คุณคิดว่าวิทยาศาสตร์กับศาสนามีความสัมพันธ์กันหรือไม่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย khajornwan, 8 พฤศจิกายน 2010.

  1. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    บทสนทนา - นักวิทยาศาสตร์ VS นักศาสนา ( ต่อ )

    สารพันธุกรรม ก็แปลตรงตัวอยู่แล้วไงว่า เทือกเถาเหล่ากออันเกิดจากกรรม สรุปคือกรรมนั่นแหล่ะเป็นคนออกแบบ
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    นักวิทยาศาสตร์ตะวันตกไม่ได้คิดอย่างนั้น ฝรั่งจะงงเป็นไก่ตาแตกถ้านายแปลว่า “ พันธุกรรม ” เป็นภาษาอังกฤษตรงๆ เพราะว่าเขามองว่ามันเป็นกรด เรียกว่า “ กรดนิวคลีอิก ” ไม่เกี่ยวกับกรรมอะไรเลย คำว่า “ พันธุกรรม ” หรือ “ กรรมพันธุ์ “ เป็นสิ่งที่ราชบัณฑิตไทยบัญญัติขึ้นมาด้วยความรู้เชิงพุทธ ที่เชื่อว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นทายาท<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เพิ่งรู้นะเนี่ย.. และฉันเพิ่งได้ยินมาพอดีเลย มีหมอดูระดับโลกทำนายว่าต่อไปนักวิทยาศาสตร์จะค้นพบพลังอีกชนิดหนึ่งที่ควบคุมโลกและจักรวาล เพียงแต่ยังไม่มีใครรู้จัก และไม่มีใครนึกถึงด้วยซ้ำว่ามีอยู่ ทั้งที่แสดงตัวให้เห็นโต้งๆ ตรงหน้านี่แหล่ะ พลังนั้นอาจหมายถึงพลังกรรมก็ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่นายพูดเขาเรียกว่าเสียงลือ คนเราชอบสิ่งลี้ลับ ชอบความเชื่อ ที่ไม่ยินดีให้วิทยาศาสตร์พิสูจน์ เพราะมันสนุกที่จะคุยกันโดยไม่มีใครยืนยันว่าผิดหรือถูก แล้วคำตอบสุดท้ายของจักรวาลก็ดันออกแนวนี้อยู่เรื่อย คือเข้าทางพวกชอบเรื่องลี้ลับอย่างนาย!<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ถ้าพวกชอบพิสูจน์หาเหตุผลอย่างนายไม่มีวันหาคำตอบสุดท้ายเจอ อะไรจะเกิดขึ้น? ทำไมถึงมีเราอยู่อย่างนี้ได้? แล้วควรเอาอะไรมาคิดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของจักรวาล?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จักรวาลเหรอ? จะว่าไงดีล่ะ.. ว่ากันตามทฤษฏีการเกิดขึ้นของจักรวาล จักรวาลน่าจะเริ่มต้นจากจุดของความไม่มีอะไรเลย ทั้งกาลเวลา ทั้งอวกาศ และถ้าว่ากันตามทฤษฏีของการดับลงของจักรวาล ก็ต้องว่าจักรวาลอาจขยายออกไปจนหมดภาวะดึงดูดแม้ในระดับอะตอม ทุกอย่างจะกระจายหายไปเฉยๆ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นั่นไง.. แปลว่าพวกเราคืออณูความฝันของจักรวาล จักรวาลกำลังฝันไป และฝันก็เกิดขึ้นเพื่อดับลงเปล่าๆ อย่างนั้นใช่ไหม?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ก็สุดแล้วแต่นายจะสรรหาคำพูดเอาเอง จักรวาลแค่เป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ ส่วนนายก็มองและคิดเอาตามใจว่าจักรวาลมันเป็นยังไง?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าตามใจฉัน ฉันคิดว่าน่ากลัวตายชักน่ะซี จักรวาลเกิดขึ้นจากความว่าง และจะดับลงไปสู่ความว่างแล้วระหว่างนี้ฉันกับนายคืออะไร? โอกาสในชีวิตที่ต่างกันระหว่างฉันกับนายคืออะไร? ความว่างเป็นตัวสร้างความบังเอิญต่างๆ นั้น จนเกิดระบบลวงตาที่สมจริง แค่เพื่อทำให้ใครคนหนึ่งดีใจ และทำให้ใครอีกคนหนึ่งเสียใจ จนต้องเอามาคุยปรับทุกข์กันอย่างนี้เองหรือ?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นายกำลังพูดถึงความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิต วิทยาศาสตร์ไม่ได้รับผิดชอบด้านนี้ เสียใจด้วย!<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    โอ้โฮ! สว่างวาบเลย ถ้าแก่นชีวิตของพวกเราอยู่ที่วิญญาณและความรู้สึก วิทยาศาสตร์ก็ไม่มีคำตอบสุดท้ายให้กับเราหรอก เผลอๆ พอไปถึงจุดหนึ่ง วิทยาศาสตร์อาจชวนให้หลงนึกว่าพวกเราเป็นแค่ความฝันของจักรวาลที่ไม่ต้องการเหตุผลใดๆ ไม่ต้องมีที่มาที่ไปอะไรเลย พากันเกิดเปล่าตายเปล่าในท่ามกลางความแตกต่างเล่นๆ เท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คืองี้.. วิทยาศาสตร์สอนให้นายเลิกพูดคำว่า “ เชื่อ ” โดยปราศจากคำอธิบาย แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ยืดอกรับประกันความพอใจคำอธิบายนะ นายต้องเลือกวิธีหาคำอธิบายที่น่าพอใจเอาเอง ถ้านายมีความสุขกับการสำคัญตัวว่าเป็นแค่ฝันของจักรวาล นั่นก็คือคำตอบสุดท้ายสำหรับนาย ธรรมชาติไม่ว่าอะไร อย่างนี้ยังไม่ดีอีกหรือ?<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าฉันรู้สึกผิดที่จะฆ่าตัวตาย ฉันก็คงไม่ใช่ความฝันหรอก ต้องมีอะไรบางอย่างที่เป็นเรื่องจริง มีเบื้องหลังความเป็นมาของพวกเราอยู่จริง และศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งอาจพูดถูกมาแล้วเป็นพันปีก็ได้ เพียงแต่นายกับฉันอาจจะยังฟังท่านน้อยเกินไปเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ศาสนาเป็นเรื่องน่าสงสัย<O:p</O:p
    เพราะยากจะพิสูจน์ให้เชื่อด้วยตา<O:p</O:p
    ส่วนวิทยาศาสตร์ก็เป็นเรื่องน่าสงสัย<O:p</O:p
    เพราะยากจะพิสูจน์ให้เชื่อด้วยใจ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ดังตฤณ – คิดจากความว่าง 4<O:p</O:p
     
  2. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ธรรมะวันละนิด

    ถ้าใจของเราอยู่กับปัจจุบัน
    เราก็แก้ปัญหาได้ทั้งวัน
    เมื่อเราแก้ปัญหาได้ทั้งวัน
    ปัญญาเราก็เกิดทั้งวันไม่หยุด

    หลวงพ่อ..^_^
     
  3. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    พิจารณาดูแล้ว ก่อนที่จะสามารถพูดคุยกับคุณไอน์สไตน์ได้คงต้องคุยกันเกี่ยวกับสมาธิกันก่อน เพราะสมาธิเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถละประสาทสัมผัสภายนอกเข้าสู่สภาวะภายในได้ จึงจะทำให้เราสัมผัสพลังงานของจิตที่มีอยู่ในตัวเองได้ ซึ่งก็คือ พลังอารมณ์, จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดนั่นเอง..

    ระหว่างนี้ก็ลองพิจารณาแนวคิดของหลวงปู่องค์หนึ่ง แต่จะไม่ขอเอ่ยนามท่านเพราะเกรงว่าจะเกิดการปรามาสขึ้น ลองอ่านดูละกันนะคะ..
    ............................

    ธรรมะที่แท้จริงคือ.. ความว่าง
    <O:p</O:p
    ส่วนเรื่องของธรรมะ จริงๆ ก็คือความว่าง ความว่างก็คือธรรมะ อย่างเช่น 84,000 พระธรรมขันธ์ มันคืออะไร? ใครจะไปนั่งอ่านพระไตรปิฏกได้เยอะขนาดนั้น บางทีอาจเป็นปริศนาธรรม
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    8 ก็คือ อริยมรรคมีองค์แปด 4 ก็คือ อริยสัจสี่ ( คือหนทางปฏิบัติ ) ส่วน 0 สามตัว ก็คือ กายว่าง วาจาว่าง ใจว่าง ว่างทั้งสามอย่างนี้แล้วก็สูญหมด เป็นนิพพานไปหมด ไม่ต้องไปอ่านอะไรให้มากความ
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    สำหรับบางคนอ่านทั้งชีวิตกลับเสียเวลาเปล่า เพราะไม่ได้ปฏิบัติจริงเป็นแต่ปริยัติ ของจริงต้อง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวช พร้อมกันหมด
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    คือคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา ท่านสอนให้ศึกษาในสติปัฏฐาน 4 ก็มี 4 อย่าง กาย เวทนา จิต ธรรม
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    กายในกายคืออะไร? ถ้าเราพิจารณาเรื่องกาย พิจารณาจนละเอียดที่สุดในกาย จริงๆ ไม่มีอะไร มีแต่ความว่าง ไม่มีตัวตน ไม่มีอะไร ถ้ามันว่างนะ แต่ถ้าไม่ถึงขั้นว่างล่ะ มันเป็นยังไง คือในกายของเรามันมีธาตุ 4 ประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอากาศธาตุประกอบขึ้นมา เราเรียกว่ากาย และถ้ามันว่างจริงๆ มันก็ไม่มีอะไร มันเป็นเพียงแต่ธาตุ และในธาตุล่ะ ถ้ามันไม่ว่าง มันจะมีอะไรในกายเรา ถ้ามันไม่ว่างมันก็มีแต่เวทนา
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    เวทนา คือความสุข ความทุกข์ ที่อยู่ในกายของเราตลอดเวลา และในเวทนาล่ะ มันมีอะไรในเวทนา ถ้าเราพิจารณาไปถึงขั้นสูงสุดจริงๆ มันก็ไม่มีอะไร มันว่าง ถ้าเราพิจารณาถึงขั้นนั้นมันก็ว่างอีก และในความว่างของเวทนา สมมุติว่ามันถึงขั้นที่ว่า ถ้ามันไม่ว่างล่ะ มันจะมีอะไรในเวทนา มันก็คือจิต จิตเราเข้าไปยึดว่าสิ่งนี้เป็นสุข สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือไม่สุข ไม่ทุกข์ มีแต่จิตเป็นตัวชักใยให้เป็นเวทนา และในจิตที่ลึกสุดจริงๆ แล้วมันมีอะไร มันก็มีแต่ความว่างอีกนั่นแหล่ะ..
    (one-eye)(one-eye)(one-eye)<O:p</O:p
     
  4. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ธรรมะจากธรรมชาติ แตกต่างจากธรรมะในตำรา

    เราศึกษาธรรมะจากธรรมชาติ ส่วนธรรมะที่เขาเรียนในตำราไม่เหมือนกัน เช่น เขาบอกว่าสอนมรรค 8 ว่ามีอะไรบ้าง มีสัมมาฐิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา แต่เขาไม่บอกว่า มรรค 8 มันอยู่ตรงไหน เขาไม่สอน ทีนี้พอเราปฏิบัติ เราไม่เข้าใจคำว่า มรรค มรรคแปลว่า ทางเดิน ทางเดินที่อยู่ระหว่างตาวิ่งไปหารูป หูวิ่งไปหาเสียง จมูกวิ่งไปหากลิ่น ปากวิ่งไปหารส กายวิ่งไปสัมผัส นี่มันอยู่ตรงนี้เอง
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    เช่นเขาบอกว่า แล้วพระธรรมของพระพุทธเจ้ามี 84,000 พระธรรมขันธ์ มันคืออะไร? 8 ก็มรรค 8 ส่วน 4 ก็อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แล้วอีกสามศูนย์ก็คือ 0 กายว่าง 0 วาจาว่าง 0 จิตว่าง ถ้าว่าครบตัวนี้ก็เป็น 84,000 พระธรรมขันธ์ ตามหลักจริงๆ ไม่มีใครสามารถรู้ได้ในพระไตรปิฏกว่ามีกี่พระธรรมขันธ์ แท้ที่จริงพระธรรมขันธ์มันก็อยู่ในกายเรา
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    ถ้าเราศึกษาจริงๆ ถ้าเราไปพูดธรรมะแนวนี้ให้เขาฟัง พวกที่เขาเรียนตำราเขายอมรับไม่ได้ เพราะธรรมะของเราได้มาจากการปฏิบัติ ส่วนของเขาจะเป็นแนวปริยัติ ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง
    :z6:z6:z6<O:p</O:p
     
  5. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ธรรมะวันละนิด

    เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของปลอม<O:p</O:p
    เป็นของหลอกลวง เป็นพยับแดด<O:p</O:p
    เป็นลมที่ผ่านไปมาเฉยๆ <O:p</O:p
    เราไปวิ่งตามพยับแดด ไปวิ่งตามลม<O:p</O:p
    ไปวิ่งตามสิ่งแวดล้อม มันก็ทุกข์เราเปล่าๆ นะ

    หลวงพ่อ.. ^_^<O:p</O:p
     
  6. Jjfreeman

    Jjfreeman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2010
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +130
    (k)..พิจารณาดูแล้ว ก่อนที่จะสามารถพูดคุยกับคุณไอน์สไตน์ได้คงต้องคุยกันเกี่ยวกับสมาธิกันก่อน เพราะสมาธิเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถละประสาทสัมผัสภายนอกเข้าสู่สภาวะภายในได้ จึงจะทำให้เราสัมผัสพลังงานของจิตที่มีอยู่ในตัวเองได้ ซึ่งก็คือ พลังอารมณ์, จินตนาการและความรู้สึกนึกคิดนั่นเอง..(k)

    ขออ้างอิงข้อความของคุณ khajornwan นิดหนึ่งนะ

    ขอยกตัวอย่าง พลังสมาธิ ของข้อความข้างบนที่ขีดเส้นใต้นิดนะครับ

    .. ตัวอย่างเช่น เวลามีการจับกลุ่ม นินทาใคร หรื่อ เม๊าแตกแหกกระจาย ใครบางคนอยู่อย่างเมามัน คันปาก จังหว่ะตอนเม๊าแตกแหกกระจายนั้นครับ จะทำให้เกิด พลังอารมณ์ จินตนาการ และความรู้สึกนึกคิด จนเกิดเป็นพลัง สมาธิอย่างมหาศาลมาก มุ่งตรงไปยังบุคคลนั้นๆจนทำให้บุคคลนั้นเกิดอาการคัดจมูก และ ก็จามออกมา ..

    :cool::cool::cool::cool:ปล. ไม่ได้ผาดพิงใครอยู่นะครับ :cool::cool::cool::cool:
     
  7. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    เป็นแบบนี้จริงๆเหรอครับ? น่าแปลกใจ...
     
  8. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,682
    ค่าพลัง:
    +51,931
    *** วิทยาศาสตร์ กับ ศาสนศาสตร์ ****

    สัมพันธ์กัน...เพราะ อยู่บนหลักเดียวกัน คือ "สัจจะธรรม"
    ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน
    The Action never die.

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  9. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ติดตามเว็บนี้มาสักระยะนึงแล้ว วันนี้อยากมีส่วนร่วมบ้าง เลยสมัครเข้ามาขอแจมด้วยคน ขอประเดิมด้วยกระทู้นี้เป็นกระทู้แรกก็แล้วกันนะคะ ขออนุโมทนากับท่านจขกท.ด้วย อ่านแล้วได้อะไรเยอะเลยค่ะ
     
  10. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ขอบคุณคุณไอน์สไตน์มั่กๆ เลยค่ะที่ช่วยมาขยายความให้

    ถ้าหากเราเท่าทันปัจจุบันจริงๆ นะคะ เราจะทันตั้งแต่การเริ่มต้นเกิดพลังงานของจิตก่อนเริ่มต้นเม้าท์กันเลยทีเดียวค่ะทุกคน เพราะทันทีที่เราเริ่มต้นคิดจะเม้าท์กับใครสักคนหนึ่งเราก็ได้จุดกระแสพลังความคิดขึ้นมาแล้ว และเมื่อเราคิดกายของเราก็จะเริ่มกระทำตามที่เราคิดขึ้นมาทันที เมื่อกระทำไปแล้ว ถ้ายังไม่ทันความคิดของตัวเองอีก ทีนี้ล่ะทั้งอารมณ์ ทั้งการกระทำก็เตลิดเปิดเปิงกันล่ะคราวนี้ อิอิ..

    [​IMG]


    ลองสังเกตุดูค่ะว่าทุกครั้งก่อนที่เราจะแสดงอาการทางกายอะไรออกมาซักอย่างนี่ เราจะเริ่มรู้สึกถึงกระแสพลังงานก่อนถ้าภายใน 3 นาทีเราไม่ดับกระแสพลังงานนั้นลง ก็เราก็จะแสดงอาการทางกายออกมาให้ใครต่อใครได้เห็นกันล่ะทีนี้ เช่น เกิดอารมณ์โมโหครุกรุ่นขึ้นมาแร้ะ ถ้าเบาหน่อยก็มีปากมีเสียงกันพอหอมปากหอมคอ แต่ถ้าแรงหน่อยก็กระโดดตบเป็นลูกวอลเล่ย์ซะเลย รึถ้าแรงกว่านั้นก็เตะเป็นลูกฟุตบอลกันไปเลย เหอๆ..
    black_pigblack_pigblack_pig
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  11. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ขอบคุณคุณหนุมานมากๆ เลยค่ะที่มาช่วยสรุปหลักสัจจะธรรมมาให้พวกเราได้เข้าใจมากขึ้น บางทีภาษามนุษย์กับภาษาธรรมนี่เราก็ต้องคอยตีความให้เข้าใจตรงกันด้วยนะคะ อย่างเช่นภาษาธรรมตามหลัก " หลักสัจจะธรรม " ของคุณหนุมานนี่ก็มีหลายนิยามที่สามารถเอ่ยเป็นภาษามนุษย์ได้เหมือนกันค่ะ เช่น

    ภาษาวิทยาศาสตร์

    พลังงาน INPUT = พลังงาน OUTPUT

    พลังงานไม่เคยสูญหายไปไหน ยังคงเปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซ, ของเหลว, ของแข็ง อยู่ตลอดเวลา

    ภาษากฏแห่งการดึงดูดของจักรวาล
    เธอคิด, เชื่อ สิ่งใดได้สิ่งนั้นไม่มีกฏเกณฑ์อื่น

    ภาษาพุทธ
    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หรือกฏแห่งกรรม, กฏแห่งการกระทำ

    ภาษาคริสต์
    พระเจ้าจะคงอยู่กับเราไปจนชั่วนิรันดร์ ฯลฯ

    ช่วงนี้งานยุ่งพอสมควรค่ะ แต่จะพยายามเข้ามาพูดคุยให้ได้นะคะ
    ขอบคุณทุกๆ คนที่เข้ามาพูดคุย รวมทั้งท่านผู้อ่านเงียบไม่แสดงตัวออกมา อิอิ..
    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกๆ ท่านที่เข้ามาคุย, มาอ่านต่างก็เป็นจิตวิญญาณต่างร่างแต่ร่วมวัตถุประสงค์
    ของขจรวรรณทุกคน
    และถึงไม่ได้พูดคุยกันเราก็สามารถติดต่อกันได้ทางจิตวิญญาณเสมอนะคะ เอิ๊ก..
    :VO:VO:VO
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  12. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ธรรมะวันละนิดจ้า

    พระพุทธเจ้าจึงสอนเราทำใจสบาย..
    คือหายใจเข้าออกสบาย
    เราไม่มีหน้าที่ ให้สงบหรือไม่สงบ
    เรามีหน้าที่หายใจเข้าออกสบาย
    เราไม่มีหน้าที่ ที่เราจะไปจัด ไปทำ ไปห้าม
    เกิด แก่ เจ็บ ตาย นินทา สรรเสริญ
    เรามีหน้าที่ หายใจเข้าออกสบายอย่างเดียว

    หลวงพ่อ.. ^_^
     
  13. Kinglondon

    Kinglondon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2010
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +70
    วิทยาศาสตร์กับศาสนา แท้จริงแล้วก็คือสิ่งเดียวกัน ในศาสนาพุทธ เป็นวิทยาศาสตร์ เพราะไม่สอนให้เชื่อ แต่สอนให้พิจารณาด้วยปัญญา เป็นศาสนาเดียวที่สอนให้อย่าเชื่อ แต่ต้องใช้สติปัญญาพิจารณา ^_^
     
  14. เลขโนนสูง

    เลขโนนสูง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +825
    มาร่วมวงครับ...อิอิ...
    ทุกข์ทั้งปวงสรุปลงที่อุปทานขันธ์เช่นนั้นเอง...อิอิ
     
  15. Pelagia

    Pelagia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,198
    บางคนมองว่าศาสนาเป็นข้อกำหนดทางศีลธรรมไม่ใช่ความจริงทางธรรมชาติ ก็เลยมองว่าศาสนากับวิทยาศาสตร์มันคนละอย่างกัน
     
  16. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    เริ่ดค่ะเริ่ด

    แต่ละคนเก่งๆ กันทั้งนั้นเลยค่ะ.. ยินดีที่ได้มีโอกาสพูดคุยและสนทนากับทุกๆ คนนะคะ:cool:

    ระวังเด้อค่ะเด้อ.. ต่อไปถ้ามีใครไปไปพูดคุยหรือทะเลาะกันเกี่ยวกับศาสนาชั้นศาสนาเธอนะ พวกเราจะถูกคนรุ่นใหม่เค้าเหล่ดูและอาจจะบอกว่าพวกเราเชยขึ้นมาล่ะจะหนาวเข้าให้ อิอิ.. เพราะถ้าเราเข้าใจได้ว่าจิตวิญญาณคือพลังงานแล้วนี่ ลองคิดตามหลักความจริงดูค่ะว่าพลังงานมีศาสนารึปล่าว? อากาศที่เราใช้ในการหายใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้บางทีอาจจะเป็นอากาศตัวเดียวกันกับที่ผู้คนในศาสนาอื่นเค้าใช้ด้วยก็ได้นะ รึไม่ก็อาจจะเป็นอากาศชนิดเดียวกับคนยุคเก่าที่เราพอจะจำความกันได้ใช้หายใจมาแล้วก็ได้ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งของคำพูดของคนยุคใหม่ที่ว่า “ ทุกศาสนารวมเป็นหนึ่งเดียว ”

    ชาวพุทธเรามีความเชื่อหนึ่งที่ว่า คนเราเวียนว่ายตายเกิดกันมาแล้วหลายชาติภพ เชื่อในเรื่องอดีตชาติ ถึงแม้ว่าจะจำได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วเราคิดหรือไม่ว่าเราอาจจะเคยเกิดมาเป็นชาวคริสต์, ชาวอิสลาม, ชาวเซน, ชาวเต๋า ฯลฯ มาแล้วก็เป็นได้ เพียงแต่อาจจะต่างยุคต่างสมัยในช่วงเวลานั้น เคยมีคนเปรียบเทียบให้ฟังว่า ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่ซะจนเราไม่สามารถจะรู้แจ้งได้ด้วยบุคคลเดียวร่างเดียวได้หรอก รึเปรียบได้กับต้นไม้ต้นหนึ่ง บางศาสนาก็หยิบเอาเฉพาะใบไม้มานั่งพิจารณา บางศาสนาก็หยิบเอาดอกไม้มาพิจารณา บางศาสนาก็หยิบเอากิ่งไม้มาพิจารณา บางศาสนาก็หยิบเอาเปลือกไม้มาพิจารณา ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วมันก็เป็นต้นไม้ต้นเดียวกันนั่นแหล่ะ แล้วเราก็มานั่งเถียงกันว่าฉันถูกเธอผิดไปให้เสียเวลา เสียอารมณ์กันไปทำมัยนะ

    พี่นักเขียนโนวา อนาลัย เคยสอนพวกเราไว้ว่า เราจะสามารถตรวจสอบได้ว่าเรื่องใดเป็นเพียงความเชื่อ ก็ด้วยการพิจารณาดูว่าเรารู้สึกขัดแย้งภายในใจหรือไม่? ความรู้สึกขัดแย้งในที่นี้นี่หมายความว่าถ้าจิตเรารู้สึกอึดอัดขัดเคืองใจรึอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้เราไม่ Happy ก็ให้ระลึกรู้ได้ทันทีเลยว่าเรากำลังตกอยู่กับภาวะความเชื่อ แล้วก็ค่อยมาพิจารณากันใหม่ว่าความรู้ที่แท้จริงนั้นคืออะไรต่อไป ก็หวังว่าพวกเราทุกคนจะสามารถปลดความเชื่อทิ้งจนกลายมาเป็นความรู้ได้ในที่สุดนะคะ..ตัวขจรวรรณเองก็ยังคงพิจารณาสิ่งที่เข้ามากระทบอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกันค่ะ..
    <O:p</O:p
    อย่าลืมค่ะว่าจิตวิญญาณของพวกเราทุกคนนั้นมีข้อมูลความรู้ความทรงจำข้ามชาติเสมอเหมือนกันหมดทุกคน แต่เราจะมีความสามารถที่จะนำออกมาใช้กันได้มากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง.. ไว้วันหลังจะเอาเรื่องการถามตอบทางจิตวิญญาณมาเล่าให้ฟังอีกค่ะ จะได้ลองเอาไปฝึกหาคำตอบด้วยตนเอง.. สนุกค่ะความบังเอิญที่ไม่บังเอิญทั้งหลายคืออะไร? สู้ต่อไปคร๊าบ เพื่อความรู้แจ้งหรือที่ชาวพุทธเราใช้คำว่า เพื่อการตรัสรู้ได้ด้วยตนเองงาย..
    :z8:z8:z8
     
  17. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    อุปาทานขันธ์ก็คือ การที่จิตไปฟุ้ง ไปปรุง ไปแต่ง ให้กับสิ่งที่เราไปเห็นหรึอสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสภายนอก ว่าสวย, ว่าดี, อร่อย, ไม่อร่อย, หอม, ไม่หอม ฯลฯ ถ้าเราฝึกที่จะเห็นก็สักแต่ว่าเห็น เช่น เห็นคนเดินมาก็ให้รู้ว่าเป็นคน ไม่ใช่ไปเห็นแล้วบอกว่าสวย เห็นดอกไม้ก็ให้รู้ว่าเป็นดอกไม้เพราะถ้าเห็นดอกไม้ว่าสวยปุ๊บ มือเราอาจจะเอื้อมไปเด็ดมาดมแล้วก็ปรุงแต่งต่อว่าหอมอีกเด๋วจะยุ่งขึ้นมาอีกนะจ๊ะตัวเอง ^_^

    เคยมีหลวงปู่ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังเล่นๆ บอกว่าจิตเรามันชอบหลอกตัวเอง บางทีนะเราฉันท์ไปแล้วจิตยังบอกว่ายังไม่ได้ฉันท์ก็มี ท่านเล่าให้ฟังว่าเคยไปบิณฑบาตรโยมก็ใส่บาตรด้วยแตงโมมาลูกหนึ่ง ระหว่างเดินทางกลับมาวัดท่านก็คิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะกินแตงโมจะกินแตงโม ทีนี้กลับมาวัดก็ฉันท์ทุกอย่างเรียบร้อยหมดแร้ะ พอมานั่งพักผ่อนอยู่ดีๆ จิตเค้าลุกออกไปหยิบมีดออกมาผ่าแตงโมมาฉันท์ให้ดู แถมยังมองและยักคิ้วหลิ่วตาให้ท่านอีกต่างหาก เออ.. เน๊อะจิตเรานี่พอเผลอเมื่อไหร่ เค้าก็จะสามารถหลอกเราได้อยู่ตลอดเวลาเลยนะ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องฝึกให้จิตเท่าทันปัจจุบันอยู่เสมอด้วยการฝึกสมาธิกันเถอะค่ะ..
    dannce_dannce_dannce_<O:p</O:p
     
  18. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ในยุคต่อไปวิทยาศาสตร์จะเป็นตัวเชื่อมให้ศาสนาทุกๆ ศาสนามาเจอกัน
    และเข้าใจกันในที่สุด คอยดูกันต่อไปนะจ๊ะ.. ทุกๆ คน เฮอเฮอ..:boo::boo::boo:
     
  19. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    การทำสมาธิตามแนวพุทธ - ลมหายใจแห่งความรู้

    ทุกคนรู้ว่าการอยู่กับปัจจุบันเป็นของดี เพราะภาวะของจิตที่อยู่กับปัจจุบันก็คือสมาธิ สมาธิคือจิตตั้งมั่น สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ไม่ฟุ้งไปข้างหลัง ไม่คาดหวังไปข้างหน้า เลิกเก็บอดีตที่ล่วงไปแล้วมาคิด และหยุดทะยานอยากไปสวาปามกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

    แต่ความยากลำบากของคนเริ่มฝึกที่จะอยู่กับปัจจุบัน ก็คือไม่มีอะไรตรงหน้าที่ล่อหูล่อตาได้แรงพอให้เกิดความใส่ใจได้ต่อเนื่อง ตราบเท่าที่ฝากใจไว้กับวัตถุหรือเรื่องราวนอกตัว คุณจะไม่มีทางเป็นสมาธิได้อย่างสม่ำเสมอเลย เพราะโลกความเป็นจริงจืดชืดเกินไป พักช่วงสีสันเร้าใจนานเกินไป
    <O:p</O:p
    แนวการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันแบบพุทธนั้น ถ้าเข้าใจถูกต้องจะต้องตรงกัน คือเริ่มต้นรับรู้ออกมาจากวินาทีนี้ของกายและใจเราเอง เอากันที่ของจริงภายใน ไม่ใช่เรื่องสมมุติภายนอก แรกเริ่มอาจดูน่าเบื่อ ไม่เห็นมีอะไร แต่ดูไปเรื่อยๆ จะยิ่งพบความอัศจรรย์ของแก่นชีวิตจริงมากขึ้นตามลำดับ
    <O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่องการตั้งหลักรู้กันที่ลมหายใจ เพราะลมหายใจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดเวลา และสำคัญกว่านั้นคือเป็นเครื่องล่อจิตให้สนใจได้อย่างต่อเนื่อง ยิ่งรู้สึกถึงลมหายใจมากขึ้นเท่าใด คุณก็จะยิ่งมีความตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันมากขึ้นเท่านั้น
    <O:p</O:p
    ลมหายใจยังเป็นหลักประคองให้คุณเข้าถึงภาวะต่างๆ ของตนเอง ทั้งทางกายและทางจิต เมื่อสังเกตเข้าไปจะพบว่าลมหายใจถูกจำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้

    1. ลมหายใจแห่งความไม่รู้

    การไม่รู้ในที่นี้หมายถึง ไม่รู้อะไรเลยที่กำลังปรากฏอยู่จริงในนาทีปัจจุบัน นับตั้งแต่ภาพเสียงตรงหน้า ความเป็นกายในอิริยาบทนี้ ตลอดจนกระทั่งลมหายใจที่เข้า ออก หรือหยุดลงในกายนี้
    ลมหายใจแห่งความไม่รู้ เป็นลมหายใจที่แผ่วสั้น เพราะลมแผ่วสั้นคุณถึงแทบไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองหายใจเอาเลย นี่คือความจริง หากลมหายใจยาวขึ้น คุณจะต้องมีสติรู้สึกถึงลมหายใจเสมอ
    <O:p</O:p
    เมื่อถูกกระตุ้นให้ยอมรับความจริงได้ว่าคุณกำลังมีลมหายใจแห่งความไม่รู้ อาจมีใครเตือนหรือคุณเตือนตนเอง ทันทีนั้นจะเห็นความไม่รู้ อาจมีใครเตือนหรือคุณเตือนตนเอง ทันทีนั้นจะเห็นลมหายใจที่แผ่ว พร้อมลักษณะจิตที่เป็นความเหม่อลอยขึ้นมาชั่วขณะหนึ่ง ว่ามีลักษณะบานๆ ลอยๆ ไร้น้ำหนัก และแว๊ปนั้นคุณจะรู้สึกอยากหายใจให้ยาวขึ้น นั่นแหล่ะที่เรียกว่าเกิดสภาวะจิตตื่นรู้ขึ้นมาวูบหนึ่ง หลังจากหลงหลับไปครู่เล็กครู่ใหญ่

    ปัญหาคือเพียงด้วยความรู้สึกตัวเล็กๆ น้อยๆ เท่านี้ ไม่อาจรักษาจิตของคุณไว้กับปัจจุบันได้นาน ครู่เดียวก็จะแปรเป็นจิตเหม่อ จิตฟุ้ง จิตห่อเหี่ยว หมกมุ่นในอดีตอนาคตเหมือนเดิม ลมหายใจจึงกลับไปเป็นลมที่ไม่ถูกรู้ สั้นหยาบ และไม่อาจเป็นหลักเกาะของสติดังเคย
    ( ยังมีต่อคร๊าบผม )
    :z16:z16:z16
     
  20. khajornwan

    khajornwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +4,468
    ลมหายใจแห่งความรู้ ( ต่อ )

    2. ลมหายใจแห่งความอยาก

    ความอยากในที่นี้หมายถึงอยากโน่นอยากนี่ เราชี้ชัดได้ว่า ขณะหนึ่งๆ ใจมีอาการอยากจากแรงดันในอก หรือความเสียดแทงทางความคิดในหัว พูดง่ายๆ คือมีอาการแล่นทะยานไปจับยึดอะไรอย่างหนึ่ง ทำให้เนื้อตัวกำเกร็ง เป็นส่วนเกินของอาการปกติ

    ลมหายใจแห่งความอยากจะมีลักษณะห้วน ไม่นิ่มนวล แม้ยาวก็ยาวแบบอึดอัดคับอก เพราะรีบร้อนหายใจ ไม่เป็นไปเพื่อความสบายเนื้อสบายตัว ดังนั้นเมื่อทำความรู้สึกเข้ามาที่ลมหายใจ จึงเป็นลมหายใจที่ที่ไม่น่าดู และคุณก็ไม่อาจฝากใจไว้กับลมที่น่ารังเกียจไว้นานนัก หากลมหายใจของคุณมีความนิ่มนวล คุณจะรู้สึกพึงพอใจ เมื่อพึงพอใจก็ย่อมอยู่กับสิ่งที่ทำให้คุณพึงพอใจได้นานขึ้น
    ลมหายใจที่นิ่มนวลต้องมาพร้อมกับความผ่อนคลายสบายใจ ความผ่อนคลายสบายใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณเป็นอิสระจากความอยาก แม้แต่อยากรู้ลมหายใจ อยากรีบดึงหายใจเข้าอยากระบายลมหายใจออก

    เช่นกัน ปัญหาคือเพียงด้วยความรู้สึกตัวเล็กๆ น้อยๆ เท่านี้ไม่อาจรักษาจิตของคุณไว้กับปัจจุบันได้นาน ครู่เดียวก็จะแปรเป็นจิตดิ้นรน จิตทะยาน ลมหายใจจึงกลับไปเป็นลมที่ห้วนสั้น บางทีมีกระชากเข้ากระชากออกอย่างไม่เป็นไปตามจังหวะธรรมชาติไม่น่าดูน่าชมอีกเช่นเคย

    3. ลมหายใจแห่งความรู้

    ความรู้ในที่นี้หมายถึงสติ หมายถึงความสามารถระลึกได้ถูกต้องตามจริง ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น เป็นความรู้ที่จิตไม่ได้เจืออยู่ด้วยความคาดหวัง จึงไม่มีแรงทะยานอยากใดๆ เป็นส่วนเกินของปกติจิตแม้แต่นิดเดียว กายจึงพลอยสบายไม่เครียดเกร็งไปด้วยเช่นกัน

    ลมหายใจแห่งความรู้อาจเป็นเข้าหรือออกก็ได้ อาจจะยาวหรือสั้นก็ได้ อาจกระด้างหรือนิ่มนวลก็ได้ แต่สำคัญคือเป็นลมหายใจที่มาพร้อมสติรู้ตามจริง ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ

    ลมหายใจอันเป็นธรรมชาติ เกิดขึ้นจากความต้องการทางกาย โดยไม่ถูกแทรกแซงด้วยอาการทางใจ คุณจะรู้สึกถึงความสม่ำเสมอของจิต รู้สึกเข้ามาที่จิตว่าเป็นผู้รู้ลมหายใจอยู่ ไม่ใช่ผู้ควบคุมบังคับลมหายใจให้เป็นอย่างไร

    ที่ตรงนั้นลมหายใจดีๆ จะเป็นอัตโนมัติขึ้นมาเอง ยาว ละเอียด ผ่อนสั้นผ่อนยาวตามจังหวะอันควร โดยมีจิตตั้งมั่นรับรู้เยี่ยงผู้สังเกตการณ์ภายนอกเท่านั้น และในความรับรู้ที่บริสุทธิ์และสม่ำเสมอคุณจะพบว่าลมหายใจเป็นเสมือนประตูเข้าสู่มิติของปัจจุบัน เมื่อจิตพบประตูแล้ว ก็ย่อมไม่หลงทางไถลไปจากปัจจุบันไกลนัก เดี๋ยวเดียวก็กลับมาสู่ปัจจุบันได้ถูก

    ลมหายใจแห่งความรู้ที่ต่อเนื่องพอ จะพาให้คุณรู้สึกถึงอิริยาบถปัจจุบัน รู้ถึงความอึดอัดหรือความสบายทางกาย แล้วค่อยๆ รู้สึกลงไปถึงความอึดอัดหรือความสบายทางใจ เห็นเหตุเห็นผลต่างๆ นานาของความอึดอัดและความสบายแต่ละชนิดอย่างแจ่มแจ้ง

    ไปถึงตรงนั้น คุณจะมีทุนสำหรับการทำความเข้าใจแก่นสำคัญของพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้ดูว่า ความอยากเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เมื่อละความอยากได้ ทุกข์ก็หายไปเป็นธรรมดา นี่เป็นการเห็นของจริงที่ง่ายดายจนคุณอาจมองว่าง่ายเกินไป แต่เมื่อเฝ้ารู้เฝ้าดูความง่ายดายเช่นนี้ไปเรื่อยๆ คุณก็จะยิ่งเห็นจริงเข้ามาในจิต เห็นความจริงของจิต กระทั่งหายสงสัยในสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบอย่างสิ้นเชิง ในวันที่ใจคุณไม่ยึด ไม่อยาก ไม่ถือเอาอะไรๆ เป็นที่ตั้งของความยึดความอยากอีกเลย

    เมื่อไม่เหม่อและไม่อยาก
    ลมหายใจแห่งความรู้จะปรากฏ

    ขอบคุณข้อมูลจากดังตฤณ – คิดจากความว่าง 4
    (one-eye)(one-eye)(one-eye)
     

แชร์หน้านี้

Loading...