เรื่องเด่น ทึ่ง! พิธีกรรม "แม่มด" รักษาคนป่วยด้วยพลังจักรวาลผ่านเสียงดนตรี

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ped2011, 24 มิถุนายน 2011.

  1. ped2011

    ped2011 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +1,096
    [FONT=&quot]พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษของชาวเขมรแถบอีสานตอนล่าง ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก โดยมีความเชื่อว่า วิญญาณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีปีศาจ และดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมีอยู่จริง[/FONT]

    [FONT=&quot]ปัญโจลมะม็วด[/FONT][FONT=&quot](ปัญโจล แปลว่า การเข้าทรง) (มะม็วด แปลว่า แม่มด) [/FONT][FONT=&quot]หมายถึงการเชิญจิตวิญญาณทั้งปวงเข้าสู่ร่างทรงเรียกว่า กรู มะม๊วด เพื่อขจัดสิ่งเลวร้ายต่างๆ รวมถึงการถอนอาคมตุณไสย์จากผู้ประสงค์ร้าย[/FONT][FONT=&quot] ขณะเดียวกันพิธีกรรมก็จะทำพิธีขอขมาลาโทษต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และวิญญาณของบรรพบุรุษที่ได้ล่วงละเมิดโดยมิได้ตั้งใจ ตลอดจนการเสริมศิริมงคล ปกป้องคุ้มครองให้วิถีการดำเนินชีวิตได้ร่มเย็นเป็นสุข[/FONT]


    [FONT=&quot][ame="http://www.youtube.com/watch?v=1351wvCCWmc&feature=player_detailpage"]YouTube - ‪พิธีการษาโรคด้วยเสียงดนตรี‬‏[/ame][/FONT]

    [FONT=&quot]พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด โดยหลักๆแล้วชาวเขมรสุรินทร์ มักจะนำพิธีกรรมดังกล่าวมาใช้ เพื่อการรักษา การเจ็บไข้ได้ป่วย และเนื่องจากในพิธีกรรมนี้ มีการใช้ศาสตร์ดนตรี กันตรึม วงปี่พาทย์บรรเลงเพลงประกอบ เพื่ออัญเชิญจิตวิญญาณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาประทับที่ร่างทรงของแม่มด ปัจจุบันจึงนิยมเรียกความหมายพิธีการปัญโจลมะม็วดนี้ว่า [/FONT][FONT=&quot]“การรักษาด้วยเสียงดนตรี”[/FONT]


    [FONT=&quot]คุณตาโบราณ จันทร์กลิ่น ครูเพลงกันตรึมดนตรีประกอบพิธีปัญโจลมะม็วด แห่งบ้านดงมันกล่าวว่า[/FONT][FONT=&quot] “พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด” เป็นการเล่นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเช่น บางครั้งชาวบ้านไปโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บปวด แขน ขา ร่างกายฯลฯ แพทย์หาสาเหตุไม่เจอ แต่เมื่อมารักษาโดย “พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด” ก็จะหายจากการเจ็บป่วย ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการนี้ได้มีการสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษแล้ว[/FONT]

    [FONT=&quot]ท่านยังบอกว่า แม้ในกรุงเทพ[/FONT][FONT=&quot] “พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด” จากจังหวัดสุรินทร์ก็มีการไปเล่นอยู่เป็นประจำ[/FONT]
    [FONT=&quot]ความห่วงใยถึงวัฒนธรรมประเพณีดังจะสูญหายไป ปัจจุบันท่านได้พยายามสร้างเยาวนคนรุ่นใหม่ฝึกฝนศิลปะวัฒนธรรมอันงดงามนี้สืบทอดต่อไป[/FONT]

    [FONT=&quot]ตามความเชื่อของชาวเขมร พวกเขาเชื่อว่าในอิทธิพลของพลังแห่งจักรวาล ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และสรรพสิ่ง[/FONT][FONT=&quot] ล้วนเกิดจากอิทธิพลอำนาจของจักรวาล ดังนั้นต่างสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ความสมดุลจะเกิดขึ้นได้ด้วยจิตวิญญาณและศรัทธา[/FONT]

    burger2.jpg

    [FONT=&quot]โลกวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน แม้จะสามารถพิสูจน์ความเป็นจริงทางกายภาพในระดับหยาบได้อย่างแม่นยำ แต่กลับไม่สารถพิสูจน์ได้ว่า เหตุใดค่าความเค็มของนำทะเล อ๊อกซเจนในอากาศ จึงคงที่ในโลกของธรรมชาติ [/FONT]

    [FONT=&quot][FONT=&quot]ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ[/FONT] (Special Relativity)[/FONT][FONT=&quot] [FONT=&quot]กลศาสตร์ควอนตัม[/FONT][/FONT]
    [FONT=&quot]([/FONT][FONT=&quot]quantum mechanics[/FONT][FONT=&quot]) รวมทั้งโครงการ "เซิร์น" (ผู้โพส) กำลังเดินทางไปสูการไขปริศนาความมีอยู่จริง ของมิติลึกลับซับซ้อนต่างๆ ที่ช่อนเร้นอยู่ในจักรวาลแห่งธรรมชาติ [/FONT]

    [FONT=&quot]วันหนึ่งเราอาจจะพบความจริงว่า[/FONT][FONT=&quot] “พิธีการปัญโจลมะม็วด” เป็นวิธีการหนึ่งที่เข้าถึงสนามพลังของจิตจักรวาล นำไปสู่การสร้างดุลยภาพทางกายภาพในร่างกายของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมในชุมชนก็เป็นได้ [/FONT]

    [FONT=&quot]วันนั้น[/FONT][FONT=&quot] “พิธีการปัญโจลมะม็วด” จะไม่ใช่สิ่งที่หล้าสมัยโบราณอีกต่อไป หากแต่ “การรักษาด้วยเสียงดนตรี” จะย้อนกลับมาแบบทันสมัยอีกครั้งใน “โลกยุคหลังวิทยาศาสตร์”[/FONT]



    [FONT=&quot]ปัญโจลมะม็วด[/FONT][FONT=&quot] พิธีกรรมรักษาการเจ็บป่วยด้วยเสียงดนตรีนี้ เชื่อว่าศาสตร์ด้านนี้ ได้อยู่คู่สังคมมนุษย์โลก มาแต่บรรพกาลและมีการวิวัฒนาการขึ้นเป็นลำดับ สั่งสมเป็นอารยธรรม วัฒนธรรม ที่หลากหลายด้วยรูปแบบพิธีกรรม ดนตรี เครื่องแต่งกาย เครื่องเซ่นไหว้ฯลฯ และซึมซับเข้าไปในวิถีการดำเนินชีวิต สืบทอดด้วยแรงศรัทธามาถึงยุคปัจจุบัน [/FONT]

    [FONT=&quot]สังคมโลกยุควิทยาศาสตร์ที่กำเนิดเมิ่อราว ๕๐๐ ปีและรุ่งเรืองสูงสุดถึงปัจจุบัน ก็มีอายุราว ๑๐๐ ปี ดังนั้นจึงยังมิอาจทอดทิ้งศาสตร์ดังกล่าวได้ เพราะการเจ็บป่วยหลายโรคที่วิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันรักษาไม่หาย กลับรักษาให้หายขาดได้ด้วยพิธีกรรม[/FONT][FONT=&quot] ”ปัญโจลมะม็วด”[/FONT]

    [FONT=&quot]โลกยุคหลังวิทยาศาสตร์คาดว่าในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า พิธีกรรม ”ปัญโจลมะม็วด” อาจจะถูกพัฒนาให้การรักษาโลกแม่นยำมากขึ้นก็เป็นได้ [/FONT]

    --------------------------------------------
    คัดมาเฉพาะบางส่วน จากข้อเขียนทั้งหมดของ ปรีชา วรเศรษฐ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2011
  2. Yourtime

    Yourtime สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +0
    โว้วว รักษาด้วยเสียงดนตรี ยังไงนิ ช่วยอธิบายให้หน่อยได้มั้ยครับ ว่าเป็นไปได้ยังไง เป็นหลักคลื่นเสียง หรือเป็นเพียงแค่จิตวิทยา เท่านั้น หรือว่าสะกดจิตครับ ใครรู้ขอคำตอบหน่อยครับ ผมสงสัย
     
  3. 2499

    2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,033
    <CENTER>ปันโจลมม็วตการรักษาโรคด้วยความชื่อและดนตรีในวิถีเขมรอีสานใต้

    </CENTER>


    ปันโจลมม็วตการรักษาโรคด้วยความชื่อและดนตรีในวิถีเขมรอีสานใต้
    ฤดูกาลผันเปลี่ยนจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ผ่านพ้นเข้าสู่ฤดูกาลว่างเว้นจากการทำไร่ไถนาในสังคมชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้นให้ความสำคัญเกื่ยวกับความเชื่อ วิถีแห่งการประกอบกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ซึ่งในความเป็นจริงล้วนเผชิญกับอุปสรรคต่างๆนานา ความเชื่อที่ว่าด้วยการรักษาโดยการนำเอาดนตรีกับความเชื่อมาผนวกเข้าด้วยกันถือเป็นกุสโลบายวิถีแห่งวิธีการที่สอดแทรกและหาหนทางการนำเนิดสู่การวินิจฉัยสิ่งที่เหลือเชื่อหรือเกินความคาดหมาย ที่อาจจะไม่ล่วงรู้มาก่อนในการรักษาโรคหรือพยาการณ์ การใช้ศาสตร์ทางดนตรีมาผนวกเข้ากับความเชื่อ นอกจากการรักษาทางยาที่มีมาแล้ว สิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในสังคมยุคสมัยโบราณที่ห่างไกลความเจริญความก้าวยังเข้ามาไม่ถึง ถือเป็นสิ่งที่ขาดมิได้เป็นอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    มม็วตกำลังเข้าทรงหรือที่เรี่ยกว่า ปัญโจล
    ปัญโจล แปลว่า การเข้าทรง , มม็วต แปลว่า แม่มด , ปัญโจลมม็วต (ปัน - โจล - มะ - ม็วด) หมายถึงการ เข้าทรงแม่มด อันมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการรักษาโรค หรือการ แสดงการขอบคุณ บนบานสานกล่าวจากการกระทำอันใด ล่วงเกินโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ในสังคมชาวเขมรอีสานใต้
    การละเล่นดังกล่าวนี้พบอยู่ทั่วไปในสังคมชาวไทยเชื้อสายเขมรมีมาตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด เข้าใจว่าน่าจะมีแบบแผนมาจากความเชื่อไม่น้อยกว่าสมัยอาณาจักเขมรรุ่งเรือง การปัญโจลมม็วตนี้แม้หากล่วงมากว่าหลายร้อยพันปี การละเล่นดังกล่าวในสังคมชาวไทยเชื้อสายเขมรก็มิได้เลือนหายตายจากไป ถึงแม้เทคโนโลยีทางการเเพทย์ก้าวหน้าสุดขีดจนเพียงใด แต่ความเชื่อที่ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวไทยเชื่อสายเขมรในการรักษาโรคในรูปแบบนี้ก็มิถูกลบล้างออกไปจากบทบาทแห่งวิทยาการทางการเเพทย์ที่ทันสมัย แต่ยังคงเดินทางก้าวขนาดควบคู่กับการรักษาในรูปแบบทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่เรี่ยกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณ สุดท้ายความเชื่อดังกล่าวอาจเรี่ยกได้ว่าเป็นการรักษาในรูปแบบแพทย์แผนทางเลือกที่เกิดจากความเชื่อที่เกินจะอธิบายในความลึกซึ้งความเข้าใจถ่องแท้ในขนบความเชื่อดังกล่าว ได้
    เรื่องเล่าเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยความเชื่อและดนตรีนั้นเป็นสิ่งที่เหลือเชื่อที่คนต่างถิ่นนอกเหนือจากคนในสังคมชาวไทยเชื้อสายเขมร เห็นว่าเป็นเรื่องที่เกินที่จะเป็นไปได้เป็นเรื่องที่งมงาย ซึ่งเป็นสิ่งที่อธิบายได้อยากมากๆเพราะเป็นในเรื่องสิ่งที่เหนือจากกฎธรรมชาติ
    การปัญโจลมม็วต นิยมเล่นหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ อยู่ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - กลางเดือนเมษายน การเล่นนอกเหนือจากฤดูกาลดังที่กล่าวอาจเป็นเพราะความฉุกลหุกเร่งด่วนจากการบนบานสานกล่าวหรือความต้องการในการคาดการณ์หรือพยากรณ์จากแม่ครูหรือผู้พยากรณ์อวุโสในชุมชนนั้น การเตรียมการในพิธีการนี้เริ่มต้นล่วงหน้าหลายวันโดยนับวันหลักๆรวมได้สามวัน คือวันเเรกก่อนวันได้ฤกธิ์ต้องมีการเตรียมการจัดเเจงข้าวของเชิญเเขกญาติคณะแม่มดที่เคยผ่านการปัญโจลแม่มดในเครือญาติต้องเซิญมาให้หมดเท่าที่จะทำได้ วันที่สองคือวันได้ฤกธิ์หรือวันจริงเจ้าภาพ
    [​IMG]
    บรรดามม็วตที่กำลังฟ้อนรำกลางปะรำพิธีมม็วตในร่างทรง
    [​IMG]
    ร่างทรงมม็วตในวัยแม่เฒ่าที่ต้องทำหน้าที่ฟ้อนรำในพิธี
    [​IMG]
    ท่ารำซาร์ปดาน(การรื้อปะรำ)ท่ารำสุดท้ายในพิธีกรรมมม็วต
    และเเขกต้องเตรียมปลูกปะรำที่บริเวณลานบ้านและเตรียม เครื่องบัตพลีในพิธีกรรมที่เรี่ยกว่า จวมกรู สำหรับไหว้ครูมาจัดวางกลางปะรำพิธีให้เรียบร้อย หลังจากนั้นได้เวลา
    [​IMG]
    เครื่องบัตรพลีที่เรียกว่า จวมกรู ที่จะขาดไปเสียมิได้
    [​IMG]
    เครื่องเซ่นไหว้ผีหรือไหว้ครูนอกปะรำพิธี
    ประมาณพลบค่ำหกโมงเย็นถึงสองทุ่มหรือกินเวลาไปถึงสามทุ่มเหล่าบรรดาคณะดนตรีกันตรึม หรือคณะหมอแคน คณะฆ้องกลอง จะทำการประโคม บรรเลงเพลงอัญเชิญ ร่างทรงให้มาประทับที่ร่างทรงของแม่มดเจ้าภาพ ตามด้วยเหล่าแม่มดที่เคยผ่านพิธีการปัญโจลมม็วตมาร่วมฟ้อนรำ หลังจากการเตรียมพร้อมเข้าทรงเรียบร้อยทั้งหมู่คณะเเล้วแม่มดทุกคนจะร่วมกันฟ้อนรำรอบจวมครูหรือเครื่องบัตพลีที่วางกลางปะรำด้วยท่วงท่าและบทเพลงตามแบบฉบับเขมรอีสานใต้ โดยใช้ท่า กั๊จปกา(การเด็ดดอกไม้ไหว้ครู)อันเป็นท่าไหว้ครู ตามด้วย ท่าจักจะเวีย อมตู๊ก(ท่าพายเรือ) ท่าซาร์ปดาน(ท่าลาหรือรื้อปะรำ)เป้นการสิ้นสุดการละเล่น โดยมีการปัญโจลและฟ้อนรำทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้าเวลา แปดโมงเช้า จึงสิ้นสุดการละเล่นดังกล่าว
    [​IMG]
    การรำในท่าอมตู๊ก(พายเรือ)หนึ่งในสี่ท่ารำพิธีปัญโจลมม็วตซึ่งบางชุมชนใช้เครื่องดนตรีในวัฒนธรรมอีสานตอนบนมาบรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องบรรเลง หนึ่งในสามกลุ่มเครื่องบรรเลง แต่ยังคงซึ่งทำนองการบรรเลงแบบเขมร

    [​IMG]
    พิธีการอุ้มกระเซอตะออ ระหว่างการรำอมตู๊ก(พายเรือ) เป็นการแสดงการขอบคุณ
    ดนตรีสมัยก่อนมีเพียงแค่กลอง ฆ้อง คนเจรียง อย่างละคน เท่านั้น แต่แถบจังหวัดสุรินทร์มีการใช้ ซอหรือตรัว ปี่อ้อ เข้ามาประสมวง และได้รับเอาการใช้แคนในวัฒนธรรมของสาวอีสานตอนบนมาใช้ด้วย จึงเกิดการผสมผสาน ซึ่งบทเพลงที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นทำนองดังเดิมในวัฒนธรรมเขมรอีสานใต้เป็นสำคัญ
    สมัยเมื่อ 17- 18 ปีก่อน ป้าญาติผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมข้างขวารักษาทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณ จนหมดทางเลือกเกินที่จะเยียวยา รักษาร่วมหลายปี ในช่วงชีวิตสุดท้ายจึงปรึกษาหารือกับทางญาติพี่น้องตัดสินใจหยุดการรักษาในแพย์แผนปัจจุบันหันมาได้ความเชื่อเเละดนตรีที่มีมาในสังคมชาวไทยเชื้อสายเขมรซึ่งเป็นวิธีการสุดท้ายในการเยียวยารักษา ในขณะนั้นตัวคนไข้เองไม่สามารถลุกและยกแขนยกขาได้เลยได้แต่เพียงนอนรอวันสุดท้ายของลมหายใจไม่เคยมีวันไหนที่จะยกแขนตัวเองได้อย่างคนปกติ แต่มาวันที่จัดพิธีกรรมการปัญโจลมม็วตให้ปรากฏว่าแม้แต่ตัวคนไข้เองที่นอนขยับอะไรไม่อยู่บนบ้านสารมารถขยับแขนยกแขนได้เองเยี่ยงคนปกติอย่างเหลือเชื่อญาติพี่น้องต่างดีใจ พิธีกรรมดังกล่าวดำเนินต่อไปโดยมีตัวเเทนและแม่ครูทำพิธีและคณะบรรเลงดนตรีประโคมการปัญโจล กระทั่งเวลา สามทุ่มคนไข้ที่นอนอยู่บนบ้านได้ยินเสียงการประโคมดนตรีอันไพเราะสามารถที่จะยกแขนขึ้นมาทำท่าฟ้อนรำชูไม่ชูมือ อย่าประหลาดใจ มองที่แววตาสีหน้าดูร่าเริงสดชื่น พอรุ่งเช้าสามารถ หยิบจับขยับเเขนได้เป็นปกติ แม้การจัดพิธีกรรมดังกล่าวล่วงเลยเลิกราไปกว่าหนึ่งเดือน คนไข้สามารถใช้มือหยิบจับสิ่งของได้เองเป็นปกติ จนกระทั่งลมหายใจเฮือกสุดท้ายสิ้นลงด้วยโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่เหลือเชื่อไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไรกันเเน่ แต่นี่มิใช่เป็นเหตุการณ์เดียวในลักษณะนี้จากการใช้พิธีกรรมการปัญโจลมม็วตเข้ามาเกี่ยวข้องในการรักษา แต่มีปรากฎการณ์หลายอย่างเช่นเดียวกับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวหลายเหตุการณ์ที่ทุกคนเองโดยเฉพาะคนในสังคมวัฒนธรรมเขมรอีสานใต้ถือว่าพิธีกรรมการปัญโจลมม็วตเป็นพิธีกรรมการรักษที่บรรพษุรุษสั่งสมสืบทอดและถ่ายทอดแก่ลูกหลานมา ทั่วคนทุกบ้านต้องมีมม็วตในสายตระกูลประจำตระกูล


    ที่มา : ปันโจลมม็วตดนตรีรักษาโรค วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2550 หน้า 104 - 109

     
  4. apple_lin

    apple_lin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    584
    ค่าพลัง:
    +704
  5. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,385
    ผมเคยเห็นพิธีกรรมเช่นนี้ที่ทางอิสาน เรียกว่า รำผีฟ้า เมื่อตอนเด็กๆราว 30 ปีมาแล้ว
    มารักษาคุณยาย อันเป็นอาการที่หมอตอนนั้นรักษาไม่หาย
     
  6. ล้มเหลว

    ล้มเหลว วีชิคเชียงใหม่ รถเช่าราคาถูก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +92
    เสียงเพลง เสียงดนตรี ขนาดเวลาที่เราเครียดๆ ได้ฟัง มันยังกล่อมไห้เราสงบ ทำไห้เราหายเครียดได้เลย
     
  7. bingping

    bingping เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2005
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +391
    คล้ายพิธี รำผีข่วง ผีแถน ผีฟ้า เป็นพิธีกรรมโบราณทางอีสานหาดูยากจริงๆๆ
     
  8. กรรัฐ

    กรรัฐ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +26
    ปรเพณีบ้านผมเอง
    เขมรเรียก เลงกรู มม็วต (เล่นครู แม่มด) ครูภาคพื้นดิน ส่วน บ็องบ็อด (เทวดาบนสวรรค์คล้ายๆกับแถนของชาวลาว) ส่วยเรียก (แกลมอ หรือ มอออ)
    เวลาผมไปดูเขารำแม่มด มีของเครื่องเซ่นไหว้มากๆมายเลย ทั้งดอกไม้บายแสร็ย(บายศรีของเขมร)ขนมข้าวต้มกล้วยอ้อยมากมายหลากหลายอย่างเวลาเขาเล่นก็จะเริ่มด้วยเสียงซอและวงกันตรึม เล่นเพลงครูหรือเชิญครูด้วยเสียงดนตรีมีท่วงทำนองช้า เดี๋ยวมีเสียงทุ้ม เสียงแหลมสลับกันฟังแล้วขนลุกสู่ทั้งตัวเลย ต่อมาก็เริ่มเล่นด้วยแคน แล้วเริ่มร้องเชิญครูทั้งหลายมาร่วมพิธีร้องเป็นภาษาเขมรด้วย ฟังแล้วขนลุกอีกรอบหนึ่ง ต่อมาก็จะมีการไล่สิ่งชั่วร้าย แล้วคนทรงคนอื่นๆก็จะเริ่มเข้าทรงตามคนแรก บางคนร้องไห้ บางคนเต้นรำ ดูแล้วก็ตลกเหมือนกัน เขาเริ่มเล่นประมาณ 6 โมงเย็น หรือไม่เกิน 3ทุ่ม แล้วเล่นจนถึง 7 โมงเช้า เรานั่งดูทีแรกก็นั่งงงคนอะไรกินเหล้าเป็นขวดๆเช้ามาไม่เมาสักแอะเดียว มีแต่คนแก่เนทั้งนั้นเลย เต้นทั้งคืน บางคน 70 บางคน 60 เต้นรำแล้วไม่เห็นเจ็บกระดูกเลยนี้ผมก็งงเหมือนกัน
    เล่าสู่กันฟัง ผมคนสุรินทร์เหลา
     
  9. เด็กสร้างบ้าน

    เด็กสร้างบ้าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,195
    ค่าพลัง:
    +538
    คล้ายๆการรำผีฟ้าในอีสานล่าง ขออนุโมทนาบุญกับท่านเจ้าของกระทู้ด้วยครับ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...