ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    ~~~ ต้นไม้ ~~~

    <!-- Main -->[SIZE=-1]
    [​IMG]





    การปลูกต้นไม้ นอกจากหมั่นรดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืชแล้ว ไม่มีอะไรต้องทำมากกว่านั้น

    เพราะแม้ว่าเราจะเฝ้าฟูมฟักอย่างดีเพียงใดก็ตาม เราก็ไม่สามารถไปสั่งให้มันเติบโตได้ ดั่งใจปรารถนา...

    การปฏิบัติธรรมเฉกเช่นกัน เรามีหน้าที่เพียงรักษากายวาจาใจ หมั่นพินิจพิจารณา ไม่ใช่ขยันก็ทำขี้เกียจก็หยุด

    ไม่ต้องไปเร่งวันเร่งคืน ครั้นถึงเวลาที่เหมาะสม ความกระจ่างในธรรมจะเกิดขึ้นเอง



    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tangsati&month=27-10-2008&group=1&gblog=9


    [/SIZE]
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 19 ตุลาคม 2551 9:47:06 น.-->ลักเกลือหนึ่งกำต้องชดใช้หนึ่งเกวียน
    <!-- Main -->[SIZE=-1]
    สมัยหนึ่ง มีอุบาสกผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาคนหนึ่ง ได้ปลูกกระท่อมที่เชิงเขาเพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญศีลภาวนาปฏิบัติบำเพ็ญมาได้ 20 กว่าปี ทุกวันนอกจากจะเจริญฌานสมาธิแล้ว เขายังเข้าไปในหมู่บ้านแสดงธรรมโปรดชาวบ้าน ทุกคนต่างยกย่องนับถือว่าเขาเป็นอุบาสกผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมวิเศษ ทุกครั้งที่เขาเข้าฌานสมาบัติจะปรากฏเป็นรูปธรรมกายนั่งอยู่บนแท่นดอกบัว ล้อมรอบตัวด้วยรังสีสีทองบริสุทธิ์ สดใสระยิบระยับปราศจากรอบด่างแม้แต่น้อย

    วันหนึ่งขณะที่อุบาสกกำลังทำอาหารอยู่ เกลือที่จะปรุงรสเกิดหมดพอดีจึงไปขอยืมเพื่อนบ้าน แต่เมื่อไปถึงไม่พบเจ้าของบ้านก็คิดว่าจะขอเอาเกลือไปก่อน เมื่อเจ้าของบ้านกลับมาค่อยบอกก็คงไม่เป็นไร จึงหยิบเกลือหนึ่งกำมือไปปรุงอาหาร หลังจากกินอาหารแล้ว ก็เข้าห้องเจริญฌานสมาธิ ขณะอยู่ในสมาธิ
    ก็ปรากฏรังสีสีทองในกระแสจิต มีกลุ่มแสงสีดีและดอกบัวก็มีจุดด่างดำ เมื่อเล็งดูด้วยทิพยจักษุ ก็ทราบว่ากลุ่มแสงสีดำก็คือกลุ่มเกลือ
    อุบาสกตกใจตื่นจากสมาธิ รำพึงว่า
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103


    พระอาจารย์สอนคนชอบยุ่งกับเรื่องของคนอื่น
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก



    [​IMG]


    อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น
    ภาวนามากๆ ดูตัวเองมากๆ
    หลวงพ่อ (พระโพธิญาณเถร) บอกว่า
    "ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 %"

    คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น
    คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น

    กลับเสียใหม่นะ
    ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 %
    ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น
    คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
    เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
    ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 %
    จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่


    ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง
    โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น
    ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา
    ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม

    มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย
    เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มากๆ

    เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
    เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
    จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
    เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมากๆ
    และตำหนิติเตียนตัวเองมากๆ
    แต่ถึงอย่างไรๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ

    พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
    ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมากๆ
    เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ
    แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ

    ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก
    รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
    เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็นๆ ไว้ก่อน
    ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่..... ไม่แน่
    อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
    เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
    สักแต่ว่า..... สักแต่ว่า..... ใจเย็นๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด

    ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน
    เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว
    จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
    พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
    ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด
    ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น
    ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง
    ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
    มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน
    ก็สงบๆ ๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิดๆ ๆ
    ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มากๆ
    พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา..... นั่นแหละ

    เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน
    เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
    ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อยๆ
    หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
    มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
    อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวันๆ ก็หมดแรง

    ระวังนะ
    พยายามตามดูจิตของเรา รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
    ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
    แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา..... ก็เรื่องของเขา
    อย่าเอามาเป็นอารมณ์
    อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา


    ดูใจเรานั่นแหละ
    พัฒนาตัวเองนั่นแหละ
    ทำใจเราให้ปกติ สบายๆ มากๆ
    หัด-ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
    ไม่มีอะไรหรอก
    ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
    คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข


     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    [​IMG]

    ทำอย่างไรจะทำให้ใจเป็นหนึ่ง

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<FONT size=3
    การที่เราเข้ามาศึกษาศีลธรรมชื่อว่าให้ตัวเองฉลาด ให้ตัวเองได้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้ ได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น ได้เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น ดีกว่าที่เราไม่เคยศึกษาเลย อย่างน้อยเราก็ฉลาดในเรื่องของศาสนา ฉลาดในการให้ทาน รักษาศีล ฉลาดในการภาวนาที่มีอุบายออกจากความวุ่นวายใจ อยู่บ้านครองเรือนเราวุ่นวายใจเหลือเกิน มีแต่ปัญหาร้อยแปดพันประการที่จะต้องเก็บเอามาคิดนึก ไม่มีเวลาว่าง ทำอย่างไร จะให้ใจสบายได้ ทำอย่างไรจะให้ใจเป็นสุขได้ เราก็ต้องหันหน้าเข้าหาธรรมะเพื่อปล่อยละวางจิที่เป็นกังวลให้สู่ความเป็น หนึ่ง
    เราต้องหัดทำใจให้สงบ รู้เนื้อรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ภาวนา
     
  5. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    บุญ/บาปทางอินเทอร์เน็ต(ดังตฤณ)


    ถาม
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 2 พฤศจิกายน 2550 9:44:44 น.-->อย่ามองข้ามเด็กปลายแถว

    <!-- Main -->[SIZE=-1]คุณครูทอมป์สันโกหกนักเรียนชั้น ป. 5 ของครูทั้งชั้นซะแล้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ตั้งแต่วันแรกเลย[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ด้วย คุณครูบอกเขาว่าครูรักเด็กๆ เท่ากันหมดเลย[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>แต่นั่นก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ามีเด็กตัวเล็กๆ ท่าทางขี้เกียจคนนึง [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ชื่อ เท็ดดี้ สต๊อดดารด์[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ครูทอมป์สันได้จับตาดูเท็ดดี้มาปีนึง และสังเกตว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เขาไม่ค่อยเล่นดี ๆ กับเด็กคนอื่นสักเท่าไหร่[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ว่าเสื้อผ้าของเขาสกปรก และเค้าตัวเหม็นหึ่งอยู่ตลอดเวลาด้วยแหละ [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และบางทีเท็ดดี้ก็เกเรด้วย ถึงขั้นที่ว่า ครูทอมป์สันสนุก[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>กับการตรวจงานของเท็ดดี้ ด้วยหมึกสีแดง กากบาทไป หนาๆ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และใส่ตัว F ตัวใหญ่ ๆ ลงไปบนหัวกระดาษ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>............ที่โรงเรียนที่คุณครู ทอมป์สัน สอน [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>คุณครูต้องทบทวนประวัติของเด็กแต่ละคนด้วย[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และครูก็ไม่ยอม ตรวจประวัติ ของเท็ดดี้จนกระทั่ง[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เหลือแฟ้มสุดท้าย แต่เมื่อคุณครูตรวจแฟ้มเข้า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ครูทอมป์สันก็ต้องแปลกใจ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>..........เมื่อพบว่าครูชั้น ป. 1 ของเท็ดดี้เขียนวิจารณ์ มาว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>"น้องเท็ดดี้เป็นเด็กที่ฉลาดและร่าเริง ทำงานเรียบร้อย[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>มารยาทดี เป็นเด็กที่ น่ารักมากทีเดียว"[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>...........คุณครูที่สอนเท็ดดี้ ตอน ป.2 เขียน ว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>"เท็ดดี้เป็นเด็กที่เรียนเก่งมาก เพื่อนๆ ชอบกันทุกคน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>แต่กำลังมีปัญหา เพราะแม่ของเท็ดกำลังป่วยหนักและ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ชีวิตทางบ้านต้องลำบากมาก แน่ๆ"[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>.............คุณครูที่สอนเท็ดดี้ตอน ป. 3 เขียนว่า [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>"เขาเสียใจมากที่ เสียแม่ไป เขาพยายามเต็มที่แล้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>แต่คุณพ่อก็ไม่ค่อยให้ความรัก ความสนใจเขา[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>สักเท่าไหร่[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และชีวิตที่บ้านเขาต้องส่งผลกระทบต่อเขาอย่างแน่นอน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ถ้าไม่มีคนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ" [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>..............คุณครูที่สอนเท็ดดี้ตอน ป.4 เขียนว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>"เท็ดดี้ไม่ยอมเข้าสังคม และไม่ค่อยสนใจการเรียนเท่าที่ควร[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ไม่ค่อยมีเพื่อน และหลับในห้องเรียน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>..............ตอนนี้ คุณครูทอมป์สันรู้ถึงปัญหาแล้ว และอับอาย [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ในการกระทำของตนเองมาก ครูรู้สึกแย่ยิ่งกว่าเดิมอีก[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เมื่อนักเรียนในห้องซื้อของขวัญวันคริสต์มาสมาให้[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ห่อในกระดาษสีสดๆ พร้อมผูกโบว์อย่างดี ยกเว้นแต่ของเท็ดดี้[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ของขวัญของเท็ดดี้ถูกห่ออย่างหยาบๆ [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ใน กระดาษลูกฟูกหนาๆ ที่ได้มาจากถุงใส่กับข้าว[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ครูทอมป์สันกัดฟันเปิดกล่องของเท็ดดี้ดูท่ามกลางกองของขวัญอื่น ๆ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เด็กบางคนเริ่มหัวเราะ ....[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เมื่อเห็นว่าเท็ดดี้ให้กำไลลูกปัดที่ ไม่ครบเส้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และขวดน้ำหอมที่เหลือน้ำอยู่ก้นขวดแก่ครู[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>แต่ครูก็หยุดเสียงหัวเราะของเด็ก ๆ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เมื่อครูเอ่ยขึ้นว่ากำไลเส้นนั้นสวยเพียงใด[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>สวมมัน ไว้ที่ข้อมือ และฉีดน้ำหอมไปบนข้อมือด้วย [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>โรงเรียนเลิกแล้ว แต่ เท็ดดี้ ยังไม่กลับบ้าน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เขาอยู่อีกนาน เพื่อที่จะพูดว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>"ครูทอมป์สันครับ วันนี้ครูตัวหอมเหมือนที่แม่ผม[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เคยหอมเลย ครับ"[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>........หลังจากที่นักเรียนทุกคนกลับบ้าน ครูทอมป์สัน [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ก็ร้องไห้อย่างนั้นเป็นชั่วโมง[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>จากวันนั้นเองคุณครูเลิกสอนหนังสือ เลิกสอนการเขียน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และ เลิกสอนเลขคณิต หากแต่คุณครูเริ่มสอนเด็กๆ แทน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>คุณครูทอมป์สันเอาใจใส่เท็ดดี้ เป็นพิเศษ [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เมื่อครูพยายามช่วยเขา จิตใจของเขาก็กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ยิ่งครูให้กำลังใจเท็ดดี้เท่าไหร่[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เขาก็ยิ่งตอบรับเร็วขึ้นเท่านั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>.......ภายในสิ้นปีนั้น[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เท็ดดี้ได้กลายเป็นเด็กที่ฉลาดที่สุดในห้อง [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และแม้ว่าคุณครูจะบอกว่าครูรักเด็กทุกคนเท่ากัน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>แต่เท็ดดี้ก็ได้กลายไปเป็น"ศิษย์โปรด"ของครู[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>........หนึ่งปีต่อมา คุณครูพบจดหมายอยู่ใต้ประตู[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>จดหมายนั้นมาจากเท็ดดี้ [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>บอกครูว่าคุณครูยังเป็นครูที่ดีที่สุดที่เขาเคยมี[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>........หกปีต่อ มาครูก็ได้จดหมายจากเท็ดดี้อีก บอกว่าเขาเรียน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>> จบ ม.ปลายแล้ว ได้ที่สามในทั้งระดับ และคุณครูยังคงเป็นครู[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ที่ดีที่สุดที่เขาเคยเจอมาในชีวิต [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>........สี่ปีหลังจากนั้น คุณครูก็ได้จดหมายอีก บอกว่าแม้ว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ชีวิตเขา จะลำบากบ้าง เขาก็ไม่ได้เลิกเรียนหนังสือ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และจะจบปริญญาตรีในเร็วๆ นี้ด้วย เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง(เหรียญทอง) [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และยังย้ำกับครูทอมป์สันว่า คุณครูเป็นครูที่ดีที่สุดและ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เป็นครูคนโปรดในชีวิตเขา[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>........จากนั้นสี่ปีผ่านไปแต่จดหมายอีกฉบับหนึ่งก็มา[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ครั้งนี้เขาอธิบายว่าหลังจากที่ [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เขาได้รับปริญญาตรี แล้ว[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เขาตัดสินใจที่จะเรียนต่ออีกนิด[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>จดหมายนั้น อธิบายว่าคุณครูยัง เป็นครูคนที่ดีที่สุดที่เขาเคยมี[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>แต่ตอนนี้ชื่อของเขายาว ขึ้นอีกหน่อย จดหมายนั้นลงชื่อว่า [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>นพ.ทีโอดอร์ เอฟ สต๊อดดารด์[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>........เรื่องยังไม่จบแค่นี้[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ฤดูใบไม้ผลินั้นก็ยังมีจดหมายมาอีก[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เท็ดดี้ บอกว่า เขาได้เจอสาวคนนึง และกำลังจะแต่งงานกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เขาอธิบายว่าพ่อของเขาได้เสียไป เมื่อสองสามปีก่อนและ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เขาสงสัยว่าคุณครูทอมป์สัน จะตกลงมานั่งในที่นั่ง สำหรับ[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>แม่เจ้าบ่าว ในงานแต่งงานหรือไม่[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>แน่นอนที่สุด ครูทอมป์สันก็มา และทายสิว่าเกิดอะไรขึ้น [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>คุณครูใส่กำไลข้อมือเส้นนั้น เส้นที่มีลูกปัดหายไปหลายลูก[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และต้องฉีดน้ำหอมที่เท็ดดี้จำได้ว่าแม่เขาฉีดตอน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ที่ฉลองเทศกาลคริสต์มาสครั้งสุดท้ายด้วยกัน[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ครูกับศิษย์กอดกันกลมเลย [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>และคุณหมอเท็ดก็กระซิบในหู[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>คุณครูทอมป์สันว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>"ขอบคุณมากนะครับคุณครูที่เชื่อในตัวผม[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ขอบคุณมากที่ทำให้ผมรู้สึกสำคัญ และแสดงให้ผมเห็น[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ว่าผมสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้" [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ครูทอมป์สันกระซิบตอบพร้อมน้ำตานองหน้าว่า[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>"หมอเท็ด เธอเข้าใจ ผิดแล้วแหละ เธอต่างหากที่สอนครู[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ว่า ครูสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ได้[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>ครูไม่รู้จักการสอนจนกระทั่งครูได้พบ ได้รู้จักเธอนั่นแหละ" [/SIZE]
    [SIZE=-1]>>............................................................................[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>..............[/SIZE]
    [SIZE=-1]>>เติมเต็มหัวใจของคนอื่นด้วยความรักเสียแต่ วันนี้..........[/SIZE]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=box-x&month=11-2007&date=02&group=5&gblog=5
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ตุลาคม 2008
  7. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,310

    ไม่ทราบว่าพระอาจารย์ท่านนี้เป้นครหรอครับอยากทราบประวัติท่านท่านเป็นคนประเทศอะไรเหตุใดสนใจบวชในไทยเห็นท่านมานานแล้วแปลกทำไมชื่อทื่นเป็นญี่ปุ่นนามสกุลคล้ายฝรั่งทานพูดไทยได้ด้วยหรอครับหรือแปลมา
     
  8. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840


    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    วัดป่าสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี



    [​IMG]

    คัดลอกจาก http://www.watpahsunan.org/maya/his_data.html
    http://www.geocities.com/mindpoet_i/pramitsuo.html
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-105.htm
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ท่านอุปสมบทในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหลวงพ่อเจ้าประคุณพระโพธิญาณเถร ( ชา สุภัทโท ) เป็นองค์อุปัชฌาย์
    ท่านเป็นสัทธิวิหาริกรุ่นแรกๆ ของหลวงพ่อชา สุภัทโท ได้จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ได้อุปัฏฐาก ดูแลหลวงพ่ออย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานด้วยความเคารพบูชาอย่างสูง ท่านอยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติซึ่งมี พระอาจารย์สุเมโธ (ปัจจุบันคือพระสุเมธาจารย์) เป็นหัวหน้าคณะ
    ตลอดระยะเวลา ที่ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ในประเทศไทยนั้นท่านบำเพ็ญเพียรมาหลายรูปแบบ และธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และที่ทุรกันดาร ในประเทศไทยท่านได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการธุดงค์เพื่อหาความสงบวิเวกไปตามภาคต่าง ๆ ท่านได้รู้จักและเห็นความเป็นอยู่ของคนไทยทั่วทุกภาค ทั้งรู้สึกสำนึกในความศรัทธา ความเสียสละ และความเคารพของคนไทยที่มีต่อพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีส่วนทำให้ท่านยิ่งเร่งทำความเพียรมากขึ้น
    การที่ท่านพระอาจารย์ได้มาประเทศไทย และได้บวชเป็นศิษย์ต่างชาติท่านหนึ่ง ของหลวงพ่อพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) นั้น เป็นเรื่องที่ "เป็นไปเอง" ตั้งแต่เด็กๆ ท่านคิดเสมอว่า "ชีวิตนี้น่าจะมีอะไรดีกว่านี้" ในที่สุดก็ได้ออกเดินทางท่องเที่ยว ไปประเทศต่างๆ วันหนึ่งไปถึงพุทธคยา เมื่อเห็นพระพุทธรูปที่พุทธคยาก็คิดว่า "นี่แหละคือสิ่งที่เราแสวงหา" จากนั้นท่านก็ได้ไปฝึกโยคะอยู่ที่สำนักโยคีแห่งหนึ่ง ในประเทศอินเดียนั่นเอง และก็เริ่มมีประสบการณ์โยคะบ้าง ท่านเกิดความพอใจ คิดว่าจะเป็นโยคีอยู่ที่อินเดีย ตลอดชีวิต แต่บังเอิญวีซ่าหมด มีคนแนะนำ ให้เดินทางมากรุงเทพฯ ต่อมาก็มีผู้แนะนำ ท่านให้ไปกราบหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ตั้งแต่บัดนั้น
    ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๓๒ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก พร้อมลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่นอีกองค์หนึ่งชื่อ พระญาณรโต ได้ออกเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อเดินธุดงค์จากสนามบินนาริตะ ถึง PEACE MEMORIAL PARK เมืองฮิโรชิมา การเดินธุดงค์ครั้งนี้ใช้เวลาทั้งหมด ๗๒ วัน เป็นการเดินทางด้วยเท้ากว่า ๑,๐๐๐ กิโลเมตร รวมการเดินทั้งหมดประมาณ ๒ ล้าน ๒ แสนก้าว หลังจากนั้นท่านจึงได้อยู่จำพรรษา ณ วัด SHINAGAWA-JI ในกรุงโตเกียว
    การเดินธุดงค์ครั้งนี้ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก และพระญาณรโต ตั้งใจเดินเพื่อเป็นการระลึกถึงสันติภาพของโลก และตลอดการเดินธุดงค์นั้นท่านยังคงเคร่งครัดต่อพระวินัยโดยไม่มีการยืดหยุ่น คือการไม่ถือเงิน และการฉันมื้อเดียวด้วยการอาศัยอาหารที่ได้จากการบิณฑบาตหรืออาหารที่มีผู้จัดถวาย นอกจากนั้นพระภิกษุทั้ง ๒ รูป ยังได้สมาทานการเดินธุดงค์โดยไม่มีการนั่งรถ นับตั้งแต่สนามบินนาริตะ จนถึงเมืองฮิโรชิมา ดังนั้นระหว่างการเดินทางท่านจึงได้ประสบและพบเห็นกับสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้ท่านหวลระลึกได้ว่าสันติภาพที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในโลกได้ก็ต่อเมื่อชาวโลกทั้งหลายละความเห็นแก่ตัว โดยการให้ทาน ๑๐ ประการ เป็นทานจักร แล้วสังคมของเรา โลกของเราก็จะมีแต่ความสงบ ความร่มเย็น โดยไม่ต้องสงสัย
    ในประเทศญี่ปุ่น เด็ก ๆ และเยาวชนได้รับการปฏิบัติราวกับเป็นสมบัติอันมีค่า เพราะชาวญี่ปุ่นถือว่าเด็กและเยาวชนคือทรัพยากรที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และด้วยความปรารถนาที่จะเห็นเด็กไทยมีโอกาสเหมือนเด็กญี่ปุ่นบ้าง พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก จึงได้ปรารภปัญหาดังกล่าวรวมทั้งความประสงค์ในการสงเคราะห์เด็ก ๆ ของไทยแก่ญาติโยมชาวญี่ปุ่น ซึ่งท่านเหล่านั้นเมื่อได้ฟังแล้วก็ยินดีสนับสนุนในการจัดหาทุนเพื่อโครงการนี้กันอย่างเต็มที่ โดยเริ่มแรกได้ถวายทุนมาเป็นจำนวนเงิน ๑๖๐,๐๐๐ บาท
    ดังนั้น ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ เมื่อพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เดินทางกลับถึงประเทศไทย ท่านจึงได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความดำริของท่านและการสนับสนุนจากสาธุชนชาวญี่ปุ่นให้คุณสิริลักษณ์ รัตนากร คุณวิชา มหาคุณ คุณสุขสันต์ จิรจริยาเวช และคุณดารณี บุญช่วย ฟัง ท่าน ๔ ท่านเห็นดีและสนับสนุนในกุศลเจตนาของพระอาจารย์และมีความเห็นว่าน่าจะได้ดำเนินการในรูปของมูลนิธิ คุณสุขสันต์ จิรจริยาเวช และผู้ช่วยคือคุณสุกัญญา รัตนนาคินทร์ จึงได้เริ่มจัดตั้งและจดทะเบียนมูลนิธิจนแล้วเสร็จ เป็นมูลนิธิมายา โคตมี ในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๓ โดยมีคุณมนูญ เตียนโพธิ์ทอง อนุเคราะห์สถานที่ให้เป็นที่ตั้งของมูลนิธิ
    ชาวอุบลได้อุปฐากท่านและพระอาจารย์องค์อื่นๆ ด้วยใจศรัทธา ท่านพูดถึงชาวบุ่งหวายและชาวบ้านก่อนอกว่า "เหมือนเป็นพ่อแม่พี่น้องของอาตมา ได้อุปการะเลี้ยงดูอาตมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร" และนี่คือที่มาของมูลนิธิมายาโคตมี ที่ท่านริเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2533 เพื่อช่วยเหลือให้ทุนการศึกษาและจัดอบรม จริยธรรมให้เด็กและครู อาจารย์ เป็นการตอบแทนบุญคุณคนไทย
    ท่านพระอาจารย์ได้เริ่มจัดอบรมอานาปานสติที่วัดป่าสุนันทวนารามเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 19-27 ตุลาคม พ.ศ.2539 และได้มีการจัดอบรมเป็นระยะๆ ตั้งแต่นั้นมา
    ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นวัดสาขา ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2008
  9. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ปกิณกะธรรม
    จากหนังสือ
     
  10. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ปกิณกะธรรม
    จากหนังสือ
     
  11. Shinray01

    Shinray01 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,310
    ขอบพระคุณครับสำหรับความรู้
     
  12. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    คั้นส้ม กวาดบ้าน ฯลฯ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ

    ยังคิดไม่ถูก ยังคิดไม่เป็น ยังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ
    ท่านอาจารย์สอน เมื่อเห็นเราหงุดหงิดขณะที่คั้นส้ม
    เพราะรู้สึกว่าเสียเวลามาก
    ท่านบอกว่า "ต้องทำความเห็นให้ถูกต้อง ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ"
    ทำงานต้องทำด้วยสติสัมปชัญญะและความพอใจ
    ขณะที่คั้นส้ม การคั้นส้มเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในโลก
    อย่างอื่นในโลกไม่สำคัญ

    ขณะที่กวาดบ้าน การกวาดบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในโลก
    อย่างอื่นในโลกไม่สำคัญ
    ขณะที่ทำอาหารให้ลูก การทำอาหารให้ลูกเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในโลก
    เรื่องอื่นในโลกไม่สำคัญ ฯลฯ

    คั้นส้มก็ให้รู้อยู่ว่าคั้นส้ม ให้สติอยู่กับการคั้นส้ม
    ให้ทำด้วยความพอใจ
    กวาดบ้านก็ให้รู้อยู่ว่ากำลังกวาดบ้าน
    ให้สติอยู่กับการกวาดบ้าน ให้ทำด้วยความพอใจ
    ทำอาหารให้ลูก ก็ให้รู้อยู่ว่ากำลังทำอาหารให้ลูก
    ให้สติอยู่กับการทำอาหาร ให้ทำด้วยความพอใจ ฯลฯ

    การคั้นส้มก็ดี การกวาดบ้านก็ดี การทำกับข้าวก็ดี
    การทำอะไรทุกๆ อย่าง ให้ถือเป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นหน้าที่
    ต้องเอาใจใส่ ทำด้วยความตั้งใจและทำดีที่สุด

    ทำเพื่อเพิ่มความดีของเราเอง
    ทำเพื่อตัวเราเอง
    ทำเพื่อขัดเกลากิเลสของเรา
    ทำเพื่อละทิฏฐิมานะของเรา

    อย่าคิดว่าทำให้คนอื่น
    อย่าคิดว่าต้องทำเพราะคนอื่นไม่ทำ
    อย่าคิดว่าต้องทำเพราะคนอื่นให้เราทำ
    อย่าห่วงว่าคนอื่นจะพอใจหรือไม่พอใจ
    เรามีหน้าที่ เราก็ทำให้ดีที่สุด คิดอย่างนี้เราก็ไม่เป็นทุกข์
    ใจก็จะสงบ มีปีติได้ตลอดเวลา เป็นสัมมาทิฏฐิ
    ภาวนาให้มากๆ นะ ปรับปรุงความคิดความเห็นของเราให้ถูกต้อง
    โยนิโสมนสิการ ยกอารมณ์กรรมฐานขึ้นพิจารณาบ่อยๆ นะ




    ขอขอบคุณ
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/mitsuo/mitsuo-01-03.htm

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริงเป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา ตามวัดส่วนใหญ่เขียนคำนี้ตามแบบภาษาบาลีว่า สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาทิฐิ ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค
    สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง คือเห็นว่าการให้ทานมีผลจริง การบูชามีผลจริง การเคารพบูชามีผลจริง ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง คุณของมารดามีจริง คุณของบิดามีจริง พวกโอปปาติกะ (พวกเกิดทันทีเช่นเทวดา) มีจริง สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง

    <!-- start content -->



    โยนิโสมนสิการ (อ่านว่า โยนิโส-มะนะสิกาน)ประกอบด้วย 2 คำ คือ
    • โยนิโส มาจากคำว่า โยนิ ซึ่งแปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญา อุบาย วิธี ทาง
    • มนสิการ หมายถึง การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>
    ดังนั้น โยนิโสมนสิการ จึงหมายถึง "การทำไว้ในใจโดยแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย" นั่นคือ ความเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธีถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือคิดถึงรากถึงโคนนั่นเอง แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี เป็นวิถีทางแห่งปัญญา เป็นธรรมสำหรับกลั่นกรองแยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าว (ปรโตโฆสะ) อีกชั้นหนึ่ง เป็นบ่อเกิดแห่งสัมมาทิฐิ ทำให้มีเหตุผล ไม่งมงาย <SUP class=reference id=cite_ref-1>[2]</SUP>ซึ่งคัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฎีกาได้แสดงไวพจน์แจกแจงความหมายเป็นแง่ต่างๆ คือ
    • อุบายมนสิการ เป็นการคิดหรือพิจารณาโดยอุบาย คือ การคิดอย่างมีวิธีหรือถูกวิธี ซึ่งหมายถึง การเข้าถึงความจริง สอดคล้องกับแนวสัจจะ ซึ่งทำให้รู้สภาวลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
    • ปถมนสิการ เป็นการคิดถูกทาง ต่อเนื่องเป็นลำดับ หมายถึง ความคิดที่เป็นระเบียบตามหลักเหตุผล ไม่ยุ่งเหยิงสับสน จิตไม่แว๊บติดพันในเรื่องนี้ แต่เดี๋ยวกลับเตลิดไปคิดอีกเรื่องหนึ่ง จิตยุ่งเหยิงนี้กระโดดไปมา ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่รวมทั้งความสามารถในการชักความนึกคิดไปสู้แนวทางที่ถูกต้อง
    • การณมนสิการการคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องตามลำดับ
    • อุปปาทกมนสิการ การคิดการพิจารณาให้เกิดกุศลธรรม เช่น การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น
    ไขความทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่างๆ ของความคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งการเกิดในแต่ละครั้ง อาจมีลักษณะครบทั้ง 4 ข้อ หรือเกิดครบทั้งหมด หรือเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนี้สั้นๆ ได้ว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล<SUP class=reference id=cite_ref-2>[3]</SUP>
    <SUP></SUP>
    สัมมาทิฐิ

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    (เปลี่ยนทางมาจาก สัมมาทิฏฐิ)
    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->
     
  13. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    เนื่องจากการทำบุญประจำเดือนพฤศจิกายนนี้ทางทุนนิธิฯได้ถวายเครื่องดูดเสมหะให้กับโรงพยาบาลที่ หลวงปู่แฟ็บ วัดป่าดงหวาย ได้ดำริให้สร้างขึ้น จำนวน 2 เครื่อง นับว่าเป็นบุญที่หาทำได้ยากเพราะได้ทั้งทำบุญสงเคราะห์พระและผู้เจ็บป่วยทั่วไป แถมยังได้ทำกับพระอริยะบุคคลที่หลวงตามหาบัวรับรอง ท่านใดประสงค์จะร่วมบุญพิเศษนี้ก็โอนเงินเข้าบัญชีทุนนิธิฯได้ครับ


    [​IMG]



    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่แฟ้บ สุภัทโท

    วัดป่าดงหวาย
    ต.ม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร


    ๏ อัตโนประวัติ

    “หลวงปู่แฟ้บ สุภัทโท” มีนามเดิมว่า ญาติ กุลวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช๒๔๖๕ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสอง ปีจอ ณ บ้านคำชะอี ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (จังหวัดมุกดาหาร ในปัจจุบัน) โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายพรหมมา และทุมมา กุลวงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ตามวิถีชีวิตชาวชนบทอีสาน ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน โดยท่านเป็นบุตรคนที่ ๕

    เพราะเหตุบางประการในการแจ้งชื่อในทะเบียนทหารกองเกิน เมื่อช่วงอายุ ๑๗-๑๘ ปี ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “แฟบ” และวันเวลาเกิดก็ผิดพลาดไปด้วย จึงต้องใช้ชื่อวันและเวลาเกิดใหม่จากนั้นเป็นต้นมา ต่อมาลูกศิษย์ลูกหาได้เรียกชื่อเพี้ยนเป็นหลวงปู่ “แฟ้บ” ไป

    หลวงปู่เป็นพระกัมมัฏฐานที่วัตรปฏิบัติเรียบง่ายปฏิปทาอันงดงาม ด้วยครองตนอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์อย่างสมถะ ไม่สะสมทรัพย์สินใดๆ มักน้อย ถือสันโดษ มีเมตตาธรรมสูง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น และเป็นร่มโพธิ์ทองของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย


    ๏ การศึกษาเบื้องต้น

    หลวงปู่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เมื่อมารดาถึงแก่กรรมตอนอายุได้ ๗ ปี บิดาได้แต่งงานใหม่ ทำให้หลวงปู่ต้องย้ายไปอยู่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ในสมัยนั้นหมู่บ้านอยู่ในชนบทห่างไกลมาก จึงไม่มีโรงเรียนทำไม่ได้รับการศึกษาต่อ ดังนั้นท่านจึงช่วยงานของบิดาเรื่อยมา จนถึงอายุ ๑๖ ปีจึงย้ายกลับมาอยู่กับพี่ชายคนที่ ๒ คือ นายบุญ กุลวงศ์ ที่บ้านเดิม

    ในวัยเยาว์นั้น มีเหตุการณ์ที่สร้างความประทับใจและปลูกศรัทธาความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาและพระธุดงค์กรรมฐานเป็นอย่างมาก เมื่อได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ ถ้ำจำปา บนภูผากูด อำเภอคำชะอี

    เนื่องจากหลวงปู่มั่นเห็นว่าการที่หลวงปู่เสาร์ปรารถนาบำเพ็ญบารมีเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น จะทำให้ล่าช้าต่อการบรรลุมรรคผลและนิพพาน เพื่อแนะแนวทางให้กับหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นจึงได้เดินทางมาที่ถ้ำจำปา บนภูผากูด ซึ่งหลวงปู่เสาร์ได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น ต่อมาท่านทั้งสองได้ออกเดินธุดงค์มาแวะใกล้บริเวณหมู่บ้าน หลวงปู่จึงมีโอกาสได้พบกับท่านทั้งสอง เพราะชาวบ้านไปถางป่าจัดทำสถานที่พักไปฟังเทศน์ หลวงปู่ก็ตามชาวบ้านไปด้วย หลวงปู่มีโอกาสช่วยงานต่างๆ และทำทางเดินจงกรมให้กับหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นด้วย


    การอุปสมบทครั้งแรก

    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย เป็นครั้งแรก ณ วัดในหมู่บ้าน ได้รับนามฉายาว่า “จันตโชโต” อุปสมบทได้เพียง ๒ พรรษาเท่านั้น โดยในพรรษาแรกได้เรียนภาษาบาลีจนสามารถอ่านออกเขียนได้ และในพรรษาที่ ๒ หลวงปู่อยากจะเรียนนักธรรมเพราะเมื่อได้นักธรรมโทแล้วก็จะลาสิกขาเพื่อไปเป็นครูสอนนักเรียน แต่พระครูต้องการให้เรียนพระปาฏิโมกข์ หลวงปู่ไม่ชอบจึงได้ลาสิกขา


    ๏ ชีวิตครอบครัว

    หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้ประกอบอาชีพค้าไหมจนมีเงินสะสมมากพอ จึงแต่งงานกับนางคำมา สุวรรณไตร พออายุได้ ๓๒ ปี จึงเปลี่ยนอาชีพมาทำนา และย้ายครอบครัวมาอยู่ที่บ้านบุ่งเลิศ ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด มีบุตร-ธิดารวมทั้งหมด ๑๒ คน คือ

    ๑. นางเหมือน กุลวงศ์ อาชีพแม่บ้าน
    ๒. พระอาจารย์ทองมาย อริโย
    วัดป่ากลางทุ่ง อำเภอบ้ายนดุง จังหวัดอุดรธานี
    ๓. นางทองสาย แก้วมาก อาชีพทำนา
    ๔. แม่ชีสมหมาย กุลวงศ์ ปัจจุบันอยู่ ณ วัดป่าดงหวาย
    ๕. นายอุดม กุลวงศ์ อาชีพรับราชการครู
    ๖. นายสมศักดิ์ กุลวงศ์ อาชีพรับราชการครู
    ๗. นายภักดี กุลวงศ์ อาชีพรับราชการทหาร
    ๘. พระอาจารย์ศรีธาตุ ฐานรโต
    วัดถ้ำมะค่า ตำบลคำเพิ่ม อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
    ๙. นายผดุง กุลวงศ์ อาชีพรับราชการตำรวจ
    ๑๐. นางคำซ้อน อินทัง อาชีพช่างเสริมสวย
    ๑๑. นางอ่อนจันทร์ ประเสริฐสังข์ อาชีพช่างเย็บผ้า
    ๑๒. นางวรรณา กุลวงศ์ อาชีพค้าขาย

    การดำเนินชีวิตในขณะนั้น หลวงปู่ประพฤติตนเป็นพุทธมามกะ โดยเป็นมัคทายกของวัดในหมู่บ้าน และยังเป็นหัวหน้าช่างก่อสร้าง ได้ออกแบบควบคุมการก่อสร้าง รวมถึงลงมือก่อสร้างกุฏิศาลา และกำแพงของวัดเองทั้งหมด โดยไม่รับค่าตอบแทนใดๆ เลย

    เมื่อครั้งที่นางคำมา ภรรยาของหลวงปู่ ตั้งครรภ์ที่ ๒ ได้ ๖ เดือน ในคืนหนึ่งหลวงปู่ฝันว่า กำลังจะเดินทางกลับบ้านหลังจากทำนาเสร็จแล้ว เกิดมีน้ำป่าไหลมา มองไปทางไหนก็มีแต่น้ำท่วมจนสุดสายตา แต่มีเนินดินที่น้ำท่วมไม่ถึงพอที่จะให้ขึ้นไปอยู่ได้ จึงไปอยู่ที่เนินดินนั้น ขณะที่หลวงปู่กำลังคิดว่าจะทำไงดีจะกลับบ้านได้อย่างไร ก็มีมีดพร้าเก่าๆ ลอยตามน้ำมาติดอยู่ใกล้ๆ กับท่าน หลวงปู่จึงหยิบขึ้นมาดูก็เห็นว่าเป็นมีดพร้าของท่านเอง จึงนำไปล้างน้ำจนมีดพร้านั้นเปลี่ยนเป็นเรือทองคำ หลวงปู่จึงขึ้นไปนั่งบนเรือทองคำนั้น แล้วเรือก็พาแล่นไปจนสามารถข้ามน้ำผ่านไปจนเจอถนนหนทาง เรือทองคำแล่นไปบนถนนราวกับเป็นรถยนต์

    เมื่อพิจารณาความฝันนั้นก็เห็นว่า “ลูกคนนี้คงเป็นผู้พาให้เราพ้นจากกองทุกข์เป็นแน่” ซึ่งลูกคนที่ ๒ นี้ คือ พระอาจารย์ทองมาย อริโย นั่นเอง

    ต่อมาหลวงปู่เห็นว่าลูกๆ เริ่มโตเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว แต่ละคนก็ได้รับการศึกษาที่ดีคงไม่มีใครคิดที่จะทำนา จึงหาทำเลที่เหมาะสมสำหรับประกอบอาชีพ หลวงปู่เห็นว่า อำเภอบานดุง จังหวัดอุดรธานี เหมาะสม หลวงปู่จึงได้ซื้อบ้านแล้วแล้วย้ายครอบครัวมาอยู่ที่นี่ พร้อมกับได้สร้างห้องแถวสำหรับให้เช่าขึ้น ๖ ห้อง ซึ่งหลวงปู่ลงมือสร้างด้วยตนเอง

    ในขณะที่วัยของหลวงปู่เริ่มมากขึ้น ร่างกายก็อ่อนแอลงไปด้วย แต่ยังต้องทำนาเพื่อเลี้ยงครอบครัวอยู่ ในวันหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังจูงควายไปทำนา ๒ ตัว ควายตัวนั้นหยุดยืนเพื่อถ่ายมูล ส่วนควายอีกตัวหนึ่งกลับดึงตัวหลวงปู่เซจนล้มลง เพื่อนบ้านมองเห็นเข้าจึงพูดกับหลวงปู่ว่า “เฒ่าแล้วจะทำไปทำไมนักหนา ไปทำบูญเข้าวัดเข้าวาได้แล้ว”

    เมื่อหลวงปู่ได้ยินเช่นนั้น ก็เกิดความสลดสังเวชตัวเองเป็นอย่างมากถึงกับน้ำตาไหลออกมา หลังจากนั้นมาทุกวันพระหลวงปู่จะไปทำบุญรักษาศีลที่วัดตลอด และได้ศึกษาการปฏิบัติภาวนา เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิ จนเกิดอัศจรรย์เป็นครั้งแรก ขณะภาวนาในเวลากลางคืน จู่ๆ ก็เห็นแสงขึ้นเหมือนฟ้าแลบ เป็นช่วงๆ แล้วเริ่มถี่ขึ้นๆ จนสว่างจ้าไปหมด หลังจากนั้นมาก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีก จึงไม่ได้สนใจเพราะไม่รู้จักอะไรลึกซึ้งนัก และไม่มีผู้ให้คำสอน

    ในขณะนั้นความรู้สึกของหลวงปู่มีแต่ความอยากบวช แต่ก็ติดอยู่ที่ครอบครัวจึงยังไม่มีโอกาส ครั้นต่อมานางคำมา สุวรรณไตร ภรรยาของหลวงปู่ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรควัณโรค ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เมื่ออายุได้ ๕๒ ปี ส่วนหลวงปู่อายุได้ ๕๙ ปี

    ๏ การปฏิบัติภาวนา

    หลังจากที่ภรรยาของหลวงปู่ถึงแก่กรรมไปแล้ว พระอาจารย์ทองมาย อริโย ได้พาหลวงปู่ไปอยู่ที่บ้านวังผา ตำบลสันมะค่า อำเภอป่าแด จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นโอกาสที่หลวงปู่สามารถปฏิบัติภาวนาได้อย่างเต็มที่ ในระยะแรกที่ไปนั้นมี พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร แห่งวัดป่าหมู่ใหม่ ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่, พระอาจารย์คำแพง อัตตสันโต แห่งวัดบุญญานุสรณ์ (วัดป่าหนองวัวซอ) ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี และ พระอาจารย์ทองมาย อริโย เป็นผู้ให้คำแนะนำ

    เมื่อใกล้จะเข้าพรรษา พระอาจารย์ประสิทธิ์ได้ย้ายไปพำนักจำพรรษาที่จังหวัดพระเยา จึงเหลือแต่พระอาจารย์คำแพงกับพระอาจารย์ทองมาย เป็นผู้ให้คำแนะนำกับหลวงปู่ ในระหว่างพรรษา ท่านอาจารย์ได้แนะวิธีปฏิบัติให้กับหลวงปู่ โดยไม่ให้นอนตอนกลางคืน ให้เดินจงกรม นั่งภาวนา แต่ตอนกลางวันให้พักผ่อนได้เป็นเวลา ๑ เดือน หลวงปู่ก็ปฏิบัติได้จนครบในเดือนแรก ต่อมาในเดือนที่สองให้ฝึกนั่งภาวนาอย่างเดียว ในเวลากลางคืนไม่ให้ลุก ไม่ให้ขยับหรือพลิกตัว โดยค่อยๆ อนุโลมไปเรื่อยๆ เช่น ในคืนแรกขยับตัวกี่ครั้งให้นับไว้ คืนต่อไปต้องขยับตัวให้น้อยกว่าในคืนแรก และค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ หลวงปู่สามารถทำได้โดยไม่ขยับตัวเลยได้ภายใน ๒๐ วัน และทำไปจนครบระยะเวลาในเดือนที่ ๒

    ในเดือนที่ ๓ เมื่อสามารถนั่งภาวนาได้ตลอดคืนแล้ว พระอาจารย์คำแพงจึงแนะนำให้หลวงปู่ตั้งสัจจะโดยกล่าวว่า “ใน ๗ คืนของการนั่งภาวนานี้ ถ้าข้าพเจ้าขยับก็ขอให้รุกขเทวดา พระภูมิเจ้าที่ พระแม่ธรณี จงถอนลมหายใจของข้าพเจ้าให้ตายไปในเวลานั้นทันที ยกเว้นแต่ว่ามีการปวดถ่ายต่างๆ” ในคืนแรกๆ หลวงปู่นั่งไปได้ประมาณ ๒-๓ ชม. เกิดเวทนาขึ้นมาอย่างหนัก ซึ่งในขณะที่เคยได้ฝึกปฏิบัติก่อนที่จะตั้งสัจจะไม่เคยเป็นอย่างนี้ ไม่มีการปวดถ่ายเลย ซึ่งปกติในแต่ละคืนนั้นจะต้องปวดถ่ายบ้างซักครั้งสองครั้ง แต่นี่มีเวทนาเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา จนตัวสั่น น้ำตา น้ำมูกไหลท่วมเต็มไปหมด แต่ด้วยสัจจบารมีและขันติบารมีของหลวงปู่ ท่านจึงอดทนอยู่ได้จนถึงเช้า

    เมื่อผ่านพ้นไปห้าคืน ในคืนที่ ๖ ไม่มีเวทนาเกิดขึ้นเลย มีแต่อาการมึนชาของร่างกาย และมีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้น มีลมดันขึ้นมาจากขากับมือทั้ง ๒ ข้าง เหมือนน้ำที่ไหลอยู่ในสายยางจนเข้ามาจุกอยู่บริเวณหน้าอก ความคิดของหลวงปู่ในตอนนั้นมีแต่ว่า “ตายแน่ๆ เราต้องตายแน่ๆ” หลวงปู่ควบคุมสติจนรู้สึกว่าลมนั้นได้เลื่อนมาจุกอยู่บริเวณคอหอย ความรู้สึกต่างๆ เวทนาต่างๆ หายไปหมด ว่างไปหมด หลวงปู่บอกว่าในตอนนั้นว่างไปหมด ไม่มีสังขาร ไม่มีเวทนา มีแต่จิตล้วนๆ เพราะเมื่อมองดูร่างกายก็ไม่มี เห็นแต่ผ้าปูนั่ง มีแต่ผู้รู้อย่างเดียว ก็คิดไปว่า “นี่ เราคงจะตายไปแล้ว”

    เมื่อมองไปรอบๆ ก็เห็นพระอาจารย์ทั้ง ๓ นั่งอยู่ตรงหน้า (พระอาจารย์ประสิทธิ์ , พระอาจารย์คำแพง และพระอาจารย์ทองมาย) หลวงปู่จึงเข้าไปกราบพระอาจารย์ทั้ง ๓ พร้อมคิดว่า “นี่ ครูบาอาจารย์คอยดู เราอยู่ตลอด” เมื่อกราบเสร็จจิตก็ถอนออกจากสมาธิ

    ความรู้สึกตอนนั้นจิตใจปลอดโปร่ง แล้วก็มานั่งทบทวนพิจารณาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อทบทวนไปๆ จิตก็เกิดเข้าสมาธิอีกครั้ง จนถึงเวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. จิตจึงได้ถอนจากสมาธิอีกครั้ง จึงรีบไปเล่าเหตุการณ์และอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้กับพระอาจารย์ฟังจนพระอาจารย์กล่าวชมและให้หลวงปู่รักษาไว้ให้ดี ต่อจากนั้นมาการภาวนาจิตของหลวงปู่ก็จะสงบเป็นสมาธิ ตลอดจนมีนิมิตต่างๆ เกิดขึ้น เช่น

    นิมิตที่ ๑ ปรากฏเห็นเป็นผู้หญิงสาวมาเต้นระบำรำฟ้อนอยู่ใกล้ๆ กับหลวงปู่อย่างสนุกสนาน หลวงปู่เกิดความเบื่อหน่ายสลดสังเวชกับนิมิตที่เห็น ไม่ได้หลงไปในความเพลิดเพลินสนุกสนานนั้น เมื่อคิดเช่นนี้นิมิตเหล่านั้นก็ไม่เกิดขึ้นอีกเลย

    นิมิตที่ ๒ เห็นดวงแก้วสว่างไสว มีขนาดใหญ่ประมาณล้อเกวียนมาวนอยู่รอบตัวของหลวงปู่ ๓ รอบ แล้วมาลอยอยู่ตรงหน้า ดวงแก้วนั้นมีแสงสว่างสดใส เจิดจ้าดุจพระอาทิตย์ ลอยอยู่อย่างนั้น จนจิตถอนออกจากสมาธิ หลวงปู่มีความสงสัยกับนิมิตที่เกิดขึ้น จึงไปขอคำแนะนำจากอาจารย์คำแพง ซึ่งท่านได้แนะนำว่าให้แต่งขันธ์ ๕ แล้วให้อัญเชิญมาที่ขันธ์ ๕ อย่าไปไล่จับอย่าไปบีบ เพราะจะเป็นตัณหาความอยาก แล้วให้อัญเชิญเข้าตัว ถ้าเป็นดวงธรรมของเราก็จะทำสำเร็จ

    นิมิตที่ ๓ หลังจากได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์แล้ว หลวงปู่รีบปฏิบัติตามจนปรากฏดวงแก้วอีกครั้ง หลวงปู่ได้อธิษฐานคำอัญเชิญ “ถ้าเป็นดวงธรรมของข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาหลายภพหลายชาติแล้ว ขอให้มาอยู่ที่ขันธ์ ๕ นี้” หลังจากนั้นดวงแก้วก็ลดขนาดลงจนมีขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยแล้วลอยลงมาอยู่ที่มือ หลวงปู่จึงได้อัญเชิญอีกครั้ง ในครั้งนี้ได้เข้าไปในตัวของหลวงปู่ และมีเสียงพูดขึ้นมาว่า “ยังไม่เข้าหรอกเพราะยังไม่มีมรรค ๘ ถ้ามีมรรคเมื่อไรแล้วจะมา” หลังจากนั้นจึงไปเล่าให้พระอาจารย์ฟังอีกครั้ง ท่านชมว่า “อย่างนี้ร้อยคน พันคน จะมีสักคนหนึ่ง รักษาไว้ให้ดีนะ”

    ๏ พบหลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    เมื่อออกพรรษาแล้วได้กลับมาอยู่บ้านที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ต่อมาลูกชายคนที่ ๗ คือ นายภักดี กุลวงศ์ จะแต่งงาน หลวงปู่ได้ไปจัดงานแต่งงานตามประเพณี เมื่องานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระหว่างการเดินทางกลับจากงานแต่งงาน หลวงปู่ได้แวะไปที่วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร ซึ่งมีหลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นเจ้าอาวาส หลวงปู่จึงขอพักปฏิบัติภาวนาสัก ๓ วัน ตอนเช้าในเวลาที่พระกำลังจะฉันจังหัน หลวงปู่หล้าได้ให้เณรจัดแต่งภาชนะและที่นั่งทานอาหารไว้ให้หลวงปู่ โดยให้นั่งอยู่ต่อจากเณร แต่หลวงปู่เห็นว่าไปทานที่โรงครัวจะดีกว่า

    หลวงปู่หล้าจึงพูดว่า “ไม่ได้ นี่ไม่ใช่โยมนะ นี่มันดีกว่าเณรอีกนะเนี่ย” แล้วท่านยังหันไปพูดกับพวกญาติโยมที่มาจังหันที่วัด ว่า “พวกเจ้ามัวแต่เฝ้าต้นเฝ้าลำอยู่เฉยๆ ไม่ได้อะไร แต่คนที่จะเอาไปกินนี่ ! ผู้นี่” แล้วชี้ไปที่หลวงปู่ ทำให้หลวงปู่รู้สึกเขินอายอยู่ไม่น้อย

    เมื่อกลับบ้านมีชาวบ้านผู้รู้ถึงกิตติศัพท์ของหลวงปู่ จึงได้พากันมาขอให้หลวงปู่เทศนาให้ฟัง ซึ่งหลวงปู่ก็เทศนาเกี่ยวกับการรักษาศีล การทำบุญทำทานตลอดมา ในช่วงเวลานั้นหลวงปู่มีแต่ความตั้งใจและความรู้สึกอยากจะออกบวช ครั้นเมื่อหลวงปู่จัดการธุระและภาระต่างๆ ที่ยังคั่งค้างอยู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่จึงเดินทางไปเข้านาคอยู่ที่วัดอรัญญิกาวาส ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี กับท่านเจ้าอธิการสมจิต หลวงปู่เข้านาคเป็นเวลาอยู่ ๑ เดือน แล้วจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสมดังที่ได้ตั้งใจไว้


    อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต

    หลวงปู่แฟ้บได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ พัทธสีมาวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านพระครูอุดรคณานุศาสน์ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระมหามี สุทัสสี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านเจ้าอธิการสมจิต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สุภัทโท” แปลว่า “ผู้ประพฤติงาม”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 พฤศจิกายน 2008
  14. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ลำดับการจำพรรษา

    พรรษาที่ ๑ หลวงปู่จำพรรษาที่วัดอรัญญิกาวาส หลวงปู่ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและบทสวดต่างๆ อย่างขะมักเขม้น ทำให้มีเวลาในการปฏิบัติภาวนาน้อยและทำให้สมาธิเสื่อมหายไป แต่ก็ยังรักษาการปฏิบัติไว้อย่างต่อเนื่อง หลวงปู่มีโอกาสไปฟังธรรมเทศนาจาก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นประจำ เพราะท่านเจ้าอธิการสมจิต มีศักดิ์เป็นหลานของหลวงปู่เทสก์ ทำให้หลวงปู่ได้ใกล้ชิดครูบาอาจารย์และเข้าฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ นอกจากหลวงปู่เทสก์แล้ว ยังมีครูบาอาจารย์รูปอื่นๆ อีก ที่หลวงปู่ได้เข้าฝากเนื้อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ เช่น หลวงปู่ชอบ ฐานสโม และหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว ญาติของหลวงปู่ซึ่งอยู่ที่บ้านบุ่งเลิศ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ถึงแก่กรรม หลวงปู่จึงเดินทางไปช่วยงานศพจนกระทั่งเสร็จสิ้น แล้วหลังจากนั้นจึงได้เดินทางไปปฏิบัติภาวนาอยู่ที่ ณ ถ้ำจำปา ซึ่งเป็นสถานที่ที่หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นเคยไปพำนักเพื่อปฏิบัติภาวนาอยู่ เมื่ออยู่ที่นี่หลวงปู่เร่งภาวนาอย่างหนัก เดินจงกรมวันละไม่ต่ำกว่า ๑๐ ชั่งโมง นั่งภาวนาตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเช้า อยู่ ๔ ถึง ๕ วัน จึงออกบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง ปฏิบัติอย่างนี้จนได้สมาธิกลับคืนมาและเกิดนิมิตต่างๆ เช่น มีเทวดามานั่งอยู่รอบๆ กราบนมัสการหลวงปู่ทุกคืน บางคืนเทวดาก็นิมนต์ไปเทศนาบ้าง ไปบิณฑบาตบ้าง

    พอรุ่งเช้า หนทางที่เหล่าเทวดาเดินทางมาหาหลวงปู่นั้นมีแต่หน้าผาและภูเขาทั้งนั้น จึงเป็นเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์อยู่ ที่พักของหลวงปู่จะมีท่อน้ำเก่าๆ แต่ไม่มีน้ำไหลออกมา ทำให้หลวงปู่คิดว่าคงต้องลงไปเอาน้ำจากข้างล่างขึ้นมา พอจะลงไปก็มีน้ำไหลออกมาเองเต็มโอ่งน้ำที่รองอยู่พอดี และเมื่อเวลาน้ำหมดก็จะมีน้ำไหลออกมาอย่างนี้ทุกครั้ง


    พรรษาที่ ๒, ๓ และ ๔ หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีอุดม อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ย่อหย่อน และจริงจังตลอด ไม่ว่าแดดจะร้อนหรือฝนจะตกอย่างไรก็ตาม

    ในคืนหนึ่งตอนต้นพรรษาที่ ๓ หลวงปู่ได้ฝันว่าหลวงปู่มั่นมาจับแขนดึงให้ตามไป โดยมีหลวงปู่เสาร์เดินนำหน้าไปก่อนแล้ว หลวงปู่มั่นกล่าวว่า
     
  15. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    <TABLE cellSpacing=20 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    ตลอดเวลาที่ออกธุดงค์หรือจำพรรษาในที่ต่างๆ แต่ละปี แต่ละพรรษาหลวงปู่จะระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์คือหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี อยู่เสมอ และไปกราบนมัสการเยี่ยมท่านอยู่เป็นประจำ จนในพรรษาที่ ๑๑ หลวงปู่เทสก์ได้บอกกับหลวงปู่ว่า ​
     
  16. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    พี่พันวฤทธิ์ครับภาพหลวงพ่อทับ วัดอนงค์ที่ให้หา

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    ต้องขอขอบคุณทั้งน้องโอ๊ตและคุณโสระด้วยที่ช่วยมาดูแลทางเวบ พร้อมอัพเดทข้อมูลและบทความต่างๆ ให้ บางทีอาจจะยกหน้าที่สรรหาสาระและบทความต่างๆ นี้ให้เลยก็ได้ เพราะนับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 3/11 นี้ ผมต้องไปรับตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้นตามที่บริษัทจัดเตรียมไว้ให้จากหน้าที่ทำงานในปัจจุบัน คือตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียนที่มี scale ขนาดปานกลาง และเป็นโรงเรียนทางด้านอาชีวะศึกษาที่มีทั้งเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ที่ จ.ระยอง งานบริหารโรงเรียนต้องใช้ความสามารถเยอะ เวลาที่จะมาเคาะคอมพ์คงน้อยลง เสาร์-อาทิตย์ก็ไม่รู้ว่าจะแบ่งเวลาให้มากขนาดไหน แต่ยังไงก็ต้องทำงานให้ทุนนิธิฯ ต่อไป อย่างที่มีเจตนารมย์ไว้ พระสงฆ์ท่านยังรอความช่วยเหลืออีกเยอะครับ ยังไงวันอาทิตย์ที่ 9/11 นี้ ยังคงเดิมครับ วันนี้จะไปเบิกเงินกับนายสติ ตามแผนงานที่วางไว้ 55,000.-บาท คาดว่าสัปดาห์หน้านี้จะโอนถวายตาม รพ.ต่างให้ทั้งหมด ขอแจ้งให้ทราบแค่นี้ก่อนครับ

    พันวฤทธิ์
    1/11/51
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2008
  18. narin96

    narin96 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +28
    ขอแสดงความยินดีกับคุณพันวฤทธิ์ ด้วยนะครับ ในการรับตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนแห่งใหม่ ขอให้มีความสุขกับการบริหารการศึกษาครับ
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    สิ่งเตือนใจ


    <!-- Main -->[SIZE=-1][​IMG]

    คติสอนใจ
    ความรู้มาก ๆ บางทีเหมือนกำแพงอิฐที่เรียงตัวสูง ความรู้สูง กำแพงสูง ความรู้รอบด้าน ก็เหมือนกำแพงสูงรอบตัว บางครั้งมันอาจทำให้มองออกไปไม่เห็นอะไร นอกจากอิฐที่ตนเองก่อขึ้นมา
    กลิ่นของความรัก ก็เช่นเดียวกับห้องน้ำ เข้าไปแรก ๆ จะรู้สึกว่าได้กลิ่น อยู่ในนั้นนาน ๆ ไปจะเคยชิน จนลืมว่ามีกลิ่นนั้นอยู่ จนกว่าจะออกมาจากบริเวณนั้นและกลับเข้าไปใหม่
    ถ้าเรารักใครสักคน เราควรเปิดโอกาสให้เขาได้ทำผิดหลาย ๆ ครั้ง เพราะเราเองก็ต้องการโอกาสอย่างนั้นเช่นกัน อย่าบอกเลยว่าเป็นคนดี ความหยิ่งยโส ก็มีอยู่ในคนถ่อมตัว ครูที่สอนนักเรียน ก็มีความโง่ ซ่อนอยู่ ความขลาดกลัว ก็มีอยู่ในนักมวยแชมป์โลก ความเบื่อหน่าย ก็มีอยู่ในพนักงานต้อนรับที่กระตือรือร้น ความเห็นแก่ตัว ก็มีอยู่ภายในใจของนักสังคมสงเคราะห์ มันอยู่คู่กัน รอวันปรากฏตัวออกมา
    ถ้าสันดานห่วย ๆ มันเป็นกระดาษ เรามีแค่หินทับกระดาษคนละก้อน ลมกิเลสพัดมา ก็ขึ้นกับว่าก้อนหินของใครก้อนใหญ่พอที่ทับมันไว้ ไม่ให้ปลิวเพ่นพ่านเท่านั้นเอง . . .
    [/SIZE]


    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=ladygirl&month=29-10-2008&group=2&gblog=6

     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    ตัวอย่างที่ไม่ควรทำ

    [​IMG]

    [SIZE=-1]เล่นกับจิตสัมผัส[/SIZE]
    [SIZE=-1]
    <!-- Main -->[SIZE=-1]จริงๆ แล้วค่อนข้างเป็นเรื่องปกติ ของผู้เจริญสติ อาจมีอิทธิพลจากอนุสัยในอดีตชาติ ที่เคยเล่นอภิญญามาก่อน แต่ถึงอย่างไร ระดับจิตของพระโสดาบันท่านนั้น สามารถ "อ่านใจ" คนอื่นได้เป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่อ่านจิต หรือสัมผัสเพียงผิวเผินว่า คนๆ นั้นกำลังรู้สึกสุขทกข์อย่างไร แต่อ่านได้เป็นคำๆ เลยทีเดียว

    แต่จะว่าไป สำหรับผมเองนั้น เหมือนเป็นอนุสัยเดิมอยู่แล้ว เพราะเดิมก็คุ้นเคยที่จะสังเกตุนิสัยใจคอ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึกคนอื่นอยู่แล้ว แต่กับกัลยาณมิตรผู้ปฏิบัติ รวมทั้งกับแฟนผม ผมก็มักจะใช้อนุสัยตรงนี้ ไว้คอยเตื่อนว่า อ๊ะ ตอนนี้เผลอไปแล้วนะ ตอนนี้กำลังอินนะ ตอนนี้มีปีตินะ

    พอทำบ่อยๆ จิตมันก็คุ้นกับการวิ่งไปดูคนอื่น ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีนัก เพราะส่วนมากจะเสริมกิเลส แบบ ปรามาสคนอื่น หรือทุกข์แทนคนอื่น ตลอดจนเพิ่มานะอัตตาของตนเองให้เข้มข้นยิ่งขึ้น น้อยครั้งที่จะย้อนกลับมาดูจิต หรือดูเจตสิกของตนเอง ว่ากำลังชอบหรือไม่ชอบ กำลังหงุดหงิดอารมณ์เสียอยู่แต่บ้างครั้ง ก็ใช้เวลาเห็นผู้หญิงสวยๆ ...แทบจะทั้งหมดเลย จิตใจสกปรกมอมแมมเหลือเกิน เลยหมดสวยไปเลย... อันนี้ก็ดูเข้าท่าดีนะ

    ทีนี้ พอไปที่วัด เวลาไปทำบุญทำทาน ด้วยข่าวคราวสมัยนี้ หลายๆ คนคงสงสัยเหมือนกันว่า เอ ที่เราทำๆ ให้ท่านเหล่านั้น ท่านป็น "พระ" เปล่าน้อ ซึ่งคนทั่วไปไม่มีทางรู้ได้เลย... เอาล่ะซิ ทีนี้ ดูจิตเป็น ก็เอาใหญ่...

    เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไปทำบุญคุณปู่คุณย่าที่พิษณุโลกมา ก็นิมต์หลวงพ่อมาตามปกติ พอผมช่วยที่บ้านเตรียมข้าวของเสร็จ ก็มานั่งฟังสวดอยู่มุมหนึ่งของศาลา ก็เอาเลย... ทั้งอยากรู้ว่าท่านทั้งหลายเป็นอย่างไร ทั้งอยากรู้ว่าเราดูคนอื่นได้จริงหรือไม่ ก็ค่อยๆ ไล่ดูที่ละรูป จากท่านสามเณร พรรษาน้อยๆ ก่อน... อืม... ท่านเณร 2 รูปนี้ดูมอมแมมอยู่ หลวงพ่ออีก 2 ท่านก็กำลังเผลอเหม่ออยู่ ท่านต่อมาเพ่งจนแข็งเลยแฮะ สงสัยทำสมถะ อืมมม ก็ยังดีนะ ถึงจะยังไม่ได้เจริญวิปัสสนา ก็กำลังปฏิบัติอยู่ล่ะ ไม่ได้อยู่เฉยๆ อีกท่านนึงก็กำลังหลงไปคิดอะไรอยู่ ดูมีเรื่องคิดเยอะทีเดียว จนท่านที่เป็นประธานสงฆ์ ดูตั้งใจประกอบพิธีกรรมอยู่ เพ่งและคิดไปพร้อมๆ กัน... ก็ไม่ได้ยินดี เหมือนจะรู้ทันหน่อยๆ ว่า อือ เราดูจิตได้ ก็รู้ว่าเราดูได้ ก็เท่านั้น

    เมื่อวานนี้ ก็ไปใส่บาตรตอนเช้า ที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน ตามปกติ ก็เอาอีก พอท่านเดินมารับบาตร ก็น้อมจิตไปดู... ไม่เจออะไรแฮะ ดูภายนอกท่านก็สงบเรียบร้อยดี ก็งงๆ หน่อยว่า เอ สัมผัสอะไรไม่ได้เลย... แต่ก็แล้วไป ไม่ได้เอามาใส่ใจ ไม่ได้ก็ไม่ได้ จิตก็คงไม่เที่ยง เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง... ก็นั่งยองๆ ชันเขาขึ้นนิดหน่อย ใส่บาตรตามปกติ เพราะผมรู้สึกให้ความเคารพท่านมากกว่ายืนใส่ พอท่านเดินมารับบาตร ท่านก็ว่า "ลุกขึ้น ลุกขึ้น"... หืออ... งง อ้าว นั่งไม่ได้เหรอ ก็งงๆ ลุกแล้วก็ใส่บาตร... แต่ขณะนั้นสัมผัสได้ถึงความ "ดุ" เหมือนเราโดนผู้ใหญ่ตำหนิ... โวว... นี่เราเจอพระอริยะรึเปล่าเนี่ย กลับมาคุยกับกิ๊บต่อ มาทบทวนจิตสัมผัสตอนที่ท่านดุเอา ท่านคงไม่ได้ดุว่าที่นั่งใส่บาตรนี่ผิดหรอก แต่ท่านคงดุเอาว่า ที่ทำอยู่น่ะผิด อย่าส่งจิตออกนอกไปดูคนอื่น ดูตัวเองพอแล้ว... ไม่พอ โดนกิ๊บดุอีก... ไม่ทำอีกแล้วคร๊าบบบ

    เข้าใจแล้วว่า สมัยพุทธกาล ทำไมเวลาพระพุทธเจ้าเทศน์โปรดบางคน ด้วยคำพูดรวมๆ ดูกำกวม แล้วคนๆ นั้น เข้าใจธรรมที่ท่านสอนได้เป๊ะ... คงเป็นการสื่อสารทางจิตมากกว่าแค่คำพูด เหมือนอย่างนี้

    เข้าใจแล้วว่า ถ้าน้อมใจไปดูจิตของพระอริยะแล้ว จะเป็นอย่างนี้นี่เอง... ไม่มี ไม่มีอะไร ว่างๆ เพราะถ้าอย่างน้อย ท่านเป็นพระโสดาบัน ภูมิของท่านคือ "จิตนี้ไม่ใช่ของเรา กายนี้ไม่ใช่ของเรา จริงๆ เราไม่มี" เพราะงั้น ผมซึ่งเป็นปุถุชน มองพระอริยะ ย่อมเห็นว่าท่าน "ไม่มี"... แต่ถ้าพระอาจารย์ปราโมทย์มามอง ท่านคงเห็นจิตของพระอริยะชั้นต้นไหวๆ อยู่บ้าง ตามภูมิของแต่ละท่าน...

    แต่ไงๆ ก็ ไม่เอาแล้วคร๊าบ[/SIZE]
    [/SIZE]
     

แชร์หน้านี้

Loading...