ธรรมะจากพระอรหันต์และพระสงฆ์อริยะที่สนทนาธรรมกับพระเจ้าอยู่หัว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 13 ธันวาคม 2006.

  1. นายจั๊บ

    นายจั๊บ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +1,109
    สาธุ สาธุ...โชคดีที่เกิดมาในแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพระอริยะบุคคล
     
  2. treichimplee

    treichimplee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +77
    ดีใจจังที่ได้อ่าน

    (f) สาธุ ขอร่วมอนุโมทนาด้วยคนคะ อิอิ
    ถ้าเราเป็นเด็กดี ทำดี แล้วจะได้ดี ใช่มั้ยคะ
     
  3. sendurworks

    sendurworks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +317
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญกับพระอรหันต์ทุกๆพระองค์เลยนะครับ สาธุ.......
     
  4. charoen.b

    charoen.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    5,726
    ค่าพลัง:
    +15,488
    ธรรมจากพระอริยบุคคลเป็นสิ่งประเสริฐ ได้รู้ ได้ศึกษาเป็นสิ่งประเสริฐ
    ได้ปฏิบัติตามยิ่งประเสริฐ
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  5. noi

    noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,120
    ค่าพลัง:
    +47,443
    [​IMG]
     
  6. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    เคยมีคนบอกผมว่าในหลวงท่านถอดจิตได้
    ถ้าหากไม่ติดพระราชกรณียกิจใด ๆ ท่านจะนั่งสมาธิตั้งแต่ 6 ทุ่ม ถึง 6 โมงเช้าทุกวัน
    ผมฟังทีแรกยังไม่อยากเชื่อเลย แต่ผมได้อ่านหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    ที่ได้พูดถึงในหลวงว่า ท่านมีสมาธิดีมาก ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    ตามธรรมดาหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) แห่งวัดท่าซุง จะอัดเทปถวายในหลวง
    เพื่อนำไปเปิดขณะปฏิบัติธรรม

    เท่าที่กระผมทราบมา ท่านเอาเทปของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่อัดเสียงถวายแขวนคอแล้วเดินจงกรม
    ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน บางครั้งท่านก็นั่งสมาธิโดยจับเสียงคลื่นเป็นอารมณ์กรรมฐาน

    ในหลวงท่านทรงแนะนำให้บุคคลใกล้ชิดได้ปฏิบัติธรรมด้วย เช่น พระราชวงศ์ องคมนตรี องครักษ์ หรือแม้แต่บุคคลที่ใกล้ชิดกับท่าน
    นี่ก็เป็นหลักฐานว่าสิ่งที่ผมได้กล่าวมามีเค้ามูลแห่งความจริง

    มีพระหลายองค์ บอกว่า ในหลวงเป็นผู้ทรงฌาณคนหนึ่ง เวลาท่านไปที่ไหน พระเถระชั้นผู้ใหญ่หลายองค์ขยับแล้วขยับอีก แต่ในหลวงท่านเพียงแค่กระพริบตาอย่างเดียว นั่งนิ่งไม่ขยับเขยื้อนเลยได้เป็นชั่วโมง ๆ
    พลตำรวจเอกที่เคยเป็นองครักษ์ของท่านคนหนึ่ง ก็เคยพูดไว้ว่า ในหลวงท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ท่านเคยนั่งสมาธิเห็นร่างกายของท่านเป็นเนื้อแดง ๆ ลอกออกจนเห็นกระดูกสีขาว ๆ
    มีผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ในหลวงท่านเคยถอดจิต (จะเรียกว่าถอดจิตก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะโอเลี้ยงหายไปครึ่งแก้ว)
    มาหาท่านหนึ่งที่มีบารมีมาก สามารถต่อรองกับพระยายมเพื่อนำคนที่ตกนรกไปแล้วขึ้นมาได้
    ที่ในหลวงท่านถอดจิตมาหา ก็เพราะต้องการให้ช่วยอดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่เป็นเชื้อพระวงศ์ขึ้นจากนรก แต่ท่านนี้ไม่ยอมช่วยเพราะเหตุไม่ถูกกับอดีตนายกฯท่านนั้น
    แต่ที่น่าแปลกก็คือ ถ้าในหลวงท่านถอดจิตมา (มาแค่จิตอย่างเดียว ร่างกายไม่ได้มาด้วย) โอเลี้ยงคงไม่หายไปครึ่งถ้วยหรอกครับ เพราะเจ้าของบ้านให้คนไปซื้อมาถวายในหลวง แต่นี่ที่หายไปครึ่งแล้ว แสดงว่า ในหลวงท่านหายตัวได้ครับ! ในหลวงท่านฝึกสมาธิจนถึงขั้นอภิญญา คือ แสดงฤทธิ์ได้ ซึ่งลูกศิษย์สายหลวงพ่อฤาษีลิงดำมีหลายคนทำได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดอะไร เพียงแต่ว่าเขาไม่ค่อยแสดงฤทธิ์กันเท่านั้นเอง
    แต่ถ้าท่านรู้มากกว่านี้ ก็คือ ในหลวงท่านเป็นพระโพธิสัตว์ใหญ่ และท่านก็มีบารมีมากพอที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตแน่ ๆ แล้ว (ต่อจากหลวงปู่ทวด และสมเด็จโต ) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะหายตัวได้ !




    ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

    [​IMG]
    <!-- / message -->
    <!-- / message -->
     
  7. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร



    ด้วยพระเมตตาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อพสกนิกรชาวไทย พระองค์ประดุจพระผู้สร้างแผ่นดิน ทรงเป็นดั่งผู้มอบชีวิต มอบความรุ่งเรือง มอบความเจริญงอกงามภายในหัวใจคนไทยทั้งชาติ ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นแรงบันดาลใจจุดประกายพลังแผ่นดิน

    หากเราได้มีโอกาสศึกษาพระบรมราโชวาท แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เราจะเข้าใจได้อย่างแจ่มชัดด้วยคำสอนที่พระองค์ทรงพระราชทานให้แต่ละข้อแต่ละอย่างนั้น ล้วนเกิดขึ้นจากการที่พระองค์ ทรงไตร่ตรองพิเคราะห์ถึงปัญหานั้นอย่างถ่องแท้แล้วว่า จะเป็นหนทางแห่งการแก้ปัญหาการดับทุกข์ได้ด้วยสมาธิ

    ธรรมดาสภาวะจิตอันเป็นสมาธินั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นจากการบังคับควบคุม เกิดขึ้นจากความผ่อนคลาย หรือเกิดขึ้นจากภาวะคับขันต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้าจะทำให้ต้อง เร่งรวบรวมสติให้มั่น ไม่ว่าสมาธิจะเกิดขึ้นอย่างไร สมาธิเป็นของดี เป็นของที่เกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน เป็นของที่มีอยู่ในกายและในจิตอันพร้อมเป็นของเข้าใจได้ เป็นของเข้าใจง่าย และใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย และความเข้าใจอันแจ่มชัดที่แสดงให้เห็นว่า สมาธิเองก็มิใช่ของที่เกิดขึ้นโดยลำพังหรือใช้โดยลำพัง แต่สมาธิที่ดีจะยังประโยชน์แก่ผู้อื่นได้มาก หากผู้ใช้สมาธิรู้จักการปฏิบัติอันถูกต้อง ถูกต้องทั้งแก่ตนแลถูกต้องทั้งแก่ผู้อื่น ดังที่ได้ศึกษาจากรอยพระจริยวัตรแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อันได้แสดงไว้ถึงเรื่องราวของ "พระสมาธิ"

    ผู้ที่เคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในงานหรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องประทับอยู่เป็นเวลานานๆ เช่น ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร คงจะได้เห็นด้วยความพิศวงกันทุกคนว่า พระเจ้าอยู่หัวนั้นเมื่อทรงนั่งลงแล้ว จะประทับอยู่ในพระอิริยาบถนั้นตั้งแต่เริ่มพิธีไปจนกระทั่งจบไม่ทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถเลย

    นอกจากนั้น ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างกระฉับกระเฉงต่อเนื่อง ไม่มีพระอาการที่แสดงว่าทรงเหนื่อย หรือทรงเบื่อเลย ผมเคยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร พิธีนั้นยาวถึงประมาณ ๔ ชั่วโมง และมีบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาเฝ้าฯ รับพระราชทานปริญญาบัตรเป็นจำนวนหลายพันคน ได้เห็นเหตุการณ์เช่นว่านั้น แต่ผมได้เห็นมากกว่านั้นคือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับไปถึงพระตำหนักจิตรลดารโหฐานในตอนค่ำวันนั้น พระเจ้าอยู่หัวยังทรงออกพระกำลังบริหารพระวรกายด้วยการวิ่งในศาลาดุสิตาลัยอีก

    ในการประกอบพระราชกรณียกิจอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติด้วยพระอาการที่แสดงว่าเอาพระทัยจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ทรงเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย เช่น ในการทรงดนตรี (ที่ใครๆ มักจะนึกว่าเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย) เป็นต้น ผมเคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวประทับทรงดนตรีตั้งแต่หัวค่ำจนสว่าง โดยทรงนั่งไม่ลุกเลยแม้แต่จะเพื่อเสด็จฯ ไปห้องสรง ในขณะที่นักดนตรีอื่นๆ ลงกราบแล้วถอยหลังลุกไปเข้าห้องน้ำกันเป็นครั้งคราวทุกคน

    ในการทรงเรือใบก็เช่นเดียวกัน ทรงจดจ่ออยู่กับการบังคับเรืออย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ ครั้งหนึ่งเสด็จฯ ออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นเรือใบเข้าฝั่ง ตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯ อยู่ ด้วยความฉงนว่า เสด็จฯ กลับเข้าฝั่งเพราะเรือใบพระที่นั่งแล่นไปโดนทุ่นเข้าซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่า ฟาวล์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น

    แสดงว่าการทรงดนตรีก็ดี ทรงเรือใบก็ดี สำหรับพระเจ้าอยู่หัวเป็นงานอีกชนิดหนึ่ง ที่จะต้องทำด้วยความจดจ่อและต่อเนื่องไปจนกว่าจะเสร็จเหมือนกัน

    พระราชกรณียกิจอื่นๆ ทั้งน้อยและใหญ่ ทรงปฏิบัติแบบเดียวกัน คือด้วยการเอาพระราชหฤทัยจดจ่อไม่ทรงยอมให้ขาดจังหวะจนกว่าจะเสร็จ และไม่ทรงทิ้งขว้างแบบทำๆ หยุดๆ เพราะฉะนั้นจึงจะเห็นว่าพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้น สำเร็จลุล่วงไปเป็นส่วนใหญ่


    ผมไปรู้เอาหลังจากที่เข้ารับราชการในตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำอยู่ได้ไม่นานว่า ที่ทรงสามารถจดจ่ออยู่กับพระราชกรณียกิจทุกชนิดได้เช่นนั้นก็เพราะพระสมาธิ

    ผมไม่ทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มฝึกสมาธิตั้งแต่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) หลังจากทรงผนวชแล้ว ประทับจำพรรษาอยู่ที่พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา ๑๕ วัน ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งทรงเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ทรงเลือกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (เมื่อครั้งยังเป็นพระโสภณคณาภรณ์) ให้เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะทรงมีเวลาน้อยแต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด และคงจะได้ทรงฝึกเจริญพระกรรมฐานในโอกาสนั้นด้วย

    เมื่อผมเข้าไปเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น ปรากฏว่า การศึกษาและปฏิบัติสมาธิหรือกรรมฐานในราชสำนักกำลังดำเนินอยู่แล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติเป็นประจำ และข้าราชสำนักข้าราชบริพารหลายคนทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารก็กำลังเจริญรอยพระยุคลบาทอยู่ด้วยการฝึกสมาธิอย่างขะมักเขม้น

    ผมไม่ได้ตั้งใจจะหัดสมาธิ แม้จะเคยศึกษามาก่อนโดยเฉพาะจากหนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แต่ระหว่างการตามเสด็จฯ โดยรถไฟ จากกรุงเทพมหานครไปอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ การเดินทางไกลกว่าที่ผมคาดคิด หนังสือเล่มเดียวที่เตรียมไปอ่านฆ่าเวลาบนรถไฟ ก็อ่านจบเล่มเสียตั้งแต่กลางทาง ขณะนั้นผมเห็นนายทหารราชองครักษ์ประจำที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยร่วมกันสองนาย ใช้เวลาว่างนั่งหลับตาทำสมาธิ ผมจึงลองทำดูบ้างโดยใช้อานาปานสติ (คือกำหนดรู้แต่เพียงว่ากำลังหายใจเข้า และหายใจออก) อันเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ และท่านอาจารย์พุทธทาสแนะนำ ปรากฏว่าจิตสงบเร็วกว่าที่ผมคาด แลเห็นนิมิตเป็นภาพสีสวยๆ งามๆ มากมาย และเป็นเวลาค่อนข้างนานด้วย ตั้งแต่นั้นมาผมก็ติดสมาธิและกลายเป็นอีกผู้หนึ่งที่ปฏิบัติสมาธิเป็นประจำมาจนทุกวันนี้

    เมื่อความทราบถึงพระกรรณว่าผมเริ่มปฏิบัติสมาธิ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงกรุณาพระราชทานหนังสือ และแถบบันทึกเสียงคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆ ลงมา และบางครั้งก็ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำรัสแนะนำด้วยพระองค์เอง ผมจึงได้รู้ว่า พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัวนั้นก้าวหน้าไปแล้วเป็นอันมาก รับสั่งเล่าเองว่าแม้จะทรงใช้อานาปานสติเป็นอุบายในการทำสมาธิ แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงสามารถที่จะกำหนดพระอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) และพระปัสสาสะ (ลมหายใจออก) ได้แต่ลำพัง ต้องทรงนับกำกับ วิธีนับของพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงทำดังนี้ หายใจเข้าครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจเข้าครั้งที่สอง นับสอง หายใจเข้าครั้งที่สาม นับสาม หายใจเข้าครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจเข้าครั้งที่ห้า นับห้า หายใจออกครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจออกครั้งที่สอง นับสอง หายใจออกครั้งที่สาม นับสาม หายใจออกครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจออกครั้งที่ห้า นับห้า

    เมื่อถึงห้าแล้ว หากจิตยังไม่สงบ ก็นับถอยหลังจากห้าลงมาหาหนึ่ง แล้วนับจากหนึ่งขึ้นไปหาห้าใหม่ กลับไปกลับมาเช่นนั้นจนกว่าจิตจะสงบ รับสั่งว่า ที่เห็นพระองค์ประทับอยู่นิ่งๆ นั้น พระจิตทรงอยู่กับหนึ่งเข้าหนึ่งออกตลอดเวลา


    พระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาเรื่องสมาธิด้วยการรวบรวม และประมวลคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกคนแล้ว ก็ทรงพระกรุณาพระราชทานประมวลคำสอนนั้นแก่ผู้ที่ทรงทราบว่ากำลังปฏิบัติสมาธิอยู่

    ครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาพระราชทานแถบบันทึกเสียงของสมเด็จพระญาณสังวรฯ ให้ผม รับสั่งว่าเป็นบันทึกเสียงการแสดงธรรมเรื่อง ฉฉักกสูตร (คือพระสูตรว่าด้วยธรรมะ หมวด ๖ รวม ๖ ข้อ ซึ่งอธิบายความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวมีตนของสิ่งต่างๆ มีอายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ ผัสสะ เวทนา และตัณหา พระสูตรนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน) และทรงแนะนำให้ผมฟังธรรมบทนั้น

    ผมรับพระราชทานแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นมาแล้วก็เอาไปใส่เครื่องบันทึกเสียงและเปิดฟัง ฟังไปได้ไม่ทันหมดม้วนก็ปิด แล้วก็เก็บเอาไว้ไม่ได้ฟังอีก หลังจากนั้นไม่นานนัก ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ฟังเทปของสมเด็จฯ แล้วหรือยัง เป็นอย่างไร

    ผมไม่อาจจะกราบบังคมทูลความอันเป็นเท็จได้ ต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่าฟังได้ไม่ทันจบม้วนก็ได้หยุดฟังเสียงแล้ว ตรัสถามต่อไปถึงเหตุผลที่ผมไม่ฟังให้จบ และผมก็จำเป็นต้องกราบบังคมทูลตรงๆ ว่า สมเด็จฯ ท่านเทศน์ฟังไม่สนุก พูดขาดเป็นวรรคๆ เป็นห้วงๆ เนื่องจากสมเด็จฯ พิถีพิถันในการใช้ถ้อยคำและประโยคเทศน์ของท่านนั้น ถ้าเอามาพิมพ์ก็จะอ่านได้สบายกว่าฟัง

    พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า ที่ฟังสมเด็จฯ เทศน์ไม่รู้เรื่องนั้นก็เพราะคิดไปก่อนหรือไม่ว่า สมเด็จฯ ท่านจะพูดว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ครั้นท่านพูดช้ากว่าที่คิด หรือพูดออกมาแล้วไม่ตรงกับที่คาดหมายจึงเบื่อ เมื่อผมนิ่งไม่กราบบังคมทูลตอบ ก็ทรงแนะนำว่าให้กลับไปฟังใหม่ คราวนี้อย่าคิดไปก่อนว่าสมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร สมเด็จฯ หยุดก็ให้หยุดด้วย ผมกลับมาทำตามพระราชกระแสรับสั่ง เปิดเครื่องบันทึกเสียงฟังเทศน์ของสมเด็จฯ จากแถบบันทึกเสียงม้วนนั้นใหม่ตั้งแต่ต้น ฟังด้วยสมาธิ

    สมเด็จฯ หยุดตรงไหน ผมก็หยุดตรงนั้น และไม่คิดๆ ไปก่อนว่า สมเด็จฯ จะพูดว่าอย่างไร คราวนี้ผมฟังได้จนจบและเห็นว่าจริงดังพระราชดำรัส แถบบันทึกเสียงม้วนนั้น เป็นม้วนที่ดีที่สุดม้วนหนึ่ง

    ครั้งหนึ่ง หลังจากที่นั่งสมาธิแล้ว ผมได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและกราบบังคมทูลประสบการณ์ที่ได้ขณะทำสมาธิ ผมกราบบังคมทูลว่า ขณะที่นั่งสมาธิครั้งนั้น รู้สึกว่าตัวเองลอยขึ้นจากพื้นสูงประมาณศอกหนึ่ง ทีแรกก็ยังไม่รู้สึกอะไรแต่ครั้นหัวเริ่มคล้อยลงไปข้างหน้า ทำท่าเหมือนจะตีลังกา ผมก็ตกใจและต้องเลิกทำสมาธิ

    พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวิจารณ์ว่า ถ้าหากสติยังอยู่ ยังรู้ตัวว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่ควรจะเลิก แต่ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามสภาพนั้น

    อีกครั้งหนึ่ง หลังจากทำสมาธิแล้ว ผมกราบบังคมทูลว่า พอจิตสงบผมรู้สึกว่าตัวเองกำลังเลื่อนต่ำลงไปในท่อขนาดใหญ่ และที่ปลายท่อข้างล่าง ผมแลเห็นแสงสว่างเป็นจุดเล็กๆ แสดงว่าท่อยาวมาก กลัวจะหลุดออกจากท่อไป ผมก็เลยเลิกทำสมาธิ รับสั่งเช่นเดียวกันว่า หากยังรู้ตัว (มีสติ) อยู่ ก็ไม่ควรเลิก ถึงหากจะหลุดออกนอกท่อไปก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่สติยังอยู่และรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับตน

    ต่อมาภายหลังจากการศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์ทุกท่าน และโดยเฉพาะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสสอนให้ "ดำรงสติให้มั่น" ในเวลาทำสมาธิ

    ในส่วนที่เกี่ยวกับพระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว เคยตรัสเล่าให้ผมฟังว่า ครั้งหนึ่งขณะที่กำลังทรงทำสมาธิอยู่ พระจิตสงบและเกิดนิมิต ในนิมิตนั้นพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระ เนตรเห็นพระกร (แขนท่อนล่าง) ลอกออกทีละชั้นๆ ตั้งแต่จากพระตจะ (หนัง) ลงไปจนถึงพระอัฐิ (กระดูก)

    พระเจ้าอยู่หัวทรงประยุกต์พระสมาธิในการประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่างทั้งน้อยและใหญ่ จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนัก ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่ทรงสะทกสะท้านหรือหวั่นไหว ไม่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าไปไกลๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงอาลัยอดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว อันเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ทรงจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทรงสนพระราชหฤทัยอยู่แต่กับพระราชกรณียกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น

    ในฐานะที่เกิดมาเป็นพลเมืองของประเทศที่มีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เป็นพระประมุข และในฐานะที่ทุกคนมีหน้าที่ในการทำนุบำรุงเมืองไทยนี้ให้เป็นที่ร่มเย็นของเรา และของลูกหลานของเรา จึงสมควรที่เราจะเจริญรอยประพฤติตามพระยุคลบาทด้วยการศึกษาและปฏิบัติสมาธิกันอย่างจริงจัง และนำสมาธิมาประยุกต์ในการดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา


    ....................................................

    คัดลอกมาจาก
    http://www.ybat.org

    [​IMG]
     
  8. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    http://www.palungjit.org/club/jasminine/

    blog ของคุณจัสมิน มีเรื่องราวสําคัญๆและพระราชกรณียกิจของในหลวงมากมาย

    ใครสนใจเข้าไปชมได้ครับ(verygood)
     
  9. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>ทาุงบุญ...ทางบาป



    [​IMG]

    ท่าู้นผู้อ่านคงจะเคยทราบคำสอนของหลวงปู่แหวน เกี่ยวกับ ธรรมา - ธรรเมา บ้างแล้ว ใช่ไหมครับ ?
    หลวงปุ่ ได้เทศน์ให้ฟังต่อไปดังนี้ :-
    ธรรมทั้งหลายไหลมาจาเหตุ กายก็เป็นเหตุอันหนึ่ง วาจาก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ใจก็เป็นเหตุ อันหนึ่ง
    กายทุจริตเป็นเหตุแห่งบาปอย่างหนึ่ง วจีทุจริตก็เป็นเหตุแห่งบาปอย่างหนึ่ง มโนทุจริตก็เป็น เหตุแห่งบาปอย่างหนึ่ง
    การละกายทุจริตก็เป็นเหตุแห่งบุญอย่างหนึ่ง การละวจีทุจริตก็เป็นเหตุแห่งบุญอย่างหนึ่ง การละมโนทุจริต ก็เป็นเหตุแห่งบุญอย่างหนึ่ง
    ทางของบุญของบาปเหล่านี้มีอยุ่ในตัวของเรานี้เอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน เราก็ทำเอา สร้างสมเอา
    อย่ามัวเมาเป็นอดีตเป็นอนาคต อดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคตก็เป็นธรรมเมา มีแต่ปัจจุบัน เท่านั้นที่เป็นธรรมา
    สิ่งใดที่มันล่วงมาแล้ว เลยมาแล้ว เราไม่สามารถจะไปตัดไปแปลงมันได้อีกแล้ว สิ่งที่เราทำไป นั้น ถ้ามันดี มันก็ดีไปแล้ว ผ่านไปแล้ว พ้นไปแล้ว ถ้ามันชั่ว มันก็ชั่วไปแล้ว พ้นไปแล้วเช่นกัน
    อนาคตก็ยังไม่มาถึง สิ่งที่ยังไม่มาถง เราก็ยังไม่รู้ ไม่เห็นว่า มันจะเป็นอย่างไร อย่างมากก็ เป็นแต่เพียงการเดา การคาดคะเนเอาว่า ควรเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งมันอาจจะไม่เป็นอย่างที่เรา คาดคะเนก็ได้
    ปัจจุบันคือสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริง เราได้เห็นจริงไ้้ด้สัมผัสจริง
    เพราะฉะนั้น ความดีต้องทำในปัจจุบัน
    ทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี ต้องทำเสียในปัจจุบัน ที่เรายังมีชีวิตอยุ่นี้ เราต้องการความดี ก็ต้อง ทำให้เป็นความดีในปัจจุบันนี้ ต้องการความสุข ต้องการความเจริญ ก็ต้องทำให้เป็นในปัจจุบันนี้
    ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ อย่างนี้ ถ้าเหตุเราทำไว้ดีแล้ว ผลมันก็ก็ดีตามเหตุ ถ้าเหตุเรา ทำไว้ไม่ดีแล้ว ผลไม่ดีตามเหตุ เหตุและผลต้องสัมพันธ์กันเสมอ เป้นแต่ว่าคนเราจะยอมรับ หรือไม่ยอมรับเท่านั้น
    เราไม่ควรปล่อยเวลาให้เสียไปกับอดีต กับอนาคต เพราะทั้งอดีตและอนาคตต่างก็เป็นธรรม เมาด้วยกันทั้งนั้น
    สิ่งที่ผ่่านไปแล้ว ก็ให้เขาผ่านไป สิ่งใดที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นสิ่งที่ยังไม่มี ยังไม่เกิด
    ถ้าปัจจุบันดี อดีตมันก็ดี อนาคตมันก็ดี เพราะปัจจุบันเมื่อผ่านไป มันก็กลายเป็นอดีต ถ้ามัน ยังไม่ผ่านไป มันก้เป็นทางดำเนินไปสู่อนาคต เป็นเข็มชี้บอกอนาคต
    ดังนั้น เราต้องทำเหตุให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เราจึงจะได้สิ่งที่เราปราถนา


    </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#cccccc>
    </TD><TD>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ข้อความต่อไปนี้ คัดลอกมาจากนิตสารโพธิญาณ ฉบับที่ ๓๓ มีดังนี้ :-
    หลวงปุ่แหวน กับ หลวงปู่หนู ท่่านมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง เกินกว่าที่พวกเราคน ธรรมดาจะเข้าใจได้ เพียงแต่ว่า หลวงพ่อหนูไปรับเอาหลวงปู่แหวน มาปรนนิบัติดูแลที่วัด ดอยแ่ม่ปั๋ง เมื่อขณะที่หลวงปุ่หนุป่วย อยู่นั้น เพียงแค่นั้น ไม่น่าเป็นสาเหตุที่ผูกพันกันลึกซึ้ง มากมายนักเลย
    ว่ากันว่า เวลาที่หลวงปู่แหวน ท่านอาพาธ ถ้าหากหลวงพ่อหนูไม่อยู่ หลวงปุ่แหวน จะไม่ ยอมฉันยาเอาเลยทีเีดียว และตั้งแต่หลวปู่ มาอยู่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ท่านตั้งปณิธานว่า จะไม่ไปไหน อีกเลย แม้มีกิจนิมนต์ก็ไม่รับ แม้เจ็บป่วยก็ไม่ยอมไปรักษานอกวัด หมายความว่า ท่านจะอยุ่ และมรณภาพที่วัดดอยแม่ปั๋งที่่เดียว
    เหตุการณ์ที่แสดงถึงความผูกพันระหว่างหลวงปู่แหวน กับหลวงพ่อหนูมีมากมาย
    เมื่อครั้ง หลวงปุ่แหวนท่านล้มในห้องน้ำ ต้องเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล หลวงพ่อ หนู จะต้องไปนอนค้างเฝ้าหลวงปุ่ มีอยู่วันหนึ่ง หลวงพ่อหนู ต้องไปรับผ้าป่าและไปค้างที่วัดอื่น พอหลวงพ่อหนูกลับมาถึง ปรากฎว่า หลวงปุ่ ท่านเมินหน้าหนี ไม่ยอมพุดกับหลวงพ่อหนู ยาที่จัด ถวายก็ไม่ยอมฉัน หลวงพ่อหนู ต้องอธิบายอยู่นาน
    อีกครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงปู่แหวน กลับจากโรงพยาบาลไปอยู่วัด ร่างกาย หลวงปู่ยังไม่แข็งแรง ดี ยังต้องฉันยาอยู่ เป็นช่วงออกพรรษา วัดบ้านเกิด ที่ยโยธรได้นิมนต์หลวงพ่อหนู ไปรับกฐิน ท่านเห็นว่า ดีเหมือนกัน จะได้ไปเยี่ยมบ้านสัก ๕-๖ วัน
    พอหลวงพ่อหนู ไปได้ ๒ วัน หลวงปุ่แหวน ท่านไม่เห็นหลวงพ่อหนู จึงได้ถามหา พอรู้ว่า หลวงพ่อหนู ไปโดยไม่ได้บอกท่าน (ทิ้งท่านไป) หลวงปู่ไม่ยอมพูด ไม่ฉันข้าว ไม่ฉันยา
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ เสด็จมาพระราชดำเนิน ไปยังวัดดอยแม่ปั๋ง ในทันที ทรงเยี่ยมทอดพระเนตรอาการของหลวงปุ่ ทรงป้อนยา และป้อน อาหาร ถวายหลวงู่ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
    หลวงปุ่ฉันอาหารได้ ๓ คำ
    ภายหลังหลวงพ่อหนู ท่านเล่าว่า ในวันที่ล้นเกล้าๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว เสด็จ พระราชดำเนินสู่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น หลังจากเสด็จกลับแล้ว ตกกลางคืน พลวงพ่อหนู นั่งสมาธิ ภาวนาอยู่ที่ยโยธรนั้นเอง ท่านได้นิมิต เห็นพญาครุฑ บินเข้ามาในกุฎิ เป็นนิมิตที่แจ่มชัดมาก
    วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อหนู รีบจัดแจงหารถเดินทางกลับดอยแม่ปั๋งทันที ทั้งที่คิดว่า จะอยุ่ยโสธร ๕-๖ วัน ท่านเดินทางไปถึงดอยแม่ปั๋ง เกือบ ๒ ยาม แล้วรีบกราบ หลวงปู่แหวน ในกุฎิทันที
    หลวงปู่ยังไม่จำวัด ภัตตาหารและยา ก็ไม่ยอมฉัน ทั้งวันนั่งเงียบๆ ไม่พูดกับใคร พอ หลวงพ่อ หนู เข้าไปหาและถามว่า ทำไมพระอาจาย์ไม่ฉันยา ไม่ฉันอาหาร หลวงปุ่ท่านหัวเราะ บอกไปเอา ยามา จะฉันเดี๋ยวนี้และเช้าวันรุ่งขึ้น หลวงปู่ ก็ฉันภัตตาหารตามปกติ
    ตั้งแต่หลวงปู่ล้มในห้องน้ำคราวนั้นแล้ว ร่างกายของหลวงปู่ก็อ่อนแอ ออดๆแอดๆ เรื่อยมา จนถึงกับมีผุ้ปล่อยข่าวว่า หลวงปุ่มรณภาพแล้ว แต่ท่านก็ยังอยู่ได้ เพราะยังไม่ถึงเวลาที่ท่านจะละ สังขารนั่นเอง
    หลวงพ่อหนู ท่านเล่าว่า หลวงปู่ ท่านสามารถข่มเวทนาได้ดีเป็นเลิศ ถ้าเป็นคน ธรรมดาทั่วไป อย่าว่าแต่จะหกล้มจนกระดูกต้นขาหักเลย แค่ช้ำบวมก็ร้องลั่นโอดโอย กันแล้ว แต่หลวงปู่ท่่านยัง ทรงสังขารเป็นที่พึ่งทางใจให้กับบรรดาสาธุชนเรื่อยมา จนกระทั่งครั้งสุดท้าย หลวงปุ่แหวน เข้าโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง นายแทพย์ผุ้เชี่ยวชาญต่างก็พยายามกันอย่างเต็มที่
    "ใครเล่าจะรดน้ำตอที่ผุกร่อนแล้ว ให้มีดอกมีใบขึ้นมาได้อีก"
    พระอาจาร์ใหญ่มั่น อาจารย์ของหลวงปุ่แหวน ท่านเคยพูดไว้อย่างนี้ เมื่อครั้งที่ท่่านอาพาธ หนักครั้งสุดท้าย ที่บ้านหนองผือ และคำพูดนี้ก็มาถึงหลวงปู่แหวน ทำให้เห็นชัดว่า คำพูดของ หลวงปู่มั่น เป็นสัจจธรรมโดยแท้ ที่ใครๆ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    ก่อนหลวงปู่จะละะวางสังขาร หลวงพ่อหนู ท่านให้รื้อศาลาสร้างใหม่ ทั้งๆที่ศาลาหลังเก่า ยังอยู่ในสภาพดี ท่านบอกว่า ถ้าไม่รีบสร้างเดี่๋ยวนี้ หลวงปู่ไปก่อนจะไม่ทันการ
    หลวงพ่อหนูบอกว่า หลวงปู่ท่านจะไปเมื่อไรหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ศาลาหลังใหม่ต้อง สร้างเสร็จ และก็สร้างเสร็จก่อนหลวงปู่ละสังขาร
    หลวงปู่แหวน บอกกับหลวงพ่อหนู ว่า เมื่อหลวงปู่มรณภาพ ให้รีบเผาท่านตามแบบของพระ กรรมฐาน
    หลวงปู่แหวน มรณภาพที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เวลา ๓ ทุ่ม ๕๗ นาที ของวัน อังคารที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๘ เมื่อท่านอายุได้ ๙๘ ปีเศษ และบวชพระมา ๗๘ พรรษา

    หลวงปู่แหวนละสังขารไปเมื่อทางวัดไ้ด้สร้างมณฑปพิพิธภัณฑ์บริขาร และศาลาหลังใหม่ เสร็จเรียบร้อยแล้ว
    ในนิตยสารดังกล่าว ได้สรุปในตอนท้ายว่า :-
    " ธรรมะของหลวงพ่อหนู คือธรรมะจากหลวงปุ่แหวนนั่นเอง แม้สุ่มเสียงจะไม่เหมือนกัน แต่ความผูกพันอันลึกซึ้งด้วยธรรมชันสูง หลวงพ่อหนู ก็คือส่วนหนึ่งของหลวงปุ่แหวน ทีเดีียวละครับ "
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>สรุปย่อมาจากรายงานของแทพย์ที่ถวายการรักษาหลวงปู่ มีดังนี้

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เริ่มอาพาธในปี พ.ศ.๒๕๒๐ เมื่อท่านมีอายุ ๙๐ ปร ซึ่งอยู่ในวัย ชราภาพมากแล้ว เริ่มต้นเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม เวลา ๓ นาฬิกา หลวงปุ่ไหว้พระสวดมนต์ ตามปกติ ตอนลุกขึ้นท่านเสียการทรงตัว เซไปแล้วล้มลง เกิดรอยช้ำที่แขนและไหล่ซ้าย เป็นผลให้ สุขภาพของท่านทรุดลงไปเรื่อย
    ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๐ ท่านท้องร่วงอย่างแรง มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย
    ๗ ตุลาคม ๒๕๒๐ เวลา ๑๖.๔๐ น. หลวงปุ่ล้มขณะที่ลุกขึ้นจะไปห้องน้ำ สีข้างด้านซ้ายไปถูก โคมตะเกียงน้ำมันก๊าดมีรอยแผลถลอก และรอยช้ำของผิวหนังด้านซ้าย แขนซ้ายได้รับบาดเจ็บ มีอาการแทรกซ้อนมามา คือ ปัสสาวะไม่ออก ถ่ายอุจจาระลำบาก
    " ขณะหลวงปู่อาพาธอยู่นั้น ท่านมักจะสงบจิตเข้าอยู่ภายในเกือบตลอดวันตลอดคืน ดูอาการ ภายนอกของท่านจึงดูเหมือนว่าจะหมดหวังเอาทีเดียว บางครั้งท่านไม่ยอมพูอ ไม่ยอมฉันเลย เป็นเวลาหลายๆวัน ถึงเวลาฉันอาหาร ฉันยา ฉันน้ำ ปลุกท่านขึ้นมา ท่านลุกขึ้นนั่ง แต่จตท่าน ยังอยู่ในความสงบ เวลาป้อนอาหารใส่ปาก อาหารก็ค้างอยู่ในปาก เช่นนั้นเอง เพราะท่านไม่เคี้ยว เอาน้ำให้ดื่ม เอายาให้ฉัน ก็เหมือนกัน ตาของท่านลืมค้างอยู่ไม่กระพริบ ดูเหมือนไม่มีชีวิตชีวา ทั้งนี้เพราะท่านยังไม่ถอนจิตจากความสงบ ภายใยออกมา รับอารมณ์ภายนอก"
    ล้มครั้งที่สอง เมื่อ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดจัดให้มีงานผูกพัทธสีมาพระอุโบสถ เวลา ๑๐.๐๐ น. ขณะยืนครองผ้า พอเอี้ยวตัวจะเดิน ขาของหลวงปุ่ไปสะดุดชายจีวร สุดวิสัยที่คณะศิษย์ จะรับไ้ว้ทัน ท่่านล้มลง ทำให้เจ็บซี่โครง เจ็บบั้นเอว เจ็บกระดูกสันหลัง ลุกขึ้นไม่ได้ หมอต้องใส่ เฝือกให้ หลวงปุ่ต้องนอนอยู่กับที่ ๑ เดือน จึงหายเป็นปกติ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวเสด็จๆ เยี่ยมหลวงปุ่เป็นการส่วนพระองค์
    อาพาธหนักในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ อายุ ๙๖

    หลวงปู่ล้มครั้งที่สาม เมื่อ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๖ ประสบอุบัติเหตุ ล้มฟาดพื้นห้องน้ำในกุฎิ เป็นเหตให้กระดูก บริเวณตะโพกซ้ายร้าว มีอาการน่าวิตก แทพย์จึงนำท่านเข้ารักษาที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ด้วยการผ่าตัดด่วน ด้วยการเปลี่ยนกระดูกตะโพกขวา ซึ่งแตก ๓-๔ เสี่ยง ต้องใช้หัวกระดูกเหล็กใส่แทน อยู่โรงพยาบาล ๒ สัปดาห์ แล้วกลับวัด
    ๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ อาการหลวงปุ่ทรุดหนัก มีอาการอ่อนเพลียมาก พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้ัวยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชๆ เสด็จเยี่ยมอาการที่วัด
    ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ หลวงปุ่มีอาพาธโลหิตไปเลี้ยงที่สมอง คณะแพทย์ได้นิมนต์หลวงปุ่เบ้า รักษาอาการที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม โดยหลวงปู่เป็นคนไข้ ประเดิม ตึกสุจิณฺโณ จากการตรวจสมองด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ พบเื้นื้อสมองด้านขวา ส่วนหนึ่งไม่ทำงาน เนื่องจากโลหิตไม่ไปหล่อเลี้ยงสมองส่วนนั้น แทพย์ให้การรักษาจนอาการดี ขึ้น และได้กลับวัดวันที่ ๑๑ เมษยน ๒๕๒๗
    อาพาธหนักอีกเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗ วันที่ ๒๗ ธันวาคม หลวงปู่มีอาการไข้ และท้องเดิน แพทย์ต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด แต่ต้องเจาะใหม่หลายครั้ง เพราะเส้นเลือดแตก
    วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๓๐ น . พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนาง เจ้าๆพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชๆ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตน ราขสุดาๆ สยามกมุฎราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จเยีี่ยม หลวงปู่ที่วัดดอยแม่ปั๋ง
    วันที่ ๒๔ กุมภาัพันธ์ ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๒๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าๆพระบรมราชีนีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชๆ สยามมกุำราชกุมาร เสด็จเยี่ยมหลวงปู่ที่วัด
    เข้าโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย
    วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๘ หลวงปุ่มีอาการไข้สูง อุจจาระสีดำ เข้าใจว่าเพราะโลหิตออก ในทางเดินอาหาร คณะแทพย์นำหลวงปู่เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
    วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าๆพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลุกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วลัยลักษณ์ ทรงเยีี่ยมอาการอาพาธของหลวงปุ่
    วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๒๘ หลวงปุ่มีอาการอาเจียน ขณะฉันอาหาร ไอและหอบ ต้องให้ อ๊อก ซิเจนช่วยหายใจ แพทย์ได้ผ่าตัดท้องใช้สายยางสอดเข้าไปในกระเพาะเืพื่อให้อาหาร ใช้ เวลาผ่าตัด ๒ ชั่วโมง
    หลังจากนั้น หลวงปุ่ได้อาพาะ ตลอดมา และถึงมรณภาพในที่สุด เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พศ.๒๕๒๘ เวลา ๒๑.๕๓ น. ณ.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
    สิริรวมอายุของหลวงปุ่ได้ ๙๘ ปี ๕ เดือน ๑๖ วัน
    สำหรับพิธีศพ ที่ทางราชการจัดถวายหลวงปุ่นั้น เบื้องต้นในช่วงเข้า ของวันที่ ๓ กรกฎาคม พศ.๒๕๒๘ ได้จัดให้ประชาชนทั่วไป เข้ารดน้ำศพที่ศาลาอ่างแก้ว บริเวณมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    ในช่วงบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าๆพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชๆสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระาบดำเนินพระราชทานอาบน้ำศพ
    หลังจากนั้น ได้อัญเชิญศพหลวงปู่ไปตั้งเืพื่อบำเพ็ญกุศลที่วัดดอยแม่ปั่. เพื่อรอพระราชทาน เพลิงศพต่อไป



    </TD><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#cccccc> </TD><TD>
    (จากหนังสือเรื่อง หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๓ เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม -รศ.ภัทรา นิคมานนท์
    มีนาคม ๒๕๔๘ )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>[SIZE=-1]
    <DD><WBR>ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมสำหรับพระราชา ในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร ดังพระราชกรณียกิจที่ปรากฎ ๑๐ ประการ ดังนี้
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>๑. ทานัง หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์ <DD>๒. ศีลัง หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ <DD>๓. ปริจาคัง หรือการบริจาค อันได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์ <DD>๔. อาชชะวัง หรือความซื่อตรง อันได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร <DD>๕. มัททะวัง หรือทรงเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>๖. ตะปัง หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน <DD>๗. อักโกธะ หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้ <DD>๘. อะวีหิสัญจะ คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร <DD>๙. ขันติญจะ คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย <DD>๑๐. อะวิโรธะนัง คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <CENTER> </CENTER>ที่มา http://web.ku.ac.th/
    </DD>
    [/SIZE]
     
  11. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    หลักธรรมาธิปไตย
    พระพุทธเจ้า ตรัสให้ภิกษุทั้งหลายฟังเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมืองให้เป็นธรรม หรือวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิอันประเสริฐ (จักรวรรดิวัตร ๑๒) หรือหน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ โดยให้ถือธรรมาธิปไตย และให้ภิกษุนำไปสอนสืบต่อไม่ให้ขาดสาย (ที.ปา. ๑๑/๓๕) ความย่อดังนี้ ธรรมาธิปไตย
    จงอาศัยธรรมเท่านั้น
    สักการะธรรม
    ทำความเคารพธรรม
    นับถือธรรม
    บูชาธรรม
    ยำเกรงธรรม
    มีธรรมเป็นธงชัย
    มีธรรมเป็นยอด
    มีธรรมเป็นใหญ่... (ธรรมาธิปไตย เป็นศูนย์กลาง หรือเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง)


    หลักพระมหากษัตริย์ประมุขแห่งรัฐ (The King as the head of State or The King as the head of the Kingdom of Thailand)
    ประเทศไทยทุกยุคทุกสมัยแต่โบราณกาลมา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ไม่ว่าสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมือง และทางสังคมของประเทศไทยจะเป็นไปในทางทิศใด พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐคู่กับปวงชนชาติไทยเสมอไป และได้พัฒนาขึ้นเป็นอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสร้างสรรค์สู่หลักการปกครองธรรมาธิปไตย ๙ อันยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระราชสมภารเจ้า พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงปฏิบัติธรรม ตรงวิถีธรรมอันเป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ พิสูจน์ได้ดังนี้
    พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นเอกภาพหรือศูนย์รวมของชาติ ส่วนพสกนิกรเป็นด้านความแตกต่างหลากหลาย
    พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงแผ่พระเมตตาด้วยโครงการพระราชดำริกว่า ๓,๐๐๐ โครงการ เป็นปัจจัยให้พสกนิกรซาบซึ้ง จงรักภักดีขึ้นตรงต่อพระเจ้าอยู่หัวฯ เกิดความสัมพันธ์โดยธรรมคือแผ่กระจาย กับ รวมศูนย์ เป็นปัจจัยให้เกิดดุลยภาพตามกฎธรรมชาติ รักในหลวงต้องเชิดชูธรรมาธิปไตย
    สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันแห่งธรรม ทรงธรรม เป็นธรรมาธิปไตย จึงมีลักษณะแผ่ความเป็นธรรม แผ่พระบรมเดชานุภาพ แผ่ความถูกต้อง แผ่ความเมตตา กรุณา ออกไปสู่ส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันธ์กันทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศ
    เป็นปฐมภูมิ คือ มีอำนาจเหนืออำนาจอื่นใดทั้งหมด เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ เป็นต้น
    พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จะต้องไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อมคลาย หรือสูญหายไปไหน หรือไม่มีใครจะแย่งชิงไปได้ ย่อมมีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ หรืออำนาจอื่นใดในประเทศ และอำนาจนั้นๆ จะต้องขึ้นตรงต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เสมอไป ดุจดาวเคราะห์ต้องขึ้นต่อดวงอาทิตย์เสมอไป หรือชาวพุทธต้องขึ้นตรงต่อพระรัตนตรัยเสมอไป จะเห็นได้ว่า ปัญญา หลักการ วิธีคิดจากกฎธรรมชาติในมิติธรรมาธิปไตย เป็นปัจจัยให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่อย่างมั่นคงดุจเดียวกับธรรมาธิปไตยตามกฎธรรมชาติ
     
  12. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สัจจบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์

    ........
    "สัจจบารมี" เป็นบารมีหนึ่งในทศบารมีซึ่งเป็นชาดกกล่าวถึงเรื่องของการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้า
    เป็นพระโพธิสัตว์เพื่อบำเพ็ญบารมีต่างๆ รวม ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วเสด็จออกบวช
    จนกระทั่งทรงบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด

    คำว่า "สัจจะ" หมายถึง "จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์ จริงวาจา คือ พูดจริง" และ "จริงการ คือ ทำจริง"
    ส่วนคำว่า "บารมี" หรือ "ปารมี" มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ "อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด" และ "คุณธรรม
    ที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง"


    "สัจจบารมี" จึงหมายความว่า "บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง" นอกจาก "สัจจบารมี" แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กัน
    เสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ "อธิษฐานบารมี"

    คำว่า "อธิษฐาน" หมายถึง "ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน" คำนี้มักถูกนำมาใช้ควบคู่กับคำว่า "สัตย์" ซึ่งเรียกรวมกันว่า "สัตยาธิษฐาน หรือ ตั้ง
    สัตย์อธิษฐาน"


    ในการตั้งสัตยาธิษฐานเพื่อให้บรรลุผลตามที่ได้ตั้งจิตปรารถนาไว้นั้น จะบังเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อใน
    คำอธิษฐานนั้น ได้มีการกล่าวอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นความจริง และหรือ คุณธรรมที่ตนเชื่อมั่น และได้ถือปฏิบัติ
    อย่างจริงจัง

    พระสูตร หรือ พระปริตร เป็นบทสวดมนต์ที่พระภิกษุสงฆ์นำมาสวด หรือ เจริญพระพุทธมนต์ในพิธี
    มงคลต่างๆ เป็นการตั้งสัตยาธิษฐาน หรือ การกล่าวสัจจวาจาของผู้สวดเพื่ออวยพรแก่เจ้าภาพ และผู้ที่มาร่วมพิธี
    เช่น บทสวดที่ว่า นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พุทโธ เม สรณัง วรัง พระพุทธเจ้า
    เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ด้วยคำกล่าวสัตย์นี้ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์จะปรากฏผลได้ ก็ต่อเมื่อผู้สวดได้ถือปฏิบัติ
    ิตามข้อความ หรือ สัจจวาจาที่ได้แสดงไว้ในบทสวดนั้นได้จริงๆ กล่าวคือ ผู้สวดจะต้องมีความเคารพ
    เชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ มิใช่กล่าวออกไปเฉยๆ พอเป็นพิธีเท่านั้น

    การกล่าวสัจจวาจานั้น ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงคุณพระรัตนตรัยเสมอไป ผู้กล่าวจะอ้างอิงความจริงใน
    เรื่องอื่นๆ ของตนก็ได้ เช่นอ้างเรื่องการบำเพ็ญบุญกิริยาของตน คือ การรักษาศีล การบริจาคทาน การภาวนา
    เป็นต้น เมื่อได้กล่าวอ้างอิงถึงความจริงแล้ว ก็ให้อธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาสิ่งที่พึงเป็นไปได้ไว้ในใจ เช่น
    อธิษฐานขอความคุ้มครองให้ตนพ้นจากทุกข์โศกโรคภัย มีบทสวดมนต์บทหนึ่งในบทสวด ๗ และ ๑๒ ตำนาน คือ
    วัฏฏปริตร ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า อัตถิ โลเก สีเลคุโณ บทสวดนี้ เป็นที่รู้จัก และนับถือกันมาตั้งแต่โบราณจนถึง
    ปัจจุบันว่า "คาถา (นกคุ่ม) ดับไฟ"

    บทสวดมนต์ หรือ คาถาดังกล่าวนี้มีตำนานว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก
    เสด็จไปจำพรรษาที่ตำบลหนึ่งในแคว้นมคธ เช้าวันหนึ่ง ได้เสด็จออกบิณฑบาต ระหว่างทาง ได้เกิดไฟป่าลุกไหม้
    และไฟได้ลามมาใกล้ที่ประทับของพระพุทธองค์ แต่ก็ได้ดับลงไปเองอย่างน่าอัศจรรย์ บรรดาพระภิกษุสงฆ์ จึงได้
    ขอให้พระสาริบุตรทูลถาม พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเล่าวัฏฏชาดกซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดมาแล้วในอดีตเมื่อครั้งยังเป็น
    พระโพธิสัตว์ ที่ได้เสวยพระชาติเป็นลูกนกคุ่ม (บางทีเรียกว่า นกคุ่มไฟ) ว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดไฟป่าไหม้มาโดยรอบ
    รังนกที่อาศัยอยู่ในป่า และรังหนึ่งเป็นรังของนกคุ่มผัวเมีย มีลูกเล็กๆ อาศัยอยู่ด้วย เมื่อไฟป่าได้ลุกลามมาใกล้จะถึง บรรดานกทั้งหลายก็พากันบินหนี รวมทั้งนกคุ่มที่เป็นพ่อแม่ด้วย ปล่อยให้ลูกนกคุ่มที่ยังเดินไม่ได้ บินไม่ได้รอความ
    ตายอยู่ในรัง ลูกนกคุ่มนั้นจึงได้ตั้งสัจจกิริยา คือ การกล่าวสัจจวาจาโดยอ้างอิงถึงคุณของศีล รวมทั้งคุณธรรมอื่นที่มี
    อยู่ ที่ได้กระทำมาในอดีตชาติ คุณของพระพุทธเจ้า รวมทั้งความจริงที่เกี่ยวกับตัวเอง คือ มีปีกก็ยังบินไม่ได้ มีเท้าก็
    ็ยังเดินหนีไปไม่ได้ แล้วจึงอธิษฐานอยู่ในใจว่า ขอให้อำนาจแห่งความจริงต่างๆ ที่ตนได้กล่าวไว้จงดลบันดาลให้เกิด
    ผลคือ ขอให้ไฟป่าที่กำลังลุกลามเข้ามาใกล้รอบตัวได้ดับลง

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้ทรงแปล มีข้อความตอนหนึ่งในบทสวดนี้ไว้ว่า
    "คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตย์ความสะอาดและความเอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก ด้วยคำสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจะทำสัจจะ
    กิริยาอันเยี่ยม ข้าพเจ้ารำลึกถึงกำลังแห่งธรรม รำลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปางก่อน อาศัยกำลังแห่งสัจจะ ขอทำ
    สัจจกิริยา ปีกทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ แต่ก็ยังบินไปไม่ได้ เท้าทั้งหลายของข้าพเจ้ามีอยู่ก็ยังเดินไม่ได้ มารดาและ
    บิดาของข้าพเจ้าก็ออกไปแล้ว ดูก่อนไฟป่า ขอท่านจงถอยไป ครั้นเมื่อสัจจะอันข้าพเจ้าทำแล้ว เปลวไฟอันลุกโพลง
    มากก็สงบ.
     
  13. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาบุญจากการให้ธรรมทานของท่านผู้ตั้งกระทู้และทุกๆท่านที่ร่วมอนุโมทนาในบุญกุศลนี้
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    สาาาาา...ธุ
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...