๒๘ พระอรหันต์ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 2 พฤศจิกายน 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๒๐. หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท

    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

    พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง


    พระเดชพระคุณหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พระอริยเจ้าผู้เด็ดเดี่ยวอาจหาญในสายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านได้รับการยกย่องจากท่านพระอาจารย์มั่นว่า “เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง” อุปนิสัยของท่านเป็นคนตรงไปตรงมา มีปฏิปทายอมหักไม่ยอมงอ ท่านสละอวัยวะ ทรัพย์และชีวิตเพื่อธรรม เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที จงรักภักดีต่อท่านพระอาจารย์มั่น ยิ่งกว่าชีวิต ท่านได้รับความไว้วางใจจากท่านพระอาจารย์มั่น ให้เดินทางไปเฝ้าอุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์ ซึ่งอาพาธหนักถึงนครจำปาศักดิ์ประเทศลาว จนกระทั่งหลวงปู่เสาร์มรณภาพ

    ประวัติ ปฏิปทา คติธรรม ของท่านอาจแตกต่างจากพระกรรมฐานรูปอื่นในแง่ปลีกย่อย ท่านไม่กว้างขวางเรื่องปริยัติธรรมภายนอก รอบรู้เฉพาะเรื่องจิตตภาวนา อันเป็นธรรมภายใน ท่านปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว คำสอนของท่านก็เป็นประเภทปัจเจกะ มุ่งเน้นทางด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่ประกอบกับท่านมีบารมีธรรมที่บ่มบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อนเป็นสิ่งช่วยเกื้อหนุนอยู่อย่างลึกลับ การปฏิบัติของท่านจึงนับว่ารู้ธรรมเร็วในยุคปัจจุบัน ​

    ท่านจึงเป็นแบบอย่างทางสงบแก่โลกที่ระงมปนเปื้อนไปด้วยกองทุกข์นานัปการ ท่านสอนให้พวกเรามองอะไร ไม่ควรมองแต่ด้านเดียว การมองอะไร ไม่เพียงใช้สายตาเป็นเครื่องตัดสินเท่านั้น แต่ต้องใช้แววตาคือ ปัญญา เพราะผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรมองข้ามปมคำสอน เพียงเพราะสายตาเท่านั้น ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่ เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่สอ่งแสงสว่างแก่โลก ย่อมไม่ละเลยทั้งกอไผ่และภูผา ​

    หลวงปู่เจี๊ยะท่านจึงเป็นผู้มีจิตอิสระมานานไม่เกี่ยวเกาะยึดติดพัวพันในบุคคล กาล สถานที่ การปฏิบัติของท่านมุ่งเน้นที่ผลการปฏิบัติมากกว่ารูปแบบแห่งการปฏิบัติ เพราะนี่เป็นนิสัยสะท้านโลกาและปฏิปทาที่เป็นปัจจัตตัง ยากที่ใครๆ จะเลียนแบบได้ ​

    หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้กล่าวยกย่องชมเชยในคุณธรรมว่า “พระอาจารย์เจี๊ยะ เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง เป็นเพชรน้ำหนึ่งที่หาได้โดยยากยิ่ง”

    ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ตรงกับวันอังคาร เดือน ๗ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรง ณ บ้านคลองน้ำเค็ม ตำบลคลองน้ำเค็ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรของนาย ซุ่นแฉ และ นางแฟ โพธิกิจ

    ในวัยหนึ่งทำมาค้าขายผลไม้ นิสัยออกจะติดทางนักเลง ต้นตระกูลเป็นคนตรงไปตรงมา เป็นคนจริงจังในหน้าที่การงาน ยอมหักแต่ไม่ยอมงอพูดจาโฮกฮากไม่กลัวคน ​

    ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๖.๑๙ น. ณ พัทธสีมาวัดจันทนาราม ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรีโดยมี พระครูครุนารถสมาจาร (เศียร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิพัฒน์พิหารการ (เชย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ​

    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ร่วมปฏิบัติธรรมจำพรรษากับท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ที่เสนาสนะป่าช้าผีดิบบ้านหนองบัว ปัจจุบันคือวัดทรายงาม จังหวัดจันทบุรี ​

    ท่านปฏิบัติกรรมฐานด้วยอิริยาบถ ๓ คือ ยืนภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิ แบบสละตาย ด้วยการตั้งสัจจะอธิษฐานว่า
    “ข้าพเจ้าจะถือเนสัชชิ คือในเวลาค่ำคืนไม่นอนตลอดไตรมาส ด้วยพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าว่าแม้นข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะนี้ ขอให้ข้าพเจ้าถูกฟ้าผ่าตาย แผ่นดินสูบตาย ไฟไหม้ตาย น้ำท่วมตาย แต่ถ้าหากว่าข้าพเจ้าปฏิบัติตามสัจจะที่ตั้งไว้ได้ ขอจงเป็นผู้เจริญงอกงามในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเทอญฯ”

    พรรษาที่ ๓ จิตของท่านเกิดรวมครั้งใหญ่ใต้ต้นกระบก ด้วยการหยั่งสติปัญญาลงในกายานุปัสสนา หยั่งลงสู่ความจริงประจักษ์ใจ โลกสมมุติทั้งหลายไม่มีปรากฏขึ้นกับใจ ประหนึ่งว่าแผ่นดินแผ่นฟ้าละลายหมด เหลือแต่จิตดวงบริสุทธิ์เท่านั้น ​

    ปลายปี พุทธศักราช ๒๔๘๒ ท่านได้กราบลาท่านพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ และท่านพ่อลี ธมฺมธโร เดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับสหธรรมิก คือท่านพระอาจารย์เฟื่อง โชติโก เพื่อนำธรรมที่รู้เห็นไปเล่าถวายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ​

    เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เมื่อถึงเสนาสนะวัดร้างป่าแดง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์มั่นทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยตลอด จึงปูอาสนะนั่งรอท่าอยู่บนแคร่น้อยๆ เมื่อได้โอกาสอันสมควรจึงได้เล่าเรื่องภาวนาให้ท่านพระอาจารย์มั่นฟังว่า “ได้พิจารณากาย จนกระทั่งใจนี้มันขาดไปเลย” ท่านพระอาจารย์มั่นนั่งฟังนิ่ง ยอมรับแบบอริยมุนี ไม่คัดค้านในสิ่งที่เล่าถวายแม้แต่น้อย ​

    ต่อมาอีกไม่นานนัก ฟันของท่านพระอาจารย์มั่นหลุดแล้วท่านก็ยื่นให้ การที่ท่านมอบฟันให้นั้น หลวงปู่เจี๊ยะเล่าว่า “ท่านคงรู้ได้ด้วยอนาคตังสญาณ ว่าเราจะมีวาสนาสร้างภูริทัตตเจดีย์บรรจุทันตธาตุถวายท่านเป็นแน่แท้”

    ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓-๒๔๘๕ หลวงปู่เจี๊ยะเป็นพระคิลานุปัฏฐาก และเป็นปัจฉาสมณะ เป็นประดุจเงาติดตามตัวท่านพระอาจารย์มั่นมาโดยตลอด เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นรับนิมนต์ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เดินธุดงค์จากทางภาคเหนือมายังภาคอีสาน พักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าเป็นที่ทิ้งศพโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ๒ พรรษา จึงธุดงค์จาริกต่อไปยังจังหวัดสกลนคร พักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ที่เสนาสนะป่าบ้านโคกนี้เอง ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวชมเชยในคุณธรรมและนิสัยวาสนาของหลวงปู่เจี๊ยะท่ามกลางหมู่่สงฆ์ว่า “ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ท่านผู้นี้ปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว ปฏิบัติเพียง ๓ ปี เท่ากับเราปฏิบัติภาวนามาเป็นเวลา ๒๒ ปีอันนี่อยู่ที่นิสัยวาสนาเพราะนิสัยวาสนาของคนมันต่างกัน”

    ต้นปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ขณะที่ท่านเข้าที่หลีกเร้นภาวนาในดงป่าลึก ณ เชิงเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เกิดป่วยเป็นไข้มาลาเรียอย่างหนัก ในขณะที่ป่วยหนักนั้นท่านเล่าว่า “จิตเป็นธรรมชาติที่อัศจรรย์ตลอดเวลา พิจารณาจนกระทั่งจิตมันดับหมด หยุดความคิดค้น จิตปล่อย วางสิ่งทั้งปวง คว่ำวัฏฏจักร วัฏฏจิต แหวกอวิชชา และโมหะอันเป็นประดุจตาข่าย กิเลสขาดสะบั้นออกจากใจ จิตมีอิสระอย่างสูงสุดเกินที่จะประมาณได้”

    ต้นปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ หลังจากถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่นแล้วท่านจึงย้อนกลับไปจังหวัดจันทบุรีอันเป็นบ้านเกิด เพื่อโปรดโยมมารดาซึ่งป่วยหนัก ด้วยหวังจะทดแทนบุญคุณข้าวป้อนด้วยอรรถด้วยธรรม ท่านจึงดำริปักหลักสร้างวัดเขาแก้ว ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง และได้สร้างวัดบ้านสถานีกสิกรรม อำเภอพลิ้ว ถวายหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ​

    ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชได้นิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสและร่วมสร้างวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี ​

    ปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ คณะศรัทธาได้ถวายที่ดินบริเวณบ้านคลองสระ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี แก่หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน หลวงตาได้นิมนต์ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาวาส และท่านได้สร้าง “วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม” และอยู่จำพรรษามาโดยตลอด ​

    แม้ว่าท่านจะเป็นพระเถระผู้ใหญ่และได้สร้างวัดวาอารามใหญ่โตแล้ว ท่านก็ยังเที่ยวภาวนาตามป่าตามเขาท้องถ้ำและเงื้อมผา จนกระทั่งร่างกายเดินไม่ไหว ​

    ท่านละขันธ์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานด้วยความสงบและอาจหาญในธรรม ณ โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เวลาประมาณ ๒๓.๕๕ น. สิริอายุรวม ๘๘ ปี ๒ เดือน ๑๗ วัน ๖๘ พรรษา ​


    จากหนังสือ พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์
    วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2008
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๒๑. หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ
    วัดป่าหนองแซง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

     
  3. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]



    ๒๒. พระโพธิญาณเถร
    (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
    วัดหนองป่าพง บ้านพงสว่าง ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบบราชธานี

    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->"พระอริยเจ้าผู้ก้าวล่วงความสงสัยในนิกาย"<!--colorc--><!--/colorc-->



    พระเดชพระคุณหลวงปู่ชา สุภทฺโท พระอริยเจ้าศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต รูปหนึ่ง ที่ไม่ได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุตท่านเป็นผู้ทรงธรรม เก่งในเทศนาโวหารและการเปรียบเปรย ข้ออรรถข้อธรรมของท่านชวนให้คนได้คิดเสมอ สติปัญญาไว ดัดนิสัยสานุศิษย์ได้ฉับพลัน มีบุญญาบารมีมาก มีหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นสหธรรมิก ท่านเล่าว่า "มีนิสัยโน้มเอียงมาในทางธรรมตั้งแต่วัยเด็ก กลัวบาป เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่โกหก รักความยุติธรรม เกลียดความอยุติธรรม ชอบเล่นแต่งตัวเป็นพระ มีความพอใจภูมิใจที่ได้แสดงเป็นพระ ยินดีในผ้ากาสาวพัสตร์และเพศพรหมจรรย์"

    ท่านมีความสามารถในการสอนธรรมให้ชาวต่างชาติ มีศิษย์เป็นชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก มีวัดสาขาทั้งใน และต่างประเทศ มีกฎระเบียบจากวัดหนองป่าพง เป็นต้นแบบเสมอภาคทุกสาขาทั่วโลก

    ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ บ้านก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายมา และนางพิมพ์ ช่วงโชติ

    เมื่ออายุ ๑๓ ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว โยมบิดาได้นำไปฝากเป็นเด็กวัดกับเจ้าอาวาสวัดบ้านก่อ เพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้น เกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๔ ณ วัดบ้านก่อ โดยมีพระครูวิจิตรธรรมภาณี(พวง) เป็นพระปัพพชาจารย์ ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรมตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์เป็นเวลา ๓ ปี ได้เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่องสวดมนต์ทำวัตร ศึกษาหลักสูตรนักธรรม จากนั้นจึงได้ลาสึกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัวแบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป

    อุปสมบทเมื่อวันที ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เวลา ๑๓.๕๕ น. ณ วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดนมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่ออุปสมบทแล้ว พรรษาที่ ๑-๒ จำพรรษาที่วัดก่อนอก ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและสอบนักธรรมชั้นตรีได้ นับแต่อุปสมบทเมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมโยมบิดามารดา โยมพ่อมักจะวกเข้าสู่เรื่องความเป็นอยู่ในสมณเพศของท่านว่า
     
  4. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๒๓. พระโพธิธรรมมาจารย์เถร
    (หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)

    วัดป่าเขาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

     
  5. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๒๔. พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ
    วัดเจติยาคีรีวิหาร(ภูทอก) อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย

    "พระอริยเจ้าผู้มีกายและจิตสมควรแก่วิมุติธรรม"


    พระเดชพระคุณพระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐพระอริยเจ้าผู้ถึงพร้อมด้วยสาวกบารมีญาณ เกิดมาเพื่อบรรลุธรรมในปัจจุบันชาติ ท่านมีนิสัยโน้มน้อมมาทางพระธรรมตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐาน จิตสงบรวมเป็นหนึ่ง สามารถแยกกายและจิตได้ ท่านจึงได้สละทรัพย์ และบ้านเรือนออกบวช

    ท่านเป็นผู้มีความเพียรพยายามเป็นเลิศ มีสติในการแก้ไขกิเลสเฉียบพลัน อุบายธรรมและปฏิทาเป็นปัจเจกแปลกจากครูบาอาจารย์รูปอื่น

    ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ ท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพวง อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ได้เกิดจิตปฏิพัทธ์หญิงสาวคนหนึ่ง จึงได้คิดหาอุบายแก้ไข โดยยกภาษิตโบราณมาเทียบสิ่งที่ท่านหลงใหลอยู่ว่า "เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง ยังเอากระดูกมาแขวนคอ" ท่านจังคิดดัดนิสัยของตนเองที่ไปหลงรักผู้หญิงเข้าด้วยการเอากระดูกช้างมาแขวนคอห้อยต่องแต่ง ท่านตั้งใจมั่นว่า "ตราบใดที่ใจยังตัดใจอาลัยรักในสตรีไม่ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน ออกบิณฑบาตร ฉันข้าว ก็จะเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตราบนั่น" ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือรับกิจนิมนต์ไปในหมู่บ้านก็ตาม ท่านเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตลอดจนชาวบ้านทั้งหลายเขาเล่าลือกันว่า "ท่านเป็นบ้า"

    เมื่อท่านปฏิบัติอย่างนี้ เกิดความละอายใจเห็นโทษภัยในความลุ่มหลงจิตก็คลายความกำหนัดรักใคร่ในหญิงนั้น เมื่อหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ถามถึงเหตุที่ท่านทำเช่นนั้น ท่านได้กราบเรียนดังที่กล่าวมาแล้ว หลวงปู่ขาวกล่าวชมว่า "อุบายนี้ดีนักแล"

    จิตของท่านจึงมุ่งไปสู่ความหลุดพ้น โจนทะยานทำลายกองกิเลส ดั่งสายน้ำพุ่งลงมาจากยอดเขาสูงลงสู่พื้นล่าง ท่านชอบท่องเที่ยวและแสวงหาครูบาอาจารย์ที่อยู่ตามป่าเขาลึกๆ เช่น เข้าไปศึกษาธรรมกับท่านพระอาจารย์หล้า ขนฺติโก พระอริยเจ้าผู้อยู่แต่เพียงโดดเดี่ยวบนสันเทือกเขาภูพาน

    ท่านมีสหธรรมิกคือ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร ได้รับอบรมในทางธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ท่านได้รับการยกย่องจากที่นพระอาจารย์มั่น ว่า "...กาเยนะ วาจายะ วะเจตวิสุทธิยา ท่านจวน! เป็นผู้มีกายและจิตสมควรแก่ข้อปฏิบัติธรรม เป็นผู้สามารถรวมจิตทีเดียวถึงฐีติจิต"

    ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ บ้านเหล่ามันแกว บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ ๑๒ ตำบลดงมะยาง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

    เป็นบุตรของนายลา และนางแหวะ วงศ์จันทร์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖

    เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ได้พบพระธุดงค์มาปักกลดอยู่ใกล้บ้านก็บังเกิดความเลื่อมใสตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ "ไตรสรณคมน์" ของท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ไว้ให้ เมื่อท่านได้อ่านแล้วบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ได้พยายามปฏิบัติตาม เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ บริกรรมภาวนาจิต รวมเป็นหนึ่ง จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย

    หลังจากจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดินอยู่เป็นเวลา ๔ ปี

    ภายหลังระหว่างทำงานได้รับหนังสือ"จตุราลักษณ์" ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อท่านอ่านไปถึงบทมรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า "เราก็ต้องตาย"

    เมื่ออายุเพียง ๒๐ ปีท่านสละเงินที่เก็บหอมรอมริบระหว่างทำงานอยู่กรมทางหลวงทั้งหมดเป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว สร้างพระประธาน สร้างห้องน้ำ ถวายสงฆ์จนเงินหมด

    เมื่อท่านอายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ พระอาจารย์บุ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาแจ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า "กลฺยาณธมฺโม" ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม และสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้น และต่อมาก็ได้ลาสิกขา

    หลังจากสึกมาเป็นฆราวาสแล้วท่านได้เดินทางไปแสวงหาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานธรรมยุต และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุตเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ วัดป่าสำราญนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิต เทวิโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า "กุลเชฎโฐ"

    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ท่องปาฏิโมกข์ และเจ็ดตำนานจบหมดภายในเวลาหนึ่งเดือน

    ปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ พรรษาที่ ๓ ท่านจำพรรษาที่วัดบ้านนาจิกดอนเมย บ้านหนองปลิง ตำบลนาจิก ได้อธิษฐานทำความเพียรจะไม่นอนไม่ฉันตลอดพรรษา

    ท่านอธิษฐานจิตว่า "ถ้ายังมีบุญวาสนาอยู่ในพรหมจรรย์แล้ว ขอให้ได้นิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต"

    หลังจากนั้น ๓ วัน ท่านได้นิมิตว่า ได้เดินทางไปสู่สำนักท่านพระอาจารย์มั่น เห็นท่านกำลังกวาดลานวัดอยู่ พอเห็นก็รู้ว่านี่คือท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเหลือบมาเห็นเข้าก็ทักพระอาจารย์จวน อย่างดีใจว่า "อ้อ...ท่านจวนมาแล้ว ท่านจวนมาแล้ว" มีความรู้สึกคล้ายกับพ่อเห็นลูก ลูกเห็นพ่อ พอท่านตรงเข้าไปจะกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่นก็โก่งหลัง บอกให้ท่านขึ้นขี่หลังเหมือนม้า แล้วท่านจึงพาเหาะขึ้นบนอากาศจนลิบเมฆ แล้วพามาลงที่กลางภูเขาลูกหนึ่ง แล้วบอกว่า"เอาละ ลงนี่แหละ พอดีพอควรแล้ว"

    ท่านพิจารณาเกิดปีติยินดีว่า คงจะมีวาสนาบารมีอยู่ในเพศพรหมจรรย์ จึงเร่งทำความเพียรต่อไป

    หลังจากออกพรรษาได้ ๕ วัน พระอริยคุณาธาร(มหาเส็ง ปุสฺโส) ได้เดินทางมาที่วัดป่า บ้านนาจิก พระอุปัชฌาย์จึงได้ฝากท่านกับพระอริยคุณาธารขอให้ช่วยนำไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น
    ด้วย

    ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ พรรษาที่ ๔ ท่านจึงได้ติดตามท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

    ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านผือใหม่ๆ ใจก็อดคิดตามประสาปุถุชนไม่ได้ว่า "เขาลือกันว่าท่านอาจารย์ใหญ่เป็นพระอรหันต์ เราก็ไม่ทราบว่าจริงไม่หรือ ถ้าเป็นอรหันต์จริง คืนนี้ก็ให้มีปาฏิหาริย์ให้เป็นปรากฏด้วย"

    ในคืนวันนั้นเอง พอท่านภาวนา ก็ปรากฏนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่นเดินจงกรมอยู่บนอากาศ และแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา และเวลานอนหลับก็ยังฝันเห็นท่านเดินอยู่บนอากาศเช่นเดียวกัน ท่านจึงยกมือไหว้และกล่าวขอขมาว่าเชื่อแล้ว...

    หลังจากวันนั้น ท่านก็เกิดคิดขึ้นมาอีกว่า "เอ... เขาว่าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตของลูกศิษย์ทุกคนจริงไหมหนอ? เราน่าจะลองดู ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่รู้วาระจิตเรา ขอให้ท่านอาจารย์ใหญ่มาหาเราที่กุฏิคืนวันนี้เถอะ " พอท่านคิดได้ประเดี๋ยวเดียวก็ได้ยินเสียงไม้เท้าเคาะใกล้เข้ามา และกระแทกเปรี้ยงเข้าที่ฝากุฏิของท่าน พร้อมกับเสียงของท่านพระอาจารย์มั่นเอ็ดลั่นว่า "ท่านจวน...ทำไปจึงไปคิดอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ รำคาญเรานี่"

    พรรษาที่ ๕-๖ ปีพ.ศ. ๒๔๙๐ -๒๔๙๑ จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ คืนหนึ่งขณะนั่งภาวนาในโบสถ์มีนิมิตเกิดขึ้นว่ามีพระเถระรูปหนี่งได้มาให้โอวาทตักเต
    ือนว่า "ท่านจวน ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ"

    ท่านได้มาพิจารณาดู แผ่นดินแปลว่า ให้มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน เมื่อถูกกระทบกระเทือนจากอารมณ์ก็อย่าวอกแวก ตั้งใจให้เป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน ท่านจึงได้เขียนจดหมายกราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นถึงนิมิตในครั้งนี้

    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ตอบจดหมายว่า
    "ถึงท่านจวนที่อาลัยยิ่ง
    ...ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้แนะนำให้ท่านนั้นขอให้ท่านจงตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติด
    ำเนินไปตามคำที่ผมแนะนำ อย่าได้ประมาท เพื่อจะได้เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนาต่อไป"

    หลังจากนั้นท่านได้ออกวิเวกอาศัยอยู่บนดอยกับชาวเขาเผ่าต่างๆ ทางภาคเหนือ ติดกับเขตพม่า เข้าเขตจังหวัดเชียงตุง ประเทศพม่า แล้วกลับมาทางภาคอีสาน

    เมื่อกลับมาได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร ท่านอาจารย์มั่นได้ถามว่าการภวนาเป็นอย่างไรบ้าง ท่านอาจารย์ได้กราบเรียนท่านว่า "ไม่ดีเหมือนอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์"

    ท่านอาจารย์มั่นจึงบอกว่า "ต่อไปให้ภาวนาอยู่ทางภาคอีสานนี่แหละ อย่าไปที่อื่นอีกเลย"หลังจากนั้นท่านก็ท่องเที่ยวธุดงค์อยู่ป่าเขาถ้ำทางภาคอีกสานมาโดยตลอด

    พรรษาที่ ๒๗-๓๘ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๒-๒๕๒๓ ท่านได้สร้างวัดเจติยาคิรีวิหาร(ภูทอก) อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ให้เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติธรรม ด้วยวัตรปฏิบัติอันงดงามของท่าน และความสวยงามของภูทอก เมื่อใครได้ไปสัมผัสแล้วต่างก็เกิดซาบซึ้งศรัทธากันถ้วนหน้า

    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ณ ท้องนาทุ่งรังสิต หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พร้อมกับพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม

    สิริรวมอายุ ๕๙ ปี ๙ เดือน ๑๘ วัน ๓๘ พรรษา


    จากหนังสือ พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์
    วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
     
  6. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๒๕. พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    วัดป่าแก้วชุมพล บ้านชุมพล อำภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    "พระอริยเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ประเภทสุขวิปัสสโก"


    พระเดชพระคุณพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระอริยเจ้าศิษย์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และเป็นศิษย์ต้นของหลวงตาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นพระอรหันต์ประเภท "สุขวิปัสสโก"คือผู้มีกิเลสเหือดแห้งไปโดยลำดับด้วยการเจริญวิปัสสนาล้วน มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่น เช่น ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา

    ปฏิปทาด้านข้อวัตรปฏิบัติของท่านเป็นเช่นเดียวกันกับปฏิปทาของครูบาอาจารย์กรรมฐาน คือ ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีปฏิปทาเที่ยงตรงต่ออริยมรรคอริยผล มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจัง มีความเพียรเป็นเลิศ โปรดการเดินจงกรมเป็นพิเศษ การใช้ปัจจัยสี่ก็ใช้อย่างประหยัดมัธยัสถ์ไม่สุรุ่ยสุร่าย แม้ของนั้นจะมีมากก็ตาม ท่านก็ไม่นิยมการก่อสร้างทุกชนิด แม้งานในวัดก็ไม่ให้มี ชอบให้พระเณรสร้างจิตใจเพื่อมรรคผลนิพพาน

    แต่มองในอีกด้านหนึ่ง ท่านกลับเป็นพระกรรมฐานผู้มีอารมณ์ขัน แสดงออกตรงไปตรงมา อารมณ์ดีเสมอ เทศนาและโอวาทของท่านก็น่าฟังมาก โดยเฉพาะเมื่ออยู่กับศิษย์ใกล้ชิดท่านจะมีเรื่องราวขำขันชวนหัวเราะอยู่เสมอ แต่ขณะนั้นเดียวกันสิ่งนั้นก็เป็นหลักธรรมที่ชวนพิจารณา ท่านมีเพื่อนสหธรรมิกและเพื่อนตายคือ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ท่านทั้งสามมักจะไปไหนไปด้วยกัน รับกิจนิมนต์มักจะไปพร้อมกัน แม้สุดท้าย นิพพานท่านก็นิพพานพร้อมกัน

    ท่านเป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงตามมหาบัวและได้รับความไว้วางใจจากหลวงตามหาบัวเป็นพิเศษคือ

    ๑) ให้เป็นประธานฝ่ายบรรพชิตใหนการดำเนินงานศพของหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ พระอริยเจ้าแห่งวัดป่าหนองแซง จังหวัดอุดรธานี

    ๒) ให้เป็นประธานดำเนินงานศพของหลวงตามหาบัว หากหลวงตาบัวละสังขารไปก่อนท่าน

    ๓) ให้เป็นหัวหน้าหมู่คณะพระกรรมฐานแทนหลวงตาด้วย

    ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ณ บ้านศรีฐาน ตำบลกระจาย อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นบุตรของนายบุญจันทร์ และนางอบมา ไชยเสนา

    อายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดป่าสำราญนิเวศน์ ตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยมี พระครูทัศนวิสุทธิ์ (ดุสิต เทวิโร)เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นบวชแล้วได้มาจำพรรษา ณ วัดป่าศรีฐานใน ซึ่งเป็นวัดป่าของหมู่บ้านศรีฐาน โดยมีพระอาจารย์บุญสิงห์ (ศิษย์พระอาจารย์สิงห์) เป็นพระอาจารย์ผู้ให้การอบรมสั่งสอนด้านสมาธิภาวนา ระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรีฐานในนั้น ท่านได้เกิดสุบินนิมิตว่า "มีพาหนะ ๓ ชนิด คือช้างเผือก ม้าขาว และวัวอุสุภราช ท่านมีความรู้สึกในความฝันว่าท่านได้ขี่พาหนะทั้ง ๓ ตัวนั้น ท่านองค์เดียวแต่ขี่พาหนะได้ทั้ง ๓ ตัวในขณะเดียวกัน และได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงออกมาจากหมู่บ้าน ดังออกมายังศาลาวัด คล้ายกับว่าชาวบ้านจะมาทอดผ้าป่าหรือทำการกุศลชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่พอมาถึงก็ปรากฏว่าไม่มีคน มีแต่ดอกไม้นานาชนิดลอยมาสูงระดับหน้าอกแล้วเวียนรอบศาลา ก็พอดีท่านรู้สึกตัวตื่นจากความฝัน นี่เป็นเหตุให้ท่านมีความมั่นใจว่าการบวชของท่านนั้นจะบรรลุผลอันพึงพอใจ"

    พรรษาที่ ๕ ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านนาหัวช้าง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคม กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ปัจจุบันวัดป่าบ้านนาหัวช้างคือวัดป่าอุดมสมพร

    พรรษาที่ ๖ ท่านจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่วัดป่าบ้านโคกมะนาว อำเภอพรรณานิคม ช่วงนี้ท่านเล่าว่า "การภาวนาเริ่มจะยาก ภาวนาผ่านทุกขเวทนาไม่ได้
     
  7. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๒๖. หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
    วัดภูจ้อก้อ ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

    "พระอริยเจ้าผู้เป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าท่านพระอาจารย์มั่น"


    พระเดชพระคุณหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ท่านเป็นผู้มีนิสัยบากบั่น อุตสาหะพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อหาทางพ้นทุกข์บารมีธรรมคำสั่งสอนเป็นที่ซาบซึ้งถึงใจและหยั่งรากฝังลึกลงในหัวใจของมหาชน ท่านได้อบรมสั่งสอนบรรดาสานุศิษย์ด้วยเมตตาธรรม ดุจดังพ่อแม่อบรมสั่งสอนลูก

    นับได้ว่าท่านเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของท่านพระอาจารย์มั่น ที่สำคัญยิ่งรูปหนึ่ง หลังจากท่านละสังขารไม่นาน อัฐิได้กลายเปลี่ยนเป็นพระธาตุ ได้รับคำชมและยกย่องจากหลวงตามหาบัวว่า "เป็นพระที่ซื่อสัตย์ต่อครูอาจารย์ เอาใจส่าในอาจริยวัตรเสมอ แม้ถูกดุด่าก็อดทนต่อคำสั่งสอน ไม่เหนื่อยหน่ายต่อโอวาทธรรมที่ครูอาจารย์พร่ำสอน และเป็นดั่งผ้าเช็ดเท้าของท่านพระอาจารย์มั่น"

    ท่านเป็นศิษย์รูปหนึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายอุปัฏฐากแด่ท่านพระอาจารย์มั่นอย่างใกล้ชิด มีภาระปฏิบัติหลายหน้าที่ อาทิ การสรงน้ำ การซักย้อมสบงจีวร การตามไฟถวายเมื่อองค์ท่านจงกรมในยามค่ำคืน การดูแลไฟให้ความอบอุ่นในยามหนาวเย็น การชำระอุจจาระปัสสาวะเมื่อองค์ท่านอาพาธ ท่านจึงเป็นผู้หนึ่งที่ได้สังเกตศึกษาปฏิปทาและจริยาวัตรของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดเวลา ๔ ปีสุดท้ายแห่งชนม์ชีพของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

    ท่านเกิดวันจันทร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๔ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ ปีกุน ณ บ้านกุดสระ ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของนายคูณ และ นางแพง เสวตร์วงศ์

    อายุได้ ๑๘ ปี บวชเณร ณ วัดบัวบาน บ้านกุดสระ ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระอาจารย์หนู ติสฺสเถโร เป็นพระปัพพชาจารย์

    อุปสมบทครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ โดยมีพระอาจารย์หนู ติสฺสเถโร เป็นพอุปัชฌาย์ บวชได้ไม่นานก็ได้ลาสิกขาจากพระภิกษุ แม้จะไม่อยากลาเท่าใดนัก แต่หมู่เพื่อนพาคะนองก็ได้ลาไปตามเพื่อน ภายหลังท่านได้แต่งงาน ๒ ครั้ง มีบุตร ๑ คนกับภรรยาคนแรก และมีบุตร ๓ คนกับภรรยคนต่อมา

    อายุได้ ๓๒ ปี ได้กลับคืนสู่เพศพรหมจรรย์อีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ วัดบ้านยาง โดยมี พระครูคูณ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เสาร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    บวชอยู่ได้ ๓ พรรษา โยมมารดาก็ถึงแก่กรรม ภายหลังฌาปนกิจศพมารดาก็ได้กราบลาอุปัชฌาย์จารย์ ไปศึกษาธรรมกับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี

    เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงได้ญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ณ วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูธรรมธร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น และตั้งสัจวาจาว่า "ขอมอบกายถวายชชีวิตต่อท่านพระอาจานย์มั่น ผูกขาดทุกลมปราณ ตลอดทั้งคณะสงฆ์ในที่นี้ทุกๆองค์ด้วย"

    ท่านพระอาจารย์มั่น ได้กล่าวสอนสั้นๆว่า "กรรมฐานสี่สิบห้องเป็นน้องอานาปานสติ อานาปานสติเป็นยอดมงกุฎของกรรมฐานทั้งหลาย"

    ต่อจากนั้นหลวงตามหาบัวซึ่งเป็นพระเถระที่ดูแลหมู่คณะในสมัยนั้นได้กล่าวเตือนว่า "เอาให้ดีนะ เมื่อคุณได้มอบกายถวายตัวกับองค์ท่านแบบแจบจมอย่างนี้แล้ว ต้องเข่นหนักนะ"

    ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ จำพรรษาที่วัดโคกกลอย ตำบลนากลาง อำเภอโคกกลอย จังหวัดพังงา กับหลางปู่เทสก์ เทสฺรงฺสี

    ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔-๙๕ จำพรรษที่วัดป่าตะโหนด อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา กับหลวงปู่เหรียญ วราลาโภ

    ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ -๒๔๙๙ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร กับหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดภูจ้อก้อ ต่อเนื่องมาจนถึงกาลเป็นที่สุดแห่งชมม์ชีพของท่าน

    วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้มาเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงปู่หล้า ซึ่งคณะแพทย์ก็ได้กราบเรียนว่าไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นอีกได้ หลวงตามหาบัวได้เมตตาให้คำแนะนำว่า เมื่อการรักษาไม่เกิดประโยชน์อะไรแล้ว ก็ควรหยุดการรักษา ปล่อยให้ท่านอยู่กับธรรมชาติของท่าน ซึ่งหลวงปู่หล้าก็ได้ละสังขารไปเมื่อเวลา ๑๓.๕๙ น. ในวันนั้นเอง

    วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ทำการถวายเพลิงศพหลวงปู่หล้า เขมฺปตฺโต โดยมีหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นประธานพระเถรานุเถระและศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์จากทั่วทุกสารทิศเดินท
    างมาร่วมในงานนี้อย่างเนืองแน่น

    สิริอายุ ๘๔ ปี ๑๑ เดือน ๕๒ พรรษา.


    จากหนังสือ พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์
    วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
     
  8. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]

    ๒๗. หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ
    วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

     
  9. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    [​IMG]


    ๒๘. หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
    วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

     
  10. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196
  11. cunchit99

    cunchit99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2,044
    ค่าพลัง:
    +1,951
    โมทนาสาธุยิ่งครับ ทราบมาว่ามี Video ด้วยใช่ไหมครับ ไม่ทราบว่าจะหาได้จากไหนครับ
     
  12. hs6kjg

    hs6kjg Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +36
    อนุโมทนาบุญครับ สาธุ สาธุ สาธุ
    [​IMG]
     
  13. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    ขอกราบพ่อ,แม่,ครูบาอาจารย์,ด้วยความเคารพและขอให้ได้กลับไปบวชอีคครั้งใต้ร่มเงาของพระป่าตลอดไปเถอญ...สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  14. pump - อภิเตโช

    pump - อภิเตโช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,202
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,803
    อนุโมทนาสาธุ พระอรหันต์ทุกพระองค์
    อนุโมทนาสาธุกับท่านเจ้าของกระทู้ครับ
     
  15. Dragon_king

    Dragon_king เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2009
    โพสต์:
    730
    ค่าพลัง:
    +1,388
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

    กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินไป ข้าพเจ้ากราบขอขมาลาโทษต่อพระรัตนตรัย
     
  16. daisy lucy

    daisy lucy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +190
    ลูก ขอกราบนมัสการพระอรหันต์ ทุกพระองค์เจ้าค่ะ ลูกขอกราบอนุโมทนาบุญกับทุกพระองค์ท่านเจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  17. nayple

    nayple ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2010
    โพสต์:
    312
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,130

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...