แบบนี้เรียกปฐมญาณหรือไม่ครับ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย perfex, 27 มีนาคม 2010.

  1. perfex

    perfex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +124
    ผมมีความรู้สึกสบาย เหมือนอยู่ในภวังค์ สงบ แบบนั่งไปเรื่อยๆได้สบาย

    แล้วถ้าหากผมอยู่ในปฐมญาณแล้ว จะเปลี่ยนมาเข้าสู่การพิจารณา ว่าร่างกายไม่ใช่ของเราไม่ควรยึดติด ได้เลยหรือไม่ครับ แล้วต้องพิจารณานานเท่าใด จึงกลับมากำหนดลมใหม่ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
    ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
    อย่างนี้เรียกว่าวิตก
    ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
    เรียกว่า วิจาร
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

    อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ


    เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
    โดยย่อมีดังนี้
    ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
    ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
    ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
    ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
    ประณีต
    ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
    แทรกแซง
    องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
    คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
    เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
    ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
    ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

    เสี้ยนหนามของปฐมฌาน


    เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
    ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
    ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
    เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
    หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
    ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
    ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
    ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
    คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
    ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน


    ที่มา คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานโดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

     
  3. เวลานาที

    เวลานาที เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +1,349
    อย่าพิจารณาเดี๋ยวหลุดจะได้เริ่มใหม่อีก เอาให้ได้ณาน1-4 ก่อนสิ
     
  4. อรุณวัช

    อรุณวัช Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +80
    ใช่แล้วคุณกำลังอยู่ฌาณ 1 แต่อย่าพึ่งพิจารณานะเราต้องทำฌาณ1-4ให้คล่องก่อน เมื่อคล่องแล้วเมื่อเราเข้าฌาณ4แล้วถอยออกมาที่อุปจารสมาธิสามารถพิจารณาได้เลย
     
  5. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,561
    ค่าพลัง:
    +2,122
    ถ้าทำเต็มที่แล้วได้แค่นี้ก็พิจารณาได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงชาน4
    ถ้ารอให้ถึงชาน4อาจเป็นสมาธิอบรมปัญญา

    แต่ถ้าเราทำได้แค่นี้เราก็ใช้ปัญญาพิจารณากายได้เลย ไม่ผิด แต่ต้องทำบ่อยๆ ๆๆทำมากๆๆๆ เพราะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เมื่อทำไปเรื่อยๆสมาธิก็จะละเอียดขึ้นได้ และจะทำสมาธิในขั้นต่อๆไปได้เอง
    มันก็จะหนุนกันไป เป็นปัญญาอบรมสมาธิบ้าง สมาธิอบรมปัญญาบ้างแบบนี้

    การพิจารณากายนอกจากการพิจารณาให้เห็นว่าไม่ใช่ของเราแล้วบางคน อาจเห็นได้ยาก

    วิธีของผมคือพิจารณาที่ทวารทั้ง6 เริ่มที่ทวารตาไปเรื่อยๆ โดยพิจารณาว่า เพราะดวงตาเห็นรูป จึงเกิดการปรุงแต่ง แล้วเกิดเป็นอารมณ์ ความอยากได้ ไม่อยากได้สิ่งที่ตาเห็นนั้นๆ ลองพิจารณาดูว่า รูปที่ตาเราเห็นนั้นเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ โลกที่เราเห็นได้ด้วยตาเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2010
  6. Ukie

    Ukie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +594

    ใช่ค่ะ ตามที่ท่านกล่าวเลย สงบแล้วก้อสามารถพิจารณาได้เลย เพราะไม่ได้นั่งสมาธิแล้วถึงฌานสี่ทุกคน แล้วไม่รู้ด้วยว่าจะถึงวันไหน เอาใจช่วยเจ้าของกระทู้และทุก ๆ ท่านนะคะ

    ที่สำคัญพระท่านว่า ทำไปอย่าหยุดค่ะ
     
  7. perfex

    perfex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +124
    ลืมบอกไปอย่างครับ ผมรู้สึกว่ามีอะไรวาบๆแวบในความมืดด้วยเวลาหลับตา แต่พอไปคิดเอ๊ะ นี่เราอยู่ในญาณหรือป่าว มันก็หายไป แบบนี้เป็นอาการที่จะได้พบด้วยหรือป่าว ?
    ขอบคุณครับ
     
  8. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    ผมว่าเอาสมาธิให้มั้นคงก่อนทำให้คล่องก่อนเมือดีแล้วค่อยเจิรญปัญญาเข้าไปพิจารณา ถ้าสติไม่ดีพอ ไปรู้เห็นอะไรเข้าแล้วสติไม่พอจะเกิดเรื่องได้(วิปลาศ) ถ้ามั่นคงแล้วค่อยเข้าไปพิจารณาจะดีกว่า
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ได้ทั้งคู่หละครับ....ไม่ว่าจะสมาธิอบรมปัญญา หรือ ปัญญาอบรมสมาธิ......ผลสุดท้าย
    อย่างไรก็ต้อง มีสมาธิและปัญญา ทั้งคู่..เพราะเป็นบาทฐานซึ่งกันและกัน....ไม่มีแบบใหนดีและเลวกว่ากัน.....ต้องดูความเหมาะสมของแต่ละคน.....และบางครั้งก็ต้องดูความเหมาะสมของแต่ละสถานการณ์....

    แล้วแต่คน......บางคนเขาฝึกสมาธิได้...เขาชอบสมาธิเป็นพื้นฐาน...จิตก็จะมีความตั้งมั่นกว่า.....ซัดส่ายไปน้อยกว่า....

    แต่ถ้าเจริญสมาธิจนถึงขั้นฌานยังไม่ได้...ก็ใช้สมาธิที่ต่ำกว่า..เอาไว้เจริญปัญญาได้....แต่กำลังก็จะน้อยกว่า...คือ มันไปกับสิ่งรอบข้างได้ง่าย...เท่านั้นเอง.....

    ถึงอย่างไรทำได้ก็ทำ...ทำยังไม่ได้ก็ทำ.....ทำต่อไป...ดีกว่าไม่ทำ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2010
  10. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    หากยังตัดเรื่องความรำคาญ ความกังวล ความกลัว การรบกวนอันมาจากเสียงไม่ได้ ยังถือว่าอยู่ในสมาธิชั่วคราว ขนิกสมาธิเท่านั้น

    เช่น หากมีเสียงเกิดขึ้น แล้วไม่รู้สึก แม้เสียงนั้นดังมาก หรือกวนมากก็ไม่หวั่นไหว เฉย ๆ นั่นแหละอยู่ในปฐมฌานแล้ว

    หากพิจารณาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ละความเป็นตัวเราได้
    กล่าวคือวิปัสสนาไปด้วยก็สามารถบรรลุธรรมได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงจตุตถฌาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2010
  11. รัศมีสีทอง

    รัศมีสีทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +391
    คุณจะพิจารณาแบบไหนหรือจะใช้สมาธิขั้นไหนก็ถามตัวเองดูสิ ถามคนอื่นเขารู้กับคุณหรือเปล่าล่ะ เขาคือเขา เราคือเรา กินข้าวอิ่มหรือไม่อิ่มไม่ต้องถามคนอื่นหรอกว่าผมอิ่มหรือยัง คุรนั่นแหล่ะรู้ตัวเองมากกว่าใคร การปฏิบัติที่ได้ผลคือดูความเหมาะสมของอารมณ์เราว่าเราสบายใจในอารมณ์ไหน ก็เอาอารมณ์นั้นไว้ก่อน อย่าฝืน ที่สำคัญอย่าถามคนอื่น ถามตัวเองนั่นแหล่ะ ถ้าตัวเองชอบอันไหนก็ทำอันนั้น จะพิจารณาก่อน หรือจะเข้าฌาณก่อนก็ดูอารมณ์ตอนนั้นว่าชอบอันไหน แล้วสบายใจก้ทำไป มันจึงจะได้ผลเร็ว ไม่ใช่ว่าอารมณ์พิจารณามันตะพึดตะพือ หรือเข้าสมาธิมันตะพึดตะพือ ให้ดูใจตัวเองว่าอันไหนมันเหมาะสมมากกว่ากัน มันจึงจะเป็นทางสายกลาง เขาทำแบบนี้เป็นพระอรหันต์มาเยอะแล้วครับท่าน แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน คนที่แนะนำคุณเขาก็มีแบบฉบับของเขา คุณก็มีแบบฉบับของคุณ คุณไม่ใช่เขาเขาไม่ใช่คุณ ถึงเขาแนะนำคุณไปก็ไม่ถูกจริตของคุณหรอก ถ้าคุณไม่ดูอารมณ์เป็นที่สบาย
    อนุโมทนากับการปฏิบัติด้วยครับ
     
  12. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ถ้าผมเปน จขกท. ผมจะเอาความสงบก่อน ถ้าทำวันนี้ได้ดีเหมือนวันก่อน จิตรวมที่อารมณ์เดียว ก้ถือว่าใช้ได้ นิ่งมากๆ จนหายไปหมด ไม่ร้จะทำไร ก้ให้เอาใจจดจ่อที่ความนิ่งนั้นไปเรื่อยๆ(ไม่ห่วงหน้าไม่พะวงหลังและอย่าสงสัยอะไรๆ) พอหายนิ่ง มันก้จะถอนออกมาเอง เพื่อรับร้ความร้สึกภายนอกอีกครั้ง

    ตย.ของผู้ปฏิบัติที่มีปสก.แบบนี้ อาจจะเรียกว่าปฏิบัติได้ดีทีเดียวเลยแหละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...