ชี้แนะหน่อยค้าบบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย atnarak, 10 ธันวาคม 2009.

  1. atnarak

    atnarak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2005
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +318
    ผมเองเป็นเด็กฝึกหัดกำลังฝึกนั่งสมาธิครับ เริ่มนั่งมาได้1สัปดาห์เอง

    ก็ภาวนาพุทโธ ครับ ตั้งใจไว้ว่าจะให้นิ่ง

    ปกติผมเองจะตั้งนาฬิกาไว้ 45นาที แต่อย่างมาก20กว่านาที
    มันก็อยากหยุดเอง เหมือนกับ นั่งแค่นี้แหละ พอแล้ว
    ที่ผมเลิก ทำถูกไหม หรือเป็นกิเลสของตัวผมเองอะครับ

    แล้วๆสงสัยว่า จะนั่งเมื่อไรถึงจะรู้ว่าวันนี้พอแค่นี้หรอครับ
    ว่าแต่ ถ้าวันนึงมีเวลาจำกัด การตั้งนาฬิกาถือว่าผิดไหมครับ
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ต้องถามตัวเองก่อนนะครับ ว่าเป้าหมายของการทำสมาทิคืออะไรในตอนนั้นๆ
    สมาทิเป็นฐานเป็นกำลัง
    1เพื่อการงานทางโลก
    2เพื่อการงานทางธรรม
    หากเพื่อการงานทางโลก เพื่อให้เกิดความสงบ เกิดสุขเพื่อสนองตันหา ในราคะ
    ก้จะได้รุ้เป้าหมายว่าเรากระทำนี้เพื่อความพอใจตน ดังนั้นให้สังเกตุใจตนในความสุขและสบายและนิ่ง หากทุขแล้วไม่สบายก้อย่าฝืน ให้กระทำตามสดวก การทรงอารมฌาณทั้งที่เป็นอัปปานาและ ขนิกะ โดยอาศัยการเพ่งมีประโยชน์ต่อจิตที่ช่วยข่มกิเลสชั่วคราวให้เกิดสุข และสงบ แต่ความธรรมดาในการเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมเกิดเราไม่สามารถทรงอารมเช่นนี้ได้ตลอดเวลาหรือหากหลงทรงหรือยึดอารมเช่นนี้ไว้ตลอดก้ไม่ควรแก่การงานสิ่งอื่น ดังนั้นการทำสมาทิทางนี้ไห้ทำตามความสดวก ตามอัธนาศัย
    หากกระทำเพื่อทางธรรมเพื่อการหลุดพ้น ก้ควรมีสมาทิในการพิจารนาอยู่ในปัจจุบันอยู่ในการกระทำทุกการกระทำทั้งทางการและใจ และมีสติ มมีสมาทิ ในการละลึก พิจารนาสภาวะธรรมตามจริง หรือการกระทำสมาทิเพื่อญานหรือเครื่องรู้อันเป็นตัวปัญญา ตัวี้ต้องอาศัยสติ สัมมาทิฐิ สมาทิ ปัญญา จึงเกิดเป็นญานเครื่องรู้ให้ได้แจ้งในธรรม

    เมื่อรุ้เป้าหมายของตนแล้วว่าทำเพื่อสิ่งใดหรือรู้เจตนาการกระทำที่เป็นกุศล ย่อมนำสุขมาให้เหมือนนักกายกรรมหากยังไม่ชำนาญก้อาสัยการฝึกบ่อยๆทำบ่อยๆ ทำน้อยบ้างทำมากบ้าง กำหนดบ้างไม่กำหนดบ้าง ตามความเหมาะสม

    หากอยากร่วมสนทนาด้านสมาทิและสังเกตุการปติบัติของแต่ละท่านก้ที่กระทู้
    http://palungjit.org/threads/แต่ละท่านปติบัติ-สมาธิ-กันอย่างไร.217799/
     
  3. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    วันนึง อยากนั่งเท่าไรก็เท่านั้น ไม่มีกำหนดอะไรหรอก... จะตั้งนาฬกาปลุกงั้นเหรอ จะตกใจไหมนี่
     
  4. ผู้เห็นภัย

    ผู้เห็นภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +476
    โมทนาสาธุธรรมในการนั่งสมาธิ สนใจในการปฎิบัติธรรมะ ภาวนาพุทโธเป็นพุทธานุสติ

    กัมมัถฐาน พระพุทธองค์เป็นต้นแบบของผู้ทรงความดีที่หาประมาณไม่ได้ ก็คือพุทโธอัปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณไม่ได้นั่นเองแปลได้อย่างนี้นะครับ เรานึกถึงคนดี บูชาคนดี เราจะไปไหนล่ะ ก็ลองคิดดูนะ เป็นการสั่งสมความดี ยังใหม่อยู่ ก็จะเป็นแบบนี้

    แหละครับ คือยังอยู่ในอาการฝืนอยู่

    ยังไม่เป็นไปโดยธรรมชาติ ก็เหมือนกับการเราหัดเริ่มเขียน ก ไก่ครั้งแรกก็ต้องฝืน พอทำไปนานๆจะดีขึ้น จะชินไปเองนะครับ

    เรื่องการนั่งสามธินานหรือไม่นั้น ไม่สำคัญนะ เราเอาที่ผลของการปฏิบัติเป็นสำคัญ นั่งนานจิตใจไม่สงบฟุ่งซ่าน เปรียบกับการนั่งแปปเดียวแต่จิตสงบ การนั่งแปปเดียวมีกุศลกว่านะ

    คราวนี้การที่เราสามรถจะนั่งสมาธิได้นานนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าถ้าจิตเราเป็นสมาธิจริงๆ สงบจริงๆ มันไม่อยากเลิก จิตมันมีความสุข สงบ ระงับ จากอกุศลกรรม อกุศลกรรมไม่กวนใจ หรือที่เรียกกันว่านิวรณ์ธรรมห้าประการนั่นเอง

    อกุศลธรรมที่ทำลายล้างความดี ความดีในที่นี้หมายถึงการทรงสมาธิ หรือการทรงฌาณนั่นเอง ก็มีอยู่ห้าอย่างด้วยกันคือ

    1 กามฉันทะ ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สันผัส อันเป็นวิสัยของกามรมณ์

    2 พยาบาท ผูกโกรธ ความจองล้างจองผลาญ

    3 ถีนมิถะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญธรรม

    4 อุถัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ่งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ

    5 วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ในผลของการปฏิบัติไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงอย่างที่คิดไว้หรือไม่เพียงใด

    ขณะนั่งสมาธิ ถ้าใจระงับนิวรณ์ห้าประการนี้ได้เมื่อไร จิตจะทรงสมาธิทันที

    พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า ผู้ที่รักษาศีลมาร้อยปี หมายถึงศีลบริสุทธ์นะ

    ยังเทียบไม่ได้กับผู้ที่สมารถทำใจไห้ทรงสาธิ หรือไห้ใจสงบได้ แค่เพียงช้างกระดิกหู ยังเทียบไม่ได้เลย

    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะศีลระงับได้แค่กาย วาจา ระงับได้แค่เพียงอาการภายนอก

    ยังหยาบอยู่มาก ระงับกิเลสแค่กิเลสหยาบได้แค่นั้นเอง กิเลสยังกินใจเป็นปกติ



    แต่สมาธิ ระงับความชั่ว ระงับกิเลสไม่ไห้กินใจได้ ถึงจะเล็กน้อย แค่เพียง

    ในขณะที่เรานั่งสมาธิ ก็ยังดี ยังมีกุศลอยู่มาก คือสามารถระงับใจออกจากความชั่ว อกุศลกรรมได้ชั่วคราวก็ตาม (สมาธิระงับกิเลสอย่างกลางแล้วก็ว่าได้ การพิจรณาหรือวิปัสสนาญาณจะเป็นกำลังที่จะถอนรากเหง้าของอกุศลกรรม ศีล สมาธิ ปัญญา ทำควบคู่กันไปนะ)

    ทำไปเถอะครับ ทำดีแล้ว ตั้งใจปฏิบัตินะครับ ทำอย่างต่อเนื่อง อย่างไม่ขาดสาย

    ความก้าวหน้าจะมีอย่างแน่นอน เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2009
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    จริงๆแล้วเราไม่จำเป็นต้องตั้งเวลาหลอกนะครับ.....ถ้าการตั้งเวลาทำให้เราฟุ้งซ่าน.....

    การปฏิบัติให้เอากำลังใจเป็นสำคัญ.....ความสุขความสงบเกิดขึ้น...เพื่อเป็นกำลังในการทำงานต่างๆก็ดีแล้วครับ......เราเอาคุณภาพไม่ได้เอาปริมาณ.....

    ถามตัวเองว่าการตั้งเวลาทำให้ฟุ้งไม...ถ้าฟุ้งไม่ตั้ง.....

    อะไรก็ตามถ้าเกิดอารมณ์กดดันหรือหนักขึ้นในการปฏิบัติ....ตีว่าผิดทางทั้งหมด.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...