให้ผู้คนเข้าใจคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำผิดไปจากความจริง


    กรรมนั้นเกิดจากเจตนา ผลกรรมของพุทธวิชาการ/นักปริยัติกลุ่มแกล้งไม่รู้นั้น ผู้เขียนไม่สามารถจะบรรยายได้เลยว่า จะรับทุกข์ทรมานขนาดไหน เพราะ โดยเนื้อของวิชชาธรรมกายนั้น สามารถสอนให้นักเรียน/นักศึกษา เห็น” ดวงธรรม เห็นกายธรรมในตนเองอย่างแจ่มชัดได้เป็นแสนๆ คนไปแล้ว ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดี


    การสอนให้นักเรียน/นักศึกษา “เห็น” ดวงธรรม เห็นกายธรรมในตนได้ ผู้เขียนยังไม่เห็นผลเสียจากการสอนแม้แต่เพียงประการเดียว


    ถ้าพูดในแง่ของการสอนตามหลักวิชาการปัจจุบันก็เป็นการสอนให้เด็กมีจินตนาการ สร้างเป็นภาพได้ การที่นักเรียน/นักศึกษาสามารถคิดเป็นภาพได้นั้น เป็นการสอนที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพมันสมองของนักเรียน/นักศึกษาได้เป็น อย่างดี


    เมื่อพิจารณาตามหลักของพุทธเถรวาทแล้ว การที่เด็ก เห็น” พระในท้องก็คือ เด็กมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ตามพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม


    การเห็นดังกล่าวนั้นเป็นเพียงวิชชาเบื้องต้นเท่านั้น สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า วิชชาธรรมกายถูกต้องตรงตามพระไตรปิฎกทุกประการ


    การโจมตีสิ่งที่ดีที่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งไม่ดี ไม่ถูกต้องโดยเจตนาร้าย ผลของกรรมของก็จะร้ายแรงไปด้วยเป็นเท่าทวีคูณ


    ***********************************
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ....ถะ ถะ ถะ ถะ ถู ถู ถูก ต้อง คระ คระ คร้าบบบบ!!!!!:cool:
     
  20. วิถีคนจร

    วิถีคนจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    696
    ค่าพลัง:
    +226
    เราไม่ได้มาตั้งคำถามใคร เราไม่ได้ชี้ใครยังไงอย่างนั้นอย่างนี้ พิจรณาเอาเอง
    ธรรมมะคือธรรมมะ ธรรมมะคือธรรมชาติ รูปแบบใดตรงจริตแล้วน่าพาหลุดพ้นปฏิบัติไปเถิด รูปแบบใดตรงจริตแล้วน่าพาไปพุทธภูมิปฏิบัติไปเถิด
    แค่เอาคำเทศน์สอนของพระอาจารย์มาให้พิจรณาสดับรับฟังกันครับ
    พอดีฟังแล้วคิดว่ามีประโยชน์แค่นั้น

    ส่วนกระทู้ ในหลุมดำขอพักไว้ก่อนครับ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...