อนุตรวิมุตติ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย มุจจลินท์, 18 มกราคม 2011.

  1. มุจจลินท์

    มุจจลินท์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +98
    ขอมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมธรรมะด้วยคน จะผิดจะถูกล้วนเป็นการพิจารณาเพื่อเดินทางมุ่งสู่พระนิพพาน มิหวังประสงค์สิ่งอื่นใดนอกจากการเอื้อในธรรมะแก่กัน ขอขยายบรรยายความธรรมะแด่สาธุชนทั้งหลาย ในเรื่องการพิจารณาธรรมะในขั้นตอน ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ในมรรคจิต ตอน
    อนุตรวิมุตติ
    การหลุดพ้นอย่างยอดเยี่ยม
    ๑. โยนิโสมนสิการ – การทำไว้ในใจโดยแยบคาย หรือการทำไว้ในใจอย่างดียิ่ง หรือ การทำนิมิตรหมายไว้ในใจอย่างฉลาด
    ๒. โยนิโสสัมมัปปธาน - ทำความเพียรอันนั้นอย่างยอดยิ่ง
    เอกายมัคโค
    ทางสายเอก ทางที่เป็นหนึ่งที่มุ่งตรงสู่พระนิพพาน หรือ ธรรมธาตุ นั้นคือ การพิจารณา กายในกาย หรือกายย่อยในกายใหญ่ ในสติปัฏฐาน ๔ เพราะสิ่งที่เรายึดมั่นหมายมั่นในทุกๆสิ่งนั้นเกิดจากเรา ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ เกิดจากวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางอายตนะทั้ง ๖) เราก็ไปยึดมั่น จากวัตถุรูป นาม ภายนอกบ้าง ภายในบ้าง เพราะฉะนั้นในการพิจารณา ก็ทำนิมิตไว้ในใจ ให้ร่างกายเรานี้ เป็นเพียงเม็ดอัตตาหนึ่ง สิ่งที่เราได้เห็น ได้ยิน หรือรู้ได้นั้นก็เป็นเม็ดอัตตาหนึ่งเท่านั้น เราก็เพียรทำเรื่อยไป เมื่อมันเหมือนกันแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ ป่าไม้ ภูเขา แสงแดด ทะเล มหาสมุทร ทุกสิ่งทุกอย่าง ก็ไม่มีราคาสำหรับเรา เราก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น มันก็ปล่อย เกิดวิมุตติขึ้นมาในใจทีละเล็ก ทีละน้อย ทำเรื่อยไปเหมือน หยดน้ำลงแก้ว พอเต็มเมื่อไร ก็จะเกิดสัญญาณขึ้นมีแสงแว๊บ ซึ่งเป็นลักษณะของผัสสะทางใจขาด ใจเข้าสู่ความเป็นกลาง จากนั้น มันจะปฏิวัติตัวเอง ใจนี้จะสัมผัสกับนิพพาน ที่เรียกกันว่าเห็นพระนิพพาน แต่ไม่ได้เห็นด้วยตา แต่เป็นการที่ใจสัมผัสได้ จะมีข้อธรรมผุดขึ้นมา แล้วจะมีลักษณะเย็นรดใจ คราวนี้จะปวดหัวอย่างมาก เนื่องจากเขาปฏิวัติตัวเขาเอง ให้เป็นมหาสติ มหาปัญญา มีสติปัญญาอัตโนมัติพิจารณาธรรมะที่ผุดออกมาตลอดเวลา ไม่มีกลางวันกลางคืน นิวรณ์ ๕ หายไปหมด มีแต่ความสุขเย็นใจ มีการพิจารณาธรรมตลอด(ธัมมวิจย) เองโดยตัวสังขาร(ร่างกาย)ภายนอกนี้ ไม่ได้บังคับหรือไปปรุงแต่งมัน แล้วธรรมที่ใจแสดงไปก็คือ
    โพชฌงค์ ๗ -- องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ มี
    ๑. สติ - ระลึกรู้สึกตัวในการพิจารณษธรรม
    ๒. ธมมวิจย - คิดพิจารณาข้อธรรมที่ผุดขึ้นมา(ปฏิจจสมุปบาท)
    ๓. วิริยะ - เพียรทำในการคิดพิจารณาไม่มีกลางวันไม่มีกลางคืน ติดต่อกันตลอดในช่วง ๗ วัน
    ๔. ปิติ - มีความอิ่มใจ เย็นใจ สบาย
    ๕. ปัสสัทธิ - สงบทั้งกาย มีลมหายใจอันละเอียด สงบทั้งใจ
    ๖. สมาธิ - ในการพิจารณาธรรมนั้น
    ๗. อุเบกขา - แล้ววางเฉยในอาราณ์ทั้งปวงที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
    ที่ขอกล่าวเรียกขานว่า “ โพชฌงค์ในโลกุตตรภูมิเต็มขั้น ไม่มีเหนื่อย ไม่มีความเพีย ละเหี่ยใจ
    “นิพพาน คือ ธรรมธาตุ ตามธรรมชาติ” “ไม่ใช่อัตตา และไม่ใช่อนัตตาในความหมายตามโลก” แต่เป็นสภาวะหนึ่งที่อยู่เหนือโลกียภูมิ
    คือเมื่อกำเนิดสรรพสิ่งมา (กาแลคซี่) มีสังขาร(มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่ง) มีนาม มีรูป
    ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม วิญญาณธาตุ(จิตธาตุ) อากาศธาตุ(สุญญากาศ)
    รวมเรียกว่า ธาตุ ๖
    มีอนุภาค รูปร่าง มีตัวตน ส่วนที่ย่อยเกิดขึ้นมาเรียกว่า สุญญากาศ
    ๔ อย่างนี้ (ดิน น้ำ ไฟ ลม) ที่สัมผัสได้ จัดเป็นรูป ส่วนวิญญาณก็จัดเป็นนาม ดิน น้ำ ไฟ ลม ประกอบกันในส่วนที่พอเหมาะเกิดพลังงานอย่างหนึ่งที่เรียกว่า วิญญาณธาตุ หรือ จิตวิญญาณ
    เพราะฉะนั้น นามรูป จะมี ๒ อย่างคือ
    ๑. มีวิญญาณครอง ดิน น้ำ ไฟ ลม ผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม(พอเหมาะ)
    ๒. ไม่มีวิญญาณครอง เป็นพวกสิ่งที่ไม่มีชีวิตต่างๆเช่น ภูเขา อากาศ แสงแดด ลม น้ำ ทะเล ฯลฯ
    จิต เป็นธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (พลังงานที่เกิดจากการเกิดรูปนาม หรือ สังขาร) ตั้งแต่คราวกำเนิดทุกสิ่งทุกอย่าง
    ใจ เป็นที่รู้ที่สัมผัสได้ ที่ต่อ เมื่อเกิดนามรูปตัวนี้แล้วก็จะเกิดเป็นที่ต่อภพต่อชาติ ที่เรียกว่าจิตใจ พอมาเกิดในภพภพหนึ่งก็จะขยายแยกแตกออกเป็น เวทนา สัญญา สังขาร(ความคิด) นั้นคือ สังขตธรรม คือ ธรรมชาติที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้นมา ส่วนอสังขตธรรม คือ พระนิพพานหรือธรรมธาตุ นั้นเป็นธรรมชาติที่ไม่มีเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่ง เพราะไม่อยู่ในกฎพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    //// อยู่เหนือเหตุเหนือผล ของสิ่งทั้งปวง เพราะไม่เกาะติดยึดมั่นในสิ่งใด ปรากฏอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง/////
    “ พระนิพพาน อยู่เหนือเหตุเหนือผลของสิ่งทั้งปวง ไม่เกาะติดยึดมั่นในสิ่งใด”
    เมื่อต้มน้ำตาลเชื่อม มีสารละลายอยู่ในนั้น ซึ่งอนุภาคน้ำตาล นั้นไม่คงที่ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในนั้น ทิ้งไว้ คือ กาลเวลาผ่านไป เกิดผลึก (รูป นาม ,ธาตุ ๖ ,สังขาร)
    อนุภาคน้ำตาล อนุภาคน้ำตาล จับกันเป็นก้อนผลึก
    อวิชชา หลงยึด ก็เป็นอาการหรือลักษณะอาการเข้าทำปฏิกิริยาสังขาร(ปันให้แก่กัน)การปรุงแต่งเป็นกิริยาการเกิดเป็นสัดส่วนรูปร่างต่างๆขึ้น เกิดเป็นผลึกต่างๆขึ้น
    เมื่ออยู่เหนือสิ่งใดอุปมาดั่งน้ำ ที่ไม่มีส่วนในการเกิดผลึก นั่นก็คือ พระนิพพาน
    เป็นส่วนที่ละเอียดที่สุด ทางดำเนินมีทางเดียวนั้นก็คือ มรรค ก่อนอื่นต้องรู้จักตัวเราเสียก่อน คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง
    รูป-กาย ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ - ย่อยไปอีกเป็น ธาตุต่างๆ เช่น คาร์บอน(C) ออกซิเจน(O) ไฮโดรเจน(H) ฯลฯ แต่ละธาตุก็ย่อยเป็นโมเลกุล เล็กลงไปอีกก็เป็น อะตอม(อัตตา) ซึ่สามารถคงตัวเป็นอนุภาคโดยตัวของมันเองได้
    เวทนา- ความรู้สึกต่างๆ เช่น กามตัณหา วิภวตัณหา ภวตัณหา ความพอใจ ความไม่พอใจ สุข ทุกข์ อทุกขสุข ตามลำดับความหยาบละเอียด ปฏิฆะ กามราคะ
    สัญญา- ความจำได้หมายรู้ จำบุคคลได้จำสีต่างๆได้
    สังขาร- ความคิดปรุงแต่ง ให้เกิด เป็นอุปาทายรูป คิดดี คิดชั่ว ปนเปกัน
    วิญญาณ – ความรู้แจ้งทางอายตนะ ทั้ง ๖ ความรู้แจ้งอารมณ์ (อารมณ์ คือ สิ่งที่มากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย ธรรมารมณ์นั่นเอง)
    ทั้งหมดนี้คือ รูป และนาม หรือ ปรมัตถสัจจะ (ความจริงอันสูงสุด) เมื่อเรามีอุปาทานยึดมั่น ในใจอยู่ ก็เกิดสมมุติบัญญัติขึ้น (การที่ใจไปบัญญัติเอาเอง) ว่าของเราตัวเรา ตามสมมุติสัจจะ คือความจริงตามสมมุติมีตัวเรา พ่อแม่ บิดามารดา ภูเขา ต้นไม้ สิ่งต่างๆนั้นเป็นความจริงที่เกิดขึ้นมาแล้ว
    การพิจารณาต้องรู้จักในสิ่งเหล่านี้ เราจะละนั้น ก็คือ ละอุปาทานยึดมั่น ภายในใจ ในสมมติบัญญัติ ไม่ใช่ไปละสมมติสัจจะ มันจะกลายเป็นหลงสังขารโดยไม่รู้ตัว เกิดวิปลาสขึ้นมา​
    08042009_008.jpg


    หมายเหตุ -- เป็นเพียงข้อคิดทางธรรมซึ่งผู้เขียนนำมาแสดงไว้โดยมิได้มีเจตนาค้านหรือสนับสนุนสิ่งอื่นใด ธรรม คือ ธรรม มีเพียงฟังแล้วพิจารณาให้เกิดมีในจิตใจแล้วละวางอุปาทาน และเมื่อมีทุกข์ก็มีการค้นคว้า การศึกษาธรรมคือการนำไปคิดพิจารณา จะผิดหรือถูก ก็เป็นครรลอง ต่อไป​
     
  2. มุจจลินท์

    มุจจลินท์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +98
    (ขอน้อมนำเอาพระไตรปิฎกมาแสดงไว้)​
    พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 1
    พระวินัยปิฎก
    เล่ม ๔
    มหาวรรค ภาค ๑
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    มหาขันธกะ
    โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ ​
    [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
    ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
    เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม
    และปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:- ​

    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ​
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม ​

    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ ​
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น

    ว่าดังนี้:-
    พุทธอุทานคาถาที่ ๑
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
    ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม
    พร้อมทั้งเหตุ.
    พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 3
    [๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
    ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม ​

    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ​
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม ​

    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ​
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น

    ว่าดังนี้:-
    พุทธอุทานคาถาที่ ๒
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
    ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความ
    สิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
    ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:- ​

    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 5

    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ ​

    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น

    ว่าดังนี้:-
    พุทธอุทานคาถาที่ ๓

    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อม
    กำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย
    ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
    โพธิกถา จบ
    _________​


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2011
  3. มุจจลินท์

    มุจจลินท์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +98
    ผังรูปอิทัปปจยตา
    etuppudjayat3.JPG
     

แชร์หน้านี้

Loading...