แป๊ะกง เรื่องจริงที่ประสบด้วยตัวเราเอง

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย สี่จุด, 8 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. ดาวจรัสแสง

    ดาวจรัสแสง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    542
    ค่าพลัง:
    +3,015
    มีเล่าต่อไหมคะ? ได้อรรถรสดีค่ะ

    กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  2. จักรราศี

    จักรราศี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,086
    เอ่อ.. พออากงเข้าทรง

    ทำไมต้องร้อง "อร๊ายยยยยยย" ทุกทีเลย ไม่เข้าใจ?
     
  3. Ong

    Ong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,501
    ค่าพลัง:
    +12,861
    สุดยอด แป๊ะกงเมตตาดีจัง
     
  4. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,658
    ปุจฉา.....เอ่อ.. พออากงเข้าทรง

    ทำไมต้องร้อง "อร๊ายยยยยยย" ทุกทีเลย ไม่เข้าใจ?<!-- google_ad_section_end -->

    วิสัชนา.....ก็อย่างที่เล่าไง เคยดูงิ้วมั๊ย เวลางิ้วออกโรงจะร้องเสียงดังๆ นั่นแหละ แล้วก็พูดๆๆๆๆ อันนี้ฟังไม่รู้เรื่อง แล้วลูกศิษย์จะชงชาเตรียมไว้ให้ถ้วยเล็กๆ อ่อ ... จะบอกให้ว่า แป๊ะกงที่นี่ พวกนักการเมืองขึ้นกันมาก หนาแน่น ขนาดที่ว่า ก่อนจะได้เป็นนายกฯ ยังมีคนไปถามอากงเลยว่าจะได้หรือเปล่า มียศเป็นนายพล ตอนนั้น เขาจะได้เป็น อากงก็บอกว่า จะได้เป็น บางคนไม่ได้เป็น ไปขอให้ทำพิธี โดนด่าก็มี รูปถ่ายติดไว้รอบศาลเลย
    ส่วนที่ว่า มีต่ออีกมั๊ย รอให้เจ๊ พ. ของเราเดือดร้อนเมื่อไหร่ แกก็มาแน่ จะมาแบบเขินๆ เหมือนว่า งมงาย แต่ก็จริง แบบนั้นแหละ
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่อ่านแล้ว เพลิดเพลิน สนุกสนาน ถือเป็นบุญที่ทำร่วมกัน ไว้ว่างจะเล่าเรื่องมีคนบอกว่า พ่อเราที่เสียไป ได้ไปเป็นแป๊ะกง จริงเท็จยังไงไม่ทราบ มีคนบอกมาแบบนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2010
  5. อย่าลืมฉัน

    อย่าลืมฉัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +2,807
    แป๊ะเท่ง เก่งมาก แต่ทำไมแพงจังหรือถูก ๆ ก็มีี

    อนุโมทนา :cool:
     
  6. จักรราศี

    จักรราศี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,086
    คุณสี่จุด
    แป๊ะกง กับ ภูมิเทวดา นี่อันเดียวกันหรือปล่าวครับ เห็นบางคนเรียกว่าปู่โสม
    ไม่รู้อันเดียวกันหรือเปล่า

    แล้วแป๊ะกงนี่เป็นตำแหน่งใช่ไหมครับ ดูแลเขตใครเขตมันหรือเปล่าครับ ช่วยคนข้ามเขตกันได้ไหมครับ
     
  7. หนูแว่น

    หนูแว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    1,188
    ค่าพลัง:
    +3,207
    สนุกมากเลยค่ะ ก็เรื่องอย่างนี้แหล่ะที่ทำให้คนเราหันมาสนใจธรรมะกันมากขึ้น
    อยากไปหาบ้างจัง แต่พูดจีนไม่ได้
     
  8. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,658
    แป๊ะกงน่าจะเป็นเทวดาที่ต้องการทำบุญเพิ่มบุญบารมีจึงได้มาช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากได้รับความลำบากเดือดร้อน พอบารมีเพิ่มก็จะได้เลื่อน คงจะเป็นเหมือนชั้นภูมิของเทวดานะ ก็น่าจะเขตใครเขตมัน อากงเคยเล่าเมื่อครั้งที่ เจ๊ พ. ไปให้ช่วยเรื่องพี่สาว อากงว่า อีกสี่ปีอากงจะกลับเมืองจีน เพราะเมืองจีนจะเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง อากงต้องไปช่วย แต่ว่า ก่อนเมืองจีนอ่ะ เมืองไทยจะประสพภัยที่หนักหนามาก ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไร ต่อมามีสึนามิ เราก็ อืมมม์..ใช่เรื่องที่อากงบอกหรือเปล่านะ แล้วที่เมืองจีนเกิดแผ่นดินไหว ตายเป็นเบือก็หลังจากนั้น แต่ตอนหลังก็ถามอากงว่า ทำไมยังอยู่ อากงว่า ที่นี่ยังมีคนเดือดร้อนมากมาย อากงต้องอยู่ช่วยก่อน
    ส่วนเรื่องที่มีคนถามว่า ทำไมแพง เราก็คิดนะ แต่พอเห็นของที่ไหว้ แล้วเขาจัดให้เวลาค่ำคืนทันทีที่เราไปหาเนี่ย ก็เข้าใจว่า มันก็มีค่าใช้จ่ายเยอะ แต่บางคนที่ไม่มี อากงก็จะลดและจัดให้สมราคา ส่วนที่ใส่ซองให้คนทรงนั่น เราให้กันเอง เขาไม่ได้เรียกร้องจ้ะ
     
  9. จักรราศี

    จักรราศี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +1,086
    คุณสี่จุดครับ

    แล้วเงินที่เราให้ไปซื้อของไหว้ พอไหว้เสร็จ เค้าให้เราเอาของกลับบ้านได้
    หรือของเอาไปไหนต่อครับ
     
  10. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,658
    ว๊ายยยยย.....คุณจักรราศี ของไหว้สัมภเวสี คนดีๆ เขาไม่กินกันหรอกจ้ะ เขาให้พวกคนจนที่อยู่แถวนั้น เขาจะไปบอกแล้ว ก็มีคนมาเอาไป ให้เขาไปเหอะ เหมือนของไหว้ผีแล้วเราจะเอามากินป่ะ เนอะ....แล้วกระดาษเงินกระดาษทองเขาก็เผา เขามีเตาเผาขนาดยักษ์เลย
     
  11. หลวงจีน

    หลวงจีน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    861
    ค่าพลัง:
    +1,326
    อยากให้คุณสี่จุด บอกรายละเอียดว่าแปะกงท่านนี้ อยู่ที่ไหนตอนเด็กก็ชอบไปดู มีเรื่องสนุกๆมากๆเลย
     
  12. Ong

    Ong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,501
    ค่าพลัง:
    +12,861
    <table class="linetable" width="650" bgcolor="#d2f8ba" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><tr><td colspan="3" class="textBoard" align="left" height="80" valign="top">[ ผู้ดูแล : จงผ้อแป๋ - 23/09/2007 - 21:18 ] [​IMG]<hr size="1">
    ข้าพเจ้าขออนุญาตนำข้อมูลของคุณเด็กบางเหนียว(เก่า)
    มาจัดรวมไว้ที่กระทู้นี้เพื่อง่ายต่อการค้นคว้า
    ปุนเถ่ากง เทพเจ้าแห่งชาวจีน

    [ ผู้โพส : เด็กบางเหนียว(เก่า) - 28/10/2006 - 12:16 ] [​IMG] <hr size="1"> นจีนทุกกลุ่มทุกภาษานับถือเทพทางศาสนาเหมือน ๆ กัน คือ พุทธมหายาน เต๋า ขงจื๊อ แต่นับถือเทพประจำท้องถิ่นแตกต่างกันจนนับไม่ถ้วน<small><small>
    </small></small>“ปุ นเถ่ากง” ก็เป็นเทพเจ้าท้องถิ่นอีกองค์หนึ่งในจำนวนเทพนับไม่ถ้วน แต่ปรากฎว่าคนจีนทุกกลุ่มทุกภาษาในเมืองไทยเคารพนับถือ เทพปุนเถ่ากง ร่วมกัน ดังนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงมีมากที่สุด โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ

    ปุนเถ่ากง<small><small> </small></small><small><small>

    </small></small> เป็น ชื่อที่เรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋ว ส่วนจีนกลางเรียกว่า เปิ่นโถวกง เป็นเทพเจ้าที่พบในเมืองไทย ฟิลิปปินส์ และที่ปีนัง เท่านั้น ชื่อเทพองค์นี้ได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกสุดในหนังสือ J.D.Vaughan (1879) เขากล่าวว่าชาวจีนแถบเอเชียใต้เคารพกราบไหว้ ต้าเป้อกง (ตั่วแปะกง) และเปิ่นโถวกง (ปุนเถ่ากง) นักวิชาการชาวต่างประเทศมีความเห็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเทพสององค์ นี้แตกต่างกันออกไป หานหวยจุ่น กล่าวสรุปไว้ว่า เปิ่นโถวกง และต้าเป๋อกง เป็นเทพองค์เดียวกัน และเป็นเทพที่นักเดินหรือในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) กราบไหว้กัน โดยมีชื่อเดิมว่า “โตวกง” แต่ที่ปีนังชาวพื้นเมืองเรียกเทพองค์นี้ว่า
    “เปิ่นโถวกง” ฟิลิปปินส์เรียกเทพองค์นี้ว่า เปิ่นโถวกัง
    <small><small>
    </small></small>ซวี่อวิ๋น เฉียว มีความเห็นว่าเทพเปิ่นโถวกงเป็นองค์เดียวกันกับ ต้าเป๋อกง และชื่อดังกล่าวเป็นเพียงตำแหน่ง เทพผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะแตกต่างกันไปตามบุคคล เวลา และสถานที่ เทพองค์นี้เป็นเภทที่มีความสัมพันธ์กับเจ้าที่มากที่สุด เขากล่าวว่า “เปิ่นโถวกง” นั้นเป็นชื่อเรียกที่กลายเสียงมาจาก ถู่ตี้กง หรือเจ้าที่ และมีฐานะทางเทพเท่ากับต้าเป๋อกง ผู้ดำรงตำแหน่งนี้จะเป็นใครไม่อาจจะทราบได้ หรืออาจจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ของบรรพบุรุษ ของชาวจีนโพ้นทะเลเท่านั้นก็ได้<small><small>
    </small></small>เทียน กวนซื่อ ก็มีความเห็นว่า เทพเปิ่นโถวกง และต้าเป๋อกง นั้นมีความสัมพันธ์กัน เขากล่าวว่า “ต้าเป๋อกง” ได้กลายมาจากเปิ่นโถวกง ชาวแต้จิ๋วเรียกเทพองค์นี้ว่า เปิ่นโถว ซึ่งหมายถึง เปิ่นตี้ หรือที่ดั้งเดิมหรือ โถวมู่ ซึ่งแปลว่าหัวหน้าในสถานที่นั้น ๆ จึงทำให้บางคนเรียกย่อ ๆ ว่า ตี้โถว และเมื่อผู้เป็นใหญ่ในเขตนั้น ๆ หรือผู้นำในเขตอื่นๆ ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่เขตปกครองมากมายเมื่อตายไปแล้วก็ถูกยกย่องให้เป็นเทพ จึงเรียกว่าเปิดโถวกง ซึ่งหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งเขตนั่นเอง<small><small>
    </small></small>ชาว จีนในกรุงเทพฯนับถือเป็นโถวกงมาก ศาลต่าง ๆ ที่เราพบอยู่ในตลาดหรือแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวจีนนั้น หากไม่ตั้งเปิ่นโถวกงไว้เป็นเทพประธานในศาล ก็ต้องตั้งเป็นเทพชั้นรอง ในตลาดสดทั้งหลายส่วนมากจะตั้งเทพเปิ่นโถวกงไว้เป็นเทพประธาน เพื่อจะได้ช่วยปกป้องความร่มเย็นและการค้าเจริญรุ่งเรือง ศาลเจ้าเทพองค์นี้จะมีอาคารใหญ่แบบซื่อเหอเอี้ยน เช่น ศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง ที่ถนนทรงวาด หรืออาคารที่เล็กขนาดกว้างเพียงห้องเดียว เช่น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง ที่ซอยเสนานิคม 1 เป็นต้น<small><small> </small></small>

    <small><small>
    </small></small> รูป เคารพของเปิ่นโถวกงนั้น อาจจะเป็นไม้สลัก หรือเป็นแผ่นไม้ที่เขียนตัวอักษรจีนบอกความหมายว่าเป็นสถานที่สถิตของเทพปุ นเถ่ากงก็ได้<small><small>
    </small></small>สำหรับ ความเป็นมาของเทพปุนเถ่ากงนี้ ชาวจีนผู้สูงอายุทั้งหลายต่างมีความเห็นแตกต่างกันออกไปบ้างก็กล่าวว่า ในมณฑลกวางตุ้งและฮกเกี้ยน นั้นต่างก็มีเทพประจำท้องที่อยู่ทุกแห่งเรียกว่า ตี้โถว หรือที่เรียกว่า ตี้โถวกง ชาวแต้จิ๋วเรียกกันโดยทั่วไปว่า ตี่เถ่าเล่าเอี๊ย หรือเทพผู้เป็นใหญ่ในที่นั้น ๆ หน้าที่ของประชาชนในแต่ละเขต ชาวจีนแม้จะอพยพมาอยู่ที่อื่นก็ยังยึดมั่นในความเชื่อดั้งเดิมนี้อยู่ จึงได้ใช้ไม้สลักเป็นรูปเคารพมากราบไหว้บูชา ในความหมายว่าเป็นรูปเคารพของผู้เป็นใหญ่แห่งเขตนั้น ๆ แล้วต่อมาชื่อนี้ได้เรียกอย่างง่าย ๆ ว่า เปิ่นโถวกง เทพองค์นี้มีผู้กราบไหว้กันทั่วไปในเมืองแต้จิ๋ว และเรียกกันว่า ตี้โถวกง<small><small>
    </small></small>จากคำกล่าวนี้ก็อาจทำให้เราสรุปได้ว่า ปุนเถ่ากงนั้นที่แท้เป็นเทพประจำท้องถิ่นนั่นเอง<small><small>
    </small></small>ศาล เจ้าปุนเถ่ากงในกรุงเทพฯนั้นที่นับว่าเป็นศาลเจ้าที่รู้จักกันกว้างขวางและ มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ของชาวจีนแต้จิ๋วได้แก่ ศาลเจ้าเก่า หรือศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง ที่ถนนทรงวาด รูปเคารพปุนเถ่ากงส่งตรงมาจากเมืองแต้จิ๋ว ซึ่งสิ่งนี้ย่อมเป็นหลักฐานแสดงให้รู้ว่าที่เมืองแต้จิ๋วมีการนับถือเทพองค์ นี้ด้วย
    <small><small>
    </small></small>เทพปุนเถ่ากงที่ชาวจีนกราบไหว้กันในกรุงเทพฯ มีทั้งที่ประดิษฐานไว้เป็นเทพประธานในศาลเจ้าของชาวจีนแต้จิ๋ว และชาวจีนฮกเกี้ยน ดังนี้<small><small> </small></small><small><small>

    </small></small> 1. ศาลเจ้าจี้หนันเมี้ยว (ศาลเจ้าตึกดิน) (ค.ศ.1786) ประดิษฐานเทพปุนเถ่ากงอยู่บนแท่นบูชาเดียวกันเจ้าแม่กวนอิม เทพฟ้าดินพระเจ้าตากสิน และเทพกวนอู (ฮกเกี้ยน)<small><small>
    </small></small> 2. ศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง ที่ซอยตากสิน ที่ซอยตากสิน 1 (ค.ศ. 1854) (ฮกเกี้ยน)<small><small>
    </small></small> 3. ศาลเจ้าบ้านหม้อ (ค.ศ.1816) แต้จิ๋ว<small><small>
    </small></small> 4. ศาลเจ้าสูง (ค.ศ.1851) แต้จิ๋ว<small><small>
    </small></small> 5. ศาลเจ้าเก่าถนนทรงวาด (ค.ศ.1818) แต้จิ๋ว<small><small>
    </small></small> 6. ศาลเจ้าบางกอกน้อย (ค.ศ.1917) แต้จิ๋ว ศาลนี้มีประวัติมาว่าสร้างมากกว่า 200 ปี แล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานในศาล ซ่อมต้นปี 1989 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นศาลเจ้า
    เล่าปุนเถ่ากง
    <small><small>
    </small></small> 7. ศาลเจ้าบ้านหม้อ (ค.ศ.1977) สร้างใหม่ แต้จิ๋ว<small><small>
    </small></small> แต่ ในศาลเจ้าของชาวจีนไหหลำ และจีนแคะนั้น ยังไม่ปรากฎว่าได้มีการประดิษฐานเทพองค์นี้เป็นเทพประธานในศาลแต่อย่างใด ดังนั้นจึงทำให้เราทราบว่า ชาวแต้จิ๋วและชาวฮกเกี้ยนคงจะมีความเชื่อในเทพปุนเถ่ากงมากกว่าชาวจีน ภาษาอื่นๆ เทพองค์นี้มีลักษณะของรูปเคารพที่ไม่เหมือนกันในทุกศาลเจ้าเช่นมีทั้งที่ แต่งกายแบบขุนนางฝ่ายบุ๋น บ้างก็แต่งกายแบบขุนนางฝ่ายบุ๋น บ้างก็แต่งกายแบบขุนนางฝ่ายบู๊ มีหนวด มือขวาถือหยูอี้ที่ศาลเจ้าสมัยเก่า เช่น ศาลเจ้าตึก ดิน ศาลเจ้าสูง ศาลเจ้าบ้านหม้อ เป็นต้น<small><small> </small></small>

    <small><small>
    </small></small> รูป เทพปุนเถ่ากงจะส่งตรงมาจากประเทศจีน และจะมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ปัจจุบันที่พบในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นรูปเคารพที่ทำขึ้นใหม่นั้น ก็มักจะเลียนแบบรูปเคารพเดิม แต่ลักษณะของเทพอาจจะเปลี่ยนไปจากท่ายืนเป็นท่านั่ง ในศาลเจ้าไหหลำ มักจะไม่นิยมทำรูปเคารพปุนเถ่ากง แต่จะใช้แผ่นไม้มาเขียนเป็นชื่อเทพไว้เท่านั้น และปุนเถ่ากงที่ชาวไหหลำนับถือนั้นมีรวมทั้งสิ้น 3 องค์<small><small> </small></small>

    <small><small> </small></small><small><small>
    </small></small> เทพ องค์นี้มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนสมัยโบราณมาก เนื่องจากช่วยดูแลความทุกข์สุขของประชาชนในเขตหนึ่ง ๆ ดังนั้น ไม่ว่าครอบครัวใดจะมีใครคลอดบุตร หรือมีผู้ถึงแก่กรรม สมาชิกในบ้านนั้น ๆ ก็ต้องมาจุดธูปบอกกล่าวเทพปุนเถ่ากงเสียก่อน<small><small> </small></small>

    <small><small>
    </small></small>สำหรับ ชาวจีนในเมืองไทยที่อพยพเข้ามาในรุ่นแรกๆ นั้นมีความรักในประเทศจีนมีมาก แม้ว่าในช่วงที่พวกเขามีชีวิตอยู่ไม่โอกาสได้กลับไปประเทศจีน เมื่อตายแล้วก็หวังที่จะให้บุตรหลานนำศพกลับไปฝังยังเมืองจีนและก่อนที่จะ เคลื่อนศพออกไป ก็ต้องไปจุดธูปบอกกล่าวเทพปุนเถ่ากงเสียก่อน แล้วจึงจะไปบอกกล่าวเทพเฉิงหลง (เซียอึ้ง) ในปัจจุบันนี้ แม้เทพปุนเถ่ากงจะมิได้มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนเหมือนสมัย ก่อน แต่ความเคารพต่อเทพองค์นี้ของชาวจีนมิได้ยิ่งหย่อนไปหว่าสมัยแต่ก่อนเลย เทพปุนเถ่ากงได้วิวัฒนาการมาจากเทพประจำกลุ่มภาษาหนึ่งมาเป็นเทพที่ชาวจีน ทุกกลุ่มทุกภาษานิยมนับถือกราบไหว้ และเมื่อใดที่มีการสร้างศาลใหม่ในชุมชนของชาวจีนแต่ละเขต ก็มักจะตั้งปุนเถ่ากงไว้เป็นเทพประธานของศาลเสมอ<small><small> </small></small>

    ช่างสลักเทพเจ้าชาวจีน<small><small>
    </small></small> รูปเคารพของเทพปุนเถ่ากงหรือปุนเถ่าม่า หรือเทพที่ชาวจีนเคารพองค์อื่น ๆ มีทั้งชนิดที่ส่งตรงมาจากเมืองจีนและสลักขึ้นเองในกรุงเทพฯ สำหรับกรุงเทพฯนั้น แหล่งที่สลักรูปเคารพของจีนมีเพียง 2 แห่ง เท่านั้นคือ ร้านที่ตรอกถั่วงอกแถวเยาวราช ซึ่งนิยมสลักรูปเคารพทางศาสนาเต๋า และร้าที่เชิงสะพานยศเส ซึ่งมักทำรูปพระโพธิสัตว์ทางฝ่ายมหายาน โดยสลักจากไม้และทำรูปหล่อจากปูน ทั้งสองแห่งนี้ล้วนเป็นช่างชาวจีนแต้จิ๋วที่สืบทอดกัน มาจนกลายเป็นอาชีพประจำตระกูลไป หลักเกณฑ์ในการสลักนั้นหากเป็นไม้ก็มักใช้ไม้หอม ความสูงใหญ่ ความกว้างของรูปเคารพจะต้องให้ตกตัวอักษรที่เป็นสิริมงคลของไม้บรรทัด ที่เรียกว่า ลู่ปันฉื่อ หรือปาจื้อฉื่อ (ลูปังเฉี้ยะ หรือโป้ยยี่เฉี้ยะ) ไม้บรรทัดชนิดนี้จะยาวกว่าไม้บรรทัดธรรมดาถึง 3 เท่าในความยาวนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 16 ช่อง แต่ละช่องจะมีตัวอักษรภาษาจีนกำกับอยู่ เมื่อช่างต้องการจะสลักรูปเคารพหรือม้การก่อสร้างศาสนาสถาน รวมทั้งของใช้ในวัดจีน หรือศาลเจ้านั้น ช่างผู้สลักจะต้องคำนึงถึงตัวอักษรที่ปรากฏในช่องต่าง ๆ นั้นเป็นสำคัญ โดยจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้ตัวอักษรที่เป็นอัปมงคล<small><small> </small></small>ก่อน สลักรูปเทพองค์ใดผู้สลักจะต้องเลือกวัน และวันเริ่มลงมือนั้นก็จะต้องจุดธูปบอกกล่าว เทพองค์นั้นๆ เมื่อสลักรูปเคารพเสร็จแล้วมักนิยมเอาของมงคล 7 ชนิด คือทอง เงิน ทองแดง เหล็ก หยก ไข่มุก หมาเหน่า (เครื่องประดับอย่างหนึ่งของจีน) และผึ้งเป็นๆ ใส่ไว้ในช่องด้านหลังรูปเคารพที่ช่างเจาะไว้ เพื่อให้เกิดความขลัง จากนั้นก็ปิดรอยเจาะ แล้วใช้ผ้าสีแดงคลุมรูปเคารพไว้รอวันมงคล เพื่อเบิกพระเนตร<small><small> </small></small>เมื่อ ได้เวลาที่เป็นมงคล จึงใช้กระจกรับแสงจากพระอาทิตย์ที่ส่องเข้ามาให้กระทบพระเนตรของเทพองค์นั้น เป็นอันเสร็จพิธี ของการเบิกพระเนตรรูปเคารพ จากนั้นก็จะนำไปประดิษฐานบนแท่นบูชาได้<small><small> </small></small>

    ศาลเจ้าปุนเถ่ากงมากที่สุดในกรุงเทพฯ<small><small>

    </small></small> ชาว จีนทุกกลุ่มทุกภาษาแม้ว่าจะนับถือเทพทางศาสนาพุทธมหายาน ศาสนาเต๋า ขงจื๊อเหมือนกัน ส่วนการนับถือเทพประจำท้องถิ่นนั้นแตกต่างกันมากมายยิ่งนัก จนผู้เขียนไม่สามารถจะรวบรวมมากล่าวไว้ในที่นี้ได้ แต่เทพประจำท้องถิ่นอีกองค์หนึ่งที่ชาวจีนทุกกลุ่มทุกภาษานับถือร่วมกันใน สิ่งแวดล้อมใหม่ก็คือ เทพปุนเถ่ากง ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบความเชื่อและชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างมาก พวกเขาเชื่อวาความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ความสำเร็จในธุรกิจการงาน ล้วนเป็นเพราะความคุ้มครองของเทพประจำถิ่นองค์นี้<small><small>
    </small></small>ดัง นั้น เราจึงได้พบว่าการสร้างศาลเจ้าปุนเถ่ากงในเขตที่อยู่อาศัยของชาวจีนมีอยู่ ตลอดเวลา แม้กระทั่งในทุกวันนี้และก็เป็นเหตุให้จำนวนของศาลเจ้าปุนเถ่ากง มีมากที่สุดในกรุงเทพฯ<small><small> </small></small>
    <small><small>
    </small></small> เทพ เจ้าปุนเถ่ากงเป็นศูนย์รวมแห่งความเชื่อของชาวจีนทุกกลุ่มทุกภาษา แม้ฐานะของเทพองค์นี้จะเป็นเพียงแค่ผู้ปกครองตำบลหรืออำเภอ แต่ความสำคัญของเทพองค์นี้ที่มีต่อจิตใจของชาวจีนนั้นมากเกินกว่าที่เราจะ วัดได้ ดังนั้น จำนวนของศาลเจ้าปุนเถ่ากงในกรุงเทพฯจึงมีเพิ่มขึ้นตามลำดับ ตราบเท่าทุกวันนี้


    [​IMG]




    </td></tr></tr></tbody></table>




    Ρ
     
  13. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,658
    อยากให้คุณสี่จุด บอกรายละเอียดว่าแปะกงท่านนี้ อยู่ที่ไหนตอนเด็กก็ชอบไปดู มีเรื่องสนุกๆมากๆเลย<!-- google_ad_section_end -->

    ศาลเจ้าแป๊ะกงนี้อยู่ที่ถนนเย็นจิต เข้าซอยสมาคมเอื้อสัมพันธ์ ใกล้สมาคมแต้จิ๋ว ถ้าอยู่หน้า
    สมาคมแต้จิ๋ว หันหน้าไปทางถนนเย็นจิต ขับรถตรงไปประมาณซอยที่ 3 ทางซ้ายมือ ถ้า
    เห็นป้ายสีแดงสมาคมเอื้อสัมพันธ์ ก็เข้าไปจนสุดซอยแล้วเลี้ยวซ้าย เข้าจนสุดซอย อยู่ขวา
    มือ เป็นศาลเจ้าจ้ะ

    ขอบคุณคุณ Ong ที่ช่วยโพสบทความให้ความรู้เพิ่มเติม ชีวิตเราก็เกี่ยวข้องกับปุงเถ่ากง
    ไม่น้อย นับแต่เริ่มจะเข้าเรียน พ่อแม่อยากให้เรียน รร. เผยอิง แล้ว รร. นี้สมัยก่อนต้องจับ
    สลาก ประมาณว่า รับ 120 คน มีเด็กมาสมัคร 600 คน แบบนี้ ต้องจับสลาก ตอนนั้น เรา
    ยังเด็กก็จะเข้าเรียน ป.1 อ่ะนะ จำได้ว่า แม่จูงมือไป รร. แล้วแม่พาเข้าไปที่ศาลเจ้าปุ่งเถ่า
    กง เราก็ถามแม่ว่า ทำไมต้องไหว้ แม่ว่า ให้ขออากงจับสลากได้ไง จะได้เรียน เราก็นะ เป็น
    เด็กที่รักดีมาก ไม่ชอบเรียนหนังสือ เราก็ว่า ไม่ต้องไหว้หรอกน่า เด๋วก็จับได้เอง ก็โดนแม่
    หยิก (เจ๊บ...เจ็บ....)แม่ให้พูดตาม ขอให้จับสลากได้ ไหว้เสร็จก็เข้าไปในโรงเรียน เขาจัด
    เป็นการงานใหญ่โต ก็เด็กอยากเรียนเยอะนะ เป็นแหล่งคนจีนสำเพ็ง ลูกๆพวกเขา ต้องการ
    เรียนที่นี่ทั้งนั้นแหละ ก็จับ ได้ยินคุณครูผู้ประกาศโทรโข่งว่า เหลือ 1 ที่ มีเด็กเหลือ 11 คน
    อิอิ ...นึกในใจว่า ตรูไม่มีทางได้หรอก แล้วขึ้นไปจับ ปรากฏว่า ได้ (ว่ะ) งงจริงๆอ่ะ ได้เป็น
    คนสุดท้ายอ่ะ อากงรักเราจริงๆ เพราะคนไหว้เยอะ สงสัยจะรู้ว่า เราไม่อยากเรียนหนังสือ
    คงกลัวว่า โตขึ้นเราต้องไปขัดรองเท้า เลยให้มันจับได้ซะเรยยยย
     
  14. สี่จุด

    สี่จุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    705
    ค่าพลัง:
    +3,658
    ส่วนแถวบ้านเราก็มี เหล่าปุงเถ่ากง อีกที่หนึ่ง คิดว่า หลายท่านจะรู้จักดี เพราะหนึ่งปีจะปิด
    ถนนเพื่อไหว้ประจำปี เล่นงิ้ว ฉายหนัง สองครั้ง คือ ช่วงใกล้คริสมาสต์และหลังตรุษจีน
    แถวถนนเซนต์หลุยส์ 3 ไง ศาลเจ้านี้ ใครไม่เชื่อ ไม่ได้เลย เพราะปีไหนไม่เล่นงิ้ว ปีนั้นไฟ
    ไหม้แน่นอน หลายปีที่แล้ว กรรมการศาลเจ้ามีมติให้ซื้อที่ดินแล้วสร้างศาลใหม่ แล้วต้องทำ
    อะไรบ้างไรเงี้ย (เราไม่รู้เรื่องลึกๆหรอก) เมื่อปีที่แล้วเสร็จ ก็กรรมการแตกแยกเป็นหลาย
    เสียงว่า มีเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ก็เลยลาออกมั่ง แล้วแถวบ้านเรามีคนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นกรรม
    การเกือบทุกปี ไปช่วยงาน และเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยในการสร้างศาลใหม่ ก็เลยออก แล้วไม่
    ช่วย แล้วจะเล่าให้คนนั้นคนนี้ฟัง และแล้ว แถวบ้านเราน่ะ ไม่เคยไฟไหม้เลย วันนั้นน่าจะ
    ประมาณ 4-5 โมงเย็น ไฟไหม้ แล้วอยู่แถวบ้านคนที่เคยเป็นกรรมการแล้วลาออกนั่นแหละ
    แต่ไฟลุกจากซอยที่มีแค่กำแพงกั้น แรงมาก เรายังไปช่วยคนแถวนั้นให้ดูแลคนแก่ เด็กๆให้
    ออกจากบ้านก่อน เป็นเรื่องที่ประหลาดมากๆเลย ถ้าปีไหนไหว้เจ้าแล้ว ไม่มีเรื่องจะไม่มีไฟ
    ไหม้ ปีไหนมีมติว่า ไม่ต้องมีงิ้ว ปีนั้นไฟไหม้ ศาลนี้ตอนนี้ย้ายมาที่ใหม่ อยู่ตรงข้ามซอยที่
    เข้าไปสมาคมแต้จิ๋วนั่นแหละ (คนละแห่งกับศาลเจ้าแป๊ะกงที่เราเล่านะ) แค่เล่าให้ฟังเพิ่มน่ะ
     
  15. หลวงจีน

    หลวงจีน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    861
    ค่าพลัง:
    +1,326
    ขอบคุณ คุณสี่จุดมากๆ ที่บอกรายละเอียดของศาลแปะกง มีเวลาจะได้ไปกราบสักการะบูชา และยังรอเริ่องสนุกๆอยู่ ชอบนะเพราะแล้วคิดถึงตอนเด็กๆที่แม่พาไปไหว้
    สาลเจ้าบ่อยๆ
     
  16. ฮกหลงขงเบ้ง

    ฮกหลงขงเบ้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,143
    แป๊ะกงเป็นเทพที่พึ่งของปวงชนเสมอ จนคนจีนกล่าวไว้ว่า "ยุ่งเมื่อไหร่ แปะกงท่านช่วยได้สมอ"
     
  17. ฮกหลงขงเบ้ง

    ฮกหลงขงเบ้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,143
    แป๊ะกงเป็นเทพที่พึ่งของปวงชนเสมอ จนคนจีนกล่าวไว้ว่า "ยุ่งเมื่อไหร่ แปะกงท่านช่วยได้เสมอ"
     
  18. sorakran2007

    sorakran2007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +945
    อ่านแล้วมันแปลกๆ

    อยากอ่านแบบไทยแท้นะ

    ==
     
  19. m@c

    m@c เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ไม่แปลกค่ะ .... ชาวจีนโพ้นทะเทมาตั้งรกรากที่เมืองไทยนานมากแล้ว
    ล่องเรือสำเภามาค้าขาย ย้อนขึ้นไปตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
    มาสอนชาวไทยพื้นบ้านทำถ้วยชาม "เตาทุเรียง"

    เมื่อชาวจีนมา เขาก็พาเทพฯ มาด้วย เหมือนคนไทยไปอยู่ต่างประเทศ
    ก็พาพระตามตัวไปด้วยนั่นแหละค่ะ

    จริง ๆ แล้วคนไทย คือชนชาติที่มีเผ่าพันธุ์สืบต่อกันมา ในล่มน้ำเจ้าพระยา
    เมื่อมองลึกไปในประวัติศาสตร์ ประเทศเรามีชายทะเล ชาวจีน ชาวแขก ชาวฝรั่ง (โปรตุเกต ฝรั่งเศส ) คือพวกแรก ๆ ที่เดินทางมาค้าขาย และเริ่มตั้งรกรากในภูมิภาคนี้ การผสมผสานทางวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้น ระหว่างชนพื้นเมืองเดิม กับชาวต่างชาติที่มาค้าข้าย และแสวงหาเมืองขึ้น (ส่วนมาพวกตะวันตก)

    แม้กระทั่งทุกวันนี้ เรายังดูหนังเกาหลี ฝรั่ง จีน กันอยู่เลย ฉะนั้นเรื่องเล่าไทย
    เรื่องเล่าจีน เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะเลือกสนใจไผ่หา
     
  20. สุขนิยม

    สุขนิยม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +24
    คุณสี่จุดเล่าเรื่องแป๊ะกงไว้สนุกมาก ทำให้ผมต้องตามหากระทู้เก่าๆของคุณสี่จุดมาอ่านอีก chearr
     

แชร์หน้านี้

Loading...