เมื่อคืนนั่งสมาธิไม่ทราบว่าทำถูกหรือเปล่ากลัวจะไปผิดทางค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kunmeeja, 27 พฤศจิกายน 2009.

  1. kunmeeja

    kunmeeja Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +61
    เมื่อคืนนั่งสมาธิแบบเพ่งกสิณไปสักพัก
    ก็มานั่งกำหนดลมหายใจ โดยใช้จิตกำหนดรู้ที่ปลายจมูก
    ว่าลมหายใจเข้า-ออก ก็ทำไปเรื่อยๆ
    จนจิตกำหนดรู้เฉพาะจุดๆเดียว ไม่รู้สึกว่ามีร่างกายหรือว่านั่งอยู่
    ตัวเบาๆสบาย
    แต่พอทำไปเรื่อยๆเหมือนตัวเราม้วนไปข้างหน้า(แต่ร่างกายจริงๆไม่ได้ม้วน)
    มันม้วนไปสักพักก็หาย แต่ก็ยังกำหนดจิตที่ลมหายใจเหมือนเดิม
    ถึงตอนนี้ลมหายใจจะชัดมาก
    และการหลับตาจะไม่มืดมันสว่างจ้าเป็นแสงขาวๆ
    เบาๆโล่งๆไม่รู้สึกอะไรสบายๆ
    แต่ทีนี้เกิดอาการกลัวยังไงไม่รู้ว่าทำถูกทางหรือเปล่า
    ก็เลยหยุดทำและกลับมานอน นอนก็นอนไม่ค่อยจะหลับมันเหมือนไม่อยากนอนมันตื่นเต้นๆยังไง
    ไม่รู้ค่ะจนถึงเช้าเลย อยากขอคำแนะนำคะว่าทำถูกหรือเปล่า
     
  2. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    มาถูกทางแล้วแต่ยังไม่ถึงฌาน

    ปิดประตูลงกลอน ให้มั่นใจว่าไม่มีเรื่องกังวลอะไร

    ก่อนทำกรรมฐาน
    ให้ประกาศตัวเป็นชาวพุทธให้ชัดเจน
    พุทธังสรณังคัจฉามิ ธรรมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณังคัจฉามิ
    ทุติยัมปิ... ตะติยัมปิ...

    เสร็จแล้วก็ลองตรองดู ว่าคนที่นั่งกรรมฐานอย่างที่เรากำลังจะทำนี้
    ตายไปแล้วกี่คน นั้งตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน หากเอากระดูกมากอง
    จะมีขนาดกองกระดูกเท่าไหร่
    คนเราเกิดมา แล้วก้ไปเป็นกองกระดูกอย่างนั้น

    ฌานโลกีย์หินทับหญ้า ก็ต้องตัดเป็นตัดตาย
    ตายเป็นตาย ควรจะทำได้ไม่งั้นจะบ้า
    หัดกรรมฐานไม่ตัดตาย ไม่ปรงใจเรื่องตาย
    มีสิทธิบ้ามากที่สุด เสี่ยงที่สุด
    กลัวอะไรไม่เท่ากลัวตาย
    แต่ตัดไม่ได้ไม่เป็นไร
    "ตัดไม่ได้ก็รู้อยู่"

    แล้วสนใจเฉพาะลมหายใจเท่านั้น

    หากคุณยังมาอธิบายได้ละเอียดเสียขนาดนี้
    แสดงว่า ฟุ้ง และควานหาอารมณ์สมาธิ

    เวลาทำอานาปานุสติ มีคนมาสอบอารมณ์

    ให้ตอบว่าอย่าเสือก ไม่ว่าง กำลังจดจ่อกับลมหายใจ

    อารมณ์กรรมฐานของใครก็ของคนนั้น

    ห้ามเสือกอารมณ์กรรมฐานในอานาปานุสติ
    เด็ดขาด โดยเฉพาะ ของคนอื่น

    ลมหายใจคือสมบัติที่ทุกท่านยืนยันว่า
    เป็นของ "เจ้าของลมหายใจ"

    การที่เสือกกับลมหายใจของคนอื่น
    ปาณาติบาต

    ขอประทานอภัยท่านเจ้าของกระทู้
    ที่หยาบคาย

    อารมณ์มันหยาบ เลยระงับไว้ไม่อยู่

    ภาวนาอานาปานุสติ

    สนใจแต่ลมหายใจ เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2009
  3. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    ให้กำหนดเป็นเวลาแทน

    เช่นเริ่มทำ 2 ทุ่ม 3 ทุ่มเลิก
    ทำเป็นทำเลิกเป็นเลิก

    หากมีข้อสงสัย เพราะดันหลุดออกจากลมหายใจ
    ให้จดใส่สมุดไว้ ระบุวันที่ เดือน ปี
    เขียนลายละเอียดให้ชัดเจน

    แล้วก็ปิดไป ให้ข้ามปีแล้วค่อยอ่าน

    อ่าน อารมณ์กรรมฐาน ของตัวเองก็ฟุ้งสุดกู่ได้
    ดังนั้น หากเป็นอานาปานุสติ
    อย่าเพิ่งอ่านอารมณืกรรมฐานใคร แม้แต่ของตัวเอง
    จดใส่สมุด แล้ว ข้ามปีค่อยมาอ่าน

    หัดอานาปานุสติ อารมณ์ใจ
    หากยังไม่ข้ามปี ไม่ให้ถาม

    ให้มันพ้นไปวันๆ เดี๋ยวมันได้เอง มันจะรู้เองเลยโดยไม่ต้องจำ
    ไม่ต้องใช้บันทึก
     
  4. kunmeeja

    kunmeeja Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +61
    เดี๋ยวคืนนี้จะฝึกใหม่ค่ะ ยอมรับว่ามีกังวลและฟุ้งเกินเหตุ แบบว่าอยากรู้อยากเห็นไปหมดเพราะอ่านในเว็บพลังจิตอาจจะหลายแนวมากเกินไป
    ก็เอามาคิดเองฝึกเอง บางครั้งก็กลัวจะบ้า บางครั้งก็ไม่แน่ใจว่ามันถูกหรือยังเพราะไม่เคยไปฝึกนั่งสมาธิกับอาจารย์หรือสถานธรรมที่ไหนเลยอ่านแต่หนังสือกับเว็บไซต์แล้วมาฝึกเองค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำนะคะ
     
  5. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    ไม่ได้ห้ามฟุ้งซ่านนะครับ

    พอออกจากกรรมฐานแล้ว
    ก็ดูหนังฟังเพลงได้ ฟ้อนรำ เต้นระบำได้ตามปรกติ

    ขออภัยที่มีความปราถนาอยากให้ท่านเจ้าของกระทู้
    ท่านทรงฌานในอานาปานุสติได้โดยไว
    เลยหยาบคายไปหน่อย

    ขอประทานอภัยด้วยนะครับ

    อานาปานุสติที่ถูกต้อง
    ต้อง "หายบ้า" ครับ

    หัดอานาปานุสติ ห้ามถามใคร
    ในตำราหรือ อ่านมาจากบอร์ด
    อ่านแล้วก็ทำเป็นลืมไปก่อน
    นานๆค่อยมาทวนทีนึง

    จะทวนได้ไม่จำกัดก้ต่อเมื่อคล่องแล้ว

    มีอาจารย์ไม่มากคนในโลกใบนี้ที่แก้อารมณ์อานาปานุสติได้จริง
    แปลแบบส่งเดชได้เลยว่า ไม่ต้องไปหา
    ปรกติแล้ว ลมหายใจจะของใครของมัน
    ไม่ใช้เกี่ยวดองอะไรกัน ห้ามแก้อะไรทั้งสิ้น

    ต้องแก้ด้วยตัวเอง "เท่านั้น"
     
  6. รำมะนาด

    รำมะนาด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    226
    ค่าพลัง:
    +251
    คือปรกติคนเราก็อยากรู้นั้นรู้นี้
    หากไม่อ่านดุก็จะคันยุกยิกในใจ

    แต่อ่านเพื่อให้หายอยาก เท่านั้น

    อานาปานุสติเป็นของพิเศษ เป็นของเฉพาะตัว
    เหมือนของขวัญวันปีใหม่
    บอกไม่ได้ว่าข้างในมีอะไร ต้องไปแกะเอาเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2009
  7. lisy

    lisy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +21
    เท่าที่ทราบ การนั่งสมาธิแบบ อานาปานสติ กับเพ่งกสิณ วิธิการไม่เหมือนกันนะคะ การดูลมไม่เหมือนกันคะ จขกทคงต้องพิจารณาว่าจะฝึกแบบไหนคะ
     
  8. mccimai

    mccimai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +119
    ถูกทางแล้ว ดีใจด้วยนะ ทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกลัว ตายเป็นตาย

    อะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่ต้องสนใจมัน สนใจลมหายใจอย่างเดียว

    อนุโมทนาด้วยนะครับ

    อีกนิดหนึ่งนะ เรื่องเพ่งกสิน หรือ อานาปานุสสติ อันนี้ไม่ทราบได้ แต่ว่าถ้าจิตติดอยู่ที่ลมหายใจ แล้วมีสมาธิ แค่นั้นก็พอครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2009
  9. kunmeeja

    kunmeeja Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +61
    คือตอนแรกได้หนังสือการเพ่งสกิณมาเลยลองฝึกดูน่ะค่ะ
    แต่พอลองกำหนดลมหายใจจะรู้สึกว่าง่ายกว่ามาก
    เลยจะฝึกกำหนดลมหายใจอย่างเดียวเลยค่ะ
     
  10. Waritham

    Waritham เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +124
    แนะนำให้ชนกับเวทนาหยาบอย่าง ปวดหนอ ปวดหนอ เนี่ยครับเป็นเบื้องต้นก่อนก็ได้ครับ ว่ามันเป็นยังไง ใช้สติหาตัวตนของความปวดให้เจอ รูปร่างมันเป็นยังไง
    หรือถ้าไม่งั้นคุณก็ลองฝึกตามวิธีที่คุณกล่าวมาสักพัก รู้จักปิติ สุข อะไรก็แล้วแต่ จิตละเอียดขึ้น ลมหายใจละเอียดขึ้นแล้ว ให้คุณลองวัดอารมณ์คุณด้วยการชนกับเวทนาหยาบ อย่างปวดหนอ นั้น ได้หรือไม่
    มีข้อแม้ ว่าห้ามยุ่งกับ ปิติ สุข นะครับ ( เพราะเหมือนมันจะหลอกคุณว่า ชนะแล้ว, บรรลุแล้ว อิ่มอกอิ่มใจเหลือเกิน แต่จริงๆข้ามหัวมันไป มันแอบอยู่ครับ )
    เดี๋ยวคุณจะรู้เป็นเบื้องต้นเองครับว่า อันไหนจะหลงหรือไม่หลง อันไหนทางตรง อันไหนทางอ้อม แล้วก็เลือกเอาเองครับ
    แนะนำครับ
    อนุโมทนา
     
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถ้าทำ อานา ไม่ไม่แนะนำให้เปลื่ยนกรรมฐาน.....ดีแล้วครับที่ปฏิบัติ.....

    ความเคยชินกับอานา....คือสะสมมานานแล้ว....ฝึกกสินวันแรก....ด้วยความไม่เคยชิน...ก็อาจยากเป็นธรรมดา....

    เรื่องของคุณทั้งหมด....หลายท่านตอบไว้ค่อนข้างดีแล้วนะ.....

    เอาง่ายๆแล้วกันครับ.....โดยรวมนั้นดีแล้ว.....แต่ติดตรงที่จิตสอดสายไปที่อื่น...อารมณ์อื่นหน่อย....เป็นเรื่องปกติครับ...เมื่อมันสอดสายไปไม่ว่าอาการอะไร...คุณก็จับมาอยู่ที่เดิม....ถูกต้องครับ.....ไม่ว่าข้างหน้าจะเป็นสีอะไรแสงอะไร....ไม่ต้องไปสน.....แต่ดูจากสถาวะที่บอกหน้าจะผ่านไปแล้ว......เอาเป็นว่าทำต่อไปครับ......แบบสบายๆ...ไม่ต้องไปเคร่งเครียด.....ทำไปอย่างสบายๆ....นะครับ.....ไม่ต้องจับเวลา...ถ้าการจับเวลาทำให้คุณฟุ้งซ่านเรื่องเวลา.....ไม่ต้องไปจับ.....เอาคุณภาพเป็นหลัก.....ไม่เน้นปริมาณนะ.......เดี๋ยวจะขึ้นเรื่องฌานโดย หลวงพ่อฤาษีไว้ให้....ศึกษาต่อ..และสอบอารมณ์เอาเองนะครับ......

    <O:p</O:p
    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" cellPadding=0 width="26%" border=1><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0.75pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน<O:p</O:p





    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O:p></O:p>
    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p
    <O:p
    <O:p</O:p
     
  12. kunmeeja

    kunmeeja Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +61
    ขอบพระคุณทุกท่านมากค่ะที่ให้คำแนะนำ
     
  13. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    เป็นหนึ่งในอาการ ปีติ... นอนไม่หลับเพราะตื่นเต้นกับประสบการณ์ใหม่ๆ เดี๋ยวก็ชินเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...