"การทำสมาธิตามแนวสติปัฏฐานสี่" พระธรรมคำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,017
    พระธรรมคำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์)


    วัดหินหมากแป้ง อ. ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย

    ca85b06f3ebc1bb9b835b.jpg


    การฝึกสมาธิด้วยวิธีเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมอันลึกซึ้งและมีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

    สติปัฏฐาน 4 มีอยู่พร้อมแล้วที่กายที่ใจของเราทุกๆ คน ทั้งเป็นของดีเลิศ ผู้ใดตั้งใจแลเลื่อมใสปฏิบัติตาม โดยความไม่ประมาท เต็มความสามารถของตนแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่าอย่างช้า 7 ปี อย่างเร็ว 7 วัน อย่างสูงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อย่างต่ำจะได้เป็นพระอนาคามี เป็นต้น

    พระพุทธองค์เมื่อทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่หกปี ได้ทรงนำเอาหลักวิชาที่ได้ศึกษามาทดสอบหาความจริง ก็ไม่เป็นผล มีแต่จะทำให้ฟุ้งส่ายไปมาไม่สงบ จึงทำให้พระองค์ไม่อาจตรัสรู้สัจธรรมได้ เมื่อพระองค์ทรงย้อนมาดำเนินตามแนว ฌาน-สมาธิ ที่พระองค์เคยได้เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีใครสอนให้ แล้วจิตของพระองค์ก็สามารถเข้าถึงองค์ฌาน ได้สำเร็จพระโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

    นี่แสดงว่าเรื่อง ฌาน-สมาธิมัคคปฏิบัติ เป็นเครื่องกำจัด ชำระกิเลสอารมณ์ เครื่องเศร้าหมองออกจากจิต จิตจึงบริสุทธิ์ ความรู้อันนี้จึงเป็นไปเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์แล้วก็ได้ธรรมอันบริสุทธิ์ของจริงของแท้ขึ้นมา ดังคติธรรมที่ว่า "ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ และสำเร็จได้ด้วยใจ"
    แปลเป็นแบบไทยๆ หมายความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นที่ใจ รู้เฉพาะใจของตน (ปัจจัตตัง) ฉะนั้น ใจจึงประเสริฐกว่าทุกสิ่ง เพราะใจเป็นผู้ให้สำเร็จกิจทุกกรณี

    ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงนำเอาแนวปฏิบัติที่พระองค์ได้ทรงดำเนินมาแล้วนั้น มาสอนให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม กายกับใจเป็นของอาศัยกันอยู่ เมื่อจะกระทำความดีหรือความชั่วจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การที่จะฝึกฝนชำระสะสางก็ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ต้องอาศัยศีลเป็นเครื่องชำระซักฟอก ศีลที่จะมีสมรรถภาพสามารถฟอกกายให้สะอาดได้ ก็ต้องอาศัยใจมีเจตนางดเวันในการทำความผิด ด้วยมีความรู้สึกเกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาป
    มนุษย์เราเกิดมาด้วยอำนาจบุญบาป ตกแต่งให้มาเกิด เมื่อเกิดมาแล้วปัจจัยนิสัยเดิมมันตามมาคร่า ตามอำนาจนิสัยเดิม แล้วใจของเราก็ชอบเสียด้วยเพราะว่าติดในความเคยชินในความเป็นทาสของมัน

    ฉะนั้นเมื่อจะรักษาศีล ก็มักจะอึดอัด ลังเลใจ เพราะกิเลสเป็นผู้บัญชาการอยู่ จิตเราจึงเดือดร้อนเพราะถูกกีดกันด้วยการรักษาศีล ดังนั้นศีลจึงให้โทษเป็นบาปแก่ผู้ขอสมาทานศีล จิตก็จะคอยแต่กาลเวลาให้หมดเขตของการรักษาศีล แม้ผู้บวชเป็นเณร เป็นพระก็เข้าทำนองนี้ ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจถึงการรักษาศีล หรือการปฏิบัติธรรมต่างๆ ว่าทุกอย่างนั้นสำเร็จด้วยใจ ด้วยความตั้งใจในการรักษาธรรมนั้นๆ ก่อนจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 จึงควรมีศีลเป็นที่ตั้งเสียก่อน เพื่อให้กาย วาจา เกิดความบริสุทธิ์เสียก่อน แล้วใจจะบริสุทธิ์ตามมาอีกทีหนึ่ง จะทำให้การปฏิบัติสติปัฏฐานมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น.

    %E0%B7%CA%A1%EC_%E0%B7%CA%C3%D1%A7%CA%D5250.jpg
    สติปัฏฐาน 4 เป็นโลกุตตรธรรมและเป็นที่อบรมสติได้อย่างดี ประกอบด้วย
    1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณากายนี้สักแต่ว่ากาย มิใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา
    2. เวทนานุสติปัฏฐาน ให้พิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้สักว่า เวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
    3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว เป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
    4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่า ธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
    สติปัฏฐาน 4 ถึงแม้ท่านจะจัดเข้าเป็นโลกุตตรธรรมแล้วก็ตาม ก็ยังต้องหมายเอาตัวของเราทุกๆ คนที่เป็นโลกียอยู่นี่เอง หมายความว่า การจะปฏิบัติให้ได้ สติปัฏฐาน 4 ได้ก็จำต้องเริ่มจากที่กายใจของเรา เหมือนกับต้องมีสิ่งสมมุติก่อน แล้วจึงจะพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เป็นอนัตตา

    ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานแต่ละข้อ ขอให้พึงกำหนดไว้ในใจก่อนว่า สติกับใจอยู่ด้วยกัน สติอยู่ตรงไหนใจก็อยู่ตรงนั้น ใจอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น ฐานที่ตั้ง-ที่ฝึกอบรมสติ คือสติปัฏฐาน4 ได้แก่ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม นั่นเอง

    dsc6085.jpg
    แนวปฏิบัติสติปัฏฐานภาวนา

    ผู้จะลงมือเจริญสติปัฏฐาน 4 แต่ละข้อนอกจากเป็นผู้เห็นโทษทุกข์เบื่อหน่าย คลายความยินดีเพลิดเพลินติดอยู่ในกามคุณ 5 แลทำความเลื่อมใสพอใจในการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน เพราะเชื่อตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า เป็นทางที่ให้พ้นจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริงแล้ว อย่าได้ลังเลสงสัยในสติปัฏฐานข้ออื่นอีกที่เรายังมิได้เจริญ เพราะสติปัฏฐานทั้ง 4 เมื่อเจริญข้อใดข้อหนึ่งได้แล้ว ข้ออื่นๆ ก็จะปรากฏชัดแจ้งให้หายสงสัยในข้อนั้นเอง แล้วก็อย่าไปหวังหรือปรารถนาอะไรๆ ไว้ล่วงหน้าให้มาเป็นอารมณ์ เพราะจะเป็นอุปสรรคแก่การเจริญสติปัฏฐาน

    นัยที่ 1-1 เมื่อเอาสติไปตั้งลงที่กาย แล้วให้เพ่งดูเฉพาะกายเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะกายให้เป็นธาตุ-อสุภ อันใดทั้งสิ้น แม้แต่คำว่า กาย หรือว่า ตน ก็ไม่ต้องไปคำนึง ให้ตั้งสติเพ่งอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตแน่วแน่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว อารมณ์อื่นนอกนั้นมันก็จะหายไปเอง ในขณะนั้นจิตจะไม่ส่งส่ายไปในอดีต-อนาคต แม้แต่สมมุติบัญญัติว่าอันนั้นเป็นนั่น อันนี้เป็นนี่ก็จะไม่มี กายที่จิตไปเพ่งอยู่นั้นก็จะเห็นเป็นสักแต่ว่า วัตถุธาตุอันหนึ่งเท่านั้น มิใช่เรา มิใช่เขา หรือ สัตว์ ตัวตน บุคคลอะไรทั้งนั้น นี่เรียกว่า จิตเข้า เอกัคคตารมณ์ นั่นคือเข้าถึงสติปัฏฐานภาวนาโดยแท้

    เมื่อจิตไปเพ่งวัตถุอันนั้นอยู่โดยไม่ถอน สักพักหนึ่งแล้ว วัตถุอันนั้นก็หายวับไป เมื่อสติไม่มีที่หมาย สติก็หมดหน้าที่ สติก็จะหายไปพร้อมๆ กัน แล้วจิตกับวัตถุภาพนั้นก็จะรวมเข้าเป็นจิตอันเดียว ซึ่งลักษณะคล้ายๆ กับคนนอนหลับ แต่มิใช่หลับเพราะมันยังมีความรู้เฉพาะตัวมันอยู่ต่างหาก แต่จะเรียกว่าความรู้ก็ยังไม่ถูก เพราะว่ามันนอกเหนือจากความรู้ทั่วไป นี่เรียกว่า เอกัคคตาจิต การเจริญสติปัฏฐานถึงที่สุดเพียงเท่านี้ สติปัฏฐานข้ออื่นๆ ก็เหมือนกัน

    อาการของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ถ้าหากว่า จิตไม่รวมเป็นหนึ่งแต่มีการเกิดเป็นสองหรือมากกว่า ตัวจิตจะถอนออกมา จะมีความวุ่นส่งส่ายลังเล หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นก่อนจิตจะเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เอกัคคตาจิตนั้น คืออาการของจิตทำงาน จะต้องต่อสู้หรือผจญต่างๆ เมื่อจิตได้รวมเป็นเอกัคคตาจิตแล้ว ก็จะดำเนินพักผ่อนตามพอควรแก่เวลา แล้วจิตก็ออกตรวจ-จัดระเบียบ-ชมผลงานของตน-พร้อมๆ กับเกิดความปราโมทย์ ร่าเริงบันเทิงในผลของงานนั้นๆ
    ผลของการเจริญสติปัฏฐานทุกๆ ข้อ จะมีอาการคล้ายๆ กันทั้งนี้ทั้งนั้น อาจมีผิดกันบ้าง ซึ่งเป็นเพราะบุญบารมีนิสัยไม่เหมือนกัน
    ความจริงการงานของกายกับงานของจิตก็คล้ายๆ กัน ผิดที่งานของกายทำด้วยวัตถุ ที่ยังไม่สำเร็จให้สำเร็จแล้วก็พัก ส่วนงานของจิตทำด้วยนามธรรม (ปัญญา) ที่ยังหลงไปยึดไม่รู้เท่า เข้าใจตามเป็นจริง เมื่อชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญาแล้ว ก็หมดหน้าที่แล้วก็ปล่อย วางพักเอง

    อนึ่ง ภาพนิมิตและความรู้ต่างๆ อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังเจริญอยู่นี้ โดยมิได้ตั้งใจจะใหัมันเกิด แต่หากเกิดขึ้นเอง ด้วยอำนาจของสมาธิก็ได้ ตามจังหวะกำลังการเจริญนั้นๆ มิได้หมายความว่าทุกคนที่มาเจริญแล้วจะต้องเกิดภาพนิมิตก็หาไม่ เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะบุญบารมีนิสัยวาสนาของแต่ละคน และมิใช่แต่เรื่องภาพนิมิต เรื่องอื่นๆ ก็มีอีกแยะ
    ฉะนั้นผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานควรอยู่ใกล้กับผู้ที่ฉลาดแลชำนาญในการเจริญสติปัฏฐาน เมื่อมีเรื่องแลขัดข้องจะได้ตรงไหน ท่านจะได้ขี้แนะช่องทางได้ จะทำให้การเจริญสติปัฏฐานก้าวหน้าไปได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น


    นัยที่ 1-2 เมื่อเอาสติตั้งลงที่เวทนา (โดยมากเป็นทุกขเวทนา) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะเวทนาเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดค้นว่าเวทนาเกิดตรงนั้น จากนั้น แลอยู่ ณ ที่นั้นๆ อะไรทั้งหมด แม้คำที่เรียกว่า เวทนาๆ นั้นก็อย่าได้มีในที่นั้น เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนี้ จิตก็จะปล่อยวางความยึดถือสมมุติบัญญัติเดิมเสีย แล้วจะมีความรู้สึกสักแต่ว่า เป็นอาการของความรู้สึกอันหนึ่ง ซึ่งมิใช่อยู่นอกกายแลในกายของเรา แล้วอารมณ์อื่นๆ ก็จะหายไปหมด
    เมื่อจิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่เฉพาะในลักษณะนั้นดีแล้ว บางทีทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าที่เกิดอยู่ในขณะนั้นจะหายวับไปเลย หากยังไม่หายเด็ดขาดจะปรากฏอยู่บ้าง อันนั้นก็มิใช่เวทนาเสียแล้ว มันเป็นสักแต่ว่าอาการอันหนึ่งเพียงเพื่อเป็นที่เพ่งหรือที่ตั้งของสติ เรียกว่า จิตเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเป็นลำดับแล้ว อาการอันหนึ่งซึ่งสติไปตั้งมั่นอยู่นั้นก็จะหายไป คงเหลือแต่เอกัคคตาจิต จิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสดวงเดียว เมื่ออยู่สักพักแล้วก็จะถอนออกมา ต่อจากนั้นก็เดินตามวิถีเดิม ดังที่ได้อธิบายมาในสติปัฏฐานข้อแรก


    นัยที่ 1-3 เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่จิต (จิตในที่นี้หมายเอาผู้รู้สึกนึกคิด) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะแต่จิตเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดว่าจิตเป็นบุญ จิตเป็นบาป อย่างนั้นๆ จิตดี จิตชั่ว จิตหยาบ จิตละเอียดอย่างนั้นๆ แม้แต่ชื่อแลบัญญัติของจิตอื่นนอกจากนี้ก็อย่าให้มี ณ ที่นั้น ให้ยังเหลือแต่สติที่เข้าไปเพ่งอาการอันหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะใหัวับๆ แวบๆ แต่มิได้ออกไปยึดแลไปปรุงแต่งอะไร
    เมื่อจิตกับสติรวมกัน เป็นอันหนี่งอันเดียวแล้ว สติก็ตั้งมั่นแนวแน่อยู่เฉพาะที่จิตนั้นอย่างเดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเข้าแล้ว จิตคืออารมณ์ของจิตนั้นก็จะหายไป สติก็จะหายไปตามกัน แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นเอกัคคตาจิต นอกจากนี้อาการเหมือนดังได้อธิบายมาในข้างต้นแล้วทุกประการ


    นัยที่ 1-4 เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่ธรรม (คืออารมณ์ของใจที่เกิดจากอายตนะผัสสะทั้ง 6 ) แล้วให้เพ่งดูอยู่เฉพาะธรรมนั้นเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะว่า ธรรมนั้นเป็นอย่างนั้นๆ แลเกิดดับอย่างนั้นๆ แม้แต่คำว่า ธรรมๆ ก็อย่าให้มี ณ ที่นั่นเลย ให้เพ่งดูแต่เฉพาะอาการอันหนึ่งซึ่งอายตนะภายนอกภายในกระทบกันแล้ว แสดงปฏิกริยาอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเท่านั้น หากจะมีคำถามขึ้นมาในที่นี้ว่า จิตกับธรรม ต่างกันตรงไหน ก็ขอเฉลยว่า ธรรมในที่นี้ หมายเอาอารมณ์ซึ่งเกิดจากอายตนะทั้ง 6 มีตา เป็นต้น เมื่อตาเห็นรูปสวยน่าชอบใจ แล้วจิตก็เข้าไปแวะข้องเกี่ยวอยากได้รักใคร่ ชอบใจยินดี ติดยึดมั่นเกาะเหนียวแน่นอยู่ในรูปนั้น ที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ ธัมมารมณ์อย่างนี้แหล่ะที่เรียกว่า ธัมมานุสติปัฏฐาน ที่ต้องการจะฝึกอบรมสติในธรรมอันยังไม่บริสุทธิ์ ให้เกิดเป็นสภาพธรรมอันบริสุทธิ์ขึ้นมา
    เมื่อสติตั้งมั่นแน่วอยู่เฉพาะในธัมมารมณ์มั่นคงไม่เสื่อม เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตละเอียดเข้าไปจนที่ตั้งอารมณ์ของสตินั้นหายไป แล้วสติก็จะหายไปด้วยกัน เมื่อจิตอยู่ในลักษณะเช่นนั้นนานพอสมควรแก่ภาวะของตนแล้ว ก็จะถอนออกมาตามวิถี เดิมดังได้อธิบายมาแล้วในสติปัฏฐานข้อต้นๆ

    lute.jpg
    หากจะตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า การฝึกอบรมสติปัฏฐาน 4 เบื้องต้น จิตก็จะละเอียดลงไปโดยลำดับๆ จนเป็นเอกัคคตารมณ์แลเอกัคคตาจิต แต่แล้วทำไม จึงต้องถอนออกมาเดินอยู่ในวิถีเดิม (คืออารมณ์ทั้ง หก ) จะไม่เรียกว่า จิตเสื่อม หรือเฉลยว่า มนุษย์เรา เกิดมาในกามภพ ใช้วัตถุกาม (คือ อายตนะ) เป็นเครื่องอยู่ หลงแลมัวเมา คลุกกรุ่นเป็นทุกข์เดือดร้อนนานัปการกับการอยู่ด้วยกามกิเลส ด้วยเหตุที่มิได้ฝึกอบรมสติของตนให้มั่นคงจนได้รู้แลเห็นจิต เห็นตัวกิเลสแลที่เกิดของกิเลสตามเป็นจริง จนจิตแยกออกจากกิเลสได้

    ผู้มีปัญญามาเห็นโทษแลเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของกิเลสเหล่านั้นแล้ว จึงมาตั้งใจฝึกอบรมในสติปัฏฐาน 4 จนได้ผล ดังได้อธิบายมาแล้ว ถึงกระนั้นก็ดี เมื่ออายตนะ คือ ตัวของเรา มันเป็นวัตถุกามอยู่ แล้วก็อยู่ในกามภพ รับอารมณ์ที่เป็นของกามกิเลสอยู่ เช่นนี้ เมื่อจิตถอนออกมาจากเอกัคคตาจิต ซึ่งในที่นั้น ถือว่าจิตบริสุทธิ์ไม่มีอะไรแล้ว จิตก็จะมาจับเอาเครื่องมือเก่าใช้ต่อไปจนกว่าจะแตกดับ เมื่อจิตที่ได้ฝึกอบรมให้ชำนาญคล่องแคล่วไว้ดีแล้ว จิตนั้นจะประกอบด้วยปัญญาฉลาด สามารถใช้วัตถุกามมิให้เกิดกามกิเลสได้อย่างดี จิตนั้นได้ชื่อว่าไม่เสื่อม แลเหนือจากกามกิเลส

    สติปัฏฐาน 4 พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างเด็ดขาดว่า ผู้ใดมาเจริญซึ่งสติปัฏฐาน 4 ทำให้มากเจริญให้ยิ่งจนชำนาญแล้ว อย่างช้าเจ็ดปี อย่างเร็วก็เจ็ดวัน ต้องได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ถ้าไม่ถึงพระอรหันต์ก็ต้องได้พระอนาคามี การเจริญสติ มิใช่เป็นของเสียหาย มีแต่จะทำให้ผู้เจริญได้ดียิ่งๆ ขึ้น เพราะสติเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกๆ คน.



    เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.



    http://www.geocities.com/metharung/sati-4.htm
    <!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER>
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,017
    ฟังและ Download เสียงธรรมเทศนา

    สติปัฏฐานสี่

    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width="10%"></TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สติปัฏฐานสี่.wma (2.93 MB, )</TD></TR><TR><TD width="10%"></TD><TD>[​IMG]</TD><TD>สติ สมาธิ ปัญญา.wma (3.20 MB, )</TD></TR><TR><TD width="10%"></TD><TD>[​IMG]</TD><TD>ตั้งสติพิจารณากายกับใจ.wma (1.86 MB,)</TD></TR><TR><TD width="10%"></TD><TD>[​IMG]</TD><TD>การฝึกหัดจิต.wma (1.66 MB, )</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ที่คุณชัยนำมาโพส คือวิธีการในการนั่งหรืออยู่อิริยาบทที่นิ่งๆสำหรับการทำสมาธิ ตามแนวทางสติปัฏฐานสี่ครับ ข้อความสำคัญอยู่ที่ "สติ" ครับ ดั่งข้อความข้างต้นที่ว่าไว้ดังนี้

    "ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐานแต่ละข้อ ขอให้พึงกำหนดไว้ในใจก่อนว่า สติกับใจอยู่ด้วยกัน สติอยู่ตรงไหนใจก็อยู่ตรงนั้น ใจอยู่ตรงไหนสติก็อยู่ตรงนั้น ฐานที่ตั้ง-ที่ฝึกอบรมสติ คือสติปัฏฐาน4 ได้แก่ กาย-เวทนา-จิต-ธรรม นั่นเอง"

    ส่วนเวลาที่เราอยู่อิริยาบทอื่นที่ไม่ใช่การอยู่นิ่งๆ พูดให้ถูกคืออยู่ในชีวิตประจำวัน ต้องมีการ เดิน พูดคุย ขยับตัว ขับรถ ทานอาหาร ฯลฯ ก็อย่าลืม"การรู้ตัว มีสติ" น่ะครับจะได้ไม่หลงอารมณ์กับการกระทำต่างๆของเราเอง ขณะจิตใด เราไม่หลงอารมณ์ของเราเอง ขณะจิตนั้นได้ชื่อว่าเราเดินอยู่บน มรรค เรียบร้อยแล้ว
     
  4. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    ขออนุโมทนา
    ..
    กำลังจะ สั่งซื้อ เอ็มพี สาม จะได้มาอัด เสียง
    อยากได้ จัง
     
  5. ศานติ าณ

    ศานติ าณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +2,063
    กำลังสับสนในการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน4อยู่พอดีเลยช่วงนี้ โชคดีที่คุณเว็บสโนว์นำมาโพสต์ให้ความรู้ และชอบที่คุณบัวใต้น้ำบอกว่า การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ให้รู้ตัวมีสติ อืมม...ก็หมายความว่า ใจอยู่ที่ไหนสติก็ต้องอยู่ที่นั่นใช่ไหมคะ แล้วเราต้องกำหนดคำพูดด้วยไหมหรือแค่รู้สภาพเฉยๆ อันนี้หมายถึงกรณีที่เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวันอันรีบเร่งของเรานะ
     
  6. rattana

    rattana สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2005
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +7
    โมทนาสาธุครับ
     
  7. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    สติ มีความสำคัญมากครับ เพราะ สติ เป็นธรรมที่เป็นหลักสำคัญ โดยอาจจะสังเกตได้จาก

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าธรรมะที่มีอุปการะมากมีอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ "สติ และสัมปชัญญะ"

    และธรรมะที่ทำให้อายุยืนมีอยู่ 2 อย่างได้แก่ "สติ และการประมาณในการบริโภค"

    และพระพุทธเจ้าท่านยังตรัสไว้อีกว่า "ให้มีสติเป็นความเพียรในการแผดเผากิเลส"

    ส่วนที่ถามว่า ในการดำเนินชีวิตประจำวันอันแสนจะเร่งรีบนั้น

    ในมุมมองของผม ไม่ควรมีคำพูดหรือพากย์การกระทำอีิริยาบทต่างๆในใจเรา แค่ให้เกิด"อาการรู้หรือการกระทบจิตใจ"ก็ถือว่าเพียงพอต่อการปฏิบัติ แต่การพูดในใจหรือพากย์ว่าเรากำลังทำอะไรนั้น ไม่ถือว่าจำเป็นครับ เพราะตรงนั้นเป็นส่วนของ "สัญญา" แค่รู้ถึงอาการกระทบเพียงพอครับ

    ในชีวิตประจำวันนั้น อุบายที่ครูบาอาจารย์แนะนำมาและผมทดลองแล้วได้ผลดี คือการค่อยๆทำการกระืำทำต่างๆหรือการพูดอะัไรให้ช้าลงนิดหนึ่ง ( ขอย้ำว่าแค่นิดเดียวครับ ) เพราะถ้าช้าขนาดผิดสังเกต หรือ slow motion แบบหลังนี้ ถือว่าการปฏิบัติของเราจะไม่เป็นธรรมชาติครับ และการการฝืน เกร็ง นำมาซึ่งความเคร่งเครียด และกิจกรรมในชีวิตประจำวันเสียหายได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2006
  8. บุรุษด้อยปัญญา

    บุรุษด้อยปัญญา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +10
    กำลังพยายามปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฎฐาน4 ครับ....เรียนรู้จาก พระอาจารย์ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง
     
  9. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ตัวแสบขอตอบ

    พี่ๆน้องๆ หลวงพ่อบุญเลิศ ท่านเป็นศิษย์อาวุโสของหลวงปู่เทสก์ สอนว่า พ่อแม่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่เทสก์ สอนสิ่งสูงสุด
    คือว่าง คือกลางไม่ดีไม่ชั่ว
     
  10. ExSoldierZ

    ExSoldierZ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +11
    อยากถามเรื่องการ นั่งสมาธิแบบลืมตาน่ะครับ
     
  11. คนตาบอด

    คนตาบอด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2008
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +42
    อนุโมทนาครับ..

    เนื่องจากผมเอง เป็นสมาชิกใหม่ บางครั้ง อาจจะยังดู ห้องและกติกาในแต่ละห้องผิดไป..ต้องขอโทษด้วยน่ะคับ ....ผมได้โพส กระทู้ผิดห้อง เนื่องจากต้องทำงานไปด้วย แล้วก้อ เข้ามาโพสไปด้วย ก็เลยผิดพลาดขึ้นมา เพราะว่าผมเข้าไปตั้งกระทู้ใน ห้องอภิญญา XP..แทนที่จะเป็น อภิญญา กรรมฐาน..ข้อความก้อมีดังนี้ล่ะคับ..

    หวัดดีครับ...พี่ๆ ธรรม ที่ศึกษาธรรมะ จากพระพุทธองค์ ก่อนผม..ผมเองมีความสงสัยเยอะมากเลย ที่ว่าสงสัยนั้น หรือจะเรียกว่า ผมไม่รู้อะไรเลยก้อว่าได้ครับ..ผมพยายามดูตามกระทู้ต่างที่เคยตั้งขึ้นมา แต่ผมเองก้อยังหาไม่ค่อยจะพบเท่าใด ผมเลยถือโอกาสตั้งกระทู้ถามเอาเองซะเลยครับ :)

    ผมเองมีความสงสัย ในเรื่องการพิจารณา ในทางด้าน ร่างกายคับ...ผมเริ่มคำถามเลยน่ะครับ..เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา..

    .1..เรามองเราเห็นร่างกาย ตัวตนนี้ตลอดเวลา ก้อว่าได้ ตั้งแต่เด็ก จนกลายเป็นผู้ใหญ่..จนถึงวันนี้..ความเปลี่ยนแปลงในร่างกายนั้น ผมรู้และเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป..จากที่เนื้อหนังเคยผุดผ่องใสในวันเด็ก.อ่อนนุม พอผ่านมา สู่วัยผู้ใหญ่มันไม่นุ่มเหมือนเดิมแล้ว..อย่างนี้เป็นต้น..

    .2..ตโจ ..คือ หนัง มังสา..คือ เนื้อ.....ฯลฯ...
    ข้อ สองนี้ล่ะคับ เริ่มมีปัญหา..เราเอาความคิดของเราหรือเปล่าคับ พิจาณาในข้อนี้ หรือว่าเราเอาสมาธิ ในการนั่งขัดสมาธิเป็นตัวพิจารณา....ย่อให้สั้นๆ น่ะครับ...การพิจาณา ตับ ไต้ ใส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า ใส้น้อย ใส้ใหญ่.เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก......ผมมีความสงสัยในตรงนี้..สมมุติน่ะคับว่า ผมจะพิจารณา ตับ. ไต ไส้ ปอด เป็นต้นนั้น...มองให้เห็นเป็นสิ่งปฎิกูล สกปรก เน่าเหม็น ไม่น่าใคร่น่าปรารถนา. เป็นพียงแค่ที่อาศัยอยู่ของจิตเท่านั้น..ตามคำสอนของพระพุทธองค์...แต่เราจะใช้สมาธิในขั้นไหน ที่จะพิจารณา..และมีวิธีการอย่างไร...

    .3..ผมจะเล่าเรื่อง ในการทำสมาธิของผมให้ฟังในตอนเริ่มทำครับ.และขอให้พี่ธรรมทุกคนที่ได้อ่านกระทู้ที่ผมสงสัย ช่วยแนะนำด้วยน่ะครับ...
    เริ่มเลยน่ะครับ.... การนั่งสมาธิของผมแต่ละครั้งนั้น...อาการที่ปรากฎขึ้นในแต่ละช่วงนั้น จะมีอาการคล้ายเรา หลุดออกมาจากเชือก เป็นแบบนี้น่ะครับ..
    ...กึก กึก.(อันนี้เป็นความรู้สึกตอนที่เป็นคับ).เพียงแค่ประมาณ 2ครั้งน่ะครับ มันเหมือนเราหลุดออกมาจากเชือกที่ผูกอยู่..กึก กึก.ร่างกายก็ขยับด้วยน่ะครับ.คือขยับตามจังหวะที่รู้สึก 2ครั้งนั้นคับ..หลังจากนั้น ก้อแน่นึ่ง เงียบไปขณะหนึ่ง แม้เสียงก้อไม่ค่อยได้ยิน หลังจากนั้นไม่นาน ก้อได้ยินเสียงเหมือนเดิม คราวนี้ เสียงที่ได้ยิน นั้น มีความรู้สึกว่า มันดังมากเลย จนถึงกับสะดุ้ง.ใจหายวาบ..ยกตัวอย่างเช่น เสียงหมาเห่าคับ..แรกๆมันเห่า จากบ้านหลังอื่น ตอนที่ผมนั่งก้อได้ยินเสียงมันเห่าอยู่ แต่เสียงมันก็ไม่ค่อยดังเท่าไหร่..แต่พอเริ่มมีอาการที่ปรากฎขึ้นมา เหมือนเราหลุดออกมาจากสิ่งที่ดึงเราไว้ ..กึก กึก.เสียงหมาเห่านั้น เงียบไปชั่วขณะ เพียงแค่เวียบเดียวน่ะครับ หลังจากนั้นเสียงหมาเห่า นั้นกลับดังขึ้นเป็นทวีคูณ ดังมาก เหมือนมันมาเห่าข้างๆหูครับ..นี้คือสภาวะในการทำสมาธิของผม..แต่ผมก็ไม่สนใจเพราะรู้ว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง.ยังคงทำสมาธิต่อไป.คราวนี้ พอมันเริ่มสงบมากขึ้น ผมรู้เลยว่านานมาก กว่าจะเป็นอีก..แต่ว่าพอมันเป็นอีกน่ะ กึก.กึก..คราวนี้เสียงที่ได้ยินจากภายนอก เงียบได้นานกว่าเก่ามากครับ..แล้วก้อกลับมาได้ยินเสียงเหมือนเดิม..แต่ว่าเสียงข้างนอกนั้นกลับเบาลงน่ะครับ .เบาลงมากเมื่อเทียบกับช่วงแรก..แล้วผมก็ทำความสงบต่อไปอีกไม่ได้สนใจ เป็นเวลานานกว่าเก่าอีกครับ ประมาณชั่วโมงเห็นจะได้น่ะคับ (อันนี้ผมเดาน่ะคับ เพราะว่าผมดูนาฬิกาในช่วงนั้นไม่ได้)..ตอนนี้ล่ะคับ เริ่มนั่งนาน เวทนาจากการนั่งนานนั้น เกิดขึ้น แต่ว่าจิตก้อยังสงบอยู่ ไม่ค่อยซัดส่าย เท่าไหร่..ปวดที่เข่ามาก แบบเหมือนเข่าจะฉีกขาดเสียไห้ได้ในตอนนั้น..แต่รู้ไหมครับว่า.. อาการปวดเข่านั้น พยายามจะดึงจิต เข้าไป แต่จิตก็พยายามไม่ไห้ถูกดึง..เป็นอย่างนี้อยู่นานครับ ร่างกายนี้ เหงื่อแตก สั่นไหวไปหมด ตอนที่เป็นนั้น ผมทำอะไรไม่ถูกเลย มันเหมือนกับว่าผมเป็นคนนั่งดู เวทนากับจิต กำลังดึงกันไป ดึงกันมาประมาณนั้นล่ะคับ.แถมในขณะนั้น แวบหนึ่งยังจะเป็นกรรมการอีกน่ะคับ ระหว่าง จิต กับ เวทนา . ผมนึกแล้วก็หัวเราะในขณะนั้นคับ
    คือเป็นเพียงความรู้สึกครับ..แต่ไม่ได้หัวเราะออกมาข้างนอก..ผมก็ได้แต่นั่งดูไปเรื่อยครับ ในใจก็เชียร์จิต ให้หลุดออกจากเวทนาตลอด..และแล้วไม่นานครับ จิตหลุดออกมาจากอาการเจ็บปวดที่หัวเข่าคับ.แต่ว่ายังมีเจ็บที่เท้าตรงตำแหน่งที่ทับกันคับ..เป็นอาการที่เจ็บมากที่สุดเลย เหมือนมีหินมาทับ แทบจะลืมตาขึ้นมาดู เพราะมันเจ็บมากๆ.. แต่ผมก็กัดฟันทน ทน.. ทีนี้ล่ะคับ...กึก กึก..เพียงแค่สองครั้ง เท่านั้นละคับ สภาวะในตอนนั้น มันเหมือนจะหงายหลังอย่างแรง..แล้วก็ กลับขึ้นมานั่งอย่างเดิม.ตอนนี้ล่ะครับเสียงไม่มีเลย ลมหายใจไม่มี
    แม้ความรู้สึกนึกคิด ก็แทบจะไม่มี.ทุกอย่างเงียบ เหมือนโลกนี้หลับสนิท...
    ความรู้สึกในตอนนั้น เหมือนผมยืนอยู่บนตอไม้ เล็กๆในกลางแม่น้ำ พยายามคว้าสิ่งต่างๆ เพื่อไม่ให้ตัวเองตกน้ำ.. ไม่มีความรู้สึกเลยว่า มีร่างกาย...ลมหายใจก็ไม่มี..พยายามจะคว้าสิ่งต่างๆ แต่ในตอนนี้ มือก็ไม่มี เท้าก็ไม่มี แม้แต่จะลืมตาก็ไม่ได้. สรุปแล้วทุกอย่างไม่มีอะไรเลย..พอหลังจากนั้น ผมก็อยู่เฉยๆ ไม่นานสมาธิก็เสื่อมลง เริ่มรู้สึกว่ามีลมหายใจ มีมือ มีเท้า....จนสามารถลืมตาขึ้นได้..เราผมก็มองดูนาฬิกา เชื่อไหมครับ ผมนั่งสมาธิไปนานเท่าไหร่.ในความรู้สึกนั้น อย่างมากก็ไม่เกิน 2 ชั่วโมง. แต่ความเป็นจริงแล้ว ผมเริ่มนั่ง ประมาณ 4 ทุ่มกว่า..แต่พอออกมาจากสมาธินั้น ปาไป ตีสองกว่า.....ผมงงเลยคับ..ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ ทั้งๆที่ตอนนั่งสมาธินั้นเวลาส่วนมากผมจะยังคงกำหนดจิตตามคำบริกรรมอยู่ จนกระทั่งจิตสงบ จนไม่ได้ยินเสียง ไม่มีกาย ไม่มีมือ ไม่มีเท้า แม้ลืมตาก็ลืมไม่ได้..ยังมีอีกเยอะคับ.อันนี้เป็นการทำสมาธิในช่วงแรกคับ..

    เรามาเข้าเรื่องกันเลยครับ...ที่ว่าการพิจารณากายนั้น . เอาสมาธิช่วงที่ ไม่มีความรู้สึกของทางกาย อยู่เลย...เป็นสมาธิที่ใช้ในการพิจารณากายหรือเปล่าคับ.. เพราะว่าหลังจากนั้นแล้วผมก็ทำสมาธิไปเรื่อยๆ เกือบทุกวัน..มันก็เป็นเหมือนเดิม แต่ว่าเผอิญช่วงหนึ่งมันมีความคิดว่า เราท่องหนังสือ แต่ว่าเราจำไม่ได้.พอนึกเท่านั้นล่ะคับ...ตัวหนังสือวิ่งออกมา จากทางขวา ผ่านมาทางซ้าย อยู่ตรงกลางหน้าผากเลย..ชัดเจน แจ่มแจ้ง ไม่มีหลงลืมเลย..คล้ายๆเรากำลังดูสไลด์ ประมาณนั้นล่ะคับ...

    ช่วยแนะนำหน่อยน่ะคับว่า การพิจารณากายนั้น ใช้สมาธิช่วงไหนดี.......

    ทุกครั้งเลย..ที่ผมรู้ว่าผมผิด จิตนี้จะเศร้าหมองทุกคราวไป...สัญญา..ความจำได้เป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนความผิดของผม ตลอดเวลา.. มีแค่ทำจิตให้วางเฉยเท่านั้นที่ช่วยผมได้..ให้ค่อยๆ จางหายจากความเศร้าหมอง..

    ถ้าวันใดที่ผมรู้แล้ว ผมจะไม่ทำผิดเลย โดยเด็ดขาด.
    เพราะว่า คราใดที่ผมทำผิด.. ไฟนรก ที่ร้อนระอุจะเผาผลาญจิตดวงนี้ตลอดเวลา
    สัญญา..ความจำได้จะคอยกระซิบ เตือนตลอดเวลาว่า...เจ้าทำผิดน่ะ..แล้วสังขารจะชักจูง ให้ต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ ..

    สิ่งใดหนอ ..ที่จะช่วยไม่ให้ผมทำผิดอีกต่อไป..ในชาตินี้หรือชาติไหนๆ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2008
  12. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    คำถามทั้ง 3 ข้อ ของคุณ ผมขอแนะนำให้คุณลองอ่านคำสอนของหลวงปู่เทสก์ ในเรื่องต่อไปนี้อย่างละเอียดดูนะครับ ในคำถามข้อที่ 3 ของคุณจะมีคำตอบอยู่ตรงเรื่องของภวังคจิตในเนื้อหานี้นะครับ ผมไม่อยากใช้ภาษาของผมสรุปเอง เพราะว่าอาจจะทำให้เนื้อหาขาดอรรถรสไปได้ ลองค่อยๆอ่านนะครับอาจจะยาวสักหน่อย แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วก็อ่านหลายๆเที่ยว ค่อยๆเปรียบเทียบกับสภาวะที่คุณเป็นว่าตรงกับเนื้อหาส่วนใดบ้างนะครับ


    ส่องทางสมถะวิปัสสนา
    แสดงธรรมโดย พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี)
    วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
    http://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/tesk0002.html
     
  13. thananyi

    thananyi Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +45
    ผมศรัทธาคำสอนของหลวงปู่ หลวงปู่ท่านบอกว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของท่านแล้ว
    ผมขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  14. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    โมทนาสาธุด้วยคะ ดิฉันก็ปฏิบัติตามแนวสติปัฎฐาน4 เหมือนกันและได้เข้าอธิษฐานจิตแล้วคะ จากพระอาจารย์อินจัน และพระอาจาร์ยอำนวยศิลป์ วัดร่ำเปิง ตโปทาราม เชียงใหม่ กำลังอยู่ในระยะทวนญาณ และจะเข้าอธิฐานอึกครั้งยังหาโอกาสไปยังไม่ได้เลยคะ เพราะจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 วัน คุณมีโอกาสดีมาก ๆ เลยที่ได้เรียนรู้จากพระอาจาร์ยทอง เพราะท่านมีภูมิรู้ภูมิธรรมสูงมาก ทางวัดร่ำเปิงเรียนท่านว่าพระอาจาร์ยใหญ่คะ เพราะลูกศิษย์ของท่านเป็นท่านเจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง
     
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ผมขอตรงจิตเศร้าหมองแล้วกันนะครับ...อย่าจดจำอดีตครับ...จิตหรือความคิดคนมักจะใฝ่ต่ำหรือไหลลงไป(จำของท่านมานะครับของหลวงพ่อลีหรือเปล่าส่วนมากผมไม่ยึดติดบุคลหรือรูปเลยไม่ค่อยจำหากจำผิดขออภัยนะครับ)ออกแรงดึงขึ้นมานิดหนึ่ง(ของท่านทัพหลวงนะครับ)...ชีวิตหรือจิตหรือสมาธิคืออารมณ์ปัจจุบันหรือเปล่าครับเมื่อกี้เราหยิกตัวเองเจ็บครับแล้วตอนนี้หายไปแล้วหากจะเอายาไปทาก็ไม่เกิดอะไรขึ้นมาเพียงแต่ปัจุบันนี้ตั้งใจทำดีที่สุดด้วยสติที่เราพยายามครองอยู่เพราะ...เหตุเก่ากิเลสเก่าที่เกิดขึ้นมาแล้วดับไปแล้วเหตุใหม่กิเลสใหม่กำลังจะมาของเก่ายังไม่ดับเลยครับตัวใหม่ก็จะมาอีกแล้วหากมัวแต่ไปจำอดีต...อารมณ์ปัจจุบันที่ว่านี่ไม่สดใสแน่นอน...ละให้จริง...ทิ้งให้หมด...กำหนดให้รู้...ปัจจุบันจะไม่ทำสิ่งที่เศร้าหมองเพราะเราครองสติอยู่ไม่มีขาดไม่มีทะลุเพราะทุกขระจิตเราทำสมาธิอยู่ด้วยหลักธรรมดีไหมครับ...ยิ่งคนที่เจริญสติอยู่เห็นจริงบนจริง...รู้บนตัวรู้...เกิดดับ..ๆ..ๆ..แล้วก็เกิดดับ...หากมันเป็นตัวเก่ามันยังไม่ทันจะงอกเราก็รู้แล้วครับว่ามันจะดับลงอย่างไร...อย่าสะสมจะเกิดทุกข์นะครับเดินตัวเปล่าสบายกว่า...ขอให้เจริญในธรรมยิ่งขึ้นไปนะครับ
     
  16. kurochang

    kurochang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +111
    สติปัฏฐาน 4

    มี กาย เวทนา จิต ธรรม

    การที่ผมดูจิตค่อยรู้สึกตัวว่าคิดอะไร(ตามรู้ให้ทันความคิดอ่ะคับ)
    หรือค่อยรู้สึกตัวว่าทำอะไรแบบนี้
    มันไม่เกี่ยวกับ เวทนากับธรรม ใช่ไหมคับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...