ตามรู้จิต - ตามรู้ความคิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 พฤษภาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ท่านทั้งหลายได้ปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์แล้ว และได้สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ก็เป็นการชำระกายวาจาของตนเองให้บริสุทธิ์ เป็นการปรับพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์ ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ตรงที่มีศีล ๕ ข้อ เมื่อทุกท่านได้สมาทานศีล ๕ ข้อแล้ว และไม่ได้ละเมิดล่วงเกินข้อใดข้อหนึ่ง ท่านก็เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์และเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ จึงขอให้เตรียมตัวให้พร้อมที่จะนั่งสมาธิภาวนา<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ท่านจะนั่งท่าไหน อย่างไร ก็สุดแต่ที่ท่านถนัดที่สุด นั่งในท่าที่สบาย อย่าเกร็งร่างกายหรือกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง นั่งให้สบาย หายใจให้สบาย บัดนี้ท่านทั้งหลายได้เตรียมพร้อมแล้ว ขอได้โปรดประนมมือขึ้น น้อมนึกในใจว่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิเพื่อปฏิบัติบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ให้จิตของข้าพเจ้าแน่วแน่เป็นสมาธิมีสติปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในสภาวธรรมตามความเป็นจริง นึกในใจ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ น้อมจิตน้อมใจเชื่อมั่นลงไปว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจ พระธรรมอยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ อาการที่พระพุทธเจ้ามีอยู่ที่ใจคือใจรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี อาการที่มีธรรมอยู่ในใจคือการทรงไว้ซึ่งความรู้สึกเช่นนั้นตลอดเวลา อาการที่พระสงฆ์อยู่ในใจคือความมีสติกำหนดจิตนึกบริกรรมภาวนาพุทโธไว้ตลอดเวลาไม่ให้พรากจากกัน แล้วเอามือวางลงบนตัก กำหนดรู้ลงที่จิต นึก พุท พร้อมลมเข้า โธ พร้อมลมออกก็ได้ ถ้านึกพุทโธพร้อมลมเข้าลมออก ช่วงหายใจยังห่าง จิตสามารถส่งกระแสออกไปทางอื่นได้ ให้ปล่อยความรู้ลมหายใจเสีย นึกพุทโธเร็วๆเข้า โดยนึกพุทโธด้วยความเบาใจ อย่าไปข่มความรู้สึก อย่าไปบังคับจิตให้สงบ นึกพุทโธๆๆเอาไว้ อย่าไปนึกว่าเมื่อใดจิตจะสงบ เมื่อใดจิตจะรู้ เมื่อใดจิตจะสว่าง ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว นึกพุทโธๆๆพุทโธก็อยู่กับจิต จิตก็อยู่กับพุทโธ เมื่อมีการตั้งใจนึกพุทโธ สติสัมปชัญญะจะมาเอง หน้าที่เพียงนึกพุทโธๆๆไว้จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควร จิตจะสงบหรือไม่สงบไม่สำคัญ ให้เรานึกพุทโธไว้โดยไม่ขาดระยะเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งจิตมันคล่องตัวต่อการนึกพุทโธ ในที่สุดจิตจะนึกพุทโธๆๆเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เมื่อจิตนึกพุทโธเองโดยไม่ได้ตั้งใจ แสดงว่าการภาวนาของเรากำลังจะได้ผลแล้ว<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ในเมื่อจิตนึกอยู่ที่พุทโธๆๆพุทโธก็เป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เมื่อจิตมีเครื่องรู้ สติมีเครื่องระลึก ผู้ปฏิบัติตั้งใจปฏิบัติให้มากๆ กระทำให้มากๆ ในที่สุดจิตจะเกิดความสงบ มีอาการหลายๆอย่างที่จะพึงเกิดขึ้น ในบางครั้งจะรู้สึกว่าง่วงนอน มีอาการเคลิ้มๆเหมือนจะหลับ ในตอนนี้ผู้ภาวนาเกิดกลัวว่าจะนอนหลับ จึงไปฝืนความรู้สึกเช่นนั้น เมื่อฝืนแล้วความรู้สึกก็คืนมาสู่สภาวะธรรมดา แล้วเราก็บริกรรมภาวนากันใหม่ ถ้าหากผู้ใดภาวนาแล้วมีอาการเคลิ้มๆลงไปเหมือนกับจะง่วงนอน ขอให้ปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น อย่าไปฝืน ถ้าจะเกิดความหลับขึ้นมา ก็ปล่อยให้หลับอยู่ในขณะที่นั่งอยู่นั่นแหละ เพราะจิตที่จะก้าวลงสู่สมาธิในเบื้องต้นมีอาการคล้ายกับจะหลับ สำหรับผู้หัดภาวนาใหม่ๆเมื่อภาวนามากเข้า จิตจะมีอาการเคลิ้มๆลงไป ถ้าเราปล่อยลงไปประคองให้มันเป็นไปตามเรื่องตามราวของมัน ในที่สุดจิตของเราจะเกิดอาการหลับ บางทีมีอาการวูบลงไป บางทีก็ค่อยเคลิ้มๆไป เกิดอาการหลับลงไปจริงๆ เมื่อมีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นจิตจะเกิดความสว่างขึ้น พอจิตเกิดความสว่าง จิตจะเริ่มบรรลุถึงความเป็น พุทธะ ผู้รู้ พุทธะ ผู้ตื่น พุทธะ ผู้เบิกบาน ในตอนนี้คำบริกรรมภาวนาจะหายไป ยังเหลือแต่จิตผู้รู้ปรากฏสว่างอยู่เท่านั้น<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ในระยะแรกๆ เราจะรู้สึกว่าความสว่างพุ่งออกมาทางสายตา เมื่อกระแสจิตส่งออกไปข้างนอกตามแสงสว่าง จะเกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นมา เมื่อเกิดภาพนิมิตต่างๆขึ้นให้ผู้ภาวนากำหนดรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว อย่าไปเอะใจหรือตื่นใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ให้กำหนดว่านิมิตนี้เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ และนิมิตนี้เกิดขึ้นตอนที่จิตสงบเป็นสมาธิ แล้วประคองจิตให้อยู่ในสภาพที่สงบ นิ่ง สว่างอยู่ตามเดิม ในตอนนี้สำหรับผู้ภาวนาใหม่ สติสัมปชัญญะยังตามเหตุการณ์ไม่ทัน ในเมื่อเกิดนิมิตขึ้นมาแล้วมักจะหลง หลงติด บางทีก็เกิดความดีใจ บางทีก็เกิดความกลัว และเกิดความเอะใจขึ้นมา สมาธิถอน นิมิตนั้นหายไป แต่ถ้าสมาธิไม่ถอน จิตไปอยู่ที่นิมิตนั้น ถ้านิมิตนั้นแสดงความเคลื่อนไหว เช่น เดินไปวิ่งไป จิตของผู้ภาวนาจะละฐานที่ตั้งเดิม ละแม้กระทั่งตัวเอง จิตจะตามนิมิตนั้นไป คิดว่ามีตัวมีตน เดินตามเขาไป เขาพาไปขึ้นเขาลงห้วยหรือไปที่ไหนก็ตามเขาไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าผู้โชคดีก็ไปเห็นเทวดา เทวดาก็พาไปเที่ยวสวรรค์ ถ้าหากว่าผู้โชคไม่ดีจะไปเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกก็พาไปเที่ยวนรก อันนี้เพราะผู้ภาวนามีสติยังอ่อน ยังควบคุมจิตของตนเองให้รู้อยู่ภายในไม่ได้ ในเมื่อเห็นนิมิตต่างๆอย่างนั้น อย่าไปสำคัญว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นของดีวิเศษ แท้ที่จริงเป็นแต่เพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติเท่านั้น นักภาวนาที่ฉลาดจะกำหนดรู้อยู่ที่จิต ถึงความรู้สึกว่านิมิตสักแต่ว่านิมิต ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา แล้วก็ประคองจิตให้อยู่ในสภาวะเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สมาธิจิตจะสงบนิ่งอยู่ นิมิตเหล่านั้นจะทรงตัวอยู่ให้เราได้พิจารณาได้นาน บางทีนิมิตนั้นอาจจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ ทำให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันเหตุการณ์ภายใน แต่แท้ที่จริงนิมิตนั้นแม้จะเป็นสิ่งที่เห็นในสมาธิก็ตาม เป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เหมือนมองเห็นรูปด้วยตาภายนอกเมื่อเรายังไม่ได้กำหนดจิตทำสมาธิ จะมีค่าเหนือกว่ากันหน่อยก็ตรงที่อันหนึ่งเห็นด้วยตาธรรมดา แต่อีกอันหนึ่งเห็นด้วยอำนาจสมาธิ แต่ ถ้าไปหลงติดนิมิตนั้นก็เป็นผลเสียสำหรับผู้ปฏิบัติ บางครั้งไปเข้าใจว่านิมิตนั้นเป็นวิญญาณมาจากโลกอื่น เข้ามาเพื่อจะขอแบ่งส่วนบุญ และเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น เราก็ตั้งใจแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ในเมื่อคิดแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ความคิดทำให้สมาธิถอน ในเมื่อสมาธิถอนขึ้นมาแล้ว นิมิตนั้นก็หายไปหมด วิญญาณเหล่านั้นเลยไม่ได้รับบุญกุศลที่เราให้<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ขอทำความเข้าใจกันอีกครั้งว่า นิมิตที่เกิดขึ้นภายในสมาธินั้น ให้ทำความเข้าใจเพียงแต่ว่าเป็นมโนภาพเอาไว้ก่อน อย่ารีบไปตัดสินว่าเป็นของจริงของแท้ ให้นึกว่าเป็นมโนภาพที่เราปรุงแต่งขึ้นมาเอง ให้ทำความรู้สึกไว้อย่างนี้ ท่านจะเกิดความเฉลียวฉลาด<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    สมมติว่าเมื่อภาวนาแล้วจิตมีวิตก วิจาร ปีติ มีความสุข และมีความละเอียดสงบนิ่งลงไปถึงขั้นอัปปนาสมาธิ และผู้ภาวนาสามารถที่จะฝึกฝนอบรมกาย ทำวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ให้คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ ฝึกฝนจนมีความคล่องตัว นึกอยากจะเข้าฌานเมื่อใดก็เข้าได้ เมื่อเข้าฌานไปแล้วจิตจะรู้อยู่ในสิ่งๆเดียว หรือในจุดๆเดียว ความรู้อะไรต่างๆไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น ถึงแม้ว่าความรู้อะไรไม่เกิดขึ้น ผู้ภาวนาก็ไม่ควรเสียอกเสียใจและไม่ควรกลัวว่าจิตของตนจะไปติดสมถะ ความจริง เมื่อจิตนิ่งสงบลงไปสู่ความเป็นสมถะในขั้นอัปปนาสมาธิ อยู่ในขั้นฌานที่ ๔ โดยธรรมชาติของจิตที่อยู่ในฌานขั้นนี้ จะไม่มีความรู้ความเห็นอันใดปรากฏขึ้น นอกจากจิตจะไปรู้อยู่ในสิ่งๆเดียว คือรู้เฉพาะในจิตอันเดียวเท่านั้น ประกอบพร้อมด้วยความเบิกบานแจ่มใส สว่างไสวอยู่ภายในจิต จิตจะไม่มีความรู้เกิดขึ้น<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ถึงกระนั้นก็ตาม ถ้าผู้ภาวนาสามารถทำจิตให้เป็นไปดังเช่นที่กล่าวนี้บ่อยๆครั้งเข้า ถ้าต้องการให้จิตของท่านก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา โดยไม่ต้องไปหยิบยกเอาอะไรมาเป็นเครื่องพิจารณา เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิขั้นฌานแล้วจะมีความรู้สึกสัมผัสรู้ว่ามีกาย ในเมื่อกายมีปรากฏขึ้น จิตจะมีความคิด เมื่อเกิดความคิดขึ้น ผู้ภาวนารีบกำหนดรู้ ตามความคิดนั้นไป ในตอนนี้จิตของเราจะคิดเรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องกุศล เรื่องอกุศล เรื่องโลก เรื่องธรรม ปล่อยให้เขาคิดไปตามลำพังของเขา อย่าไปห้าม หน้าที่ของเราเพียงทำสติตามรู้ไปโดยถือเอาความคิดเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติอีกครั้งหนึ่ง ในเมื่อเราหมั่นอบรมทำสติตามรู้ความคิดหลังถอนจากสมาธิแล้ว ทำจนคล่องแคล่ว ทำจนชำนิชำนาญ จนสามารถทำสติตามทันความคิด เมื่อสติตามทันความคิดขึ้นมาเมื่อใด จิตก็จะสงบเป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข แล้วก็จะสงบละเอียดลงไปเป็นเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาในเบื้องต้น ข้อที่ควรสังเกตมีอยู่อย่างหนึ่ง เมื่อจิตถอนออกจากอัปปนาสมาธิ พอสัมผัสรู้ว่ามีกาย จิตจะมีความรู้ขึ้นมา เมื่อเราทำสติตามรู้ความคิดนั้นไป สติจะตามความคิดและตามจ้องดูกันไปตลอดเวลา จิตเมื่อยิ่งคิดมากก็ยิ่งมีความสบาย เพราะจิตคิดด้วยพลังสมาธิที่ผ่านมาแล้ว แล้วเมื่อเราทำสติตามรู้ ตามทันความคิดนั้น ความคิดกลายเป็นตัวปัญญา ปัญญาคือความรู้ที่เกิดขึ้น ธรรมชาติของความรู้สึกนึกคิดย่อมมีเกิด มีดับ เมื่อผู้ภาวนาทำสติตามรู้ความคิดอยู่อย่างนั้น หนักๆเข้าจิตก็จะรู้ความเกิด ความดับ อะไรเกิด อะไรดับ ก็คือความคิดนั่นเอง จิตเป็นผู้เกิด จิตเป็นผู้ดับ ในเมื่อสติตามรู้ทันความเกิดดับของจิต จิตก็จะเกิดปัญญาขึ้นมา มีความรู้ มีความสำคัญมั่นหมายในสภาวะที่เกิดดับ-เกิดดับนั้นด้วยอนิจสัญญา คำว่าอนิจสัญญาคือความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ในเมื่อจิตรู้สภาวะความไม่เที่ยงที่เกิดดับ จิตก็ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ดังนั้น ในเมื่อผู้ภาวนาทำจิตให้สงบนิ่งเป็นสมาธิบ่อยๆจิตก็ได้รับผลจากสมาธิ ได้รับความสุขจากสมาธิ หากพอจิตออกจากสมาธิก็รีบลุกออกจากที่นั่ง ถ้าทำอย่างนี้แล้วจิตก็ไปติดอยู่แค่ขั้นสมถะ จากที่เคยทดสอบและทดลองมาแล้ว ควรจะได้ใช้สติกำหนดตามความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากที่จิตถอนออกมาจากสมาธิแล้ว ดังที่กล่าวแล้ว การทำสติกำหนดตามรู้ความคิด ผู้ภาวนาจะต้องมีความตั้งใจจดจ้อง เป็นการพิจารณาสภาวธรรมในแง่วิปัสสนากัมมัฏฐาน ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายพึงทำความเข้าใจอย่างนี้<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    เมื่อทำจิตให้เป็นสมาธิ มีปีติ มีความสุข มีเอกัคคตา มีความสงบ จิตไปนิ่ง ว่างวางเฉยอยู่ อย่าไปภูมิอกภูมิใจความเป็นเพียงแค่นั้น เดี๋ยวจิตก็ติดสมถะ ไม่ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนา เมื่อเป็นเช่นนั้นจะทำอย่างไร ก็ทำอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว คือเมื่อจิตถอนออกจากฌานมาสัมผัสรู้ว่ามีกาย ก็รีบทำสติตามรู้ความคิดนี้ทันที ความคิดจะเรื่องโลกเรื่องบาป เรื่องบุญอะไร ปล่อยให้เขาคิดไป อย่าไปห้าม ตามรู้ไปจนกว่าสติจะตามทันความคิด แม้ว่ามันจะคิดไม่หยุด ไม่เกิดความสงบอีกก็ตาม แต่ถ้าหากว่าสติตามทันกันไปเรื่อยๆเป็นอันใช้ได้ ถ้าความคิดที่เป็นจิตฟุ้งซ่าน คือจิตธรรมดาที่เราไม่มีสติ ยิ่งคิดไปยิ่งยุ่งในสมอง คิดไปเท่าไรยิ่งหนักอก คิดไปมากเท่าใดยิ่งวุ่นวาย แต่ถ้าคิดด้วยความมีสติสัมปชัญญะ โดยอาศัยพลังของสมาธิ ยิ่งคิดก็ยิ่งปลอดโปร่ง ยิ่งคิดก็ยิ่งมีความเพลิดเพลิน คิดไปเสวยปีติและความสุขไปอีก อันนี้เป็นลักษณะของจิตที่เดินวิปัสสนากัมมัฏฐาน<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    และมีปัญหาที่จะพึงทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง นักภาวนาทั้งหลาย ในการเริ่มภาวนาในตอนต้นๆนี้ เช่น การบริกรรมภาวนา “พุทโธ” เป็นต้น ทำไปแล้วจิตมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จิตสงบลงเป็นสมาธิ มีความสุขสบายเหลือล้น พอทำจิตไปเรื่อยๆ แล้วภายหลังจิตไม่เป็นเช่นนั้น พอกำหนดลงไปนิดหน่อยมันมีแต่ความคิด บางท่านก็เข้าใจว่าภูมิจิตภูมิใจของตัวเองเสื่อมแล้ว เมื่อก่อนนี้ภาวนาจิตสงบ แต่ขณะนี้จิตไม่สงบ จิตฟุ้งซ่าน แต่ขอให้สังเกตให้ดี ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ในเมื่อศีลดี สมาธิเกิดขึ้นแล้ว สมาธิก็พลอยดีไปด้วย เรียกว่าสัมมาสมาธิ ในเมื่อสมาธิเป็นสัมมาสมาธิ เป็นอุบายให้เกิดปัญญา ดังนั้น ผู้ภาวนาซึ่งเมื่อก่อนมีจิตสงบนิ่ง ภายหลังมาทำสมาธิมากๆแล้วไม่เกิด เพียงเป็นสมาธิเพียงนิดหน่อย สงบนิดเดียวเท่านั้น แล้วก็มีแต่ความคิดเกิดขึ้นๆไม่หยุดหย่อน ก็ไปเข้าใจว่าการทำสมาธิของตนเองนั้นเสื่อมแล้ว บางท่านก็พยายามบังคับจิตให้หยุดคิด เมื่อเกิดมีการบังคับขึ้นก็เกิดอาการปวดศีรษะ เพราะเป็นการฝืนกฎธรรมชาติที่มันจะเป็นไป เพราะฉะนั้น ขอให้ท่านพึงสังเกตให้ดี เมื่อทำจิตเป็นสมาธิเมื่อใดก็มีแต่จิตสงบนิ่งเป็นสมถะ มันก็ไม่มีความก้าวหน้า กำหนดจิตพิจารณาลงไปนิดหน่อย จิตสงบ เมื่อสงบแล้วมีความคิด อาการเช่นนี้แสดงว่าจิตกำลังก้าวหน้ากำลังอยากค้นคว้าหาความจริงในความเป็นไปของสภาวธรรม<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากจิตฟุ้งซ่าน เป็นเรื่องของปัญญาที่เกิดมาจากสมาธิ เพราะเราไม่เห็นว่าจิตของเรานี้ฝึกไปได้สารพัดอย่าง ไม่มีขอบเขต เพราะจิตของเราไม่ได้คิดเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราจึงสำคัญว่าจิตของเราฟุ้งซ่าน แต่แท้ที่จริง การพิจารณาธรรม รู้ธรรม เห็นธรรมนี้ ก็หมายถึงเห็นความคิด รู้ความคิดของตนนั่นเอง คือความมีสติสัมปชัญญะ เมื่อกำหนดจิตลงไปแล้ว เกิดความคิดขึ้นมา คิดไม่หยุด เราก็ทำสติตามรู้ความคิดดังที่กล่าวแล้ว นี่แสดงว่าจิตต้องการก้าวหน้า ต้องการเดินหน้า ต้องการพิจารณาค้นคว้า ผู้ที่ปฏิบัติรู้เท่าไม่ถึงการณ์คิดว่าจิตของตัวเองฟุ้งซ่าน ก็พยายามบังคับจิตของตนเองอยู่อย่างนั้นแหละ บังคับให้มันหยุดคิด ในเมื่อบังคับแล้วมันจะไม่คิด ไม่คิดก็กลายเป็นจิตที่โง่<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    คำว่าสมาธิอบรมปัญญาก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น อย่าพยายามไปบังคับจิตให้หยุดคิด หน้าที่ของเราคือทำสติตามรู้ความคิดไปทำสติตามรู้ไป ความคิดนั่นแหละคือเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ ความคิดเป็นฐานที่ตั้งอันมั่นคงของสติ ตราบใดที่จิตยังมีความคิด สติยังมีความระลึก สิ่งที่เราจะพึงได้จากการภาวนาคือความที่สติมีพลังแก่กล้าขึ้นจนเป็นมหาสติ เป็นสติที่มีฐานที่ตั้งอย่างมั่นคง แล้วกลายเป็นสติพละ เป็นสติที่มีพละกำลังอันเข้มแข็ง กลายเป็นสตินทรีย์ สติเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง เมื่อเป็นสติพละ เป็นสตินทรีย์ เมื่อสติตัวนี้เพิ่งพลังแก่กล้าขึ้นจึงกลายเป็นสติวินโย จิตของเราจะมีสติเป็นผู้นำ แม้จะตั้งใจก็ตาม ไม่ตั้งใจก็ตาม จิตจะมีความสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดีอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อจิตกระทบอารมณ์อันใดขึ้นมา สติตัวนี้จะออกไปรับและพิจารณาให้เกิดรู้เหตุรู้ผลขึ้นมา เมื่อรู้เหตุรู้ผลแล้วจิตมันก็จะปล่อยวางไปเอง.


    www.mahamakuta.inet.co.th/practice/mk728.html
     
  2. canopus

    canopus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2009
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +531
    อนุโมทนาครับ
    ไม่รู้ว่าเป็นธรรมมะของครูบาอาจายร์รูปใด
    แต่ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นเทศนาของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย นะครับ ท่านสอนธรรมมะได้แยบคายดีมาก ๆ เลย
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ของหลวงปู่พุธ ฐานิโยครับ
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ดูจิต ที่หลวงปู่พุธ ท่าน สอน คือ ดู จิตสังขาร
     
  5. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    พี่ปราบ..รีบบอก ยิ้มหวาน กิ้ว กิ้ว ":cool:
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    จากลิ้งข้างบน
    ไฟลล์ที่ 073 นะพี่เกิด เอามาฝาก ฟังซัก 500 รอบนะพี่เกิด (good)
     
  8. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    อนุโมทนาค่ะ แต่ก่อนก็ชอบบังคับจิตให้สงบค่ะ แต่เดี๋ยวกำลังพยายามตามดูจิตแต่ยังตามไม่ทัน^ ^~ ก็พยายามต่อไปค่ะ แต่เดี๋ยวนี้นั่งสมาธิทีไรจิตไม่เคยที่จะปราศจากความคิดเลยคิดตลอดแต่ตามแทบไม่ทันทุกที^ ^~

    _____________________________________

    "สุขใดเหมือนแม้นการไม่เกิดไม่มี" "จะไม่ละความเพียรถ้ายังไม่ถึงซึ่งนิพพาน"
    "สุขใดในโลกล้วนไม่ยั่งยืน ผู้ใดปล่อยวางพิจารณาในความทุกข์เห็นโทษของความสุขผู้นั้นชื่อได้ว่าพบความสุขอันยิ่งใหญ่"<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  9. CoccInelle

    CoccInelle เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +255
    ตอนนี้จิตสับสนค่ะ
     
  10. อริยฤทธิ์

    อริยฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +162
    จิต สติ นิพพาน หลวงปู่บุญฤทธิ์ บัณฑิโต
     
  11. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    ขอบคุณคร้าบบ
     
  12. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ความจริงแล้ว

    การสอนให้ ตามรู้ลักษณะของจิต(เช่น ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)โดยไม่ต้องทำอะไรเลย นั้น .... พระสุปฏิปันโนของไทยในอดีต ท่านก็สอนกันมานานแล้ว.

    เพียงแต่ ท่านไม่ได้สอน ให้ปฏิบัติเช่นนั้นตลอดเวลา


    กล่าวคือ ท่านไม่ได้ห้าม ข่มจิต-ประคองจิต-ยังจิตให้ร่าเริง ในทุกกรณี...สถานการณ์ใดสมควรปฏิบัติเช่นใด ก็ ให้ปฏิบัติเช่นนั้น


    น่า จะตรงกับคำว่า ในสมัยที่ควร ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ใน สีติสูตร




    บางสถานการณ์ ก็สมควรข่มจิต
    บางสถานการณ์ ก็สมควรประคองจิต
    บางสถานการณ์ ก็สมควรยังให้จิตร่าเริง
    บางสถานการณ์ ก็สมควรวางเฉยต่อจิต




    เกี่ยวกับ

    การตามรู้เท่าทันลักษณะต่างๆของจิตตรงๆ โดยไม่ทำอะไรต่อจิตเลย นั้น....

    บางท่าน อาจจะไม่เคยอ่านธรรมเหล่านี้


    จึงขออนุญาต นำมาลงประกอบกระทู้ ครับ



    ==================


    โอวาทธรรม หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน


    การอบรมจิต

    จงใช้ปัญญาพิจารณาด้วยดีในอาการของธรรมทุกแง่ซึ่งเกิดขึ้นจากจิต
    ความสัมผัสรับรู้ในขณะที่อารมณ์มากระทบจิต ไม่ให้พลั้งเผลอและนอนใจในอารมณ์ นั้นแลเรียกว่า ความเพียร

    ดีชั่ว สุขทุกข์ เศร้าหมอง ผ่องใส จงตามรู้ด้วยปัญญาแล้วปล่อยไว้ตามสภาพ ไม่ยึดถือและสำคัญว่าเป็นตน

    สิ่งใดที่ปรากฏขึ้นจงกำหนดรู้ อย่าถือเอาแม้แต่อย่างเดียว

    รู้ชั่วปล่อยชั่ว กลับมาหลงดี ถือสิ่งที่ดีว่าเป็นตน นี้ก็ชื่อว่าหลง

    จงระวังการมีสติหรือเผลอสติในขณะๆ นั้นๆ อย่าตามกังวล เป็นความผิดทั้งนั้น
    จงกำหนดเฉพาะหน้า พิจารณาเฉพาะหน้า

    กายมีอยู่ จิตมีอยู่ ชื่อว่าธรรมมีอยู่
    อย่าหลงธรรมว่ามีนอกไปจากกายกับจิต
    ไตรลักษณ์หรือสติปัญญาก็ต้องมีอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน

    จงพิจารณาในจุดที่บอกนั้น

    แม้ที่สุดทำผู้รู้หรือสติให้รู้อยู่ในวงกายตลอด โดยไม่เจาะจงในกายส่วนใดส่วนหนึ่งก็ถูก ข้อสำคัญให้จิตตั้งอยู่ในกาย อย่าใช้ความอยากเลยเหตุผลที่ตนกำลังทำอยู่ก็แล้วกัน การทำถูกจุดผลจะค่อยเกิดเอง ไม่มีใครแต่งหรือบังคับ

    อย่าส่งจิตไปตามอดีตที่ล่วงแล้ว ไม่มีประโยชน์แม้แต่น้อย


    16 มีนาคม 2503



    ========================


    คำสอนหลวงปู่ชา สุภัทโท


    โยม : ความฟุ้งซ่าน เวลามันเกิดขึ้นมา เราจะแก้ไขด้วยอุบายอย่างไร

    หลวงพ่อ : มันไม่ยากหรอก มันเป็นของไม่แน่หรอก ไม่ต้องไปแก้มัน

    คราวที่ฟุ้งซ่านมีไหม ที่มันไม่ฟุ้งซ่านมีไหม

    โยม : มีครับ

    หลวงพ่อ : นั่น ! จะไปทำอะไรมันล่ะ มันก็ไม่แน่อยู่แล้ว

    โยม : ทีนี้เวลามันแวบไปแวบมาล่ะครับ

    หลวงพ่อ : เอ๊า ! ก็ดูมันแวบไปแวบมาเท่านั้นแหละ จะทำยังไงกับมัน มันดีแล้วนั่นแหละ โยมจะไม่ให้มันเป็นอะไร อย่างไร มันจะเกิดปัญญาหรือนั่น

    โยม : มันแวบไป เราก็ตามดูมัน

    หลวงพ่อ : มันแวบไป มันก็อยู่นั่นแหละ

    เราไม่ตามมันไป เรารู้สึกมันอยู่ มันจะตรงไปไหนล่ะ มันก็อยู่ในกรงอันเดียวกัน ไม่ตรงไปไหนหรอก

    นี้แหละ เราไม่อยากจะให้มันเป็นอะไรนี่ พระอาจารย์มั่นเรียกว่า สมาธิหัวตอ ถ้ามันแวบไปแวบมา ก็ว่ามันแวบไปแวบมา ถ้ามันนิ่งเฉย ๆ ก็ว่านิ่งเฉย ๆ จะเอาอะไรล่ะ ให้รู้เท่าทันมันทั้งสองอย่าง

    วันนี้มันมีความสงบก็คิดว่า มันมาให้ปัญญาเกิด แต่บางคนเห็นว่าสงบนี่ดีนะ ชอบ ดีใจ วันนี้ฉันทำสมาธิมันสงบดีเหลือเกิน แน่ะ ! อย่างนี้เมื่อวันที่สองมาไม่ได้เรื่องเลย วุ่นวายทั้งนั้นแหละ แน่ะ วันนี้ไม่ดีเหลือเกิน

    เรื่องดีไม่ดีมันมีราคาเท่ากัน เรื่องดีมันก็ไม่เที่ยง เรื่องไม่ดีมันก็ไม่เที่ยง จะไปหมายมั่นมันทำไม ? มันฟุ้งซ่านก็ดูมันฟุ้งซ่านไปซิ มันสงบก็ดูมันสงบซิ อย่างนี้ให้ปัญญามันเกิด

    มันเป็นเรื่องของมันจะเป็นอย่างนี้ เป็นอาการของจิตมันเป็นอย่างนั้น เราอย่าไปยุ่งกับมันมากซิ ลักษณะอันนั้น อย่างเราเห็นลิงตัวหนึ่งนะ มันไม่นิ่งใช่ไหม โยมก็ไม่สบายใจ เพราะลิงมันไม่นิ่ง

    มันจะนิ่งเมื่อไร โยมจะให้มันนิ่ง โยมถึงจะสบายใจ มันจะได้เรื่องของลิงนะ ลิงมันเป็นเช่นนี้ ลิงที่กรุงเทพ ฯ มันก็เหมือนลิงตัวนี้แหละ ลิงที่อุบลราชธานีก็เหมือนลิงที่กรุงเทพ ฯ นั่นแหละ

    ลิงมันเป็นอย่างนั้นของมันเอง ก็หมดปัญหาเท่านั้นแหละ เอาอย่างนี้แหละ จะได้หมดปัญหาของมันไป
    อันนี้ลิงก็ไม่นิ่ง เราก็เป็นทุกข์อยู่เสมอ อย่างนั้นก็ตายเท่านั้นแหละ

    เราเป็นลิงยิ่งกว่าลิงเสียแล้วกระมัง



    ....................


    สำหรับผม จึงไม่ถือว่า มีสูตรตายตัว ที่ว่า

    1.จะต้องตามรู้ลักษณะของจิตอย่างเดียวโดยไม่ทำอะไรเลย

    หรือ

    2.จะต้องปฏิบัติต่อจิตในลักษณะต่างๆ(ข่ม-ประคอง-ยังให้ร่าเริง)


    ผมเห็นว่า มันขึ้นกับความเหมาะสมของสถานการณ์ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  13. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ผมเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า
    ไม่ถือว่า มีสูตรตายตัว และ มันขึ้นกับความเหมาะสมของสถานการณ์

    การปฏิบัติภาวนานั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลมีบารมี นิสัย วาสนา หยาบละเอียดไม่เท่ากัน
    บางขั้นตอนของการปฏิบัติภาวนานั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบ

    หลวงพ่อพุธท่านฯ สอนให้ตามรู้จิต ตามดูความคิด นั้น
    เป็นคนที่มีพื้นฐานภาวนามาดีพอสมควร

    หลวงพ่อพุธท่านฯ สอนเริ่มต้นให้ภาวนา พุทโธ เอาพุทโธเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ
    จนสติมีเครื่องระลึก ผู้ปฏิบัติต้องตั้งใจปฏิบัติให้มากๆ จนจิตจะเกิดความสงบ
    จึงมาถึงขั้นตอน ตามรู้จิต ตามดูความคิด ที่เป็นขั้นตอนพิจารณาทางปัญญา

    ไม่ใช่ เริ่มต้นไม่ต้องบริกรรมภาวนา สติไม่แนบแน่นกับจิต
    จิตยังวอกแวกไม่เป็นสมาธิ ข้ามขั้นตอนไป ตามรู้จิต ตามดูความคิด
    แทนที่จะเกิดปัญญา กลายเป็นสังขารความคิดลากเอาไปกิน
    สำคัญผิด ว่าเป็น ปัญญา กลายเป็น สัญญา สมุทัยทั้งดุ้น

    มือใหม่หัดขับ เพิ่งเริ่มต้น ก็จะเอา ปัญญา ทั้งที่พื้นฐานจิตยังอ่อน
    เป็นการสำคัญผิด ชิงสุกก่อนห่าม และประมาทยิ่งนัก



     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤษภาคม 2010
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สำหรับ คนที่ พุทโธไม่ได้ ทำยังไง พุทโธ ก็ไม่ติดใจ

    หรือ ทำยังไง จิตก็ไม่สงบเป็นขั้นสมถะ ทำยังไงก็ทำไม่ได้ ถ้าทำไม่ได้จะไม่ตายก่อนหรือ

    ....หลวงปู่พุธ ท่านจะเน้นสอน ให้ ทำสติตามรู้ อิริยาบท กายไหวตามรู้ จิตไหว ตามรู้ ให้ได้ทั้งวัน 24 ชั่วโมง ตลอดเวลา ไม่ว่าจะกลางวันทำงาน หรือกลางคืนนอนหลับ อยู่ที่ผู้ฝึก ว่า มีความตั้งใจจริง ในการฝึกเพื่อการหลุดพ้นหรือไม่


    สติแปลว่าระลึกได้ ทำสติ ตามรู้ หมายความว่า

    ก็คือ ให้ทำการ ระลึกได้ ในสิ่งที่เกิดกับ กายไหว และจิตไหว โดยการระลึกได้ ตามรู้ สิ่งที่เกิดกับกาย กับจิต

    สิ่งที่เกิดกับกาย คือ กายไหว ระลึกตามรู้

    จิตไหว ระลึกตามรู้ ตามรู้ไปเรื่อยๆ





    รูป ฟัน หลวงปู่พุธ ฐานิโย แปลเป็นพระธาตุ .... ใครอยากมีฟันเหมือนหลวงปู่พุธ ขอให้ศึกษา วิธีการ ให้ชัดเจนก่อน จะได้เข้าใจ ว่าเราเหมาะกับวิธีการแบบไหนในการขึ้นต้นสมาธิ .. แล้วกระทำให้แจ้ง ด้วยวิธีการนั้นที่เหมาะกับตน

    [​IMG]


    ขอบพระคุณเพื่อนสมาชิก ปี๊ป สำหรับเอื้อเฟื้อภาพครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      211.7 KB
      เปิดดู:
      538
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    พี่ปราบ..อ้างเจือสม สมยอม กิ้ว กิ้ว ... จากเนื้อหาข้างบน หลวงพ่อ ท่านสอนทำสมถะล่ะครับแน่นอน
    ท่านหมายถึงผู้ที่เกิดสติยากให้เปลี่ยนตัว"กำหนด" ส่วน ...หากจะดูจิตได้ ต้องมีสติก่อน อย่าลืม"หลักการครับ" พี่ปราบเทวดา..กิ้ว กิ้ว
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    พี่เกิดจะฝึกอะไรก็ฝึกไปเถอะ หากทำให้ มีสติ ก็ทำไป (sing)

    หากมี สติแล้ว กิเลสมันลด ลงก็โอเค
    แต่หากทำแล้วกิเลสพอกพูน ก็มาฟังพระ ท่านสอนใหม่อีกรอบ นะจ๊ะ...


    แต่หากอยากฟัง คำสอนหลวงปู่พุธ เต็มๆ แบบ หลาย แนวการขึ้นสมาธิ มาฟังได้ที่ห้องแชท นะจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤษภาคม 2010
  17. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    เพราะความเพียรไม่พอ

    เมื่อความเพียรพอกับเหตุแห่งการปฏิบัติ ยังไงจิตย่อมได้รับผลแห่งความสงบ

    ตั้งใจปฏิบัติให้มากๆ กระทำให้มากๆ ในที่สุดจิตจะเกิดความสงบ
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.950955/[/MUSIC]




    ฟังเต็มๆ ได้ที่นี่ ... ไฟลล์ที่ 071-072




    ถอดเสียงหลวงปู่พุธ ฐานิโย

    อีกปัญหาหนึ่ง มีท่านกล่าวไว้ ว่า ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้ซะก่อนแล้วจึงค่อยเจริญ วิปัสนากรรมฐาน เอ ..อันนี้ถ้าสมมุติว่า ใครไม่สามารถ ทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี๊ยะ จะไปรอ จนกระทั่ง จิตมันสงบ เป็นสมาธิขั้นสมถะเป็นอัปนาสมาธิ เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะ มันจะไม่ตายก่อนหรือ เพราะฉนั้นจึงขอทำความเข้าใจกับท่านนักปฏิบัติ ทั้งหลายไว้ว่า

    คำว่า สมถะกรรมฐานก็ดี วิปัสนากรรมฐานก็ดี
    ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจว่าเป็นชื่อของ วิธีการ

    การบริกรรมภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ หรือการบริกรรมภาวนาอย่างอื่น หรือการปฏิบัติ ด้วยการเพ่งกสิณ อันนั่น ปฏิบัติตามของ สมถะ

    แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิด หรือกำหนดจิต รู้ตามความคิด ของตัวเอง หรือจะหาเรื่องราวอันใดเช่น เรื่องของธาตุขันธ์ อายตนะ มาพิจารณา

    เช่น พิจารณา ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนอง นี่ อันนี้ การพิจารณาน้อมจิต น้อมใจ น้อมภูมิความรู้ เข้าไปสู่ กฎแห่งพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านเรียกว่า ปฏิบัติ ตามวิธีการแห่ง วิปัสนา

    แต่ทั้งสองอย่างนี้ เราจะปฏิบัติ ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็ได้
    ถ้าท่านผู้ ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบ เป็นสมาธิ ซักที จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
    ยกเรื่องอะไรยกขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ พิจารณาไป จนกระทั่ง จิตมันเกิด ความคล่องตัว พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา คิดเอา ตามสติปัญญา ที่เราจะคิดได้ คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น

    คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่ง เราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับ บริกรรมภาวนา ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้ วิตก วิจาร ในเมื่อจิต มี วิตก วิจารเพราะความคิดอ่านอันนี้

    มันก็เกิด มีปีติ มีความสุข มีเอกคัคตา มันจะสงบลงไปเป็น อุปจาระสมาธิ อัปนาสมาธิ
    หรือ บางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปนาสมาธิ
    พอถึงอุปจาระสมาธิ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัคตา
    มันก็จะทำหน้าที่พิจารณา วิปัสนาของมันอยู่ตลอดวันย่างค่ำตลอดคืนย่างรุ่ง
    เพราะฉนั้น อย่าไปติดวิธีการ

    ถ้าใครไม่เหมาะกับการ บริกรรมภาวนา ก็อย่า ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา

    ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับ การกำหนดรู้จิตเฉยอยู่ โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตา คอยจ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ รู้ รู้ เอาตัวรู้อย่างเดียว

    หรือ บางทีบางท่าน อาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด
    หรือบางท่าน อาจจะฝึกหัดสมาธิ โดยวิธีการ
    ทำสติตามรู้ การ ยืน เดิน นั่ง นอน รัปทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกลมหายใจ ก็สามารถที่จะทำจิตเป็น สมาธิได้เหมือนกัน

    เพราะฉนั้น ถ้าเราจะเป็น นักปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง เห็นจริง กันจริงๆแล้ว อย่าไปติดวิธีการ ให้กำหนดหมาย ว่า สมถะก็ดี วิปัสนาก็ดี เป็น วิธีการปฏิบัติ

    ถ้า บริกรรมภาวนา หรือเพ่งกสิณ เป็นวิธีปฏิบัติ ตามวิธีของ สมถะ

    ถ้า ปฏิบัติ ตามแบบที่ใช้ความคิดพิจารณาเรื่อยไป
    หรือกำหนด ทำสติตามรู้ความคิดเรื่อยไป
    เป็นการปฏิบัติ ตามแบบ ของวิปัสนากรรมฐาน

    ทั้งสองอย่าง เพื่อมุ่งประสงค์ให้จิตสงบ ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ประกอบด้วยองค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกคัคตา ด้วยกัน เหมือนกัน เพราะฉนั้นอย่าไปสงสัยข้องใจ ใครถนัดในทางไหน ปฏิบัติลงไป และ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการปฏิบัติมันมีหลายแบบ หลายอย่าง อย่าไปติดวิธีการ


    ยุบหนอ พองหนอ ก็ปฏิบัติ แบบสมถะ

    สัมมาอะระหังก็ แบบสมถะ

    หรือการใช้พิจารณาอะไรต่างๆ ก็เพื่อสมถะ เพื่อความสงบ จิตนั่นเอง

    เมื่อจิตไม่มีความสงบ สมาธิก็ไม่มี สมาธิไม่มี ฌานไม่มี ในเมื่อไม่มีฌานก็ไม่มีญาณ
    ไม่มีญาณก็ไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาก็ไม่มีวิชชา นี่กฎธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 พฤษภาคม 2010
  19. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984

    อย่าๆๆๆ ..อย่าติดรูปแบบ หรือ อย่าติดวิธีการ...ต้องดูจิตแบบพี่ปราบยกมา "วิธีการเดียวเท่านั้น"...กิ้ว กิ้ว พี่ปราบยัดเยียด..!
     
  20. สามดาว

    สามดาว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +17
    ข้อสังเกตุ
    ท่านใช้ คำว่า พิจารณา (ตามไฟล์เสียงฟังเอา) พิจารณาให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ไม่ใช่แค่ดูเฉยๆ เดี๋ยวเห็นเองว่า เป็น อนัตตา

    แล้วตอนหลังๆ ฟังกันให้ดี ๆ ท่านพูดว่า (นาทีที่ 3.25 ถ้าใครไม่เหมาะกับวิธีบริกรรมก็อย่าภาวนา....ถ้าจิตของท่านผู้ใดเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิต เฉย ๆ ..เป็นแต่เพียงจ้องมองดูความคิดเท่านั้น ..อะไรเกิดขึ้นรู้ เอาตัวรู้อย่างเดียว.......ก็สามารถที่จะทำจิตให้เป็น สมาธิได้เหมือนกัน....(นาทีที่ 4.04)

    แล้วใครกัน ว่า ดูจิตเป็น วิปัสนา....
    ท่านพูดแต่ว่า เป็นแนววิปัสนา แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสนา และสรุปลงว่า ทั้งสองอย่าง เพื่อมุ่งประสงค์ให้จิตสงบ

    ทั้งสองอย่างคือ 1.สมาธิอบรมปัญญา(บริกรรม) 2. ปัญญาอบรมสมาธิ(ตามรู้)

    แต่ปัญญาอบรมสมาธิ เดี๋ยวนี้หลายคนเข้าใจว่าเป็น วิปัสนาแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...