สมัชชาคุณธรรมปี"54เสวนา ชูพระสงฆ์เป็นต้นแบบการทำความดี

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 6 เมษายน 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์คุณธรรม กล่าวแถลงข่าวองค์กรความร่วมมือการขับเคลื่อนงานสมัชชาคุณธรรม ปี 2554 ประเด็นศาสนา (พุทธ) ว่า การจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ในปีนี้จะอยู่ภายใต้แนวคิดหลัก สร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง ในวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2554 ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี เพื่อต้องการให้เกิดกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านความซื่อตรง รวมทั้งเสริมสร้างคุณธรรมอย่างมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในสังคมไทย มุ่งหวังให้องค์กรต่างๆ และประชาชนเกิดความเข้มแข็งทางด้านคุณธรรม โดยกระบวนการในครั้งนี้ได้กำหนดประเด็นขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาคุณธรรมใน 6 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นศาสนา การศึกษา ธุรกิจ สื่อ ข้าราชการ และการเมือง ซึ่งถือว่าทั้ง 6 กลุ่มมีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชน ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนสังคมแห่งความซื่อสัตย์

    นางสารภี ศิลา ผอ.สำนักส่งเสริมประชาสังคมเพื่อการพัฒนา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ตนเชื่อว่าเครือข่ายพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยฟื้น คำว่า บวร ให้กลับคืนสู่สังคม เพราะปัจจุบัน บ้าน วัด โรงเรียน ห่างกันออกไปทุกที ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะร่วมกับเครือข่ายพระสงฆ์ในการช่วยกันทำให้บวรเกิดความเข้มแข็ง และสร้างความซื่อสัตย์ให้สังคมไทยทั่วประเทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ครอบครัวนำเด็กและเยาวชนเข้าวัด ได้เรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปสู่การปฏิบัติมากขึ้น รวมทั้งพร้อมสนับสนุนกิจกรรมของสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติด้วย ด้านนายธีระ วัชระปราณี ผู้แทนเครือข่ายงดเหล้า กล่าวว่า การขับเคลื่อนงานด้านคุณธรรม พระสงฆ์จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้เรื่องนามธรรมเกิดผลเป็นรูปธรรมได้

    หน้า 31


     
  2. ธรรมชาติมีพอเพียง

    ธรรมชาติมีพอเพียง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +86
    เจริญพร
    ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าโยมมีจิตสาธารณะดีมากเลย เที่ยงคืนกว่าแล้วยังสามารถนำเอาข้อมูลข่าวสารดีๆมาเผยแพร่ได้ ขอแสดงความคิดเเห็นนิดหน่อยนะ กับประเด็นที่ว่า
    "สร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง"
    - ใครเป็นผู้สร้าง
    ในที่นี้จะกล่าวถึง คือ ผู้กำหนดนโยบายเป็นใคร ผู้รับนโยบายเป็นใคร และผู้ปฏิบัติตามนโยบายเป็นใคร เพียงแค่ใคร เรื่องเดียวเท่านี้โยมก็ปวดหัวแล้ว ลองคิดตามนะ
    - ผู้กำหนดนโยบาย ถ้ามีสัมมาทิฐิ เราจะเกิดการพัฒนาประเทศที่ตัวคนก่อน ลองคิดตามแนวอริยสัจสี่นะ
    ทุกข์ คือ คนเสื่อมคุณธรรมใช่หรือไม่ เช่น คนฉลาดขึ้น เก่งขึ้น แต่ทำไมคนยังเอาเปรียบกันอยู่ทำไมเพื่อนมนุษย์ด้วยกันไม่มีความสุข การเบียนเบียนเกิดขึ้นเกือบทุกที่ ฯลฯ ถ้าใช่ ต้องพัฒนาที่คนก่อนหรืออย่างอื่นก่อน คิดดู
    สมุทัย คือ เราพัฒนาประเทศหรือสังคมผิดหรือเปล่า เช่น น้ำไหล ไฟสว่าง สโลแกนแผนพัฒนาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติในช่วงแรก ใช่หรือหรือไม่ น่าคิดตรงที่ครุบาอาจารย์ที่เก่งคิด เก่งทฤษฎีมีตั้งมากมายทำไมไม่ทำตาม ยกตัวอย่างเช่น ในหลวง ฯลฯ
    นิโรธ คือ เรา(หมายถึงคนทั้งประเทศและเพื่อนชาวโลกด้วยที่สัมมาทิฐินะ) จะมีความสุขในทุกๆสถานที่ หรือที่เราเข้าใจกันดีอยู่แล้วคือ สังคมแห่งพรหมวิหารธรรม นั่นเอง คือ ทุกคนเป็นพรหม ด้วยกันทั้งหมด ทั้งเด็กๆและผู้ใหญ่ต่างมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ และถือธรรมว่าเป็นใหญ่สุด
    มรรค คือ เราต้องเริ่มต้นที่ผู้กำหนดนโยบายก่อนเลย เช่น การกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดทำงานเพื่อให้เอื้อต่อการมีความสุขตามแนวทางๆศาสนาเป็นหลักตัวอย่าง เช่น
    - เราไม่หยุดตามประเทศอื่นที่เขาไม่สนบุญไม่เอาบุญเน้นระดับจีดีพีอย่างเดียวก็ต้องปล่อยเขาไป เราอย่าไปเต้นตามเขา ด้วยหยุดตามเทศกาล หรือ วันเสาร์อาทิตย์ เหมือนชาวอื่นที่ไม่เกี่ยวกับทางพุทธศาสนา เราจะหยุดงานเฉพาะวันพระ คือ ขึ้น 8 แรม 8 ขึ้น 15 แรม 15 ค่ำ เอาเพียงเดียวนี้โยมก็ต้องคิดหนักแล้ว และถ้าถามว่าจะทำได้หรือไม่ ต้องบอกว่่าไม่มีทางเลยใช่หรือไม่ ส่วนวันทำงาน เราก็ทำปกติ ใครที่เขาอ้างว่าไม่ตรงกับตลาดโลกระบบของโลก คำถามกลับก็คือ เราพร้อมกันหรือยังที่จะเปลี่ยนตัวเองเพื่อความสุขจริงๆ ตามหลักพุทธศาสนา ไม่ใช่สุขตามโลก ถ้าจะเป็นอย่างเขาก็ต้องเตรียมตัวรับกรรมที่เราก่อเหมือนกับเขาทั้งหลายในโลก ในระยะเวลาหลังจากสงครามโลกผ่านมาชาวโลกเห็นดีเห็นงามกับการพัฒนาวัตถุ ยิ่งระบบอุตสาหกรรมพัฒนาได้มากเท่าไหร่ ทรัพยากรทางธรรมชาติก็หมดเร็วเท่านั้น เพราะชาวเราชาวเขาต่างชอบวัตถุด้วยกันทั้งนั้น และด้วยคำว่า "สังคม" ต้องประกอบด้วยคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปใช่ไหมจึงจะเรียกว่าสังคม

    จะสังเกตุว่าพระอริยะเจ้าทั้งหลายท่านไม่ค่อยอยู่เกี่ยวข้องด้วยกับเราเพราะอะไร เพราะท่านห้ามเราไม่ได้ และท่านไม่ได้สั่งสมบารมีมาเพื่อช่วยสัตว์โลกทั้งหลาย ฯลฯ จะเว้นไว้ก็กรณีที่ท่านต้องการเป็นพระโพธิสัตว์เท่านั้นแหละที่จะสู้เพื่อผู้อื่นนะ

    ที่ผ่านมาลองนึกคิดเอาแล้วจะได้หาเหตุของทุกข์ได้ และ วิธีการดับทุกข์จริงๆแล้วหรือยัง ครูบาอาจารย์เราท่านรู้และเจอแล้วแต่ต้องเหนื่อยกับการรบกับกิเลสของตัวท่านเองจนเหนื่อยแล้ว สุดท้ายพอท่านบรรลุก็อายุมากเข้าไปแล้ว สิ่งที่เราท่านทั้งหลายได้จากท่านคืออะไร แค่ "สัทธา" เน้นว่าสังคมเราได้แค่สัทธาเท่านั้น บางคนปัญายังด้อยอยู่ก็หนักเข้าไปอีกด้วยการสัทธาแบบหูหนวกตาบอดเลยก็ให้เห็นมากมาย

    เอาไว้เท่านี้ก่อนนะ เพราะยิ่งพูดก็ยิ่งฟุ้งซ่านมากไป เพราะครูบาอาจารย์ที่มีบุญมาก บารมีมากอีกตั้งมากมายยังไม่สามารถลบล้าง เรื่องเหล่านี้ได้เลย ฉะนั้นจะไม่พูดต่อ เรื่องว่า ผู้รับนโยบาย ผู้ปฏิบัติตามนโยบาย เพราะคนแรกคนเดียวก็แก้กันไม่ได้แล้ว ส่วนประเด็นอื่นๆจะง่ายมากถ้าระดับนโยบายสามารถทำได้ ตั้งข้อสังเกตนะโยม ตั้งแต่เราเดินตามชาวตะวันตกมาแล้วหลังสงครามโลกประเทศไทยเรา มีการดูแลรักษา และใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าหรือเปล่า นี่เป็นหลักเศรษฐกิจแท้ๆเลยนะ ลองนึกคิดเอา เพราะความหมายแท้ๆของผู้ที่เขาคิดทฤษฎี เขาต้องการอย่างนั้น แต่คำตอบเรื่องนี้อย่างเดียว เราก็ล้มเหลว ทั้งการใช้ทรัพยากร การซ่อมแซมดูแลรักษา การอนุรักษ์อะไรก็แล้วจะพูดเถอะ สรุป ประเทศไทยเหลือต้นทุนทรัพยากรทางธรรมชาติอะไรบ้าง แล้วถ้าสนใจจะคุยกันจริงๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้นะก็ยินดีนะโยม

    ส่วนเรื่อง เกี่ยวกับการตั้งชมรมหรือ สมาคมอะไรก็แล้วแต่จะสังเกตได้ว่าประเทศไทยมีมุลนิธิ ชมรม สมาคม ฯลฯ ที่เกี่ยวกับศาสนามากมาย ตั้งคำถามว่า
    - แล้วรัฐบาลมีหน่วยงานทางพุทธศาสนาไว้เพื่ออะไร เมื่อมีหน่วยงานดังกล่าวแล้วทำอะไร เพราะถ้าคำตอบว่า ทำแล้วก็ถามต่อว่าทำไมไม่พัฒนาในทางที่ดีขึ้น ลองนึกหรือคิดตามเอานะ เพราะอาตมายังไม่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐจะจริงใจ และจริงจัง เน้นว่าจริงใจและจริงจังกับการคิด สื่อ และลงมือทำจริงๆ ประชาชนจะได้ประโยชน์มาก

    เพราะการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเท่านั้นจึงจะดับได้ ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะเหมือนกับการแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปเป็นช่วงๆหนึ่งเท่านั้น ที่ พม.จะจัดงานนั้นเป็นเรื่องที่ดีนะ แต่คิดตามความจริงใครได้รับผลประโยชน์บ้าง คร่าวๆนะ
    - วิทยากรผู้รู้ได้ถ่ายทอดหลักวิชาการ
    - หน่วยงานได้ผลงาน
    - ประชาชนได้ฟังข้อมูล
    - แต่การปฏิบัติจริงๆขึ้นอยู่กับตัวบุคคล หรือขับเคลื่อนได้เพียงระดับกลุ่มเล็กๆเท่านั้น หรือระดับปัจเจกบุคคลเท่านั้น แสดงว่ายังไม่ยั่งยืนอยู่ดี

    เพื่อความยั่งยืนนะต้องคุยนอกรอบกันยาวเลยโยม หรือไม่ก็ลองหาข้อมูลของท่านครูบาอาจารย์ที่แนะนำไว้สำเร็จรูปแล้ว เกี่ยวกับ การปกครอง เศรษฐกิจ การเมือง การพัมนา ฯลฯยกตัวอย่าง เช่น
    - พระพุทธเจ้า ผ่านคัมภีร์พระไตรปิฎก
    - ท่านเจ้าคุณ ป.อ.ปยุต ปยุตโต ด้านมนุษย์,สังคม, แนวพุทธ
    - Dhammakaya Open University ฉบับย่ออ่านง่ายดี
    - ท่าน ว.วชิรเมธี
    ยังมีครูบาอาจารย์อีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึงนะเพราะเรารู้อะไรแล้วก็ไม่สามารถทำได้มันอึดอัดเหมือนกันนะ อาตมาเองก็กำลังฝึกปล่อยวางเหมือนกัน
    ขอให้มีความสุขนะ

    ขอให้สัตว์โลกทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวรต่อกัน ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และจงมีความสุขกายและสุขใจทุกท่าน ทุกคนเทอญ
    สัตว์ใดที่ยังมิจฉาทิฐิ ขอให้มีสัมมาทิฐิเถิด
    ผู้กำลังว่ายข้ามฝั่งวัฏ
     

แชร์หน้านี้

Loading...