+++Premium พระเครื่องราคาพิเศษ(ปิดกระทู้ชั่วคราว)

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 กันยายน 2009.

  1. สักกะ

    สักกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    3,405
    ค่าพลัง:
    +12,014
    ๒๒๘ จองครับ
     
  2. สักกะ

    สักกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    3,405
    ค่าพลัง:
    +12,014
    แถมเชลซีโดนใบแดงไปสองคนด้วยนะครับ บาเลตติ กับ บัลลัค
     
  3. สักกะ

    สักกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    3,405
    ค่าพลัง:
    +12,014
    น.๘๗ แมนซินำไป ๔ ต่อ ๑ แล้วจ้า
     
  4. ปัญจ

    ปัญจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    27,337
    ค่าพลัง:
    +88,031
    ขอบคุณครับ ที่รายงานสดจากขอบสนาม
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 229 พระทรงโคหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว

    พระพุทธทรงโคเนื้อดินเผา เก่าประมาณปี ๒๔๘๐ โดยหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว สุพรรณบุรี....ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย...และ เป็นสหธรรมิกเรียนต่อวิชากับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา...และ ได้แลกผงวิเศษกัน...ท่านยังได้ผงยันต์เกราะเพชร ที่หลวงพ่อปาน เขียน และ ลบ มาบรรจุในพระเครื่องของท่านอีกด้วยครับ...เป็นผงเดียวกับทรงสัตว์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคเลยครับ...และ ก็ผงเดียวกับ พระกรุวัดดงตาล ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อปานอีกด้วยครับ......พระเนื้อดินของหลวงพ่อโบ้ย มีทรงสัตว์ 5 ชนิดครับ...โค สิงห์ เต่า พญานาค นก และ ก็รูปเหมือนของท่าน....องค์นี้ทรงโค สภาพสวยมาก กดพิมพ์ได้คมชัดลึก...ดินเผาแห้งเก่าได้อายุเกือบร้อยปี...พอๆกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ครับ...มีเจาะรูด้านบนทะลุล่าง และ อุดผงยันต์เกราะเพชร...องค์นี้ผงลงลึกหน่อย แต่อยู่ครับ...ดูได้เลย...น่าใช้ น่าสะสมครับ...เมตตา มหาเสน่ห์ แคล้วคลาดแน่นอน..


    ให้บูชา 600 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00871.JPG
      DSC00871.JPG
      ขนาดไฟล์:
      139.4 KB
      เปิดดู:
      196
    • DSC00872.JPG
      DSC00872.JPG
      ขนาดไฟล์:
      142.6 KB
      เปิดดู:
      99
    • DSC00873.JPG
      DSC00873.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71.3 KB
      เปิดดู:
      82
  6. ปัญจ

    ปัญจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    27,337
    ค่าพลัง:
    +88,031
    จองครับ
     
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 230 หลวงพ่อจง วัดประสาท ปี 06

    เนื้อแรก โรยแร่มาตรฐาน

    ให้บูชา 460 บาท


    พระเกจิอาจารย์เข้าร่วม 200 กว่ารูป ยิ่งใหญ่มาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00853.JPG
      DSC00853.JPG
      ขนาดไฟล์:
      197 KB
      เปิดดู:
      133
    • DSC00854.JPG
      DSC00854.JPG
      ขนาดไฟล์:
      217.7 KB
      เปิดดู:
      84
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 231 พระพิมพ์หลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดประสาท ปี 06

    ตามมาติดๆด้วย
    พิมพ์พระหายากระดับตำนาน
    เคยเห็นกันมั๊ยเอ่ย

    พิมพ์หลวงพ่อวัดไร่ขิงนั่นเอง

    บูชา 600 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00826.JPG
      DSC00826.JPG
      ขนาดไฟล์:
      214.1 KB
      เปิดดู:
      93
    • DSC00827.JPG
      DSC00827.JPG
      ขนาดไฟล์:
      221.7 KB
      เปิดดู:
      104
  9. kajit

    kajit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,656
    ค่าพลัง:
    +3,351
    รายการที่ 231 พระพิมพ์หลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดประสาท ปี 06<!-- google_ad_section_end -->
    จองครับ<HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
     
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 232 ปิดตาน้ำนมควายพ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ รุ่นสอง

    รุ่นแรกเฉียดๆหมื่นไปแล้ว เล่นรุ่นสองดีกว่า


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
    พ่อท่านมุ่ย
    พระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงอีกหนึ่งท่านของเมืองนครศรีธรรมราช พระเครื่องและวัตถุมงคลที่พ่อท่านมุ่ย ท่านสร้างขึ้น ล้วนแล้วแต่เป็นที่ต้องการของผู้เคารพนับถือ เนื่องจากเป็นของมีคุณค่า โดยเฉพาะ พระปิดตาน้ำนมควาย พระปิดตาผงปถมังเมืองใต้ ประสบการณ์มากมายด้านคงกระพัน มหาอุด แคล้วคลาด

    [​IMG]
    พระปิดตาพ่อท่านมุ่ย พระปิดตาน้ำนมควายยอดนิยมเมืองใต้
    พระเครื่องและวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงของท่านคือ พระปิดตา พระประทานพร และลูกอมชานหมาก
    พระปิดตาพ่อท่านมุ่ย จะสร้างทั้งวัดบางบูชาและวัดป่าระกำเหนือ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช พ่อท่านมุ่ย ท่านพิถีพิถันมากในการสร้าง เนื้อผงพุทธคุณ นะปัดตลอด“ ผงปถมัง ” ผสมน้ำนมควาย ทาเชลแล็ก นับเป็นพระปิดตาที่หายากอีกพิมพ์หนึ่งของวงการ เพราะมีจำนวนสร้างน้อย คาดว่าไม่เกิน ๓ พันองค์ เช่าหากันที่หลักหมื่นต้นๆ

    [​IMG]
    [​IMG]
    พระปิดตาพ่อท่านมุ่ย
    พระปิดตาพ่อท่านมุ่ย เป็นพระปิดตายอดนิยม ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองโดยเฉพาะ พิมพ์ทรงองค์พระไม่เหมือนใคร ขนาดเล็กกะทัดรัด มี ๒ พิมพ์คือ พิมพ์เล็ก ออกก่อน สมัยที่พ่อท่านมุ่ย อยู่ที่ วัดป่าระกำเหนือ ตอนหลังท่านมาอยู่ที่ วัดบางบูชา ได้ออกมาอีกรุ่นหนึ่งเป็นพระ พิมพ์ใหญ่ วงการเช่าหากันแพงกว่าพิมพ์เล็ก องค์ที่เห็นนี้เป็น พระพิมพ์ใหญ่ สร้างช่วงปี ๒๕๑๓ - ๒๕๑๕
    การสร้างพระปิดตาของ พ่อท่านมุ่ย ท่านพิถีพิถันมาก อันดับแรกคือ พิธีเคี่ยวน้ำนมควาย (ซึ่งมีความข้นกว่าน้ำนมวัว)
    “ ผงปถมัง ”
    ผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระของพ่อท่านมุ่ย ท่านส่วนใหญ่คือ ผงปถมัง พ่อท่านมุ่ย ศึกษาวิชาทำผงปถมังจนมีความเชี่ยวชาญ ผงปถมังที่เกิดจากการเขียนจารอักขระด้วยดินสอพอง ที่ผสมสิ่งอาถรรพ์ต่างๆ ว่าคาถาแล้วลบผงนั้น โดยกระบวนการขั้นตอนการทำผงปถมัง เริ่มต้นด้วยการลงนะปกังพินธุก่อน แล้วเรียกสูตรต่อเป็นนะโมพุทธายะเรื่อยไป ลบอักษรตามกำหนดออก เขียนเข้าสูตรมหาดำ องการอุไทย มหาไวย มหาเมฆ ต่อไปเป็น นะโมตัสสะ...ลบอีกทีเป็นหัวใจอิติปิโส เป็นไตรสรณคมน์ การบริกรรมก็ว่าองการพระปถมัง เช่น "โอม องการพระปถมังตั้งแต่กำเนิด มีศักดาเดโชชัย ย่อมตกลงที่ไหนบรรลัยนั้น ดุจดวงพระสุริยัน และเมฆฝน ได้แสนโกฏิอสงไชยย่อมหวั่นไหวไปทั่วโลกา ฯลฯ"

    อานุภาพของผงปถมัง คือ การอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด จังงัง กำบัง ล่องหน หายตัว รวมทั้งทางเมตตามหานิยมด้วย
    [​IMG]
    พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ กำลังปลุกเสกวัตถุมงคล
    การเคี่ยวน้ำนมควาย พ่อท่านมุ่ยจะเคี่ยวด้วยกระทะ บนก้อนเส้า ด้วยไม้ฟืน โดยใช้ไม้ที่มีชื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งขณะเคี่ยวจะต้องใช้ไม้พายกวนไปเรื่อยๆ เพื่อมิให้ติดกระทะ พร้อมกับบริกรรมพระคาถาตลอดเวลา
    กระทะ ก้อนเส้า (หมายถึงก้อนหินที่วางเป็นเตา) ไม้ฟืน ทุกดุ้น และ ไม้พาย ที่ใช้เคี่ยว ทั้งหมดนี้พ่อท่านมุ่ยจะลงอักขระเลขยันต์ครบถ้วน เพื่อให้ถูกต้องตามหลักตำรา
    น้ำนมควาย เมื่อเคี่ยวจนแห้งได้ที่แล้ว จะมีความเหนียว พ่อท่านมุ่ยท่านจะนำ ผงนะปัดตลอด“ผงปถมัง” ที่ลบทะลุกระดาน มาผสมจนเข้ากันแล้วปั้นเป็นแท่งๆ จากนั้นจะนำ แท่งผง นี้เขียนอักขระเลขยันต์ลงบนกระดานชนวน แล้วลบด้วยมือ...เขียนแล้วลบๆ พร้อมกับการบริกรรมพระคาถา จนผงหมดแท่ง พ่อท่านมุ่ยก็จะนำเอาผงนะปัดตลอดนี้ไปกดลงแม่พิมพ์ โดยท่านจะ กดพิมพ์ด้วยตนเอง ทุกองค์ แม่พิมพ์จะมีเฉพาะด้านหน้า ส่วนด้านหลังองค์พระท่านตกแต่งด้วยมือของท่านเอง พร้อมกับตกแต่งร่องนิ้วด้านหน้า พอพระแห้งดีแล้วก็จะทาด้วยเชลแล็ก พระองค์ไหนทาเชลแล็กเรียบร้อย แสดงว่าลูกศิษย์ช่วยทาให้ แต่ถ้าองค์ทาเชลแล็กไม่สู้จะเรียบร้อยนัก แสดงว่าพ่อท่านมุ่ย ท่านทาเอง
    พระปิดตาน้ำนมควาย นี้พ่อท่านมุ่ย ท่านจะแจกเฉพาะ ผู้ชาย เท่านั้น และจะไม่ให้ผู้หญิงแตะต้องด้วย ส่วน ผู้หญิง ท่านจะแจก พระพิมพ์ประทานพร ให้แทน ซึ่งสร้างด้วยกรรมวิธีเดียวกัน แต่พุทธคุณจะเด่นด้านเมตตามหานิยม โชคลาภค้าขาย
    [​IMG]
    พระพิมพ์ประทานพร พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
    พระปิดตาพ่อท่านมุ่ย ใครที่ไปรับมาจากมือท่านโดยตรง ท่านจะทำพิธีประสิทธิ์ประสาทพรให้ ขณะก้มลงกราบรับพระ เสี้ยววินาทีนั้นเอง ท่านจะเอามีดดาบฟันข้างหลังทันที เพื่อเป็นการพิสูจน์พุทธคุณ เสียงดัง "ตึ้ก" ไม่ปรากฏบาดแผลแต่ประการใด ทำเอาคนต่อไปที่กำลังจะคลานเข้าไปรับพระจากท่าน ต้องถอยกราวรูดแทบไม่ทัน เพราะไม่กล้ารับพระจากท่านอีก...แต่ในที่สุด ด้วยเมตตา พ่อท่านมุ่ยท่านก็จะมอบให้โดยไม่ต้อง ลองฟันดู แต่บางครั้งท่านก็จะพูดเย้าแหย่ว่า ไหน...เอามีดมาลองแทงดูที นับว่าพ่อท่านมุ่ย ท่านมั่นใจในพระเครื่องที่ท่านสร้างเป็นอย่างมาก
    [​IMG]
    [​IMG]
    พระผงของขวัญ พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ พ.ศ.2528 เจ้าของพระปิดตาอันโด่งดัง ท่านนำผงที่เหลือจากการสร้างพระปิดตารุ่นแรก หรือเนื้อผงปถมังผสมน้ำนมควาย ใครที่รับพระปิดตารุ่นแรกจากพ่อท่านมุ่ย ท่านๆจะให้นำไปลองเพราะท่านว่าถ้าสร้างแล้วไม่ดีก็ไม่รู้สร้างทำไม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    วัตถุมงคลที่พ่อท่านมุ่ย ได้ทำเองและปลุกเสกเอง ที่สำคัญคือ


    ๑.ไม้เท้า ท่านใช้แกนเหล็กกลวง ด้านในแกนท่านจะบันทึกสรรพศาสตร์ความรู้ทุกอย่าง ที่ท่านได้ศึกษามา ลงบนแผ่นกระดาษ
    แล้วม้วนกระดาษ บรรจุในแกนเหล็ก ด้านนอกแก่นเหล็กจะใช้ด้ายถักเป็นแนวทแยงเสร็จแล้วจะลงชแล็ค ซึ่งท่านจะมีเพียง ๒ อันเท่านั้น

    ๒.ลูกมะพร้าว ซึ่งท่านสร้างไม่ถึง ๑๐ ลูก ในลูกมะพร้าวจะบรรจุ คาถาลงอักขระ เลขยันต์ที่ท่านเขียนลงกระดาษแล้วบรรจุในลูกมะพร้าว พร้อมทั้งอธิฐานจิตปลุกเสกไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี

    ๓.พระปิดตา เป็นพระปิดตาแบบลอยองค์นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกปิดพระพักตร์แลเห็นนิ้วชัดเจน พ่อท่านมุ่ยได้ทำการกดพิมพ์เองทุกองค์ สำหรับพิมพ์พระนั้นหลวงพ่อเป็นผู้ออกแบบและแกะพิมพ์เองทั้งพระปิดตาและพระประทานพร เมื่อถอดจากพิมพ์มาจะตกแต่งตกแต่งที่ละองค์ ขนาดพระสูงประมาณ ๒ ซม. หน้าตักกว้างประมาณ ๑.๔ ซม. เนื้อออกสีน้ำตาลอ่อนมีจุดดำเล็กๆ มีเนื้อละเอียดอ่อน ผิวขึ้นมัน สีเหมือนสีงาช้าง จนถึงสีน้ำตาลอ่อนกระจายไปทั่ว ผิวนอกเคลือบไว้ด้วยชแล็ค เพื่อความคงทนขององค์พระ บางคนเรียกว่าพระนมควาย เป็นพระเนื้อผงปถมัง ผสมด้วยน้ำนมควาย มีสองขนาดคือขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก เริ่มทำเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ เพื่อให้ทหารใช้ป้องกันตัว ในการรบกับทหารญี่ปุ่น เป็นพระที่ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ชายใช้เฉพาะ ห้ามผู้หญิงจับต้อง พุทธคุณมีอิทธิ์ฤทธิ์ในทางแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน กันอาวุธ ศาสตราวุธ และภยันตรายต่างๆ พระปิดตาเป็นวัตถุมงคลชิ้นเอกของพ่อท่านมุ่ย ท่านบอกว่าพระปิดตา แต่ละองค์ต้องใช้เวลาสร้างถึง ๑๓ เดือน

    ๔.พระประทานพร รูปทรงคล้ายกลีบบัวหรือหยดน้ำ ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนอาสนะฐานสองชั้น ด้านหลังลงตัว

    ข้อมูลจาก

    http://palungjit.org/threads/พระปิดตาน้ำนมควาย-พ่อท่านมุ่ย.170248/


    ปิดตารุ่นสองที่อื่นขายหลักพันต้น ดูลิงค์ดูได้

    แต่ต้องแบบ dekdelta2 หลักร้อยปลาย พร้อมกล่องเดิมๆ

    ให้บูชา 900 บาท ของดีนะครับ


    <!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00837.JPG
      DSC00837.JPG
      ขนาดไฟล์:
      215.9 KB
      เปิดดู:
      86
    • DSC00838.JPG
      DSC00838.JPG
      ขนาดไฟล์:
      96.9 KB
      เปิดดู:
      92
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 233 รูปเหมือนปั้มรุ่นแรกหลวงปู่ชื้น วัดญาณเสน

    มี 2 องค์
    เนื้อทองแดง และเนื้อตะกั่ว

    ออกปี 2545 ถือเป็นรูปหล่อรุ่นแรก
    ออกจากวัดองค์ละ 200 บาท

    เลี่ยมพลาสติก 100 บาท

    ให้บูชาองค์ละ 300 บาท เลยครับ

    สภาพ 100 % หลวงปู่เสกซ้ำให้แล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00841.JPG
      DSC00841.JPG
      ขนาดไฟล์:
      191 KB
      เปิดดู:
      73
    • DSC00842.JPG
      DSC00842.JPG
      ขนาดไฟล์:
      199.7 KB
      เปิดดู:
      99
    • DSC00843.JPG
      DSC00843.JPG
      ขนาดไฟล์:
      195.7 KB
      เปิดดู:
      95
    • DSC00844.JPG
      DSC00844.JPG
      ขนาดไฟล์:
      188.2 KB
      เปิดดู:
      88
  12. ปัญจ

    ปัญจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    27,337
    ค่าพลัง:
    +88,031
    จองตะกั่ว
     
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 234 งบน้ำอ้อยพิมพ์กลาง(2)หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>หลวงปู่ยิ้มบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุได้ ๑๒ ขวบ พ.ศ. ๒๔๓๐ อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ พัทธสีมา วัดเจ้าเจ็ดนอก มีพระอาจารย์สิน วัดโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จาดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ศึกษาพระคัมภีร์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เขียนอักขระเลขยันต์ ลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ผู้สืบสานวิชาอาคมมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า…คือพระอาจารย์จาด และพระอาจารย์จีน สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ( พระอาจารย์จีน เป็นพระอาจารย์สอนอักขร สมัยให้กับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในครั้งนั้นด้วย ) พออายุ ๑๘ ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่วัดกระโดงทอง ภายใต้การปกครองของหลวงพ่อบุญมี สำเร็จยันต์นะ ปัดตลอด และสามารถเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต่อจากพระอุปฌาย์ ปั้น ในสมัยนั้นวัดเจ้าเจ็ดใน ได้แบ่งออกเป็น ๓ คณะ โดยมีหลวงปู่ยิ้ม เป็นเจ้าคณะเหนือ หลวงปู่โฉม เป็นเจ้าคณะใต้ และหลวงปู่คำ เป็นเจ้าคณะตะวันออก และหลวงปู่ยิ้มยังเป็นเจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ด เป็นพระครูกรรมการศึกษาและเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น พระครูพรหมวิหารคุณ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางซ้าย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ รวมอายุได้ ๘๒ ปี ครั้งเมือหลวงปู่ยิ้ม ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่อุดมด้วย ศีลลาจารวัตร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เป็นพระที่อารมณ์เย็น เคร่งครัด แต่มีเมตตาธรรมสูง พูดน้อย และมีผู้คนไปกราบนมัสการหาสู่ท่านมิได้ขาด พระเกจิอาจารย์ดังแห่งกรุงศรีอยุธยา, ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามอินโดจีน หลวงปู่ยิ้ม มีพระสหธรรมมิกที่ร่วม ครู-อุปัชฌาย์ อาจารย์องค์เดียวกันในยุคนั้นคือ หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้ม ๓ ปี อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเกิดปีเดียวกับหลวงปู่ยิ้ม สมัยนั้นได้ตั้งสมญานามให้ว่า สามเสือแห่งกรุงเก่าหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี) หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙ - ๒๔๘๑ ) แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี หลวงพ่อทั้ง ๓ มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างปู่ยิ้มบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุได้ ๑๒ ขวบ พ.ศ. ๒๔๓๐ อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ พัทธสีมา วัดเจ้าเจ็ดนอก มีพระอาจารย์สิน วัดโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จาดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ศึกษาพระคัมภีร์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เขียนอักขระเลขยันต์ ลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ผู้สืบสานวิชาอาคมมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า…คือพระอาจารย์จาด และพระอาจารย์จีน สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ( พระอาจารย์จีน เป็นพระอาจารย์สอนอักขร สมัยให้กับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในครั้งนั้นด้วย ) พออายุ ๑๘ ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่วัดกระโดงทอง ภายใต้การปกครองของหลวงพ่อบุญมี สำเร็จยันต์นะ ปัดตลอด และสามารถเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต่อจากพระอุปฌาย์ ปั้น ในสมัยนั้นวัดเจ้าเจ็ดใน ได้แบ่งออกเป็น ๓ คณะ โดยมีหลวงปู่ยิ้ม เป็นเจ้าคณะเหนือ หลวงปู่โฉม เป็นเจ้าคณะใต้ และหลวงปู่คำ เป็นเจ้าคณะตะวันออก และหลวงปู่ยิ้มยังเป็นเจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ด เป็นพระครูกรรมการศึกษาและเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น พระครูพรหมวิหารคุณ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางซ้าย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ รวมอายุได้ ๘๒ ปี ครั้งเมือหลวงปู่ยิ้ม ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่อุดมด้วย ศีลลาจารวัตร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เป็นพระที่อารมณ์เย็น เคร่งครัด แต่มีเมตตาธรรมสูง พูดน้อย และมีผู้คนไปกราบนมัสการหาสู่ท่านมิได้ขาด พระเกจิอาจารย์ดังแห่งกรุงศรีอยุธยา, ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามอินโดจีน หลวงปู่ยิ้ม มีพระสหธรรมมิกที่ร่วม ครู-อุปัชฌาย์ อาจารย์องค์เดียวกันในยุคนั้นคือ หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้ม ๓ ปี อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเกิดปีเดียวกับหลวงปู่ยิ้ม สมัยนั้นได้ตั้งสมญานามให้ว่า สามเสือแห่งกรุงเก่า หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี) หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙ - ๒๔๘๑ ) แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
    .......................................................................


    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER>“ สามเสือแห่งกรุงเก่า ”

    หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี ๒๔๙๙ (อายุ ๘๑ ปี) หลังหลวงพ่อปาน ๑๘ ปี ( ๒๔๙๙ - ๒๔๘๑ ) แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว ๘ ปี ( ๒๔๙๙ – ๒๕๐๗ ) วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนชาวอยุธยาเรียกกันติดปากว่า

    “ พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลง หลวงพ่อยิ้ม”
    หลวงพ่อทั้ง ๓ มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างผลัดไปมาหาสู่ต่อวิชา ซึ่งกันและกันที่วัดของแต่ละองค์ ครั้งละหลายๆ วันชาวกรุงเก่าที่รู้ซึ้ง จึงกระซิบต่อๆ กันว่า พระเครื่องของทั้ง ๓ องค์นี้พุทธคุณขลังเหมือนกัน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี เมื่อต่างองค์ต่างสร้างพระเครื่องฯ เพื่อสืบทอดพระศาสนาต่างก็มานั่งปรกพุทธาภิเษก แทบทุกๆครั้งไป….. เหตุการณ์สำคัญ อธิเช่นการปลุกเสกทราย และขึ้นเครื่องบินโปรยลงสถานที่สำคัญๆ ในประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยสงครามอินโดจีนฯ ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๕ ฝรั่งเศสที่ต้องการจะยึดดินแดนของไทยเป็นประเทศใน อานานิคม มีผลร้ายแรง พอๆ กับ สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นเรื่องของความสามัคคี เพื่อให้สถาบันชาติอยู่ได้ สถาบันศาสนาอยู่ได้ และสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ได้ และสืบต่อพระศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป.

    หลวงปู่ยิ้มวาจาสิทธิ์
    จากการที่หมั่นสวดมนต์ภาวนา ให้ทาน รักษาศีล และเจริญพระกรรมฐานภาวนา ตลอดจนสั่งสอนให้คนทำความดีเป็นนิตย์ หล่อหลอมให้ภิกษุชราพุทธบุตรรูปหนึ่ง มีวาจาสิทธิ์ดุจเทพเจ้าฯ ทั้งให้พร… เสกน้ำพระพุทธมนต์ รักษาโรค เป็นที่ประจักษ์ตาแก่ชาวบ้านใกล้ และไกล หลวงปู่ไม่ชอบคนมุสา... คนดื่มน้ำเมา... คนกาเม… คนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต… คนลักขโมย… (คนที่ชอบละเมิดศีลห้า) และคนที่ งอมืองอเท้า ขี้เกียจทำกิน… หลวงปู่ยิ้มท่านมีวาจาสิทธิ์ พูดคำไหนเป็นคำนั้นไม่พูดมาก พูดแต่สิ่งที่ดี ๆ เมื่อสั่งสอนครั้ง สองครั้งยังไม่เลิกละ หลวงปู่ก็จะเปรยๆ พอให้ศิษย์ใกล้ชิดได้ยินว่า

    “ พวกนี้มันบัวใต้น้ำ… ชี้ทางสวรรค์ให้เดินไม่ยอมเดิน ”
    ( เป็นการชี้ให้เห็นว่าประตูสู่สวรรค์ก็คือศีลห้านั่นเอง ) และในไม่ช้าบุคคลดังกล่าวข้างต้นนี้ก็มีอันเป็นไปในที่สุด …… ย่างเข้าสู่วัยชรา ทุกสรรพสิ่งที่เกิดมานานแล้วก็ร่วงโรยไปในที่สุด หลวงปู่ยิ้มละสังขารไปด้วยอาการอันงบ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ (วันจันทร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก จ.ศ. ๑๓๑๘ ) รวมสิริอายุได้ ๘๑ ปี ๖๑ พรรษา

    “ เหลือไว้แต่คุณความดี… รูปปั้น… ภาพถ่าย …วัตถุมงคล…ให้ได้ระลึกถึง….. ล่วงมา-กว่า ๕๐ ปี ”

    ทั้งศิษย์ใกล้ และไกล… ในประเทศ และต่างประเทศ ชาวอำเภอเสนา อำเภอบางซ้าย ลูกหลานเจ้าเจ็ดฯ จ.พระนครศรีอยุธยา ตลอดจนชนรุ่นหลังที่ให้การเคารพนับถือ ขอรำลึกในคุณงามความดีของหลวงปู่ ท่านฯ ตราบนานเท่านาน….. หลวงปู่ยิ้มท่านได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคล ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ มีชื่อทางด้านพระงบน้ำอ้อยเนื้อดินเผา และพระพิมพ์เนื้อดินเผาพิมพ์ต่างๆ ซึ่งให้ผลทางด้านเมตตา แคล้วคลาด คงกระพันฯโดยวัตถุมงคลต่างๆ สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึก แก่ผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ในการปฏิบัติบูชา อามิสบูชา บูรณปฏิสังขรณ์วัด ทำนุบำรุงศาสนา และสานต่อ หรือสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้แก่ชนรุ่นหลังหรือเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็น พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ และสังฆานุสติ มิได้สร้างไว้เพื่อหลงงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ อิทธิปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากจิตศรัทธา เกิดจากสัจจะธรรม, กรรม คือการกระทำ ของผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ……





    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER>หลวงปู่ยิ้มท่านได้สร้างวัตถุมงคล ตั้งแต่ปี ๒๔๗๕ มีชื่อทางด้านพระงบน้ำอ้อยเนื้อดินเผา และพระพิมพ์เนื้อดินเผาพิมพ์ต่างๆ ซึ่งให้ผลทางด้านโชคลาภ เมตตา แคล้วคลาด และคงกระพันฯโดยวัตถุมงคลต่างๆ สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึก แก่ผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ในการปฏิบัติบูชา อามิสบูชา บูรณปฏิสังขรณ์วัด ทำนุบำรุงศาสนา และสานต่อ หรือสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้แก่ชนรุ่นหลังหรือเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็น พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ และสังฆานุสติ มิได้สร้างไว้เพื่อหลงงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ อิทธิปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากจิตศรัทธา เกิดจากสัจจะธรรม, กรรม คือการกระทำ ของผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ……
    พระเครื่องของหลวงปู่ยิ้มที่รู้จักกันดีก็คือ พระงบน้ำอ้อย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เนื้อพระเป็นดินเผาสีหม้อใหม่ เนื้อดินแบบเดียวกับของหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ส่วนพระเครื่องที่ท่านสร้างนอกจากพระงบน้ำอ้อย แล้วยังมีพระสมเด็จฯ พิมพ์ปรกโพธิ์ พระสมเด็จฯ พิมพ์รัศมี พระร่วงทรงยืนประทานพร พระพุทธทรงเดินลีลา พระพุทธชินราช พระพิมพ์ขุนแผน พระโคนสมอ พระกลีบบัว พระนางพญาพิมพ์ฐานบัว พิมพ์แขนอ่อน พิมพ์หยดน้ำพระหลวงพ่อโต พระพุทธทรงหนุมาน (หันซ้าย-ขวา และเศียรโต) พระปิตตา และนางกวัก ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผาสีหม้อสีหม้อใหม่สีน้ำตาลอิฐ, สีขาวนวล, เนื้อสีเทาอมน้ำตาล, สีเทาอมเขียว, เนื้อเขียวมอยแบบเนื้อผ่านไฟ ซึ่งเป็นพระยุคแรกๆ บางองค์จะทาทับด้วยสีบรอนซ์ทอง หรือสีบรอนซ์เงิน (ให้ดูสวยงาม ) ด้านหลังองค์พระจะมีรอยเสี้ยนไม้กระดาน เนื้อพระจะมีดินทรายละเอียดปนอยู่ มีอายุการสร้างไม่ต่ำกว่า ๕๐ปี ซึ่งพระเครื่องส่วนใหญ่จะสร้างเป็นแบบลักษณะพระกรุเก่าสมัยสุโขทัย กำแพงเพชร หรือพระกรุสมัยต่างๆ ที่มีอายุมากกว่า ๒๐๐ปี หรือว่ามีลักษณะแบบพระโบราณจารย์ เช่นงบน้ำอ้อยของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย พระชินราช และพระพิมพ์ขุนแผนหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พระสมเด็จพิมพ์รัศมีของหลวงปู่จีน พระสมเด็จพิมพ์รัศมีของหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า หรือ พระสมเด็จวัดเกศไชโยของสมเด็จพระพุทธาจารย์โตฯ ที่มีอายุการสร้างประมาณไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ปี เมื่อเอ่ยถามถึงหลวงปู่ยิ้ม สมภารวัดเจ้าเจ็ด ด้วยศรัทธาที่เปี่ยมล้นในจริยาวัตรของหลวงปู่ยิ้ม แห่งวัดเจ้าเจ็ด ท่านสร้างพระพิมพ์เนื้อดินเผา ด้วยความตั้งใจที่จะสืบอายุพระศาสนา ความตั้งใจของท่านนั้นจะสร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ ๘๔,๐๐๐ องค์ การแกะแม่พิมพ์ แกะจากหินลับมีด ( ลักษณะหินลับมีดโกนของพระ ) โดยมีลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้แกะให้ และให้พระ, เณร, ลูกศิษย์ใกล้ชิด และเด็กวัดฯ ช่วยกันผสม กดพิมพ์- แกะพิมพ์ และเผาตามพิธีการของท่าน ซึ่งกล่าวกันว่าท่าน ได้แรงบัลดาลใจมาจาก การสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา พระกรุสมัยต่างๆ และจากพระโบราณจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของท่านบางพิมพ์สร้างล้อพิมพ์ของวัดบางนมโค, มีบางท่านเล่าว่าพระพิมพ์ทรงสัตว์ของหลวงปู่ยิ้มนั้นช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดเจ้าเจ็ดได้ขอต่อวิชา จากช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดบางนมโค โดยค่าครูสำหรับการต่อวิชาแกะแม่พิมพ์เป็นเงิน ๑บาทในสมัยนั้นฯ



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>หลวงพ่อยิ้ม

    เล่าโดย.. หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕


    .......วันนี้จะนำเอาเรื่องพระในเครือหลวงพ่อปานมาพูดให้ท่านฟัง คำว่า "พระในเครือนี่" ไม่ใช่ลูกศิษย์นะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท แต่เป็นเพื่อนกันเพื่อนของหลวงพ่อปาน องค์นี้เป็นพระที่บวชพร้อมกัน มีอุปัชฌาย์เดียวกัน เข้าบวชร่วมกัน คือ นั่งเรียนขนานเรียงลำดับกัน มีนามว่า หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเหมือนกัน แต่เวลานี้มรณภาพไปแล้ว หลวงพ่อยิ้มองค์นี้ ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูพรหมวิหารคุณ"

    ........หลวงพ่อปานได้รับสมณศักดิ์เป็น "พระครูวิหารกิจจานุการ" สองท่านนี้เป็นพระครูแล้ว พอเขาตั้งให้ท่านก็ลืมยศ ไม่มีความสนใจในยศถาบรรดาศักดิ์ พระที่บวชพร้อมกัน ก็เหมือนกับลูกที่เกิดในพ่อ-แม่เดียวกัน เป็นลูกแฝด แต่อาจจะมีอัธยาศัยกันคนละอย่าง

    ........สำหรับหลวงพ่อปานเป็นพระยุ่ยจริงๆ คือว่าเรื่องเงินเรื่องทองไม่มีการเก็บ สร้างหมด เลี้ยงหมด เรียกว่าสงเคราะห์กันหมด ตามที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทก็พอจะทราบประวัติมาบ้างแล้ว ว่าท่านสร้างวัดเต็มเต็มวัดจริงๆถึง ๔๐ วัด และก็สร้างให้เฉพาะโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญอีก ตั้งโรงครัวเลี้ยงคนไข้ รักษาคนไข้ ตั้งโรงครัวเลี้ยงพระ


    (หลวงพ่อยิ้ม ถ่ายเมื่อปี ๒๕๐๒)


    พอรู้ว่าใครเขาอดอยากที่ไหน ก็บอกบุญบรรดาลูกหลาน ลูกศิยษ์ลูกหา ญาติโยมพุทธบริษัท เอาข้าว เอาเสื้อ เอาผ้า เอาอาหาร เอาเงินไปแจกกัน นี่ท่านเป็นนักสังคมสงเคราะห์จริงๆ หลวงพ่อปานท่านเป็นนักจ่าย


    สำหรับหลวงพ่อยิ้มองค์นี้ ท่านยิ้มจริงๆ นะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เรื่องจ่ายไม่มี เงินทองที่ท่านได้มาทั้งหมดกี่สมัยๆ เป็นอันพวกเรารู้กันว่าหลวงพ่อยิ้มขี้เหนียว เงินทองได้มากี่สมัยก็ตามท่านเก็บหมด เป็นอันว่าไม่ทันได้เห็นเดือนเห็นตะวันกันละ พอส่งถึงมือท่าน ท่านก็ส่งเข้าที่ ไอ้เข้าที่น่ะไม่ใช่ธนาคารนะ เป็นหีบเหล็ก ไม่ใช้ ถ้าจะใช้บ้างก็ตามความจำเป็น แต่จะเอาไปก่อสร้างอะไรนะหลวงพ่อยิ้มไม่ทำ


    จนกระทั่งถูกชาวบ้านก็ดี พระก็ดี ประณามว่าเป็นพระที่ไม่ดี เขาว่ากันอย่างนั้นนะ เขาว่าหลวงพ่อยิ้มนะเป็นพระไม่ดีขี้เหนียว สะสมเงินทอง เพราะเขามองเห็นหลวงพ่อปานในรูปหนึ่ง หลวงพ่อยิ้มท่านไปในรูปหนึ่ง นี่เป็นอุปัชฌาย์คนเดียวกันนะ นั่งสวดคู่กันเลย เวลาเข้าไปในโบสถ์น่ะเข้าไปคู่กัน


    หลวงพ่อปานไม่เคยตำหนิหลวงพ่อยิ้ม นี่ก็เป็นเรื่องแปลกเหมือนกัน ไม่เคย เป็นเพื่อนรักกันจริงๆ ไปมาหาสู่กันเป็นปกติ เรียกว่าไม่เคยตำหนิเลย ไม่เคยได้ยินหลวงพ่อปานตำหนิหลวงพ่อยิ้มว่าเป็นพระที่ไม่ดี กลับสอนอาตมาเสียด้วย ลูกศิษย์ลูกหาว่า ท่านยิ้มนะเป็นพระขี้เหนียวก็ช่างเถอะ แต่ว่าข้างในมันดี ท่านว่าอย่างนั้น


    แล้วว่าพวกคุณดูคนอย่าดูแต่เปลือกนะ ต้องดูถึงจิตใจด้วย ไปดูซิว่าท่านยิ้มเรี่ยไรใครบ้างไหม ไปบอกบุญใครบ้างไหม ท่านยิ้มไม่เคยรบกวนใคร และท่านยิ้มไม่มีประวัติในการให้กู้ให้ยืม จะไปซื้อไร่ซื้อนาหาดอกเบี้ยไม่มี แต่ใครไปขอยืมเงินของท่านไม่ได้ เงินทองที่ได้มานะท่านบอกว่าเขาให้ในฐานะทีฉันเป็นพระ แล้วพวกแกจะมากู้ไปใช้ก็ไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านห้าม


    นี่ถ้ามองดูในด้านขี้เหนียวแล้วก็น่าตำหนิ ถ้ามองในรูปเคารพพระธรรมวินัยก็น่าสรรเสริญ แต่ว่าคนเรานี้ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทมองกันในแง่ดียากเหลือเกิน เขาไม่ค่อยมองกัน ชอบมองกันในแง่ร้าย เพราะหลวงพ่อยิ้มนี่ท่านไม่ขี้เหนียวเฉพาะตัวท่าน ใครมาหยิบมายืมก็ไม่ได้ ลูกหลานมาขอใช้ก็ไม่ได้ ท่านบอกว่าเป็นเงินของพระไม่ใช่เงินที่ชาวบ้านจะนำไปใช้


    ก็มีบรรดาทายกและใครต่อใครหลายคน มีพระหลายท่านด้วยกับเป็นพระคณาธิการ ก็กล่าวโจมตีท่านว่า เงินทองที่ได้มาควรจะสร้างอะไรเสียบ้าง ท่านบอกท่านไม่สร้าง ข้าไม่ได้บวชมาเพื่อสร้างนี่ เวลาข้าตายแล้วจะเห็นผล นี่ท่านว่าอย่างนั้นนี่ว่ากันไปตอนนี้ก็ว่าอย่างนี้นะ หมายความว่าเป็นเรื่องตอนต้น

    ปฏิปทาของหลวงพ่อยิ้ม


    คราวนี้มาดูปฏิปทาของหลวงพ่อยิ้ม องค์นี้ไม่มีอะไรมากนัก ตอนนี้มีปฏิปทาตอนหนึ่ง ในตอนเช้าของวันพระทุกวันพระ ท่านก็จะบอกให้บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทสำรวมจิตเคารพในศีล เรื่องศีลนี่เข้าใจพูดมาก พูดให้ชาวบ้านเข้าใจได้ดี แล้วต่อไปเวลาถวายทานก็ให้ตั้งใจถวายเป็นสังฆทาน อย่าไปนึกเฉพาะเจาะจงพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งที่นั่งอยู่ในศาลา ท่านบอกว่า


    "พระพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นพระปุถุชนคนธรรมดา ถึงเวลาก็บวชแล้วถึงเวลาก็สึก บางทีบวชหลายๆ พรรษาก็ยังไม่ได้ฌานสมาบัติ เวลาถวายทานให้ตั้งใจถวายพระอริยสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วพระสงฆ์ท่านจะฉัน เป็นภาระของท่านในฐานะที่เป็นพระสาวก แต่ว้าพระองค์ไหนปฏิบัติตนไม่ดีนะ กินข้าวกินแกงเหล่านี้เข้าไปพระองค์นั้นท่านก็ตกนรก" นี่ท่านว่าอย่างนั้น


    ท่านทำอย่างนี้ทุกวันพระ แนะนำบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทด้วยดี นี่เป็นปฏิปทาอันหนึ่ง เมื่อเขาถวายสังฆทานเสร็จ พระฉันเสร็จก็เทศน์หนึ่งกัณฑ์ เวลาท่านรับกัณฑ์เทศน์ เงินที่ท่านรับมาก็เก็บเงียบ เรียกว่าเงินมีความสบายไม่วุ่นวายเหมือนเงินของอาตมา หรือว่าเงินของหลวงพ่อปาน เงินที่อาตมารับมาก็ดี หรือว่าเงินที่หลวงพ่อปานรับมาก็ดี วิ่งไม่หยุด


    พอมาถึงอาตมาแล้วก็ปรือไปหาเจ๊กเลย ไปหาเจ้าหนี้ทันที บางทีไม่ทันจะเห็นเงิน อย่างเขาทอดกฐิน ผ้าป่า ไม่ทันเห็นเงินรู้แต่ตัวเลข ว่าคราวนี้ได้เท่านั้น คราวนั้นได้เท่านี้ แล้วให้ท่านเจ้าของเงินชำระหนี้กับร้านค้าทันที นี่แบบนี้เป็นแบบฉบับเดียวกันอาตมาลอกมาจากหลวงพ่อปาน หลวงพ่อปานท่านทำแบบนี้นี่อาตมาก็ทำแบบนี้


    การทอดกฐิน ผ้าป่า แต่ละปี ทุกปีรายรับที่ได้มาไม่เคยหักค่าใช้จ่าย เรื่องค่าใช้จ่ายนี่ไม่หัก ก็เขาเอาเงินมาให้นี่ เรื่องอะไรจะต้องให้เขามาซื้อข้าวกิน มันไม่ถูก ไอ้ทำอย่างนี้มันไม่ถูก คล้ายๆกับว่า ไอ้ที่เขาเอาเงินมามาให้นี่เขามาขอทาน มันทำกันไม่ถูก


    นี่เป็นเรื่องของอาตมากับเรื่องของหลวงพ่อปานนะ แต่ว่าวัดอื่นจะว่าถูกก็ตามใจเถอะ นี่เป็นความเห็นของอาตมาว่าไม่ควรหักค่าใช้จ่าย เจ้าถิ่นน่ะควรจะเป็นฝ่ายรับ เพราะเขาเอาเงินมาให้ แต่สำหรับหลวงพ่อยิ้มไม่อย่างงั้น ท่านยิ้มเสมอและเงินทองของท่านก็นอนยิ้มอยู่ในเซฟแบบสบายๆ


    ตานี้หลังจากหลวงพ่อปานตายแล้ว อาตมาเคารพหลวงพ่อปานเหมือนพ่อ เมื่อหลวงพ่อปานตายแล้วอาตมาก็ไปนมัสการหลวงพ่อจงกับหลวงพ่อยิ้ม ก็คิดว่าท่านเป็นพ่อเหมือนกัน ไปหาท่านแต่ละองค์ท่านก็มีการสงเคราะห์ด้วยดี สั่งสอนด้วยดี ไปด้วยความเคารพนะ ก็เลยไปนมัสการท่านบอกว่า


    "หลวงพ่อครับ..เวลานี้หลวงพ่อปานตายแล้ว กระผมก็ไม่มีที่พึ่ง จะขอให้หลวงพ่อช่วยสงเคราะห์ในเรื่องธรรมปฏิบัติ.."


    ท่านก็บอกว่าได้ แต่ว่าแกจะเอากับฉันเหมือนกับท่านปานไม่ได้นะ นี่ท่านเป็นเพื่อนกันเกิดปีเดียวกัน ท่านปานเขาเป็นคนจ่าย แต่ฉันเป็นคนเก็บ แต่ว่าเงินของฉันนี้นะไม่เป็นโทษกับใครหรอก เพราะฉันเก็บไว้ ฉันตายแล้วเขาจะได้สร้างวัดสร้างวากัน


    เวลานี้ฉันจะสร้างอะไรก็ยังไม่มีเรื่องจะสร้าง เพราะวัดสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ตานี้เวลาไปคุยกับท่าน ท่านก็บอกว่า นี่คุณมีญาติมีโยมมีพี่มีน้องที่ตายไปแล้วมีไหม ก็บอกว่าเยอะขอรับ ท่านบอกว่าเขียนชื่อมาให้ฉันซิ ชื่อเขานะ นามสกุลด้วย เพราะเวลากลางคืนฉันจะเจริญพระกรรมฐาน ตอนเช้ามืดละก็ฉันแผ่ส่วนกุศลไปให้ ฉันจะได้ออกชื่อญาติโยมเธอไปด้วย ถ้าใครเขามีความทุกข์อยู่จะได้มีความสุขขึ้นมา และถ้ามีความสุขอยู่แล้วจะได้มีความสุขยิ่งขึ้นไป


    ก็กราบเรียนถามท่านว่า หลวงพ่อขอรับ เวลาที่หลวงพ่ออุทิศส่วนกุศล เขาจะได้รับหรือไม่ได้รับหลวงพ่อทราบไหม


    ท่านก็บอกว่า นี่ฉันพูดกับเธอนะ ฉันรู้ ฉันรู้ว่าเขาได้รับหรือไม่ได้รับ ถามว่าหลวงพ่อรู้ได้อย่างไรครับ ท่านก็บอกว่า ฉันก็เรียกตัวเขามาซิ ถ้าฉันได้ชื่อได้นามสกุลแล้วนะ ฉันก็เรียกตัวเขามา ให้เขามารับโมทนาส่วนกุศล นี่ฉันถวายสังฆทานในส่วนของฉันทุกวันพระ


    ก็เลยกราบเรียนถามท่านว่า เห็นแต่หลวงพ่อให้ชาวบ้านถวายสังฆทานนี่ขอรับ หลวงพ่อไม่ได้ถวายสังฆทานเองนี่ขอรับ หลวงพ่อไม่ได้ถวายสังฆทานเอง


    ท่านก็บอกว่าเธอเข้าใจผิด เรื่องการถวายสังฆทานทุกวันพระ ฉันก็ลงทุนเองเหมือนกัน เงินที่ฉันได้มานี่ ฉันก็ให้เขาทำสำรับกับข้าวขึ้นมาชุดหนึ่ง ข้าวหม้อหนึ่ง แกงหม้อหนึ่ง ขนมที่ฉันชอบใจหม้อหนึ่งเอาไปตั้งรวมกับเขา แล้วฉันก็กล่าวคำถวายสังฆทานนำเขา ฉันก็ตั้งใจถวายพระรัตนตรัยด้วย คือถวายสังฆทานกับเขาด้วย


    นี่เป็นปฏิปทาลี้ลับของหลวงพ่อยิ้มที่ใครๆ มองไม่เห็น นี่เป็นส่วนหนึ่งนะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ส่วนสำคัญก็มีอีกส่วนหนึ่ง เรื่องนี้สำคัญมาก



    ทดสอบหลวงพ่อยิ้ม



    วันหนึ่งอาตมานั่งคุยอยู่กับเพื่อนๆ กันที่วัดบางนมโค คุยถึงเรื่องราวของหลวงพ่อยิ้มว่า หลวงพ่อยิ้มนี่บวชพร้อมกันกับหลวงพ่อปาน อุปัชฌาย์องค์เดียวกัน เวลาบวชก็เข้าคู่กันด้วย หลวงพ่อปานเป็นพระจ่ายในส่วนสาธารณประโยชน์ แต่หลวงพ่อยิ้มท่านเป็นนักเก็บ คนเรานี่ไม่เหมือนกันนะแต่ว่าปฏิปทาภายในนี่เรามองไม่เห็น


    แต่ว่ามีเรื่องแปลกอยู่เรื่องหนึ่งก็คือ หลวงพ่อปานไม่เคยตำหนิหลวงพ่อยิ้ม และเมื่อก่อนจะตายก็ยังบอกด้วยว่า หลวงพ่อยิ้มเขาดีนะไม่เหมือนฉันๆ เป็นคนจ่ายเขาเป็นคนเก็บ เพราะการเก็บของเขาไม่มีโทษกับใคร เป็นประโยชน์แก่พระศาสนา และก็มีประโยชน์กับตัวเขา นี่พวกเราไม่ได้มองด้านจิตใจภายในของหลวงพ่อยิ้มเลยว่า หลวงพ่อยิ้มนี่ดีสักแค่ไหน


    ในขณะที่คุยกันก็เป็นอันตกลงกันว่า วันพรุ่งนี้เราจะไปหาหลวงพ่อยิ้มไปถวายนมัสการท่าน ท่านจะขี้เหนียวหรือเป็นอย่างไรก็ช่างท่านเถอะ แต่เป็นพระที่หลวงพ่อปานไม่ตำหนิ พวกเราก็ควรเคารพท่าน เพราะหลวงพ่อปานท่านเป็นพระตาดี ไม่ใช่พระตาเสียอย่างพวกเรา ท่านก็รู้ปฏิปทาของหลวงพ่อยิ้ม ไม่เช่นนั้นหลวงพ่อปานคงไม่คบ


    เมื่อปรึกษาหารือกันเสร็จ รุ่งเช้าฉันข้าวเช้าแล้วก็ไป กะไปฉันเพลกันที่วัดหลวงพ่อยิ้ม แล้วก็นำอาหารการบริโภคไปด้วย คิดว่าจะไปถวายท่าน แล้วก็จะนมัสการท่านขอศึกษากับท่านตามสมควร ตามที่ท่านจะพึงรู้


    ครั้นเมื่อเวลาไปถึงเข้าจริงๆ ตามปกติเวลาในเพลหลวงพ่อปานก็ตามหลวงพ่อยิ้มก็ตามไม่ยอมรับแขก ท่านจะพักผ่อน เพราะว่าเวลากลางคืนท่านเจริญพระกรรมฐานดึก นี่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทโปรดทราบว่า เวลาไปหาพระก็ดูเวลาเสียด้วย อย่าเอาใจตัวเองเป็นสำคัญจะบาป อาตมานี่ก็โดนชาวบ้านเขาว่าเหมือนกันว่าเข้าหายากเหลือเกิน อีตอนในเพลอาตมาไม่รับแขก และหลังจาก ๔ โมงเย็นไปแล้วก็ต้องพักผ่อน เพราะเวลากลางคืนมีบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท แต่ว่าไม่มากท่านนักหรอก มีไม่กี่คนและมีพระไม่กี่องค์ต้องการให้สอนพระกรรมฐาน ก็ต้องนั่งสอนกรรมฐานเขา


    เมื่อเวลาเสร็จจากนั้นแล้วก็ต้องมานอนพักผ่อน ถึงเวลาตีสองก็ลุกขึ้นมาใหม่ ว่าเรื่องของตัวเองต่อไป นี่มันเรื่องของพระนะ เวลาเช้าก็ต้องหาเวลาพักผ่อนกัน วันไหนพอมีแรงบ้างก็ทำงานไป วันไหนไม่มีแรงก็นอนพักผ่อน อีแบบนี้นะโดนชาวบ้านเขาด่า เวลานี้ก็ยังถูกด่าอยู่นะ เขาบอกว่าเข้าหายากเหลือเกินต้องมีเวลา นี่เขาคงจะคิดว่าพระที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาเป็นทาสรับใช้ชาวบ้านนะ เขาคิดอย่างนั้น ก็ช่างเขาเถอะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท


    อาตมาไปหาหลวงพ่อยิ้มก็เหมือนกัน ก็ทราบว่าเวลาในเพลท่านไม่รับแขก แต่ว่าพวกเราก็ไปในเพล เอาอาหารไปด้วยเพื่อไปคอยท่าน เวลาท่านตื่นขึ้นมาเพล ก็จะได้ถวายภัตตาหารท่าน แล้วเวลาฉันภัตตาหารเสร็จก็จะได้ปรึกษาหารือกับท่านกับท่านตามสมควร ก็หมายความว่าให้ท่านสอนกิจวัตรปฏิบัติตามที่ท่านรู้


    แต่ว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท วันนั้นเป็นวันแปลก พระบอกว่าวันนี้หลวงพ่อยิ้มฉันเช้าแล้วไม่ยอมจำวัดในเพล พอขึ้นไปถึงหน้าวัดนะ มีพระองค์หนึ่งชื่อว่า "หยวก" คือท่านหยวกนี่เป็นเพื่อนกัน ท่านหยวกบอกว่าหลวงพ่อยิ้มไม่ยอมจำวัดในเพล แล้วก็สั่งท่านหยวกที่เป็นพระก้นกุฏิบอกว่า


    "..นี่เวลาประมาณ ๔ โมงเช้านะ แกไปอยู่ที่หน้าสะพาน วัดท่านสะพานยาวมาก ไอ้เจ้า ๓ คนนั้นมันมาจากวัดบางนมโคมันจะมาหาท่าน วันนี้ท่านจะนอนเล่นหน้ากุฏิสักพักหนึ่ง มันมามันเอาอาหารการบริโภคมาด้วยเอาปิ่นตงปิ่นโตมาเยอะ เอาเด็กไปด้วยสัก ๒-๓ คนไปช่วยมันหิ้วขึ้นมา มันมาเรือจ้างกัน สมัยนั้นเรือยนต์ไม่ค่อยมี นั่นเป็นฤดูหน้าน้ำเอาเรือจ้างไป


    พอเรือจอดเข้าไปก็พบท่านหยวกคอยอยู่กับเด็ก ๓ คน ท่านหยวกก็เลยบอกว่า ผมมานั่งคอยท่านอยู่สัก ๑๐ นาที ก็ถามท่านว่ารู้ได้อย่างไรล่ะ..พ่อคุณ..พ่อมหาจำเริญ นี่จะบรรลุพระโสดา สกิทาคาเป็นพระอภิญญากันแล้วรึ ฉันมานี่ฉันไม่ได้บอกคุณนะ แล้วคุณรู้ได้อย่างไร


    ท่านก็บอกว่าท่านไม่ได้บอก แต่หลวงพ่อยิ้มบอกน่ะซิ วันนี้หลวงพ่อยิ้มไม่ยอมจำวัดในเพลรู้ไหม บอกว่าพวกท่าน ๓ องค์จะมา ให้ผมมาคอยท่านมาช่วยหิ้วปิ่นโต แล้วจะมาถึงเวลา ๔ โมง ๔ โมงเช้านะ ๑๐ น. ก็เลยหยิบนาฬิกามาดู แหม เวลาตรงเป๊ะ เวลาตรงเป๋งพอดี เมื่อขึ้นไปแล้วก็ไปนมัสการท่าน ท่านหยวกกับเด็กก็ช่วยกันหิ้วปิ่นโตกับคนแจวเรือ เอาอาหารไปเยอะนะวันนั้น ตั้งใจจะไปถวายท่าน


    แต่ความจริงพระแก่ก็ฉันอะไรไม่ได้มาก ที่เตรียมไปหลายอย่างก็เผื่อว่าท่านจะได้เลือกฉันตามใจชอบ ของอย่างนี้ไม่ชอบ ชอบของอย่างนั้นก็จะได้ฉันตามอัธยาศัย พอไปถึงท่านก็ไปกราบ พอเงยหน้าขึ้นมาท่านก็ยิ้ม เวลากราบท่านก็ยกมือรับไหว้ พอเงยหน้าขึ้นมาเมื่อกราบครบ ๓ ครั้งแล้ว


    ท่านก็บอกว่า ไอ้เด็กนินทาผู้ใหญ่นี่มันเลวนะ ท่านพูดทิ้งไว้เฉยๆ ก็ถามท่านว่าก็ใครล่ะขอรับหลวงพ่อ..นินทาผู้ใหญ่ ท่านก็เลยบอกว่าไอ้พวกแก ๓ คนนะ เมื่อคืนนี้แกนั่งนินทาข้าใช่ไหม นั่งนินทากันแล้ววันนี้แกก็จะมาสอบสวนข้า แกจะมาขอศึกษาหาความรู้กับข้า ไอ้แกนี่มันด่าข้าใช่ไหม แล้วท่านก็พูดเรื่องราวที่อาตมาหารือกันทุกอย่าง ถูกต้องหมดทุกคำ ก็เลยกราบนมัสการท่านว่า


    เป็นความจริงขอรับ..หลวงพ่อ เรื่องที่พูดนั่นน่ะไม่ใช่นินทา แต่ว่าปรารภกันตามความเป็นจริง ท่านก็ยิ้ม ท่านก็เลยบอกว่าจริงว่ะ อันนี้เป็นเรื่องจริงนะ เอ็งไม่ได้นินทาข้าหรอก ถ้าเอ็งนินทาข้า ข้าก็ไม่คอยรับเอ็ง นี่ในเพลนะข้าไม่เคยรับใคร มีพวกเองชุดเดียวข้าคอยรับ ก็เลยกราบถวายนมัสการท่านอีกครั้งหนึ่ง ว่าเป็นพระคุณขอรับที่หลวงพ่อกรุณา




    หลวงพ่อยิ้มเป็นพระอภิญญา


    ท่านก็เลยบอกว่า นี่พวกเอ็งนะข้ากรุณาเสมอ นี่ท่านปานเขาก็ฝากข้าไว้นะ เมื่อเวลาเขาตายละก็ข้ามีอะไรก็ให้สอนเองบ้าง ไอ้เรื่องขี้เหนียวข้าไม่สอนเอ็งนะ...สอน เอ็งก็ไม่เชื่อข้า เพราะเอ็งมันลูกพ่อเอ็ง มีเท่าไรก็ใช้หมด ไม่ทันจะมีก็ใช้เป็นหนี้เขาก่อน ไอ้ลูกกะพ่อนี่มันเหมือนกัน แต่ว่าข้าก็ไม่ตำหนินะ เพราะไอ้นั่นมันเป็นเรื่องสาธารณประโยชน์ แต่ว่าความรู้ที่ข้าจะบอกเอ็งได้ก็เรื่องพระกรรมฐานเท่านั้น ก็เลยกราบเรียนถามท่านว่า


    หลวงพ่อขอรับ..เกล้ากระผมขอถามจริงๆ เถอะว่า ที่พวกกระผมพูดกันหลวงพ่อรู้ด้วยอำนาจของญาณ คือว่า อตีตังสญาน หรือว่า ทิพยโสตญาณ ?


    ท่านก็บอกว่า พวกเอ็งไม่น่าจะรู้นี่นะ ข้าไม่บอกเอ็งละ เอ็งจะมาถามข้าอย่างนี้ไม่ได้ซิ เสียระเบียบ จะมาจ้วงจาบถามพระผู้หลักผู้ใหญ่ จะมาถามถึงในใจข้าไม่บอกนะ แต่ว่าข้าจะพูดให้ฟังว่าไอ้ที่ข้ารู้ว่าเอ็งพูดนะ ไม่ใช่อตีตังสญาณ ข้านอนฟังเอ็งพูดจนรำคาญเลยว่ะ นี่แสดงว่าท่านได้ยินเสียง


    ก็เลยกราบเรียนท่านว่า หลวงพ่อได้ยินเสียงใช่ไหม บอกว่าใช่ การได้ยินเสียงนี่อาศัยอะไรเป็นสำคัญ ท่านก็เลยบอกว่าไอ้เด็กนี่ปากไม่ดี บอกแล้วไม่ให้ถามมันก็เสือกถามจนได้ เอ้าในเมื่อมันอยากเสือกถาม ข้าจะเสือกบอกมันบ้างล่ะ เอ็งมันไม่ดีนี่ข้าก็ไม่ดีด้วย เอ็งนี่มาทำให้ผู้ใหญ่เสีย ท่านก็เลยบอกว่า


    "ในขณะใดที่จิตข้าทรงอุปจาระสมาธิอยู่ ถ้าใครเขาปรารภถึงข้า หรือปรารภในสิ่งที่เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติ ข้าจะได้ยินเสมอ" นี่หมายความว่าหลวงพ่อยิ้มเป็นพระอภิญญาสมาบัตินะ


    บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท การได้ยินเสียงของอาตมา วัดของอาตมากับวัดของหลวงพ่อยิ้มอยู่ไกลกันกว่า ๒๐ กิโลเมตร ไหนๆไม่ได้วัดหรอกว่ามันกี่กิโลนะ ก็คิดว่าจากอำเภอมโนรมย์ไปจังหวัดชัยนาทน่ะมัน ๑๒ กิโลเมตร วัดของอาตมาอยู่ไกลมาก อยู่ไกลกันในระหว่าง อ. มโนรมย์กับ จ. ชัยนาท ประมาณ ๓-๔ เท่า นี่เราคุยกันอยู่ในวัดท่านได้ยิน


    เป็นอันว่าหลวงพ่อยิ้มท่านทรงอภิญญาสมาบัติขั้น "ทิพยโสตญาณ" อภิญญาสมาบัตินี่ไม่ใช่ได้ทิพยโสตญาณอย่างเดียวนะ ไปศึกษาในตำราก็แล้วกันว่ามีอะไรบ้าง เป็นอันว่าท่านสามารถที่จะได้ยินเสียงอาตมาพูดกันได้ นี่ก็เป็นที่น่าเลื่อมใส ต่อจากนั้นไปก็ได้ศึกษากรรมฐานจากท่าน ท่านก็บอกว่า พระกรรมฐานนี่นะพวกเธอน่ะ ท่านใช้คำว่า "เธอ" เวลาพูดกรรมฐานนี่ไม่ได้ยกมือเชียว ยกมือพนมหันไปไว้พระพุทธรูป นี่หลวงพ่อยิ้มน่ะ ว่า...


    "..พระกรรมฐานนี่ ว่าเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ฉันไม่ทำอย่างอาจารย์ปาน อาจารย์ของเธอนะ ฉันไม่เรียกท่านปานนะ ฉันจะเรียกอาจารย์ปาน เพราะพูดถึงเรื่องตำรับตำราเป็นอาจารย์เขาชอบเป็นครูคน


    ปฏิปทาของเขากะของฉันเป็นคนละอย่าง เขาปรารถนาพระโพธิญาณ เขาก็ต้องแจกจ่ายความดีกับบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านบำเพ็ญบารมีให้เต็ม แต่ฉันนี่ต้องการอย่างเดียวนะ ตายไปแล้วไม่เกิดอีก เพราะฉันไม่ต้องการเกิดฉันจึงตัดกังวล ถ้าจะไปสร้างอะไรต่ออะไรตามที่คนเขาเรียกร้อง ฉันก็มีกังวลในการก่อสร้าง เพราะฉันไม่มีหนี้นี่ ฉันไม่มีภาระกับใคร


    ภาระใดๆ ก็ตามฉันจะต้องชำระหนี้ ชาตินี้ไม่มีแล้วสำหรับฉัน ฉันหมดหนี้แล้วนี่ เมื่อฉันหมดหนี้ฉันก็ไม่สร้างให้ใครเป็นหนี้ฉันใหม่ สำหรับเงินทองที่ได้มา เวลาฉันตายเขาสร้างกันเอง เงินทุกบาทที่ได้มานอกจากว่าจะซื้อยารักษาโรคบ้าง ซื้อของตามความจำเป็นเล็กน้อยบ้าง ฉันเก็บไว้ฉันไม่ให้ใครใช้ของฉัน.."


    ก็เลยถามแนวปฏิบัติพระกรรมฐาน..ว่าหลวงพ่อทำอย่างไรขอรับ ? ก็บอกว่า..


    ฉันทำมาแบบเดียวกับอาจารย์ของเธอ อาจารย์ปานน่ะ มาแบบเดียวกัน แต่มาแยกกันอยู่นิดหนึ่ง ตอนที่ฉันได้สมาบัติ ๘ แล้ว ฉันก็กลับไปทำวิปัสสนาญาณให้เต็มที่ ในที่สุดเมื่อฉันจับมุมวิปัสสนาญาณรวมได้หมดแล้ว ฉันก็อยู่เป็นปกติ คือหมายความว่าฉันไม่ไปเบียดเบียนใคร ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน แต่ว่าของสิ่งใดก็ตาม ถ้าใครเขาถวายเพื่อสงฆ์ ฉันจะเก็บไว้เพื่อสงฆ์ แต่ส่วนตัวฉัน ฉันเอาตัวของฉันรอด


    เวลานี้ชาวบ้านชาวเมืองเขาหาว่าฉันเป็นพระไม่ดี พระขี้เหนียว ก็ช่างเขา ฉันได้ยิน แม้พระเหมือนกันก็พูดว่าพระพวกเดียวกัน พวกพระเขาพากันตำหนิติเตียนฉันกันทั้งนั้นแหละ พวกพระเขาพากันตำหนิติเตียนฉันกันทั้งนั้นแหละ ฉันได้ยินเขาพูดกันที่วัด ฉันได้ยินเขาพูดกันในระหว่างต่อหน้าฉัน ฉันก็ได้ยิน ถามว่าหลวงพ่อได้ยินแล้วหลวงพ่อมีความรู้สึกอย่างไรขอรับ ท่านเลยบอกว่า


    ฉันเกิดความสงสารพระพวกนั้นนะสิ สงสารพระพวกนั้นว่าเอาตัวไม่รอด มั่วแต่ไปเพ็งเล็งความดีความชั่วของบุคคลอื่น แต่ไอ้ความดีความชั่วของตัวเองไม่มองดู พระแต่ละพระพากันบ้าในลาภ บ้าในยศ บ้าในสรรเสริญ บ้าในสุข อยากรวยสะสมเงินทอง แล้วก็ไปซื้อโน่นซื้อนี่เป็นสมบัติส่วนตัว อยากให้เขาตั้งยศถาบรรดาศักดิ์ มีแค่นั้นอยากเลื่อนแค่โน่น อยากให้เขาสรรเสริญเยินยอ ถ้าใครเขาตำหนิติเตียนก็ไม่ชอบใจ แล้วก็อยากได้ในความสุข พระพวกนี้เป็นพระของอบายภูมิ ไม่ควรนะเธอ อย่าทำตามนะ


    เอาละ..บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท ประวัติความเป็นมาของ หลวงพ่อยิ้ม เป็นพระดีที่ชาวบ้านมองไม่เห็น ก็จะขอเล่าให้ฟังเพียงแค่นี้..สวัสดี.


    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์

    http://www.tamroiphrabuddhabat.com/x...ad.php?tid=610

    ให้บูชา 800 บาท พระสภาพสวยๆเลย<!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00847.JPG
      DSC00847.JPG
      ขนาดไฟล์:
      281.1 KB
      เปิดดู:
      99
    • DSC00850.JPG
      DSC00850.JPG
      ขนาดไฟล์:
      243.9 KB
      เปิดดู:
      115
  14. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 235 สมเด็จอกวีฐานเจ็ดชั้นหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก

    [​IMG]

    เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก รุ่นแรก

    สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ (พริ้ง) วัดบางปะกอกกันนะครับ หลวงพ่อพริ้งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าองค์หนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มากแม้แต่ พล.ร.อ.กรมหลวงชุมพรเขตร อุดมศักดิ์ ท่านยังเคารพนับถือหลวงพ่อพริ้งมาก ถึงกับให้พระโอรสมาบวชเป็นสามเณรถึง 3 องค์ เนื่องจากหลวงพ่อพริ้งท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในทางปฏิบัติ และเข้มขลังในพุทธาคมมากนั่นเอง ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้านต่างก็จะมาหลบภัยอยู่ที่วัดของหลวงพ่อเป็นจำนวนมากจนแน่นขนัดไปหมด
    พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอกท่านเกิดที่กทม. เมื่อปีพ.ศ. 2413 โยมบิดาชื่อ เอี่ยม โยมมารดาชื่อ สุ่น ท่านเริ่มบวชเป็นสามเณรที่วัดพลับ จนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดพลับ ในปีพ.ศ. 2433 หลวงพ่อพริ้งท่านศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมมาตั้งแต่สมัยยังเป็นสามเณร สำนักใดมีชื่อเสียงในขณะนั้นท่านก็จะไปศึกษาและออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และเมื่อพบกับพระเกจิอาจารย์ดังๆ ท่านก็จะฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาต่างๆ จนปฏิบัติได้จริง แล้วท่านก็ออกธุดงค์ไปเรื่อยๆ
    หลวงพ่อพริ้งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาและไม่ว่าจะมีพิธีสำคัญๆ ที่ใดก็ตามจะต้องมีการนิมนต์หลวงพ่อพริ้งอยู่ด้วยเสมอ เช่น พิธีพุทธาภิเษก เหรียญหลวงพ่อมงคลพบิตร ปีพ.ศ. 2485 หรืองานหล่อพระรูปของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชิน วรสิริวัฒน์ที่วัดราชบพิธ หลวงพ่อก็จะได้รับนิมนต์ด้วย
    หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ท่านยึดถือสมถวิปัสสนากรรมฐานเป็นกิจวัตร จนมีญาณสมบัติสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ได้ล่วงหน้า จนเป็นที่ประจักษ์แก่ลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้านเคารพนับถือหลวงพ่อมาก หลวงพ่อพริ้งท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด ลูกอมเนื้อผง และพระเครื่องเนื้อผงใบลานสีเทาๆ ไว้หลายพิมพ์ ทุกพิมพ์ได้รับความนิยมเช่าหาทั้งสิ้น สำหรับเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้น คณะศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อพริ้งจัดสร้างในปีพ.ศ. 2483 เพื่อไว้แจกแก่ศิษย์ไว้คุ้มกันภัย ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อพริ้ง ด้านหลังเป็นรูปพระพุทธ เหรียญรุ่นนี้ได้รับความนิยมมาก เนื่องมีประสบการณ์ต่างๆ มากในคราวสงครามอินโดจีน
    แม้ว่าในปัจจุบันนี้ พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ (พริ้ง) วัดบางปะกอกท่านได้มรณภาพไปเป็นเวลาหลายปีแล้วก็ตาม ก็ยังมีผู้คนไปกราบไหว้รูปหล่อของท่าน ที่วัดบางปะกอกเป็นประจำมิได้ขาด ไปขอพร ขอน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์บ้าง และก็น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่ไปกราบไหว้ขอพรต่างๆ ล้วนประสบผลสำเร็จแทบทุกคน ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อพริ้งมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
    หลวงพ่อพริ้งท่านเป็นพระอาจารย์อีกองค์หนึ่งของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระของท่านมีทั้งเหรียญและพระเนื้อผง และเป็นที่นิยมของสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาครับ ท่านพระครูประศาสน์สิกขกิจ (หลวงพ่อพริ้ง) วัดบางปะกอก ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์ บูรณะ กทม. ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2413 ท่านเป็นชาวบางปะกอกโดยกำเนิด โยมบิดาชื่อเอี่ยม โยมมารดาชื่อสุ่น ท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ยังเล็กๆ ที่วัดพลับ โดยอยู่กับพระน้าชายชื่อพระอาจารย์ดี ต่อมาเมื่ออายุครบบวช ท่านจึงอุปสมบทที่วัดทอง นพคุณ และต่อมาท่านได้ถูกนิมนต์ให้มาอยู่ที่วัดบางปะกอก อีก 2-3 ปีต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์ และเป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในยุคสงครามอินโดจีน สมณศักดิ์สุดท้ายที่ท่านได้รับก็คือ พระครูประศาสน์สิกขกิจ พระครูชั้นพิเศษ แต่ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า หลวงพ่อพริ้งบ้าง หลวงปู่พริ้งบ้าง
    การศึกษาวิชาของท่านนั้นสืบไม่ได้ว่าท่านเรียนมาจากที่ใดเข้าใจว่าท่านคงศึกษามาจากที่วัดพลับนั่นเอง หลวงพ่อพริ้งท่านมีชื่อเสียงทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม และทางหมอยา ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดบางปะกอกใหม่ๆ ในย่านนี้มีนักเลงหัวไม้อยู่หลายก๊กงานวัดเมื่อไรก็จะมีการตีกันอยู่เป็นประจำ ต่อมาเมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้ว พวกนักเลงหัวไม้ต่างๆ ก็เกรงกลัวท่านไม่กล้ามาก่อเรื่องอีก บ้างก็ฝากตัวเป็นศิษย์หรือไม่ก็หายหน้าหายตาไปเลย
    ในสมัยก่อนนั้นการเดินทางไปยังวัดบางปะกอกยังยากลำบาก ต้องเดินทางโดยเรือพาย แต่ก็มีผู้คนมากมายเดินทางมากราบท่านอยู่เป็นประจำ ตลอดจนเจ้านายเชื้อพระวงศ์ต่างๆ เช่นเสด็จใน กรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งท่านได้รับการบอกกล่าวมาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ว่ายังมีพระอาจารย์ที่เก่งมีวิทยาคมสูงอยู่ทางบางปะกอก ซึ่งหลวงพ่อพริ้ง ครั้นต่อมาเสด็จในกรมฯ ท่านจึงได้มาลองวิชากับหลวงพ่อพริ้ง จนฝากตัวเป็นศิษย์ และนำพระโอรสมาบวชเป็นสาม เณรกับท่านถึง 3พระองค์ นอก จากนี้ทหารเรืออีกมากมายก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อพริ้ง บางครั้งมีเรือจอดกันที่หน้าวัดแน่นขนัดไปหมด ผู้ที่เคารพเลื่อมใสหลวงพ่อพริ้งต่างก็มาขอของขลังบ้าง ลงกระหม่อมบ้าง รดน้ำมนต์บ้างเวลามีงานไหว้พระครูประจำปี ขบวนเรือจะจอดกันยาวเหยียดไปจนถึงปากคลอง ซึ่งจรดแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นระยะทางเกือบกิโลทีเดียว


    [​IMG]
    พระเนื้อผงพิมพ์พระคง

    หลวงพ่อพริ้งท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังไว้หลายอย่าง เช่น ลูกอมเนื้อผงเหรียญรูปท่านปี พ.ศ.2483 พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์ไพ่ตอง พิมพ์พระคง และสมเด็จพิมพ์ต่างๆ ธงผ้ายันต์เชือกคาดเอว ตะกรุด ฯลฯ เป็นต้น พระเครื่องของท่านล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เมื่อครั้งตอนสงครามอินโดจีนพระเครื่องและเครื่องรางของท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว
    หลวงพ่อพริ้งท่านมักจะได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ ด้วยทุกครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านนิมนต์หลวงพ่อพริ้งลงแผ่นทองคำเพื่อนำไปหลอมในการสร้างพระกริ่งของท่าน ปรากฏว่าเมื่อช่างได้นำแผ่นทอง แดงของท่านลงในเบ้าหลอมรวมกับแผ่นทองแดงของอาจารย์ท่านอื่นๆ มีแผ่นทองแดงที่ไม่หลอม ละลายอยู่แผ่นหนึ่ง จึงนำขึ้นมาดูปรากฏว่าเป็นแผ่นทองแดงของหลวงพ่อพริ้ง จึงได้ทำการหลอมต่อ แต่ทำอย่างไรแผ่นทองแดงนั้นก็ไม่ละลาย ถึงกับต้องนิมนต์หลวงพ่อพริ้งมาจากวัด เมื่อท่านกำกับ ปรากฏว่าแผ่นทองแดงนั้นละลายไปอย่างง่ายดาย ทำให้ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปอย่างกว้างขวาง
    หลวงพ่อพริ้งท่านมรณภาพลงในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2490 ในวันที่ท่านมรณภาพนั้นท่านได้ให้ลูกศิษย์ประคองท่านลุกขึ้นนั่งแล้วท่านก็ประสานมือในท่าสมาธิ ครู่เดียวท่านก็มรณภาพลง สิริอายุได้ 78 ปี เหรียญพระเนื้อผงและลูกอมของท่านนั้นปัจจุบันหายากพอสมควรครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จพิมพ์ไพ่ตอง พระสมเด็จพิมพ์บัวห้าเม็ด และพระเนื้อผงพิมพ์พระคงมาใช้ชมกันครับ
    ด้วยความจริงใจ
    แทน ท่าพระจันทร์


    [​IMG]

    บุญญาภินิหารของ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก


    หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หรือ ท่านพระครูวิสุทธิ ศิลาจารย์ จัดเป็นอีกหนึ่งคณาจารย์ยุคเก่าที่มีลูกศิษย์ทุกระดับชนชั้นมากมายรวมทั้ง พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์ ก็ได้เสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ของท่าน หลวงพ่อพริ้ง เป็นผู้มอบกระดูกหน้าผากนางนากให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งมีความเฮี้ยนมากจนเป็นที่กล่าวถึงของพระโอรสและธิดา ซึ่งเสด็จเตี่ยบอกว่า ไม่ต้องกลัว และความเฮี้ยนของนางนากก็ปรากฏถึง ๒ ครั้งในตำหนักนางเลิ้ง
    ในเรื่องกระดูกหน้าผากของนางนากนี้ได้ปรากฏในงานเขียนประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา พ.ศ.2473 บรรยายไว้ว่าหลังจากที่นางนาคออกอาละวาดหนัก สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านรู้เรื่องจึงลงไปค้างที่วัดมหาบุศย์และเรียกนางนาคขึ้นมาคุยกัน ผลสุดท้ายท่านเจาะเอากระดูกหน้าผากของนางมาลงยันต์และทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ผีนางนาคก็ไม่ออกมาอาละวาดอีกเลย
    และในเรื่องนี้ สมบัติ พลายน้อย ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ค้นคว้าและเขียนเรื่องของแม่นาคสรุปเอาไว้ว่า กระดูกหน้าผากแม่นาคนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ประทานให้กับ สมเด็จหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) และประทานให้ หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์) อีกต่อ จนมาถึงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไม่นานนักแม่นาคก็มากราบลา จากนั้นก็ไม่มีใครพบกระดูกหน้าผากของแม่นาคอีก
    จึงนับได้ว่าในยุคนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้คณาจารย์ใด ๆ ในยุคเดียวกันเลย เนื่องจากหากหน่วยงานราชการในยุคนั้นมีพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ๆ แล้ว หลวงพ่อพริ้ง ก็จะต้องเป็นคณาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ได้รับการนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีทุกครั้ง ชื่อเสียงของท่านจึงขจรระบือไกล
    โดยประวัติของท่านมีนามเดิมว่า พริ้ง เอี่ยมเทศ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 เป็นชาวบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ เริ่มเรียนหนังสือด้วยการบวชเป็นสามเณรที่
    วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) กระทั่งอายุครบ 20 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดทองนพคุณ อ.คลองสาน แล้วจึงไปจำพรรษาที่ วัดบางปะกอก จวบกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดบางปะกอกจนกระทั่งมรณภาพ
    หลังจากเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว หลวงพ่อพริ้ง ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งภาษาไทยและบาลีจนแตกฉาน ประกอบกับเป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้าน วิปัสสนากรรมฐาน จึงทำการฝึกฝนทางด้านนี้อย่างจริงจังรวมทั้งเรียนด้านวิทยาคมเพิ่มเติมอีกกับคณาจารย์ต่าง ๆ หลายสำนัก ทำให้ท่านมีชื่อ เสียงเด่นดังทั้งทางด้าน คงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยม แถมด้วย วิชาแพทย์แผนโบราณ อีกด้วยเพื่อนำมาสงเคราะห์ต่อชาวบ้านในสมัยนั้น โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมประกอบพิธีหล่อและพุทธาภิเษก พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ วัดสุทัศน์ ) ซึ่งมีพระคณาจารย์ชื่อดังหลายสิบรูปมาร่วมพิธีครั้งนี้ปรากฏว่า แผ่นยันต์ ที่หลวงพ่อพริ้งทำการจารอักขระ และได้นำไปใส่ในเบ้าหลอมรวมกับของคณาจารย์รูปอื่น ๆ ไม่ยอม หลอมละลายเลย เกิดเป็นปรากฏการณ์อันอัศจรรย์ให้เล่าขานมาถึงทุกวันนี้ โดยต้องนิมนต์ท่านมาทำการท่องมนต์กำกับแผ่นจารจึงละลายในเวลาต่อมา
    หรือในสมัยที่ก่อเกิด สงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2 (ระหว่าง พ.ศ. 2480-85) วัดบางปะกอกก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่ประชาชนทั่วไปได้มาขอพึ่งพาเป็นที่หลบภัยทั้ง ๆ ที่วัดอยู่ไม่ไกลจากอู่ต่อเรือของทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาสร้างฐานทัพในประเทศไทยเท่าใดนัก โดยช่วงนั้นฝ่ายพันธมิตรได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานที่มั่นของทหารญี่ปุ่นมากมายหลายสิบลูก แต่ไม่มีระเบิดแม้แต่ลูกเดียวที่จะหลงหลุดลอยมาถึงวัดบางปะกอกได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะ หลวงพ่อพริ้ง ได้ทำพิธีขจัดปัดเป่าจึงทำให้บริเวณวัดบางปะกอกและใกล้เคียงรอดพ้นจากลูกหลงโดยสิ้นเชิง ทำให้ประชาชนชาวบางปะกอกสมัยนั้นต่างไม่มีใครลืมเหตุการณ์ในยุคนั้นได้เลย
    ด้วยเหตุนี้ชื่อเสียงท่านจึงโด่งดังมากเป็นผลให้ประชาชนทั่วสารทิศทั้งใกล้ไกล ต่างมุ่งไปขอวัตถุมงคลจากท่านรวมทั้งไปให้ท่านช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งท่านก็ไม่เคยปฏิเสธผู้ใดไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่นายโตหรือประชาชนธรรมดาสามัญ หากไปขอให้ท่านช่วยสงเคราะห์แล้วเป็นได้รับเมตตาช่วยเหลือเสมอเหมือนกันหมดท่านจึงทำการสร้าง วัตถุมงคล ขึ้นมากมายหลายชนิดแจกจ่ายกันไปตามแต่ผู้มาขอต้องการ ส่วนที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมเสาะหาก็มีทั้ง ลูกอมเนื้อผง, ตะกรุด, ผ้ายันต์, เสื้อยันต์, พระพิมพ์ต่าง ๆ

    หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานของอุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม ขนาดศิษย์ยังมีอภิญญาเพียงนี้ แล้วอาจารย์จะมีขนาดไหน

    ให้บูชา 2000 บาท พระพิมพ์นี้เป็นพิมพ์นิยมของหลวงพ่อพริ้งครับ

    รับรองราคาพิเศษกว่าที่อื่นแน่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00830.JPG
      DSC00830.JPG
      ขนาดไฟล์:
      226.2 KB
      เปิดดู:
      134
    • DSC00829.JPG
      DSC00829.JPG
      ขนาดไฟล์:
      151.2 KB
      เปิดดู:
      120
    • DSC00828.JPG
      DSC00828.JPG
      ขนาดไฟล์:
      64.9 KB
      เปิดดู:
      88
  15. supachaipnu

    supachaipnu ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,370
    ค่าพลัง:
    +7,301
    รายการที่ 234 งบน้ำอ้อยพิมพ์กลาง(2)หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด

    Close krub.<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 236 สุดยอดขุนแผนเมืองใต้...หลวงปู่จันทร์ วัดโฉลกหลำ

    รายการเด็ดประจำวันนี้

    รอติตดามตอนต่อไป
     
  17. supachaipnu

    supachaipnu ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,370
    ค่าพลัง:
    +7,301
    รายการที่ 235 สมเด็จอกวีฐานเจ็ดชั้นหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
    close krub
     
  18. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948

    รับทราบการจองครับ
     
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948

    รับทราบการจองครับ
     
  20. มะขามป้อม

    มะขามป้อม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +1,547
    มาเร็ว ไปเร็ว ตามไม่ทันเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...