สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน, ฌาน, ญาณ, อภิญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย AloHa_55, 20 เมษายน 2008.

  1. AloHa_55

    AloHa_55 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +17

    สมถะ แปลว่า ความสงบ กาย วาจา ใจ วิปัสสนา แปลว่า การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง กรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่เพื่อเกิดความสงบทาง กาย วาจา ใจ เป็นการทำปัญญาให้เห็นแจ้ง
    ฌาน ญาณ อภิญญา

    ฌาน
    ฌาน คือ การหยั่งรู้หรือการเพ่งในองค์กรรมฐาน ฌานนั้นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน รวมกันเราเรียกว่า สมาบัติ 8 และอุปสรรคขวางกั้นฌานคือ นิวรณ์ 5
    พระพุทธเจ้าสอนให้เราเริ่มจากทาน คือรู้จักการให้ เพื่อลดความตระหนี่ถี่เหนี่ยวหรือละความโลภก่อน แล้วจึงมาถึงศีลคือ การไม่เบียดเบียนกัน สมาธิคือการฝึกจิตตั้งมั่นในการบำเพ็ญเพียรภาวนาจนเกิดฌาน คือ การหยั่งรู้ แล้วจะเกิดฌาน คือ ปัญญานั่นเอง อย่างที่เราเรียกว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา
    ฌานนั่นมี 4 รูปฌาน และ 4 อรูปฌาน
    ฌานหนึ่งหรือปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์
    วิตก : คือ ยังภาวนาพุทโธอยู่
    วิจาร : คือ การคิดว่าพุทหายใจเข้า โธหายใจออก
    ปิติ : มีอาการ 5 อย่างคือ ขนลุก น้ำตาไหล ตัวโยก ตัวลอย ตัวขยายใหญ่ขึ้น (อาจมีเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง)
    สุข : จิตที่อิ่มในอารมณ์
    เอกัคคตารมณ์ : จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน
    ฌานสองหรือ ทุติยฌาน จะมีเพียงแค่ ปิติ สุข และเอกัคคตารมณ์
    ฌานสามหรือ ตติยฌาน จะมีเหลือเพียง สุข กับ เอกัคคตารมณ์
    ฌานสี่หรือ จตุตถฌาน คนเราส่วนมากมักจะติดอยู่ในฌานสาม จะมีแต่สุขกับเอกัคคตารมณ์ หรือจิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เมื่อสุขแล้วก็ไม่อยากคิดอะไร จึงติดอยู่ในสุขไปไหนไม่ได้ ฌานหนึ่งถึงฌานสามเรียกว่าสมถะกรรมฐาน คือ ความสงบในกาย วาจา ใจ ถือเป็นสมถะกรรมฐาน เราต้องใช้วิปัสสนาด้วย วิปัสสนาคือ การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง เมื่อจิตสงบอยู่ในฌานสาม ให้รีบพิจารณา พิจารณาอะไร พิจารณาพระไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
    ลักษณะ 3 อย่าง คือถ้าเรานั่งสมาธิไปนานๆ มันจะเกิดความปวดเมื่อย ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เราเรียกว่า ทุกขัง คือ ภาวะที่ทนได้ยาก อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง เราจะนั่งอยู่อย่างนี้ทั้งวันทั้งคืน ทั้งเดือน คงจะไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงจากนั่งเป็นยืน เดิน นอน การเปลี่ยนแปลงนี้เราเรียกว่า อนิจจัง ความไม่เที่ยง
    อนัตตา คือ กายนี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าเป็นของเรา เราจะต้องไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่แก่ ไม่เฒ่า เพราะกายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นอนัตตา ตัวไม่ใช่ตนของเรา ความตายไม่มีใครหนีไปได้
    พระพุทธเจ้าทรงถามพระอานนท์ว่า อานนท์เธอคิดถึงความตายอย่างไร พระอานนท์ตอบว่า คิดถึงทุกวันเลยพระองค์ท่าน พระพุทธเจ้าก็ทรงเฉย พระอานนท์ก็ตอบอีกว่า คิดถึงวันละ 3 เวลาเลยพระองค์ท่าน พระพุทธเจ้าทรงส่ายพระพักตร์ ตรัสว่า เธอควรคิดถึงความตาย ทุกลมหายใจเข้าออก เพื่อความไม่ประมาท
    ในเมื่อเรารู้แล้วว่า เราหนีความตายไปไม่พ้น ตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง แล้วเราจะโลภ จะโกรธ จะหลงไปทำไม เมื่อจิตไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่อยาก ก็จะเข้าสู่อุเบกขา คือการวางเฉย ในฌานสี่ มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างคือ อุเบกขา และเอกัคคตารมณ์
    ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ ฌานที่ไม่มีรูป สังขาร ร่างเหมือนอากาศที่ว่างเปล่า เมื่อได้ฌานสี่หรือจตุตฌาน เราสามารถถอดกายได้ วิธีการถอดกายอย่าถอดกายออกจากฐานกระหม่อมเบื้องบน เพราะถ้ากายทิพย์ลอยออกจากกระหม่อม เราก้มลงมาเห็นกายหยาบนั่งอยู่จะตกลงมาทันที ให้พยายามถอดกายออกจากด้านข้าง หรือทางด้านหน้า ถอดออกแล้วอย่าไปไหน ให้พยายามมองดูตัวเองที่นั่งสมาธิอยู่ มองดูกายหยาบจนเห็นชัด เห็นแล้วให้รีบพิจารณาอสุภกรรมฐาน มองดูตั้งแต่ เส้นผม หนังศีรษะ กะโหลก มันสมอง เส้นขน ผิว หนัง เนื้อ กระดูก ซี่โครง หัวใจ ตับไต ไส้พุง มองพิจารณาให้เห็นเป็นอสุภกรรมฐาน มองจนสลายกลายเป็นเถ้าถ่านไป เรียกว่า ฌานห้าหรืออรูปฌานหนึ่ง
    ฌานหกหรืออรูปฌานสอง เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะ ให้พยายามมองดูที่ดวงจิตที่ใส เหมือนดวงแก้ว มองจนดวงจิตนั้นหายไปเรียกว่า วิญญานัญจายตนะ ไม่มีวิญญาณ
    ฌานเจ็ดหรืออรูปฌานสาม เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ให้มองที่กาย มองดูที่จิตพร้อมกันทั้งสองอย่างมองจนกระทั่งหายไปทั้งกายและดวงจิต เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ ไม่มีกาย ไม่มีจิต
    ฌานแปดหรืออรูปฌานสี่ เรียกว่า เนวะสัญญานาสัญญายตนะ กายทิพย์นั้นจะกลับเข้าสู่ร่างเดิม แต่จะชาหมด ลมหายใจเหลือแผ่วๆ เบามากจนแทบไม่มีการหายใจ ไม่รับรู้อะไรทั้งหมด ชาไร้ความรู้สึกเหมือนท่อนไม้
    เมื่อเราได้ฌานแปดหรือสมาบัติแปด ญาณหรือปัญญาจะเกิด ญาณนั้นมี 7 อย่าง บางคนอาจจะไม่ได้ถึงฌานแปด อาจจะได้ฌานหนึ่ง สอง หรือสาม ก็สามารถเกิดญาณหรือปัญญาได้ หรือบางคนอาจจะไม่ได้ฝึกสมาธิเลยก็มีญาณเกิดขึ้นได้ ถือว่าเป็นฌานหรือตัวรู้ ที่ติดตัวมาแต่ชาติปางก่อน เช่น เราอาจจะเคยพบคนที่สามารถรู้อะไรว่าจะเกิดล่วงหน้า และก็เกิดตามที่คิดนึกรู้นั้น บางคนเรียกว่า ลางสังหร ความจริงแล้วเป็นญาณอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนาคตตังญาณ คือปัญญาที่จะรู้เหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    ญาณ
    ญาณ มี 7 อย่างคือ
    1. บุเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตของคนหรือสัตว์ได้
    2. จุตูปปาตญาณ ปัญญาที่รู้ว่าคนหรือสัตว์ก่อนจะมาเกิดเป็นอะไรมาก่อน เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร
    3. เจโตปริยญาณ ปัญญาที่รู้ใจคน รู้อารมณ์ความคิดจิตใจของคนและสัตว์
    4. อตีตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในอดีต เหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้ว ทั้งในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ของคนและสัตว์
    5. ปัจจุปปันนังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในปัจจุบันว่าขณะนี้ใครทำอะไรอยู่ และมีสภาพอย่างไร
    6. อนาคตตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในการต่อไปว่า คน สัตว์ สรรพวัตถุ เหล่านี้ต่อไปจะเป็นอย่างไร รู้ได้ตามภาพที่ปรากฏ ถ้าภาพที่ปรากฏไม่ชัดเจน ก็อธิษฐานถามก็จะรู้ชัดและไม่ผิด
    7. ยถากัมมุตญาณ ปัญญาที่รู้ผลกรรม คือ รู้ว่าคนเราที่ทุกข์หรือสุขทุกวันนี้ ทำกรรมอะไรมาในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติจึงเป็นเช่นนี้ และจะแก้ไขได้หรือไม่ประการใด
    อภิญญา
    อภิญญา แปลว่า ความรู้อย่างยิ่งสูงกว่า ญาณมี 6 อย่าง
    เมื่อเราฝึกการใช้ฌาณทั้ง 7 จนคล่องแคล่วชำนาญดีแล้ว อภิญญาจะค่อยๆ เกิดตามมา อภิญญาทั้ง 6 ได่แก่
    1. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น อยู่ยงคงกระพัน ล่องหนหายตัว ย่นระยะทางได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ หรือเดินลงไปในน้ำได้
    2. ทิพยโสต มีหูทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกลหรือเสียงอมนุษย์ ได้ยินเสียงสัตว์ เสียงเทพ เสียงพรหม รู้เรื่อง
    3. จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์ แต่รู้หมดทุกภพทุกชาติ ถ้าฌาณธรรมดาจะรู้เพียง 4-5 ชาติ แต่อภิญญารู้หมดทุกภพทุกชาติ
    4. เจโตปริยญาณ รู้วาระจิต รู้ความคิดในใจของคนและสัตว์ได้
    5. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ของคนหรือสัตว์ได้ทุกภพทุกชาติ
    6. อาสวักขยญาณ ปัญญาที่ขจัดอาสวกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป อภิญญาข้อนี้เองจะเป็นหนทางให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้


    ความไม่ประมาทเป็นทางที่ไม่ตาย
    อปฺปมาโท อมตํ ปทํ




    เครดิต ... http://www.geocities.com/metharung/metha4.htm


    เราอ่านแล้ว กระจ่างเล ย ย

    เอามาให้ทุกท่านอ่านด้ว ย ย

    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER>
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไปได้ต้นฉบับการแปลมาจากไหนครับนี่
     
  3. AloHa_55

    AloHa_55 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +17

    เอามาจากเว็บคร้า พอดีเรากำลังค้นหางัย ย ย

    คิคิ ... เราก้อไม่รู้ว่าต้นฉบับมาจากไหนอ่า ??
     
  4. เกสรช์

    เกสรช์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +1,401
    ขออนุโมทนา สาธุ กับบทความดีดีคะ

    นึกอยากจะรู้พอดี เพราะกำลังตั้งใจปฏิบัติธรรมเจริญพระกรรมฐานอยู่ในขณะนี้
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    -สมถะ แปลว่า ความสงบ แต่ที่ใช้ทั่วไปหมายถึงวิธีทำใจให้สงบ ขยายความว่า
    ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ฯลฯ
    <O:p</O:p
    อย่างไรก็ดี เมื่อใช้อย่างหลวมๆ หรือพูดอย่างกว้างๆ สมถะก็คือการทำใจให้สงบ หรือการทำจิตเป็นสมาธิ และบางคราวก็หมายถึงตัวสมาธินั่นเอง ว่าตามจริง ความหมายของสมถะที่ว่าคือตัวสมาธินั่นแหละ เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรมและฝ่ายพระสูตร-
    (อภิ.สํ.34/253/96 ฯลฯ ฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทุก.20/275/77 ฯลฯ)
    ไม่ว่าจะเจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติหรืออภิญญาเป็นผลสำเร็จสูงพิเศษเพียงใดก็ตาม
    เนื้อแท้ของสมถะ หรือตัวสมถะ หรือ แก่นของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือสมาธินั่นเอง
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    วิปัสสนา- แปลว่า ความเห็นแจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง หมายความว่า ข้อปฏิบัติต่างๆในการฝึกฝนอบรมปัญญา ให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะของมัน คือให้เข้าใจตามความเป็นจริง หรือตามที่สิ่งเหล่านั้นมันเป็นของมันเอง- (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็นด้วยความชอบ ความชัง ความอยากได้ หรือความขัดใจของเรา)
    รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิดรู้ผิดและยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและชีวิตใหม่ ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจ และความรู้สึกทั้งหลาย ความรู้ความเข้าใจถูกต้องที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ มีหลายระดับ ญาณสำคัญในขั้นสุดท้ายเรียกว่า วิชชา ฯลฯ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน มีความหมายเป็นทางการว่า สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรือุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรือุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ
    พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราวสงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดหรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย
    เฉพาะในกรณีนี้ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดเพื่อชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตกำหนดจับเข้าแล้ว จะชักนำจิตให้แน่วแน่อยู่กับมันจนเป็นสมาธิได้เร็วและมั่นคงที่สุด
    พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไม่เคยเห็นการนำศัพท์ สมถะวิปัสสนากรรมฐาน เข้าสมาสกัน <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เคยเห็นแต่ สมถะกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เพราะฉะนั้นที่ว่า <O:p</O:p
    สมถะวิปัสสนากรรมฐาน คือ การกระทำตั้งมั่นอยู่เพื่อเกิดความสงบทาง กาย วาจา ใจเป็นการทำปัญญาให้เห็นแจ้ง <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จึงเป็นบาลีเถื่อน คำแปลก็เถื่อน
    พอเป็นตัวอย่างเท่านี้นะครับ จึงได้ถามไว้ข้างต้นว่า ไปได้ต้นฉบับการแปลมาจากไหนครับนี่
     
  9. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    คุณมาจากดิน ทำไมมั่นใจจังเลยครับ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เปิดตำราตอบให้ แล้วก็พอมีพื้นฐานทางบาลีมาบ้างนิดหน่อยครับ
     
  11. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    อ๋อ ผมพอจะเข้าใจแล้วครับ ขอบคุณครับที่กรุณาตอบ
     
  12. kosondesign

    kosondesign Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +66
    ตามจริงแล้วก็ถูกทั้งหมด ของเราถูกใช่ว่าเขาจะผิด
    คือถูกด้วยกันทั้งหมดไม่ว่าจะแบบใดก็ตาม
    เนื้อแท้จริงนั้น คือการปฏิบัติ และพิจารณาตามสภาพที่เป็นอยู่นั้น
    ให้เกิดปัญญา ได้ด้วยตนเอง
    สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...