บารมีสำคัญอันเป็นรากฐานแห่งการเป็นพระโพธิสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย วรกันต์, 23 กรกฎาคม 2008.

  1. emperron

    emperron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +432
    การที่คุณชี้เนะถือว่ามีประโยชน์มากแต่คุณน่าจะรู้นะว่าพุทธภูมิทุกคนที่ปารถนาจะมีความรู้ที่สังสมมาหลายภพหลายชาติพร้อมด้วยการบำเพ็ญอันยิ่งของแต่ละองดังนั้นที่คุณเขียนบางอย่านะขอรับกรุณาระวังบ้าง เพราะบางคนเพิ่งปารถนากำลังใจยังไม่แข็งโดนกระทบเข้าจะทำให้เค้าหมดกำลังใจเปล่าๆๆๆนะคับ แต่ไม่เป็นอุปสรรคของผู้ที่เต็มกำลังอยู่แล้วงับผมขอเถะคับเขียนอะไรระวังบ้าง เพราะยังมีคนใหม่ๆๆที่เข้ามาอ่านอีกเยาะอย่าทำให้คนเหล่านั้นดูถูกท่านเลยงับ โดยการที่ท่านมา...........กันในเวปบอด
     
  2. puttapoom

    puttapoom สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +18
    ผมคิดว่าอย่างนี้ครับ
    เรื่องกตัญญู เรื่องบารมี 10 หรือบารมี 30 ทัศ ทั้งหลายนี้นะครับ ถูกต้องหมดครับ และก็อีก หลาย ๆ อย่างที่ยังไม่ได้กล่าวถึงกัน ผมมาคิดว่า "พุทธภูมิ หรือผู้ที่ปรารถนาพระโพธิญาณ" แต่ละท่าน ๆ นั้น มีธรรม และกรรม ไม่เหมือนกัน ดังนั้น การบำเพ็ญบารมีหรือสร้างกำลังใจในแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันไป ตามกมลสันดานของท่านนั้น ๆ โอกาสที่จะทำอะไร ๆ เหมือนกันไปทั้งหมดนั้น คงหายากนะครับ นอกจากบางโอกาสที่มาพ้องต้องกันก็มีโอกาสทำเหมือนกันเป็นบางที ๆ ไป ผมสังเกตว่าหลักสูตรการเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่ได้ระบุรายวิชาที่จะต้องเรียนต้องทำกันไปตามลำดับหมายเลข เพียงแต่เราแบ่งพฤติกรรมที่สังเกตุได้เป็น 3 ระดับ คือ บารมีต้น-กลาง-และปรมัต และยังแบ่งแนวการเรียนออกเป็น 3 แนวทางอีกด้วย คือ ปัญญา-ศรัทธา-และวิริยาธิกะ ดังนั้น...ใครจะเดินแนวไหน ใตรจะเก็บวิชาไหน (บารมี 10) ก่อน-หลัง มากบ้างน้อยบ้าง ถนัดอย่างไหนก็อาจจะตลุยไปเยอะหน่อย เช่น ทานบารมี อาจจะลุยไป ถึงระดับ 2 แต่ที่เหลือยังอยู่ระดับ 1 ยังไง ๆ ก็ต้องตามเก็บไปจนครบแล้วบางวิชาก็ทะลุไปถึงระดับ 2 เมื่อระดับ 1 สมบูรณ์หมดแล้ว ในบางวิชาก็อาจจะเรียนไปถึงระดับ 3 ก็มี ในที่สุดก็จะไล่กันไปจนครบระดับ 2 และสมบูรณ์ในระดับ 3 ในระหว่างนั้น ธรรมะทั้งหลายอันอุดมแล้วก็จะต้องทำไปพร้อม ๆ กันจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ตามหลักสูตร 4 , 8 หรือ 16 อสงไขย บวกกับ อีกหนึ่งแสนกัลป์
    ท่านใด...จะทำอะไร ๆ ที่ดี ๆ ก็ทำกันไปเถอะครับ จะใช้ปัญญานำหน้า หรือศรัทธานำหน้า หรือจะตั้งความเพียรเป็นตัวนำก็ว่ากันไปตามนิสัยแห่งตน ...ดีทั้งนั้น ยังไง ๆ ก็เจอกันที่นิพพานส่วนจะนานแค่ไหนก็แล้วแต่จะทำกันละครับ 555
     
  3. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    อนุโมทนาก่อน
    เชื่อว่าการที่กัลญาณมิตรกล่าววาจาใดๆนั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ก่อประโยชน์
    เราพึงตั้งใจให้เป็นกลางแล้วค่อยพิจารณา
    เหตุและปัจจัยที่ทำให้กัลญาณมิตรกล่าวเช่นนั้น

    ดีมากครับเห็นด้วย เราเองก็ได้หันกลับไปมองว่าเราเป็นบุตรที่ดีหรือยัง
    ทำหน้าที่ตอบแทนคุณให้ผู้สร้างกายเนื้อนี้ของเราให้ดีหรือยัง
    ขอบคุณมากครับ
    มันจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยว เป็นบารมีหรือไม่เป็นบารมีของพุทธภูมิ ผมว่า ไม่ใช่ประเด็น
    ธรรมนี้เป็นสิ่งดี เป็นสิ่งที่มนุษย์และสิ่งที่สูงกว่าพึงกระทำ
    (ภูมิตำกว่านั้นไม่ว่ากัน)
    เราเองไม่ว่าใครก็ควรตั้งมั่นในความกตัญญู ต่อสัตว์ สิ่ง และบุคคลที่มีพระคุณต่อเรา
    ผมเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้เราไม่ตกต่ำคือการบริหารจิตให้ยิ่ง(เจริญวิปันากรรมฐาน)และการกตัญญูครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2008
  4. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ความเห็นส่วนตัวนะครับ

    ผมขอถามว่า เราปรารถนาพุทธภูมิไปเพื่ออะไร?

    คำตอบง่ายๆ คือ เราต้องการช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ (รวมพ่อแม่ ญาติ สัตว์ที่เรากิน ผีสาง เทวดาทั้งหลาย ฯลฯ)

    ดังนั้นคำตอบมันบอกในตัวอยู่แล้วครับว่า มีความกตัญญูกับสิ่งต่างๆรอบตัวเราครับ ถ้าเราไม่กตัญญูเราคงไม่ปราราให้เค้าพ้นทุกข์จริงมั้ยครับ อย่าลืมนะครับว่า เราเกิดมากี่ล้านชาติ เราอาจะเกิดเป็นทุกๆอย่างมาแล้ว ดังนั้นเราต้องตอบแทน

    คนเป็นพระรับอาหารจากบาตรก็ตอบแทนคนตักบาตรด้วยการแสดงธรรม หรือให้พร เพื่อให้ผู้ตักสบายใจขึ้น เรารบกวนพระ เราก็ต้องชำระหนี้สงฆ์ ทุกอย่างมีกลไกเรื่องความกตัญญูสอดแทรกอยู่แล้วครับ

    ดังนั้นผมว่า ความกตัญญูถูกติดตั้งลงในใจทุกคนอยู่แล้วครับ อย่าลืมนะครับว่า พ่อแม่ คือ พระอรหันต์ของลูก ดังนั้นความกตัญญุเป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมีอยู่แล้ว ดังนั้นอาจจะละไว้ในฐานที่เข้าใจก็ได้ครับ

    ผมแจกแจกตามความเข้าใจของตนเอง

    1.ทานบารมี เมื่อเรามีทรัพย์เราก็ใช้ทรัยพ์ดูแลพ่อแม่ ถ้ามีเหลือเราก็ทำทานอื่นๆ

    2. ศีลบารมี พ่อแม่สอนให้เราเป็นคนดี เราเป็นคนมีศีล คือ เราเชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่ เราเป็นคนดีพ่อแม่ก็สบายใจ นี่ก็แสดงความกตัญญูอีกแบบหนึ่ง

    3.เนกขัมมะบารมี พ่อแม่เราไม่เคยสอนให้เราล่วงเกินบุตรผู้อื่น และไม่ลุ่มหลงในกามารมรณ์ การที่เราบวชใจ หรือมีเนกขัมมะก็แสดงว่า เราหักห้ามใจตนเองได้ตามที่พ่อแม่สอน และยังแสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ของฝ่ายตรงข้ามด้วย

    4.ปัญญาบารมี พ่อแม่สอนให้เราตั้งใจเรียน เราตั้งใจเรียนและใช้ปัญญาในการครองเรือน และใช้ชีวิต พ่อแม่ก็สุขใจ เมื่อเรามีปัญญา แน่นอนว่า เราต้องรู้ว่าความกตัญญูเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นเราก็ต้องกตัญญูต่อพ่อแม่อยู่แล้วครับ

    5.วิริยะบารมี เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่า เราก็ต้องคอยดูแล เราตั้งใจทำงานหาทรัพย์มาบำรุงท่าน เราดูแลท่าน พาท่านไปโน่นไปนี่ ก็คือวิริยะอย่างหนึ่ง ดังนั้นก็เหมือนเรากตัญญูต่อพ่อแม่ครับที่ท่านเลี้ยงดูเรามา วิริยะ คือ ดูแลท่านไปจนวาระสุดท้ายครับ

    6.ขันติบารมี ความอดทน เราต้องอดทนต่อสิ่งรอบข้าง อดทนต่อความชั่วและสิ่งยั่วยวนต่างๆ เมื่อท่านแก่ ท่านก็อาจจะเลอะเลือน หรือบ่นตามประสาคนแก่ แต่เราก็ต้องอดทน เพราะท่านเป็นพ่อแม่เรา และที่ท่านทำคือความสบายใจของท่าน ดังนั้นก็ถือเป็นการแสดงความกตัญญูอย่างหนึ่ง

    7.สัจจะบารมี ลูกทุกคนต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ การที่เราทำตามที่เราตั้งใจไว้ โดยการดูแลพ่อแม่ ก็เท่ากับเรากตัญญูอยู่แล้ว

    8.อธิษฐานบารมี เราหวังให้พ่อแม่มีความสุข เวลาเราทำดีเราก็อธิษฐานเพื่อท่าน เราต้องใจเป็นคนดีเพื่อท่าน และทำให้ท่านมีความสุข ก็ถือว่ากตัญญูอีกแบบหนึ่ง

    9.เมตตาบารมี พ่อแม่สอนให้เราเมตตากับผู้อื่น ไม่เอาเปรียบใคร การที่เรามีจิตใจดี เราก็ไม่ทำร้ายใคร เราไม่ต้องติดคุดติดตาราง เราก็มีโอกาสดูแลท่าน เมื่อเราเมตตากับคนอื่นได้ แสดงว่ากับท่าน เราก็เมตตาเหมือนกัน แต่เมตตาในฐานะผู้น้อยที่มีต่อผู้ใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่ใช้ว่า กตัญญูครับ

    10.อุเบกขาบารมี เมื่อท่านต้องจากเราไป ท่านก็ไม่อยากให้เราเป็นห่วง เราก็ต้องวางอุเบกขาว่า ทุกสิ่งเกิดมา ตั้งอยู่และดับไป เมื่อเราวางเฉยได้ ท่านก็สบายใจว่า เราโตแล้ว มีวุฒิภาวะแล้ว ท่านก็จะจากไปอย่างมีความสุข อันนี้ผมถือว่า เรากตัญญูจนวาระสุดท้ายของท่านครับ

    ก็ไม่รู้ว่า ผมเข้าใจแบบนี้ถูกหรือไม่ครับ แต่คิดว่า ความกตัญญูมันฝังไว้ในใจของเราอยู่แล้วครับ อย่าลืมนะครับว่า อนัตริยกรรมนั้น มีข้อกำหนดว่า ห้ามฆ่าบิดา มารดานะครับ

    ลองพิจารณาดูครับ โมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2008
  5. emperron

    emperron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +432
    ผมขออนุโมทนากับทุกท่านที่กำลังบำเพ็ญทุกท่านทุกคนขอผลบุญจงตอบสนองการบำเพ็ญของท่านทุกคนด้วยคับ
    <!-- / message -->
     
  6. emperron

    emperron เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +432
    ตายคือเกิด เกิดคือตาย ว่างคือไม่ว่าง ไม่ว่างคือว่าง มีคือไม่มี ไม่มีคือมี ได้คือไม่ได้ ไม่ได้คือได้ หาอะไรแน่นอนไม่ได้ในชีวิต แต่ยังหาอะไรที่เที่ยงแท้ไม่ได้ในจิตก็เสียเวลา เกิดมาเรียนรู้และบำเพ็ญบนโลกไม่เคยจับจะรู้จักวางอย่างไร ขออนุโมทนามานะที่นี้ด้วยครับ
     
  7. creammyza

    creammyza Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +29
    สำหรับเราแล้วกระทู้นี้ ถือว่าเป็นกระทู้ที่เตือนสติผู้ที่กำลังจะเริ่ม
    ปฏิบัติได้อย่างดีเลย เราเองเข้ามาอ่านก็รู้สึกได้ถึงความเป็นจริง
    ที่กล่าวว่า หากจะสร้างเจดีย์ให้สวยงาม ถ้าไม่สร้างฐานของเจดีย์
    ให้ดีให้มั่นคงเสียก่อน ก็คงจะส้รางเจดีย์ให้สวยงามตามที่ปราถนาได้

    อนุโมธนา
     
  8. noppadol108

    noppadol108 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +11
    ความกตัญญูต่อบิดามารดานั้น นอกจากบูชาด้วยวัตถุแล้ว ควรบูชาด้วยธรรมะด้วย กล่าวคือ ช่วยให้ท่านเกิดสัมมาทิฐิ เพื่อเป็นหนทางสู่ความเจริญทั้งหลาย ทำให้ท่านเดินตามเส้นทางธรรม บำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี จะเป็นหนทางที่จะนำพาท่านไปสู่การบรรลุมรรคผลในอนาคตกาล ทั้งนี้จะต้องใช้ความพยายาม กุศโลบาย ความอดทน เพื่อประโยชน์สุขในอนาคต
     

แชร์หน้านี้

Loading...