วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของบารมี หรือที่หลวงพ่อท่านอธิบายไว้ว่าหมายถึงกำลังใจครับ หาอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ บารมีสิบของหลวงพ่อครับ รวมทั้งในเวบนี้ด้วยครับ

    เรื่องของบารมีหรือกำลังใจนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน แต่ละท่านย่อมมี บารมีและกำลังใจไม่เท่ากัน และแม้แต่ตัวเราเอง เมื่อก่อน และปัจจุบันก็ย่อมมีกำลังใจไม่เท่ากัน เพราะบารมีหรือกำลังใจนั้น เป็นสิ่งที่สร้าง ที่ฝึกฝน ที่บำเพ็ญ ให้เพิ่มให้ งอกงาม ให้แข็งแกร่งได้ อุปมาเหมือน เรี่ยวแรงหรือพละกำลังของเรา ถ้าเรายิ่งออกกำลังให้มากขึ้น บ่อยขึ้น อย่างพอเหมาะพอสม ไม่มากเกินไป และไม่น้อยเกินไป ร่างกายของเราก็จะพัฒนากล้ามเนื้อให้มีพละกำลังที่แข็งแกร่งขึ้นได้ จิตใจของเราก็เช่นกัน เมื่อเราได้ฝึกฝนจิตใจของเราไม่ให้ย่อท้อต่ออุปสรรค ในการทำความดี ในกุศล โดยอาจจะเริ่มจากง่ายๆ เบาๆ ไม่เกินกำลังใจของเรามากนัก และจากนั้นจึง ค่อยๆ เพิ่มกำลังใจให้สูงขึ้นยากขึ้นไปตามลำดับ และทำให้สม่ำเสมอ ไม่ยอมหยุดยั้งหรือเลิกกลางครัน เราก็จะมีบารมีและกำลังใจที่สูงขึ้นมากขึ้นยิ่งๆขึ้นไปอีก อย่างสบายๆ ไม่ยากเย็น
    นอกจากนั้น ความฉลาดในการทำบุญและการสร้างบารมีก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ บารมีของเราเต็มได้เร็วขึ้น
    พยายามเลือกการสร้างบารมีที่ใช้กำลังใจน้อยแต่ให้ผลมาก
    พยายามเลือกการสร้างบารมีที่ทำแล้วมีผลกระทบในแง่ดี ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
    พยายามสร้างบุญบารมี ที่มีอานิสงค์มาก
    พยายามสร้างบารมี ที่ทำให้เกิดผลเต็มสมบูรณ์
    พยายามสร้างบารมี ที่เรายังขาดอยู่ พร่องอยู่ให้สมดุล
    พยายามสร้างบารมี โดยไม่จำเป็นต้องมีข้ออ้างหรือ มีข้อจำกัดด้วยเงินเพียงอย่างเดียว

    เหล่านี้ลองให้ท่านทั้งหลายลองไตร่ตรองพิจารณาดูครับ

    ขอให้ทุกๆท่านมีบารมีที่เปี่ยมล้นไปด้วยความดี ทุกๆท่านครับผม
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกกสิณไฟ ในกสิณธาตุครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น

    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.

    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน

    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณไฟจับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพไฟที่กำลังลุกโพลงอยู่
    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของไฟกองนั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ กองกสิณไฟนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณไฟ ในจิตค่อยๆมีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น และใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณไฟ ค่อยๆใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณไฟ ควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด ภาพกองไฟที่ลุกโพลงอยู่ และเพิกทิ้งเสีย จับภาพ เป็นองค์พระพุทธรูปแทน จะเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2006
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    พรุ่งนี้พระท่านมาที่บ้านสายลมนะครับ ท่านที่ยังไม่ได้มโนมยิทธิก็ไปฝึกได้นะครับ ส่วนท่านที่จะไปฝึกทบทวน หรือไปทำบุญถวายสังฆทานก็เชิญได้ครับผม มีทั้งวัน เสาร์และวันอาทิตย์ครับผม
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ใช่การเสวยธรรมปิติครับ ขอบคุณมาก สำหรับข้อมูลของคุณ Narinwet ครับ เป็นประโยชน์และความรู้ต่อท่านอื่นๆครับ
     
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกกสิณลม ในกสิณธาตุครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น


    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.


    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน


    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณลม จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพอาการของลมที่กำลังพัด โชยอยู่ เช่นลมที่พัดจนใบไม้มีอาการแกว่งไกว

    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของลมที่กำลังพัดอยู่นั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ กองกสิณลมนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา ก็ขอให้ติดอยู่ในอารมณ์จิตของเราเสมอ

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน วงกสิณลม ในจิตค่อยๆพัด มีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น และใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น วงกสิณลม ค่อยๆใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญกสิณลม ควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด ภาพของลมที่กำลังพัดอยู่เบื้องหน้าองค์พระพุทธรูป และเพิกทิ้งภาพลมนั้นเสีย เหลือเพียงจับภาพ เป็นองค์พระพุทธรูปแทนอย่างเดียว จะเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  6. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,116
    ค่าพลัง:
    +62,425
    ใน"สำนักอนุตรธรรม"ซึ่งเน้น"การทานเจ" (เพื่อการไม่เบียดเบียนชิวิตสัตว์) ได้บอกคล้ายกันเป็นนัยย์ๆว่า กำมันตภาพรังสีนั้นป้องกันได้จากรัศมีกาย ที่ไม่มีอนุภาคประจุลบจากเลือดเนื้อสัตว์ที่เราบริโภคเข้าไป ร่างกายจะบริสุทธิ์ ดังนั้นจะไม่เกิดปฎิกริยาใดๆที่ทำให้เกิดบาดแผลที่ผิวกายได้ รวมทั้งยัง ทนอยู่กับความทรมานจากอากาศหนาวเย็นจัด จากฤดูหนาวนิวเคลียร์ที่ยาวนาน ได้มากกว่าผู้ที่ทานเนื้อสัตว์หลายเท่า และการอยู่ในสถานธรรมอันเป็นสถานที่ปลอดภัยจากภัยทั้งหลายในวงรัศมีสีม่วงครอบที่คลุมอยู่ เพียงใช้นิ้วแตะน้ำมนต์จากแท่นพระมาดื่มก็อิ่มได้ 1มื้อ โดยไม่ต้องทานอาหารอื่นๆได้อีกด้วย..เมื่อถึงช่วงเวลา 7:7:49 วัน

    บางทีเราควรเริ่มลดปริมาณการทานเนี้อสัตว์ให้น้อยลงถ้าทำได้ หรือในวันเกิดตัวเองในรอบหนึ่งอาทิตย์ (1วันก็ 3มื้อ) ผลที่ได้ก็คือเราก็ลดการสร้างผลกรรมใหม่ๆเพิ่มขึ้น และถือเป็นการบำเพ็ญธรรมอีกทางหนึ่งด้วย หรือถ้าใครพร้อมก็เดินหน้าเต็มกำลังได้ยิ่งดีครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2006
  7. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    ผมทานเจในช่วงเทศกาลกินเจทุกปีครับ ใจจริงก็อยากทานเจทุกวันเลย
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกอากาสกสิณ หรือกสิณอากาศครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น


    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.


    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน


    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณอากาศ จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพอากาศที่ว่างเปล่า โล่งโปร่งไม่มีอะไร

    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของอากาศที่ว่างเปล่าอยู่นั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ กองอากาสกสิณนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา ก็ขอให้ติดอยู่ในอารมณ์จิตของเราเสมอ

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน อากาสกสิณ ในจิตที่เป็นอากาศที่เห็นในจิตว่าว่างเปล่านั้น ค่อยๆ มีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น สว่างขึ้นและใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น กสิณอากาศ ค่อยๆใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญอากาสกสิณควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด ภาพของอากาศที่ว่างเปล่าอยู่เบื้องหน้าองค์พระพุทธรูป และเพิกทิ้งภาพอากาศที่ว่างเปล่านั้นเสีย เหลือเพียงจับภาพ เป็นองค์พระพุทธรูปแทนอย่างเดียว จะเป็นปางใดก็ได้ที่เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเราสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น ใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ดีครับ การตั้งใจทำความดี ด้วยจิตเจตนาที่ดีนั้นดีเสมอครับ ขอโมทนาด้วยครับ
     
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้ เราก็จะได้ฝึกกสิณเป็นกองสุดท้าย จนครบ ทั้งสิบกองแล้วนะครับ ขั้นต่อไปเราจะ นำความรู้ของกสิณมาเดิน สลับกอง และสลับ ฌาน เพื่อให้เกิดความชำนาญเป็นวสีครับ กสิณนั้นหลวงพ่อท่านสอนไว้ ให้ มีหลักมีเกณฑ์ที่ทำให้การฝึกกสิณง่ายขึ้น โดยเฉพาะถ้าจับหลักได้แล้ว กสิณนั้นมีความแตกต่างกันเฉพาะการตั้งต้นของนิมิตรกสิณตอนตั้งต้นเท่านั้น ส่วนที่สุดของอารมณ์กสิณทุกกองนั้น ซึ่งเป็นอารมณ์ของฌานสี่ มีอารมณ์และสภาวะเหมือนกันทุกประการ ดังนั้น ท่านที่ได้กสิณกองใดกองหนึ่งนั้น ถ้าใช้กำลังใจอีกไม่มาก ก็จะทำให้ได้กสิณครบทั้งสิบกองได้อย่างไม่ยากเย็นอะไร

    ---ส่วนทำไมจึงต้องฝึกกสิณ นั้น เหตุผลก็คือตัวกสิณนั้นเป็นบาทฐานของการใช้อภิญญา ทั้งอภิญญาใหญ่และอภิญญาเล็กครับ ดังนั้นท่านที่มีกำลังใจฝึกได้จนครบทั้งสิบกอง อย่างชำนาญ ก็ย่อมก้าวเข้าใกล้ อภิญญาใหญ่มากขึ้นครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายโปรดอย่าได้ลืม สัมมาทิษฐิ คุณธรรมกำกับ และจุดมุ่งหมายสูงสุดของการได้อภิญญา ครับ ว่าเป็นไปเพื่ออะไร ตรงจุดนี้สำคัญครับ

    ---ขอให้ทุกท่านค้นพบตัวตนที่แท้จริงและเป้าหมายสูงสุดของจิตวิญญานที่ท่านได้อธิฐานไว้ให้เจอนะครับ เมื่อพบแล้ว เส้นทางธรรมของท่านจะชัดเจนและมั่นคงขึ้นครับ
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้มาต่อกันที่การฝึกโอภาสกสิณ หรือกสิณแสงสว่างครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น


    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.


    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณอยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน ให้จิตสะอาดและคลายจากความยึดมั่นในร่างกาย


    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้วสีความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกันต่อที่กสิณแสงสว่าง จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพ ของแสงที่ส่องลอดออกมาจากช่อง เช่น แสงแดดที่ส่องเป็นลำแสงผ่านเงาไม้หรือช่องหน้าต่าง ช่องแสง หรือแสงที่ส่องผ่านรูรั่วเล็กๆ จำภาพและอาการที่ลำแสงส่องลอดออกมาให้ติดในใจ จนกระทั่ง

    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของลำแสงที่ส่องอยู่นั้น จากนั้นอธิฐานกำกับขอให้ กองกสิณแสงสว่างนี้ ตั้งมั่นอยู่ในจิตของเรา ไม่ว่าหลับตาหรือลืมตา ก็ขอให้ติดอยู่ในอารมณ์จิตของเราเสมอ

    ----2. กำหนดจิตนิ่งๆใจสบายจน โอภาสกสิณ ในจิตที่เป็นลำแสงที่เห็นในจิตว่าส่องสว่างอยู่นั้น ค่อยๆ มีประกายระยิบระยับขึ้นช้าๆ และค่อยๆ ใสขึ้น สะอาดขึ้น สว่างขึ้นและใจเรายิ่งสบายขึ้น

    ----3. กำหนดจิตให้เบาสบายแช่มชื่นขึ้น กสิณแสงสว่าง ค่อยๆใสขึ้นเป็นแก้วระยิบระยับ มีลักษณะเป็นดวงกลมขึ้นเป็นสามมิติขึ้น กสิณเป็นดวงใส ใจยิ่งสงบขึ้นสบายขึ้น ลมหายใจยิ่งน้อยลงไปและมีความละเอียดขึ้น อธิฐานกำกับว่า อุคหนิมิตรนี้ ขอให้เราจำอารมณ์ และสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเทอญ

    ----4. ใจเรายิ่งสบาย กำหนด จิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่กับนิมิตรกสิณนี้ เมื่อใจเรายิ่งสบาย ดวงกสิณ ก็จะยิ่งใสขึ้นสว่างขึ้นเรื่อยๆจนเปล่งแสงออกแพรวพราวระยิบระยับ เป็นรัศมีเหมือนประกายเพชรหลากสี ใจเรายิ่งสดชื่นอิ่มเอมใจ นิ่งอยู่ในนิมิตรกสิณที่ปรากฏอยู่ หากแม้ลองย้อนจิตสังเกตุการหายใจจะพบว่าขณะนี้ ลมหายใจหายไปเรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปสนใจร่างกายหรือการหายใจใดๆ จิตจดจ่ออยู่กับ นิมิตรที่ปรากฏนี้ จนชินอารมณ์ และอธิฐานกำกับว่า ขอให้ปฏิภาคนิมิตรนี้ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้าได้ทุกครั้งที่ต้องการไม่ว่าจะลืมตาก็ดีหลับตาก็ดีด้วยเทอญ

    -----5.จากนั้นฝึกเคลื่อนนิมิตรกสิณ โดยเริ่มจากการฝึกย่อดวงนิมิตรให้เล็กลงจนเท่ากับหัวเข็มหมุด จากนั้นค่อยๆ ขยาย ดวงนิมิตรออกให้ใหญ่ขึ้นจนใหญ่เต็มจักรวาล จากนั้นก็ฝึกย่อ ขยาย เล็กใหญ่ให้ได้ดังใจ จนรู้สึกพอใจจึงไปข้อต่อไป

    -----6. จากนั้น ลองเคลื่อนดวงกสิณนี้ไปซ้ายไปขวา ไปข้างหน้า ไปข้างหลังวนอยู่รอบตัวเรา วนอ้อมข้ามหัวเรา ตลอดเวลาที่เคลื่อนประคองอารมณ์ให้ดวงกสิณนี้ เปร่งรัศมีเป็นปฏิภาคนิมิตรอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปมาให้ได้ดังใจและรู้สึกพอใจแล้วไปข้อต่อไป

    -------7.อธิฐานให้ดวงกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิตรนี้ เพิ่มจำนวนเป็น สอง เป็นสี่ เป็นสิบหก เป็นสองร้อยห้าสิบหก จนเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน จากนั้นรวบกลับมาเป็นดวงเดียว ฝึกเพิ่มลดจำนวนให้ชำนาญจนพอใจ จากนั้น ฝึกข้อต่อไป

    ------อธิฐานขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ขออนุญาตเจริญโอภาสกสิณควบ พุทธานุสติกรรมฐาน คราวนี้กำหนด ภาพของลำแสงที่ส่องตรงลงมายังองค์พระพุทธรูป และยิ่งทำให้องค์พระพุทธรูปท่านส่องสว่างยิ่งขึ้นจนเหลือเพียงภาพ องค์พระพุทธรูปที่เปร่งแสงสว่างเพียงอย่างเดียวให้เราติดตาติดใจ นึกถึงท่านแล้วใจของเรายิ่งสบาย ให้เห็นชัดตั้งมั่นในจิต จากนั้น กำหนดจิตให้พระท่านค่อยๆโปร่งแสงขึ้น อีก จนใสขึ้นเป็นอุคหนิมิตร จากนั้น ใสขึ้นสว่างขึ้นจน เป็น รัศมีฉัพพรรณรังสี สว่างไสวสวยงาม ระยิบระยับ จากนั้น อธิฐานขอให้พระท่านเล็ก ใหญ่ ได้ดังใจ อธิฐานให้ท่านมาประทับวางบนศรีษะ ในศีรษะ ในอก ได้ดังใจ จากนั้นอธิฐานกำกับว่า ขอให้พุทธนิมิตรที่ปรากฏขึ้นในจิตของข้าพเจ้านี้จงสถิตอยู่ในดวงจิตเป็นที่พึ่งอาศัย เป็นอนุสติแก่ข้าพเจ้าตราบเท่าเข้าสู่นิพพานด้วยเทอญ

    ---ขออนุญาตที่ไม่ได้เรียงลำดับของกสิณ และอารมณ์ รวมทั้งอาการนิมิตรของกสิณทุกกองมีสภาพสภาวะเหมือนกันเท่ากันดังนั้นในข้อ 2- ข้อ 7 จะเหมือนกัน เราจะฝึกให้ชำนาญในวันต่อไป ทีละกองจนครบสิบ กองและ ค่อยฝึกเลื่อนณาน สลับฌาน สลับกองกสิณให้ชำนาญเป็นวสี ครับ

    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ในที่สุด ก็จบกสิณทั้งสิบกองได้นะครับ หวังว่าหลายๆคนคงจะทำได้ ไม่ยากเกินวิสัยและกำลังใจของท่านนะครับ และความรู้เก่าอื่นๆที่แนะนำกันไปก็ขอให้ทุกท่านหมั่นทบทวนให้คล่องเอาไว้เสมอนะครับ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง พุทธานุสติ วิปัสนาญาน ในร่างกายขันธ์ห้าทั้งของตัวเราเองและทั้งของบุคคลอื่น อารมณ์พระนิพพานหรืออุปมานุสติกรรมฐาน ส่วนศีล ไตรสรณะคมภ์และอานาปานสติควรเป็นสิ่งที่ทำได้เป็นปรกติธรรมชาติครับ

    ---วันนี้เราจะมาฝึกกสิณในแบบพิศดารโดยการเริ่มต้นอย่างง่ายที่สุดคือ การไล่กองกสิณ อนุโลม ปฏิโลม ซึ่ง อนุโลม หมายความถึงการเรียงลำดับกองกสิณจากกองแรกไปจนถึงกองสุดท้าย ส่วนปฏิโลม หมายความถึง การเรียงลำดับกองกสิณกองสุดท้ายไล่ย้อนกลับ ไปยังกองแรกใหม่ ครับ

    ---ส่วนกสิณทั้งสิบกองผมได้แนะนำท่านทั้งหลายจนครบทุกกองแล้ว และยังให้ฝึกกสิณทุกกองควบจนถึง ฌานสี่ในพุทธานุสติกรรมฐานด้วยส่วนการใช้มโนมยิทธิ ขึ้นไปฝึกอยู่บนพระนิพพาน เป็นการควบในอารมณ์ของพระนิพพานตลอดการฝึกสมาธิทั้งหมดของท่าน ดังนั้นถือว่าผมได้แนะนำตามเจตนารมณ์และแนวทางของหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านที่ได้สั่งไว้แล้ว ส่วนการ ไล่กอง สลับกองนั้น เป็นการฝึกเพื่อความชำนาญเป็นวสี เพื่อการรองรับอภิญญาใหญ่ครับ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับกำลังใจของท่านแต่ละคนครับ ใจผมอยากให้ท่านได้กันทุกคนครับ เก่งๆ คล่องๆ ชัดๆ จะได้ช่วยกันเป็นกำลังทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาครับ
     
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    วันนี้มาฝึกต่อกันที่การฝึกไล่กองกสิณ ทั้ง อนุโลม และปฏิโลมครับ

    ------เริ่มการปฏิบัติกันเลยครับ

    ------ เริ่มต้นที่จับลมสบายครับ ต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย ระลึกถึงศีล ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตา พรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสนาญาณตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบาง ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น


    --- จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราว ขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลาย แยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวาย ดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเรา น้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.


    ----จากนั้นให้กำหนดจิตพิจารณาวิปัสนาญาณให้เห็นความทุกข์ ความเสื่อม ความไม่เที่ยง ความแปรปรวนในร่างกาย อยู่เบื้องพระพักตร์ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระนิพพาน ให้จิตสะอาดและคลายจากความยึดมั่นในร่างกาย


    ----กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ องค์หลวงพ่อ ขอให้ จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของกสิณ และได้ วสี ความชำนาญในการเข้าออกย้ายกองกสิณด้วยเทอญ

    ----------ต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตา ปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมา รวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษี ท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้เพื่ออบรมสั่งสอน กสิณและสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิศดารด้วยเทอญ

    ---1. เราเริ่มกัน ที่กสิณดิน กันก่อน จับลมสบายจากนั้นกำหนดจิต จับภาพ ดินให้ติดในใจ จนกระทั่ง

    จิตนิ่งสนิทอยู่กับภาพของดินนั้น จากนั้นอธิฐานขอให้ กองกสิณดินนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็น อุคหนิมิตร ใสขึ้นสะอาดขึ้น สว่างขึ้น จากนั้นกำหนดจิตให้ อุคหนิมิตรนั้น ยิ่งใสขึ้นระยิบระยับขึ้นจนเปลี่ยนเป็น ปฏิภาคนิมิตร กลายเป็นแก้วระยิบระยับแพรวพราว ใจเรายิ่งสะอาด สว่างสงบขึ้น แล้วถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตรใหม่อีกครั้งเพื่อจะเปลี่ยนภาพนิมิตรในจิตเป็นกสิณกองต่อไป

    ---2. จากนั้นถอยจิตออกมาจับภาพกสิณน้ำ ไล่อารมณ์ฌานขึ้นไปจน นิมิตรกสิณ ใสขึ้น สะอาดขึ้นจนกลายเป็น อุคหนิมิตร จากนั้น ไล่อารมณ์ใจให้สะอาดขึ้นละเอียดขึ้น สบายขึ้นจน อุคหนิมิตรเปลี่ยนเป็นปฏิภาคนิมิตร เปลี่ยนเป็นแก้วประกายพรึก สวยสะอาด ใจเรายิ่งสบายขึ้นสงบขึ้น แล้วถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตรอีกครั้ง

    ---3.จากนั้นถอยอารมณ์กลับมาเป็น การจับภาพกสิณไฟ แล้วไล่อารมณ์ฌานจากกสิณไฟขึ้นเป็น อุคหนิมิตร ไล่ต่อไปจนนิมิตรในจิตกลายเป็น ปฏิภาคนิมิตร แล้วจึงถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตรอีกครั้ง

    ---4.จากนั้นถอยจิตมาจับภาพกสิณลม ไล่ฌานขึ้นเป็น อุคหนิมิตร จากนั้นไล่ขึ้นไปเป็น ปฏิภาคนิมิตร แล้วถอยจิตกลับสู่ อุคหนิมิตรอีกครั้ง

    ---5.กลับมาจับภาพกสิณสีแดง ให้ชัดเจนในจิต ไล่ฌานขึ้นเป็น อุคหนิมิตร จากนั้นไล่อารมณ์ขึ้นเป็น ปฏิภาคนิมิตร จากนั้นถอยจิตกลับลงมาสู่ อุคหนิมิตรอีกครั้ง

    ---6.ถอยจิตมาจับภาพกสิณสีเหลือง ให้ชัดเจน แล้วไล่อารมณ์ให้ละเอียดขึ้นจนเป็น อุคหนิมิตร และปฏิภาคนิมิตร จากนั้นจึงถอยจิตลงสู่อุคหนิมิตรอีกครั้ง

    ---7.ถอยจิตลงสู่นิมิตรกสิณสีเขียว ไล่อารมณ์ขึ้นเป็นอุคหนิมิตร ขึ้นเป็นปฏิภาคนิมิตร ถอยลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---8.ถอยจิตลงสู่นิมิตรกสิณสีขาว ไล่ฌานขึ้นจนเป็นอุคหนิมิตร และปฏิภาคนิมิตร แล้วจึงถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---9. ถอยจิตลงสู่นิมิตรกสิณอากาศหรือสภาพว่างเปล่า โล่งๆ ไล่ฌานขึ้นเป็นอุคหนิมิตร และปฏิภาคนิมิตร จากนั้นจึงถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---10.ถอยจิตลงสู่นิมิตรกสิณแสงสว่าง ไล่ฌานขึ้นเป็นอุคหนิมิตร และปฏิภาคนิมิตร จากนั้นจึงถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---11.จบการไล่กองกสิณแบบอนุโลมต่อไปเป็นการไล่กองกสิณแบบปฏิโลม

    ---12.กลับมาจับภาพกสิณอากาศ และไล่อารมณ์ขึ้นเป็น อุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร และถอยอารมณ์ลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---13.ถอยจิตมาจับภาพกสิณสีขาว ไล่อารมณ์ขึ้นเป็นอุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร และจึงถอยจิตลงเป็นอุคหนิมิตร

    ---14.ถอยจิตมาจับภาพกสิณสีเขียว ไล่อารมณ์ขึ้นเป็นอุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร และจึงถอยกลับเป็นอุคหนิมิตร

    ---15.ถอยจิตมาจับภาพกสิณสีเหลือง ไล่อารมณ์ขึ้นเป็นอุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร และจึงถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---16.ถอยจิตมาจับภาพกสิณสีแดง ไล่ฌานขึ้นเป็นอุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร และจึงถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---17.ถอยจิตมาจับภาพกสิณลม ไล่ฌานขึ้นเป็นอุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร แล้วถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---18.ถอยจิตมาจับภาพกสิณไฟ ไล่ฌานขึ้นเป็นอุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร แล้วถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---19.ถอยจิตมาจับภาพกสิณน้ำ ไล่ฌานขึ้นเป็น อุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร แล้วถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---20.ถอยจิตมาจับภาพกสิณดิน ไล่ฌานขึ้นเป็น อุคหนิมิตร ปฏิภาคนิมิตร และถอยจิตลงสู่ อุคหนิมิตร

    ---21.เป็นอันเป็นการไล่กองกสิณ อนุโลม ปฏิโลม หนึ่งรอบ ทบทวนทำย้อนใหม่ตั้งแต่ต้น ข้อหนึ่งถึง 20. อีกรอบแล้ว อธิฐานกำกับว่าขอให้ ข้าพเจ้านี้สามารถไล่กองกสิณ อนุโลม ปฏิโลมได้ทุกครั้งที่ต้องการด้วยเถิด จากนั้นไล่กองใหม่อีก 1 รอบ จนคล่องตัว เป็นวสี


    ----จากนั้นทำกำลังใจให้ใสสะอาดบริสุทธ์ จนมองเห็นดวงจิตและอาทิสมานกายของเราให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก

    ------จากนั้นกราบขอบคุณและกราบลาพระพุทธเจ้าและท่านผู้มีพระคุณทุกพระองค์ จากนั้นค่อยๆถอนจิตจากสมาธิช้าๆ ภาวนา พุทธโธ ธัมโม สังโฆ กำกับ และทรงอาทิสมานกายไว้บนพระนิพพานไว้

    ------ขอกราบโมทนาบุญทุกท่านที่ทำได้ปฏิบัติได้ครับ
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เมื่อวานนี้คุณวิศาลจากโคราชได้โทรมาคุยเรื่อง"โครงการซ่อมแซมบูรณะพระพุทธรูปทั่วพุทธอาณาจักร " ครับและได้มีเมตตาจะบริจาควัตถุมงคลของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุงให้กับท่านผู้มีศรัทธาถวายปัจจัย ตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปครับ ก็ขอกราบโมทนาบุญมา ณ ที่นี้ด้วย จากนั้นคุณวิศาลก็ได้ถาม และพูดคุยกันในเรื่องของการปฏิบัติครับ โดยเฉพาะเรื่องของปิติ จึงขอนำมาเล่าให้ ท่านอื่นได้รับฟัง หากเป็นประโยชน์ในวงกว้างสืบต่อไปครับ

    ----ปิติ นั้นเป็นอาการของจิตก่อนที่จะเคลื่อนเข้าสู่อารมณ์ที่ละเอียดขึ้น (นั่นคือฌานนั่นเอง) ปิติทั้ง ห้าได้แก่

    1.ปิติมีอาการขนลุกซู่ เป็นอาการของปิติที่มีการอิ่มเอมใจ สุขใจ บางครั้ง ก็เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนท่านยืนยัน เหตุการณ์หรือเรื่องราวบางอย่าง ปิติชนิดนี้จะมีผลทางวิทยาศาสตร์ทางร่างกายคือ จะมีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านจากไขสันหลังเข้าสู่สมองและกระตุ้นให้ต่อมฮอร์โมนที่ใต้สมองหลั่งฮอร์โมนที่มีความสุขออกมาหลายชนิดครับ ปิติชนิดนี้มีผลดีอย่างยิ่งในการปฏิบัติสมาธิครับ วิธีรับมือหรือจัดการเมื่อเกิดปิติชนิดนี้ ก็คือการกำหนดรู้และถ้าทำให้ปรากฏได้บ่อยก็จะทำให้ จิตใจสบายมีความสุขครับ เมื่อ ปิติผ่านไปก็จงปล่อยวาง และเคลื่อนจิตขึ้นสู่ความละเอียดของจิตที่สูงขึ้นครับ

    2. ปิติที่มีอาการตัวโยก ตัวเอียงหรือเอนตัว มักเกิดขึ้นเวลานั่งหลับตาทำสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้จิตเกิดความสงสัย ว่าตอนนี้เรานั่งตัวเอียงตัวเอนหรือเปล่า เมื่อลืมตาขึ้นก็จะพบว่าที่จริงตัวเราตั้งตรงอยู่ไม่ได้เอียงแต่อย่างไร แต่ความสงสัยและลืมตาดูก็จะมีผลให้จิตถอนออกจากสมาธิ วิธีจัดการกับปิติชนิดนี้ก็คือ การกำหนดรู้ว่า สิ่งที่เกิดอยู่นี้คือปิติ จิตเรากำลังจะเข้าสู่ความละเอียดปราณีตขึ้น จากนั้นก็ไม่ต้องไปสงสัย ไม่ต้องสนใจ และไม่ต้องไปลืมตาดู แล้วจิตจะเคลื่อนสู่ฌาน และอารมณ์ที่ละเอียดขึ้นครับ

    3.ปิติที่มีความรู้สึกว่าตัวพองใหญ่ หรือจิตมารวมกันที่หัวแล้วรู้สึกว่าหัวโตขึ้นขยายขึ้น วิธีการปฏิบัติ เหมือนข้อที่ผ่านมาคือ กำหนดรู้แล้ว ปล่อยวางผ่านเข้าสู่สมาธิขั้นต่อไปครับ

    4.ปิติที่มีอาการเหมือนมี มด หรือแมลง มาไต่ตามใบหน้า หรือตามแขนขาครับ ปิตินี้จะทำให้จิตใจเราเกิดความรำคาญหงุดหงิดและออกจากสมาธิลืมตาขึ้นดูหรือลูบตามหน้าตามตัวดูแต่ก็ไม่มีตัวอะไรทั้งสิ้น ปิตินี้ความจริงเกิดจากการที่จิตเราเริ่มหยุดนิ่งและลดการทำงานของประสาทสัมผัสอื่นคือตา หู จมูก ลิ้น คงเหลือแต่ผิวหนังร่างกายที่ทำให้ประสาททำงานละเอียดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังเพียงเล็กน้อย เราก็รู้สึกได้ชัดเจนกว่าปรกติ จึงทำให้รู้สึกว่าคล้ายว่ามีแมลงไต่ตอมอยู่ วิธีปฏิบัติคือการกำหนดรู้ครับว่า เรารู้ว่าที่ปรากฏนี้คือปิติ เมื่อจิตเรารู้ทันแล้ว ปิติตัวนี้จะไม่เกิดอีกในครั้งนั้นและจิตจะเคลื่อนสู่ฌานที่สูงขึ้น

    5.ปิติที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเราเบาเหมือนจะลอยหรือจะเหาะไปในอากาศ ปิติตัวนี้เมื่อเกิดขึ้นในครั้งแรกจะทำให้ตกใจบ้าง หลงบ้าง ว่าเราได้อภิญญาแล้ว เหาะได้แล้ว ที่จริงเป็นปิติ เป็นความดีขั้นต้นก่อนที่จิตจะยกขึ้นสู่ฌานนั้นเอง ดังนั้นจึงควรกำหนดรู้แล้วปล่อยวาง เพื่อให้จิตเข้าสู่สมาธิที่สูงขึ้น

    ---สรุปแล้ว ปิตินั้นเป็นสิ่งที่ดีและเป็นเครื่องแสดงว่าจิตใจเรากำลังจะเข้าสู่สมาธิที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้หลายๆคนติดอยู่ในจุดนี้นานเป็นปีๆก็มี จนกว่าจะผ่านปิติไปได้ ปิตินั้นไม่จำเป็นที่ทุกคนจะเกิดปิติครบทั้ง ห้าประการ บางคนก็เกิด บางคนก็ไม่เกิดปิติ อะไรเลย และก็เข้าสู่ฌานได้เช่นกัน บางคนได้ปิติก็เข้าใจว่าบรรลุธรรมเหาะได้แล้วก็มีปรากฏ บางคนก็บอกว่าตนเองไม่สามารถนั่งสมาธิได้เพราะนั่งที่ไรก็รู้สึกว่ามีมดแมลงมาไต่ มาตอมทุกครั้ง ถาม อาจารย์บางท่าน ท่านก็บอกว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวร แต่ความจริงแล้ว อาการที่ปรากฏเป็นอาการของปิติ ถ้ากำหนดรู้ หรือจิตรู้ทันก็จะหายไป เองเหมือนเราทำข้อสอบหรือผ่านด่านทดสอบได้เพื่อการก้าวขึ้นสู่สมาธิที่ลึกขึ้นสูงขึ้นครับ

    ---ส่วนของคุณวิศาลนั้นเกิดปิติชนิดที่ตัวสั่น ซึ่งเป็นอาการของฌานหยาบ คล้ายเวลาฝึกมโนเต็มกำลัง วิธีการก็คือ ปล่อยวางจากร่างกาย อย่าไปสนใจในอาการสั่น และอย่าไปรู้สึกว่าสั่นแล้วจะดี เพราะเป็นการแสดงว่าจิตของเรายังมีความยึดในร่างกายอยู่อีกมาก ให้พิจารณาในวิปัสนาญาณให้มากขึ้นจนจิตเคลื่อนขึ้นสู่อารมณ์ที่สูงขึ้นละเอียดขึ้นครับ และการที่คุณวิศาลมุ่งตรงไปยังอารมณ์พระนิพพานนั้นดีแล้วถูกแล้วครับ เพราะเป็นทางลัดตัดตรงที่สั้นที่สุดครับ ก็ขอกราบโมทนาให้คุณวิสาลมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติและความมั่นคงในธรรมต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2006
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เมื่อวานนี้เราก็ได้ฝึก การไล่กองกสิณทั้งแบบอนุโลมและปฏิโลมแล้ว หวังว่าจะชำนาญและคล่องตัวกันทุกคนนะครับ และอีกอย่างที่เราได้ฝึกไปพร้อมๆกันเมื่อวานนี้ก็คือการ ไล่ลำดับฌานทั้งอะนุโลมปฏิโลมไปพร้อมๆกันด้วย เพราะ ขณะจิตที่เราจับภาพกสิณต้นนั้นจิตจะอยู่ที่ฌานที่หนึ่ง เมื่อจิตเคลื่อนเปลี่ยนภาพกสิณก่อนเป็น อุคหนิมิตรจิตเข้าสู่ฌาน สอง เมื่อจิตเลื่อนมาเป็นภาพของอุคหนิมิตรจิตเข้าสู่ฌานที่สาม และเมื่อจิตจับภาพเป็นปฏิภาคนิมิตร จิตก็จะเข้าสู่ฌานสี่ เมื่อถอยจิตกลับมาเป็นอุคหนิมิตร เพื่อเปลี่ยนกองกสิณ จิตก็ถอยกลับสู่ฌานที่สาม และฌานที่สองตามลำดับจนกลับมาเป็นฌานที่หนึ่งเมื่อจิตจับภาพกสิณต้นกองใหม่ ครับ หวังว่าพอจะเข้าใจที่อธิบายนะครับ การไล่ฌานและการไล่กองกสิณนั้น ครูบาอาจารย์แต่โบราณท่านผูกวิชาและวิธีการฝึกนี้เป็นระเบียบแบบแผนมานับย้อนหลังไปนานนมหลายร้อย ปีครับ ที่มาแนะนำนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชากรรมฐาน ของสมเด็จพระสังฆราช สุก (ไก่เถื่อน )แห่งวัดพลับครับ ท่านได้นำตำรากรรมฐาน หนีสงครามจากพม่าสมัยที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองและได้นำมาสังคายนาพระกรรมฐานให้เป็นระเบียบแบบแผนที่ถูกต้องในสมัย รัชกาลที่สองครับ เป็นวิชาที่ค่อนข้างยากพิสดารแต่เมื่อได้แล้วก็จะมีพื้นฐานการปฏิบัติที่แน่น มากๆครับ เพราะมีการจัดกรรมฐานทุกกองทุกอารมณ์เป็นห้องๆพระกรรมฐาน เช่น พระปิติมีห้าห้องต้องได้ทุกห้อง ทุกอาการ ต้องรู้อารมณ์ ต้องทำได้ทุกครั้งที่ต้องการครับ แล้วจึงมาต่อวิชาต่อไป ก่อนที่จะเป็นฌาน อรูปฌาน ห้องวิปัสนาญาณ ไล่ไปเรื่อยๆครับ ดังนั้นท่านที่ได้ที่จบวิชาสำนักนี้จะรู้และเข้าใจในอารมณ์การปฏิบัติทุกอารมณ์ทุกนิมิตรครับ

    ----ที่ฝึกของเราค่อยเป็นค่อยไปครับ ฝึกเฉพาะที่จำเป็น ของแต่ละท่านที่ไม่เกินกำลังใจ และท่านที่ได้มโนก็จะค่อนข้างได้เปรียบท่านที่ไม่ได้มากๆครับ ดังนั้นจึงเป็นเหตุที่ผมพยายามแนะนำให้ท่านไปฝึกมโนให้ได้กันก่อน

    ---ส่วนวันนี้ให้ทบทวน กสิณสิบกองอนุโลมปฏิโลมแต่มีข้อแม้ ว่าต้องไล่กองไล่อารมณ์เองครับ หวังว่าไม่ยากเกินไป และขอให้พยายามให้ระหว่างเปลี่ยนฌาน หรือเปลี่ยนกอง เคลื่อนจิตให้เนียนๆไม่มีรอยต่อระหว่าง อารมณ์หรืออาการสะดุด พยายามเดินหรือเคลื่อนจิตให้สมูท ลื่นไหลเนียนๆไร้รอยต่อครับ ลองไปทำให้คล่องให้ชำนาญครับ อ้อ อย่าลืมอารมณ์สบาย ๆเบาๆนะครับ

    ---ขอกราบโมทนาในกำลังใจของท่านที่ตั้งใจฝึกครับ
     
  16. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ผมสงสัยว่า ปิติที่มีอาการเหมือนมี มด หรือแมลง มาไต่ตามใบหน้า หรือตามแขนขานั้น
    มีคนที่มีความรู้สึกแรงมากๆจนกระทั่งรู้สึกเหมือนมีเข็มมาแทงให้เจ็บปวดทั่วตัวหรือไม่ครับ
    ผมเคยเกิดเจ็บปวดจากความรู้สึกแบบนี้มาเป็น 10 ปีเลย จนกระทั่งมีคนในเวปนี้ทักว่าเป็นเพราะเจ้ากรรมนายเวร
    หลังจากที่ผมได้บวชเป็นเวลา 2 อาทิตย์ตอนต้นปีนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรและเทวดาที่คุ้มครองผม
    อาการเจ็บปวดเหมือนเข็มทิ้มแทงที่ว่าจึงกลับกลายเป็นการคันเหมือนมี มด หรือแมลง มาไต่ตามตัวเหมือนเดิม
    จึงอยากทราบว่ามีคนเคยเป็นแบบนี้หรือไม่ครับ หรือหากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป
    รบกวนคุณ kananun ช่วยตรวจถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการ ทางแก้ไข และแจ้งให้ผมทราบได้หรือไม่ครับ
    เพราะจนกระทั่งบัดนี้ผมยังไม่ทราบถึงสาเหตุแท้จริงของอาการคันดังกล่าวเลยครับ
    ทำให้เวลาทำอะไรแล้วไม่มีสมาธิเท่าที่ควร
     
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขออนุญาตตอบคุณจันทร์เจ้าครับ ในกรณีของคุณนั้น เป็น เรื่องของเจ้ากรรมนายเวร ที่มาขัดขวางไม่ให้คุณได้เข้าถึงความดีครับ ที่มีท่านผู้รู้ท่านให้หมั่น แผ่เมตตาและขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรนั้น ถูกต้องแล้วครับ และกรณีของคุณ ขอให้ เริ่มแผ่เมตตาและขออโหสิกรรมก่อนการเริ่มนั่งสมาธิ หลังสวดมนต์เสร็จได้เลยครับ จากนั้นจึงว่าบทสมาทานพระกรรมฐาน แล้วจึงอธิฐานขอบารมีพระท่านให้คุ้มครองทั้งกายและจิตของเราให้เข้าสู่สมาธิได้โดยง่าย จากนั้นจึงค่อยเริ่มทำสมาธิ ครับ อาการมดไต่จะลดลงครับ เมื่อเกิดขึ้นก็ให้กำหนดรู้ ว่าเป็นปิติ และอธิฐานกำกับว่า"พระปิตินี้เราทราบเราได้รู้อารมณ์แล้ว และเราขอผ่านขึ้นสู่สมาธิที่ละเอียดปราณีตขึ้น ด้วยเทอญ" จิตจะผ่าน พระปิติตัวนี้ไปครับ

    ---ถ้ามีข้อสงสัยอะไรถามมาอีก ได้ครับ ลองไปทำดูใหม่ก่อน
     
  18. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ตอนแรกตั้งใจว่า จะแนะนำ การฝึกสลับกองกสิณแบบพิศดาร แต่ผลปรากฏว่าเกิดขัดข้องทางเทคนิคครับ ท่านให้ข้ามไป บอกว่าละเอียดเกินกำลังใจของหลายท่านครับ ท่านจะให้รวบ ไปสอน อรูปฌานและการยกอารมณ์ของอรูปขึ้นสู่ อารมณ์พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่สุดแห่งอารมณ์ฌานที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญครับ ผมมัวแต่ชวนท่านไปเล่นซนกันไปหน่อย ต้องขอโทษด้วยครับ แต่ก็ดีครับจะได้ชำนาญๆ คล่องๆกัน อรูป ขอยกยอดไปพรุ่งนี้นะครับ
     
  19. จันทร์เจ้า

    จันทร์เจ้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    830
    ค่าพลัง:
    +1,948
    ขอบคุณครับ สำหรับในส่วนการปฎิบัติของผมนั้น ผมยังติดอยู่ในขั้นตอนการยกจิตของตนขึ้นสู่แดนพระนิพานครับ
    หลังจากที่กระผมลองกลับไปคิดทบทวนเมื่อคืนที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปที่เคยไม่เข้าใจมาก่อนเกี่ยวกับเรื่องการถอดดวงจิต
    (ผมเคยอ่านบทความเรื่องการรู้ถึงตัวรู้แต่ตอนนั้นยังไม่เข้าใจครับ) จึงนำมารายงานเพื่อให้ผู้อื่นช่วยตรวจสอบว่าสิ่งที่ผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่
    ผมคิดว่าการที่จะถอดจิตขึ้นไปสู่แดนพระนิพานได้ จำเป็นจะต้องรู้จักตัวรู้เสียก่อน จิตของเราจริงๆกับตัวรู้ที่ว่านี้ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นจุดคนละจุดกัน
    โดยการที่จิตของเราที่แท้จริงนั้นจะรับรู้ความรู้สึกใดๆจากอวัยวะหรือประสาทสัมผัสต่างๆล้วนรับรู้ผ่านตัวรู้นี้ทั้งสิ้น
    เป็นจุดที่ดวงจิตของเราใช้ติดต่อเพื่อควบคุมร่างกายของเรา หากดวงจิตของไม่สามารถตัดขาดออกจากตัวรู้นี้โดยสมบูรณ์แล้ว
    ความรู้สึกที่เรารับจากตัวรู้จะเรียกดวงจิตของเรากลับมาสู่ร่างกายของเราอยู่ตลอดเวลา ดวงจิตจะจับเกาะติดอยู่กับร่างกายของเรา
    พออธิบายถึงตรงนี้ ทำให้ผมคิดได้ต่อไปอีกว่า หากเราต้องการเคลื่อนดวงจิตไปยังสถานที่ไหน เราก็ใช้วิธีการเดียวกัน
    โดยให้การรับรู้ของเราไปปรากฎยังสถานที่นั้นเหมือนกับการที่เรารับความรู้สึกจากจุดตัวรู้ในร่างกายของเรา
    และถ้าผมเดาไม่ผิด จุดตัวรู้ที่จะว่าไปก็มีลักษณะเหมือนประตูทางออกของกายทิพย์ก็คือต่อมไพโอเนียที่คุณ Mead พูดถึงบ่อยๆนั่นเอง
    ส่วนวิธีการที่ผมคิดว่าน่าทำให้สังเกตุเห็นตัวรู้ได้คือ (ผมยังทำไม่สำเร็จจึงไม่รับประกันความถูกต้องครับ)
    ขั้นแรกให้ทำสมาธิก่อนเพื่อตัดเอาเรื่องทางโลกออกให้หมดเสียก่อน จะได้มีกำลังปัญญาในการวิเคราะห์จิตของตนถี่ถ้วนยิ่งขึ้น
    ขั้นมาคือให้เราพยายามจับความรู้สึกทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ไม่ว่าเป็นการหายใจ ความรู้สึกที่ผิวหนัง เสียงที่ได้ยิน และอื่นๆ
    ความรู้สึกทุกอย่างที่เรารู้นั้น อาจดูเหมือนว่ามันมาจากประสาทสัมผัสคนละส่วนในร่างกาย แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นก็ยังไม่ใช่ตัวรู้อยู่ดี
    หลังจากที่ผมได้พิจารณาต่อไปเรื่อยๆก็พอว่า ถึงมันเป็นความรู้สึกจากคนละส่วนในร่างกาย แต่มันมีสิ่งที่ร่วมกันอยู่ซึ่งมีจำนวนน้อยลง
    จริงๆแล้วเรารับความรู้สึกมาจากสิ่งที่่ร่วมกันนี้ต่างหาก ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็นซึ่งสิ่งที่ร่วมกันจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ
    ถึงจำนวนจะน้อยลงแต่เรายังรู้ว่าหากเราจับเอากระแสความรู้สึกโดยผ่านตัวร่วมกลุ่มนี้ เราก็ยังรับรู้ถึงความรู้สึกทั้งหมดที่เป็นไปในร่างกายของเราอยู่ดี
    จากแนวโน้มของจำนวนสิ่งที่ใช้ส่งผ่านความรู้สึกร่วมกันที่ค่อยๆน้อยลงเรื่อยๆนี้ ทำให้ผมคิดว่าในที่สุด เราจะรู้ได้ถึงจุดร่วมที่ใช้ส่งผ่าน
    กระแสความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทั้งหมดที่มีอยู่ในร่างกายเพียงแค่จุดเดียวเท่านั้นได้ และจุดนี้เองที่ท่านผู้รู้ในอดีตให้คำนิยามว่า "ตัวรู้"
    หากเราสามารถรู้จักตัวรู้ที่ว่านี้ได้ เราก็จะสามารถเข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้วจิตของเราจริงๆนั้นเป็นคนละอย่างกับตัวรู้ในร่างกายที่ว่านี้
    หากเราตัดการรับรู้กระแสความรู้สึกจากตัวรู้นี้ ดวงจิตของเราก็จะสามารถตัดขาดออกจากร่างกายและสามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
    ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เรากำหนดดวงจิตให้รับกระแสความรู้สึกจากสถานที่นั้นได้ (หรือเรียกอีกอย่างว่าเรากำลังเอาดวงจิตไปเกาะติดที่นั้นแทนนั่นเอง)
    คิดว่าเรายังอาจสามารถนำเอาดวงจิตของเราไปเกาะติดกับตัวรู้ในร่างกายของผู้อื่นได้เช่นกัน ทำให้เราทราบถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเขาได้
    หรืออาจแม้กระทั่งสามารถบังคับควบคุมร่างกายของเขาได้ แต่ไม่ควรทำเนื่องจากเป็นการผิดศีลเรื่องการลักโขมย เพราะเราแอบใช้ร่างกายของเขา
    โดยที่เจ้าของร่างกายไม่ได้อนุญาติ ไม่ทราบว่าสิ่งที่ผมเข้าใจนี้ถูกต้อง หรือ ผิดพลาดประการใดบ้างครับ
    หากสิ่งใดถูกต้องดีแล้ว ผมจะได้ยืดถือเป็นหลักปฎิบัติต่อไป อนึ่งเพื่อยกจิตของตนขึ้นสู่แดนพระนิพานผ่านต่อไปยังการฝึกฝนขั้นต่อไป
    หรือหากท่านใดมีข้อเสนอแนะใดๆก็เชิญได้เลยครับ จะได้เป็นประโยชน์ต่อการปฎิบัติทั้งต่อตัวกระผมเอง และ ผู้อื่นต่อไปครับ
     
  20. วิปจิตัญญู

    วิปจิตัญญู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +850
    โมทนาสาธุ ครับ
    อยากให้คุณ kananun สอนเรื่อง การนำ กำลัง สมถะ มาใช้ในวิปัสสนา ให้เกิดปัญญา ครับผม ผมว่ามีประโยชน์แด่ส่วนรวมมากๆ ครับ คิดว่า หลังจากจบ อรูปณานแล้ว คุณ kananun คงได้สอนครับ

    เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากครับ แนะนำ ให้มิตรธรรม save เก็บไว้ 1 เพื่อ ประหยัด พลังงาน และ print ออกมา ด้วย used paper เพื่อ ช่วยโลก save ทรัพยากรธรรมชาตินะครับ และไม่เสียสายตาด้วยครับ ค่อยๆ เอาออกมาอ่านและ ปฏิบัติตามไปเรื่อยๆ นะครับ ผมตั้งใจ จะทำเหมือนกัน ปกติ ไปฝึกที่ ท่าซุงมาแล้ว วันนี้ น่ายินดี ได้มารู้จัก กับมิตรธรรม ที่เป้นลูกหลานหลวงพ่อมากกมาย ผมไม่มีบุญเพียงพอได้เห็น ท่าน ตอนท่าน ยังมีชีวิต อยู่ครับ
    ขอให้ทุกท่าน เจริญในธรรมจริงๆ ขึ้นไปนะครับ โมทนาสาธุกหับ ทุกบุญ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...