:: ฆราวาสสามารถรักษาศีลอุโบสถได้ไหมครับ ::

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย PrinceCharming, 31 สิงหาคม 2011.

  1. PrinceCharming

    PrinceCharming เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +773
    ผมอยากเริ่มรักษาศีลอุโบสถทุกวันพระ แต่ไม่ทราบว่าด้วยการใช้ชีวิตของฆราวาสที่ต้องทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็น จะสามารถรักษาข้อวิกาลโภชนาฯได้หรือไม่ครับ จะเป็นการทรมานสังขารมากเกินไปหรือเปล่า เพราะการทำงานก็ย่อมมีความลำบากกาย ต้องใช้พลังงานจากร่างกายพอสมควร หากไม่ทานข้าวเย็นจะเกิดอันตรายหรือไม่ มีพี่ๆท่านใดที่เป็นฆราวาสแล้วรักษาศีลอุโบสถได้ทุกวันพระบ้างครับ ช่วยแนะนำผมด้วย ขอบคุณมากครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    รุ่นพี่ผมส่วนใหญ่รักษาอุโบสถศีลหมดเลยครับ...

    อยู่ได้นะครับ....นมถั่วเหลืองบ้าง น้ำเต้าหู่ น้ำข้าวโพด โอวัลติล นมเปรี้ยว ว่าไป....

    ไม่ต้องเฉพาะวันพระหลอกครับ...ทุกวันก็ยังไหว...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    เรื่องของน้ำปานะ


    น้ำปานะ คือ เครื่องดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ ท่านจัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่ร้บประเคนไว้แล้ว ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถือเอาใจความง่าย ๆ ก็คือ ของที่ฉันได้หลังเที่ยงไปแล้วนั่นเอง หรือ ฉันได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งอรุณ

    ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องน้ำปานะ ก่อความกังวลใจให้แก่ชาวพุทธพอสมควร เพราะมีเครื่องดื่มเกิดขึ้นมากมายล้วนแต่ไม่มีในสมัยพุทธกาล แต่เราก็อาศัยเปรียบเทียบเอาจากมหาปเทศฝ่ายพระวินัยได้
    แต่ถึงอย่างนั้น ในวงพระเองก็ยังมีการตีความไม่ตรงกัน เช่น นมสด พระฝ่ายมหานิกายก็ว่าฉันได้ แต่พระฝ่ายธรรมยุตว่าฉันไม่ได้ แต่ก็ฉันเนยแข็งที่ทำจากนมสดได้มันก็ชอบกลอยู่

    ผู้ที่เป็นต้นบัญญัติ ให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรก ก็คือ เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก พระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ในที่นั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงน้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบานไว้ 8 อย่าง ดังนั้น

    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 51.64%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="51%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">1. น้ำมะม่วง


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">2. น้ำลูกหว้า</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">3. น้ำกล้วยมีเมล็ด</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">4. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">5. น้ำมะทราง</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">6. น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">7. น้ำเง่าบัว</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">8. น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่</B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>

    ถ้านับเรียงชนิดก็เป็น 10 ชนิด แต่จริง ๆ แล้วมีมากกว่านี้แยะ เพราะทรงอนุญาตเพิ่มเติมไว้อีก ดังนี้
    ทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
    ทรงอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง
    ทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด

    ถ้าจะพิจารณากันตามพระพุธานุญาตในตอนท้ายนี้แล้ว ก็น่าจะตีความได้กว้างขวางมาก กล่าวคือ ถ้าเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือกและน้ำดอกมะทรางแล้ว อย่างอื่น ๆ ก็น่าจะฉันได้หมด

    ที่มีปัญหามากก็เรื่องนมสดและน้ำเต้าหู้ ที่ทำจากเมล็ดถั่วเหลือง น้ำถั่วเหลืองนี้ แม้ในฝ่ายพระมหานิกายบางพวกก็ไม่ฉัน และผู้ที่ตีความค่อนข้างเคร่งก็เป็นพระฝ่ายปฏิบัติ หรือพระกรรมฐาน ส่วนพระตามวัดทั่วไป ท่านก็ฉันได้ทุกอย่าง ขอให้โยมเอามาประเคนเถอะ แม้แต่นมข้น (มีแป้งผสมอยู่ด้วย) ชงโอวัลตินหรือไมโล ท่านก็ไม่รังเกียจ

    ก่อนที่จะคุยกันเกี่ยวกับน้ำปานะต่อไป ควรจะมาดูหลักฐานกันก่อน ว่าเรื่องน้ำปานะนี้ มีหลักฐานในที่ใดบ้าง ? ที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นพระพุทธบัญญัติจากพระวินัย แต่ยังมีหลักฐานในพระสูตรอีกแห่งหนึ่ง คือเล่มที่ 29 ข้อ 7 ดังนี้

    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 64.02%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="64%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">1. น้ำผลสะคร้อ


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">2. น้ำผลเล็บเหยี่ยว</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">3. น้ำผลพุทรา</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">4. น้ำมัน (งา)</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">5. น้ำเปรียง</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">6. น้ำข้าวยาคู (รสเปรี้ยว)</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">7. น้ำนม</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">8. น้ำปานะที่ทำด้วยรส (ผักหรือผักดอง)</B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>


    จากมังคลัตถทีปนี (แปล) เล่ม 3 ข้อ 8 ดังนี้

    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 64.02%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="64%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">1. น้ำผลเล็บเหยี่ยว


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">2. น้ำผลพุทราเล็ก</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">3. น้ำผลพุทราใหญ่</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">4. น้ำเปรียง</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">5. น้ำมัน</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">6. น้ำนม</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">7. น้ำยาคู</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-TOP: rgb(236,233,216); BORDER-RIGHT: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">8. น้ำรส </B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>
    ข้อที่ควรคิด ก็คือ คำว่า น้ำนม หรือ นมสด จะเป็นนมสดจากเต้า หรือจากกล่องก็ตาม พระเณรหรือผู้ถืออุโบสถ ฉันหรือดื่มหลังเที่ยงได้หรือไม่ ?

    ผู้เขียนเคยถามอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก และอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านว่าฉันได้ ถ้าใครว่าฉันไม่ได้ ให้ลองถามท่านผู้รู้ดูทีหรือว่า คำว่า ปโยปานัง แปลว่าอะไร ?
    ศัพท์ที่ว่า ปย หรือ ปโยปานํ ท่านแปลว่า น้ำนม ถ้าไม่ใช่นมสดแล้วจะเป็นนมอะไร ? ที่ควรพิจารณาก็คือมีหลักฐานในที่ 2 แห่ง คือ ทั้งในพระไตรปิฎก และในมงคลทีปนี ดังที่บอกไว้แล้ว

    เดิมที่ผู้เขียนก็ไม่ฉันนมสด เพราะเหตุว่าไม่พบหลักฐาน แต่เมื่อเห็นว่ามีหลักฐานบ่งไว้ชัด ๆ ก็เลยฉันมาตลอด แต่ ที่น่ารังเกียจก็คือ นมข้นหรือหางน้ำนม ซึ่งมีแป้งผสมอยู่ด้วย และไมโลหรือโอวัลติน ซึ่งมีไข่ผสมอยู่ด้วยกับน้ำเต้าหู้ ซึ่งบางท่านว่าฉันไม่ได้

    ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องดื่มออกมาใหม่ ๆ แปลก ๆ แยะ ถ้าเราไม่รู้จริงในส่วนผสม หรือในพระวินัย ก็ไม่ควรจะดื่ม ถ้าเกิดมีการหิวกระหาย ก็ยังมีทางบรรเทาได้ เช่น น้ำตาล เป็นต้น แก้หิวได้ดีนัก การอ้างเพียงแต่ว่า องค์โน้นท่านยังฉันได้ สำนักนี้ก็ฉันได้ ไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะเกิดค่านิยมทำตาม ๆ กันไป แล้วแก้ภายหลังยาก เพราะความเคยชิน ควรจะคำนึงถึงพุทธบัญญัติเป็นหลัก

    พระพุทธองค์ทรงทราบดี ว่าการทรมานร่างกายเกินไปหรือการบำรุงจนเกินไป จะเป็นผลเสียทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การเดินสายกลาง คือไม่ตึงนักและไม่หย่อนนักย่อมจะสำเร็จประโยชน์ได้เร็วกว่า
    ถ้าเกิดว่า มีความสงสัยในข้อใดหรืออะไร ? เราควรจะศึกษา หรือสอบถามท่านผู้รู้ก่อน ยึดหลักฐานจากพระไตรปิฎกไว้ก่อนเป็นดีที่สุด จะได้ไม่ก่อปัญหา หรือความขัดแย้งตามมาในภายหลัง

    ข้อน่าสังเกต ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนใคร่ขอฝากความเห็นเกี่ยวกับพระวินัย และการตีความไว้สักเล็กน้อยว่า เป้าหมายหลักในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธองค์นั้น ผู้เขียนจับพระพุทธประสงค์ได้ว่า ทรงมุ่งเป้าไว้ 3 จุดใหญ่ คือ

    1. เพื่อมิให้ชาวบ้านรังเกียจ หรือติเตียนพระเป็นใหญ่
    2. เพื่อให้พระเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน
    3. เพื่อมิให้เกิดการขัดแย้งกันเองภายในหมู่สงฆ์

    ในข้อหนึ่ง เราจะเห็นตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมากมาย ที่พระทำอะไรแล้วชาวบ้านไม่รังเกียจ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงบัญญัติเป็นข้อห้าม แต่ถ้าสิ่งใดชาวบ้านตำหนิแล้วก็จะทรงบัญญัติห้ามในทันที

    ในข้อสอง พระต้องพึ่งชาวบ้าน ต้องฝากปากท้องเขาอยู่ ถ้าเขาไม่เลื่อมใสในสิ่งใด ? พระไปทำเข้าก็เกิดปัญหา เขาไม่ศรัทธา พระก็อดตายแน่

    ในข้อสาม ความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนายิ่งนัก เพราะถ้าภายในสงฆ์แตกกันเสียแล้ว ศาสนาก็อยู่ไม่ได้

    ในอดีตที่ผ่านมา ความแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ส่วนมากจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แล้วกลายมาเป็นการแยกพวกแยกหมู่กัน เป็นเรื่องที่ไม่ควรให้เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก ทางที่ดีและถูกต้องนั้น ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เราทำแล้วหรือยังไม่ทำก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจ่ว่าจะถูก ก็ควรค้นดูหลักฐานพระพุทธบัญญัติก่อน ถ้าหาไม่พบหรือไม่แน่ใจ ก็ควรที่จะสอบถามท่านผู้รู้

    การที่เราไม่รู้ และขืนทำไปก่อนนั้น ย่อมจะเกิดผลเสียอย่างน้อย 2 ประการ คือ

    1. ทำให้ท่านผู้รู้รังเกียจ และดูหมิ่นเอาได้ ว่าเราไม่มีความรู้ เมื่อไม่รู้แล้ว ก็ไม่ยอมศึกษาหรือสอบถามอีกด้วย เป็นเหตุให้บัณฑิตไม่อยากคบหาเรา

    2. มักจะเกิดการเคยตัว และเคยชินจนติดเป็นนิสัย แม้จะรู้ว่าผิดในภายหลังก็แก้ยาก เพราะการตามใจกิเลสตัณหานั้น มีแต่จะพอกพูนยิ่งขึ้น ได้ที่จะเบาบาง หรือหมดไปนั้น อย่าคิดเลย

    ดังนั้น ทางที่ดีและถูกต้องในการบวช ควรจะตั้งเป้าไว้ที่การศึกษาก่อนอื่นใด คือก่อนที่จะลงมือปฏิบัติทางจิต เพราะถ้าบวชแล้วไปปฏิบัติในทันที มันจะเบื่อการเรียนหรือบางทีก็นึกรังเกียจพวกที่เรียนปริยัติ หาว่าเป็นพวกในลานเปล่า


    แน่นอน, ถ้าเรียนรู้แล้วไม่ปฏิบัติ มันก็เป็นพวกใบลานเปล่าแน่ และในทำนองเดียวกัน การปฏิบัติโดยไม่เรียน มันก็มีผลเสียอย่างน้อย 2 อย่าง คือ อาจทำให้หลงผิด หรือปฏิบัติผิด เมื่อปฏิบัติผิดมรรคผลก็ไม่เกิด และอาจทำให้ล่าช้า หรือติดอาจารย์ได้ง่าย คือติดในทางผิดๆ แต่ถ้าเรายึดพระพุทธพจน์ พระไตรปิฎกไว้ก่อน โอกาสที่จะเสี่ยงหรือผิด ก็เป็นไปได้ยาก หรือไม่มีเลย เพราะพระไตรปิฎกผ่านการกลั่นกรองมามาก และเป็นที่รับรองกันทั่วโลก.


    ข้อมูล: หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับเก็บตก" จัดทำโดย ธรรมรักษา

    http://www.watpaknam.org/donation10-ทำบุญ น้ำปานะ.html

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2011
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาบุญนะคะ ที่น้องคิดจะรักษาอุโบสถศีล
    มีฆราวาสหลายท่านทำได้ค่ะ ในขณะที่ทำงานปรกติ
    (ในเว็บพลังจิต ก็มีหลายท่านค่ะ)
    ศีลข้อ ๖ ไม่ทำความเดือดร้อนให้เลย
    เพราะมีเครื่องดื่มหลายอย่างที่ทานได้ เช่นน้ำหวาน โกโก้ กาแฟ
    และช็อคโกแลตบางชนิด เนยแข็ง
    รวมทั้งปานะทั้ง ๘ ด้วย
    น้องอ่านที่คุณพี่Phanudet<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5057312", true); </SCRIPT> โพสต์เลยนะคะ ลองดูนะคะ ไม่ลองไม่รู้
    พี่ติงเอง ไปเข้าเพียร ไม่ทานอาหาร ๓ วัน ๓ คืน ทานแต่ปานะ ก็อยู่ได้ แถมสบายกาย ทำความเพียรได้ดีเสียอีกค่ะ อย่ากังวลไปเลย
     
  5. PrinceCharming

    PrinceCharming เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +773
    ขอบคุณมากครับ ผมก็คิดไว้ว่าจะเริ่มวันพระแรกต้นเดือนกันยาฯนี้ละครับ ไม่ทราบจะทำได้ไหมเหมือนกัน แต่ก็อยากลองดู
     
  6. mancity04

    mancity04 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,346
    ลองดูก่อนก็ได้ครับ ตั้งใจก็ได้บุญแล้ว

    ต่างคนต่างงานต่างความรับผิดชอบ

    ไหวไม่ไหวเราจะรู้ด้วยตัวเราเองครับ
     
  7. ปิยะราช

    ปิยะราช Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2011
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +85
    ขออนุโมทนาด้วยครับ
    ผมก็ถือศีลอุโบสถทุกวันพระเหมือนกันครับแต่ผมไม่ทานเนื้อสัตว์และเครื่องปรุงที่ทำจากสัตว์ทุกชนิด
     
  8. cataroop

    cataroop สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +4
    ขออนุโมทนาด้วยคนค่ะ

    ก็ต้องแล้วแต่ศรัทธาของแต่ละท่านนะคะ
    สำหรับข้าพเจ้าถ้าถือศีลอุโบสถ จะทานน้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ไม่มีเนื้อค่ะ ต้องข่มใจค่ะเพื่อกุศล
     
  9. หมี พลเสน

    หมี พลเสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +358
    ผมโมทนาบุญด้วยคนครับ
    <wbr><abbr title="1 กันยายน 2011 เวลา 16:52 น." data-date="Thu, 01 Sep 2011 02:52:44 -0700" class="timestamp livetimestamp"></abbr>
     
  10. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    ผมก็ถืออุโบสถจะเป็นสิบปีแล้วตลอดทั้งปีทั้งในและนอกพรรษา

    คนส่วนใหญ่กลัวว่าอดอาหารแล้วจะหิว ครั้งแรก ๆ หิว วันพระครั้งต่อ ๆ ไปก็ทนได้เป็นปกติไม่ได้หิวอะไร ร่างกายมันปรับตัวเอง คือชินไปเอง

    ความหิวเพราะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากไม่ได้กินอาหารโดยเฉพาะอาหารหลักพวกคาร์โบไฮเดรท คือ ข้าว แป็ง น้ำตาล

    วิธีแก้หรือบรรทเทา คือ ฉันน้ำปานะ คือ น้ำผลไม้ที่ไม่มีเนื้อ (น้ำผลไม้กล่องมีขายเยอะไป) ในน้ำผลไม้มีน้ำตาลประกอบ น้ำหวาน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ฯลฯ น้ำปานะที่มีความหวานหรือน้ำตาลประกอบ ความหิวก็จะหายไป

    น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เนยแข็ง เนยเหลว ท่านอนุญาตเพราะจัดเป็นประเภทเภสัช

    ส่วนอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นโภชนะไม่ควรกิน เช่น อาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำจากธัญพืช ถั่ว แป้ง นม ฯลฯ กินเข้าไปก็ไม่ต่างอะไรจากการกินอาหารหลัก หรือโภชนะ

    อดอาหารเย็นสำหรับผู้ฝึกรักษาศีล ๘ เพื่ออะไร?

    คุณของการอดอาหาร คือ ทำให้รู้จักความหิว ถ้าไม่อดก็ไม่หิว ไม่หิวก็ไม่อยาก ความอยากความหิวมันเป็นทั้งตัณหาและกิเลส เพื่อให้เราได้รู้และได้เอาจิตมาพิจารณา เมื่อข้ามได้ก็เท่ากับว่าผ่านด่านการข้ามความสำคัญของปัจจัย ๔ ตัวแรก คือ อาหาร

    คุณของการไม่กินอาหารเย็นหรืออาหารหนักอีกอย่างหนึ่งคือ จะทำให้กายเบา ใจเบา สติคล่องตัว สมาธิก็จะดี การภาวนาก็จะได้ผลดีด้วย อิ่มมาก กายมันหนักใจมันหนักภาวนาไม่ได้ผล ยิ่งถ้ากินเนื้อสัตว์มาก ๆ (หลังมื้ออาหารนั้น) กายจะร้อน ความกำหนัดและราคะก็จะขึ้น

    ธุดงควัตรที่พระท่านปฏิบัติก็เพื่อไม่ให้ให้ความสำคัญกับปัจจัย ๔ คือ

    ๑. บิณฑบาตร (ขอ) ได้ก็กินไม่ได้ก็ไม่กิน มื้อเย็นไม่กิน
    ๒. อยู่โคนไม้ ไม่นอนที่นอนสูง สำหรับเรา ๆ วันอุโบสถเราก็นอนกับพื้นบ้านไม่นอนบนที่นอน ถ้ารักษาอยู่ที่บ้าน หรืออาจจะนอนที่วัดแบบเป็นอยู่ง่าย เช่น ศาลาวัด
    ๓. ใช้ผ้าสามผืนสำหรับพระ สบง จีวร สังฆาติ พวกศีล ๘ ใช้เสื้อผ่าเครื่องนุ่งห่มอย่างง่ายไม่ประดับประดาตกแต่ง (ถ้าเป็นได้ก็นุ่งขาวห่มขาว)
    ๔. ไม่กังวลเรื่องยา ถ้าเป็นพระ ท่านก็ฉันน้ำมูตรเน่า (น้ำปัสาวะหมักของท่านเอง) เรา ๆ ก็ไม่ต้องขนาดนั้น

    พระปฏิบัติท่านฝึกข้ามปัจจัย ๔ อย่างแข้มข้น

    ฆารวาสที่ถืออุโบสถศีลหรือศีล ๘ ท่านก็ฝึกละปัจจัย ๔ อย่างอ่อน ๆ

    ปัจจัย ๔ นี่แหละคือฟืนคือไฟผูกเราเหมือนแอกให้ลากไถเหนื่อยยากทุกร้อน (ทำงานกันจะเป็นจะตายก็ไม่เพราะเพื่อปัจจัย ๔ หรือ?) โลภ สะสม แย่งชิง รบราฆ่าฟัน จนโลกลุกเป็นไฟจนทุกวันนี้ก็เพราะความต้องการสะสมปัจจัย ๔ ให้มากแล้วก็เบียดเบียน

    เลยต้องฝึกละความสำคัญของปัจจัย ๔ กันบ้าง

    ดังนั้นต้องฝึกทนอด มื้อเดียวไม่ตายแน่ ต้องอดทน ก็ขันติบารมีนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2011
  11. PrinceCharming

    PrinceCharming เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +773
    แล้วปกติเวลารักษาศีลอุโบสถกันถ้ารักษาอยู่ที่บ้านทำกิจกรรมอะไรกันครับ ปกติผมก็ดูหนังฟังเพลง อ่านหนังสืออ่านเล่น ก็คงต้องงดใช่ไหมครับ แล้วส่วนใหญ่ควรทำอะไรครับ ส่วนเรื่องที่นอนนี่เป็นฟูกได้ไหมครับ แต่วางบนพื้น หรือว่าต้องเป็นเสื่อเท่านั้น
     
  12. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    ดูหนัง ฟังเพลง อ่านการ์ตูน ไม่ควรสำหรับผู้รักษาศีล ๘
    ไม่ควรนอนฟูก แต่ควรนอนบนเสื่อหรือผ้าปูบนพื้นห้อง

    อุโบสถศีล เป็นการรักษาศีล ๘ เพี่ยงแค่วันหนึ่งคืนหนึ่งในวันพระ ๘ ค่ำและ ๑๕ ค่ำเท่านั้นเอง ซึ่ง ๘ วัน หรือสัปดาห์ละครั้งเท่านั้นเอง ควรรักษาอย่างเคร่งครัดจึงจะได้อานิสงส์เต็มที่

    วันอื่น ๆ อีก ๗ วันเราก็ใช้ชีวิตปกติซึ่งจำนวนวันมากกว่าตั้งเยอะ
    ................

    ศีลข้อ ๖ ไม่บริโภคอาหารหลังเวลา ๑๒:๐๐ น ไปแล้ว

    ข้อ ๗ จริง ๆ แล้วเป็นการรวมของศีลข้อ ๗ คือ เว้นจากการร้องรำทำเพลงและดูหนังดูละครฟังเพลง สิ่งที่เป็นเคื่องบันเทิงเริงรมย์ทั้งหาลย (สิ่งเหล่านีเป็นข้าศึกของความสงบ) ส่วนข้อ ๘ เว้นจาการทัศทรงดอกไม้รวมไปถึงการตกแต่งร่างกายด้วยเคื่องประดับ เคื่องสำอาง ของหอมต่าง ๆ

    พวกศีล ๘ จริง ๆ แล้วคือถือศีล ๙ นั่นเองเพราะเขาเอาข้อ ๗+ ข้อ๘

    ถ้าตั้งใจจริงควรรักษาอย่างเคร่งครัด
    ไม่ดูหนังฟังเพลงเราก็ฟังธรรมะอ่านธรรมะเข้าเว็บธรรมะได้

    ข้อ ๘ (ของพวกศีล ๘) ก็ไม่นอนที่นอนสูงใหญ่ ทำไม่ยาก ก็ลงมานอนกับพื้น

    พวกศีล ๘ อยู่บ้านเขาทำอะไร จะถือศีล ๘ อยู่บ้านต้องดูสถาณการณ์ด้วย ถ้าบ้านเงียบสงบก็โอเค ถ้ามีคนเยอะมีเด็กรบกวน คือบ้านไม่สงบ ควรหลีกไปวัด ถ้าอยู่บ้านคนเดียวหรือสองสามคนแต่สงบก็โอเค

    ตื่นเช้ามาก็สวดมนต์ แล้วตักบาตรหรือไปถวายอาหารที่วัด กลับมาก็ดูแลบ้านตามสมควร หรือคนที่ต้องเรียนหรือทำงานก็ทำหน้าที่ตามปกติ ถ้าคนไม่ได้ไปทำงานหรือเรียน ก็นั่งสมาธิเดินจงกลมถ้าจะพักผ่อนก็นอนสมาธิ ยืนเดินนั่งนอนสมาธิ รักษาสติให้ได้ตลอดทั้งวัน ตกเย็นก็ทำเรื่องส่วนตัว พอค่ำก็ไหว้พระสวดมนต์ แล้วนั่งสมาธิ แล้วจึงนอนสมาธิหลับไป

    ประมาณนี้แหละนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...