OOสัมมาปฏิบัติวิชชาธรรมกายสายตรงจากหลวงปู่สดฯ/เพื่อพ้นทุกข์และส่วนพุทธภูมิOO

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ?????????, 18 มกราคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    กายพระพุทธเจ้าจักรพรรดิ




    มีข้อสังเกตว่า เมื่อปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายชั้นสูงไปจนสุดละเอียด ในท่ามกลางธรรมกายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (กินความรวมถึงกายอื่นที่หยาบรองลงมาจนสุดกายหยาบคือกายมนุษย์ด้วย) ยังมีกายในกายซ้อนอยู่ต่อไปอีก คือ กาย “พระพุทธเจ้าจักรพรรดิ” หรือเรียกว่า “จักรพรรดิ” เฉยๆ ซึ่งเป็นกายภาคผู้เลี้ยง และเป็นประธานของรัตนะ ๗ และกายสิทธิ์ทั้งหลาย มีลักษณะเหมือนพระธรรมกายโดยทั่วไป แต่ “ทรงเครื่อง” เหมือนพระทรงเครื่อง (อย่างเช่น พระแก้วมรกตทรงเครื่อง) ขาวใสบริสุทธิ์ยิ่งนักอีกเช่นกัน
     
  2. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    กดฟัง

    เสียงสวดนำบูชาพระกรรมฐาน ก่อนเจริญภาวนา

    ของ หลวงปู่สด จันทสโร ( วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ )





    http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010103.wma
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2010
  3. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    วิธีเจริญวิชชา ๓



    ๑.อาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า: วิชชา ๓
    เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เภสกฬมิคทายวัน เขตนครสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท ได้รับอาราธนาของโพธิราชกุมารไปรับภัตตาหารและเสวย ณ โกกนุทปราสาทของโพธิราชกุมาร ครั้นเสวยเสร็จแล้ว สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ตรัสสนทนากับโพธิราชกุมารว่า
    ทรงบรรลุฌาน ๔
    “ครั้นเราบริโภคอาหารหยาบ มีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขผู้ได้ฌานเกิดแต่สมาธิอยู่.
    มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ตติยฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.”
    ทรงบรรลุวิชชา (ญาณ) ๓
    “เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ” เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้. ราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่ ๑ ที่ เราได้บรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี. อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.
    เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ “จุตูปปาตญาณ” รู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ด้วยประการฉะนี้. ราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่ ๒ ที่เราได้บรรลุแล้ว ในมัชฌิมยามแห่งราตรี. อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.
    เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ “อาสวักขยญาณ” ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ เหล่านี้อาสวสมุทัย เหล่านี้อาสวนิโรธ เหล่านี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่ ๓ ที่อาตมภาพได้บรรลุแล้ว ในปัจฉิมยามแห่งราตรี. อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.
    ราชกุมาร เรานั้นได้มีความคิดเห็นว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง.
    ม.ม.๑๓/๗๕๕-๗๕๗/๖๘๖-๖๘๘
    ๒. วิธีเจริญวิชชา ๓ ถึงมรรคผลนิพพาน
    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีจนสุดกายหยาบกายละเอียด แล้วเดินฌานสมาบัติ ๘ โดยอนุโลม ปฏิโลม ๗ เที่ยว ปล่อยกายตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพานถอดกาย แล้วก็ซ้อนกายกลับ เดินฌานสมาบัติ ๘ อีก ๗ เที่ยว หรือทำนิโรธ ปล่อยกายตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพานถอดกายและนิพพานเป็น ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ที่แก่ๆ ต่อไปจนสุดละเอียดแล้ว
    ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด รวมดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ให้หยุดในหยุดนิ่งลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ณ ศูนย์กลางกายนั้นแหละ มีที่หมายตรงต้นสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ก็ให้หยุดในหยุดกลางของหยุด แล้วอธิษฐานให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของตนเองถอยหลังสืบต่อไปถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว, เดือนที่แล้ว, ปีที่แล้ว, ลงไปจนถึงตอนที่เป็นเด็ก ให้รวมใจ คือความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ให้หยุดในหยุดลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ของกายเดิมที่เห็นครั้งสุดท้ายต่อไปเรื่อยๆ จากที่เป็นเด็ก ก็ไปถึงสภาพที่เป็นเด็กแดงๆ, แล้วก็ถอยหลังสืบเข้าไปตามสายธาตุธรรมเดิม ถึงที่เป็นเด็กทารกในครรภ์ของมารดา, แล้วก็ไปถึงในขณะที่ตั้งปฏิสนธิวิญญาณ เป็นกลลรูป, ถอยสืบเข้าไปถึงในขณะที่มาปฏิสนธิในครรภ์มารดา ด้วยกายมนุษย์ละเอียดหรือกายทิพย์
    แล้วก่อนที่จะมาปฏิสนธิก็เป็นกายละเอียดมาตกศูนย์ พักอยู่ ณ ศูนย์กลางกายบิดาชั่วคราว
    อธิษฐานให้เห็นสภาพของตนเองตามสายธาตุธรรม สืบถอยหลังไปถึงตอนที่จุติคือเคลื่อนจากสังขารร่างกายเดิมของชาติที่แล้ว นี้นับเป็นชาติหนึ่ง, เมื่อเห็นชัดดีแล้ว ก็รวมเห็นจำคิดรู้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อธิษฐานให้เห็นอัตตภาพและความเป็นไปของตนเองให้ชัดว่ามีสภาพความเป็นมาอย่างไร ในชาตินั้นตนเองเกิดเป็นอะไร มีเทือกเถาเหล่ากออย่างไร มีทุกข์มีสุข มั่งมีหรือยากจนขัดสนกันดารอย่างไร เพราะผลบุญหรือผลบาปอะไร พยายามน้อมใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ให้หยุดนิ่ง ในกลางของกลางๆๆ ไปเรื่อย ก็จะเห็นได้ชัดเจนและแม่นยำ แล้วก็ดำเนินไปในแบบเดิม อธิษฐานดูอัตตภาพและสภาพความเป็นไปของตนเอง ถอยหลังสืบเข้าไปทีละชาติๆ เมื่อกระทำชำนาญเข้าก็จะสามารถระลึกชาติได้เร็วขึ้น แต่จะต้องหยุดในหยุดลงไปที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตามสายธาตุธรรมเดิม ถอยหลังสืบต่อเข้าไปเสมอ จึงจะแม่นยำ มิฉะนั้นการรู้เห็นอาจจะเล่ห์คือผิดพลาดได้ เมื่อจะหยุดพัก ก็ให้อธิษฐานกลับตามสายธาตุธรรมเดิมจนมาถึงชีวิตปัจจุบันอีกเช่นกัน
    นี้เป็น วิชชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    ต่อไป ให้ฝึกระลึกให้เห็นอัตตภาพและสภาพความเป็นไปของตนเองต่อไปในอนาคต ก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกัน คือรวมใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ ให้หยุดเป็นจุดเดียวกัน ณ กำเนิดธาตุธรรมเดิมของกายปัจจุบัน ตั้งจิตอธิษฐานให้เห็นความเป็นไปหรือสภาพของตนเองในวันรุ่งขึ้น, ในสัปดาห์หน้า, ในเดือนหน้า, ในปีหน้า, ในห้าปีข้างหน้า, ในสิบปีข้างหน้า, ต่อๆ ไปจนกระทั่งถึงวันที่ตนเองจะกระทำกาลกิริยาคือตาย ดูความเป็นไปสืบต่อไปข้างหน้าให้เห็นสภาพความเป็นไปในชีวิตของตนเอง พร้อมด้วยอธิษฐานให้เห็นวิบากกรรมว่าเป็นด้วยผลบุญกุศลหรือผลบาปอกุศลกรรมใด ที่จะเป็นผลให้ได้รับความสุขหรือความทุกข์เดือดร้อนในชีวิตแต่ละช่วงที่ได้พบเห็นนั้น เป็นตอนๆ ไป จนกระทั่งจุติละจากโลกนี้ไป
    ในกรณีที่ประสงค์จะระลึกชาติของผู้อื่นก็ดี หรือจะดูปัจจุบันและอนาคตของผู้อื่นก็ดี ก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกัน คือเพียงแต่น้อมเอาธาตุธรรมของผู้ที่เราประสงค์จะทราบอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตของผู้นั้น มาตั้งที่ศูนย์กลางกายของเราเอง แล้วรวมเห็นจำคิดรู้ของเราและของเขาให้หยุดรวมกันเป็นจุดเดียวตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของเขา แล้วอธิษฐานระลึกให้เห็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตของผู้นั้นไปตามสายธาตุธรรมเดิมของเขา ก็จะสามารถรู้เห็นได้เช่นเดียวกัน
    เมื่อประสงค์จะทราบว่าสัตว์หรือมนุษย์ที่ละหรือตายจากโลกนี้ไปแล้ว จะไปบังเกิดในภพภูมิใด ด้วยผลบุญกุศลหรือผลบาปอกุศลใด ก็ให้ปฏิบัติไปตามวิธีที่ได้เคยแนะนำไปแล้ว คือ
    เมื่อซ้อนสับทับทวีจนสุดกายหยาบกายละเอียด แล้วเจริญสมาบัติ 8 โดยอนุโลมปฏิโลม7 เที่ยว ปล่อยกายตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพาน ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ที่ละเอียดๆ จนสุดละเอียด จนธาตุธรรมใสสะอาดบริสุทธิ์และมีสมาธิตั้งมั่นดีแล้ว ก็รวมใจของทุกกายให้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด หยุดตรึกนิ่ง ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายพระอรหัตให้โตจนเต็มภพ ๓ แล้วจึงน้อมเอาภพ ๓ เข้ามาเป็นกสิณ คือเอามาตั้งไว้ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้นแหละ อาศัย “ตา” หรือ “ญาณ” พระธรรมกายตรวจหาดูจนตลอดภพ ๓ ว่าผู้ที่ตายไปแล้วได้ไปบังเกิดในภพภูมิใด ก็จะสามารถเห็นได้
    ถ้าในภพ ๓ ยังไม่เห็น ก็ให้ตรวจดูไปถึงอายตนะโลกันต์ ซึ่งอยู่นอกภพ ๓ ออกไป ในขณะที่ตรวจดูคติใหม่ของผู้ตายไปตลอดภพนี้ ให้น้อมใจเข้าสู่กลางของกลางๆๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ธาตุธรรมใสสะอาดและสมาธิตั้งมั่นดี การรู้เห็นจึงจะแม่นยำ เมื่อพบแล้ว ก็ไต่ถามถึงบุพพกรรมที่ทำให้เขามาเสวยวิบากกรรมคือผลบุญกุศลหรือผลบาปอกุศลในภพใหม่นี้ ก็จะทราบได้ นี่หมายเฉพาะสัตว์หรือมนุษย์ที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตตผล ก็จะเห็นเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพ ๓ หรืออายตนะโลกันต์นี้
    แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” แล้ว ก็จะพบธรรมกายของท่านประทับอยู่ในนิพพาน
    นี้เป็นการน้อมเข้าสู่ “จุตูปปาตญาณ” อย่างง่าย หากกระทำชำนาญแล้วก็จะสามารถรู้เห็นได้เร็ว
    ยังมีวิธีที่ละเอียดพิสดารต่อไปอีก ซึ่งสามารถให้รู้เห็นทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็นทั้งภายในและภายนอก
    วิธีปฏิบัติ ก็ให้น้อมเอาธาตุธรรมของผู้ที่ตายไปแล้วมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย แล้วรวมเห็น จำ คิด รู้, ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้, ที่ตั้ง/เห็น จำ คิด รู้ ของเราให้ตรงกันกับของเขา เป็นจุดเดียวกัน ตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม แล้วอธิษฐานให้เห็นจุติและปฏิสนธิของเขาเป็นขั้นๆ ไป นับตั้งแต่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เริ่มจะดับ หรือในขณะที่จิตกำลังเข้าสู่ “มรณาสันนวิถี”* นั้น ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายของสัตว์หรือมนุษย์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของอากาศโลก ขันธโลก และสัตว์โลก ได้แก่ เห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์นั้น จะดับคือตกศูนย์ลงไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงระดับสะดือพอดี แล้วดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายละเอียดหรือกายทิพย์ ซึ่งจะทำหน้าที่สืบต่อไปใหม่นั้น จะผุดลอยขึ้นมายังศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ แล้วกายละเอียดหรือกายทิพย์นั้นก็จะผ่านไปยังศูนย์ต่างๆ กล่าวคือ ฐานที่ ๖, แล้วก็ฐานที่ ๕ ตรงปากช่องลำคอ, ฐานที่ ๔ ตรงเพดานปาก, ฐานที่ ๓ ตรงกลางกั๊กศีรษะ, ฐานที่ ๒ ตรงหัวตาด้านใน (หญิงทางด้านซ้าย ชายทางด้านขวา), แล้วก็ออกไปทางฐานที่ ๑ คือช่องจมูก (หญิงทางด้านซ้าย ชายทางด้านขวา) เพื่อไปเกิดในภพภูมิใหม่ตามผลบุญหรือผลบาปที่กำลังให้ผลอยู่ในขณะนั้นต่อไป
    กายที่กำลังไปแสวงหาที่เกิดนี้เรียกว่า “กายสัมภเวสี” ส่วนกายที่ได้ปฏิสนธิหรือเกิดแล้ว เรียกว่า “กายทิพย์”
    มีข้อสังเกตว่า ในขณะที่กาย ใจ จิต วิญญาณ หรือขันธ์ทั้ง ๕ ของสัตว์หรือมนุษย์กำลังจะแตกดับหรือตายนั้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย อันเป็นที่ตั้งของดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ของกายเดิมจะดับ คือตกศูนย์ลงไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงระดับสะดือพอดี นั้นเอง ที่สัตว์หรือมนุษย์ซึ่งกำลังใกล้จะตายนั้นมีอาการสยิ้วหน้า บิดตัวหรือไขว่คว้าเมื่อเวลาใกล้จะตาย เพราะแรงดึงดูดของอายตนะภพใหม่ที่จะทำให้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายละเอียดหรือกายทิพย์ แยกขาดออกจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย (เนื้อ) ของมนุษย์หรือสัตว์ผู้ที่กำลังจะตายนั้นเอง
    ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ญาณพระธรรมกายจะช่วยให้เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์หรือสัตว์นั้น และจิตของสัตว์นั้นเอง “ดับ” แล้วก็ “เกิด” ใหม่อีก เป็นช่วงๆ ตามผลบุญกุศลหรือบาปอกุศล กล่าวคือ
    ถ้าขณะใกล้ตาย คือในระหว่างที่จิตเข้าสู่มรณาสันนวิถีนั้น จิตเป็นกุศล แต่บุญบารมียังไม่พอที่จะหลุดพ้นจากกิเลสได้โดยสิ้นเชิง อายตนะของสุคติภพ ได้แก่ โลกมนุษย์ เทวโลก หรือพรหมโลก ก็จะดึงดูดกายละเอียดหรือกายทิพย์นั้นไปบังเกิดในภพหรือภูมิด้วยแรงกุศลกรรม ตามกำลังแห่งบุญบารมีของผู้นั้นต่อไป กิริยาที่กาย ใจ จิต และวิญญาณดับเกิดๆๆ เพื่อเปลี่ยนจากภพหรือภูมิหนึ่ง ไปสู่ภพหรือภูมิที่สูงกว่าทีละขั้นๆ ไปจนกว่าจะถึงภูมิที่พอดีกับกำลังบุญกุศลที่ให้ผลอยู่นั้น อุปมาดั่งงูลอกคราบ หรือดั่งบุคคลถอดแบบฟอร์มเครื่องแต่งตัวจากฟอร์มหนึ่งไปสู่ฟอร์มที่สวย ละเอียด ประณีตกว่าฉะนั้น
    แต่ถ้าจิตในขณะใกล้จะตาย เป็นอกุศล หรือสิ้นวาสนาบารมี อายตนะทุคคติภพ ได้แก่ อายตนะภพของเปรต, อสุรกาย, สัตว์นรก, หรือสัตว์เดรัจฉาน ก็จะดึงดูดดวงธรรมและกายละเอียดของผู้นั้นให้ไปบังเกิดในภพหรือภูมินั้นด้วยแรงอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ ตามส่วนแห่งอำนาจของผลบาปอกุศลที่กำลังให้ผลต่อไป
    ญาณหยั่งรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์นี้ เรียกว่า “จุตูปปาตญาณ” ให้ฝึกฝนปฏิบัติให้ชำนาญ ในระยะเริ่มแรกจะต้องกระทำเป็นขั้นตอนตามสายธาตุธรรมเดิมเสมอไป แม้จะติดขัดบ้างก็จะเป็นแต่เพียงในระยะต้นๆ หรือที่จิตยังไม่ละเอียดดีพอ ต่อไปก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง
    แต่มีหลักสำคัญอยู่ว่า เมื่อรู้เห็นแล้วก็อย่าคะนองใจว่าตนเก่งกล้าแล้ว พยากรณ์ให้แก่ผู้อื่นฟัง หรือโอ้อวดในคุณธรรมของตน อันจะเป็นทางเสื่อมอย่างยิ่ง
    อนึ่ง การน้อมเข้าสู่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เพื่อดูขันธ์ของตนเองและของผู้อื่นในชาติภพก่อนๆ ก็ดี หรือการน้อมเข้าสู่จุตูปปาตญาณเพื่อดูจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายก็ดี หากได้ยกวิปัสสนาญาณขึ้นพิจารณาทบไปทวนมาด้วยแล้ว ย่อมมีลักษณะที่เป็นสติปัฏฐาน ๔ ไปในตัวเสร็จ กล่าวคือ
    การพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และ ธรรมในธรรม เป็นภายในบ้าง เป็นภายนอกบ้าง, เป็นทั้งภายในและภายนอกบ้าง ดังที่กล่าวมาแล้วเนืองๆ อยู่ ก็จะเห็นชัดในสามัญญลักษณะ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาของสังขารธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างชัดแจ้ง จนเห็นเป็นธรรมดาในความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขารของสัตว์ทั้งหลาย ช่วยให้เกิดธรรมสังเวชสลดใจในการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลายที่ยังติดอยู่ในสังสารจักรและไตรวัฏฏะ คือ กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะ อยู่ในภพ ๓ นี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไปนรกบ้าง สวรรค์บ้าง มนุษย์บ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เปลี่ยนแปลงไปต่างๆ น่าสะพรึงกลัวและน่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก ต้องทิ้งสมบัติพัสถาน บุตร ภรรยา และบิดามารดาแต่เก่าก่อน หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามเครื่องล่อเครื่องหลง ดุจดังว่าความฝัน เอาเป็นของเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ เป็นอย่างนี้หมดทั้งตัวเราเองและสัตว์อื่น เหมือนกันหมด ทุกรูปทุกนาม แล้วให้ยกวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๐ ประการ ขึ้นพิจารณา ทบไปทวนมา ทับทวีให้มากเข้า ก็จะเห็นภัยในวัฏฏสงสาร บังเกิดธรรมสังเวชสลดจิตคิดเบื่อหน่ายในสังขารและนามรูป เมื่อปัญญารู้แจ้งสว่างชัดขึ้น ทำลายอวิชชาเป็นมูลรากฝ่ายเกิดดังนี้ ตัณหาและทิฏฐิก็เบาบางหมดไปตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ สามารถปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ยิ่งขึ้น สิ้นรัก สิ้นใคร่ สิ้นอาลัยยินดีในการครองขันธ์และทำนุบำรุงขันธ์เกินความจำเป็น เมื่อรู้เห็นเช่นนี้ แม้อยากจะไปเสียให้พ้นจากสังขารนี้ ก็ยังไม่อาจจะกระทำได้ เหมือนดังนกที่ติดอยู่ในกรง หรือปลาที่ติดเบ็ด จึงได้แต่วางเฉย เพิกเฉยในสังขาร เป็น สังขารุเปกขาญาณ
    แล้วจึงยกจิตนั้นขึ้นให้บริสุทธิ์ ใสสะอาดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย โดยน้อมไปเพื่อ อาสวักขยญาณ พิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม อันมีนัยอยู่ในอริยสัจ ให้เห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อกระทำอาสวะให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตขีณาสพผู้มีอาสวะสิ้นแล้วต่อไป ด้วยการนำเอาญาณทั้ง 2 ในเบื้องต้น คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ นั้นมาเป็นอุปการะให้สิ้นดังนี้
    เมื่อธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคปรากฏขึ้นละสัญโญชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้แล้ว จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลบังเกิดขึ้นเต็มส่วน ขนาดหน้าตัก ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ๕ วาเต็ม ขาว ใส บริสุทธิ์ มีรัศมีปรากฏ เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา และก็จะมีญาณหยั่งรู้ถึงการบรรลุพระโสดาปัตติผลนั้น
    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นละกิเลสจนเหลือโลภะ โทสะ และโมหะ ที่เบาบางลงมากแล้ว จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระสกิทาคามิผล มีขนาด ๑๐ วา ขาว ใสบริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปอีก จนผู้ปฏิบัติธรรมนั้นเห็นชัดเจนอยู่ตลอดเวลา ก็จะมีญาณหยั่งรู้ถึงการบรรลุพระสกิทาคามิผลนั้น
    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นละสัญโญชน์เบื้องต่ำได้อีก ๒ คือ ปฏิฆะและกามราคะแล้ว จะตกศูนย์ และจะปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผลขึ้น เต็มส่วน ๑๕ วา ขาว ใสบริสุทธิ์ มีรัศมีปรากฏยิ่งขึ้นไปอีก จนเห็นธรรมกายพระอนาคามิผลของตนเองชัดเจนอยู่ตลอดเวลา ก็จะมีญาณหยั่งรู้การบรรลุพระอนาคามิผลนั้น
    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรคปรากฏขึ้นละสัญโญชน์เบื้องสูงอีก ๕ ประการ ได้แก่ รูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจะ มานะ และ อวิชชา ได้แล้ว จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระอรหัตตผล ขยายโตเต็มส่วน มีขนาดหน้าตัก ความสูง และเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม ๒๐ วา ขาว ใสบริสุทธิ์ และมีรัศมีสว่างยิ่งนัก เห็นธรรมกายพระอรหัตตผลชัดเจนอยู่ตลอดเวลา แล้วก็จะมีญาณหยั่งรู้การบรรลุพระอรหัตตผลนั้น
     
  4. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    <TABLE style="FONT-FAMILY: 'MS Reference Sans Serif'" border=0 cellPadding=1 width=694 align=center><TBODY><TR><TD height=55 width=688>
    พุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี
    </TD></TR><TR><TD height=88 width=688 align=left>
    มีพุทธพจน์ตรัสเตือนไว้ ไม่ให้ประมาทหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ว่าเป็นหลักเหตุผลที่เข้าใจง่าย เพราะมีเรื่องที่พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระองค์ และพระองค์ได้ตรัสตอบ มีความดังนี้
    </TD></TR><TR><TD height=38 width=688 align=left>
    "น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาเลยพระเจ้าข้า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ถึงจะเป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง แต่ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ"
    </TD></TR><TR><TD height=38 width=688 align=left>
    "อย่ากล่าวอย่างนั้น อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง และปรากฏเป็นของลึกซึ้ง เพราะไม่รูไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนี้แหละ หมู่สัตว์นี้จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง..........ฯลฯ."
    </TD></TR><TR><TD width=688>
    (ที่มา สํ.นิ. ๑๖/๒๒๔-๕/๑๑๐-๑)

    OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD height="100%" vAlign=top width="85%">ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ที่หลังจากแรกตรัสรู้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมที่จะไม่แสดงธรรมแก่เหล่าสรรพสัตว์ เพราะมีพุทธดําริในแรกเริ่มว่าจะไม่เผยแผ่ธรรมที่ท่านตรัสรู้ ก็เนื่องจากความลึกซึ้งของ "ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน" ว่าเป็นที่รู้เข้าใจได้ยากแก่สรรพสัตว์ (พระไตรปิฎก เล่ม๑๒/ข้อ๓๒๑) เหตุที่กล่าวแสดงดังนี้ เพื่อให้ท่านได้พิจารณาธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายจริงๆ ไม่เกิดความประมาทว่าเป็นของง่ายๆ ดังปรากฎแก่พระอานนท์มหาเถระมาแล้ว [​IMG] จึงจักเกิดประโยชน์สูงสุดขึ้นได้ และควรกระทําการพิจารณา(ธรรมวิจยะ)โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แล้วว่า"ยากและลึกซึ้ง" แต่เรามีแนวทางปฏิบัติของท่านแล้ว จึงเป็นสิ่งอันพึงปฏิบัติได้ แต่กระนั้นเราผู้เป็นปุถุชนจึงมิควรประมาทว่าเข้าใจแล้วโดยการอ่าน, การฟังแต่เพียงอย่างเดียวโดยเด็ดขาดเพราะเกินกำลังอำนาจของปุถุชน จักต้องทําการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายจริงๆ(โยนิโสมนสิการ)จึงจักบังเกิดผลอย่างแท้จริงปฏิจจสมุปบาท ดำเนินเป็นไปตามหลักธรรมอิทัปปัจจยตา ที่มีพระพุทธพจน์ ตรัสสอนไว้ว่า
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top>เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี</TD><TD vAlign=top>เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น</TD></TR><TR><TD vAlign=top>เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี</TD><TD vAlign=top>เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ</TD></TR></TBODY></TABLE>อันแลดูเป็นธรรมดา แต่กลับแสดงถึงสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ตามความเป็นจริงถึงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์) ถึงปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กันจึงเป็นผลให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้น อันเป็นหัวใจสําคัญในพุทธศาสนาที่ยึดในหลักธรรมที่ว่า" สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย" หรือ " ธรรม(สิ่งหรือผล)ใด ล้วนเกิดแต่เหตุ" อันเป็นเฉกเช่นเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั่นเอง แตกต่างกันแต่ว่าหลักวิทยาศาสตร์นั้นส่วนใหญ่ครอบคลุมแต่เพียงด้านวัตถุธรรมหรือรูปธรรมเพียงด้านเดียว แต่ธรรมของพระพุทธองค์นั้นครอบคลุมถึงขั้นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมโดยบริบูรณ์ ทั้งฝ่ายรูปธรรม(วัตถุ)และนามธรรม(จิต,นาม), ปฏิจจสมุปบาทก็เนื่องมาจากหลักธรรมอิทัปปัจจยตาหรือกฎธรรมชาตินี้ แต่เป็นหลักธรรมที่เน้นเฉพาะเจาะจงถึงเหตุปัจจัยให้เกิดผล อันคือความทุกข์(ฝ่ายสมุทยวาร) และการดับไปแห่งทุกข์(ฝ่ายนิโรธวาร) โดยตรงๆ แต่เพียงเรื่องเดียว
    ช่างยนต์ ต้องรู้เรื่องเครื่องยนต์อย่างดี จึงจักซ่อมบํารุงได้ดี ฉันใด
    ผู้ที่ต้องการดับทุกข์ จึงต้องกำหนดรู้เรื่องทุกข์ และการดับทุกข์อย่างดี จึงจักดับทุกข์ได้ดี ฉันนั้น
    พระองค์ท่านได้ตรัสไว้ว่า ท่านสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับทุกข์ ที่สอนให้รู้เรื่องทุกข์ต่างๆ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์ ไปใช้ในการดับทุกข์ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมในรูปกฎแห่งธรรมชาติขั้นสูงสุด คือเป็นสภาวธรรมจริงแท้แน่นอนอย่างที่สุดหรือมันต้องเป็นเช่นนั้นเองจึงอกาลิโกยิ่งนัก อันกล่าวถึง กระบวนจิตของการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ ที่แสดงถึง การอาศัยกันของเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยกัน แล้วก่อให้เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น, หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
    ธรรมที่แสดงถึงเหตุปัจจัยชนิดต่างๆ ที่ทําให้เกิดเหตุปัจจัยต่อเนื่องสืบต่อกัน อันเป็นผลให้เกิดทุกข์ในที่สุด, หรือกล่าวอย่างละเอียดได้ว่า
    ธรรมที่แสดงถึงการที่ทุกข์เกิดขึ้นได้นั้น เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอันเกิดต่อสืบเนื่องกันมาเป็นลําดับ...ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วนหรือองค์ธรรม เกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกัน หมุนเวียนไปเป็นวงจรเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลําดับแต่หาต้นหาปลายไม่ได้เพราะเป็นภวจักรหรือวงจร ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยอันหนึ่งเป็นปัจจัยของอีกอันหนึ่ง และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยของอีกอันอื่นๆสืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด......จึงก่อเกิดเป็นสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพ....ในชาติ, และมีการเกิดภพ เกิดชาติ ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้เอง กล่าวคือเกิด ภพ ชาติ ตั้งแต่ ณ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้นั่นเอง! และสามารถเกิด ภพ เกิด ชาติ อันเป็นทุกข์ได้ในทุกขณะจิต!
    เพราะความลึกซึ้งและแยบคายของปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปรมัตถธรรมคือเป็นธรรมหรือสิ่งที่เป็นจริงขั้นสูงสุด จึงมีความหมายครอบคลุมไปถึงเรื่องข้ามภพ ข้ามชาติ หรือการเกิดภพชาติ ตลอดจนแม้กระทั่งกําเนิดของโลก อันเป็นโลกิยะ อันยังประโยชน์ต่อขันธ์หรือชีวิตของปุถุชน, แต่พระพุทธประสงค์โดยลึกซึ้งสูงสุดแล้ว เป็นการแสดงแบบโลกุตระ (ดังกล่าวแสดงโลกิยะและโลกุตระไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร) ที่แสดงการเกิดขึ้นของภพ ชาติ แล้วดับภพ ดับชาติ เหล่านั้น เสีย ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้ ก่อนตายหรือแตกดับ หรือดับความทุกข์ที่เกิดจากภพจากชาติเหล่านี้ ที่เกิดดับ..เกิดดับ อยู่เป็นระยะๆทุกขณะจิตโดยไม่รู้และไม่เข้าใจด้วยอวิชชา เป็นการ เกิดดับ เกิดดับๆๆ..ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทุกขณะ ทั้งๆที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ เยี่ยงนี้จึงเป็นเรื่องที่ถูกพระพุทธประสงค์อย่างถูกต้องและแท้จริงเป็นสูงสุด เป็นโลกุตระและเมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง(สัมมาญาณ) ย่อมทําให้ดําเนินไปในธรรมได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว (อ่านรายละเอียดได้ใน การตีความปฏิจจสมุปบาท)
    ดังพุทธพจน์ ที่ตรัสไว้ว่า
    เราตถาคต จึงบัญญัติความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน (จูฬมาลุงโยวาทสูตร)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
    [​IMG]


    ..........อาตมาเองก็เป็นคนงมงายมาก่อน ในกาลก่อนใครพูดเรื่องนิพพานไม่เชื่อ นิพพานมีสภาพสูญ เขาว่าอย่างนั้น ต่อมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นอาจารย์ ท่านเห็นว่า เรามีสันดานชั่วละมั้ง ก็ส่งให้ไปหา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ไปเรียนกับหลวงพ่อสดประมาณ ๑ เดือน ก็ทำได้ตามสมควร เรียกว่าพื้นฐานมีอยู่แล้ว ต่อมาวันหนึ่งประมาณ เวลา ๖ ทุ่มเศษ หลังจากทำวัตร สวดมนต์ เจริญกรรมฐานกันแล้ว หลวงพ่อสดท่านก็คุยชวนคุย คนอื่นเขากลับหมด ก็อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ องค์ วันนั้น ท่านก็บอกว่าฉันมีอะไรจะเล่าให้พวกคุณฟัง คือ พระที่ไปถึงนิพพานแล้ว มีรูปร่างเหมือนแก้วหมด ตัวเป็นแก้ว เราก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปมากแล้ว นิพพานเขาบอกว่ามีสภาพสูญ แล้วทำไมจะมีตัวมีตน

    แล้วท่านก็ยังคุยต่อไปว่า นิพพานนี้เป็นเมือง แต่ว่าเป็นทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก มีพระอรหันต์มากมาย คนที่ไปนิพพานได้ เขาเรียกว่า พระอรหันต์ จะตายเมื่อเป็นฆราวาสจะตายเมื่อเป็นพระก็ตาม ต้องถึงอรหันต์ก่อน เมื่อถึงอรหันต์ก่อนแล้วก็ตาย ตายแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น ร่างกายเป็นแก้วหมด เมืองเป็นแก้ว สถานที่อยู่แพรวพราวเป็นระยับ อาตมาก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปเยอะ ตอนก่อนก็ดี สอนดี มาตอนนี้ชักจะไปมากเสียแล้ว

    แต่ก็ไม่ค้าน ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ ท่านก็คุยต่อไปว่า เมื่อคืนนั้น ขี่ม้าแก้วไปเมืองนิพพาน (เอาเข้าแล้ว) แล้วต่อมาคุยไปคุยมาท่านก็บอกว่า (ท่านคงจะทราบ ท่านไม่โง่เท่าเด็ก เพราะพระขนาดรู้นิพพานไปแล้ว อย่างอื่นก็ต้องรู้หมด แต่ความจริงคำว่า รู้หมด ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ใช่รู้เท่าพระพุทธเจ้า แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ควรจะรู้ ก็สามารถรู้หมด)

    ท่านก็เลยบอกว่า เธอดูดาวงดวงนี้นะ ดาวดวงนี้สุกสว่างมาก ประเดี๋ยวฉันจะทำให้ดาวดวงนี้ริบหรี่ลง จะค่อย ๆ หรี่ลงจนกระทั่งไม่เห็นแสงดาว ท่านชี้ให้ดู แล้วก็มองต่อไป ตอนนี้เริ่มหรี่ ละ ๆ แสงดาวก็หรี่ไปตามเสียงของท่าน ในที่สุด หรี่ที่สุด ไม่เห็นแสงดาว ท่านถามว่า เวลานี้ทุกคนเห็นแสงดาวไหม ก็กราบเรียนท่านว่า ไม่เห็นแสงขอรับ ท่านบอกว่า ต่อนี้ไป ดาวจะเริ่มค่อย ๆ สว่าง ขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งถึงที่สุด แล้วก็เป็นไปตามนั้น

    พอท่านทำถึงตอนนี้ก็เกิดความเข้าใจว่า ความดีหรือวิชาความรู้ที่เรามีอยู่ มันไม่ได้ ๑ ในล้านที่ท่านมีแล้ว ฉะนั้นคำว่านิพพานจะต้องมีแน่ ท่านมีความสามารถอย่างนี้เกินที่เราจะพึงคิด ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาในด้านกรรมฐานก็ดีหรือที่คุยกันมาก็ดี นี่ท่านรู้จริง ท่านก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพาน คำว่านิพพานสูญท่านไม่ยอมพูด ไปถามท่านเข้าว่านิพพานสูญรึ ท่านนิ่ง ในที่สุดก็ไปถาม ๒ องค์ คือ หลวงพ่อปาน กับหลวงพ่อโหน่ง ถามว่านิพพานสูญรึ ท่านตอบว่า ถ้าคนใดสูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกว่านิพพานสูญ แต่คนไหนไม่สูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกนิพพานไม่สูญ ก็รวมความว่า นิพพานไม่สูญแน่

    ทีนี้ต่อมา หลวงพ่อสดท่านก็ยืนยันเอาจริงเอาจัง ต่อมาท่านก็สงเคราะห์คืนนั้นเอง ท่านก็สงเคราะห์บอกว่า เรื่องต้องการทราบนิพพาน เขาทำกันอย่างนี้ ท่านก็แนะนำวิธีการของท่าน รู้สึกไม่ยาก เพราะเราเรียนกันมาเดือนหนึ่งแล้ว ตามพื้นฐานต่าง ๆ ท่านบอกว่าใช้กำลังใจอย่างนี้ เวลาผ่านไปประมาณสัก ๑๐ นาที รู้สึกว่านานมากหน่อย ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้ คือแพรวพราวเหมือนแก้ว สวยงามระยับทุกอย่างที่พูดนี้ยังนึกถึงบุญคุณหลวงพ่อ สดท่านยังไม่หาย ท่านมีบุญคุณมาก

    รวมความว่า เวลานั้นเรายังเป็นคนโง่ อาจจะมีจิตทึมทึก แต่ความจริงขอพูดตามความเป็นจริงเวลานั้นจิตไม่ดำ จิตใสเป็นแก้ว แต่ความแพรวพราวของจิตไม่มีการใสเป็นแก้วนั้น เวลานั้นเป็นฌานโลกีย์ ฌานสูงสุด ใช้กำลังเฉพาะเวลานะ ฌานโลกีย์นี้เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ จะเอาตลอดเวลานี้ไม่ได้ เพราะอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ แล้วท่านก็สั่งว่า หลังจากนี้ต่อไป ทุก ๆ องค์ จงทำอย่างนี้จิตต่อให้ถึงนิพพานทุกวัน ตามที่จะพึงทำได้ อย่างน้อยที่สุด จงพบนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ๑. เช้ามืด และประการที่ ๒. ก่อนหลับ หลังจากนี้ไป เธอกลับไปแล้ว ทีหลังกลับมาหาฉันใหม่ ฉันจะสอบ

    เมื่อได้ลีลามาอย่างนั้นแล้วก็กลับ มาหาครูบาอาจารย์เดิม คือ หลวงพ่อปาน พอขึ้นจากเรือก็ปรากฏว่าพบหลวงพ่อปานอยู่หน้าท่า ท่านเห็นหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม ว่าอย่างไรท่านนักปราชญ์ทั้งหลาย เห็นนิพพานแล้วใช่ไหม ตกใจ ก็ถามว่า หลวงพ่อทราบหรือครับ บอก เออ ข้าไม่ทราบหรอก วะ เทวดาเขามาบอก บอกว่าเมื่อคืนที่แล้วมานี่ หลวงพ่อสดฝึกพวกเอ็งไปนิพพานใช่ไหม ก็กราบเรียนท่านบอกว่า ใช่ขอรับ ท่านบอกว่า นั่นแหละ เป็นของจริง ของจริงมีตามนั้น หลวงพ่อสดท่านมีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้

    ก็ถามว่า ถ้าหลวงพ่อสอนเองจะได้ไหม ท่านก็ตอบว่า ฉันสอนเองก็ได้ แต่ปากพวกเธอมันมาก มันพูดมาก ดีไม่ดีพูดไปพูดมา งานของฉันก็มาก งานก่อสร้างก็เยอะ งานรักษาคนเป็นโรคก็เป็นประจำวัน ไม่มีเวลาว่าง ถ้าเธอไปพูดเรื่องนิพพาน ฉันสอนเข้าฉันก็ไม่มีเวลาหยุด เวลาจะรักษาคนก็จะไม่มี เวลาที่จะก่อสร้างวัดต่าง ๆ ก็ไม่มี ฉันหวังจะสงเคราะห์ในด้านนี้ จึงได้ส่งเธอไปหาหลวงพ่อสด ก็ถามว่า หลวงพ่อสดกับหลวงพ่อรู้จักกันดีรึ ท่านก็ตอบว่า รู้จักกันดีมาก เคยไปสอบซ้อมกรรมฐานด้วยกัน สอบกันไปสอบกันมาแล้ว ต่างคนต่างต้นเสมอกัน ก็รวมความว่ากำลังไล่เรื่อยกัน บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่เป็นจุดหนึ่งที่อาตมาแสดงถึงควา
    มโง่กับครูบาอาจารย์์.........


    [b-wai][b-wai][b-wai]

    ขอขอบคุณคุณสอาด(http://konmeungbua.com/webboard/aspb....asp?GID=19058) ,เวบพระรัตนตรัย(http://praruttanatri.com/v1/special/...en/story06.htm) และทุกๆท่านที่ทำให้เราได้อ่านเรื่องดีๆในครั้งนี้ โมทนาครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  7. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  8. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    เขมาเขมสรณาคมน์
    ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="33%" align=center><TBODY><TR><TD width="58%">พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ</TD><TD width="42%">ปพฺพตานิ วนานิ จ</TD></TR><TR><TD>อารามรุกฺขเจตฺยานิ</TD><TD>มนุสฺสา ภยตชฺชิตา</TD></TR><TR><TD>เนตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เนตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เนตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ</TD></TR><TR><TD>โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ</TD><TD>สงฺฆญฺจ สรณํ คโต</TD></TR><TR><TD>จตฺตาริ อริยสจฺจานิ</TD><TD>สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ</TD><TD>ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ</TD></TR><TR><TD>อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ</TD><TD>ทุกฺขูปสมคามินํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เอตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง เขมาเขมสรณทีปิกคาถา วาจาเครื่องกล่าวแสดงซึ่ง ที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษมทั้ง ๒ สองอย่าง จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย จะชี้แจงแสดงเป็นทางปริยัติ เป็นทางปฏิบัติ เป็นทางปฏิเวธ ให้เป็นเหตุสอดคล้องต้องด้วยพุทธศาสนา เริ่มต้นจะแสดงทางปริยัติก่อน ในตอนหลังจะได้แสดงทางปฏิบัติต่อไป แล้วปฏิเวธก็จะรู้คู่กันไปในทางปฏิบัติ พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า จงเงี่ยโสตทั้งสองรองรับรสพระสัทธรรมเทศนา ดังอาตมาจะได้ชี้แจงแสดง ต่อไป ณ บัดนี้
    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ เป็นอาทิว่า มนุษย์เป็นอันมาก อันภัยคุกคามเข้าแล้ว ย่อมถึงภูเขาทั้งหลายบ้าง ถึงป่าทั้งหลายบ้าง ถึงอารามและต้นไม้และเจดีย์ทั้งหลายบ้างว่าเป็นที่พึ่ง เนตํ โข สรณํ เขมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่ เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันอุดมไม่ เนตํ สรณมาคมฺม ถ้าอาศัยอันนั้นเป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้ไม่ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ใดถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺขทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ มาเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบ ทุกฺขํ คือทุกข์ ทุกขสมุปฺปาทํ คือ ตัณหาเป็นแดนให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ คือ การก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ คือหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึก ทุกฺขูปสมคามินํ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับทุกข์ เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่ง อันอุดม เอตํ สรณมาคมฺม มาถึงอันนี้เป็นที่พึ่งได้แล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะแสดงเป็นปริยัติเทศนา ในเขมาเขมสรณาคมน์ต่อไป ปริยัติเทศนาว่า มนุษย์เป็นอันมาก ไม่ใช่น้อย หมดทั้งสากลโลก ชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรที่เป็นมนุษย์หรือทิพย์ก็ช่าง หรือรูปพรหม อรูปพรหม ก็ช่าง เมื่อพากันมาฟังธรรมเทศนาแล้ว นั่นแหละก็อยู่ในพวกมนุษย์นั่นทั้งนั้น มีมากน้อยเท่าใด มนุษย์ทั้งหลายมากด้วยกัน ภยตชฺชิตา อันภัยคุกคามเข้าแล้ว เมื่อคุกคามเข้าเช่นนั้น แล้วทำไง บางพวกไปถึงภูเขาใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงป่าใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงอารามใหญ่ๆ เช่น เชตวนาราม หรืออารามใหญ่ๆ กว่านั้นก็ช่าง หรือเล็กกว่านั้นก็ช่าง ที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น อย่างวัดโสธรอย่างนี้ พอถึงวัดเข้าไหว้แล้ว แต่ว่าไหว้กลัวฤทธิ์กลัวเดชพระยามาร อ้ายที่มีฤทธิ์มีเดชอยู่ที่นั่น ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยตรง เคารพในฤทธิ์เดชของพระยามารมัน กลัวพระยามารมัน อารามหรือต้นไม้เป็นเจดีย์ บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่นั่นแน่ เจริญพาสน์นั่นแน่ ต้นมะขามใหญ่ นั่นแน่ ไปถึงก็ต้องไหว้เชียว ต้องไหว้ กลัว กลัวใครละ กลัวฤทธิ์พระยามาร มันมีฤทธิ์มีเดช มันสิงมันทรงได้ มันบอกไหว้นบเคารพเสีย มันให้ความสุขความเจริญ ถ้าว่าไม่ไหว้นบ เคารพ นบบูชาแล้ว ก็ลงโทษต่างๆ นานา กลัวมัน ต้องไหว้มันอย่างนี้ ไปถึงอาราม หรือ ต้นไม้ เจดีย์เช่นนั้นเข้าแล้ว ก็ต้องไหว้ กลัวต้องภัยได้ทุกข์ ถึงอ้ายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่าเป็น ที่พึ่งทีเดียว
    นั่นพระพุทธเจ้าปฏิเสธแล้ว เนตํ โข สรณํ เขมํ ภูเขาก็ดี ป่าก็ดี อารามก็ดี ต้นไม้ก็ดี นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันผ่องใส ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด หรืออันอุดม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมอันสูงสุด เนตํ สรณมาคมฺม อาศัยอันนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว น ปมุจฺจติ สพฺพทุกฺขา ย่อมหาหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะต้องติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ อยู่นี่เอง จนไปนิพพานไม่ได้ เพราะเข้าถึงที่พึ่งไม่ถูก พลาดไปเรื่องนี้ เราเห็นอยู่ต่อตาทั่วๆ กัน ในประเทศไทยนี่ อะไรต่อมิอะไรกันไขว่เชียว เพราะเหตุอะไร ? เพราะเหตุว่า ไม่รู้จัก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ น่ะซี พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่ได้อยู่เรี่ยราดเช่นนั้น พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ในตัวทุกคน กายเป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นั่นแน่ กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายธรรม นั่นแหละเป็น พุทฺโธ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แต่ว่าใหญ่กว่ากายธรรม นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ ถ้าตัวจริงละก้อ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง หรือถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นที่พึ่ง
    เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ต้องเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบที่ถูก ไม่ให้ผิดจากอริยสัจธรรมทั้ง ๔ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนา แต่เราไม่เดียงสาทีเดียวว่าอะไรเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เราไม่เดียงสาทีเดียว ไม่เดียงสาอย่างไร ? ทุกขสัจน่ะคืออะไรล่ะ ? ความเกิดน่ะซีเป็นทุกขสัจจะ สมุทัยสัจล่ะ เหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นสมุทัยสัจ นิโรธสัจล่ะ ความดับเหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นนิโรธสัจ มรรคสัจ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึกให้ถึงพระนิพพานที่เป็นที่สงบระงับนั่นแหละ เป็นมรรคสัจ นี้เป็นตัวสำคัญนัก วันนี้มุ่งมาดปรารถนาจะแสดงในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ นี้ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะแสดงทางปริยัติก่อน แล้วจึงย้อนไปแสดงทางปฏิบัติให้เข้าเนื้อเข้าใจชัดว่า ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ น่ะ อยู่ที่ไหน อะไรให้รู้กันเสียที
    เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่ง เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ นี่ท่านแสดงย่อย่นสกลพุทธศาสนา ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นที่ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ คือ สัจธรรมทั้ง ๔ รู้จริงรู้แท้ทีเดียวในสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ในสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ เป็นไม่ได้ทีเดียว นี่ธรรมสำหรับทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว สัจธรรมทั้ง ๔ นะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราควรฟัง ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นทางปริยัติ
    ถ้าจะแสดงโดยปฏิบัติ ให้แน่ชัดลงไปแล้วละก็ ในสัจธรรม ๔ นี่น่ะคือใคร ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้าเสียก่อน
    • พระพุทธเจ้าน่ะคือใครที่ไปเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ น่ะ เห็นด้วยพระสิทธัตถกุมารหรือด้วยตาของพระสิทธัตถราชกุมาร ความเห็น ความรู้ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? ไม่ใช่
    • หรือเห็นด้วยกายละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร กายที่นอนฝันออกไปน่ะ ? ไม่ใช่ ไม่ได้เห็นด้วยตานั้นกายนั้น
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? กายที่ฝันในฝันออกไปนะ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ได้
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ? ไม่ใช่ ไม่เห็น เช่นนั้น เพราะสัจธรรมนี่เห็นขั้นท้ายไม่ใช่เห็นขั้นต้น เห็นด้วยตากายรูปพรหมหรือรูปพรหม ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ? เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ? ไม่ใช่
    • เห็นด้วยตากายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นกายที่ ๗ ที่ ๘ กระนั้นหรือ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยตากายนั้น มันอยู่ในภพ มันทะลุหลุดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ มันยังติดภพอยู่
    ท่านเห็นด้วยตาธรรมกาย ธรรมกายที่เป็นโคตรภูนะ ยังหาได้เป็นพระโสดา-สกทาคาไม่ ยังหาได้เป็นโสดาปัตติมรรคผล สกทาคามิมรรคผล อนาคามิมรรคผล อรหัตมรรคผลไม่ เห็นด้วยตากายธรรม รู้ด้วยญาณของกายธรรม ไม่ใช่รู้ด้วยดวงวิญญาณ เพราะกายมนุษย์มีดวงวิญญาณ ญาณไม่มี กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด มีดวงวิญญาณทั้งนั้น ดวงญาณไม่มี กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี พอถึงกายธรรมเข้า มีญาณทีเดียว
    ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? ตาธรรมกายก็เหมือนรูปพระปฏิมาอย่างนี้แหละ เหมือนมนุษย์อย่างนี้แหละ แบบเดียวกันแต่ทว่าละเอียด แล้วมีญาณของกายธรรม ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? ดวงวิญญาณอยู่ในกลางกายมนุษย์นี่ เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายทิพย์ก็เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายมุนษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด ก็แบบเดียวกัน หรือกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็มีดวงวิญญาณแบบเดียวกัน ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้ ต่อเมื่อใด ไปถึงกายธรรมเข้า ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น ถ้าหน้าตักศอกหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางศอกหนึ่ง หน้าตักวาหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางวาหนึ่ง กลมรอบตัว ถ้าว่าหน้าตักธรรมกายนั้น ๒ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา กลมรอบตัว ขยายอย่างนั้น ถ้าหน้าตัก ๔ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ วา กลมรอบตัว แล้วแต่หน้าตักธรรมกาย หน้าตักธรรมกายโคตรภูนั่นไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วาเล็กน้อย ถ้าเป็นพระโสดาจึงจะเต็ม ๕ วา ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาหย่อนกว่า ๕ วา หน้าตักของธรรมกายนั่นโตเท่าไหน ดวงญาณก็โตเท่านั้น ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ละ นั่นแหละ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ เห็นชัดๆ ทีเดียว ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจ ต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติธรรมกายนั่งนิ่งเพ่งฌานทีเดียว ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยุดนิ่ง เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา ๘ ศอก กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักร กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว เหมือนแผ่นกระจกหนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง รองนั่งของธรรมกายนั้นมาจากไหน ดวงฌานที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก มาจากกสิณก็เป็นดวงฌานได้ มาจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็เป็นดวงฌานได้ แต่ว่าเมื่อถึงธรรมกายแล้ว ใช้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเองเป็นปฐมฌาน ขยายส่วน เห็นใส เมื่อดูใสแล้วก็ขยายส่วนออกไป ขยายส่วนออกไป ๒ วา กลมรอบตัว แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง กลมเหมือนยังกับกงจักรหรือกงเกวียน กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว รองนั่งของธรรมกาย ธรรมกายเมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ พอถึงปฐมฌานเข้าเช่นนั้น ก็มีวิตก ความตรึก วิจาร ความ ตรอง ปีติ ชอบเนื้อชอบใจ วิตกว่าฌานนั้นมันมาจากไหน เห็นแล้วมันมาจากนั่น วิจาร ไตร่ตรองไป ตรวจตราไปถี่ถ้วน เป็นของที่ไม่มีที่ติ ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ มีความปีติขึ้น ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ เต็มส่วนของปีติ มีความสุข นิ่งอยู่กลางฌานนั่น สุขในฌาน อะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวง เปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้ ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไร ไม่ยึดถือทีดียว เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ เมื่อเข้าปฐมฌานก็แน่นิ่งอยู่ ฌานที่ละเอียดกว่านี้มี พอนึกขึ้นมาเช่นนั้น ก็ อ้อ! ที่ละเอียดขึ้นมากว่านี้มีอยู่ ก็นิ่งอยู่กลางปฐมฌานนั่น กลางดวงปฐมฌานนั่นนิ่ง ใจของธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นิ่งพอถูกส่วนเข้า ฌานนั่นเปลี่ยนแล้ว ปฐมฌานนั่นจางไป ทุติยฌานมาแทนที่รองนั่ง จะไปไหน ไปคล่องแคล่วยิ่งกว่าขึ้นเครื่องบิน ปฐมฌานเหมือนกัน ทุติยฌานเหมือนกัน พอเข้าฌานที่ ๒ ได้แล้ว ก็นึกว่าฌานที่ ๒ มันใกล้ฌานที่ ๑ มันเสื่อมง่าย ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอีก ถูกส่วนนิ่งเข้าอีก ทุติยฌานก็จางไป ตติยฌานมาแทนที่ นิ่งอยู่กลางตติยฌานนั่น พอถูกส่วนเข้าตติยฌานแล้ว ละเอียดกว่าตติยฌานนี่มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น ถูกส่วนเข้า เมื่อนึกถึงฌาน ตติยฌานก็จางไป จตุตถฌานเข้ามาแทนที่ ยังไม่พอแค่นั้น นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี ว่าละเอียดกว่านี้มี จตุตถฌานก็จางไป อากาสานัญจายตนฌาน กลางของจตุตถฌานว่างออกไปเท่ากัน ดวงเท่ากัน ดวงเท่ากันนี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ธรรมกายก็นั่งอยู่กลางของอากาสานัญจายตนฌาน เรียกว่า เข้าอากาสานัญจายตนฌาน แล้ว ใจก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น ถูกส่วนเข้าก็นึกว่าฌานนี้ คล่องแคล่วว่องไวดี แต่ว่าละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากาสานัญจายตนฌานก็จางไป วิญญาณัญจายตนฌานเข้ามาแทนที่ ดวงก็เท่ากัน นิ่งอยู่กลางดวงวิญญาณัญจายตนฌานนั่น ว่าละเอียดกว่านี้มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น แต่ว่าเพ่งฌาน นิ่ง พอถูกส่วนเข้า วิญญาณัญจายตนฌานจางไป อากิญจัญญายตนฌานเข้ามาแทนที่ รู้ละเอียด จริง นี่เป็นรู้ละเอียดจริง นิ่งอยู่อากิญจัญญายตนฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากิญจัญญายตนฌานจางไป เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาแทนที่ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกนึกในใจทีเดียวว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ นี่ละเอียดจริง ประณีตจริง นี่เข้าฌานดังนี้ นี่เขาเรียกว่า เข้าฌานโดยอนุโลม
    เข้าฌานโดยปฏิโลม ถอยกลับจากฌานที่ ๘ นั้น จากเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้าหา อากิญจัญญายตนะ มาวิญญาณัญจายตนะ เข้าอย่างไรก็ออกมาอย่างนั้น มาถึงอากาสานัญจายตนะ ถอยจากอากาสานัญจายตนะ มาถึงจตุตถฌาน ถอยจากจตุตถฌาน มาถึงตติยฌาน ถอยจากตติยฌาน มาถึงทุติยฌาน ถอยจากทุติยฌาน มาถึงปฐมฌาน เข้าไปดังนี้อีก นี่เรียกว่าปฏิโลมถอยกลับ อนุโลมเข้าไปอีก ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ ไปอีก ถอยจากที่ ๘ มาถึง ที่ ๗ ที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ที่ ๒ ที่ ๑ มาถึงอีก นี่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลมไปอย่างนี้ พออนุโลมปฏิโลมถูกส่วนเข้าก็เห็นทีเดียวว่า อ้อ! สัตว์โลกนี่เป็น ทุกข์ละ เห็นทุกข์ละนะ นี่ทางปฏิบัติเห็นทุกข์ละ ตาธรรมกายเห็นอายตนะที่ดึงดูดของสัตว์โลก เขาเรียกว่า โลกายตนะ อ้อ! มนุษย์นี่เกิดขึ้นไม่ใช่อื่นเลย ความเกิดนี่ อายตนะของโลกเขาดูดนะ ก็เห็นอายตนะทีเดียว มนุษย์นี่ก็มีอายตนะอยู่อันหนึ่ง เราเคยค้นพบ เรารู้จักแล้ว อายตนะของมนุษย์ รู้จักกันทั่วแหละ อายตนะของมนุษย์ ที่เราติดอยู่ ก็ติดอายตนะนั่นแหละมันดึงดูด อายตนะอยู่ที่ไหน ? ที่บ่อเกิดของมนุษย์ อายตนะแปลว่าบ่อเกิด บ่อเกิดมันอยู่ที่ไหน ? นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะของทิพย์ละ มันมีมากด้วยกันนี่ อายตนะกำเนิดของสัตว์มีถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ อายตนะที่ว่านี้เป็นชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ โอปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เอากันละคราวนี้ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ เป็ด ไก่ ทั้งนั้น เป็นอายตนะอันหนึ่ง สังเสทชะ เหงื่อไคลเป็นอายตนะอันหนึ่ง สำหรับเหนี่ยวรั้งใจให้สัตว์เกิดนั่น เป็นอายตนะสำหรับบ่อเกิด ชลาพุชะ มีน้ำสำหรับเป็นอายตนะให้เกิด โอปปาติกะ อายตนะของจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตตวสวัตตี นี่เป็นอายตนะของทิพย์ทั้งนั้น มีอายตนะดึงดูดให้เกิดเหมือนกัน ไม่ใช่เท่านั้น อายตนะที่ทรามลงไปกว่านี้ อายตนะให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คล้ายมนุษย์เหมือนกัน อายตนะให้เกิดเป็นอสุรกาย แบบเดียวกันกับมนุษย์ อายตนะเกิดเป็นเปรต แบบเดียวกับมนุษย์ อายตนะในอบายภูมิทั้ง ๔ สัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาฏะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจีนรก นรกทั้ง ๘ ขุมใหญ่นี้ ขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็นบริวารล้อมรอบ ๔ ด้านๆ ละ ๔ ขุม เป็น ๑๖ ขุม แล้วมียมโลกนรก ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ ทิศๆ ละ ๑๐ ขุม เป็น ๔๐ ขุม นรกทั้ง ๔๕๖ ขุมเป็นอายตนะดึงดูดสัตว์โลกทั้งนั้น เมื่อทำดีทำชั่วไปถูกส่วนเข้าแล้ว อายตนะของนรกก็ดึงเป็นชั้นๆ ดูดเป็นชั้นๆ ต้องไปติด ใครทำอะไรเข้าไว้ อายตนะมันดึงดูดไปติด ฝ่ายธรรมกายไปเห็นก็ อ้อ! สัตว์โลก มันติดอย่างนี้เอง ติดเพราะอายตนะเหล่านี้ อ้ายที่มาเกิดเหล่านี้ใครให้มาเกิดละ อ้ายที่มาเกิด เป็นอบายภูมิทั้ง ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้นนี้ ใครให้เกิดละเห็นทีเดียวแหละ เห็นทีเดียว ทุกฺขสมุปฺปาทตณฺหา ตัณหานี่แหละเป็นแดนให้เกิดพร้อมทีเดียว
    ตัณหาคืออะไรล่ะ ? กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แยกออกไปเป็น ๓ เห็นตัณหาอีก อ้อ! อ้ายเจ้ากามตัณหานี้ อยากได้กาม อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส นั่นเอง เจ้าถึงต้องมาเกิด เออ อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไปตีรันฟันแทงกันป่นปี้ รบราฆ่าฟันกันยับเยินเปินทีเดียว เพราะอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร เห็นชัดๆ อย่างนี้ว่า อ้อ ! อ้ายนี่เองเป็นเหตุให้เกิด กามตัณหานี่เอง อ้อ! นี่ อายตนะของกามตัณหาทั้งนั้น ในอบายภูมิทั้ง ๔ นรก อสุรกาย เปรต สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ มนุษย์ สวรรค์ ๖ ชั้น นี่กามตัณหาทั้งนั้น อ้ายกามนี่เองเป็นตัวสำคัญเป็นเหตุ อ้ายนี่สำคัญนัก
    ไม่ใช่แต่กามตัณหาฝ่ายเดียว ไปดูถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ รูปพรหม ๑๖ ชั้นนี่เป็น ภวตัณหา อ้ายนี่อยากได้รูปฌานที่เราดำเนินมานั่นเอง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อ้ายนี่เป็นรูปพรหม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อ้ายนี่ให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อ้ายนี่ติด อ้าย ๘ ดวงนี่เอง เมื่อไปติดเข้าแล้วมันชื่นมื่นมันสบายนัก กามภพสู้ไม่ได้ มันสบายเหลือเกิน มันสุขเหลือเกิน ปฐมฌานก็สุขเพียงเท่านั้น ทุติยฌานก็สุขหนักขึ้นไป ตติยฌานสุขหนักขึ้นไป จตุตถฌานสุขหนักขึ้นไป อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน สุขหนักขึ้นไป อากิญจัญญายตนฌานสุขหนักขึ้นไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานสุข หนักขึ้นไป มันพิลึกกึกการละ มันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว ส่วนรูปภพนั้นเป็นภวตัณหา อ้ายภวตัณหานี่เองเป็นเหตุให้เกิดในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้นนี่
    ฝ่ายอรูปภพทั้ง ๔ ชั้นนี่เป็นวิภวตัณหา เข้าใจว่า นี่เอง หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย เสียแล้ว เข้าใจว่า นี่เองเป็นนิพพาน เมื่อไม่พบศาสนาของพระบรมศาสดาจารย์ ก็เข้าใจว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เอง เป็นนิพพานทีเดียว เข้าใจอย่างนั้น ค้นคว้าหาเอาเอง นี่เป็นวิภวตัณหา ไปติดอยู่อ้ายพวกนี้เอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อ้าย ๓ ตัวนี่แหละสำคัญนัก ไปเห็นหมด เห็นรูปพรรณสัณฐาน ฌานก็เห็น กามตัณหาก็เห็น กามตัณหาทั้ง ๑๑ ชั้นนี่เห็น ภวตัณหาทั้ง ๑๖ ชั้นนั่นก็เห็น วิภวตัณหาทั้ง ๔ ชั้นน่ะ เห็นหมด เห็นปรากฏทีเดียว เอ! นี่จะทำอย่างไร ? ต้องละอ้ายพวกนี้ ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ ถ้าละไม่ได้ละก้อ หลุดพ้นไปไม่ได้ละ ก็ทุกข์อยู่นี่ ไม่พ้นจากทุกข์ แน่นอนทีเดียว แน่นอนในใจของตัวทีเดียว เข้าสมาบัติดูอีก ตรวจทบไปทวนมาดูอีก ดูหนักเข้าๆๆ เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูไปดูมา อ้อ! เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี่ ถ้าว่าไม่ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่ให้ขาดเสียละก้อ เราจะต้องมีชาติไม่จบไม่แล้ว จะต้องทุกข์ไม่จบไม่แล้ว จะต้องหน้าดำคร่ำเครียดไม่จบไม่แล้ว จะต้องลำบากยากแค้นไม่จบไม่แล้ว เมื่อคิดดังนี้เข้าใจดังนี้แล้ว ตาธรรมกายก็มองเห็นแจ่ม เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร ? วิธีจะละ ละอย่างไรนะ ? เออ ! วิธีจะละ ละท่าไหนกันนะ ? เห็นทางทีเดียวว่า อ้อ ! พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ที่เราเดินมาทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์มาถึงกายมนุษย์ละเอียด ในกายทิพย์มาถึงกายทิพย์ละเอียด ในกายรูปพรหมมาถึงกายรูปพรหมละเอียด ในกายอรูปพรหมมาถึงกายอรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งมาถึงกายธรรมกาย ธรรมกายละเอียดนี้ เราต้องเดินในช่องทางของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก้อ เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว
    หยุดอะไรละ ใจหยุดสิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ หยุดกลางของกลาง กลางของหยุด กลางที่หยุดนั่นแหละ ถ้าว่าถึงดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิ กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอหยุดแล้วก็กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าก็เห็นกายพระโสดา เข้าถึงกายพระโสดา อ้อ! พอเข้าถึงกายพระ โสดารู้จักเชียว นี่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ไม่ใช่ไปทางอื่นเลย แต่พอเข้าถึงกายพระโสดาละเอียด ทำแบบเดียวกันอย่างนั้น หยุดอย่างเดียวกันนั่นแหละ หยุดอย่างนั้นแหละ พอหยุดเข้ารูปนั้นจริงๆ เข้าถึงกายพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด ก็รู้รสชาติของใจทีเดียว พอเข้าถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เข้าแล้วหลุดหมด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกฺขูปสมคามินํ อย่างนี้เอง ถึงพระนิพพานเป็นที่ดับแห่งทุกข์ พอถึงพระอรหัตก็เห็นนิพพานแจ่ม เข้านิพพานไปได้ทีเดียว นี้ไปอย่างนี้ ไปจริงๆ อย่างนี้ ก็ไปได้ เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว ก็เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง ๔ ไว้ ยังไม่ปล่อยทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มั่นกับใจดูแล้วดูอีก ทบทวนแล้วทบทวนอีก แน่นอนในใจ พอแน่นอนในใจ เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ พอครบ ๔ เข้าเท่านั้นแหละ ได้บรรลุพระโสดาทันที พอพระโสดาเข้าสมาบัติ นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาๆ ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยญาณของพระโสดา พอครบรอบ ๔ เข้าเท่านั้น ได้บรรลุพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป ธรรมกายพระสกทาคาเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา แบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด พอถูกส่วนเข้า ก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร ? กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปริยัติ ดังแสดงแล้วในตอนต้น พุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติ ปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึงปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง ๘ นั้น เป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังนี้ นี่เป็นทางปฏิบัติแท้ๆ
    เมื่อกายธรรมเห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อพระโสดา เดินสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา
    เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้า เห็นในสัจจธรรมทั้ง ๔ ชัดอีก ได้บรรลุ พระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว
    เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดใน ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต
    เมื่อเห็นกายพระอรหัต ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละได้ชื่อว่า เป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด
    นี้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนา เข้าปริยัติก็ไม่ถูก ปฏิบัติก็ไม่ถูก ปฏิเวธก็ไม่ถูก มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องราวไม่ได้ ถ้าว่าคนละ โมฆชิณฺโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้ เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนักในเรื่อง สัจธรรมทั้ง ๔ นี้
    ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง ๔ เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว สัจจธรรมทั้ง ๔ นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้ นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เมื่อได้สดับ ตรับฟังแล้ว พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้ที่พึงอันเกษมผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย เป็นไปในทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติใน เขมาเขมสรณาทีปิกคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็น สยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้. ​
     
  9. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    (๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า
    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”
    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”
    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐
     
  10. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
    แผนที่เดินทางไปวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    [​IMG]
    รถ บขส.สาย ๗๘ (ปอ.๒) กรุงเทพ-ดำเนินสะดวก
    ขึ้นรถที่ขนส่งสายใต้ ผ่านหน้าวัดหลวงพ่อสดฯ ก่อนถึงตลาดน้ำดำเนินสะดวก
     
  11. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    ปาฐกถาธรรมเรื่อง
    สติสัมปชัญญะ
    โดย พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
    วันอาทิตย์ ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เวลา ๐๘.๐๐ น.
    เจริญพร ญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน
    สำหรับวันนี้ จะได้บรรยายธรรมเรื่อง “สติสัมปชัญญะ” ซึ่งเป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตของทุกคนไปสู่ความเจริญและสันติสุข และให้ถึงความสิ้นทุกข์อย่างถาวรได้
    คำว่า “สติ” หมายถึง ความระลึกได้ คือ จดจำถ้อยคำหรือเรื่องราวที่ผ่านมา แม้นานแล้วได้ สามารถระลึกหรือนึกขึ้นได้ นี้อย่าง ๑ และหมายถึง การควบคุมจิตใจให้จดจ่ออยู่กับกิจที่ทำ หรือเรื่องที่กำลังเพ่งพิจารณาอยู่ได้ ไม่พลั้งเผลอ นี้อีกอย่าง ๑
    สติเป็นเจตสิกธรรมที่ประกอบกับจิตให้ระลึกนึกถึงบาป-บุญ คุณ-โทษ ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริงได้ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญและสันติสุข อนึ่ง ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่ออบรมกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์โดยทางศีล สมาธิ และปัญญา เป็นต้นนั้น “สติ” ยังเป็นเครื่องช่วยให้ระลึกนึกถึงเหตุในเหตุ ไปถึงต้นเหตุแห่งทุกข์ รวมทั้งเหตุในเหตุแห่งความเจริญและสันติสุข ด้วยปัญญาอันเห็นชอบได้ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การปฏิบัติธรรม เพื่อถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุขได้
    ส่วน คำว่า “สัมปชัญญะ” หมายความถึง ความรู้สึกตัวพร้อม หากเผลอสติก็ระลึกถึงขึ้นได้ใหม่ สัมปชัญญะ จึงเป็นคุณเครื่องส่งเสริมสติให้เจริญ ให้เต็ม ให้มั่นคง ไม่พลั้งเผลอ สัมปชัญญะจึงเป็นเจตสิกธรรมที่มาคู่กับสติ
    กล่าวโดยสรุป สติกับสัมปชัญญะนั้นเป็นธรรมคู่กัน คือ ความระลึกนึกรู้ หรือพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่าความคิด หรือคำที่จะพูด หรือว่ากรรมที่กำลังจะทำนั้นดีหรือชั่ว เป็นบุญกุศลหรือเป็นบาปอกุศล เป็นทางเจริญหรือทางเสื่อม นี้ชื่อว่า “สติ” แต่เมื่อเผลอสติคิด พูดหรือทำไปก่อนแล้วโดยไม่ทันระลึกนึกรู้ได้ ว่าดีหรือชั่ว แล้วกลับมาระลึกนึกรู้ได้ หรือรู้สึกตัวได้ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ว่า ความคิดที่กำลังเกิด วาจาที่กำลังพูด และ/หรือ กรรมที่กำลังกระทำอยู่นั้น ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมหรือว่าผิดพลาด เป็นกุศลคุณความดี หรือว่าเป็นความชั่ว เป็นทางเจริญ ควรดำเนิน หรือว่าเป็นทางเสื่อมไม่ควรดำเนิน แล้วเลือกดำเนินหรือประพฤติปฏิบัติไปแต่ในทางเจริญ งดเว้นความประพฤติปฏิบัติไปในทางเสื่อม นี้ชื่อว่า “สัมปชัญญะ” แม้สำนึกได้ภายหลังที่ได้ คิด-พูด-ทำ ไปแล้ว ก็ชื่อว่า “สัมปชัญญะ” เหมือนกัน
    สติกับสัมปชัญญะ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบนี้ จึงเป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตให้ดำเนินไปแต่ในทิศทางที่ถูกที่ควร คือ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม กล่าวคือ ที่เป็นบุญกุศลคุณความดีอันจะนำชีวิตไปสู่ความสำเร็จและความเจริญสันติสุข และสูงสุดให้ถึงมรรคผลนิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุขอย่างถาวรได้
    ส่วนผู้ประมาทขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีความสำนึกระลึกได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่าดีหรือชั่ว เป็นทางเจริญหรือทางเสื่อม และขณะที่กำลังคิด-พูด-ทำอยู่ หรือแม้ได้คิด-พูด-ทำไปแล้ว ก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าประพฤติตนผิดพลาดหรือถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ยังไม่รู้สึกตัวว่าการดำเนินชีวิตของตนนั้นเป็นไปในทางเจริญหรือทางเสื่อมตามที่เป็นจริง การดำเนินชีวิตของผู้นั้นก็เหมือนรถไม่มีพวงมาลัย หรือเรือขาดหางเสือ ที่จะช่วยการควบคุมทิศทางการขับรถหรือขับเรือให้แล่นไปในทิศทางที่ถูกต้องตรงเป้าหมาย คือ ความสำเร็จและความเจริญสันติสุขที่ตนมุ่งหวังได้
    ดังตัวอย่าง เยาวชนหรือคนวัยหนุ่มสาวในวัยเรียนผู้ใด มีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบว่า การที่บุคคลจะดำเนินชีวิตไปสู่ความสำเร็จในชีวิต และถึงความเจริญและสันติสุขได้ ก็จะต้องเป็นผู้มีความรู้มีความสามารถ มีคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีปัญญาอันเห็นชอบ กอปรด้วยศีลธรรม เมื่อมีสติระลึกได้อยู่อย่างนี้ เยาวชนหรือคนหนุ่มสาวในวัยเรียนนั้น ย่อมไม่ประมาทหลงมัวเมาในชีวิต รีบเร่งขวนขวาย พากเพียรศึกษาหาความรู้เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถและฐานะของตนๆ ชนผู้นั้นเมื่อเจริญวัยขึ้น ย่อมเป็นผู้มีวิชาความรู้ มีความสามารถ และมีสติปัญญาอันเห็นชอบ รู้ทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงได้ดี ด้วยความรู้ความสามารถและปัญญานั้น ย่อมช่วยให้สามารถสร้างฐานะทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคมให้สำเร็จและถึงความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขได้
    หากเผลอสติ ประพฤติผิดพลาดจากทำนองคลองธรรมไปบ้าง ก็มีสัมปชัญญะคือรู้สึกตัว รู้เท่าทันในความผิดพลาดนั้น รีบกลับตัวกลับใจมาประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในคุณความดี ก็ยังไม่สาย และสามารถจะดำเนินชีวิตตนไปสู่ความสำเร็จ ถึงความเจริญและสันติสุขได้อีก ในระยะเวลาไม่นานเกินรอ
    ชนผู้เช่นนี้ ชื่อว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ สติสัมปชัญญะ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมาก ด้วยประการฉะนี้
    ส่วนเยาวชนหรือคนวัยรุ่นหนุ่มสาว ที่กำลังอยู่ในวัยเรียนใด ประมาท ขาดสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ไม่ระลึกได้ว่า การที่บุคคลจะสามารถสร้างตัว สร้างฐานะ ให้สำเร็จถึงความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขได้ ก็จะต้องมีวิชาความรู้ความสามารถ และคุณธรรม จึงไม่ใส่ใจและไม่ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนหาวิชารู้ และไม่หมั่นฝึกฝนอบรมตนให้มีความสามารถ และกลับประมาทมัวเมาในชีวิต หลงฟุ้งเฟ้อไปตามเพื่อน หลงเที่ยวเตร่ เสเพล และหลงติดอยู่ในโลกิยสุข ตามแหล่งอบายมุขหรือแหล่งบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ ทั้งๆ ที่ตนเองยังหาเงินไม่เป็น และยังต้องแบมือขอเงินจากพ่อแม่อยู่ แต่กลับใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ติดอยู่ในค่านิยมฟุ้งเฟ้อ และหมกมุ่นอยู่แต่ในกิเลสกาม บางรายก็สมสู่อยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา ทั้งๆ ที่ยังเรียนไม่สำเร็จ และยังไม่มีงานทำเป็นหลักเป็นฐาน ครั้นเงินทองไม่พอจับจ่ายใช้สอย บางรายก็หันไปค้าสวาท หรือขายตัว นำชีวิตไปสู่ความเสื่อม เป็นโทษและเป็นความทุกข์เดือดร้อนต่อๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการศึกษาเล่าเรียนไม่สำเร็จตามเป้าหมาย เมื่อวิชาความรู้สูงๆ ไม่มี หรือมีน้อย ย่อมด้อยสติปัญญาความสามารถในอันที่จะประกอบกิจการงานในอาชีพที่ดีๆ ได้ การสร้างตัวสร้างฐานะของตนและครอบครัวของผู้เป็นเช่นนี้ ก็ย่อมลำบากต่อไปในกาลข้างหน้า นี่เพราะโทษของการขาดสติสัมปชัญญะ เครื่องยับยั้งชั่งใจ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ รู้ทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต นำให้ชีวิตตกต่ำ และดำเนินชีวิตไปในทางเสื่อม ถึงเป็นความทุกข์เดือดร้อนได้ ในยุคปัจจุบันนี้ เยาวชนหรือคนหนุ่มสาวในวัยเรียน ที่ประมาทขาดสติสัมปชัญญะอย่างนี้มีมากขึ้นทุกที จนน่าเป็นห่วงว่าเยาวชนที่กำลังจะเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ของสังคม และของประเทศชาติ ว่าถ้าปล่อยให้มีพฤติกรรมเป็นกันอย่างนี้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว สังคมไทยเราจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ?
    โทษของการขาดสติสัมปชัญญะอีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาทางสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ที่ข้อมูลข่าวสารถูกส่งถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้แสดงออกซึ่งกิริยาอาการ วาจา หรือถ้อยคำ และเจตนาความคิดอ่าน ที่แสดงต่อสาธารณชน โดยที่ผู้แสดงออกบางรายขาดสติสัมปชัญญะ คือขาดความสำนึกรู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี และขาดการสำรวมระวัง แล้วแสดงออกซึ่งกิริยาอาการ วาจาหรือถ้อยคำ และเจตนาความคิดอ่านต่อสาธารณชนที่ไม่ดี คือที่ไม่เป็นจริงแท้ ไม่เหมาะสม ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และแถมยังเป็นโทษเป็นภัยต่อสังคม และต่อชาติ ต่อพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของประเทศชาติเราเอง เมื่อแสดงออกในลักษณะที่เป็นโทษแก่สังคมและสถาบันหลักของประเทศชาติเราไปแล้ว ผู้แสดงออกซึ่งกิริยาวาจาและเจตนาความคิดอ่านที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นโทษเช่นนั้นแหละ ย่อมถูกบัณฑิต คือผู้รู้ ติเตียน เป็นการทำลายเกียรติภูมิของตนเองนั้นแหละอีกด้วย ไปในตัวเสร็จ
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานหลักธรรมนั้นไว้แก่สาธุชนพุทธบริษัท เป็นแนวทางปฏิบัติตามที่มีปรากฏในอภยราชกุมารสูตร มัชฌิมนิกายมัชฌิมปัณณาสก์ มีความว่า
    ราชกุมาร ! ตถาคต (ก็ฉันนั้นเหมือนกัน) ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจาไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.”
    อนึ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นไว้ให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตน ประพฤติตน ด้วยความสำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติทางกายทางวาจาคือคำพูด รวมตลอดไปถึงทางจิตใจ คือ เจตนาความคิดอ่าน ให้ละเอียด ประณีต ไม่หยาบคาย ให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ ยังความสันติสุข คือ ความสุขด้วยความสงบอยู่ภายในสังฆมณฑล หากมีปัญหาอะไรก็ให้ปรับปรุงแก้ไข ดูแลกันเองตามพระธรรมวินัย และกฎหมายของบ้านเมือง เพื่อรักษาศรัทธาปสาทะของประชาชนไว้ด้วยวิธีการอันถูกต้อง เหมาะสม ดังมีปรากฏ ตามวินัยพุทธบัญญัติ ในมุสาวาท วรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙ ว่า ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน (คือผู้ที่มิได้บวชเป็นภิกษุ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป และ/หรือแม้เล่าให้สามเณรฟัง) ต้องปาจิตตีย์ (เว้นไว้แต่ได้สมมติ) และในภูตคามวรรค ที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓ ว่า
    “ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์ ถ้าเธอทำโดยชอบ ติเตียนเปล่าๆ ต้องปาจิตตีย์”
    หมายความว่า พระภิกษุใด ตำหนิติเตียนพระภิกษุผู้ที่สงฆ์แต่งตั้ง หรือมอบอำนาจให้ทำการสงฆ์ เช่นให้พิจารณาชำระอธิกรณ์ เป็นต้น ที่ท่านได้กระทำ คือ ดำเนินการโดยชอบ กล่าวคือ โดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎหมายและกฎมหาเถรสมาคมแล้วเป็นต้น พระภิกษุผู้ตำหนิติเตียนพระภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์ที่ได้กระทำโดยชอบเปล่าๆ เช่นนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้เป็นต้น
    แม้คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็ยังต้องมีคุณสมบัติผู้ดีเป็นเครื่องคุ้มครองกิริยามารยาท คือ การแสดงออกซึ่งกิริยาวาจาและจิตใจ กล่าวคือ เจตนาความคิดอ่านที่ดี ซึ่งได้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังเช่น เมื่อท่านธนัญชัยเศรษฐี แห่งนครสาเกตุ ก่อนแต่จะส่ง “นางวิสาขา” ผู้เป็นธิดาของตนไปสู่เรือนเจ้าบ่าว หรือว่าที่สามี คือ “ปุณณวัฒนกุมาร” บุตรชายของท่านมิคารเศรษฐี ณ นครสาวัตถี ได้สอนและให้โอวาทแก่นางวิสาขา ๑๐ ข้อ มีปรากฏในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่อง “นางวิสาขา” ว่า
    “แม่ ธรรมดาหญิงผู้อยู่ในสกุลผัว รักษามารยาทนี้ และนี้จึงจะควร
    แม่ ธรรมดาหญิงที่อยู่ในสกุลพ่อผัวแม่ผัว ไม่ควรนำไฟใน ออกไปภายนอก ไม่ควรนำไฟนอก เข้าไปภายใน พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น ไม่พึงให้แก่คนที่ไม่ให้ พึงให้แก่คนทั้งที่ให้ ทั้งที่ไม่ให้ พึงนั่งให้เป็นสุข พึงบริโภคให้เป็นสุข พึงนอนให้เป็นสุข พึงบำเรอไฟ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน.”
    คำสอนของท่านธนัญชัยเศรษฐีแก่นางวิสาขา ผู้ธิดานั้น มีความหมายว่า หญิงสะใภ้ไม่ควรนำเรื่องที่ไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและของสามีไปกล่าวให้คนอื่นภายนอกฟังนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระภิกษุนับตั้งแต่พระมหาเถระ พระเถรานุเถระ จนถึงพระนวกะผู้บวชใหม่ ผู้ได้รับการอบรมพระธรรมวินัยดีแล้ว จึงต้องอยู่ในความสงบ หากมีปัญหาในวงการสงฆ์ก็เสนอวิธิการปรับปรุงแก้ไขต่อพระภิกษุเจ้าคณะปกครองตามลำดับชั้น และ/หรือ ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหากันเองเป็นการภายใน พระพุทธศาสนาของเราจึงยืนยาวมั่นคงมาจนถึงตราบทุกวันนี้ ก็เพราะพระเถรานุเถระปฏิบัติตามพระธรรมวินัย สำรวมในศีลและอินทรีย์ ดำรงตนและหมู่คณะอยู่ในความสงบอย่างนี้ นี้คือพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐสูงสุด
    แม้ข้าราชการทุกหมู่เหล่าก็ต้องมีระเบียบวินัยทำนองนี้เหมือนกัน แบบเดียวกัน
    กล่าวคือ ข้าราชการทุกหมู่เหล่า ทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ก็มีระเบียบวินัยเป็นกรอบขอบเขตในความประพฤติปฏิบัติตน ในทำนองหรือในลักษณะที่ว่า “ไม่ควรนำไฟในออกไปภายนอก” คือ ไม่ควรนำปัญหาหรือเรื่องราวที่ไม่ดีไม่งามภายในหน่วยงานของตน ออกไปพูดตำหนิ หรือ ไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อสาธารณชนบุคคลภายนอก เหมือนกัน วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม ก็คือ ควรปรึกษาหารือป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นการภายใน และ/หรือ นำเสนอข้อปัญหาพร้อมทั้งวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหานั้นๆ ไปยังผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ ตามลำดับชั้น ตามกฎ-ระเบียบที่องค์กรนั้นๆ ได้กำหนดไว้ดีแล้ว นั่นเอง
    กล่าวโดยสรุป ทุกสังคมน้อยใหญ่ นับตั้งแต่สังคมภายในครอบครัว องค์กรศาสนา องค์กรทางราชการทุกหมู่เหล่า และองค์กรธุรกิจเอกชนทั้งหลาย ทั้งไทยและต่างชาติต่างศาสนา ต่างมีระเบียบวินัยในทำนองนี้ เพื่อป้องกันความเสื่อมเสียส่วนรวม เหมือนกันทั้งนั้น เพราะเหตุนั้น สาธุชนผู้ฟังทุกท่าน ก่อนแสดงออกซึ่งกิริยามารยาท วาจาหรือถ้อยคำและเจตนาความคิดอ่านทั้งหลายต่อสาธารณชน แม้จะอ้างว่าหวังดีต่อสังคม ก็พึงมีสติสัมปชัญญะหยุดคิด หยุดไตร่ตรอง พิจารณาผลได้ผลเสียต่อสังคมโดยส่วนรวมก่อน ว่า กิริยามารยาท วาจาหรือถ้อยคำและเจตนาความคิดอ่านที่จะแสดงออกไป หรือขณะที่กำลังแสดงออกอยู่นั้น และแม้ที่ได้แสดงออกไปแล้วว่า เป็นอาการกิริยา วาจาหรือถ้อยคำที่จริง ที่แท้หรือว่าไม่จริง ไม่แท้ ที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์หรือว่าเป็นโทษแก่สังคม และ/หรือองค์กรนั้นๆ และการแสดงออกนั้นเป็นการแสดงออกด้วยเจตนาความคิดอ่านที่ดี ที่บริสุทธิ์ ที่ยุติธรรม ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและระเบียบวินัยของสังคม และขนบธรรมเนียมที่ดีของไทยพุทธเราหรือไม่ หากคิดได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ก็ควรงดเว้นเสีย หากพลั้งเผลอผิดไป ในขณะคิด-พูด-ทำอยู่ ก็จงมีสติยับยั้งชั่งใจ กลับตัวกลับใจเสีย แม้ได้คิดผิด พูดผิด ทำผิดไปแล้ว ก็ยังไม่สายที่จะกลับตัว กลับใจมาประพฤติปฏิบัติให้ดี ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวม อีกได้ ขอให้มีหลักอยู่ว่า สังคมโดยส่วนรวมของประเทศชาติไทยเรา คือ สถาบันชาติ ของไทยเราจะเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขอยู่ได้อย่างมั่นคง ก็ต่อเมื่อสถาบันพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทยเรา ๑ กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ๑ เจริญและมั่นคง หาก ๒ สถาบันนี้ คือ สถาบันพระพุทธศาสนา กับ สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับความกระทบกระเทือนด้วยประการใด สถาบันชาติไทยของเราก็ย่อมจะอ่อนแอลง เพราะ เมื่อประชาชนขาดศีลธรรมประจำใจ สังคมย่อมเกิดความโกลาหล จลาจลวุ่นวาย หนักขึ้น อาจถึงรบราฆ่าฟัน แย่งชิงกันมากขึ้น ความเจริญและสันติสุขภายในประเทศชาติ ก็ย่อมหมดไปเพราะความโลภ โกรธ หลง ของคนในชาติ ทุกศาสนาในประเทศไทยเราเองนี้แหละ ถ้าสถาบันพระพุทธศาสนายังคงเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขอยู่ สังคมประเทศชาติแม้ทุกศาสนาในประเทศไทยก็จะยังมีความสันติสุขอยู่ได้ เพราะพระพุทธศาสนาไม่เคยเบียดเบียนใคร แต่ถ้าพระพุทธศาสนาในประเทศไทยล่มจม สังคมทุกหมู่เหล่าและทุกศาสนาในประเทศไทยก็เสียหายล่มจมไปด้วยกันหมดทั้งประเทศ อย่าสงสัยเลย
    เพราะเหตุนั้นญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทั้งหลายเมื่อท่านได้ยินได้ฟังข่าวสารการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ก็จงตั้งสติสัมปชัญญะพิจารณาข่าว หรือการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับศาสนบุคคลและศาสนธรรม ให้ดี ว่าผู้พูดผู้แสดงออกทางกายคือกิริยามารยาท ทางวาจา คือ คำพูดหรือถ้อยคำต่างๆ และทางใจคือเจตนาความคิดอ่าน ที่เขาแสดงออกมานั้น ว่าน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใสศรัทธา ว่าถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของไทยเราแค่ไหนเพียงไร ก่อนที่จะใช้ข้อมูลนั้นประกอบการพิจารณาตัดสินใจประพฤติปฏิบัติตนไปในแนวทางที่ให้เกิดความเจริญและสันติสุขในชีวิต จะได้ไม่เสียประโยชน์ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะได้ไม่เสียความรู้สึกที่ดีต่อพระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งประเสริฐสูงสุดของตนเอง เพราะหลงตามกระแสที่ผิดๆ ไปอย่างน่าเสียดาย
    เพราะขาดปัญญาอันเห็นชอบในทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงบุคคลจึงขาดสติ คือ ความระลึกได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่ากรรมที่จะกระทำหรือประพฤติปฏิบัตินั้น ดีหรือชั่ว ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษขณะเมื่อคิด-พูด-กระทำกรรมนั้นอยู่ ก็ไม่มีสัมปชัญญะ คือ ไม่มีความสำนึกได้ว่าผิดหรือถูก ควรหรือไม่ควร และแม้ภายหลังที่ได้คิด-พูด-ทำความผิดพลาดหรือไม่ถูกไม่ควรไปแล้ว ก็ยังไร้ความสำนึกว่าตนเองประพฤติถูกต้องหรือผิดพลาด ไม่ถูกไม่ควร จึงหลงมัวเมาในชีวิต ดำเนินชีวิตตนไปด้วยความประมาทขาดสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบนำตนไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อน ต่อๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุด
    เพราะเหตุนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาจึงไม่ประมาท มีความพากเพียร เรียนรู้และประกอบคุณความดี ละเว้นความชั่ว ชำระจิตใจให้ผ่องใส เจริญสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ให้รอบรู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป กล่าวคือ ให้รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ ให้รู้ธรรมที่เป็นแก่นสารสาระประโยชน์ และที่ไม่เป็นแก่นสารสาระประโยชน์ กล่าวคือ ให้รู้แนวทางการดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข อันควรดำเนิน และให้รู้ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามความเป็นจริงอันควรงดเว้น บัณฑิตผู้มีปัญญารอบรู้เช่นนั้น ย่อมดำเนินชีวิตตนและชักนำคนอื่นให้ดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญและสันติสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต จนถึงความพ้นทุกข์แต่ถ่ายเดียว
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ (สํ.ส.๑๕/๘๑๒/๓๐๖) ว่า
    <TABLE width="48%" align=center><TBODY><TR><TD width="12%"></TD><TD width="42%">“สติมโต สทา ภทฺทํ </TD><TD width="46%">สติมา สุขเมธติ </TD></TR><TR><TD></TD><TD>สติมโต สุเว เสยฺโย....”</TD><TD></TD></TR><TR><TD colSpan=3>ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีสติทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมีแก่คนมีสติ”</TD></TR></TBODY></TABLE>คุณเครื่องช่วยให้สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบเกิดและเจริญขึ้นก็คือ “ศรัทธา” ในบุคคลที่ควรศรัทธา คือ นับถือ เลื่อมใส ศรัทธาในบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดำเนินชีวิตไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบ และมีความศรัทธาในข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา คือ ข้อปฏิบัติที่ดี ที่ชอบ ได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น อันจะนำไปสู่ความเจริญและสันติสุข ไม่ไปในทางเสื่อม เป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อน นั่นเอง ผู้มีศรัทธาเห็นคุณค่าในความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ว่ามีคุณประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต เช่นนั้น จึงจะมี “วิริยะ” คือ ความเพียรพยายามประพฤติปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่ดีที่ชอบ มีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล เป็นต้นนั้น ด้วยธรรมปฏิบัตินี้ สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบย่อมเกิดและเจริญขึ้นได้ กล่าวคือ
    ย่อมเห็นโทษของความประพฤติชั่วหรือทุจริตทางกายได้แก่การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักฉ้อ การประกอบมิจฉาอาชีวะ การประพฤติผิดในกาม หรือความไม่สำรวมในกาม และอบายมุขต่างๆ เช่น เป็นนักเลงสุรา/ยาเสพติด เป็นนักเลงผู้หญิงหรือหญิงเป็นนักเลงผู้ชาย ติดเที่ยวกลางคืน คบคนชั่วหรือคนนำไปแต่ในทางให้ฉิบหาย เป็นมิตร เกียจคร้านในกิจการงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ เป็นต้น ย่อมเห็นโทษความประพฤติทุจริต ทางวาจา ได้แก่ วาจาหยาบคาย โป้ปดมดเท็จ ยุแยกให้แตกสามัคคี และวาจาเหลวไหลไร้สาระ ว่า เป็นข้อปฏิบัติหรือเป็นทางให้เกิดโทษ ความทุกข์เดือดร้อน ก็ย่อมละเว้นความประพฤติชั่ว คือกายทุจริตและวจีทุจริตเหล่านั้นเสีย และตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สมบูรณ์ อย่างน้อยเบญจศีล คือ ศีล ๕ อยู่เสมอ นี้ประการ ๑
    อีกประการ ๑ ย่อมเห็นคุณของความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กอปรด้วยสาระประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น อย่างน้อยเห็นคุณของ “เบญจกัลยาณธรรม” คือ ธรรมอันดีงาม ๕ อย่าง ซึ่งเป็นตรงกันข้ามกับความประพฤติผิดศีล ได้แก่ ความเป็นผู้มีใจเมตตากรุณาต่อกัน ๑ สัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพโดยชอบ และ/หรือ ทาน คือ การรู้จักเสียสละ แบ่งปัน การให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์สุขส่วนตน ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้รู้จักสำรวมในกาม และ/หรือเป็นผู้สันโดษในคู่ครองของตน ๑ สัจจะ คือ ความจริงใจต่อตนเองและต่อผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้ไม่ประมาทและความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในคุณความดี มีเบญจศีล เบญจธรรมเป็นต้นดังนี้ กาย วาจา และใจย่อมเป็นบุญเป็นกุศล และสงบยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับผลแห่งคุณความดีและผลแห่งการละเว้นความประพฤติชั่ว ย่อมปรากฏเป็นประสบการณ์ชีวิต ทำให้รู้ผิด-ชอบชั่ว-ดียิ่งขึ้น ยังให้สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือ ความรู้บาป-บุญ คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง เกิดและเจริญขึ้นเป็นลำดับ เป็นอุปการะแก่การเห็นคุณค่าและเจริญภาวนาสมาธิ และปัญญาอันเห็นชอบ ให้แก่กล้ายิ่งๆ ขึ้นไป คุณธรรมดังกล่าว คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา จึงชื่อว่า “อินทรีย์ ๕” หมายความว่า คุณธรรมที่เป็นใหญ่ ครอบงำเสียซึ่งอกุศลธรรมที่ตรงกันข้ามกัน กล่าวคือ คุณธรรมเครื่องครอบงำ ความไร้ศรัทธาในบุคคลและข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความฟุ้งซ่าน ๑ และความหลงงมงายไม่รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ ไม่รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ๑
    อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี้ เมื่อปฏิบัติได้แก่กล้ายิ่งขึ้นไปอีก ก็จะเป็นพลังกล้าแข็งมั่นคง มิให้อกุศลธรรม ๕ อย่าง ได้แก่ ความไม่ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย เข้าครอบงำจิตใจได้ จึงชื่อว่า พละ ๕
    พละ ๕ นี้เอง ที่เป็นอุปการะ คือคุณเครื่องยังให้ โพชฌงค์ องค์คุณแห่งความตรัสรู้ ๗ ประการ ก็คือ สติ ๑ ธัมมวิจยะ คือ การวิจัยธรรม ได้แก่ การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม ๑ วิริยะ ๑ ปีติ ๑ ปัสสัทธิ คือ ความสงบกาย สงบใจ ๑ สมาธิ ๑ และ อุเบกขา คือ ความวางเฉย ๑ ให้เกิดและเจริญขึ้น และเป็นอุปการะให้อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางมรรคผลนิพพาน ให้เกิดและเจริญขึ้น ได้ถึงความเจริญสันติสุขและถึงความพ้นทุกข์อันถาวรต่อไป
    ส่วนบุคคลผู้ประมาท ขาดสติสัมปชัญญะ คือ ขาดความสำนึกผิด-ชอบชั่ว-ดี ไม่มีศรัทธาในบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้แก่ พระพุทธเจ้าและพระสงฆเจ้า เป็นต้น และไม่มีศรัทธาในข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา คือพระสัทธรรมอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จึงไม่ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม กลายเป็นคนไม่มีศีลธรรมประจำใจ ได้แต่หลงมัวเมาในชีวิต ประพฤติผิดศีลผิดธรรมด้วยความโง่เขลาเบาปัญญาย่อมไม่สามารถดำเนินชีวิตไปสู่ความสำเร็จ และถึงความเจริญสันติสุขได้ ดุจดังผู้ขับรถที่ขาดพวงมาลัยหรือขับเรือที่ไม่มีหางเสือเครื่องควบคุมทิศทาง ย่อมไม่อาจนำรถหรือเรือไปสู่จุดหมายปลายทางได้ถูกต้อง และย่อมถึงความอับปางหรือเสียหายได้ ฉันใด ฉันนั้น
    เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้หวังความเจริญและสันติสุข จึงต้องไม่ประมาทหลงมัวเมาในชีวิต ต้องสนใจเอาใจใส่ในการศึกษาปฏิบัติธรรม ให้มีศีลมีธรรมประจำใจ และต้องมีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือมีสำนึกรู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง จึงจะสามารถดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญสันติสุข และถึงความพ้นทุกข์ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ในกาลทุกเมื่อ
    <HR>ก่อนยุติการบรรยายธรรมนี้ อาตมภาพขอเจริญพรสาธุชนผู้สนใจที่จะได้เทปคัสเซทบันทึกปาฐกถาธรรมนี้ และ/หรือตอนก่อนๆ ก็ติดต่อขอรับได้ที่ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    อนึ่งผู้สนใจศึกษา/ปฏิบัติธรรมศีล-สมาธิ-ปัญญาก็เข้ารับการอบรมได้ที่ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ได้ทุกวันอาทิตย์ โดยมีรถรับส่งฟรีจากปากทางเข้าวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) กรุงเทพฯ ไปยังวัดหลวงพ่อสดฯ ที่อำเภอดำเนินสะดวก รถออกเวลา ๐๗.๓๐ น. และรับกลับกรุงเทพฯ เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นประจำ
    สำหรับวันนี้ อาตมภาพขอยุติการปาฐกถาธรรมไว้แต่เพียงนี้ก่อน โปรดติดตามรับฟังตอนต่อไปในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนต่อไป ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร.
     
  12. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    เด็ก เข้าถึงสมาธิแบบต่างๆ ทำให้มีตามิพย์ หูทิพย์ อายตนะทิพย์ได้ง่าย
    ............... แต่ก็เสื่อมง่าย

    เด็ก มีสติ สัมปชัญญะอ่อน ถูกจูงรู้จูงญาณง่าย
    เมื่อเด็กยังไม่ได้ผ่านการอบรมฝึกฝนสติ-สัมปชัญญะให้กล้าแข็ง
    ด้วยการอบรมสติปัฏฐาน 4
    ถ้าใช้เด็กดูนอกลู่ นอกทางบ่อยเข้า......จิตจะค่อยๆออกศูนย์


    ถูกอกุศล ค่อยๆปนเป็นเข้ามา และธรรมกายที่บริสุทธิ์จะดับไป

    จะเหลือแต่ที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา.......พึงระวัง<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  13. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
  14. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    รับฟังการถ่ายทอดสด เสียงกิจกรรมบุญ ทุกวันอาทิตย์ ผ่านทางสถานีธรรมะออนไลน์ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    • รายการ Dhamma Talk
      วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๑ เวลา ๘.๐๐ น.
    • รายการ ธรรมะบรรยายและธรรมะปฏิบัติ
      วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๒ เวลา ๙.๐๐ น.
    • รายการ ปาฐกถาธรรม
      วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๓ (เดือนเว้นเดือน)
    • รายการ ธรรมะบรรยายและธรรมะปฏิบัติ
      วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ ๔ เวลา ๙.๐๐ น.
     
  15. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    คำอธิษฐานบุญบารมี

    [​IMG]







    <!-- google_ad_section_end -->


    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG]
    </FIELDSET>
     
  16. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...