พุทธบารมีฯ เหตุ๑ กรณีหลวงพ่อฯลาพุทธภูมิ และกิจหลังจากนั้นฯ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย sravnane, 16 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    :cool: ขอโมทนาบุญอย่างสูง ของคุณ jaggrit ในด้านธรรมทานนะครับ
    ข้าพเจ้าขอโมทนาบุญและน้อมถวายบุญนี้เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อนิพพานชาตินี้ด้วย และขอยกบุญทั้งหมดที่ทำมาให้คุณ jaggrit ณ ครับ ขอพระศาสนาเจริญรุ่งเรืองตลอดกาล และขอให้คุณ jaggrit เป็นกำลังขอพระศาสนาตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย และสงเคราะห์ให้พ่อแม่และญาติเพื่อนๆให้เข้าถึงธรรม ณ ครับ เป็นกำลังใจให้ครับ จุ๊บ ๆ 555

    (f) (b-love2u) (rose) (bb-flower (rose) (b-love2u)
     
  2. sravnane

    sravnane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    695
    ค่าพลัง:
    +17,914
    บางส่วนของกิจหลังลาพุทธภูมิฯ (1)

    0.jpg 1.jpg 2.jpg
    บวงสรวงฉลองการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ภูเขาทอง จ.อยุธยา ถวายเป็นพุทธบูชาฯ หลังจากสวดมนต์ทำสมาธิอุทิศส่วนกุศลแล้ว ในเวลากลับได้ทำความสะอาดพระเจดีย์อีก1รอบ ทำให้ได้ระลึกถึงความเสื่อมแห่งพระศาสนาในกาลข้างหน้าก็พากันรู้สึกสลดใจและเข้าใจในความเป็นธรรมดาของโลกมากขึ้น
    แล้วพากันระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่พึงอันประเสริฐสุด พร้อมอธิษฐานว่า"กาลเมื่อใดที่พระศาสนาได้เสื่อมลง หากพระบรมธาตุเจ้านี้ได้ถูกผู้มีจิตคิดร้ายรุกราน ก็ขอให้ส่วนที่ประดิษฐานพระบรมธาตุนี้จงเสด็จเลื่อนลอยขึ้นสู่นภากาศ ให้ปลอดภัยจากหมู่มารทั้งปวง ครั้นพระศรีอาริยเมตไตรยทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก สถานที่นี้เป็นที่จำเริญแห่งพระศาสนา ก็ขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จเลื่อนลอยลงประดิษฐานยังที่เดิม ให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองตั้งมั่นแห่งพระพุทธศาสนาตลอดไป" ครั้นทำอธิษฐานจบก็มีพระบรมธาตุเสด็จเข้าพระเจดีย์เจ้าเป็นอัศจรรย์ กราบขอขมาพระรัตนตรัยและน้อมถวายบุญทั้งหมดเป็นพุทธบูชาฯ
    :cool: :cool: :cool: :cool: :cool: :cool: :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2006
  3. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    (i) ขอโมทนาบุญเป็นคนแรกนะครับ น้อมถวายเป็นพุทธบูชาฯ
    (i) ภาพพระธาตุเสด็จสวยมาก
    (i) ขอคำอธิฐานของคณะพระธาตุแก้วมณีโชติจงเป็นผลสำเร็จทุกประการ
    ขอพระศาสนาเจริญรุ่งเรืองตลอดกาล(i) (verygood)
     
  4. tumromeo

    tumromeo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +1,077
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค

    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน
    สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานังพุทโธ ภะคะวาติ

    ผู้มีความอดทน ชื่อว่านำประโยชน์มาใหทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
    ผู้มีความอดทน
    ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และไปนิพพาน


    [​IMG]

    [​IMG]ข้าพเจ้าขอโมทนาบุญทั้งหมด สาธุ สาธุ....................[​IMG]

    เชิญอ่านเรื่องราวของ พระอนาคตวงศ์ ได้ที่
    http://www.84000.org/anakot/index.html

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2006
  5. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    :cool: ถวายปัจจัยทำบุญทุกอย่างกับพระฯ ร่วมสร้างศาลาการเปรียญและซุ้มประตู ณ วัดดอยนางก้อม ต.งิ้วด่อน อ.เมือง จ.สกลนคร

    (f)น้อมถวายบุญทั้งหมดนี้เป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และเพื่อนิพพานในชาติปัจจุบันนี้..(f)

    (one-eye) (b-love2u) :love: (bb-flower :love: (b-love2u) (one-eye) ​
     
  6. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    ตุงที่จะถวายพระหัต ได้แล้วสวยมากๆเพราะไปเชียงใหม่มา ได้ตุงทองมา1คู่คุณชิตเป็นเจ้าภาพซื้อตุงในครั้งนี้ กราบโมทนาเป็นอย่างสูง สาธุๆๆ แต่ตุงใหญ่คงต้องใช่เวลาอีกหน่อยเพราะยาวเท่าตึก5ชั้นได้มั้งครับ คงต้องใช่เวลาหน่อยคงจะออกมาสวยแน่ๆ สาธุ
     
  7. jaggrit

    jaggrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +3,793
    ทศชาติชาดก

    พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    น้อมกราบขอขมาองค์พระประทีปแก้วมณีโชติ ๓ ประการ ขอน้อมอารธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์อันมีสมเด็จพระองค์ปฐมเป็นต้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหมด พรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบ ๆ กันมา อันมีหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นที่สุด ข้าพระพุทธเจ้าขอพระพุทธานุญาติ นำเรื่องราวการบำเพ็ญเพียรของสมเด็จพระองค์ปัจจุบันเพื่อก้าวสู่ทศบารมีเต็ม ๑๐ ประการ เพื่อเป็นธรรมทานแก่ท่านผู้เจริญทั้งหลายจะได้สดับตรับฟังและร่วมโมทนาบุญกุศลอันไม่มีประมาณ เหล่านี้


    พระเจ้าสิบชาติ

    :cool: พระชาติที่ ๓ สุวรรณสามชาดก

    [​IMG]
    รั้งหนึ่ง มีสหายสองคนรักใคร่กันมาก ต่างก็ตั้งบ้านเรือน อยู่ใกล้เคียงกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ทั้งสองคนตั้งใจว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งมีลูกสาว อีกฝ่ายหนึ่งมีลูกชาย ก็จะให้แต่งงาน เพื่อครอบครัวทั้งสองฝ่ายจะได้ ผูกพันใกล้ชิดกันไม่มีเสื่อมคลาย อยู่ต่อมาฝ่ายหนึ่งก็มีลูกชายชื่อว่า ทุกูลกุมาร อีกฝ่ายหนึ่งมีลูกสาว ชื่อว่า ปาริกากุมารี เด็กทั้งสองมีรูป ร่างหน่าตางดงาม สติปัญญาฉลาดเฉลียว และมีจิตใจมั่นอยู่ในศีล เมื่อเติบโตขึ้น พ่อแม่ของทั้งสองก็ตกลงจะทำตามที่เคย ตั้งใจไว้ คือให้ลูกของทั้งสองบ้านได้แต่งงานกัน แต่ทั้งทุกูลกุมารและปาริกากุมารี ต่างบอกกับพ่อแม่ ของตนว่า ไม่ต้องการแต่งงานกัน แม้จะรู้ดีว่า ฝ่ายหนึ่ง เป็นคนดี รูปร่างหน้าตางดงาม และเป็นเพื่อนสนิท มาตั้งแต่เด็กก็ตาม ในที่สุด พ่อแม่ของทั้งสองก็จัดการแต่งงานให้จนได้ แต่แม้ว่าทุกูลและปาริกาจะแต่งงานกันแล้ว ต่างยังคงประพฤติ ปฏิบัติเสมือนเป็นเพื่อนกันตลอดมา ไม่เคยประพฤติต่อกัน ฉันสามีภรรยา ยิ่งไปกว่านั้นทั้ง สองคนมีความปราถนาตรงกัน คือประสงค์จะออกบวช ไม่อยากดำเนินชีวิตอย่างชาวบ้าน ธรรมดาซึ่ง จะต้องพัวพันอยู่กับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เพื่อเป็นอาหารบ้าง เพื่อป้องกันตัวเองบ้าง
    เมื่อได้อ้อนวอนพ่อแม่ทั้งสองบ้านอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุด ทั้งสองก็ได้รับคำอนุญาตให้บวชได้ จึงพากัน เดินทางไปสู่ป่าใหญ่ และอธิษฐานออกบวช นุ่งห่มผ้าย้อม เปลือกไม้และไว้มวยผมอย่างดาบส บำเพ็ญ ธรรมอยู่ ณ ศาลาในป่านั้น ด้วยความเมตตาอันมั่นคง ของทั้งสองคน บรรดาสิงสาราสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ต่างก็มีเมตตาจิตต่อกัน ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน ต่างหากินอยู่ด้วยความสุขสำราญ ต่อมาวันหนึ่ง พระอินทร์เล็งเห็นอันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ ทุกูลดาบสและปาริกาดาบสินี จึงตรัสบอกแก่ ดาบสว่า "ข้าพเจ้าเล็งเห็นว่า อันตรายจะเกิดขึ้นแก่ท่าน ขอให้ท่านจงมีบุตร เพื่อเป็น ผู้ช่วยเหลือ ปรนนิบัติในยามยากลำบากเถิด" ทุกูลดาบสจึงถามว่า "อาตมาบำเพ็ญพรตเพื่อความพ้นทุกข์ อาตมาจะมีบุตรได้อย่างไร อาตมาไม่ต้องการดำเนินชีวิต อย่างชาวโลก ที่จะทำให้ต้องวนเวียนอยู่ในความทุกข์อีก" พระอินทร์ตรัสว่า "ท่านไม่จำเป็นต้องประพฤติปฏิบัติ อย่างชาวโลก แต่ท่านจำเป็นต้องมีบุตรไว้ช่วย เหลือปรนนิบัติ ขอให้เชื่อข้าพเจ้าเถิด ท่านเพียงแต่เอามือลูบท้องนางปาริกา ดาบสินี นางก็จะตั้งครรภ์ ลูกในครรภ์นางจะได้เป็นผู้ดูแล ท่านทั้งสองต่อไป"
    เมื่อพระอินทร์ตรัสบอกดังนั้น ทุกูลดาบสจึงทำตาม ต่อมานางปาริกาก็ตั้งครรภ์ ครั้นครบกำหนด ก็คลอดบุตร มีผิวพรรณงดงามราวทองคำบริสุทธิ์ จึงได้ชื่อว่า "สุวรรณสาม" ปาริกาดาบสสินี เลี้ยงดู สุวรรณสามจนเติบใหญ่อยู่ในป่านั้น มีบรรดาสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิดแวดล้อมเป็นเพื่อนเล่น ตั้งแต่ยังเป็นเด็กอยู่ สุวรรณสามหมั่นสังเกตจดจำสิ่งที่ พ่อและแม่ได้ปฏิบัติ เช่น การไปตักน้ำ ไปหา ผลไม้เป็นอาหาร เส้นทางที่ไปหาน้ำและอาหาร สุวรรณสามพยายามช่วยเหลือ พ่อและแม่ กระทำกิจกรรมต่างๆ เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้พ่อแม่ ได้มีเวลาบำเพ็ญธรรมตามที่ประสงค์ วันหนึ่ง เมื่อทุกูลดาบสและนางปาริกา ออกไปหาผลไม้ในป่า เผอิญฝนตกหนักทั้งสองจึงหลบฝนอยู่ที่ ต้นไม้ใหญ่ใกล้ จอมปลวก โดยไม่รู้ว่าที่จอมปลวกนั้นมีงูพิษอาศัยอยู่ น้ำฝนที่ชุ่มเสื้อฝ้า และมุ่นผมของ ทั้งสองไหลหยดลงไปในรูงู งูตกใจจึงพ่นพิษออกมาป้องกันตัว พิษร้ายของงูเข้าตาทั้งสองคน ความร้ายกาจของพิษทำให้ดวงตาบอดมืดมิดไปทันที ทุกูลดาบสและนางปาริกาดาบสินี จึงไม่สามารถจะกลับไปถึง ศาลาที่พักได้ เพราะมองไม่เห็นทาง ต้องวนเวียนคลำทางอยู่แถวนั้นเอง
    คนทั้งสองต้องเสียดวงตา เพราะกรรมในชาติก่อน เมื่อครั้งที่ ทุกูลดาบสเกิดเป็นหมอรักษาตา ปาริกา เกิดเป็นภรรยาของหมอนั้น วันหนึ่งหมอได้รักษาตาของเศรษฐีคนหนึ่งจนหายขาดแล้ว แต่เศรษฐีไม่ยอมจ่ายค่ารักษา ภรรยาจึงบอกกับสามีว่า "พี่จงทำยาขึ้นอย่างหนึ่งให้มีฤทธิ์แรง แล้วเอาไปให้เศรษฐีผู้นั้น บอกว่าตายังไม่หายสนิท ขอให้ใช้ยานี้ป้ายอีก" หมอตาทำตามที่ภรรยาบอก ฝ่ายเศรษฐีเชื่อในสรรพคุณยา ของหมอ ก็ทำตาม ตาของเศรษฐีก็กลับบอด สนิทในไม่ช้าด้วย บาปที่ทำไว้ในชาติก่อน ส่งผลให้ทั้งสองคนต้องตาบอดไปในชาตินี้ ฝ่ายสุวรรณสาม คอยพ่อแม่อยู่ที่ศาลา ไม่เห็นกลับมาตามเวลา จึงออกเดินตามหา ในที่สุดก็พบพ่อแม่ วนเวียนอยู่ข้างจอมปลวก เพราะนัยน์ตาบอด หาทางกลับไม่ได้ สุวรรณสามจึงถามว่า เกิดอะไรขึ้น เมื่อพ่อแม่เล่าให้ฟัง สุวรรณสามก็ร้องไห้ แล้วก็หัวเราะ พ่อแม่จึงถามว่าเหตุใดจึงร้องไห้แล้วก็หัวเราะ เช่นนั้น สุวรรณสาม ตอบว่า "ลูกร้องไห้เพราะเสียใจที่พ่อแม่นัยน์ตาบอด แต่หัวเราะ เพราะลูกดีใจที่ลูกจะได้ ปรนนิบัติดูแล ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ ที่เลี้ยงดูลูกมา พ่อแม่อย่าเป็นทุกข์ไปเลย ลูกจะปรนนิบัติ ไม่ให้พ่อแม่ต้องเดือดร้อนแต่อย่างใด" จากนั้น สุวรรณสามก็พาพ่อแม่กลับไปยังศาลาที่พัก จัดหาเชือก มาผูกโยงไว้โดยรอบ สำหรับพ่อแม่จะได้ใช้จับเป็นราวเดินไป ทำอะไรๆ ได้สะดวกในบริเวณศาลานั้นทุกๆ วัน สุวรรณสาม จะไปตักน้ำมา สำหรับพ่อแม่ได้ดื่มได้ใช้ และไปหา ผลไม้ในป่ามาเป็นอาหารและตนเอง
    เวลาที่สุวรรณสามออกป่าหาผลไม้ บรรดาสัตว์ทั้งหลาย จะพากันมาแวดล้อมด้วยความไว้วางใจ เพราะสุวรรณสาม เป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่เคยทำอันตรายแก่ฝูงสัตว์ สุวรรณสามจึงมีเพื่อนแวดล้อมเป็นบรรดา สัตว์นานาชนิด พ่อแม่ลูกทั้งสามจึงมีแต่ความสุขสงบ ปราศจาก ความทุกข์ร้อนวุ่นวายทั้งปวง อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาแห่งเมืองพาราณสี พระนามว่า "กบิลยักขราช" เป็นผู้ชอบออกป่าล่าสัตว์ พระองค์เสด็จออกล่าสัตว์ มาจนถึงท่าน้ำที่สุวรรณสามมาตักน้ำไปให้พ่อแม่ พระราชาสังเกตเห็น รอยเท้า สัตว์ชุกชุมในบริเวณนั้น จึงซุ่มคอยจะยิงสัตว์ที่ผ่านมากินน้ำ ขณะนั้น สุวรรณสามนำหม้อน้ำมาตักน้ำไปใช้ที่ศาลาดังเช่นเคย มีฝูงสัตว์เดินตามมาด้วยมากมาย พระราชาทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงแปลกพระทัยว่า สุวรรณสามเป็นมนุษย์หรือเทวดา เหตุใดจึง เดินมา กับฝูงสัตว์ ครั้นจะเข้าไปถามก็เกรงว่าสุวรรณสาม จะตกใจหนีไป ก็จะไม่ได้ตัวจึงคิดจะยิงด้วยธนูให้หมด กำลังก่อนแล้วค่อยจับตัวไว้ซักถาม เมื่อสุวรรณสามลงไปตักน้ำแล้ว กำลังจะเดินกลับไปศาลา พระราชากบิลยักขราชก็เล็งยิงด้วยธนูอาบยา ถูกสุวรรณสาม ที่ลำตัวทะลุจากขวาไปซ้าย สุวรรณสามล้มลงกับพื้น แต่ยังไม่ถึงตาย จึงเอ่ยขึ้นว่า "เนื้อของเรากินไม่ได้ หนังของเราเอาไปทำอะไรก็ไม่ได้ จะยิงเราทำไม คนที่ยิงเราเป็นใคร ยิงแล้วจะ ซ่อนตัวอยู่ทำไม" กบิลยักขราชได้ยินวาจาอ่อนหวานเช่นนั้นก็ยิ่งแปลกพระทัย ทรงคิดว่า "หนุ่มน้อยนี้เป็นใครหนอ ถูกเรายิงล้มลงแล้ว ยังไม่โกรธเคือง กลับใช้ถ้อยคำอันอ่อนหวาน แทนที่จะด่าว่า ด้วยความ โกรธแค้น เราจะต้องแสดงตัวให้เขาเห็น" คิดดังนั้นแล้ว พระราชาจึงออกจากที่ซุ่มไปประทับอยู่ข้างๆ สุวรรณสาม พลางตรัสว่า "เราชื่อกบิลยักขราช เป็นพระราชา แห่งแมืองพาราณสี เจ้าเป็นผู้ใด มาทำอะไรอยู่ในป่านี้" สุวรรณสามตอบไปตามความจริงว่า "ข้าพเจ้าเป็นบุตรดาบส ชื่อว่าสุวรรณสาม พระองค์ยิงข้าพเจ้าด้วยธนูพิษ ได้รับ ความเจ็บปวดสาหัส พระองค์ประสงค์อะไรจึงยิงข้าพเจ้า" พระราชาไม่กล้าตอบความจริง จึงแสร้งตรัสเท็จว่า "เราตั้งใจจะยิงเนื้อเป็นอาหาร แต่พอเจ้ามาเนื้อก็ เตลิดหนีไปหมด เราโกรธจึงยิงเจ้า " สุวรรณสามแย้งว่า "เหตุใดพระองค์จึงตรัสอย่างนั้น บรรดาสัตว์ทั้งหลายในป่านี้ไม่เคยกลัวข้าพเจ้า ไม่เคยเตลิด หนีข้าพเจ้าเลย สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนของข้าพเจ้า" พระราชาทรงละอายพระทัยที่ตรัสความเท็จแก่สุวรรณสาม ผู้ถูกยิงโดยปราศจากความผิด จึงตรัสตามความจริงว่า "เป็นความจริงตามที่เจ้าว่า สัตว์ทั้งหลายมิได้กลัวภัย จากเจ้าเลย เรายิงเจ้าก็เพราะความโง่เขลาของเราเอง เจ้าอยู่กับใครในป่านี้ ออกตักน้ำไปให้ใคร" สุวรรณสามบ้วนโลหิตออกจากปาก ตอบพระราชาว่า "ข้าพเจ้าอยู่กับพ่อแม่ ซึ่งตาบอดทั้งสองคน อยู่ในศาลา ในป่านี้ ข้าพเจ้าทำหน้าที่ปรนนิบัติพ่อแม่ ดูแลหาน้ำและอาหาร สำหรับท่านทั้งสอง เมื่อข้าพเจ้า มาถูกยิงเช่นนี้ พ่อแม่ก็จะไม่มี ใครดูแลปรนนิบัติอีกต่อไป อาหารที่ศาลายังพอสำหรับ 6 วัน แต่ไม่มีน้ำ พ่อแม่ของข้าพเจ้าจะต้องอดน้ำและอาหาร เมื่อปราศจากข้าพเจ้า โอ พระราชา ความทุกข์ ความเจ็บปวด ที่เกิดจากถูกยิงด้วยธนูของท่านนั้น ยังไม่เท่าความทุกข์ ความเจ็บปวดที่เป็นห่วงพ่อแม่ของข้าพเจ้า จะต้องได้รับ ความเดือดร้อนเพราะขาดข้าพเจ้าผู้ปรนนิบัติ ต่อไปนี้พ่อแม่คงไม่ได้เห็นหน้าข้าพเจ้าอีก แล้ว" สุวรรณสามรำพันแล้วร้องไห้ด้วยความทุกข์ใจอย่างยิ่ง
    พระราชาทรงได้ยินดังนั้นก็เสียพระทัยยิ่งนักว่า ได้ทำร้าย สุวรรณสามผู้มีความกตัญญูสูงสุด ผู้ไม่เคยทำอันตราย ต่อสิ่งใดเลย จึงตรัสกับสุวรรณสามว่า "ท่านอย่ากังวลไปเลย สุวรรณสาม เราจะรับดูแลปรนนิบัติพ่อแม่ของท่านให้เหมือน กับที่ท่านได้เคย ทำมา จงบอกเราเถิดว่าพ่อแม่ของท่านอยู่ที่ไหน" สุวรรณสามได้ยินพระราชาตรัสให้สัญญาก็ดีใจ กราบทูลว่า "พ่อแม่ของข้าพเจ้าอยู่ไม่ไกลจากที่นี่มาก นัก ขอเชิญเสด็จไปเถิด" พระราชาตรัสถามว่า สุวรรณสามจะสั่งความไปถึงพ่อแม่ บ้างหรือไม่ สุวรรณสามจึงขอให้พระราชาบอกพ่อแม่ว่า ตนฝากกราบไหว้ลาพ่อแม่มากับพระราชา เมื่อสุวรรณสาม ประนมมือกราบลงแล้ว ก็สลบไป ด้วยธนูพิษ ลมหายใจหยุด มือเท้าและร่างกายแข็งเกร็งด้วยพิษยา พระราชาทรงเศร้า เสียพระทัยยิ่งนัก รำลึกถึงกรรมอันหนักที่ได้ก่อขึ้นในครั้งนี้ แล้วก็ทรงระลึกได้ว่า ทางเดียวที่จะช่วยผ่อนบาปอันหนักของ พระองค์ได้ก็คือ ปฏิบัติตามวาจาที่สัญญาไว้กับสุวรรณสาม คือไป ปรนนิบัติดูแลพ่อแม่สุวรรณสาม เหมือนที่สุวรรณสามได้เคยกระทำมา พระราชากบิลยักขราชจึงนำหม้อน้ำที่สุวรรณสามตักไว้นั้น ออกเดินทางไปศาลาที่สุวรรณสามบอกไว้ ครั้นไปถึง ทุกูลดาบสได้ยินเสียงฝีเท้าพระราชา ก็ร้องถามขึ้นว่า "นั่นใครขึ้นมา ไม่ใช่สุวรรณสามลูกเราแน่ ลูกเรา เดินฝีเท้าเบา ไม่ก้าวหนักอย่างนี้" พระราชาไม่กล้าบอกไปในทันทีว่าพระองค์ยิงสุวรรณสาม ตายแล้ว จึงบอกแต่เพียงว่า "ข้าพเจ้าเป็นพระราชา แห่งเมืองพาราณสี มาเที่ยวยิงเนื้อในป่านี้" ดาบสจึงเชิญ ให้พระราชาเสวยผลไม้ และเล่าว่าบุตรชายชื่อสุวรรณสาม เป็นผู้ดูแลจัดหาอาหารไว้ให้ ขณะนี้สุวรรณสาม ออกไปตักน้ำ อีกสักครู่ก็คงจะกลับมา พระราชาจึงตรัสด้วยความเศร้าเสียพระทัยว่า "สุวรรณสาม ไม่กลับมาแล้ว บัดนี้สุวรรณสามถูกธนูของ ข้าพเจ้าถึงแก่ ความตายแล้ว" ดาบสทั้งสองได้ยินดังนั้นก็เสียใจยิ่งนัก นางปาริกาดาบสินีนั้นแต่แรกโกรธ แค้นที่พระราชา ยิงสุวรรณสามตาย แต่ทุกูลดาบสได้ปลอบประโลมว่า "จงนึกว่าเป็นเวรกรรมของสุวรรณสามและของเราทั้งสองเถิด จงสำรวมจิตอย่าโกรธเคืองเลย พระราชาก็ได้ยอมรับผิดแล้ว" พระราชาตรัสปลอบว่า "ท่านทั้งสองอย่ากังวลไปเลย ข้าพเจ้าได้สัญญากับสุวรรณสามแล้วว่าจะปรนนิบัติ ท่านทั้งสองให้เหมือนกับที่สุวรรณสามเคยทำมาทุกประการ"
    ดาบสทั้งสองอ้อนวอนพระราชาให้พาไปที่สุวรรณสาม นอนตายอยู่ เพื่อจะได้สัมผัสลูบคลำลูกเป็นครั้งสุดท้าย พระราชาก็ทรงพาไป ครั้นถึงที่สุวรรณสามนอนอยู่ ปาริกาดาบสินีก็ช้อนเท่าลูกขึ้นวางบนตัก ทุกูลดาบส ก็ช้อนศีรษะสุวรรณสามประคองไว้บนตัก ต่างพากัน รำพันถึงสุวรรณสามด้วยความโศกเศร้า บังเอิญปาริกา ดาบสินีลูบคลำบริเวณหน้าอกสุวรรณสาม รู้สึกว่ายังอบอุ่นอยู่ จึงคิดว่าลูกอาจจะเพียงแต่ สลบไป ไม่ถึงตาย นางจึงตั้ง สัตยาธิษฐานว่า "สุวรรณสามลูกเราเป็นผู้ที่ประพฤติดีตลอดมา มีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่อย่างยิ่ง เรารักสุวรรณสาม ยิ่งกว่าชีวิตของเราเอง ด้วยสัจจวาจาของเรานี้ ขอให้พิษ ธนูจงคลายไปเถิด ด้วยบุญกุศลที่สุวรรณสามได้เลี้ยงดู พ่อแม่ตลอดมา ขออานุภาพแห่งบุญจงดล บันดาลให้ สุวรรณสามฟื้นขึ้นมาเถิด" เมื่อนางต้งสัตยาธิษฐานจบ สุวรรณสามก็พลิกกายไป ข้างหนึ่งแต่ยังนอนอยู่ ทุกูลดาบสจึงตั้งสัตยาธิษฐาน เช่นเดียวกัน สุวรรณสามก็พลิกกายกลับไปอีกข้างหนึ่ง ฝ่ายนางเทพธิดาวสุนธรี(เคยเป็นมารดามาแต่ชาติปางก่อน แต่ยังตามคอยดูแลรักษาสุวรรณสามอยู่) ผู้ดูแลรักษาอยู่ ณ บริเวณ เขาคันธมาทน์ ก็ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า "เราทำหน้าที่ รักษาเขาคันธมาทน์มาเป็นเวลานาน เรารักสุวรรณสาม ผู้มีเมตตาจิต และมีความกตัญญูยิ่งกว่าใคร ด้วยสัจจวาจานี้ ขอให้พิษจงจางหายไปเถิด" ทันใดนั้น สุวรรณสามก็พลิกกายฟื้นตื่นขึ้น หายจาก พิษธนูโดยสิ้นเชิง ยิ่งกว่านั้นดวงตาของพ่อและแม่ ของสุวรรณสามก็กลับแลเห็นเหมือนเดิม พระราชา ทรงพิศวงยิ่งนัก จึงตรัสถามว่าสุวรรณสามฟื้นขึ้นมา ได้อย่างไร สุวรรณสามตอบพระราชาว่า "บุคคลใดเลี้ยงดูปรนนิบัติบิดามารดาด้วยความรักใคร่เอาใจใส่ เทวดาและมนุษย์ย่อมช่วยคุ้มครองบุคคลนั้น นักปราชญ์ย่อม สรรเสริญ แม้เมื่อตายไปแล้ว บุคคลนั้นก็จะได้ไปบังเกิด ในสวรรค์ เสวยผลบุญแห่งความกตัญญูกตเวทีของตน" พระราชากบิลยักขราชได้ยินดังนั้นก็ชื่นชมโสมนัสตรัสกับ สุวรรณสามว่า "ท่านทำให้จิตใจและดวงตาของ ข้าพเจ้า สว่างไสว ข้าพเจ้ามองเห็นธรรม ต่อนี้ไป ข้าพเจ้าจะรักษาศีล จะบำเพ็ญกุศลกิจ จะไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์อีกแล้ว" ตรัสปฏิญญาณแล้วพระราชาก็ทรงขอขมาโทษที่ได้กระทำ ให้สุวรรณสามเดือดร้อน แล้วพระองค์ก็เสด็จ กลับพาราณสี ทรงปฏิบัติตามที่ได้ตรัสไว้ทุกประการจนตลอดพระชนม์ชีพ ฝ่ายสุวรรณสามก็เลี้ยงดูปรนนิบัติพ่อแม่ บำเพ็ญเพียรใน ทางธรรมเมื่อสิ้นชีพก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก ร่วมกับพ่อแม่ ด้วยกุศลกรรมที่กระทำมาคือ ความเมตตากรุณาต่อมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย และความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา อันเป็นกุศลกรรมสูงสุดที่บุตรพึงกระทำต่อบิดามารดา และทั้งสามก็อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข บำเพ็ญเพียรเจริญศีล ภาวนา สิ้นจากชาตินี้ทั้งสามก็ไปบังเกิดเป็นพรหมและได้เสวยสุขเป็นเวลาช้านานต่อไป

    คติธรรม : บำเพ็ญเมตตาบารม

    "ว่าด้วยเรื่องของความมีเมตตาจิต ซึ่งจะทำให้ชีวิตสุขสงบได้โดยไร้ภยันอันตรายใดๆ ธรรมนั้นคือเกราะแก้วมิให้ถูกผู้ใดทำร้ายได้เป็นแน่แท้ "


    ขอน้อมจิตกราบโมทนาบุญกุศลอันบุคคลทั่วไปทำได้ยากยิ่งนั้น ขอธรรมและฌาณสมาบัติที่พระองค์บรรลุแล้วจงปรากฏแก่กายและจิตของข้าพเจ้าและทุกท่านด้วยเถิด สาธุ...สาธุ...สาธุ...
     
  8. chai9club

    chai9club เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +2,770
    ขอโมทนาบุญกับทุก ๆ ท่าน ที่ได้ช่วยกันจรรโลงพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอโมทนาเป็นอย่างสูง
     
  9. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
     
  10. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    :cool: ถวายปัจจัยร่วมชำระหนี้สงฆ์ ณ วัดใหม่เกตุงาม ต.บ้านปึก อ.เมือง จ.ชลบุรี

    :cool: ถวายปัจจัยทำบุญทุกอย่างกับพระฯ ร่วมทอดกฐินสร้างศาลาธรรมสังเวช ณ วัดบ้านบุ่ง ม.4 ต.ศาลเจ้าไก่ต่อ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์​

    (*) (i) (i) (i) (i) (i) (i) (i) (i) (i) (*) ​

    น้อมถวายบุญทั้งหมดนี้เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และเพื่อนิพพานในชาติปัจจุบันนี้..​

    (f) (f) (f) (f) (f)​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2006
  11. นำธรรม

    นำธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2006
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +2,914

    ขอกราบโมทนาในการบำเพ็ญกุศลอันอัศจรรย์ยิ่ง ขออำนาจแห่งบารมีพระพุทธเจ้าอันประมาณมิได้ ทุก ๆ พระองค์ อันมีองค์สมเด็จองค์ปฐมเป็นต้น
    พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย คุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ทั้งหลายทั้งหมด มีหลวงปู่ทวด หลวงปู่โต หลวงปู่คำคะนิง หลวงปุ่ปาน หลวงพ่อฤาษีเป็นที่สุด
    และเทพ พรหมทั้งหลายจงให้ข้าพระพุทธเจ้า และท่านผู้เจริญทั้งหลายจงเป็นผู้รู้แจ้งในธรรมโดยฉับพลัน พร้อมกำลังแห่งอภิญญาบารมีทั้งปวง เพื่อยังประโยชน์แห่งพระศาสนาในปัจจุบันและอนาคตกาลสืบเนื่องนิรันดร์


    นำธรรม อนันตชัย(verygood) (verygood) (verygood) (verygood) (verygood) (verygood)
     
  12. sravnane

    sravnane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    695
    ค่าพลัง:
    +17,914
    ขอร่วมโมทนาบุญทุกอย่าง ถวายเป็นพุทธบูชาฯ

    ชอร่วมโมทนาบุญทุกอย่าง ถวายเป็นพุทธบูชาฯ ขอบารมีพระทุกพระองค์จงปกป้องคุ้มครองท่านและครอบครัวให้พ้นจากทุกข์โศกโรคภัยอันตรายใดๆทั้งหลายทั้งปวง ให้เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งๆขึ้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญฯ
    [b-wai] [b-wai] [b-wai] [b-wai]
     
  13. sravnane

    sravnane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    695
    ค่าพลัง:
    +17,914
    ขอร่วมโมทนาบุญทุกอย่าง

    ขอร่วมโมทนาบุญทุกอย่าง ถวายเป็นพุทธบูชาฯ ตุงที่ท่านโตจะทำถวายฯ ซึ่งกำลังทำและยังไม่เสร็จถูกแปรสภาพแล้วหลายครั้ง โดยมีคนแอบโมทนาล่วงหน้าและนำไปถวายพระฯแล้วหลายท่าน เบาๆกันหน่อยครับรอเจ้าของก่อน 5555รีบกันจัง
    (verygood) :cool: (verygood) :cool: (verygood)
     
  14. jaggrit

    jaggrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +3,793
    ทศชาติชาดก

    พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    น้อมกราบขอขมาองค์พระประทีปแก้วมณีโชติ ๓ ประการ ขอน้อมอารธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์อันมีสมเด็จพระองค์ปฐมเป็นต้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหมด พรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบ ๆ กันมา อันมีหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นที่สุด ข้าพระพุทธเจ้าขอพระพุทธานุญาติ นำเรื่องราวการบำเพ็ญเพียรของสมเด็จพระองค์ปัจจุบันเพื่อก้าวสู่ทศบารมีเต็ม ๑๐ ประการ เพื่อเป็นธรรมทานแก่ท่านผู้เจริญทั้งหลายจะได้สดับตรับฟังและร่วมโมทนาบุญกุศลอันไม่มีประมาณ เหล่านี้



    พระเจ้าสิบชาติ

    :cool: พระชาติที่ ๔ พระเนมิราช

    [​IMG]
    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือความตั้งมั่นคง.
    ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงบิณฑบาตแล้วเสด็จประทับ
    ณ อัมพวัน สวนมะม่วง กรุงมิถิลา และพระอานนท์กับ
    พระภิกษุทั้งมวลได้กราบทูลอาราธนาให้พระองค์
    ทรงโปรดปรานเล่าเรื่องอดีตชาติดังต่อไปนี้

    เมื่อครั้งอดีตกาล พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติเป็นพระราชาครองมิถิลานคร
    มีพระนามว่า "มะฆะเทวราช"

    ซึ่งการครองบัลลังก์ของราชวงศ์นี้จะเป็นไปตามสัตย์อธิษฐานว่า
    เมื่อเกศาหงอกเมื่อใดก็จะทรงออกผนวชและยกราชสมบัติให้พระราชโอรสต่อไป
    ดังนั้นเวลาที่ช่างภูษามาลามาตบแต่งพระเกศาพระราชาก็จะทรงรับสั่งเสมอว่า
    ถ้ามีพระเกศาหงอกก็จงทูลให้ทรงทราบด้วย

    เทพบุตรจุติ

    ยามนั้นเทพบุตรบนสวรรค์นาม "เนมิราช"
    เล็งเห็นว่าราชวงศ์กษัตริย์นี้อาจจะมิมีผู้ใดสืบสันติวงศ์ต่อไป
    จึงจุติลงมากำเนิดในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้ามะฆะเทวราช
    เมื่อประสูติออกมาก็ได้รับพระนามว่า "เนมิราช"
    ด้วยว่าเหล่าพราหมณ์คิดว่าพระราชโอรสประสูติมาแล้ว
    ก็ต้องกระทำตามกฎสัตย์อธิษฐานของราชวงศ์ที่ต้องขึ้นครองราชย์
    และก็ต้องออกบรรพชาเมื่อพระเกศาหงอกแล้ว

    พระเนมิราชเมื่อทรงเยาว์ก็มีพระทัยเปี่ยมด้วยเมตตาธรรมทรงตั้งโรงให้ทาน
    และพระราชทานทรัพย์วันละหลายแสน พระองค์เองก็ทรงถือศีล ๕
    ประพฤติปฏิบัติธรรมเคร่งครัด

    ต่อมาพระเนมิราชทรงได้ขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาซึ่งออกบรรพชาไปแล้ว
    พระองค์ทรงสงสัยเรื่องการให้ทานกับการถือศีลว่าอานิสงส์สิ่งใดจะมากกว่ากัน
    พระอินทร์จึงเสด็จจากทิพย์อาสน์ลงมายังห้องบรรทมของพระเนมิราช
    แล้วตอบความคลางแคลงพระทัยนั้นว่า

    "ดูกรสมมติเทพ ผลบุญของการถือศีลนั้นมากกว่าการให้ทานหลายร้อยเท่า
    หากถือศีลเจริญสมาธิแล้วก็จะได้นิพพาน ไปเกิดในพรหมโลก
    ดังนั้นขอให้ท่านจงอุตสาหะหมั่นถือศีลมิรู้เสื่อมสิ้น"

    เมื่อพระเนมิราชสดับฟังดังนั้นก็นิมนต์สงฆ์มาเทศนาสั่งสอน
    ไฟร่ฟ้าข้าแผ่นดินเนือง ๆ พระองค์เองก็รักษาศีล
    และพร่ำอบรมให้เสนาอำมาตย์และพสกนิกรถือศีลให้เคร่งครัด

    เสด็จชมสวรรค์-นรก

    บรรดาไฟร่ฟ้าเมื่อตายไปก็ได้ไปเกิดเป็นเทวดาในพรหมโลก
    ต่างก็สำนึกว่าเป็นเพราะพระเนมิราชสั่งสอนให้ตน
    รักษาศีลรักษาธรรมนั่นเอง จึงอยากชมพระบารมีพระเนมิราช
    พระอินทร์จึงให้พระมาตุลีเทพบุตรเทียมเวชยันต์ราชรถลงไปยังมิถิลาพระนคร
    เพื่อเชิญเสด็จพระเนมิราชขึ้นสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงษ์

    พระเนมิราชทรงลาเสนาอำมาตย์ขึ้นราชรถไป
    ครั้นถึงระหว่างทางพระมาตุลีเทพบุตรจึงกราบทูลว่า

    "พระองค์จะเสด็จสู่นรกภูมิก่อนหรือไม่ บรรดาสัตว์ที่กระทำบาป
    หยาบช้าเมื่อพบพระองค์บำเพ็ญกุศลศีลทาน อาจได้ไปเกิดในสวรรค์บ้าง"

    "ถ้าเช่นนั้น ท่านจงพาเราไปชมนรกก่อนเถิด จากนั้นค่อยไปทางสวรรค์"

    เมื่อพระเนมิราชตกลงดังนั้น พระมาตุลีเทพก็นำเสด็จไปยังชั้นนรก
    ในภูมินรกนั้นมีธารน้ำอันเดือดเป็นนิจ
    มีเปลวรุ่งโรจน์แผดเผาให้เร่าร้อนมิมีวันดับ
    นายนิรยบาลก็ยืนถือดาบใหญ่และหอกยาวคอยทิ่มแทง
    สัตว์นรกทั้งปวงเมื่อเจ็บปวดก็กระโดดลงแม่น้ำเวคะตะระณีนัทที
    ซึ่งมีแต่หนามหวายคมดั่งกรด
    เมื่อถูกเนื้อตัวส่วนใดเนื้อก็ขาดแหว่งทันที
    หากหนีจากหนามหวายก็เจอฉมวกหลาวเสียบเข้าร่างกาย
    ตกลงไปสู่บัวเหล็กก็ถูกบาดให้ขาดเป็นท่อน
    ตกลงไปในน้ำร้อนเดือดเป็นพวยพุ่ง หนีขึ้นฝั่งก็ถูกทิ่มแทงสกัดไว้
    มีคีมคีบถ่านแดงใส่ปากให้แสบร้อนทุรนทุราย
    เป็นนรกขุมที่คนผู้เคยรังแกคนที่อ่อนแอกว่าต้องมารับกรรม

    อีกด้านหนึ่งมีสุนัขตัวดั่งช้างคอยไล่กัดกิน
    มีนกแร้งคอยรุมแทะไส้พุงและกระดูก
    เหล่าสัตว์นรกร่างกายฉีกขาด
    ต่างก็ร่ำร้องคร่ำครวญโหยหวนไปทั่วทุกแห่ง

    คนที่ฆ่าสัตว์หรือทำร้ายสัตว์ก็จะถูกหิ้วคอด้วยพรวนเหล็ก
    ถูกกวัดแกว่งแล้วโยนใส่น้ำร้อนจนตายไป
    ไม่นานก็ฟื้นใหม่มาถูกรัดคอจนตายแล้วตายอีก

    คนที่เคยคดโกงเงินทาน
    ก็จะถูกโยนลงไปในถ่านเพลิงให้ไฟไหม้ท่วมตัว

    คนที่ใจบาปหยาบช้า ก็จะถูกทุบตีด้วยกระบองเหล็กจนตัวแหลกราญ
    ร่างลุกเป็นเปลวไฟดิ้นพล่านอย่างปวดแสบเจ็บแสน

    คนที่ฆ่าบุพการี ก็จะกลายเป็นสัตว์นรกเหม็นเน่า
    ต้องดื่มกินเลือดหนองของตัวเองต่างน้ำยามหิวกระหาย

    คนที่มีชู้ ก็ถูกไล่ทิ่มแทงให้ปีนต้นงิ้วที่เต็มไปด้วยหนามแหลมคม
    ตกลงมาก็ถูกฝังทับด้วยภูเขาเหล็กจนร่างปี้ป่น
    เกิดเสียงดังกำปนาทน่าระทึกหวาดผวา

    นรกขุมต่าง ๆ ๑๕ ขุมนั้นมีดังนี้คือ
    เวตรณีนรก นรกสุนัข นรกทองแดง นรกหม้อทองแดง
    นรกถ่านเพลิง นรกโซ่ทองแดง นรกแหลมหลาว นรกทุบตี
    นรกแม่น้ำแกลบ นรกน้ำหนอง นรกคูถ นรกเป็ด
    นรกสัตว์อุบาทว์ นรกบ่อไฟ นรกภูเขา-เหล็กไฟ

    ภาพขุมต่าง ๆ ในนรกทั้ง ๑๕ ขุมทำให้พระเนมิราชสลดหดหู่พระทัย
    และประหวั่นพรั่นพรึงยิ่งนัก ขณะนั้นองค์อินทร์ได้ส่งเทวบุตรมาเตือน
    ให้พระมาตุลีเทพรีบเชิญเสด็จพระเนมิราชสู่ภพของสวรรค์
    ด้วยเกรงว่าเวลาของพระชนมายุจะหมดลงเสียก่อน
    หากใช้เวลาในนรกภูมินานเกินไป
    พระมาตุลีเทพบุตรจึงขับรถเวชยันต์สู่สวรรค์

    บนชั้นวิมานแมนนี้ มีเทพธิดาเทพบุตรมากมาย
    คนบางคนเคยเป็นทาสรับใช้พราหมณ์
    ได้รับทรัพย์จากพราหมณ์นำไปซื้อเครื่องไทยทานถวายภิกษุ
    เมื่อตายก็ได้จุติเป็นนางฟ้านางสวรรค์

    พระมาตุลีเทพบุตรได้นำราชรถเสด็จผ่านสวรรค์ทั้ง ๗ ขั้น
    แต่ละชั้นวิมานนั้นมีแต่แสงรุ่งเรืองพราวพราย
    ดั่งรัศมีทรงกลดของดวงอาทิตย์

    ในวิมานแก้ววิมานทองนั้นมีเทวบุตร ๑ องค์
    แวดล้อมพร้อมพรักด้วยเหล่านางอัปสร

    เทวบุตรในวิมานหนึ่งเคยเป็นคหบดีนาม "โสณทินนะ"
    อยู่ที่เมืองกาสักราช ได้หมั่นทำบุญสร้างอุโบสถ ๗ อุโบสถ
    ถวายจตุปัจจัยทั้ง ๔ แก่ภิกษุสงฆ์
    จิตใจยึดมั่นรักษาศีลประพฤติชอบด้วยธรรม
    เมื่อดับจิตแล้วจึงมากำเนิดเป็นเทวบุตรอยู่ในวิมานแก้วดังนี้เอง

    เมื่อเล่าความแต่ละหนทางที่เคลื่อนรถผ่านแล้ว
    พระมาตุลีเทพก็นำเสด็จพระเนมิราชไปชมวิมานแก้วสูง ๒๕ โยชน์
    ประดับ ๗ แก้วแวววาว ฉัตรเงินฉัตรทองส่องแสงรุ่งรัศมี
    มีสระโบกขรณีที่ผนังล้วนเป็นผลึกแก้ว
    มีเทพบุตรเทพธิดาเสพย์ทิพย์อยู่ทั่วสถาน

    พระเนมิราชทรงตรัสถามว่า
    เทพเหล่านั้นประพฤติชอบใดเมื่อยังเป็นมนุษย์

    พระมาตุลีเทพบุตรกราบทูลว่า
    เทพเหล่านี้เมื่อเป็นมนุษย์ได้รักษาศีลบำเพ็ญทานอยู่ตลอดชีวิต
    เมื่อตายจึงได้มาเกิดเป็นเทพอยู่บนวิมานชั้นนี้

    วิมานแก้วไพฑูรย์และวิมานแก้วผลึกก็เป็นของเทพที่เคยบริจาค
    ถวายจีวรให้สงฆ์ในฤดูหนาว วิมานทองนั้นเป็นของเทพที่เคยรักษาศีล
    ถวายทานบิณฑบาตให้ทานคนยากไร้อนาถา สร้างพระอารามถวายสงฆ์

    ในแต่ละชั้นวิมานมีแต่เสียงมโหรีไพเราะ
    และกลิ่นหอมฟุ้งขจรของมวลพฤกษาบุปผชาติสวรรค์
    แต่มิทันจะครบถ้วนทุกวิมานพระอินทร์จึงให้มหาชวนะเทพบุตร
    มาตามด้วยเกรงว่าจะหมดพระชนมายุพระเนมิราชเสียก่อน

    พระมาตุลีเทพบุตรจึงขับราชรถผ่านภูเขาและแม่น้ำสีทันดร
    ซึ่งมีสายน้ำลึกนักมิอาจมีสิ่งใดข้ามได้แม้แต่เรือ แพ
    หรือเกล็ดแววนางนกยูง ริมน้ำมีเขา ๗ ชั้น
    เรียงดั่งอัฒจันทร์ เป็นที่อยู่ของกินนร
    วิทยาธร คนธรรพ์ และยักษ์

    หน้าประตูชั้นดาวดึงส์มีรูปพระอินทร์ประดิษฐ์ไว้
    ในเมืองกว้างกว่า ๑ หมื่นโยชน์ เหนือยอดเขาพระสุเมรุ
    ล้อมรอบด้วยซุ้มทวารแก้วและกำแพงทองประดับแก้ว ๗ ประการ

    พื้นทั่วไปนั้นมิมีฝุ่นผง มีแต่มวลบุปผานานาพันธุ์ออกดอกโต
    และส่งกลิ่นหอมรวยรินทั่วทุกหน

    พระเนมิราชถูกเชิญเสด็จสู่โรงสุธัมมาเทวสถาน
    เหล่าทวยเทพยดาและเทพธิดาพากันนำดอกไม้
    และเครื่องหอมทิพย์มาสักการะบูชาพระเนมิราช
    และอันเชิญเสด็จให้เสวยสิริสุขอยู่บนสรวงสวรรค์
    อันเป็นทิพย์นิรันดร์

    หากทว่าพระเนมิราชทรงตรัสว่า

    "เรามิมีประสงค์เช่นนั้น
    เราได้เห็นผลกรรมของมนุษย์ที่น่าทุกขเวทนายิ่งนัก
    ให้รู้สึกสลดหดหู่ใจเหลือเกิน และเราก็ปีตินัก
    ที่ได้เห็นคนได้ผลบุญจนมาเสวยสุขในชั้นวิมาน
    เราจึงปราถนาจะได้สั่งสอนคนให้รู้จักประกอบคุณงามความดีไว้
    เพื่อมิต้องมาตกนรกหมกไหม้ดังนี้"

    จากนั้นพระเนมิราชก็ทรงแสดงธรรมและสรรเสริญพระมาตุลีเทพบุตร
    แล้วจึงร่ำลากลับมายังเมืองมนุษย์

    พระเนมิราชทรงตรัสเล่าเรื่องราวที่ทรงทอดพระเนตรมาในเมืองนรก
    และเมืองสวรรค์อย่างละเอียดให้แก่ข้าราชบริพารและชาวเมือง
    เมื่อได้ฟังความน่ากลัวของนรกและความงดงามของสวรรค์แล้ว
    เหล่าชาวเมืองก็ตื้นเต้นและตระหนักในเรืองบุญและกรรมกันยิ่งขึ้น

    พระเนมิราชได้ทรงปฏิบัติมโนปณิธานของพระองค์
    รักษาศีลส่งสอนไพร่ฟ้าเสนาอำมาตย์ให้หมั่นทำความดีทำการกุศลมิได้ขาด
    แล้วจึงเสด็จออกบรรพชาอยู่ในอัมพวันอุทยานของมิถิลาพระนคร
    และได้เสด็จจุติในสวรรค์ชั้นฟ้าเมื่อทรงสวรรคตแล้ว

    เนมิราชชาดกเรื่องนี้มีคติธรรมสอนถึงการหมั่นรักษาความดี
    ประพฤติชอบโดยตั้งใจ โดยมุ่งมั่น หากทำความดีแล้วย่อมได้ดี
    ประพฤติชั่วย่อมได้ผลชั่วตอบแทน นี้เป็นเรื่องที่สมควรยึดมั่นโดยแท้


    ขอน้อมจิตกราบโมทนาบุญกุศลอันบุคคลทั่วไปทำได้ยากยิ่งนั้น ขอธรรมและฌาณสมาบัติที่พระองค์บรรลุแล้วจงปรากฏแก่กายและจิตของข้าพเจ้าและทุกท่านด้วยเถิด สาธุ...สาธุ...สาธุ...
     
  15. นำธรรม

    นำธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2006
    โพสต์:
    147
    ค่าพลัง:
    +2,914
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีวัดโป่งน้ำร้อนเหนือ

    ขอเชิญท่านผู้เจริญร่วมทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างพระประธาน และ ศาลาการเปรียญ วัดโป่งน้ำร้อนเหนือ

    กำหนดการ


    วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2549 (ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 11)

    เวลา 7.00 น. เคลื่อนขบวนผ้าป่าจากบางแสน จ.ชลบุรี
    (รถออก จากลานจอดรถบริเวณอาคารชุดพักอาศัย ดร. เสนาะ อูนากูล มหาวิทยาลัยบูรพา)

    วันอาทิตย์ 22 ตุลาคม 2549 (ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 )

    เวลา 7.00 น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์
    เวลา 9.00 น. ทำพิธีทอดกฐินสามัคคี แล้วพระสงฆ์ให้พร เป็นเสร็จพิธี
    เวลา 11.00 น. เดินทางกลับ จังหวัดชลบุรี

    จึงบอกข่าวงานบุญอันเป็นมงคลยิ่งแก่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย


    นำธรรม อนันตชัย

    ขอให้ท่านร่วมบุญ และโมทนา(verygood) (verygood)
     
  16. sravnane

    sravnane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    695
    ค่าพลัง:
    +17,914
    ขอร่วมโมทนบุญทุกอย่าง ถวายเป็นพุทธบูชาฯ

     
  17. jaggrit

    jaggrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    106
    ค่าพลัง:
    +3,793
    ทศชาติชาดก

    พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    น้อมกราบขอขมาองค์พระประทีปแก้วมณีโชติ ๓ ประการ ขอน้อมอารธนาบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์อันมีสมเด็จพระองค์ปฐมเป็นต้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหมด พรหม เทวดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบ ๆ กันมา อันมีหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นที่สุด ข้าพระพุทธเจ้าขอพระพุทธานุญาติ นำเรื่องราวการบำเพ็ญเพียรของสมเด็จพระองค์ปัจจุบันเพื่อก้าวสู่ทศบารมีเต็ม ๑๐ ประการ เพื่อเป็นธรรมทานแก่ท่านผู้เจริญทั้งหลายจะได้สดับตรับฟังและร่วมโมทนาบุญกุศลอันไม่มีประมาณ เหล่านี้

    พระเจ้าสิบชาติ

    :cool: พระชาติที่ ๕ พระมโหสถ

    [​IMG]

    บรรดาพระภิกษุที่มาประชุมสรรเสริญพระปัญญาบารมี
    ของพระบรมศาสดา ณ เชตวันวนารามได้กราบทูล
    ขอให้พระองค์ทรงประทานเล่าเรื่องอดีตชาติ
    เมื่อครั้งพระองค์ทรงเสวยพระชาติ
    เป็นผู้ประพฤติเพื่อประโยชน์โพธิญาณ
    พระพุทธเจ้าทรงโปรดเป็นพระธรรมเทศนาดังนี้

    เมื่อครั้งสมัยอดีตกาล
    กรุงมิถิลามีพระราชาองค์หนึ่งพระนาม "วิเทหะ"
    พระองค์ทรงมีราชบัณฑิต ๔ คน มีนามว่า
    เสนกะ ปุตกุสะ กามินท์ และเทวินทะ
    เป็นราชบัณฑิตประจำสำนักคอยถวายทางธรรมแก่พระราชานานมา

    คืนหนึ่ง พระเจ้าวิเทหะทรงสุบินว่า
    มีกองไฟกองใหญ่สุมโชนโชติช่วงอยู่ที่มุมพระลานมุมละ ๑ กอง
    และตรงกลางพระลานมีกองไฟน้อย ๑ กอง ที่ลุกรุ่งโรจน์กว่าไฟกองใหญ่
    บรรดาเทวะและผู้คนต่างก็มาสักการบูชากองไฟนั้นด้วยบุปผชาติ
    และเครื่องหอมนานา เมื่อสะดุ้งตื่นบรรทมขึ้นมาพระราชาจึงให้ ๔ บัณฑิต
    แห่งสำนักทำนายพระสุบินนั้น

    ราชบัณฑิตทั้ง ๔ ถวายคำทำนายว่า
    ในมิถิลาจะมีคนมีบุญญาธิการมากำเนิด
    คือกองไฟกองน้อยกลางลานนั้นเอง
    และที่ลุกโชนรุ่งโรจน์ยิ่งกว่า ๔ กองไฟมุมพระลานนั้น
    ก็หมายความว่าบัณฑิตผู้เปี่ยมบุญนั้นจะมีปัญญาเหนือกว่าพวกตน
    คือบัณฑิตทั้ง ๔ แห่งพระนครนี้อีกด้วย

    ในเวลานั้น ทางทิศตะวันออกของนคร
    มีบ้านของเศรษฐีนาม "สิริวัฒกะ" และนางสุมนาเทวีผู้ภรรยา
    ได้คลอดทารกชายที่มีผิวเปล่งปลั่งดั่งทองทา
    อีกทั้งในมือทารกน้อยยังถือแท่งโอสถติดมา ๑ แท่ง
    เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
    อันตัวเศรษฐีสิริวัฒกะผู้มีโรคปวดศีรษะเรื้อรังมา ๗ ปีแล้ว
    เมื่อได้แท่งยานั้นทาศีรษะก็ปรากฎว่าโรคหายขาดทันตาเห็น
    อานุภาพของยานี้ทำให้ผู้คนต่างพากันมาขอยาวิเศษนี้กันทั่วถ้วน

    กุมารน้อยสร้างศาลาธรรม

    กุมารน้อยนี้จึงได้นามว่า "มโหสถ"
    และในวันที่กำเนิดก็มีเด็กกำเนิดพร้อมกันอีก ๑ พันคนด้วย
    เด็กทั้งพันคนต่างก็ได้ของกำนัลจากเศรษฐีสิริวัฒกะ
    เพื่อเป็นมงคลโดยทั่วกัน

    เมื่อพระมโหสถอายุ ๗ ปีเต็ม
    พระมโหสถเล่นหัวกับเพื่อน ๆ ทุกวันก็เห็นว่าถูกแดดถูกฝน
    จึงให้ทุกคนนำเงินมาคนละ ๑ ตำลึง รวบรวมได้ ๑๐๐๐ ตำลึง
    จึงนำไปให้ช่างสร้างศาลาเป็นส่วน ๆ

    ในศาลานั้นมีห้องสำหรับหญิงอนาถามาคลอดทารก
    ห้องสำหรับสมณพราหมณ์มาพักพิง
    ห้องสำหรับคนเดินทางแวะพักและห้องสำหรับเล่นกัน
    รวมเป็น ๔ ห้องใหญ่

    ภายในศาลาก็ให้มีภาพจิตรกรรมผนัง รอบศาลาให้ขุดสระบัว
    ปลูกสวนไม้ดอกให้ชื่อว่า "สวนนันทวัน"

    ฝ่ายพระราชานั้นก็ให้ราชบัณฑิตทั้ง ๔
    ออกตามหาเด็กผู้มีบุญที่ทรงสุบินเมื่อ ๗ ปีก่อน
    เสนกะบัณฑิตไปทางตะวันออก ก็พบบุตรเศรษฐีสร้างศาลา
    และเปิดวินิจฉัยคดีความแก่ชาวบ้านอยู่เนือง ๆ
    จึงไปกราบทูลพระราชาทราบ
    พระราชาเชื่อมั่นว่าเด็กคนนี้แหละคือผู้มีบุญญาธิการแน่
    แต่เสนกะบัณฑิตกลับทูลคัดค้าน
    ด้วยเกรงจะมีบัณฑิตอื่นที่มาเป็นปราชญ์แทนที่หรือเหนือกว่าตน
    จึงทูลว่ายังไม่อาจกล่าวได้ว่ามีปัญญาบารมีจริง

    พระราชาจึงทรงยับยั้งไม่รับตัวพระมโหสถเข้าวัง
    แต่ทรงให้เสนาอำมาตย์ไปเฝ้าดูปัญญาบารมีของพระมโหสถ
    แล้วให้นำเรื่องราวมากราบทูลเพื่อความมั่นพระทัย
    เรื่องราวต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

    แสดงปัญญาเป็นที่เลื่องลือ

    "เรื่องชิ้นเนื้อ"
    มีความเป็นมาว่าเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบเอาชิ้นเนื้อบนเขียงสัตว์
    แล้วบินผ่านมายังกลุ่มเด็ก ๆ ที่เล่นสนุกกันอยู่
    เด็ก ๆ อยากจะได้ชิ้นเนื้อนั้นก็วิ่งกันจะแย่งคว้าเอา
    แต่ต้องล้มคะมำคว่ำไปกันทั่ว
    พระมโหสถจึงออกวิ่งราวกับลมแล้วตวาดเสียงกึกก้อง
    จนเหยี่ยวตกใจทิ้งชิ้นเนื้อบินหนีไป
    เด็ก ๆ และชาวบ้านต่างก็โห่ร้องสรรเสริญอย่างอัศจรรย์นัก

    เมื่อราชบุรุษกราบทูลเรื่องที่ ๑ นี้
    พระราชาทรงพอพระทัยนักแต่เสนกะบัณฑิตก็ทรงทูลยับยั้งอีก
    และให้เฝ้าดูต่อไปก่อนดีกว่าเด็กมโหสถมีปัญญาเป็นบัณฑิตได้หรือไม่

    "เรื่องโค"
    มีความเป็นมาว่า โคตัวหนึ่งถูกลักขโมยไป
    คน ๒ คนต่างก็อ้างเป็นเจ้าของโคตัวนั้น
    เมื่อให้พระมโหสถตัดสินที่ศาลา พระมโหสถถามโจรว่า
    ให้ของสิ่งใดเลี้ยงวัวของตน
    โจรตอบว่าเลี้ยงด้วยข้าวยาคู แป้ง และงา
    ส่วนเจ้าของผู้ยากจนตอบว่า
    เลี้ยงโคด้วยหญ้า พระมโหสถจึงสั่งคนให้ตำใบประยงค์ผสมน้ำ
    กรอกปากโคจนโคอาเจียนออกมาเป็นหญ้า พระมโหสถจึงตัดสินว่า
    เจ้าของตัวจริงคือผู้ที่ตอบว่าเลี้ยงโคด้วยหญ้านั่นเอง
    เหล่าชาวบ้านก็จะรุมตีและส่งเจ้าหน้าที่
    พระมโหสถจึงอบรมสั่งสอน
    ให้โจรทำความดีกลับใจใหม่และปล่อยตัวไป

    เมื่อราชบุรุษทูลพระราชาเรื่องนี้เสนกะบัณฑิตก็ยังทูลคัดค้านว่า
    เรื่องนี้ยังมิอาจยืนยันได้ว่ามีปัญญาบารมีดั่งบัณฑิต
    พระราชาจึงทรงให้ไปเฝ้าดูเรื่องต่อไปอีก

    "เรื่องสร้อยคอ"
    มีความเป็นมาว่า
    หญิงอนาถาถอดสร้อยคอที่ถักเป็นหลากสีเป็นปล้องไว้ก่อนลงสระน้ำ
    ดรุณีนางหนึ่งเพิ่งเจริญวัยก็ชอบใจ
    จึงเข้ามาสนทนาแล้วคว้าเอาสร้อยคอไปใส่แล้วชิงแย่งไป
    ครั้งหญิงอนาถาแย่งคืน ดรุณีน้อยก็อ้างว่าเป็นของตน
    เมื่อแย่งชิงวิวาทกันไม่สำเร็จจึงมาให้พระมโหสถตัดสินความ
    พระมโหสถจึงถามดรุณีว่า
    ถ้าสร้อยคอเป็นของนางแล้วนางย้อมสีด้วยอะไร
    ดรุณีผู้ขโมยตอบว่า ย้อมด้วยของหอมนานาชนิด
    ส่วนหญิงยากจนตอบว่าย้อมด้วยดอกประยงค์
    พระมโหสถจึงให้คนเอาอ่างน้ำมาและให้ถอดสร้อยคอแช่อ่างน้ำ
    ปรากฎว่าในน้ำมีแต่กลิ่นดอกประยงค์อย่างเดียว
    เพราะหญิงยากจนมิอาจหาเครื่องหอมกำยานมาย้อมได้
    พระมโหสถจึงตัดสินได้ว่าสร้อยคอเป็นของหญิงอนาถา

    เมื่อราชบุรุษไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ
    เสนกะบัณฑิตก็ทูลยับยั้งอีก โดยอ้างว่าให้พระราชารอดูต่อไปก่อนว่า
    มโหสถจะแสดงปัญญาบารมีอะไรที่ดีกว่านี้อีก
    เพราะเรื่องนี้ถือว่าใช้ปัญญาเล็กน้อยเท่านั้น

    "เรื่องกลุ่มด้าย"
    มีความเป็นมาว่าหญิงชาวไร่ฝ้าย
    เก็บดอกฝ้ายมาหีบแล้วปั่นเป็นด้าย
    แล้วนำเม็ดมะพลับมาทำเป็นแกนพันด้าย
    ครั้นลงอาบน้ำในสระโบกขรณีก็วางกลุ่มด้ายไว้
    หญิงหนึ่งผ่านมาเห็นกลุ่มด้ายก็คว้าเอาไป หญิงเจ้าของจะขอคืน
    หญิงนั้นก็อ้างว่าเป็นของตัว เมื่อพระมโหสถตัดสินความจึงได้ถามว่า
    แกนด้ายเป็นอะไร หญิงขโมยตอบว่าเอาเมล็ดฝ้ายเป็นแกนพันด้ายไว้
    หญิงเจ้าของตอบว่าเอาเม็ดมะพลับเป็นแกนพันด้ายไว้
    เมื่อพระมโหสถให้คลี่ด้ายออกจนสิ้น
    ก็พบว่าแกนในคือเม็ดมะพลับนั่นเอง

    เมื่อพระราชสดับฟังจากราชบุรุษ
    เสนกะบัณฑิตก็ทูลค้านว่าให้รอดูไปก่อนอีก

    "เรื่องบุตร"
    มีความว่ามารดาวางบุตรไว้ริมสระ
    นางยักษ์คิดอยากได้ทารกน้อย
    จึงแปลงกายเป็นหญิงแล้วชิงบุตรของมารดาไป
    เมื่อพระมโหสถตัดสินความ
    ก็รู้ว่าใครเป็นนางยักษ์เพราะนัยน์ตาไม่มีแวว
    แต่ก็ต้องตัดสิ้นให้ชาวบ้านเห็นชัดแจ้ง
    จึงให้คนขีดเส้นบนพื้นแล้วอุ้มทารกมาวางตรงกลางเส้นนั้น
    ให้นางยักษ์จับเด็กด้านศีรษะ ให้มารดาจับเด็กด้านเท้า
    แล้วสั่งให้ทั้ง ๒ หญิงนั้นฉุดดึงแย่งเด็กอย่างสุดแรง
    ถ้าเด็กเลื่อนเข้าไปที่ด้านใครมากกว่าคนผู้นั้นก็จะได้เด็กไป
    เมื่อ ๒ หญิงดึงเด็กได้ครู่หนึ่งเด็กก็ร่ำไห้
    มารดาจึงหยุดดึงร้องไห้ปิ่มว่าใจจะขาด
    พระมโหสถจึงให้ชาวบ้านตอบว่าผู้ใดเป็นแม่ที่แท้จริง
    ชาวบ้านก็ตอบว่าแม่เด็กย่อมมิอาจดึงลูกตนให้เจ็บปวด
    นางยักษ์จึงสารภาพออกมาโดยสิ้น

    "เรื่องโคธกาฬ"
    มีความว่าบุรุษนามโคธกาฬมีผิวดำร่างเตี้ย
    ชวนภรรยานามทีฆตาลาไปเยี่ยมบ้านพ่อแม่ซึ่งจากมานาน ๗ ปีแล้ว
    เมื่อเดินทางถึงแม่น้ำเชี่ยวกรากข้ามลำบากนัก
    พอดีมีชายผู้หนึ่งร่างสูง ชื่อ ทีฆปิฏฐิ
    ผ่านมาและอาสาพาข้ามน้ำโดยอ้างว่าต้องแบกขึ้นหลังพาข้ามทีละคน
    เมื่อนายทีฆปิฏฐิพาภรรยาโคธกาฬข้ามไปแล้ว
    ก็เกี้ยวพาราสีจนนางทีฆตาลายอมไปอยู่ด้วย
    โคธกาฬแค้นใจจะกระโดดน้ำตาย
    ครั้นพอกระโดดไปแล้วปรากฎว่าน้ำตื้นมาก
    จึงวิ่งลุยน้ำตามไปจนทันคนทั้งสองแล้วเกิดวิวาทกัน
    จนชาวบ้านนำพามาให้พระมโหสถตัดสิน
    เพราะนายทีฆปิฏฐิอ้างว่าตนเป็นสามีตัวจริงของนางทีฆตาลา

    พระมโหสถจึงเรียกโคธกาฬเข้าไปถามว่าพ่อแม่นางทีฆตาลาชื่ออะไร
    แต่งงานกันที่ใด มีใครรู้เห็นเป็นพยาน
    ซึ่งโคธกาฬตอบได้ทั้งสิ้น

    ครั้นเรียกนายทีฆปิฏฐิไปถาม เขาก็ไม่สามารถตอบชื่อพ่อแม่
    นางทีฆตาลาได้ จึงอ้างว่าอยู่กินกันเองมิได้แต่งงานมีพยานใด

    เมื่อถึงนางทีฆตาลา นางก็อ้างว่าเป็นภรรยาของทีฆปิฏฐิ
    แต่นางกลับตอบพระมโหสถไม่ได้ว่าสามีนางมีพ่อแม่ชื่ออะไร
    แต่งงานกันที่ใดมีใครรู้เห็นบ้าง

    ในที่สุดนางจึงยอมรับสารภาพว่าเป็นภรรยาโคธกาฬ
    พระมโหสถจึงอบรมให้ซื่อสัตย์ต่อกันและสั่งสอนทีฆปิฏฐิ
    มิให้ประพฤติผิดลูกเมียใครอีก

    "เรื่องรถม้า"
    มีความเป็นมาว่า ชายผู้หนึ่งถูกขโมยรถม้า
    ซึ่งชายผู้เป็นขโมยนั้นแท้จริงคือพระอินทร์ปลอมมา
    เพื่อจะประกาศปัญญาบารมีพระมโหสถให้ผู้คนประจักษ์
    เมื่อทั้งสองถูกนำมาให้พระมโหสถพินิจความ
    พระมโหสถก็ให้ทั้งสองบุรุษเกาะท้ายรถม้า
    แล้วให้คนผู้หนึ่งขับรถทะยานไป เมื่อคนทั้งสองวิ่งตามรถม้า
    ชายธรรมดาเจ้าของรถก็เหน็ดเหนื่อยมิอาจตามทันได้
    ส่วนพระอินทร์นั้นวิ่งทันรถม้าโดยมิมีเหงื่อสักหยด
    พระมโหสถจึงเอ่ยว่าท่านไม่ใช่คน แต่เป็นเทพมาขโมยรถม้าเพื่อเหตุใด
    พระอินทร์จึงทรงสารภาพว่าเป็นเทพจริง
    และมาเพื่อประกาศภูมิปัญญาของพระมโหสถให้ปรากฎ
    จากนั้นพระอินทร์ก็คืนรถม้าแล้วเสด็จจากไป
    เรื่องนี้เป็นที่เลื่องลือทั่วแคว้น

    พระราชทรงคิดขอตัวพระมโหสถเข้าวัง
    แต่เสนกะบัณฑิตก็ยังคัดค้านให้รออีก

    "เรื่องท่อนไม้"
    มีความเป็นมาว่าพระราชาวิเทหะ
    ทรงคิดลองภูมิปัญญาพระมโหสถด้วยองค์เอง
    จึงสั่งช่างให้กลึงไม้ตะเคียนท่อนหนึ่งแล้วส่งไปให้
    พระมโหสถตอบว่าด้านไหนปลายด้านไหนเป็นต้น
    ซึ่งก่อนหน้านี้พระราชาทรงลองปัญญา ๔ ราชบัณฑิต
    แต่ทว่ามิมีผู้ใดตอบได้ ฝ่ายพระมโหสถนั้นก็ให้นำ
    ไม้ตะเคียนแช่น้ำโดยมัดเชือกกลางท่อนไม้ไว้
    ท่อนไม้ด้านที่จมลงน้ำมากกว่าก็คือด้านโคนต้น
    และทางปลายต้นจึงเบากว่าและไม่จมน้ำ

    "เรื่องงู"
    มีความเป็นมาโดยพระราชาทรงทดลองเอง
    ทรงให้พระมโหสถหาว่างูตัวใดเป็นตัวเมียตัวผู้
    พระมโหสถก็ตอบได้ว่างูตัวที่หัวใหญ่หางใหญ่คืองูตัวผู้
    งูตัวเมียหางเล็กตาเล็กและลวดลายขาดจากกัน

    "เรื่องศีรษะ"
    มีความเป็นมาว่าพระราชาให้พระมโหสถทายว่า
    กะโหลกศีรษะ ๒ กระโหลกนั้นเป็นของเพศใดอันใด
    พระมโหสถก็ชี้ได้ว่ากะโหลกที่มีแสกตรง คือกะโหลกของเพศชาย
    และกะโหลกที่มีแสกคดคือกะโหลกของสตรีนั่นเอง

    "เรื่องไก่"
    มีความเป็นมาว่าพระราชารับสั่งให้ชาวบ้านส่งโคเผือก
    มีโหนกที่ศีรษะและมีเขาที่เท้า ร้อง ๓ เวลา มาให้พระราชา
    ซึ่งพระมโหสถก็ส่งไก่ไปถวาย
    โดยชี้แจงว่าไก่มีกายขาวและมีเดือยที่ขา
    มีหงอนไก่หรือโหนกที่ศีรษะ
    และร้องขันเพียงวันละ ๓ หนเท่านั้น

    "เรื่องดวงแก้ว"
    มีความเป็นมาว่า
    พระราชาให้ส่งดวงแก้วมณีที่สายร้อยเก่าขาดไปให้พระมโหสถ
    รับสั่งให้ร้อยดวงแก้วนั้นให้ได้
    พระมโหสถเห็นดวงแก้วซึ่งมีรูคดยากจะร้อยเช่นนั้น
    ก็นำน้ำผึ้งมาทาช่องดวงแก้วแล้วฟั่นด้ายแดงร้อยจ่อไว้ให้ชุ่มน้ำผึ้ง
    จากนั้นนำไปวางที่ปากรูมดแดงเหล่าฝูงมดแดงก็กรูกันไปกินน้ำผึ้ง
    จนด้ายเก่าข้างในถูกดึงออกมา
    และด้ายใหม่ก็ถูกดึงร้อยเข้าไปจดทะลุอีกด้าน

    "เรื่องโคตัวผู้"
    มีความเป็นมาว่า
    พระราชาทดลองให้ขุนวัวตัวหนึ่งจนอ้วน
    เอาน้ำมันทาเขา ชุบตัวด้วยขมิ้น แล้วส่งไปให้พระมโหสถพร้อมรับสั่งว่า
    โคตัวผู้นี้ตั้งท้อง ขอให้ส่งโคพร้อมลูกโคให้พระราชาเมื่อโคคลอดแล้ว
    พระมโหสถจึงให้หญิงผู้หนึ่งปล่อยผมสยาย
    คร่ำครวญร่ำไห้ไปตลอดทางจนถึงพระราชาแล้วให้ร่ำไห้ทูลว่า
    บิดาของนางน้องโตแต่คลอดออกมามิได้ ขอให้พระองค์ช่วยด้วย
    พระราชาทรงหัวร่อแล้วตรัสว่าบุรุษเพศผู้จะคลอดทารกได้อย่างไร
    หญิงผู้นั้นจึงทูลว่า หากเพศผู้มิอาจคลอดทารก
    แล้วโคตัวผู้ที่ส่งให้ชาวบ้านทำคลอดนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร
    พระราชาทรงตรัสถามว่าเป็นความคิดใคร
    ครั้นพอทราบว่าพระมโหสถคิดมาดังนี้ พระราชาก็พอพระทัยยิ่งนัก

    "เรื่องข้าว"
    พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวบ้านหุงข้าว ๘ ประการให้ได้คือ
    ไม่ให้ใช้ข้าวสาร
    ไม่ให้ใช้น้ำ
    ไม่ให้ใช้หม้อ
    ไม่ให้ใช้เตา
    ไม่ให้ใช้ไฟ
    ไม่ให้ใช้ฟืน
    ไม่ให้ชายหญิงยกมา
    ไม่ให้นำมาโดยทาง
    พระมโหสถจึงแก้ปริศนา ๘ ข้อคือ
    ๑ ไม่ใช้ข้าวสาร ก็ใช้ข้าวป่นหรือปลายข้าวที่ตำแหลกแล้ว
    ๒ ไม่ให้ใช้น้ำ ก็รวบรวมเอาน้ำค้างมาหุงแทน
    ๓ ไม่ให้ใช้หม้อ ก็หุงในกะทะดินแทน
    ๔ ไม่ให้ใช้เตา ก็ใช้ก้อนหินวางเป็นสามเส้าแทนเตา
    ๕ ไม่ให้ใช้ไฟ ก็ใช้เพลิงสีกันที่สีจากหิน
    ๖ ไม่ให้ใช้ฟืน ก็ใช้ใบไม้และเศษวัตถุต่าง ๆ
    ๗ ไม่ให้ใช้หญิงชายเป็นผู้ยก ก็ให้กะเทยยกไป
    ๘ ไม่ให้นำมาตามทาง ก็ให้คนเดินออกนอกทางเดินตรง ๆ

    "เรื่องชิงช้า"
    พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวบ้านร้อยชิงช้าด้วยเชือกทราย
    พระมโหสถจึงให้ชาวบ้านไปกราบทูลว่ามิอาจร้อยได้
    เพราะมิได้รับสั่งว่าจะกำหนดให้ฟั่นกี่เกลียว
    มิได้บอกว่าขนาดยาวสั้นเท่าใด แล้วที่ว่าเชือกที่ทำด้วย "ทราย"
    ของในวังขาดไปนั้นของของเดิมมาเป็นตัวอย่างด้วยจะได้ทำใหม่ได้
    ครั้นพระราชาทรงตรัสถามว่าใครย้อนปริศนานี้ ชาวบ้านก็ตอบว่า
    พระมโหสถให้ย้อนตอบมา

    "เรื่องสระน้ำ"
    พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวบ้านส่งสระโบกขรณี
    ซึ่งมีดอกบัว ๕ ชนิดมาให้พระองค์ภายใน ๗ วัน ให้จงได้
    มิฉะนั้นจะถูกปรับ พระมโหสถจึงให้ชาวบ้านลงเล่นน้ำจนผมเผ้ายุ่งเหยิง
    ตาแดงก่ำเนื้อตัวเปื้อนดินโคลน มือถือเชือกบ้าง ท่อนไม้บ้าง
    แล้วให้ไปเข้าเฝ้าพระราชา

    แล้วชาวบ้านก็ทูลตอบว่า พวกตนเอาเชือกผูกสระโบกขรณีมาถึงหน้าวัง
    สระนั้นเคยอยู่แต่ในป่าเมื่อเห็นวังก็ตกใจวิ่งหนีไปจนพวกตนมีสภาพดังนี้
    ขอให้พระองค์นำสระน้ำของพระองค์ไปในป่า
    สระน้ำในป่าจะได้คุ้นเคยกับสระน้ำในวังจนไม่หนีไปอีก
    พระราชาสดับฟังดังนั้นก็ทรงพระสรวลที่พระมโหสถย้อนปัญหาได้อีก

    "เรื่องสวน"
    พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวบ้านส่งอุทยานใหม่มาให้พระองค์
    อุทยานเก่าของพระองค์ทรุดโทรมนักแล้ว
    อุทยานใหม่ต้องเป็นสวนที่ร่มรื่นด้วยไม้นานาพันธุ์
    พระมโหสถก็ให้ชาวบ้านย้อนปริศนาคืนเหมือนกับครั้งสระน้ำ
    พระมโหสถขอให้พระองค์ทรงพาหนะขนาดใหญ่ไปบรรทุกสวนจากป่าเข้าวังด้วย
    ซึ่งพระราชาย่อมมิอาจหาพาหนะใหญ่โตเช่นนั้นได้

    ครั้งนี้พระราชาตัดสิ้นพระทัยจะรับพระมโหสถเข้าวัง
    แต่เสนกะบัณฑิตทูลว่ามิควรเสด็จไปเอง ควรตั้งปริศนาให้
    พระมโหสถส่งม้าอัสดรมาถวายและให้พระมโหสถและบิดาเข้ามาเฝ้าด้วย

    "เรื่องม้า"
    เมื่อพระราชายอมทดลองอีกครั้งตามคำเสนกะบัณฑิต
    พระมโหสถก็ให้บิดาเข้าเฝ้าพระราชาก่อนโดยนำบริวาร ๑ พันคน
    ไปพร้อมกับผอบไม้จันทร์ใส่เนย เมื่อตนไปถึงขอให้บิดาลุกขึ้น
    และพูดว่าลูกจงมานั่งที่นี้เถิด

    เมื่อพระมโหสถนำลาเข้ามาผูกไว้แล้วเข้าเฝ้า
    เศรษฐีสิริวัฒกะก็ทำตามที่นัดกันไว้
    ราชบัณฑิตต่างก็หัวร่อที่พระมโหสถให้พ่อลูกและนั่งแทนพ่อ
    พระราชาทอดพระเนตรดังนั้นก็เสียพระทัยกล่าวว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตร
    พระมโหสถจึงทูลว่าหากตนนั่งแทนพ่อคือความผิด
    ก็แสดงว่าบิดาย่อมต้องมีค่ากว่าบุตรเสมอ
    ถ้าเช่นนั้น พระองค์ควรรับลานี้ไว้ไม่ต้องหาม้า
    เพราะลาเป็นพ่อของพ่อม้า และบิดาก็เป็นพ่อของตน
    ดังนั้นพระราชาควรรับการถวายลาและบิดาตนเถิด

    พระราชาสดับฟังก็เข้าพระทัย ทรงหลั่งน้ำรดมือเศรษฐี
    และให้ครองหมู่บ้านปาจีนวย ทั้งยังฝากของกำนัลแก่นางสุมนาเทวี
    จากนั้นก็ขอให้พระมโหสถเป็นบัณฑิตอยู่ในเรือข้าหลวงนอกสืบต่อไป

    เข้ารับราชการ

    "เรื่องแก้วในรังกา"
    คราวหนึ่งในสระโบกขรณีเกิดแสงสว่างเรืองรองเป็นที่ร่ำลือกันว่า
    มีแก้วมณีดวงใหญ่อยู่ในสระเป็นแน่แท้ เสนกะบัณฑิตทูลว่าให้ขุดสระ
    หาดวงแก้วแต่ทว่าก็มิอาจพบดวงแก้วได้ เมื่อพระราชาปรึกษาพระมโหสถบ้าง
    พระมโหสถก็ให้นำขันน้ำบ้าง อ่างน้ำบ้าง
    วางอยู่ทั่วบริเวณนั้นก็ปรากฏว่ามีแสงสว่างเรืองในน้ำนั้นทุกภาชนะ
    จึงให้ปีนดูบนต้นตาลริมสระ ก็พบแก้วมณีอยู่ในรังกาบนต้นตาลนั่นเอง

    "เรื่องกิ้งก่า"
    มีความเป็นมาว่าพระราชาพอพระทัยกิ้งก่าที่ลงจากซุ้มประตูมาหมอบถวายตัว
    ทรงปรึกษาพระมโหสถก็ได้ความว่าให้พระราชาทานแค่อาหาร
    มิควรประทานของมีค่า ภายหลังราชบุรุษนำมณีมาผูกคอกิ้งก่า
    ครั้นพระราชาเสด็จผ่าน กิ้งก่าก็อยู่บนซุ้มสูงมิลงมาหมอบอีก
    พระมโหสถจึงว่ากิ้งก่าได้พลอยจึงลืมตัวและทูลค้านมิให้ฆ่ามัน
    ซึ่งเป็นสัตว์ไร้ปัญญา พระราชาจึงรับสั่งให้งดเลี้ยงเนื้อแก่มัน

    "เรื่องสิริกาลกิณี"
    มีความว่าปิงคุตตระลาอาจารย์เมืองตักสิลากลับบ้าน
    อาจารย์มอบสตรีรูปงามให้ไปด้วย
    แต่งปิงคุตตระเป็นกาลกิณีมิอาจเข้ากับสิริได้จึงมิชอบพอนาง
    มิพูดจาด้วย มิร่วมนอนด้วย และมิหาผลไม้ให้กิน
    เมื่อนางต้องปีนขึ้นต้นมะเดื่อเองก็ลงไม่ได้
    เพราะปิงคุตตระผูกลวดหนามไว้โคนต้น
    พระราชาวิเทหะเสด็จผ่านมาเกิดรักใคร่
    ก็นำไปอภิเษกให้นามว่าพระนางอุทุมพร

    ต่อมาขณะเสด็จประพาสเมืองเห็นปิงคุตตระนั่งแผ้วถางริมทาง
    พระนางอุทุมพรทรงแย้มสรวลที่บุรุษกาลกิณีมิอาจรับสิริมงคลเช่นตัวนางได้
    พระราชาเข้าพระทัยผิดคิดว่าพระนางพึงพระทัยบุรุษนั้น
    แม้พระนางทูลเล่าความจริงก็มิทรงเชื่อ คิดจะประหารพระนางด้วยความกริ้ว
    เสนกะบัณฑิตก็ทูลว่าเป็นไปไม่ได้ที่ชายใดจะชิงชังสตรีเลอโฉม
    แต่พระมโหสถทูลว่าเป็นไปได้ เหมือนกับดินและฟ้า
    ซึ่งมิอาจร่วมกันได้เหมือนทะเลคนละฝั่งซึ่งต้องไกลกันมิอาจบรรจบ
    พระราชาทรงเชื่อพระมโหสถและทรงอนุญาตให้
    พระนางอุทุมพรรับพระมโหสถเป็นน้องชาย

    "เรื่องแพะกับสุนัข"
    มีความว่าพระราชาทอดพระเนตรเห็นแพะกับสุนัขเป็นมิตรกัน
    แพะแอบเอาเนื้อมาให้สุนัขเพราะแพะเข้าโรงครัวได้ไม่ถูกคนตี
    สุนัขก็เข้าโรงช้างแอบเอาหญ้ามาให้แพะกิน
    ทั้งคู่ก็มิต้องถูกคนตีดั่งก่อนมา พระราชจึงตั้งปัญหาบัณฑิตในวังว่า
    ทำไมสัตว์ ๒ ตัว จึงเป็นมิตรกันได้ หากใครตอบไม่ได้จะไล่ออกจากราชวัง
    พระมโหสถทูลถามพระนางอุทุมพรว่าพระราชาทรงประทับ ณ ที่ใดเมื่อเช้านี้
    เมื่อทราบแล้วพระมโหสถไปดูสถานที่นั่นจึงทราบความ
    และมาบอก ๔ บัณฑิตที่คิดไม่ออก บัณฑิตทั้งหมดจึงตอบได้
    แต่พระนางอุทุมพรทูลว่าพระมโหสถบอกความแก่ ๔ บัณฑิต
    พระมโหสถน่าจะได้รางวัลพิเศษกว่าผู้อื่น

    พระราชาทดลองภูมิปัญญา

    พระราชาตรัสถามเสนกะว่า คนมีปัญญาแต่ไร้ยศศักดิ์
    กับคนมียศศักดิ์แต่ไร้ปัญญา ผู้ใดประเสริฐเหนือกว่ากัน
    เสนกะกราบทูลว่าคนมียศศักดิ์ประเสริฐกว่า
    แต่พระมโหสถกราบทูลว่าคนมีปัญญาประเสริฐกว่า
    เสนกะแก้ว่าคนมีปัญญาแต่ไร้ยศ พูดจากใดไปก็มิมีใครเชื่อถือ
    พระมโหสถแก้ว่าคนมียศถ้าไร้ปัญญาก็พูดจาให้ร้ายคนอื่น
    และตนเอง คนมีปัญญาพูดแต่สัจจะวาจา
    ภายหน้าผู้คนย่อมสรรเสริญเอง

    คราวนี้ไม่ว่าเสนกะกล่าวใดมา พระมโหสถก็แก้ได้หมด
    เสนกะจนปัญญายอมแพ้รับว่าคนมีปัญญาประเสริฐกว่า
    พระราชาจึงพระราชทานโค ๑ พันตัว รถม้า ๑๐ คัน
    ส่วย ๑๖ บ้าน ให้แก่พระมโหสถ ด้วยทรงพอพระทัยยิ่งนัก

    เนื้อคู่ปัญญาเลิศ

    ครั้นพระมโหสถเจริญวัยถึง ๑๖ ปี พระนางอุทุมพรอยากให้มีคู่
    พระมโหสถจึงขอออกเดินทางไปเลือกกัลยาณีด้วยตนเอง
    พระมโหสถปลอมเป็นคนชุนผ้า เมื่อถึงหมู่บ้านอุตตระยวมัชฌคาม
    ก็พบอมรเทวีผู้มีลักษณะดีและมีปัญญา เมื่อพบก็ลองภูมิปัญญา
    กันหลายข้อจนพอใจ
    อย่างเช่นนางอมรเทวีตอบว่าบิดานางไถนาอยู่ที่ไปแล้วไม่กลับ
    พระมโหสถก็รู้ว่าที่ป่าช้า เมื่อสู่ขอแก่บิดานางแล้วก็พากลับเมือง
    ระหว่างทางลองใจนางโดยฝากนางไว้ที่บ้านคนเฝ้าประตู
    แล้ววางอุบายจ้างบุรุษรูปงามไปเกี้ยวนางทุกวัน นางก็ไม่ใยดีผู้ใด
    จึงวางอุบายฉุดนางมาที่บ้านแล้วปลอมตัวรอ
    นางก็ร่ำไห้ว่าเป็นเศรษฐีแต่กลับฉุดหญิงมีเจ้าของ
    ย่อมต้องตกนรกหมกไหม้พระมโหสถจึงให้นำนางกลับไป

    เมื่อเช้ารุ่งขึ้น พระมโหสถทูลพระราชาและพระนางอุทุมพร
    พระราชาจึงทรงจัดงานวิวาห์ให้พระมโหสถอย่างสมเกียรติ
    และพระราชทานทรัพย์มากมาย
    นางอมรเทวีและพระมโหสถก็แบ่งทรัพย์ทำทานหลายส่วนอีกด้วย

    ถูกใส่ร้าย

    ต่อมาบัณฑิตทั้ง ๔ ร่วมกันคิดใส่ร้ายพระมโหสถ จึงแอบขโมย
    ปิ่นทองคำของพระราชา รองเท้าทองคำ ดอกไม้ทองคำ
    ผ้าคลุมบรรทมใส่ในสิ่งของธรรมดาต่าง ๆ
    เช่นผอบและหม้อน้ำมันให้นางทาสีนำไปให้นางอมรเทวีที่บ้าน
    นางอมรเทวีเอะใจที่ให้ฟรีแต่ไม่เอาเงิน
    จึงให้บ่าวไพร่ช่วยเป็นพยานเมื่อพบสิ่งมีค่าอยู่ในของนั้น

    ครั้นพระราชาจะเอาโทษ พระมโหสถหนีไปปลอมตัวเป็นช่างปั้นหม้อ
    ๔ บัณฑิตก็แอบมาเกี้ยวนางอมรเทวี
    นางจึงขุดหลุมเทอุจจาระลงไปแล้วปิดกระดานไว้
    ล่อให้บัณฑิตทั้ง ๔ ตกลงไป แล้วจึงนำทั้ง ๔ โกนผม
    นำผูกเชือกเข้าวังไปทูลความจริงทั้งหมดให้พระราชาทรงทราบ
    พระราชาก็มิได้ลงโทษประการใด

    เมื่อ ๔ บัณฑิตชั่วยังมิถูกผลกรรมตัดสิน
    เทวดาจึงมาปรากฎกายถามปริศนาพระราชา
    และว่าถ้าพระราชาตอบไม่ได้จะฆ่าให้ตาย
    พระราชาจึงถาม ๔ บัณฑิตแต่ไม่มีใครตอบได้
    พระราชาจึงให้ทั้ง ๔ บัณฑิตไปตามรับตัวพระมโหสถกลับมา
    พระมโหสถจึงไขปริศนาว่า

    ๑ ผู้ที่ยิ่งทุบตี กลับยิ่งเป็นที่รัก นั้นก็คือทารกที่มักนอนตักแล้วดิ้นทุบตีอกมารดานั่นเอง

    ๒ ผู้ที่ปากดำแต่ใจรักใคร่ นั้นก็คือมารดาที่ด่าบุตรอบรมบุตรยามบุตรทำผิด

    ๓ ผู้ที่มักโกหกกันแต่รักใคร่นั้นก็คือสามีภรรยาที่ชอบให้โทษกันแต่ก็รักใคร่กัน

    ๔ ผู้ที่เอาข้าของไปแต่ถูกรักใคร่นั้น ได้แก่สมณชีพราหมณ์ที่รับเอาข้าวของจากเราไป

    เหล่าเทวดาต่างแซ่ซ้องสรรเสริญพระมโหสถ
    และพระราชาก็ปีตินัก แต่ไม่นานทั้ง ๔ บัณฑิตก็คิดร้ายพระมโหสถอีก
    โดยทูลพระราชาว่า พระมโหสถอาจคิดแย่งบัลลังก์พระราชา
    หากไม่เชื่อให้ลองถามดูว่า อันความลับนั้นคนเราควรบอกแก่ใคร

    เมื่อพระราชาตรัสถาม พระมโหสถก็ได้กราบทูลว่าความลับไม่ควรบอกแก่ใคร
    พระราชาสดับฟังเสียพระทัยคิดว่าพระมโหสถคิดกบฏจริง
    พระราชาจึงให้เสนกะฆ่าพระมโหสถในวันรุ่งขึ้น
    พระนางอุทุมพรรู้เข้าจึงส่งข่าวให้พระมโหสถทราบ
    และแนะให้พระมโหสถนำพสกนิกรมาด้วย

    พระมโหสถจึงนำพลเมืองไปเฝ้าหน้าพระที่นั่ง
    แล้วทูลบอกความลับของทั้ง ๔ บัณฑิตที่ทำผิดอะไรบ้าง
    ลักขโมยของพระราชาบ้าง ซึ่งเสนกะ
    และบัณฑิตอื่นบอกความลับไว้แก่ญาติของตน
    พระราชาทรงกริ้วคิดประหาร ๔ บัณฑิต
    แต่พระมโหสถทรงทูลขอชีวิตไว้
    ๔ บัณฑิตจึงเลิกคิดร้ายต่อพระมโหสถอีกต่อไป


    มหาปราชญ์รักษานคร

    เมื่อพระราชาทรงนับถือและเชื่อมั่นในพระปัญญาบารมี
    และความภักดีของพระมโหสถช่วยพิจารณา
    และยังให้พระมโหสถช่วยเทศนาสั่งสอนเรื่องธรรมดาความดี
    แก่พระราชาและข้าราชบริพารเป็นนิจอีกด้วย

    พระมโหสถได้ทูลแนะนำให้พระราชาผูกมิตรกับแคว้นรอบ ๆ
    พระนครมิถิลาโดยให้นักรบนำเครื่องราชูปโภคไปถวาย
    พร้อมทั้งอยู่รับใช้เจ้าเมืองนั้น ๆ
    เพื่อเป็นการระวังการชิงเมือง
    เพราะมีสายคอยส่งข่าวอยู่แล้วในแต่ละเมือง
    พระราชาก็ทรงเห็นดี
    และจัดให้กระทำตามนั้นกับทั้ง ๑๐๑ เมือง รอบมิถิลานคร

    ต่อมาสังขะพละกะราชแห่งเมืองกัมพลนครเตรียมทัพ
    พระมโหสถส่งนกแก้วไปดูจึงรู้ว่ากัมพลนครเตรียมทัพ
    เพราะเมืองของพระเจ้าจุลนีคิดยกทัพมาตี
    และนอกจาตีกัมพลนครแล้วก็ยังจะตีให้สิ้นทั้ง ๑๐๑ นคร
    รวมทั้งมิถิลาด้วยโดยมีเกวัฏจอมชั่วช้าคิดการเป็นใหญ่
    พระมโหสถจึงให้ชาวมิถิลาเตรียมทำตามอุบาย

    ในขณะที่เกวัฏยุยงพระจุลนีไปตีเมืองกัมพล และหัวเมืองต่าง ๆ
    ๑๐๑ กว่านครแล้ว พระมโหสถส่งคนไปทุบไหสุราในงานเลี้ยงจนสิ้น
    พระราชา ๑๐๐ กว่าคนก็รอดตายมิต้องเสวยยาพิษในสุรา
    เกวัฏกับพระเจ้าจุลนีแค้นนักยกทัพมาล้อมมิถิลา
    ก็เห็นชาวเมืองยังจัดมหรสพเริงรื่นมิกลัวอันใด
    เกวัฏคิดอุบายจะล้อมเมืองให้คนในเมืองอดอยาก
    แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะพระมโหสถแก้ไขได้ทั้งสิ้น

    เกวัฏคิดสู้ด้วยธรรมะ
    พระมโหสถจึงทูลขอดวงแก้วพระราชาไปยื่นให้เกวัฏ
    แต่ดวงแก้วหนักมากจึงหล่นลง
    เกวัฏรีบก้มลงเก็บพระมโหสถจึงกดศีรษะไว้แล้วกล่าวว่า

    "ท่านอาจารย์ผู้อาวุโส อย่าคารวะข้าผู้เป็นรุ่นหลานเลย
    ลุกขึ้นเถิดไม่ต้องไหว้ข้า"

    บรรดาชาวบ้านต่างก็โห่ร้องชอบใจ
    เกวัฏเสียหน้าก็พาทัพกลับกันด้วยความอาย

    ต่อมาเกวัฏวางอุบายอีก
    ส่งทูตมาเจรจาว่าจะยกพระธิดาของพระเจ้าจุลนีให้แก่พระราชาแห่งมิถิลา
    ขอให้พระองค์เสด็จไปรับด้วย
    พระมโหสถจึงเตรียมแผนไปสร้างวังที่เมืองใกล้ปัญจานคร
    และขุดอุโมงค์ไว้ด้วย
    พอพระราชวิเทหะเสด็จไปที่เมืองใหม่คืนแรก
    ก็ถูกเกวัฏกับพระเจ้าจุลนียกทัพมาล้อมจะจับตัว

    แต่พระมโหสถกับไพร่พลลงใต้อุโมงค์ไปเข้าเมืองปัญจานคร
    จับกุมมเหสีและธิดาของพระเจ้าจุลนีมาไว้ในวังใหม่จนสิ้น
    พระเจ้าจุลนีถูกซ้อนกลดังนั้นก็ยอมแพ้แต่โดยดี
    ทั้งยังต้องตั้งสัตย์อธิษฐานกับพระมโหสถว่าจะไม่คิดร้ายใครอีก
    แล้วก็ยกพระธิดาปัญจาลจันทีให้พระราชาวิเทหะ

    พระเจ้าจุลนีทรงชวนให้พระมโหสถไปอยู่ด้วย
    แต่พระมโหสถทูลว่ามิอาจเป็นข้า ๒ นาย
    หากพระราชาของตนสวรรคตเมื่อใดจึงจะไปอยู่ด้วยได้

    ต่อมาเมื่อพระราชามีพระโอรสกับพระธิดาของพระเจ้าจุลนีได้ ๑๐ ปีผ่านไป
    พระราชาวิเทหะเสด็จสวรรคต
    พระมโหสถจึงไปอยู่ที่เมืองของพระเจ้าจุลนีตามสัญญา...

    คติธรรมเรื่องนี้มีว่า
    ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคลยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน
    แม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน
    ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว


    ขอน้อมจิตกราบโมทนาบุญกุศลอันบุคคลทั่วไปทำได้ยากยิ่งนั้น ขอธรรมและฌาณสมาบัติที่พระองค์บรรลุแล้วจงปรากฏแก่กายและจิตของข้าพเจ้าและทุกท่านด้วยเถิด สาธุ...สาธุ...สาธุ...
     
  18. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    มหากฐินสามัคคีวัดบ่อเงินบ่อทอง วันที่29 ตุลาคม 2549
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG] [​IMG]


    เนื่องจากวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ 2549 ทางวัดบ่อเงินบ่อทองจะมีการทอด"มหากฐินสามัคคี" คือทุกคนเป็นเจ้าภาพเสมอกันหมดไม่มีบริวารกฐิน พระในวัดทุกรูปจะได้รับ"ผ้าไตร"เสมอกันทุกรูปและทุกท่านที่ไปจะได้ถวาย"มหากฐิน"กับมือท่านเอง ท่านที่เป็นเจ้าภาพกฐิน ๑ ชุด ชุดละ1000บาท จะมีผ้าไตรใหญ่พร้อมทั้งเครื่องอัฏฐะบริขานครบชุด โตขอเชิญชวนทุกๆท่านมาเป็นเจ้าภาพ"มหากฐิน"ในครั้งนี้เพื่อสมทบทุนในการสร้างโรงเรียน"พระปริยัติธรรม วัดบ่อเงินบ่อทอง"

    อีกนิดเดียวเองท่านทั้งหลายโรงเรียนพระปริยัติธรรมก็จะเสร็จสมบรูณ์แล้ว
    พระเณรทั้งหลายจะได้มีที่เรียนหนังสือและที่ทำความดี
    เชิญนะครับมาร่วมกัน"สร้างคนให้เป็นคนดี"กันนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ
    ท่านที่เป็นเจ้าภาพ"มหากฐิน"ชุดใหญ่ชุดละ 1000บาท จะได้รับพระพุทธรูป"หลวงพ่อโสธร"5นิ้ว ๑ องค์


    หรือทำบุญได้ที่หมายเลขบัญชีเพื่อรับบริจาค

    พระมหาแผน ฐิติธัมโม 01-9408541
    สำนักสงฆ์บ่อเงินบ่อทองประเภทบัญชี : ออมทรัพย์
    หมายเลขบัญชี : 203-0-06304-5
    ธ.กรุงไทย สาขาพนมสารคาม
    ชื่อบัญชี : ร.ร.ปริยัติธรรมบ่อเงินบ่อทอง



    [​IMG]

    ขอเรียนเชิญนะครับ ไปร่วมบุญกันเพื่อพระพุทธศาสนาของเรา...​

     
  19. ao.angsila

    ao.angsila เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,332
    ค่าพลัง:
    +26,683
    HTML:
    
    
    (f) (i) รอยพระหัตถ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน(i) (f)
    (f) (i) ภายในถ้ำนารายณ์ ณ.วัดเขาวงษ์(ถ้ำนารายณ์) อ.ท่าลาน จ. สระบุรี (i) (f)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 661-27.jpg
      661-27.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24 KB
      เปิดดู:
      59
    • 661.jpg
      661.jpg
      ขนาดไฟล์:
      15 KB
      เปิดดู:
      77
  20. sravnane

    sravnane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    695
    ค่าพลัง:
    +17,914
    ขอร่วมดมทนาบุญทุกอย่าง ถวายเป็นพุทธบูชาฯ

    ขอร่วมโมทนาบุญทุกอย่าง ถวายเป็นพุทธบูชาฯ ขอบารมีพระทุกพระองค์จงปกป้องคุ้มครองท่านและครอบครัวให้ประสพแต่วามสุขเจริญในธรรมยิ่งขึ้นไป ตราบเทาเข้าสู่พระนิพพานเทอญฯ
    :cool: :cool: :cool: :cool: :cool: :cool: :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...