ปิดรับบริจาค กฐินแสนกอง ปี 2554 ปีที่ 6

ในห้อง 'ในนามเว็บพลังจิต' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 14 กันยายน 2011.

  1. Miss Brown

    Miss Brown เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,779
    ค่าพลัง:
    +19,376
    วันนี้ร่วมบุญกฐินแสนกองไป ๑๘๐ นะคะ
    โอนเข้า SCB ค่ะ

    สาธุ สาธุ ขอโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะคะ
    และขอขอบคุณคุณวีระชัยที่นำบุญดี ๆ มาให้ร่วมบุญค่ะ สาธุ สาธุ
     
  2. hamstertaro

    hamstertaro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +406
    ร่วมบุญ 100 บาท ธนาคารกรุงเทพ 21-09-11 เวลา 19:49 ครับ
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    หน้าที่พุทธบริษัท ๔

    ๑. พุทธบริษัท ๔ ต้องเป็นผู้รู้ เข้าใจ และสามารถปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง ตามพระพุทธธรรมคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (พระพุทธพจน์ พระไตรปิฎก ปริยัติ)

    ๒. พุทธบริษัท ๔ ต้องสามารถ แนะนำ สั่งสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

    ๓. เมื่อมีผู้ใดกล่าว ติเตียน จ้วงจาบ แสดงคำสอน ผิดพลาด พุทธบริษัท ๔ ต้องสามารถ ชี้แจง แก้ไข ให้ถูกต้อง ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

    ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระยามาราธิราชว่า
    "ดู ก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวก สาวิกา ของตถาคตยังไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนำ ยังไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน จักบอก จักแสดง จักบัญญัติ จักแต่งตั้ง จักเปิดเผย จักจำแนก จักทำให้ตื้น จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรับปวาท ที่เกิดขึ้น ให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด ดูก่อนมารผู้มีบาป ตถาคตจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น"
    (มหาปรินิพพานสูตร)

    เราท่านทั้งหลายต้องอนุโมทนาสาธุการต่อพระยามาราธิราช ที่ท่านทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงปรินิพพาน นั่นหมายถึงเป็นเหตุให้เกิดพุทธบริษัท ๔ และมีหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ เกิดขึ้น เพื่อความมั่นคงสถาวรของพระพุทธศาสนาสืบไป


    หมายเหตุ : พุทธบริษัท คือ หมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนามี ๔ จำพวกคือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา


    มหาอนุโมทนาที่มาข้อมูลและภาพประกอบ : หน้าที่พุทธบริษัท
    มหาอนุโมทนาเสียงประกอบ "ควรทำบุญบ่อยๆ " : พระธรรมบท



    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=32638[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2011
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    สิ่งที่พุทธบริษัท ๔ ควรรู้เรื่อง "กฐิน"

    [​IMG]



    สิ่งที่พุทธบริษัท ๔ ควรรู้เรื่อง "กฐิน"

    ๑. กฐิน หมายถึงผ้าพิเศษที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพุทธานุญาตเฉพาะกฐินกาล เป็นกาลทาน ในปีหนึ่งมีเขตกฐินเพียง ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

    ตามศัพท์ กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับตัดจีวร ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียก สังฆกรรมอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพุทธานุญาตแก่พระภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ ๕ รูป ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในวัดเดียวกัน และเป็นผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส (๓ เดือน) ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยไม่ขาดพรรษาเพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ โดยพระภิกษุสงฆ์พร้อมใจกันมอบผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน (ไตรจีวร : สบง จีวร สังฆาฏิ) ที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้มีคุณสมบัติสมควรแก่การรับผ้ากฐินผืนนั้น พระภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ควรเป็นภิกษุผู้รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพพกรณ์ เป็นต้น ได้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เป็นผู้ดำเนินการกรานกฐินในท่ามกลางระหว่างสงฆ์

    แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเจ้าภาพถวายผ้ากฐินสำเร็จรูปก็ตาม พระภิกษุผู้เป็นองค์ครองกฐินจะต้องมีคุณสมบัติอันสมควรนี้ และเมื่อทำผ้าจีวรได้สำเร็จแล้ว จะต้องประกาศให้คณะสงฆ์รับทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อคณะสงฆ์อนุโมทนาแล้ว พระภิกษุองค์ครองจึงจะมีสิทธิในผ้ากฐินนั้น และพระภิกษุในวัดทุกรูปมีสิทธิได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ ตามพระพุทธานุญาต

    ๒. พระพุทธานุญาตเรื่องกฐิน กฐินเป็นพระพุทธานุญาตพิเศษกว่าเรื่องอื่นๆ เช่นการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือการถวายน้ำปานะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงประทานอนุญาต เมื่อมีผู้ศรัทธามาทูลขอพระพุทธานุญาต เรื่องถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายน้ำปานะ แต่เรื่องกฐินไม่มีผู้ใดมาทูลขอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระพุทธานุญาตด้วยพระองค์เอง

    ๓. พระพุทธประสงค์เรื่องกฐิน พุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงพุทธานุญาตให้พระภิกษุกรานกฐินนั้น คือ
    ๑) เพื่อให้พระภิกษุได้พักผ่อน พอพื้นดินแห้งสมควรแก่การเดินทาง
    ๒) เพื่อสงเคราะห์ ให้พระภิกษุได้เปลี่ยนผ้าครอง
    ๓) เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่สงฆ์ ได้ช่วยกันตัดเย็บจีวรเป็นผ้ากฐิน
    ๔) เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ ได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ


    ๔. จีวร หมายถึง ผ้าทุกชนิดที่ชนทั้งหลายถวาย ไม่ว่าจะเป็นกาลจีวรก็ดี อกาลจีวรก็ดี อัจเจกจีวรก็ดี วัสสิกสาฏิกาก็ดี ผ้านิสีทนะก็ดี ผ้าปูลาดก็ดี ผ้าเช็ดหน้าก็ดี (ฯลฯ)
    ถ้าเป็นผ้า ๓ ผืน เรียกว่าไตรจีวร (จีวร ๓ ผืน)
    ถ้าเป็นผ้า ๒ ผืน เรียกว่าไทวจีวร (จีวร ๒ ผืน)​

    ไตรจีวรคือ อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าทาบคลุมกันหนาว) ในความหมายโดยทั่วไป เข้าใจกันว่า จีวร คืออุตตราสงค์ (ผ้าห่ม)

    จากพระวินัยปิฎกมหาวรรค จีวรขันธกะ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม ๗/๙๑ น. ๒๖๔ ความว่า : พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพุทธานุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ จีวรทำด้วยเปลือกไม้ ๑ จีวรทำด้วยฝ้าย ๑ จีวรทำด้วยไหม ๑ จีวรทำด้วยขนสัตว์ ๑ จีวรทำด้วยป่าน ๑ จีวรทำด้วยของเจือกัน ๑ (จากวัสดุ ๕ ชนิดมาปนกัน)

    จีวร นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระพุทธานุญาตให้ตัดอย่างคันนาชาวมคธ ดังมีเรื่องกล่าไว้ในพระวินัยปิฎกมหาวรรค จีวรขันธกะ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม ๗/๙๑ น. ๒๗๕ ความว่าครั้งหนึ่ง

    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ เสด็จพุทธดำเนินไปทางทักขิณาคีรีชนบท ได้ทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธสวยงาม มีจังหวะเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงตรัสถามพระอานนทเถระว่า สามารถตัดจีวรของพระภิกษุให้เหมือนนาของชาวมคธได้หรือไม่ พระเถระทูลสนองว่า สามารถตัดได้และได้ตัดเป็นตัวอย่างสำหรับพระภิกษุหลายรูปไปถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโปรดและสรรเสริญพระอานนทเถระว่าเป็นผู้ฉลาด เป็นคนเจ้าปัญญา ทรงอนุญาตให้ใช้จีวรตัด และใช้แบบที่พระอานนทเถระถวายเป็นตัวอย่าง เป็นต้นมา


    ๕. การประชุมทำผ้ากฐินในครั้งพุทธกาล เป็นการประชุมใหญ่มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ ว่า : ครั้งเมื่อพระอนุรุทธเถระ ได้ผ้าบังสุกุลมา จะทำจีวรเปลี่ยนผ้าครองสำรับเก่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ เสด็จเป็นประธานในวันนั้นพร้อมพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พร้อมพระอสีติมหาสาวกร่วมประชุมช่วยทำ พระมหากัสสปะเถระนั่งอยู่ต้นผ้า พระมหาสารีบุตรเถระนั่งอยู่ท่ามกลาง พระอานนทเถระนั่งอยู่ปลายผ้า พระภิกษุสงฆ์ช่วยกันกรอด้าย พระบรมศาสดาทรงสนเข็ม พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นผู้อุดหนุนกิจการทั้งปวง แสดงถึงพลังความสามัคคีของพระภิกษุสงฆ์ อันเป็นพระพุทธประสงค์ในการทำผ้ากฐิน​

    ๖. กฐินเป็นกาลทาน ใน ๑ ปี มีเขตกฐิน เพียง ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันออกพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ถ้าพ้นเขตกฐินแล้ว แม้จะไปทอดกฐินก็ไม่เป็นกฐิน ไม่ได้อานิสงส์กฐิน จะได้แต่เป็นอานิสงส์ของสังฆทาน หรือผ้าบังสกุล​

    ๗. พระภิกษุองค์ครองผ้ากฐิน ควรเป็นภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทด้วย "ญัตติจตุตถกรรม" โดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย ด้วยกล่าวขออุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์และคณะสงฆ์ต่อหน้าพระประธานองค์แทนพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าภายในพระอุโบสถ ด้วยคำกล่าว "อุกาสะ วันทามิ ภันเต..." อันมีเหตุมาแต่สมัยพุทธกาล (ดังเรื่องพระราธพราหมณ์ ข้อ ๒๖)​

    ๘. พระภิกษุองค์ครองผ้ากฐิน จะต้องเป็นผู้รู้ธรรม ๘ ประการ คือ

    ๑) รู้จักบุพพกรณ์(บุพพกิจ)
    ๒) รู้จักถอนไตรจีวร

    ๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
    ๔) รู้จักกรานกฐิน
    ๕) รู้จักมาติกา
    ๖) รู้จักปลิโพธ กังวลเป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
    ๗) รู้จักการเดาะกฐิน
    ๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน แล้วจึงกรานกฐิน ​


    หากภิกษุองค์ครองไม่รู้ธรรม ๘ ประการ อานิสงส์ก็น้อยลงตามลำดับ หรือไม่ควรเป็นผู้รับผ้า (เป็นเรื่องของสงฆ์ที่จะต้องรู้และศึกษาวิธีในการกรานกฐิน) เมื่อเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว ภิกษุองค์ครองต้องประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์อนุโมทนาแล้ว จะได้รับอานิสงส์กฐิน ๕ ประการ ขยายยาวออกไปถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (ปกติพระภิกษุได้รับอานิสงส์พรรษา มีกำหนด ๑ เดือน แม้จะไม่ได้กรานกฐิน)

    ๙. พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นปกตัตตะภิกษุ คือเป็นพระภิกษุปกติไม่ต้องโทษ ไม่ต้องอาบัติ พระภิกษุที่ต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งควรปฏิบัติดังนี้ สำหรับ ครุกาบัติ (อาบัติหนัก : ปาราชิก สังฆาทิเสส) ถ้าภิกษุต้องอาบัติปาราชิกควรลาสิกขาบทจากความเป็นภิกษุทันที ส่วนภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสควรเข้าปริวาสกรรมทันที ส่วนลหุกาบัติ (อาบัติเบา) สามารถปลงอาบัติได้ พระภิกษุควรปลงอาบัติทุกวัน เพื่อพ้นจากอาบัติ และบริสุทธิ์ พร้อมในการปฏิบัติธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงป้องกันพุทธสาวกของพระพุทธองค์ โดยทรงพุทธานุญาตให้ปลงอาบัติ เปิดเผยความผิด การปลงอาบัติมีพลานิสงส์มาก ทำให้กลับมาเป็นปกตัตตะภิกษุได้ตามเดิม​

    ๑๐. สังฆราชี วัดใดหากพระภิกษุในวัดเดียวกันทะเลาะกัน โกรธ ไม่พูดจากัน ขัดใจกัน เป็นสังฆราชี (ความร้าวรานของสงฆ์) เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระภิกษุทุกรูปจะต้องประชุมกันเพื่อทำสังฆกรรมที่เรียกว่า มหาปวารณา คำว่า "มหา" มีความหมายลึกซึ้งตั้งแต่ มหากุศลในกามาวจร มหากุศลในรูปาวจร มหากุศลในอรูปาวจร และมหากุศลในโลกุตตระ เมื่อกระทำกุศลถูกต้องตามพระธรรมวินัยจิตสามารถดำเนินเข้าสู่กระแส มัคค ผล นิพพาน ได้ แต่ถ้าละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอกุศลจิต ก็มี "มหานรก" เป็นที่รองรับ วันมหาปวารณาเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์สามารถว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน ตามหลักธรรมของพระธรรมวินัย มีการบอกกล่าวความขัดใจ ความไม่พอใจความโกรธซึ่งกันและกันได้ และจะมีการงดโทษหรือยกโทษให้แก่กันและกัน หากวัดใดยังมีพระภิกษุที่ยังไม่คืนดีต่อกัน ยังโกรธกัน ไม่พูดดีต่อกัน วัดนั้นไม่มีสิทธิ์รับกฐิน เพราะจะเป็นกฐินเดาะ ไม่ได้อานิสงส์กฐิน​

    ๑๑. ผ้าจำนำพรรษา ถ้าวัดใดมีพระภิกษุไม่ครบ ๕ รูป จะไม่มีสิทธิ์รับผ้ากฐิน แต่จะมีสิทธิ์รับผ้าจำนำพรรษา (ผ้าจำนำพรรษา คือผ้าที่ทายกถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ในวัดนั้นๆ ได้ทุกรูป (๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป ๑ รูป) ภายในเขตจีวรกาล (แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) ภิกษุเข้าพรรษาหลัง (แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) ไม่มีสิทธิ์รับผ้ากฐิน และผ้าจำนำพรรษา ​

    ทายกผู้ฉลาดตั้งเจตนาถวายผ้ากฐินและผ้าจำนำพรรษาแก่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปในวัด จึงจะได้อานิสงส์มาก ถ้าพระภิกษุไม่ครบ ๕ รูป แม้จะนิมนต์พระภิกษุมาจากวัดอื่น เพื่อให้ทำสังฆกรรมครบ ๕ รูป ก็ไม่เป็นกฐิน อย่างนี้เป็นบาปมหันต์ ส่วนสังฆกรรมอื่นสามารถนิมนต์พระภิกษุมาจากวัดอื่นได้ เช่นการบรรพชาอุปสมบท สังฆกรรมอุโบสถหรือการสวดอัพภานเพื่อพระภิกษุที่ต้องสังฆาทิเสส ซึ่งต้องใช้พระภิกษุ ๒๐ รูป เป็นต้น​

    ๑๒. กฐินไม่ใช่เงินทอง กฐิน หมายถึง ผ้าผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน (สบง จีวร หรือสังฆาฏิ) ไม่ได้หมายถึง เงินหรือทอง (ตามที่เข้าใจกันเป็นส่วนมากในปัจจุบัน)​

    ๑๓. การจองกฐิน เป็นเรื่องบุคคลใดบุคคลหนึ่งดำเนินการ บุคคลหมายถึง ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา (ที่ไม่ได้อยู่จำพรรษาวัดนั้น) เทวดา อุบาสก อุบาสิกา สามารถนำกฐินไปทอดได้ เริ่มตั้งแต่การถามเจ้าอาวาสของวัดว่า วัดของท่านมีผู้จองกฐินแล้วหรือยัง ถ้าท่านบอกว่า ยังไม่มีใครมาจองกฐิน ก็ถามอีกว่าท่านต้องการกฐินหรือต้องการเงิน ถ้าท่านบอกว่าต้องการเงิน เพราะยังมีสิ่งก่อสร้างอีกมากมาย เราก็ไม่ไปทอด หรือถ้าท่านตอบว่าต้องการทั้งกฐินและเงิน เราก็ไม่ไปทอด เพราะกฐินนั้นเดาะไม่เป็นกฐิน ถึงนำกฐินไปทอด ก็ไม่ได้อานิสงส์กฐิน แต่ถ้าเจ้าอาวาสบอกว่าต้องการกฐินแสดงว่าเจ้าอาวาสรู้พระวินัย เราก็สามารถทอดกฐินวัดนี้ได้ เพราะการทอดกฐินก็เพื่ออานิสงส์ของพระภิกษุสงฆ์ และแจ้งข่าวให้ทราบทั่วกัน ถ้าเป็นวัดหลวง ต้องได้รับพระราชทานเสียก่อน จึงจะจองได้​

    ๑๔. การบอกบุญกฐิน โดยแจ้งวัตถุประสงค์ว่า เชิญร่วมบุญกฐินเพื่อสร้างศาสนวัตถุ ศาสนสถานต่างๆ เช่นสร้างเจดีย์ โบสถ์ วิหาร ศาลา หอระฆัง หอฉัน เมรุ โรงครัว ห้องสุขา ฯลฯ หรือเพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น เพื่อช่วยคนพิการ คนชรา เด็กอนาถา สร้างโรงเรียน เป็นต้น กฐินนั้นจะเดาะตั้งแต่เริ่มตั้งบุพพเจตนาเพราะหวังจะได้เงินทอง ปรารถนาจะได้เงินเข้าวัดมากๆ เพื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ จิตที่ทำงานจะเป็นจิตโลภะ หรือการทำกฐินเป็นกองๆ แจ้งว่ากองละเท่านั้นเท่านี้ ก็เช่นกัน กฐินเป็นเรื่องผ้ากฐิน ไม่มีเป็นกองๆ เป็นเงินทอง ล้วนแต่เป็นเรื่องโลภะจิตทำงาน กฐินเดาะตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ได้อานิสงส์กฐิน แต่ถ้าเป็นเจตนาเพื่อซื้อเครื่องกฐิน สามารถทำได้​

    ๑๕. การแจ้งข่าวกฐิน ให้สาธุชนทั้งหลายรับทราบ ควรทำใบแจ้งการทอดกฐิน พร้อมกำหนดการโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับเรื่องการสร้างวิหารทานใดๆ ถ้าวัดนั้นมีเจ้าภาพสร้างวิหารทานด้วย ควรทำใบแจ้งต่างหาก แยกออกจากใบกฐิน เพราะพิธีการทอดกฐินก็เป็นเรื่องของกฐินโดยเฉพาะ เมื่อเสร็จพิธีทอดกฐินแล้ว จึงจะแจ้งข่าวเรื่องการสร้างมหาทานอื่นๆ ต่อไป​

    ๑๖. การประกาศขอกฐิน โดยพระภิกษุในวัดรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางวาจาโดยตรง หรือโฆษณาทางสื่อต่างๆ เช่นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ให้มาทอดกฐินที่วัดของตน ๆ กฐินนั้นเดาะไม่เป็นกฐินเพราะผิดพระวินัย​

    ๑๗. การถวายผ้ากฐิน ต้องเกิดด้วยศรัทธาของทายกเอง ไม่ใช่พระภิกษุในวัดไปพูดแย้มพรายหรือพูดเลียบเคียงให้ถวาย ห้ามใช้ผ้าที่ไม่เป็นสิทธิ์ เช่น ผ้าที่ขอยืมเขามาทอด ไม่ใช้ผ้าที่ได้มาโดยอาการมิชอบ เช่นการทำนิมิตหรือพูดเลียบเคียง ไม่ใช้ผ้าที่เป็นสันนิธิ คือผ้าที่ทายกมาทอดแล้วพระภิกษุเก็บไว้ค้างคืน ไม่ใช้ผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ คือผ้าที่พระภิกษุเสียสละ เพราะต้องโทษตามพระวินัยบัญญัติ​

    ๑๘. ผ้ากฐินตามพระวินัยควรเป็น "ผ้าขาว" ทำจากเปลือกไม้ ฝ้าย ไหม ป่าน ขนสัตว์ หรือผ้าผสมกัน ไม่ว่าจะเป็นผ้าใหม่ ผ้าเทียมใหม่ ผ้าเก่า ผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าทิ้งตามตลาด อย่างใดอย่างหนึ่งก็ใช้ได้ (ปัจจุบันใช้จีวรสำเร็จรูป) เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพุทธานุญาตให้การทอดกฐินนั้นเป็นสังฆกรรม คือการงานของสงฆ์ให้ตั้งญัตติทุติยกรรม มอบให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นผู้สมควรและสามารถในการนี้ ผู้รู้จักธรรม ๘ ประการ มีบุพพกรณ์เป็นต้น ผู้ดำเนินการกรานกฐิน ทำผ้าให้สำเร็จภายในวันนั้น ด้วยความร่วมมือของพระภิกษุทุกรูปในวัดนั้น ก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองกันตามพระพุทธประสงค์​

    ๑๙. ผ้าขัณฑ์ ผ้าไตร ๓ ผืน ไม่ว่าจะเป็นผืนใดผืนหนึ่ง (สบง จีวร หรือสังฆาฏิ) จะต้องเป็นผ้าขัณฑ์ (ขัณฑ์ = ตอน ท่อน ส่วน ชิ้น เช่น จีวรมีขัณฑ์ ๕ คือมีผ้า ๕ ชิ้น มาเย็บติดกันเป็นผ้าผืนเดียวกัน)​

    ๒๐. ไตรจีวรสำเร็จรูป เจ้าภาพกฐินที่ซื้อไตรจีวรสำเร็จรูป ต้องตรวจสอบว่า ผ้าสังฆาฏิ จีวร สบง เป็นผ้ามีขัณฑ์ทั้ง ๓ ผืนหรือไม่ ถ้าไม่ครบต้องหาให้ครบ และตรวจสอบผ้าทั้ง ๓ ผืน ว่าต้องเป็นผ้าที่มีการตัดก่อนแล้วจึงเย็บ หากไม่ตัดผ้า แต่มีการพับผ้าแล้วเย็บ จะไม่เป็นกฐินไม่ได้อานิสงส์กฐิน​

    ๒๑. วัดที่จะรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุในวัดเดียวกันครบ ๕ รูป (เป็นอย่างน้อย) จำพรรษาครบ ๓ เดือนโดยไม่ขาดพรรษา จึงจะกรานกฐิณได้ (ภิกษุที่ขาดพรรษาหรือเข้าปัจฉิมพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไม่ควรรับการกรานกฐิน) ถ้าพระภิกษุในอารามนั้นไม่ครบคณะสงฆ์ ๕ รูป ถ้ามีสามเณรอายุครบอุปสมบทได้ (๒๐ ปี) จำพรรษาในอารามนั้น อุปสมบททันในเดือน ๑๑ และเดือน ๑๒ ข้างขึ้น ๑-๒-๓-๔ รูป ก็ดี ให้พอครบคณะสงฆ์ ๕ รูป สามารถรับกฐินและได้อานิสงส์กฐิน​

    ๒๒. เจ้าภาพที่ปรารถนาจะทอดกฐินหลายวัด โดยนัดพระภิกษุวัดนั้นๆ มาประชุมรับผ้ากฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่งในวันเดียวกันนั้น ไม่สามารถกระทำได้ เพราะผิดพระวินัย เจ้าภาพต้องนำกฐินไปทอดเฉพาะวัดแต่ละวัดเท่านั้น (ในสมัยก่อน ถ้ามีผู้นำผ้าไปทอดหลายๆคน ท่านผู้ใดนำผ้าไตรกฐินเข้าเขตวัดก่อน ผ้าของท่านผู้นั้นจะเป็นผ้ากฐินทันที)​

    ๒๓. กฐินตกค้าง ต้องไม่มีเจ้าภาพจองจริงๆ ไม่ใช่มาประกาศบอกข่าวล่วงหน้ากันเป็นเดือนๆอย่างนี้ไม่เรียกว่า กฐินตกค้าง เพราะกฐินตกค้างที่แท้จริงต้องใกล้วารกาลที่จะหมดกาลเวลาของ กฐินจริงๆ หมดเขตกฐิน (ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒) วัดนั้นๆ ไม่มีผู้จองไปทอดกฐินจึงจะเป็นกฐินตกค้าง ไม่ใช่ประกาศแจ้งว่าเป็นกฐินตกค้างล่วงหน้ากันนานๆ และมีเป็นจำนวนมากวัดอย่างในปัจจุบัน​

    ถ้าพุทธศาสนิกชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องกฐิน วัดในประเทศไทย ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด ถ้ามีพระภิกษุครบ ๕ รูป จำพรรษาครบ ๓ เดือนในแต่ละวัด ก็จะสามารถรับกฐินได้ เพราะกฐินคือผ้า ไม่ใช่เงินทอง ซึ่งทายก ทายิกา ของแต่ละวัดก็สามารถที่จะหาผ้ากฐินผืนใดผืนหนึ่งใน ๓ ผืน มาทอดได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองจำนวนมาก จะทำให้เจ้าภาพและพระภิกษุได้รับอานิสงส์ของกฐิน ส่วนการทำบุญสังฆทานวิหารทานอื่นๆ สามารถทำได้ในโอกาสต่อไป​

    ๒๔. เจ้าภาพกฐินต้องไม่จัดเลี้ยงสุราเมรัยน้ำเมาทั้งหลาย เจ้าภาพกฐินต้องไม่ฆ่าสัตว์ มาทำเป็นอาหารเลี้ยงกันในงานบุญ เจ้าภาพกฐินต้องไม่มีอารมณ์โกรธฉุนเฉียว ดุด่าว่ากล่าวบุคคลอื่น ถ้ามีเหตุการณ์ดังกล่าว กฐินจะกลายเป็น กฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง ไม่เป็นที่อนุโมทนาของเทพพรหมเทวาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนั้น เจ้าภาพกฐินต้องตั้งใจ น้อมใจ ให้กุศลจิตขึ้นมาทำงานอยู่เสมอ มีเจตนาทาน ที่พร้อมไปในกุศลทั้ง ๓ ประการ คือ
    ๑) บุพพเจตนา เจตนาก่อนการะทำเต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
    ๒) มุญจเจตนา (มุญจนเจตนา) เจตนาขณะกำลังกระทำ เต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
    ๓) อปรเจตนา (อปราปรเจตนา) เจตนาหลังกระทำแล้ว เต็มไปด้วยกุศล อธิษฐานธรรม เป็นไปในมัคค ๔ ผล ๔ พระนิพพาน ๑
    งานบุญกฐินของท่านเจ้าภาพจะเต็มไปด้วยมหากุศล เป็นที่อนุโมทนาของเทพพรหมเทวา และมนุษย์ทั้งหลาย​

    ๒๕. โทษของการทอดกฐิน โดยละเมิดพระธรรมวินัย ทำให้เจ้าภาพกฐินไม่ได้รับอานิสงส์อันประเสริฐในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ สำหรับมวลหมู่มนุษย์ การทำกฐินผิดพระธรรมวินัย เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิด เป็นอกุศลจิต นำไปเก็บที่ดวงจิต อุเปกขาสหคตัง สันตีรณจิตตัง อสังขาริกัง กามาวจร อกุสลวิปากจิตตัง (ซึ่งเป็นวิบากจิตที่เก็บผลจากการทำอกุศล (โลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒) เมื่อจุติแล้วไปปฏิสนธิในอบายภูมิ สำหรับคฤหัสถ์ จุติแล้วปฏิสนธิจิต นำไปมหานรกขุม ๗ (มหาตาปนนรก) รับผลกรรมในนรกขุมนี้ยาวนานครึ่งอันตรกัปสำหรับพระภิกษุ การทอดกฐินผิดพระธรรมวินัย อย่างเบา ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรืออย่างหนัก ต้องอาบัติปาราชิก จุติแล้วปฏิสนธิจิตนำไป มหานรกขุม ๘ (อเวจีมหานรก) รับผลกรรมในนรกขุมนี้ยาวนาน หนึ่งอันตรกัป​

    ๒๖. อสัทธรรมภิกษุ พระภิกษุในวัดใด ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า เจริญธรรมในสำนักของพระพุทธองค์ ไม่ได้สิกขาพระพุทธธรรมคำสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่กระทำตนเป็นเกจิอาจารย์ ปลุกเสก สักเลข สักยันต์ ลงอาคม ทำเครื่องลางของขลัง อยู่ยงคงกระพัน เป็นหมอดู โชคชะตาราศี เป็นหมอทำนายทายทัก เป็นหมอดูดวงต่างๆ แก้เวร แก้กรรม สะเดาะเคราะห์ สะเดาะโศก สะเดาะโรค สะเดาะภัยทั้งหลาย ทำเล่ห์เสน่ห์ยาแฝด เป็นร่างทรงต่างๆ ตั้งศาลบวงสรวง ภูติผีปีศาจ วิชาไสยศาสตร์ทั้งปวง ล้วนไม่ใช่พุทธสาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า สมควรที่จะลาสิกขาบท ออกไปจากความเป็นพระภิกษุ ไปอยู่เป็นคฤหัสถ์ ประกอบอาชีพตามความถนัดของตนต่อไป ​


    มหาอนุโมทนาที่มาข้อมูลและภาพประกอบ : สิ่งที่พุทธบริท ๔ ควรรู้เรื่องกฐิน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2011
  5. บุษบรรณ

    บุษบรรณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2010
    โพสต์:
    2,212
    ค่าพลัง:
    +8,603
    โอนแล้วเมื่อวานนี้ค่ะ หน้าเคาร์เตอร์
     
  6. sophont

    sophont Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +94
    ร่วมทำบุญกฐินแสนกอง ปี 2554 จำนวน 1,000 บาทครับ โอนแล้ว 23 กย.54 ธ.กรุงเทพ
    อนุโมทนาบุญกับทุกกองบุญและกับทุกท่านด้วยนะครับ สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. กราฟ

    กราฟ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +85
    ร่วมทอดกฐินแสนกอง (ปี 2554 ปีที่ 6)
    ด้วยครับ 100 บาท โอน 19/09/11 เวลา 21:23
    และขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  8. asdf_g123

    asdf_g123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2007
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +484
    ร่วมทอดกฐินแสนกอง (ปี 2554 ปีที่ 6)ด้วยครับ
    จำนวนเงิน 200 บาท
    โอนเงิน 22/09/54
    เวลา 19.01.03:23
    ธนาคารไทยพาณิชย์ 402-711370-7
    และขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  9. tingerbell

    tingerbell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +1,427
    ดีใจที่จะได้ร่วมทำบุญกฐินกับเว็บพลังจิตอีกครั้ง ขอร่วมทำบุญด้วยค่ะ จำนวน 300 บาทโอนแล้ววันนี้24/09/11 เวลา09.58 น. เข้าบัญชี ธ.กรุงเทพค่ะ ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยค่ะ
     
  10. boonbaramee

    boonbaramee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +2,270
    ผมขอร่วมทอดกฐินแสนกอง (ปี 2554 ปีที่ 6) จำนวนเงิน 300 บาท
    โอนเงิน 23/09/54 เวลา 17.58 น. จาก บช TMB โดยตู้ SCB เข้า
    ธนาคารไทยพาณิชย์ 402-711370-7 แล้วเมื่อเย็นวานนี้ครับ

    และขออนุโมทนาบุญกับทุกกองและทุกๆท่านด้วย สาธุ อนุโมทามิ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2011
  11. tmongkolsawat

    tmongkolsawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2006
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +1,104
    แจ้งโอนเงินทำบุญเพื่อร่วมทอดกฐินแสนกอง พ.ศ. 2554ครับ
    รายการที่ 1118NQ4558EF20
    วัน-เวลาที่ทำรายการ 24/09/2554 - 16:46:17
    สถานะ สำเร็จ
    วัน-เวลาที่หักบัญชี 24/09/2554 - 16:46:17

    เลขที่บัญชีผู้โอนเงิน XXXX042968
    เลขที่บัญชีผู้รับเงิน 4027113707

    จำนวนเงิน 1,000.00 บาท
    ค่าธรรมเนียม 10.00 บาท

    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ร่วมทอดกฐินแสนกองนี้
    ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว
    แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้
    ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า
    และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช
    ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้
    ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว
    ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี
    เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้
    พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า
    จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้
    ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด
    หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่า ไม่รู้ ไม่มี ไม่สำเร็จ
    จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย
    ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว
    จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
     
  12. เอกณัฐยศ

    เอกณัฐยศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,628
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้มามีส่วนร่วมในบุญกฐินแสนกองนี้
     
  13. คนเดินทางมาใหม่

    คนเดินทางมาใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +266
    ขอโทษคะ ลืมแจ้งจำนวนเงิน
    โอนทั้งสิ้น 1,000 บาทคะ
    อนุโมทนาบุญกับผู้ร่วมบุญทุกท่านคะ
     
  14. wasin saitanmanee

    wasin saitanmanee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    แจ้งโอนเงินทำบุญเพื่อร่วมทอดกฐินแสนกอง พ.ศ. 2554
    โอนทาง ATM ครับ
    ชื่อ วศิน สายธารมณี ครับ
    วัน-เวลาที่ทำรายการ 25/09/2554 - 09:41 c662b101
    จำนวนเงิน 108.00 บาท
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ......
     
  15. duangkamol

    duangkamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    348
    ค่าพลัง:
    +2,083
    ร่วมบุญกฐินแสนกองในวันนี้ (27/9/54) จำนวนเงิน 520.- บาท
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ สาธุ สาธุ
     
  16. siranyapat

    siranyapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2009
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +382
    ขอร่วมอนุโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยค่ะสาธุๆๆๆๆ จะโอนเงินให้นะคะบุญใดที่เกิดจากกุศลในครั้งนี้ขอจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าและสามีบุตรธิดาทุกคนด้วยเถิด
     
  17. Mr.Kim

    Mr.Kim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2007
    โพสต์:
    3,036
    ค่าพลัง:
    +7,028
    วันที่ 28 กันยายน 2554 เวลาประมาณ 9.25 น. ตัวผม นายเสรี วงษ์ทองเหลือ และครอบครัว ได้โอนเงินจากระบบ SCB easy net ธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวน 200 บาท เข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทศโก้โลตัส วังหิน ชื่อบัญชี คุณสุรภา คงนิล เลขที่ 402– 711370– 7 เพื่อร่วมทำบุญโครงการกฐินแสนกอง ปี 2554 ปีที่ 6 <!-- google_ad_section_end -->ให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ
    ...............................................................
    ขอแม่พระธรณีและพระยายมบาล จงเป็นพยานในการทำบุญนี้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ทำบุญในครั้งนี้เพื่อน้อมบูชาพระรัตนตรัยทั้ง 3 สรณะสูงสุดแห่งชีวิตของข้าพเจ้า พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรมทุกพระธรรมขันธ์ พระอริยสงฆ์พระอริยเจ้าทุกๆ พระองค์ พร้อมด้วยพระโพธิสัตว์เจ้า พระมหาโพธิสัตว์เจ้า พระบรมโพธิสัตว์เจ้า พระอนิตยโพธิสัตว์ พระนิตยโพธิสัตว์เจ้าทุกๆ พระองค์ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายที่ได้ทำแล้วแก่บิดามารดาทุกภพทุกชาติ อุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ทุกภพทุกชาติ เจ้าบุญนายคุญทุกภพทุกชาติ ญาติสนิทมิตรสหายทุกภพทุกชาติ เทพพรหมเทวดา 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน หมื่นโลกธาตุแสนโกฏิ พระเพลิง พระพาย แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ มนุษย์ทั้งหลายในอนันตจักรวาล ท่านทั้งหลายที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่ในภูมิอบายทั้ง 4 อันได้แก่ ภูมินรก ภูมิเปรต ภูมิอสูรกาย และภูมิสัตว์เดรัจฉาน ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยได้ช่วยแปลสภาพบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ให้สัตว์ในอบายภูมิทั้ง 4 ให้ได้รับผลบุญในครั้งนี้ด้วย ขอเจ้ากรรมและนายเวรทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ ขอท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงมาอนุโมทนาบุญ และอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

    ขอส่วนกุศลผลบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้กระทำมานี้ แผ่ไปให้ไพศาล ท่านที่ได้ทุกข์ ขอให้ท่านพ้นทุกข์ ท่านที่มีความสุข ขอให้ท่านได้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ขอท่านทั้งหลายเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิธาน ธนสารสมบัติ ขอให้ส่วนกุศลผลบุญในครั้งนี้เป็นพลวะปัจจัย อุปนิสัยตามส่งให้ข้าพเจ้า และสัพพะทุกดวงวิญญาณในสังสารวัฏนี้ ได้พบกับพระพุทธศาสนาทุกภพทุกชาติ ได้เกิดเป็นมนุษย์ที่มีสัมมาทิฏฏิ หมั่นทำบุญทำทาน เพื่อสละความโลภ หมั่นรักษาศีลและเจริญพรหมวิหาร 4 เพื่อระงับความโกรธ หมั่นเจริญภาวนา ทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐานเพื่อกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทาน อวิชชา อนุสัยและอาสวะให้หมดสิ้นไป ได้สำเร็จซึ่งมรรค 4 ผล 4 ตลอดจนได้เข้าถึงแดนทิพย์พระนิพพานเอกันตบรมสุขกันทุกท่าน รวมทั้งขอข้าพเจ้าได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระวิริยาธิกะพุทธเจ้าองค์หนึ่งเมื่อบุญบารมีถึงพร้อมแล้ว ตลอดจนถึงกาลเวลาอันสมควรแล้วในอนาคตเบิ้องหน้าด้วยเทอญ สาธุๆๆ
    .......................................................
    น้อมอนุโมทนา สาธุกับทุกท่านที่ร่วมทำบุญโครงการกฐินแสนกอง ปี 2554 ปีที่ 6 ด้วยนะครับ
    ........................................................
    นิพพานนะ ปัจจะโย โหตุ
     
  18. bank33

    bank33 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +173
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ได้ร่วมกฐินครั้งนี้ด้วยครับ วันที่ 28 กันยายน 2554 เวลาประมาณ 14.33 น.ผมได้โอนเงินเข้าร่วมบุญผ่านทางบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์
    402-711370-7 เป็นจำนวน 100 บาทครับ
     
  19. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    อานิสงส์ ๕ ประการของภิกษุผู้รับกฐิน


    [​IMG]


    อานิสงส์พระภิกษุสงฆ์

    ภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการคือ
    ๑. อนามนฺตจาโร เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา

    ๒. อสมทานจาโร เที่ยวไปไหนไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ (ผ้า ๓ ผืน คือสบง จีวร สังฆาฏิ)

    ๓. คณโภชนํ ฉันคณะโภชน์ได้ (ฉันเป็นหมู่ได้ คือภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เจ้าภาพสามารถ บอกชื่อ อาหาร คือโภชนะ ๕ ได้แก่ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ)

    ๔. ยาวทตฺถจีวรํ เก็บอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา (ปกติเก็บไว้ได้ไม่เกิน ๑๐ วัน)

    ๕. โย จ ตตฺถ จีวรุปฺปาโท โส เนสํ ภวิสฺสติ จีวร ลาภอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ (ลาภสักการะที่สมควรแก่พระภิกษุ เช่นไตรจีวร ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เครื่องใช้ต่างๆ เจ้าภาพถวายแล้ว พระภิกษุเก็บไว้ได้เอง โดยไม่เป็นของสงฆ์)

    อนุโมทนาที่มาข้อมูล : อานิสงฆ์ผู้รับกฐิน
    อนุโมทนาเสียงประกอบ : ปฏิบัติแล้วสำเร็จซึ่งบุญ (ดอกไม้แห่งชีวิต บรรยายโดย ท่านอาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง)




    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1695075/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2011
  20. พัชรกันย์

    พัชรกันย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +622
    วันนี้ 29/9/54 ได้โอนเงินจำนวน 100 บาท ธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินแสนกอง ขอโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...