เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ : หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 26 กรกฎาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ
    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

    [​IMG] ปุจฉา

    กราบเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องเจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ
    ท่านสอนให้เจริญควบคู่กันไป

    บางทีปัญญาวิมุตติไม่จำเป็นต้องเจริญกรรมฐานมาก
    ขอให้อธิบายสองกลุ่มนี้ การใช้ควบคู่กันไป และการใช้แต่ละอย่าง
    และความแตกต่างเกี่ยวกับ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
    ตลอดจนความหมายด้วยขอรับ

    [​IMG] วิสัชนา

    ผู้หลุดพ้นด้วย เจโตวิมุตติ หมายถึง ผู้บำเพ็ญสมาธิ
    ทำจิตให้เป็นสมาธิอย่างละเอียด
    แล้วสามารถตัดกระแสแห่งกิเลสให้ขาดสิ้นจากขันธสันดานได้
    โดยไม่ต้องพิจารณาหาเหตุผลใดใดทั้งสิ้น


    คือ หมายความว่า บำเพ็ญภาวนาสมาธิให้ชำนิชำนาญ
    จนทำจิตให้ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป
    แล้วกระแสของจิตจะตัดห่วงแห่งอาสวกิเลสไปจากจิตได้โดยง่าย
    อันนี้เป็นตามอปุนิสัยของบางท่านเท่านั้น

    ส่วน ปัญญาวิมุตติ นั้น ต้องอาศัยสติปัญญา
    พิจารณาเหตุผลให้รู้แจ้งเห็นจริงในพระไตรลักษณ์
    หรือพิจารณาเริ่มต้นมาตั้งแต่อารมณ์ขั้นสมถกรรมฐาน


    คือ พิจารณาอาการ ๓ ให้เห็นเป็นของปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก
    แล้วก็นำมาพิจารณาร่างกายให้เห็นธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    แล้วก็มาพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายทั้งปวง
    ให้เห็นในแง่พระไตรลักษณ์


    คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง
    ทุกขัง เป็น ความทุกข์
    อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

    จนกระทั่งจิตยอมรับสภาพความเป็นจริง
    แล้วก็ปล่อยวางตัวกระแสแห่งกิเลสให้ขาดไปเอง




    หมายเหตุ : ข้อวิสัชนาเรื่องนี้ บันทึกไว้เมื่อครั้งหลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    ยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระภาวนาพิศาลเถร

    ที่มา : ธรรมวิสัชนา โดย พระภาวนาพิศาลเถร
    (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน, พ.ศ. ๒๕๓๒, หน้า ๕๓-๕๔
    แสดงกระทู้ - เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ : หลวงพ่อพุธ ฐานิโย • ลานธรรมจักร

     
  2. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    ไม่เห็นด้วยที่ว่า
    "ทำจิตให้เป็นสมาธิอย่างละเอียด
    แล้วสามารถตัดกระแสแห่งกิเลสให้ขาดสิ้นจากขันธสันดานได้
    โดยไม่ต้องพิจารณาหาเหตุผลใดใดทั้งสิ้น "

    ไม่สงสัยในหลวงพ่อ มั่นใจว่าท่านเป็นพระสุปฏิปันโน แต่ข้อแความข้างบนอาจมีการเพิ่มเสริมแต่งโดยไม่ผ่านการตรวจทานของหลวงพ่อ

    ถ้าเป็นจริง ถามว่า อาฬารดาบส อุทกกดาบส ทำไมตัดกิเลสไม่ได้
    "สมาธิแม้นละเอียดปานใด ก็เป็นแค่ข่มกิเลสเท่านั้น ปัญญาต่างหากที่ทำลายกิเลสออกจากใจได้"

    พระพุทธองค์ เรียนสมาธิจากพระอาจารย์ทั้งสอง เป็นผู้เลิศในสมาธิแต่ก็ไม่ตรัสรู้ธรรม แต่ที่พระองค์ตรัสรู้ธรรมก็ด้วยการใช้ปัญญา
    ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาของผู้ปัญญา อธิบายทุกสรรพสิ่งที่ เกิด-ดับ ด้วยปัญญาทั้งสิ้น สิ่งใดที่อธิบายด้วยเหตุผลไม่ได้ ไม่ใช่ศาสนาพุทธ

    เจริญพร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  3. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    เรื่อง พระภิษุ ๓๐ รูป

    ทำสมาธิละเอียดจนเข้าใจผิดคิดว่าตนบรรลุธรรม ออกเดินทางจะไปรับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า
    พระองค์ทรงทราบให้พระอานนท์ไปดักรอ แล้วให้ไปพักในป่าช้าก่อน รุ่งเช้าค่อยไปเฝ้า เมื่อไปถึงป่าช้าพบ
    หญิงสาวนอนตายใหม่ๆ เปลื่อยเปล่าไม่มีเสื้อผ้าสักชิ้น ทำให้กิเลสที่คิดว่าสมาธิของตนเองตัดขาดไปแล้ว กำเริบขึ้น

    จึงได้คิด ได้สติว่า ที่ตนคิดว่าได้บรรลุธรรมนั้นไม่ถูกต้อง จึงพากันพิจารณาด้วยปัญญาตามที่พระองค์ได้ทรงสอนไว้ก่อนหน้านี้
    จึงได้บรรลุธรรมในที่สุดทั้ง ๓๐ รูป เมื่อรุ่งเช้าต่างคนก็ต่างกลับไม่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอรับคำพยากรณ์อีก
    พระองค์จึงเรียกพระภิกษุทั้ง ๓๐ รูปว่า เจโตวิมุตติ คือ หนักไปทางสมาธิแต่ท้ายสุดจะบรรลุธรรมก็ต้องใช้ปัญญาเหมือนกัน

    เจริญพร
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อนุโมทนา สาธุ
     
  5. nitnoi

    nitnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +153
    .. อย่าเชื่อเพราะเป็นอาจารย์ตน
    .. อย่าเชื่อตามตำรา ตามคำภีร์

    การแก้ไขคำสอนในตำราในคำภีร์ ในคำสอนของครูบาอาจารย์ ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ

    สมัยนี้ฆารวาสแต่งหนังสือแข่งพระไตรปิฏก แข่งพระสุปฏิปันโน
    มากมาย แถมได้รับความนิยมอีก
    ท่านไม่ให้งมงาย ท่านให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้มาก ให้รอบคอบก่อนเชื่อ

    ศาสนาพุทธ ศาสนาของผู้มีปัญญา
    ผู้มีปัญญา เป็นผู้สูงสุดในโลก
     
  6. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ขออนุญาติขยายความตามความคิดตน

    ที่ว่าสมาธิละเอียดคือสมาธิที่มีสติควบคู่ปัญญาย่อมดำเนินตาม
    โดยมีตัวรู้ รู้ทุกอย่างโดยไม่ต้องใช้โลกียปัญญาคิดนั่นคิดนี่
    มักจะเกิดนิมิตรูปเช่นภาพอศุภะโดยจิตตามรู้ไปเรื่อยๆ
    กำลังสมาธินำ รอสติปัญญาตามมาสมังคีตัดขาดขันธ์ห้า

    ส่วนการใช้สติปัญญานั้นหากสมาธิยังไม่ต่อเนื่องจนมีกำลัง
    จะเกิดความคิดแทรกแซงในจิตตลอดเวลา
    มักจะเกิดนิมิตนามคือเกิดการพิจารณาจิตพิจารณาธรรม
    กำลังสตินำ หรือบางท่านกำลังปัญญานำ
    พิจารณาสภาวะต่างๆ จนสมาธิมีกำลังมาสมังคีตัดขันธ์ห้า

    เมื่อขันธ์ห้าขาดเกิดญาณปัญญาเป็นโลกุตตระปัญญา

    6
     
  7. วิริยะ13

    วิริยะ13 สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,882
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +12,460
    เหตุผล คือ ปัญญา

    ถ้าบอกว่าไม่ต้องอาศัยเหตุผล ก็สามารถบรรลุธรรม
    สามารถตัดกิเลสได้ แล้วเอาอะไรมาสอนชาวบ้าน
    เอาอะไรมาอธิบายให้ ชาวบ้านเข้าใจและปฏิบัติตามศาสนา

    ท่านใดทำสมาธิ ทำความสงบมาก่อน แล้วปฏิบัติปัญญาภายหลัง ท่านเรียกว่า เจโตวิมุติ
    ท่านใดปฏิบัติสมาธิ แต่ยังไม่ถึงความสงบแล้วใช้ปัญญานำ ท่านเรียก ปัญญาวิมุตติ
    ทั้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ต้องใช้ทั้งสมาธิและปัญญาควบกันไปเสมอจึงจะสามารถเอาชนะกิเลสได้

    สมาธินั้นได้แต่กดกิเลสไว้เท่านั้น เหมือนหินทับหญ้า
    ปัญญาที่สมาธิหนุน คือ วิปัสสนาหรือภาวนามยปัญญา จึงสามารถดับกิเลสตัณหาได้

    หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย นั้นท่านเป็นพระอริยะสุปฏิปันโนแน่นอน

    สงสัยที่ว่าสมาธิอย่างละเอียด สามารถตัดกระแสกิเลสให้ขาดได้โดยไม่ต้องพิจารณาเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น

    จึงไม่น่าจะถูกต้อง ใครเพิ่มเติมเข้ามาหรือไม่?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กรกฎาคม 2010
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ขอโอกาสครับ

    ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ที่พระสุปฏิปันโนในอริยะวินัยของ
    พุทธศาสนากล่าวถึงให้แยบคาย

    คำว่า "สมาธิ" ที่ปรากฏในคำถามนั้น เป็น ความ หรือ สาร ที่ปรากฏนำ
    หน้าการสนทนาธรรม จึงต้องอนุโลมใช้คำว่า "สมาธิ" แต่โดยหลักอริยะวินัย
    เฉพาะในพระพุทธศาสนานั้น จะหมายถึง "สัมมาสมาธิ" ซึ่งเป็น สมาธิที่ละเอียด
    และแยบคายกว่า "สมาธิในลัทธิวินัยอื่นๆ"

    สัมมาสมาธิของพระพุทธศาสนานั้นจะมีความคล่องตัวสูง และอยู่เหนือกว่า สมาธิ
    ในแบบอื่นๆ ถ้าเทียบกันแบบที่นิยมเทียบกัน ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ "สัญญาเวทยิตนิโรธน"
    ซึ่งถือว่าอยู่เหนือกว่า "เนวสัญญานาสัญญาฯ" หรือกล่าวในนัยของการเข้าสมาธิ
    "สัมมาสมาธิ" จะเป็น สมาธิที่ผลิกไปเป็นสมาธิชนิดไหนก็ได้ แต่สมาธิที่ผลิก
    ไปเหล่านั้นจะไม่เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" เพราะเป็นการพลัดตกไปจาก "สัมมาสมาธิ"
    การผลิกไปได้แล้วใช้หลักตรรกศาสตร์ว่า สมาธิชนิดอื่นๆเป็นซับเซตของสัมมาสมาธิ
    ก็จะถือว่าเข้าใจผิดอยู่

    เมื่อเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ของสงฆ์ในอริยวินัยของพระพุทธศาสนายกกล่าว
    ขึ้นโดยเราไม่โดนตรรกศาสตาร์เล่นงานทิฏฐิให้เห็นเป็นอื่น ก็จะเข้าใจได้
    ว่า ทำไม "สัมมาสมาธิ" จึงเป็นกำลังประหานกิเลสได้โดยตรง และจะเข้า
    ใจด้วยว่าทำไม พราหมณ์สมณะผู้เจริญในอริยะวินัยอื่นๆจึงไม่สมามารถตัด
    กิเลสได้

    นัยยะปฏิบัติ จะแบ่งบุคคลเป็นสอง

    คนที่มีกำลังสมาธิลำหน้า และ คนที่มีกำลังปัญญาล้ำหน้า

    คำว่า ล้ำหน้าคือ มันกำเกินกันอยู่ละหว่าง ปัญญาพละ กับ สมาธิพละ

    ส่วน สติพละจะเป็นองค์ธรรมที่ทำให้ ปัญญาพละ และ สมาธิพละ ไม่
    ก้ำเกินกัน

    พวกที่มี สมาธิพละมาก เมื่อปฏิบัติเพื่อเข้าสู่สัมมาสมาธิ ด้วยสติพละ ก็เหมือน
    คนที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูง องค์ธรรมที่เป็นสภาพฌาณปรากฏเป็นสภาพธรรมให้
    แลอยู่เพื่อระลึกโดยสติ หากแลอยู่เห็นอยู่จนเกิดสภาวะพอดี สติทันเห็นไตรลักษณ์
    ในองค์ธรรมดังกล่าว ก็เหมือนคนแตะเบรคแล้วหยุดที่ สัมมาสมาธิ พอดี จึง
    ไม่จำเป็นต้องก้ำเกินมาทางปัญญา ซึ่งบุคคลที่สามารถแลเห็นสภาพฌาณเป็น
    สภาวะธรรมที่ใช้เจริญสติได้ มีเพียงเล็กน้อย

    ส่วนใหญ่จะเป็นประเภททำเท่าไหร่ก็ออกมาฝุ้ง คุยโว ฝุ้งในธรรม ปัญญาพละ
    ก้ำเกินเสียเป็นส่วนมาก บุคคลส่วนใหญ่จึงเป็นปัญญาวิมุตติ คือ ต้องเบรค
    การคิดค้น ค้นคว้า ไคว่คว้า วิจัย แสวงหา ที่จะไปที่จะมาที่จะอยู่ที่จะเป็น
    ซึ่งจะปรากฏเป็น นิมิตก็ดี เป็นอนิมิตก็ดี ล้วนเป็นองค์ธรรมที่เป็นปัญญาที่เป็น
    ส่วนก้ำเกินทั้งหมด ก็ให้เอามาอาศัยระลึกเพื่อเจริญสติ เพื่อกลับเข้าสู่ สัมมาสมาธิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  9. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    เป็นไปได้ครับ

    ก็มีการถกเถียงกันมามาก
    ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

    เพิ่มเติม
     
  10. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    อนุโมทนา กับพี่เต้าเจี้ยว ค่ะ
    กล่าวได้ถูกต้อง ลองไปฟัง " เรื่องศีลคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์"
    หลวงพ่อได้กล่าวเอาไว้
     
  11. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ทำให้นึกถึง กายา-เวทนา สติปัฏฐาน
    กำหนดตามลงไปให้ได้ เอาให้ระเบิดไปเลยก็ได้
    ในยถาภูตญาณทัสนะ การรู้เห็นสภาพธรรมตามจริง
    คือพ้นไปแล้วจากเหตุผลและความคิดทั้งปวง

    แต่ส่วนใหญ่มีคิดตามนะ
    ขนาดไม่คิดน่ะ ตามรู้อย่างเดียว(สติ) ขอบอกว่ายากสุดๆ

    6
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ความเห็นส่วนตัวผมบ้างนะ

    ปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึง การหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง หรือการบรรลุอรหันต์ผลนั่นเอง

    ปัญญาวิมุตติ ก็ไล่รูปนาม เอาปัญญาส่องเห็นเหตุ เห็นผลไป ละกิเลสกันไปตามชั้นตามฐานะ จะถึงหลุดพ้น ตรงนี้คงพอจะเข้าใจ

    ส่วนเจโตวิมุตติ ที่หลวงพ่อกล่าวไม่ผิดหรอก ถ้ามีอุปาทิ มีกิเลสเบาบางแล้ว ก็สามารถเอากำลังสมาธิตัดให้ขาดไปเลยได้ เพราะท่านเหล่านั้น ได้สัมมาทิฐิแล้ว ข้ามฐานะ ละความไม่รู้ ละกิเลสได้เป็นบางส่วนแล้ว เห็นนิโรธแล้ว เป็นพระอริยะฐานะใดฐานะหนึ่งแล้ว เพียงแต่ยังตัดกิเลสไม่ขาดหมด ตัวอย่าง พระอนาคามีอย่างนี้ อยู่บนสุทธาวาสอย่างนี้

    แต่ถ้ายังปรุงแต่งมาก เป็นปุถุชนผู้มืดบอด ลำพังจะทำสมาธิอย่างเดียว ให้ตัดขาดจากตัณหาทั้งหลาย ลุอรหันต์เลย มันทำไม่ได้หรอก

    อนุโมทนา สาธุ กับหลวงพ่อพุธ อีกครั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    บทที่ว่า "กายเป็นคูหา มีสัญญาหมาย และมีวิญญาณครอง"

    อันนี้ หากตรงกายเป็นคูหา ผลิกไปเป็น จตุวัตรธาตุกรรมฐาน
    แล้วเพิกสัญญาหมาย(พ้นสักกายทิฏฐิแล้วแลอยู่-พ้นนะ ไม่ใช่ข้าม)
    ก็จะเห็นว่า สรรพสิ่งแลกเปลี่ยนสภาพธาตุโดยวิญญานัง หากสัญญา
    ไม่แทรกจนเป็นการคิดค้น วิจัย ก็จะเหวี่ยงๆ อยู่อย่างนั้น ระลึกรู้ไป
    เรื่อยๆ ก็มันส์ดี พอมันดับตอนกลับมาจะเป็นจังหวะเห็นชัด จะผลิก
    ไปทางไหนก็แล้วแต่วาสนา บารมี

    "คะเต คะเต ปารคเต ปารสังคเตะ โพธิสวาหา"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  14. dokrakthai

    dokrakthai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    ขอโมทนา :cool:

    ศาสนาพุทธ ศาสนาของเหตุผล ขาดเหตุผลก็คือขาดปัญญา
    เมื่อขาดเหตุผลก็คือไม่มีปัญญา ศีลสมาธิปัญญา ก็เหลือ
    ศีลสมาธิ ไม่มีปัญญาบรรลุธรรมได้อย่างไร ก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธแหละ

    :cool:
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอ อนุญาติสนทนาครับ


    "ทำจิตให้เป็นสมาธิอย่างละเอียด
    แล้วสามารถตัดกระแสแห่งกิเลสให้ขาดสิ้นจากขันธสันดานได้
    โดยไม่ต้องพิจารณาหาเหตุผลใดใดทั้งสิ้น "

    จาก ข้อบทความนี้ ผมเข้าใจว่า

    พระสาวกที่ท่านกล่าวถึง คำว่า สมาธินั้น หมายเอาถึง สัมมาสมาธิ

    คำว่า สมาธิ ที่หลวงปู่จะกล่าว บ่อยๆ ท่านจะแยกให้ฟัง 2 ลักษณะ

    1. สมาธิ ที่ นิ่ง สงบในความนิ่ง อันนี้เรียกว่า อารัมณูปนิชฌาน หรือจะเรียกอีกอย่าง ว่าฌานฤษี หรือจะเรียกว่า สมาธิในสมถะก็ได้

    2. สมาธิ ที่ นิ่ง ในความไม่สงบหรือ นิ่งในความฟุ้ง ฟุ้งแต่กลับ สงบ ไม่หวั่นไหว แม้จะ โดนกระทบทั้ง ดีและไม่ดี ว่าง่ายๆก็ จิตที่โดนกระทบด้วยโลกธรรม 8 ย่อมไม่หวั่นไหว ดุจแผ่นดินที่รองรับทั้งน้ำดีและน้ำเสีย
    ดุจ ใบบัวที่ น้ำสามารถกลิ้งไปมาโดยใบไม่เปียก
    จะเรียกโดยฌาน ตัวนี้จะเรียกว่า ลักขนูปนิชฌาน
    หรือจะเรียกว่าสมาธิในวิปัสนา

    ผู้ที่ทำ สมาธิแบบอารัมณูปนิชฌานมา หากไม่ได้สดับจากพระพุทธเจ้า หรือ พระสาวก จะหาทางออกไม่เห็น จะคงทำแต่ สมาธิ ที่สงบนิ่งๆละเอียดๆ เข้าไปเรื่อยๆ แต่เมื่อได้สดับ จากพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก ก็จะพลิกมุมเข้าใจในทันที และกำลังจิตที่ได้ใน การทำสมาธิแบบอารัมณูปนิชฌานนี้ จะเป็นกำลังให้เดิน ลักขณูปนิชฌาน ตัวนี้ได้ง่าย


    "โดยไม่ต้องพิจารณาหาเหตุผลใดใดทั้งสิ้น"

    ส่วนตรงประโยคนี้ ผมเข้าใจว่า

    คำว่าพิจารณา นี้ ต้องมาดูว่าคือการทำอย่างไร

    สำหรับ การพิจารณา นี้ หลวงปู่จะ ให้ความหมายว่า การกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นดับไป จึงจะเรียกว่าการพิจารณา

    แต่สำหรับ การพิจารณา หาก บางท่าน เข้าใจ ว่าเป็นการ ค้นคิด หาคำตอบ ด้วยการจงใจคิดเอา อยู่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตรง นี้ จะเป็นการ ทำสมถะ ด้วยการคิดเอา ซึ่ง จะหมายเอาในการอบรมจิตให้มีความความคิดที่ออกมาเอง กรณีนี้จะใช้ สำหรับบุคคลที่ ทำสมาธิ แล้ว จิตเอาแต่นิ่งๆ ทำมานานๆแล้วก้เอาแต่นิ่งๆ ถ้ากรณีนี้ ต้องวางอุบายให้จิตมันคิด หลวงปู่จะ แนะนำให้มา พิจารณา กายคตาสติ คำว่าพิจารณา ในวลีนี้จึงเป็นการ ค้นคิด เกี่ยวกับกายคตาสติ กลับไปกลับมา เพื่อให้จิต มีความคิดที่ออกมาเอง แล้วจะใช้คำว่า ทำสติตามรู้ความคิดที่เกิดขึ้นมานั้นอีกที หากมาถึงตรงจุดนี้ จึ่งเริ่มเป็นการเดินในส่วน ของ ลักขณูปนิชฌาน หรือจะเรียกว่า สมาธิในอริยะมรรคก็ได้


    คราวนี้มาดูในรูปประโยคที่ว่า
    "โดยไม่ต้องพิจารณาหาเหตุผลใดใดทั้งสิ้น"

    การพิจารณา ในส่วนนี้ จึงเป็นการ ตามรู้จิต ที่ละเอียดขึ้น ความคิดที่มันคิดขึ้นมาเองโดยที่ไม่ตั้งใจคิด จะบังเกิดขึ้นมา จากการอบรม
    คำว่าพิจารณา ในวลีนี้ จึงเป็นเพียง การรู้เฉยๆ
    ทำสติตามรู้เฉยๆ
    ในสิ่งที่เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป จนมันอบรมปัญญาในตัวเองของมัน
    จนรอบแก่เรื่อยๆ จิตจะปฏิวัติ ของมันเองโดยอัตโนมัติเรื่อยๆ จะมีปัญญาที่แก่รอบขึ้นเรื่อยๆ ไม่ต้องกลัวว่า มันจะไม่หาเหตุผล มันจะทำหน้าที่ และดำเนินไปเองโดยอัตโนมัติ

    ....
     
  16. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    มีพวกเก่งกว่าพระด้วยแฮะ
    อิอิ
     
  17. จื่อหลิง

    จื่อหลิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +698
    เห็นด้วย กับคุณเล่าปัง ครับ
     
  18. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ก่อนอื่นขอแสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนเพื่อความพ้นทุกข์
    และอนุโมทนากับเจ้าของกระทู้และผู้รู้ทั้งหลาย
    ตามความเห็นของผม
    ผู้อับปัญญา ย่อมกระทำตนให้ว่ายวนอยู่ในกิเลส อับปัญญา แม้เจริญสมาธิให้จิตละ้อียดเป็นอย่างยิ่งแล้วก็มักจะเสื่อมลง ด้วยอำนาจของกิเลส
    ผู้มีปัญญา ย่อมกระทำตนให้พ้นจากกิเลส ด้วยปัญญที่สั่งสมมาดีแล้ว แม้เจริญสมาธิให้ได้ละเอียดเป็นอย่างยิ่งแล้ว ก็มักจะตั้งอยู่ได้ด้วยปัญญานั้น
    เจโตวิมุตติ ผู้สามารถทำจิตให้ละเอียด แล้วบำเพ็ญภาวนาสมาธิให้ชำนิชำนาญ
    จนทำจิตให้ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป
    แล้วกระแสของจิตจะตัดห่วงแห่งอาสวกิเลสไปจากจิตได้โดยง่าย
    นั้น
    ย่อมสั่งสมปัญญาอันเป็นเหตุ ที่ตั้งแห่งสมาธิอันละเอียดนั้นไว้บริบูรณ์อยู่ก่อนแล้ว จึงตัดกิเลสได้โดยง่าย
    หรือแปลสั้นๆว่า ท่านต้องเดินปัญญามาก่อนแล้ว ใจท่านอยู่ห่างจากอาสวกิเลสมากแล้ว รอวันตัดอาสวกิเลส อย่างเด็ดขาดเท่านั้นเอง
    ท่านเดินมานานแล้ว แต่เราไม่รู้ไม่เห็นเรานึกว่า ท่านเริ่มแล้วถึงเลย เราจึงไม่เชื่อ
    เหตุผลอย่างอื่นก็เห็นด้วยกับหลายท่านที่ได้กล่าวไปแล้วครับ
    อนุโมทนากับกุศลจิตของทุกท่านครับ

     
  19. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    หลวงปู่ก็พูดชัดเจนนี่ครับไม่เห็นจะน่าสับสนตรงไหน
    ท่านไม่ต้องพูดถึงว่ามีสมาธิแล้วต้องเดินปัญญา
    ก็รู้กันอยู่แล้วครับ ว่าปัญญาฆ่ากิเลส
    จะหลุดพ้นได้ก็ด้วยปัญญา ๆ
    บางทีการฟังเทศน์ครูบาอาจารย์จากเทป
    ควรพิจารณาให้แยบคายครับ
    ไม่เช่นนั้นจะเป็นการประมาทครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมได้ครับ

    กรณีเช่นนี้เป็นได้กับผู้เป็นขิปปาภิญญาครับ
    ตัดด้วยปัญญาขณะเดียวไม่ต้องพิจารณามาก
    ตอนตัดกิเลสอวิชชาขาดสบั้นออกจากใจ
    ตอนนั้นเป็นปัญญาขณะเดียว ตัดขาดได้ในทันทีครับ....

    ปัญญาไม่ได้หมายถึงการพิจารณาอย่างเดียว
    แต่หลักแท้ของปัญญา
    หมายถึง รู้ชัด
    เมื่อรู้ชัดในธรรมทั้งปวง
    ก็ก้าวสู่วิมุตติ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2010
  20. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    เจโตวิมุติ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้มีนิสัยเป็นเจโตวิมุต ในอดีตชาติที่ผ่านมาเคยเป็นดาบสฤาษีมาก่อนได้บำเพ็ญสมาธิ มีฌาน อภิญญามาจนเป็นนิสัยไม่เคยฝึกสติปัญญาในการพิจารณาในสัจจธรรมแต่อย่างใดมีแต่ตั้งใจทำสมาธิ ทำฌาน อภิญญา มาตลอด เมื่อท่านเหล่านั้นได้มาเกิดในยุคปัจจุบันการปฏิบัติก็จะมีนิสัยพอใจในการทำสมาธิความสงบ มีฌานมีอภิญญาเกิดขึ้นตามนิสัยเดิม เมื่อฌานอภิญญาเกิดขึ้นแล้วก็จะเป็นทางตัน ปฏิบัติวกวนไปมาอยู่ในสมาธิวกวนไปมาอยู่กับฌานอภิญญาเท่านั้นจะไม่รู้จักทางออกเพื่อความหลุดพ้นเข้าสู่กระแสธรรมได้เลยจะมีการหลงติดอยู่อย่างนี้ไปจนตลอดวันตาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้มีนิสัยในทางเจโตวิมุติ การปฏิบัติให้ถึงมรรคผลนิพพานได้ท่านเหล่านี้ต้องไปเกิดในยุคสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์ชีพอยู่จึงจะบรรลุธรรมในมรรคผลนิพพานได้เพราะท่านเหล่านี้ยังติดอยู่กับความสงบติดอยู่ในฌานจะมาฝึกสอนให้ใช้สติปัญญาพิจารณาในสัจจธรรมตามความเป็นจริงในทีเดียวไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงมีความรอบรู้ในวิธีการสอนท่านเหล่านี้เป็นอย่างดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระองค์จะสอนให้ทำสมาธิความสงบ ให้ทำฌานแล้วจะทำต่อไปอีกไม่ได้จึงเรียกว่าเป็นทางตัน เมื่อถึงทางตัน ก็จะมีการวกวนไปมาก็จะเริ่มตั้งต้นในการทำฌานใหม่ เหมือนกับตาบอดพายเรือในสระ ในจุดนี้เองพระพุทธเจ้าจึงจะทรมานให้กลับใจได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จะตรัสในเชิงตำหนิให้ข้อคิดเพื่อให้ท่านเหล่านั้นมีความสำนึกว่าการทำสมาธิความสงบ การหลงติดอยู่ในฌาน จะเกิดความสุขทางใจได้ไม่นานก็จะเสื่อมไป
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วิธีการอย่างนี้ เราตถาคตได้ทำมาก่อนแล้วไม่ใช่แนวทางที่จะละ อาสวกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจได้มิใช่แนวทางที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในเมื่อตายไป ก็จะได้เป็นพรหมมีอายุยืนยาวเมื่อเสื่อมจากพรหมก็จะได้มาเกิดในโลกต่อไปหลงใหลอยู่ในโลกนี้โดยไม่มีจุดหมายปลายทางจะลอยไปตามกระแสโลกไปไม่มีที่สิ้นสุดลงได้เมื่อท่านเหล่านั้นได้ฟังคำตำหนิอย่างนี้ จึงเกิดความสำนึกตัวขึ้นมาจึงยอมปฏิบัติตามในอุบายวิธีของพระพุทธเจ้าได้อบรมสั่งสอนพระพุทธองค์ทรงให้อุบายในการปฏิบัติต่อไปดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การทำสมาธิมีความสงบแล้ว ให้จิตอยู่ในความสงบนั้น อีกไม่นานก็จะมีการถอนตัวออกมาในขณะที่จิตถอนตัว ให้มีสติกำหนดเอาไว้อย่าให้ถอนออกมาหมดให้กำหนดจิตอยู่ในสมาธิความตั้งใจมั่นที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นโทษในการทำฌานว่า มิใช่เป็นแนวทางที่จะละอาสวกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การทำสมาธิ การหลงติดอยู่ในฌาน เหมือนกับก้อนหินทับหญ้าเอาไว้เมื่อยกหินออกที่นั้นไป หญ้าก็จะเกิดขึ้นมาในที่นั้นนี้ฉันใดจิตที่หลงติดอยู่ในความสงบของสมาธิ หลงอยู่ในฌานก็เป็นเพียงทับกิเลสตัณหาเอาไว้ฉันนั้น เมื่อสมาธิความสงบและฌานเสื่อมไปกิเลสน้อยใหญ่ก็จะเกิดขึ้นมาที่ใจตามเดิม<O:p</O:p

    ท่านเหล่านั้นก็จะใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นในความเป็นจริงในสัจจะธรรม ในธาตุสี่ขันธ์ห้า ให้เป็นไปใน อนิจจังทุกขัง อนัตตา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พิจารณาให้รู้เห็นว่าร่างกายนี้ มีแต่สิ่งสกปรกโสโครกอีกไม่นานก็จะลงทับถมในแผ่นดิน เน่าเปื่อยผุพังกลายเป็นธาตุเดิมของโลกต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อท่านเหล่านั้นใช้ปัญญาพิจารณาอยู่อย่างนี้บ่อย ๆก็จะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย คลายออกจากความกำหนัดยินดีจิตก็จะหลุดพ้นเข้าสู่แห่งวิมุตินิพพาน จึงให้นามพระอรหันต์จำพวกนี้ว่า เจโตวิมุติ คือ ผู้ที่ได้ทำสมาธิความสงบและทำฌานมาก่อน แล้วมาพิจารณาในสัจจะธรรมภายหลัง

    เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วจะเล่นอยู่ในฌานเล่นอยู่กับอภิญญาก็ไม่มีปัญหาอะไร<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คัดลอกจาก หนังสือเรื่อง ปัญญา ๓<O:p</O:p
    โดยหลวงพ่อทูล ขิปฺปปฺญฺโญ<O:p</O:p

    <O:p
    ไม่มีเจตนาให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างคำสอนของครูบาอาจารย์ แต่ขอให้ท่านทั้งหลายใช้ปัญญา ให้พิจารณาไตร่ตรองให้มากๆ เรียกว่าใช้ความคิดก่อนตัดสินใจ :cool:

    เจริญพร
    </O:p<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...