ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    ...ข้อคิดพินิจธรรม...



    การสัมผัสความรู้สึกตัวอยู่กับกายกับใจของเรา
    ก็คล้ายกับว่ามันปลอดภัย มีที่อาศัย ที่พึ่ง
    เวลาใด ที่เราจะหลง เราก็ไม่หลง เพราะได้สัมผัสกับสติ สัมผัสกับความรู้สึกตัว จึงรู้ว่าความโกรธเป็นอย่างไร ความหลงเป็นอย่างไร
    เปรียบเหมือนคนเราที่เห็นกันนานๆ ที่เป็นเพื่อนเป็นมิตรกัน
    ถ้าเราเห็นกันนานๆ คบกันนานๆ แทนที่เราจะเห็นกันเฉยๆ
    รู้จักหน้าตากันเฉยๆ มันไม่ใช่แค่นั้น มันเกี่ยวข้องกันมากกว่านั้นอีก
    มันจะเข้าไปรับผิดชอบ ไปปกป้อง ไปคุ้มครอง ไปช่วยเหลือ
    เช่นสามีภรรยา แต่ก่อนก็เป็นลูกคนอื่น ลูกสาวคนอื่น ลูกชายคนอื่น
    พอมาอยู่ด้วยกันนานๆ ก็เหมือนเป็นคนคนเดียวกัน
    เราจะปกป้อง คุ้มครอง ป้องกันรักษา ไม่ต้องขอร้อง แต่เป็นหน้าที่
    ธรรมก็เหมือนกัน ถ้าเราคบกับธรรมหรือคบกับความรู้สึกตัวนานๆ
    มันจะเป็นอย่างนั้น นี่คือหลักของภาวนา

    หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
    วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ

    ความปรารถนานั้น มาพาขาเดินไป ดับความปรารถนาดับความต้องการเสีย
    แล้วก็มานั่งเพ่งพินิจพิจารณา
    ตั้งแต่เราเดินนั้น เราปรารถนาอะไร
    ความปรารถนานั้นเป็นอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน ถ้าเป็นอดีตที่ล่วงเลยไปแล้วก็ไม่มีตัวตน ไม่มีหัว ไม่มีขา ไม่มีบ้านช่องห้องพอ
    เราจะไป ปรารถนาเอาเรื่องที่เป็นอดีตมาเป็นอารมณ์ แล้วจะเกิดผลประโยชน์อันใด

    หลวงปู่คำพอง ติสฺโส
    วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี

    การบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ถ้าไม่มุ่งหวังที่จะทำลายกิเลสตัณหาให้หมดไป ให้สิ้นไปแล้ว ก็ไม่มีทางพ้นไปจากทุกข์ พ้นไปจากโลกนี้ได้
    ถ้าเราบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา มุ่งหวังที่จะทำลายกิเลสตัณหาอย่างเดียวให้หมดให้สิ้นไป คือที่ว่าพ้นไปจากโลก เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันที่ดับทุกข์โดยแท้
    ไม่ต้องมีความสงสัยเลย

    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) จ.หนองคาย

    การเจริญกรรมฐานต้องการให้เกิดความอบอุ่น
    ผู้ใดมีปัญญาในตัว ผู้นั้นอบอุ่น เหมือนมีกระแสไฟในตัว มันจะอบอุ่นอยู่เสมอ มันจะไม่ไร้สาระ อบอุ่นใจ คนที่อบอุ่นใจมีร่มโพธิ์ร่มไทรเป็นที่พึ่ง
    คือ สมาธิ มีสติแก้ปัญหาได้ ยากดีมีจนประการใดก็มีสุขตลอดไป

    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
    วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

    (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 91 มิ.ย. 51)
    คัดลอกจาก...ผู้จัดการออนไลน์
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    ช่วงนี้ในเวบพลังจิตในหมวดพระเครื่อง-วัตถุมงคล มีการอัพเดท และเปลี่ยนแปลงระบบฐานข้อมูลตามที่เวบมาสเตอร์ได้ชี้แจงไว้อยู่บ้าง จึงทำให้บางโพสท์ในกระทู้สงเคราะห์สงอาพาธอาจเพี้ยนไปเช่นรูปหาย ข้อความหัวเรื่องหาย ฯลฯ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าตามแก้ไม่ไหว ก็คงต้องปล่อยเลยตามเลย ซึ่งทางเวบมาสเตอร์ก็ยังไม่ได้ไล่กระทู้เราออกไป อาจเป็นเพราะความตั้งใจของกระทู้เราที่มุ่งช่วยเหลือพระสงฆ์อาพาธเราก็ได้ อีกอย่างกระทู้เราก็พยายามลงข้อมูลที่เป็นเนื้อหาแห่งนาบุญอันเป็นบุญที่ประเสริฐ อาจจะมีอภินิหาร หรือหรือแนะนำพระของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่อัฐของท่านกลายเป็นพระอรหันต์ธาตุ หรือบางครั้งก็นำพระธาตุของท่านเหล่านั้นมาลงให้ดูเพื่อให้ศึกษากันมากกว่าไปก่อความรำคาญให้กระทู้อื่น ก็เป็นได้ จึงยังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ และยังคงมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานของกระทู้นี้ตามแนวทางเช่นนี้ตลอดไป ซึ่งหากเวบมาสเตอร์ขอร้องมาก็คงช่วยไม่ได้ ถึงเวลานั้น จะได้แจ้งให้พวกเราทราบอีกทีนึงหากได้รับแจ้งมา

    สุดท้ายนี้ในฐานะประธานทุนนิธิฯ ต้องขอขอบคุณเวบมาสเตอร์ (คุณวีระชัย) ที่ยังให้โอกาสเราใช้พื้นที่นี้ต่อไป โดยไม่ได้รับผลกระทบ หรือการ complain การทำงานของคณะกรรมการฯ แต่ประการใดจากเจ้าของเวบครับ

    พันวฤทธิ์
    16/10/51
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    วันนี้ได้อ่านหนังสือเล่มนึง และแนะนำให้พวกเราได้อ่านกันถ้าหาซื้อได้ หนังสือเล่มนี้ราคา 119.-บาท ชื่อหนังสือ

    หนังสือ..."ธรรมเจดีย์ ธรรมะชำระใจ"

    หนังสือธรรมเจดีย์นี้เป็นนิพนธ์ของ "สมเด็จพระวันรัต" (ทับ พุทธสิริ) เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดโสมนัสวิหาร ซึ่งเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง ผู้เป็นต้นวงศ์คณะธรรมยุตและเป็นบุรพาจารย์ของพระสงฆ์ธรรมยุตสายใหญ่ที่สุด

    พระสงฆ์ธรรมยุตในภาคกลางและภาคใต้เกือบทั้งหมดเป็นสายสืบเนื่องจากมาจากศิษย์ของท่านทั้งสิ้น ทั้งเป็นพระมหาเถระที่ชอบออกธุดงค์ และชำนาญแตกฉานในพระไตรปิฎกและในการปฏิบัติกัมมัฏฐานพรหมจรรย์ของท่าน มุ่งพระนิพพานเป็นสำคัญ

    สมเด็จพระวันรัต ได้เขียนหนังสือทางพระ พุทธศาสนาออกมาเป็นจำนวนมาก ย้ำการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ

    "ธรรมเจดีย์ ธรรมะชำระใจ" เล่มนี้ เป็นผลงานอันทรงคุณค่าในการปฏิบัติภาวนาเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ไม่ปรากฏจำนวนการจัดพิมพ์มาก่อน แต่ตามหลักฐานบ่งว่า ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ได้จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2423 ครั้งหนึ่ง หลังจากที่ท่านได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระวันรัต ในปี พ.ศ.2422 และจัดพิมพ์อีกครั้งหนึ่งจำนวน 2,000 เล่ม

    ในปี พ.ศ.2477 ตามหลักฐานที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตตโม) วัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ ได้กล่าวไว้ในคำนำการจัดพิมพ์ครั้งนั้นซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นการจัดพิมพ์ครั้งที่สอง โดยจัดพิมพ์รวมเรื่องต่างๆ ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่หลายเรื่องเข้าเป็นเรื่องเดียวกัน ให้ชื่อว่า "ธรรมเจดีย์" หมายถึง พระธรรมของพระพุทธเจ้าอันควรระลึกถึง แล้วนำมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตนและส่วนรวม

    เนื้อหาสำคัญในเล่ม ประกอบด้วย วิธีบูชาไหว้พระ วิธีรักษาศีล จตุรารักษ์ วิปัสสนากัมมัฏฐานโดยสังเขป สังขิตโตวาท วิธีเจริญวิปัสสนา

    หนังสือเล่มนี้ได้รับความสนใจมากในหมู่นักปฏิบัติภาวนา นับตั้งแต่ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 24 โดยเฉพาะหัวข้อเรื่องจตุรารักษ์และสังขิตโตวาท

    แม้แต่ "พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" และ "หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล" ยังให้การยกย่องเชิดชูอย่างสูง ซึ่งทั้งสองท่านต่างก็มีหนังสือเล่มนี้ติดตัวอยู่ประจำ เพราะเตือนใจ สอนใจ ในด้านการภาวนาตามหลักพระพุทธศาสนาได้ดีมาก

    ใช
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    แม้จะต่างศาสนาแต่คุณค่าคำสอนนั้นยิ่งนัก หลับให้สบายน๊ะปู่เย็น

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2014
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๖๔ | ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่สหายพระยสะ
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๖๔ : ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่สหายคฤหัสถ์
    ของยสะกุลบุตร



    ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่สหายคฤหัสถ์
    ของยสะกุลบุตร และประทานอุปสมบท

    หลังจากพระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุ อุปสัมปทาแก่พระยสะแล้ว สหายคฤหัสถ์ ๔ คนของท่านพระยสะ คือ วิมล สุพาหุ ปุณณชิ และควัมปติ ซึ่งเป็นบุตรของสกุลเศรษฐี ในพระนครพาราณสีนั้น ได้ทราบข่าวว่า ยสะกุลบุตรปลงผมและหนวด นุ่งห่มด้วยผ้ากาสายะ สละเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ได้ดำริกันว่า ธรรมวินัยและบรรพชาที่ยสะกุลบุตร ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตแล้วนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน ต่างจึงพากันเข้าไปหาท่านพระยสะ อภิวาทแล้วได้ยืนอยู่รออยู่ พระยสะจึงพาสหายคฤหัสถ์ทั้ง ๔ นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรนั้น แล้วกราบทูลว่า
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    ยาอายุวัฒนะ (ยาดีของหลวงพ่อจรัญ)


    [​IMG]

    ผู้มีขันติธรรม ความอดทนสำคัญมากเป็นยารักษาโรคจิตดีที่สุด
    ความอดทน วิริยะความเพียรเป็นยาอันหนึ่ง
    ที่ทำให้เราอายุยืนได้เหมือนกัน
    สติปัญญาทำให้คนอายุยืน

    คนที่มีอารมณ์ดี ทำให้อายุยืน
    คนมีอารมณ์ร้ายอิจฉาริษยา อายุสั้น
    อายุสั้นตัดทอนบ่อนทำลายตัวเอง
    ตัวเองก็เอาดีไม่ได้ตลอดรายการ
    นี่แหละขอฝากยาอายุวัฒนะ
    ขอให้สร้างอารมณ์ดี อย่าให้อารมณ์ร้าย
    ทำอะไรอย่าผูกความโกรธเข้าไว้
    อย่าผูกพยาบาทคาดพยาเวรเจ้ากรรมนายเวร
    เจ้าเวรนายกรรมอีกต่อไป
    อายุยืนจะทำอะไรก็สำเร็จ ไม่มีศัตรูในตัวเอง ไม่มีศัตรูในหมู่บ้าน
    มีแต่ญาติสนิทมิตรสหาย โดยทั่วไป คือ สายธารธรรม​
     
  7. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    การปฏิบัติในกิจญาณในอริยสัจ 4


    พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรมอันวิเศษซึ่งเรียกว่า อริยสัจ 4 ซึ่งในการตรัสรู้ของพุทธองค์จริงๆ แล้วไม่ได้มีภาษาที่จะเรียกธรรมะที่ทรงตรัสรูว่าเป็นอะไร ไม่ว่าจะเป็น ไตรลักษณ์ อริยสัจ เพราะธรรมะที่แท้จริงที่พุทธองค์ทรงตรัสรู้เป็นธรรมะที่ถ่ายทอดสู่จิตเพียงอย่างเดียวซึ่งทางภาษาบาลีเรียกว่า ปรมัตถ์ แล้วเมื่อพุทธองค์ทรงตรัสรู้และเข้าใจธรรมนั้นอย่างแจ่มแจ้งแล้ว พระองค์ก็ทรงนำมาบัญญัติเป็นภาษาของมนุษย์ที่ใช้กันซึ่งเรียกกันว่า สมมติบัญญัติ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเพราะธรรมะที่แท้จริงนั้นไม่มีภาษาที่จะเรียกอะไรเป็นอะไร มีแต่เพียงบางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่เป็นอยู่เท่านั้น ดังนั้นเมื่อพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใหม่ๆ พระองค์ถึงกับทรงท้อพระทัยไม่กล้าที่จะนำธรรมะที่ทรงตรัสรู้ไปสอนเหล่าเวไนยสัตว์เพราะพระองค์คิดว่าอาจจะเหนือวิสัยการเข้าใจของมนุษย์ได้ แต่ท้ายสุดพระองค์ก็ทรงพิจารณาถึงบัว 4 เหล่า ว่าย่อมต้องมีบุคคลที่ต้องสามารถรู้ธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ได้อย่างเป็นแน่แท้ หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงนำธรรมะเหล่านั้นไปโปรดแก่เหล่าเวไนยสัตว์ ซึ่งก็ปรากฏว่าในปัจจุบันก็มีผู้ที่รู้ธรรมะของพุทธองค์อย่างมากมาย ดังจะเห็นได้จากครูบาอาจารย์ทั้งหลาย

    การที่เราจะเข้าใจในการปฏิบัติได้นั้นเราจำเป็นจะต้องเข้าใจในอริยสัจ 4 บ้างพอสมควร มิเช่นนั้นเราก็จะไม่รู้จุดหมายปลายทางในการปฏิบัติ ไม่รู้แนวทางว่าปฏิบัติเพื่ออะไร ได้ผลเป็นเช่นไร ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจกันว่ากิจในอริยสัจนั้นมีอะไรบ้าง


    1. ทุกข์ ซึ่งหลายคนก็คงเคยได้ยินมาว่าทุกข์นั้นให้กำหนดรู้ ซึ่งการรู้ทุกข์ในที่นี้หมายถึงรู้ว่ารูปนามตกอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์นั่นเองคือสภาพที่ทนได้ยาก มิใช่ว่าเป็นทุกขเวทนาแต่อย่างใด แล้วอะไรหล่ะที่เราจะใช้กำหนดรู้ทุกข์ ก็คือเครื่องมือที่เรามีอยู่อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ของเรานี่เอง ระลึกให้ทันว่าการรับรู้อายตนะทั้ง 6 ทางมีการเกิดดับอยู่ทุกขณะที่ระลึกได้ เมื่อมีสติระลึกไปคราใดก็เห็นรูปนามเกิดดับทันที เห็นสภาพที่ทนได้ยาก ไม่จีรังยั่งยืน และบังคับไม่ได้ ของรูปนาม อย่างนี้จึงจัดว่ากำหนดรู้ทุกข์ ฉะนั้นถามต่อว่าแล้วหากเป็นทุกขเวทนาทางกายและทางใจหล่ะควรทำอย่างไร ก็ต้องระลึกรู้ให้เห็นสภาพแห่งทุกข์ (คือการทนได้ยาก) ไม่จีรังยั่งยืน และบังคับไม่ได้ ของทุกขเวทนานั้นๆ เช่นกัน มิใช่กำหนดรู้ทุกขเวทนาทางกายหรือใจแล้วมาเข้าใจว่าเนี่ยแหละตัวทุกข์ที่ต้องกำหนดรู้ ซึ่งผู้เขียนก็เคยเข้าใจเช่นนี้มาก่อน เพราะว่าอะไรก็เพราะทุกขเวทนานั้นก็ทนอยู่ไม่ได้ มีการเกิดดับอยู่อย่างนั้น สมดังที่พุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า


    "ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป" ซึ่งก็หมายถึง มีแต่รูปนามที่ ทนสภาพได้ยากหรือว่ากันง่ายๆก็คือมีแต่รูปนามที่ตกอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์นั่นเอง ซึ่งการกำหนดรู้ทุกข์นี้สำคัญมาก เพราะเมื่อกำหนดรู้ไปเรื่อยๆ สาเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ก็เป็นอันละได้เอง


    2. สมุทัย ซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินมาว่า สมุทัยให้ละ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้นสมุทัยซึ่งเกิดจากกิเลสตัณหา ความอยาก นั้นจะไปละตรงๆ เลยไม่ได้ เพราะเป็นอนุสัยที่ติดอยู่กับจิตมาเป็นเวลาช้านาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงสามารถทำได้เพียงกำหนดรู้ทุกข์ไปเรื่อยๆ จนจิตเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ว่าไม่มีสิ่งใดที่เราสามารถยึดไว้เป็นของเราได้เลย


    - รูปที่เห็น แม้จะสวยงามสักแค่ไหนรูปนั้นก็ไม่ได้ปรากฏติดตาติดใจอยู่ตลอดเวลา ล้วนเสื่อมสูญ เป็นของกลางว่างจากตัวตน ว่างจากเจ้าของ

    - เสียงที่ได้ยิน แม้จะไพเราสักแค่ไหนก็ไม่ได้ดังก้องกังวาลอยู่ที่หูตลอดเวลา ล้วนมีอันเสื่อมสูญไป


    - กลิ่นที่หอม แม้จะหอมสักปานใดกลิ่นั้นก็ไม่ได้ติดอยู่ที่จมูกตลอดเวลาล้วนมีอันเสื่อมสูญไป


    - รสชาติที่อร่อย แม้จะอร่อยสักเพียงใดรสอาหารเหล่านั้น ก็ไม่ได้ค้างอยู่ที่ลิ้นตลอดเวลาล้วนมีอันเสื่อมสูญไป ฯลฯ


    เมื่อจิตเข้าใจเป็นเช่นนี้แล้วก็จะเห็นทุกข์ที่แท้จริงคือการที่เห็นความอยากที่จะกระเสือกกะสนไปแสวงหาสิ่งต่างๆอันมี รูปสวยงาม รสอร่อย เสียงเพราะๆ ว่าเป็นความทุกข์ที่แท้จริง เพราะเห็นแล้วว่าไม่มีสิ่งใดอยู่เป็นสมบัติของตนสักอย่าง ล้วนเป็นของกลางว่างเปล่าจากตัวตนทั้งหมด


    3. มรรค ซึ่งหลายคนเคยได้ยินว่า มรรค ควรเจริญ ซึ่งมรรคนั้นมีอยู่ 8 ประการซึ่งควรเจริญให้เกิดขึ้น ให้มีขึ้น แต่หากเข้าใจดีแล้วจะเห็นได้ว่าหากมีสติก็เป็นการรวมเอามรรคทั้ง 8 มารวมกันในขณะที่สติเกิดนั้น หลายคนคงเคยระลึกเห็นว่าตัวเองกำลังเผลอคิด เผลอดู เผลอดมกลิ่น แล้วมีสติที่เคยสั่งสมมาจากการปฏิบัติระลึกได้แล้ว การคิด การดมกลิ่น การฟังเสียง ด้วยความเคลิมเคล้มก็จะหมดไป จิตขณะนั้นจะโล่ง โปร่ง เบา สบาย ซึ่งต้องเป็นสติที่มิได้มาจากการบังคับด้วย เพราะการบังคับนั้นมิใช่เป็นของสติของจริง แต่หากเป็นการสร้างความเคยชินให้สติเกิดขึ้นบ่อยก็เท่านั้น แต่สติที่เราต้องการก็คือ สติที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวมาก่อนนั่นเอง ดังนั้นจึงควรเจริญมรรคให้มาก


    4. นิโรธ ซึ่งเป็นความดับทุกข์ ซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญมรรคนั่นเอง ซึ่งความดับทุกข์นี้เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นทางใจอย่างแท้จริง กล่าวคือทุกข์ทางใจหมดไปนั่นเอง ซึ่งสภาวะนิโรธนี้ทุกคนที่ปฏิบัติก็จะได้สัมผัสเสมอเมื่อสติเกิดขึ้น วงจรแห่งขันธ์ 5 ที่จะไปปรุงแต่งสร้างทุกข์ ร้อยแปดพันเก้านั้นก็จะหมดไป แต่หากเป็นการเจริญสติในช่วงแรกๆ นั้น หากสติไม่บริบูรณ์แล้วกิเลสมีกำลังมากกว่า กิเลสก็เข้ามาแทน แต่เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆจนกิเลสหมดไปอย่างสิ้นเชิงก็จะถึงสภาวะนิโรธอย่างแท้จริงคือความหมดทุกข์อย่างถาวรซึ่งก็คือพระอรหันต์ก็จะเป็นนิโรธ อันเป็นจุดหมายสูงสุดในการปฏิบัตินั่นเอง


    กิจญาณในอริยสัจ 4 นั้นมีความสำคัญมาก นักปฏิบัติพึงทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าควรทำอะไร แล้วผลคืออะไร อันนี้ต้องรู้ หากไม่รู้ก็จะเดินทางไม่ถูก แต่เมื่อรู้แล้วก็พึงปฏิบติเสียมิใช่มีทั้งแผนที่และเข็มทิศแต่ไม่ออกเรือเสียทีก็คงอยู่ที่เดิม ได้แต่เพียงคาดฝันว่าหมู่เกาะสวรรค์เป็นอย่างไรแต่ก็ยังไม่เห็นด้วยตาของตนเอง ดังนั้นเมื่อมีทั้งแผนที่และเข็มทิศพึงรีบออกเรือเดินทางเสียเพื่อที่จะได้พบหมู่เกาะสวรรค์ในไม่ช้า
    [​IMG][​IMG]


    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซท์
    http://www.phuttawong.net
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    [​IMG]
    การทำสมาธิอาจจะทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร
    ( โดย เจนนิเฟอร์ วอร์นเนอร์ )
    รายงานจากศูนย์ข่าวทางการแพทย์ เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2004
    [​IMG]

    ที่เมือง นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ข่าวล่าสุดรายงานมาว่าการทำสมาธินั้นไม่เพียงแต่จะสร้างความสงบให้แก่จิตใจเท่านั้น ผลการวิจัยชิ้นใหม่ที่ศึกษาเกี่ยวกับการฝึกทำสมาธิในแบบของพุทธศาสนิกชนนั้นอาจจะทำให้สมองเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างถาวรอีกด้วย นักวิจัยได้ค้นพบว่า พระสงฆ์หลายรูปผู้ซึ่งฝึกสมาธิมาเป็นเวลาหลายปีนั้น สมองส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการเรียนรู้ และส่วนรับความรู้สึก มีกระบวนการทำงานที่ดีกว่าหลายๆคนที่ไม่เคยทำสมาธิมาก่อน ผลการวิจัยยังบอกอีกว่า การฝึกการทำสมาธิ เช่น การฝึกทำสมาธิในแบบของพุทธศาสนิกชนนั้นสามารถเปลี่ยนการทำงานของสมองได้ทั้งในการฝึกระยะยาวหรือระยะสั้น

    ผลการวิจัยต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์นี้ได้ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นผลงานของสถาบันวิทยาศาสตร์การศึกษาแห่งชาติ นักวิจัยหลายๆคนได้ศึกษาและเปรียบเทียบกระบวนการทำงานของสมองระหว่างพระสงฆ์จำนวน 8 รูปผู้ฝึกสมาธิมาเป็นเวลานานกว่า 10,000 ถึง 50,000 ชั่วโมงและมีอายุอยู่ในช่วง 49 ปี และ นักเรียนที่มีสุขภาพที่ดีจำนวน 10 คน มีอายุอยู่ในช่วง 21 ปี ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำสมาธิมาก่อน และเพิ่งได้รับการฝึกสมาธิมาเพียง 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะมีการศึกษา ทั้งสองกลุ่มจะต้องฝึกการทำสมาธิและเรียนรู้เรื่องความเมตตาไปพร้อมๆกัน การฝึกนี้ไม่ต้องการผลสัมฤษธิ์เรื่องความรู้ที่ได้รับมากมาย เพียงแต่ต้องการให้ทุกคนได้เรียนรู้ถึงการก่อกำเนิดความรักความเมตตาเท่านั้นเอง

    นักวิจัยหลายๆคนซึ่งได้ทำการตรวจกระบวนการทำงานของสมองทั้ง ก่อน ระหว่าง และ หลังการฝึกดังกล่าวโดยใช้การตรวจด้วยภาพคลื่นกระแสไฟฟ้าของสมอง และแล้วเหล่านักวิจัยก็ได้พบความแตกต่างที่น่าทึ่งของผลการตรวจระหว่างกลุ่มพระสงฆ์ และ กลุ่มของนักเรียนในเรื่องของกระบวนการทำงานของสมองที่เรียนว่า " gamma wave activity " ซึ่งภาพคลื่นดังกล่าวแสดงผลรวมไปถึงการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมด้านความรู้สึก และ จิตใจ ความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องการงาน และ การเรียนรู้การเข้าใจ จากการสำรวจพบการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มของพระสงฆ์ และสามารถเห็นความแตกต่างซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดีอย่างน่าทึ่งระหว่างการฝึก ซึ่งนัวิจัยได้เปิดเผยความจริงว่าระดับคลื่นสมองที่สำรวจพบในกลุ่มของพระสงฆ์ดังกล่าวนั้นเป็นคลื่นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่เคยมีดารสำรวจคลื่นสมองมา ไม่เพียงเท่านั้น กลุ่มดังกล่าวต่อมาก็ยังมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆเช่นพัฒนาด้านความรู้สึกที่เป็นสุข

    ท้ายสุดนักวิจัยกล่าวว่าความจริงแล้วกระบวนการทำงานของสมองของพระสงฆ์นั้นมีการพัฒนามาก่อนการฝึกครั้งนี้แล้ว ซึ่งก็สรุปได้ว่าการฝึกสมาธิที่ฝึกมาเป็นเวลานานสามารถเปลี่ยนกระบวนการทำงานของสมองได้ ถึงแม้ว่าอายุจะแตกต่างกัน แต่ สิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญคือ ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึก และปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ต้องทำการศึกษาโดยผ่านภาพคลื่นกระแสไฟฟ้าของสมอง กันต่อไปก็คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ได้เปลี่ยนแปลงไปนั้นเป็นเพราะการฝึกสมาธิมาเป็นเวลานาน หรือ เป็นความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนก่อนที่จะได้รับการฝึก

    --------------------------------------------------------------------------------
    http://www.budpage.com/bn191.shtml
    แปล โดย ปิยนุช (อาสาเยาวชนชาวพุทธ)



    คุณประโยชน์ของการปฏิบัตินั่งสมาธิ
    1. ทางร่างกาย
    1.1 อัตราการหายใจลดลง คาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง เป็นผลดีต่อปอด
    1.2 อัตราเต้นของหัวใจน้อยลงเป็นผลดีต่อหัวใจ
    1.3 ปริมาณ กรดแลคเตท ในเลือด ซึ่งเกี่ยวกับความคิด ความวิตกกังวล จะลดลงเป็นลำดับทำให้คิดรอบคอบมากขึ้นก่อนที่จะทำอะไรลงไป
    1.4 เลือดจะมีความเป็นกรดสูงขึ้นเล็กน้อย แสดงถึงสุขภาพที่ดี
    1.5 คลื่นสมองของผู้นั่งสมาธิ จะมีความราบเรียบ และทิ้งช่วงห่างมากกว่าผู้ที่นอนหลับปกติ
    1.6 ความต้านทานของผิวหนังสูงขึ้นทันทีที่เริ่มมีสมาธิ
    1.7 อายุยืน

    2. ทางจิตใจ
    2.1 ทำให้ลดทิฐิ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตนเอง
    2.2 ทำให้จิตใจได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ผ่องใส เกิดความสงบเยือกเย็น
    2.3 ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียนและในการทำงานต่าง ๆ
    2.4 ทำให้เป็นผู้มีความเมตตากรุณา และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
    2.5 เป็นผู้ที่มีสติ ไม่หลงลืม มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า กำลังทำอะไรอยู่
    2.6 เป็นผู้มีศีล คือทำดี ไม่ทำชั่ว
    2.7 ทำให้เป็นผู้ที่มีจิตใจมั่นคง
    2.8 ทำให้เป็นผู้มีปัญญา คือ รอบรู้ในสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษภัยต่าง ๆ
    2.9 เป็นกุศล นำไปสู่สุคติ ไม่ตกไปสู่อบาย

    -จบ -



    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammajak.net/smati/13.html
     
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    ยิ่งใหญ่สูงสุดเพียงไหน
    ก็ไม่พ้นนินทา


    "อตุละ ข้อนั้นเขาเคยประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว, ชนทั้งหลายติเตียนทั้งคนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว, ด้วยว่าผู้อันเขาพึงติเตียนอย่างเดียวเท่านั้น หรือว่าผู้อันเขาพึงสรรเสริญอย่างเดียวไม่มีเลย;

    แม้พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็รรเสริญ, แผ่นดินใหญ่ก็ดี, พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี, ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี, คนบางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ, แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับนั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ;

    ก็การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ (คือเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ควรใส่ใจ); แต่ผู้ที่ถูกบัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียน จึงชื่อว่าเป็นอันติเตียน ผู้อันบัณฑิตสรรเสริญแล้ว ชื่อว่าเป็นอันสรรเสริญ
    อตุละ
    การนินทาและสรรเสริญนั่นเป็นของเก่า"
    (พระพุทธภาษิต)

    [​IMG]
    [​IMG]


    "อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่นเป็นของเก่า,
    นั่นมิใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้, ชนทั้งหลายย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง,
    ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง.
    "ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขาสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มีและไม่มีอยู่ในบัดนี้.."

    [​IMG][​IMG]


    "แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับนั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ"

    [​IMG][​IMG]


    "แม้พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ" [​IMG][​IMG]


    "แผ่นดินใหญ่ก็ดี, พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี, ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี, คนบางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ" [​IMG][​IMG]


    ก็เมื่อการ"นินทา"เป็นสิ่งที่ใครๆ ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่สูงสุดเพียงไหนย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วดังนี้ หากรู้ชัดว่า"ดีจริง" ตามธรรมและคิดจะ"ทำดีให้จริงๆ"เพื่อประโยชน์ตนและส่วนรวมให้ถึงขีดสุดแล้ว ก็จะต้องไปเกรงกริ่งกับคำนินทาว่าร้ายของคนพาลให้เสียการใหญ่ไปไย
    ที่สุด แม้พระพุทธองค์ก็ยังทรงภาษิตถึงกรณีนี้ไว้เลยทีเดียวว่า
    "การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาล ไม่(ถือ)เป็นประมาณ (เป็นเรื่องเล็กน้อย, ไม่ควรค่าแก่การให้ราคาหรือใส่ใจไยดีใดๆ)" [​IMG][​IMG]


    คนชั้น"สามัญชน"จำนวนมาก เมื่อถูก"นินทา"มากระทบนิดๆหน่อยๆ ไม่ว่าจะเกิดด้วยสาเหตุอันใด ก็ย่อมจะจิตตกเสียใจหรือโกรธแค้นไป 108 1009 นานาประการ
    บ้างก็ถึงขนาดน้อยอกน้อยใจที่จะเลิก"ทำดี" แล้วหันไป "ทำชั่ว"แทนให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย ก็มีมิใช่น้อย
    เพราะคิดเอาเองว่า เรื่องที่ตนเองประสพนั้น "หนักหนาสาหัส"เกินไปเป็นนักแล้ว
    แต่หารู้ไม่ว่า "ผู้ยิ่งใหญ่"หรือ"ผู้สูงสุด"ทั้งหลายในประวัติศาสตร์ ที่เพียบพร้อมไปด้วยอำนาจและยศศักดิ์ทรัพย์บารมีอันสูงยิ่ง ต่างก็ล้วนแต่ได้เจอะเจอกับ"นินทา"มาอย่างสาหัสยิ่งกว่าจนเทียบกันมิได้สักเพียงไหน..???
    และท่านเหล่านั้น ก้าวล่วง"นินทา"จนขึ้นมายิ่งใหญ่เหนือดินเหนือฟ้า อันประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ด้วยความชื่นชมยกย่องตลอดไปด้วยอาการเช่นใด นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าพินิจพิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง
    อาศัยเหตุตรงนี้ จะได้รวบรวมเอากรณีของบุคคลชั้นนำในประวัติศาสตร์ที่ถูก"นินทา"มาทยอยนำเสนอตามโอกาสอันควรเพื่อเป็นความรู้รอบตัวและเป็นคติเตือนใจสืบต่อไป
    แล้วบางคนก็อาจจะฉุกใจคิดพร้อมกับยิ้มออกมาทั้งน้ำตา(เพราะถูกนินทา)ก็ได้ว่า
    "เมื่อเทียบกับท่านเหล่านั้นแล้ว เรื่องของเรานั้น ช่างจิ๊บๆชิลด์ๆกระจอกๆอย่างสุดๆจริงๆ..!?!?"


    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซท์
    http://www.phuttawong.net
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    "เมื่อพระพุทธเจ้าถูกด่า"

    ครั้งหนึ่ง ณ แคว้นปัญจาละที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นโกศล มีกรุงโกสัมพีเป็นเมืองหลวง เมื่อพระพุทธองค์เข้าไปในเมือง ทรงถูกเหล่าชนมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งได้รับสินจ้างจากพระนางมาคันทิยาผู้ผูกอาฆาตในพระพุทธองค์ ติดตามด่าประจานเฉพาะพระพักตร์(ต่อหน้า) ด้วยถ้อยคำชั้นต่ำ หยาบช้า ไม่ใช่ผู้ดีในทุกที่ทุกแห่งที่เสด็จไป จนท่านพระอานนท์ทนฟังไม่ไหว ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่าควรจะเสด็จหนีไปเมืองอื่นเสีย

    มูลเหตุที่นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า เกิดจากเมื่อตอนที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธเจ้าทรงเสด็จไปโปรดแสดงธรรมแก่บิดาและมารดาของนางมาคันทิยา(ตอนนั้นยังเป็นเด็กรุ่น) เมื่อบิดามารดาของนางคันทิยาเห็นพระสิริโฉมอันหล่อเหลางดงามที่สุดของพระพุทธเจ้า ก็ถูกอกถูกใจนักหนา จึงประสงค์จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของพระพุทธองค์ แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสตอบว่า


     
  11. kratium

    kratium เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +3,670
    เมื่อวานนี้ 16 ตุลาคม 2551 เวลา 18.34.53 น. โอนเงินจำนวน 500 บาทร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธค่ะ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ
     
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    พฤติกรรมที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ


    ก. ทำตัวอ่อนต่ออุปนิสัย เป็นคนเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้น ในการทำกิจต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและดียิ่งขึ้น กลายเป็นคนอ่อนศักยภาพ ที่เรียกว่า ถูกพระสัทธรรมเหยียบ เหมือนถูกมนต์สะกด บางคนบางท่าน เกิดจิตวิปลาส เป็นผู้ที่สังคมไม่ยอมรับ เพราะประพฤติปฏิบัติผิดต่อพระธรรมวินัย นั่นเอง

    ข.มีพฤติกรรม สวนกระแสพระสัทธรรม เช่น

    ๑) อติมานี มีมานะจัด มีนิสัยหยาบกระด้าง (ปากร้าย ชอบทะเลาะ เบาะแว้ง ) บุคคลอื่นแนะนำตักเตือนไม่ได้
    ๒) โกธาภิภูโต มักโกรธ หงุดหงิดรำคาญง่าย ไร้เหตุผล
    ๓) พหุภาณี พูดมาก ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่เลือกสถานที่ และบุคคล ขาดความสุภาพ
    ๔) สาเถยยมายาวี เป็นคนเจ้าเล่ห์ มารยา มีเจตนาแอบแฝงที่ไม่ดี หน้าด้าน ไม่รู้จักอาย เป็นคนแก้ยาก
    ๕) ปาปิจฺโฉ มีความมักมาก แสวงหาปัจจัย โดยไม่ชอบธรรม ชอบคลุกคลี ในทางที่ไม่เหมาะสม
    ๖) ถทฺธี เป็นคนตระหนี่ เหนียวแน่น ชอบกอบโกย ชอบสะสม ชอบใช้อภิสิทธิ์ หรือวางอำนาจเหนือบุคคลอื่น มีอัธยาศัยคับแคบ ไม่ต้องการเห็นคนอื่นดีกว่าตน
    ๗) อามิสาภิมุขี เป็นคนเห็นแก่ประโยชน์จำเพาะหน้า มุ่งหน้าแต่เรื่องลาภสักการะ ชื่อเสียง ยศตำแหน่ง เป็นต้น
    ๘) สทฺธมฺมปฏิมุขี หันหลังให้พระสัทธรรม คือ ไม่ชอบฟังพระสัทธรรม ชอบหมกหมุ่นแต่ในเรื่องเดรัจฉานกถา หรือ ไม่ให้ความสำคัญแก่พระสัทธรรม สนใจและให้ความสำคัญแต่ในเรื่องทางโลก (โลกาธิปไตย หรือ โลกานุวัฒน์ ) หรือเอาความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ เป็นเครื่องตัดสิน (อัตตาธิปไตย) ขาดความมั่นคงและความเคารพยำเกรง ในพระสัทธรรม
    ๙) มุฏฐสฺสติ ขาดจิตสำนึกในความเป็นกัลยาณชน ขาดความยั้งคิด ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกระแสกิเลส
    ๑๐) อคมฺภีรปญฺโญ มีความคิดไม่เฉียบแหลม มีวิสัยทัศน์คับแคบ มองโลกในแง่ร้าย ขาดโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณาเหตุผลและเหตุการณ์ให้รอบคอบ


    ซึ่งพฤติกรรมเบี่ยงเบนเหล่านี้ ก็ทำให้ผู้ที่เข้ามาศึกษา หรือ ปฏิบัติในพระธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เสื่อมถอยจากบารมีธรรมที่จะพึงได้ พึงถึง หรือ ทำให้บารมีธรรมเก่าเสื่อมสูญหมดไป บารมีธรรมใหม่ ก็ไม่เกิดขึ้น ผลสุดท้าย กลายเป็นคนตาบอดหมดบุญไปฉะนั้นผู้หวังความเจริญในพระธรรมวินัย ขององค์พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงสำเหนียกศึกษา และตั้งความเคารพยำเกรงในพระธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้ว อย่างหนักแน่น ยกพระธรรมวินัย เป็นหลักเป็นที่ตั้ง เป็นประธาน ที่เรียกว่า ธัมมาธิปไตยแล้วศึกษาและปฏิบัติไปตามสมควรแก่เหตุผลของธรรมนั้น ๆ ที่ เรียกว่า ธัมมานุธัมมมปฏิบัติ ด้วยการปฏิบัติตามหลักแห่งความเจริญ ๕ ประการคือ

    ๑. สกฺกจฺจํ ธมฺมํ สุสฺสูสํ การตั้งใจฟังพระสัทธรรมโดยเคารพ หมายความว่า ในขณะที่ฟังธรรมใดอยู่ก็ตาม ก็ตั้งใจฟัง มีความเคารพยำเกรงในพระธรรมที่ฟัง เคารพในบุคคลผู้แสดงธรรม เคารพในสถานที่ที่ฟังธรรม เคารพในบุคคลผู้ร่วมฟังธรรม ไม่ทำกิจอย่างอื่นในเวลาฟังธรรม ที่เป็นการไม่เคารพในพระธรรม ด้วยการสำเหนียกว่าเป็นบุญของเราเหลือเกิน ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีอัตภาพครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่บกพร่อง ทั้งได้พบพระพุทธศาสนา ได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้ฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะสิ่งเหล่านี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลก ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
    กิจฺโฉ มนุสฺสปฺปฏิลาโภ การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ที่มีอาการครบบริบูรณ์ เป็นการยาก เพราะหลายคนเกิดมา มีอาการไม่ครบบริบูรณ์ ไม่บกพร่องทางกาย ก็บกพร่องทางจิตใจ หรือ ทั้ง ๒ อย่าง
    กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวินํ การมีชีวิตอยู่รอดไปวันหนึ่ง ๆ ของสัตว์ทั้งหลายก็เป็นการยาก เพราะโลกเต็มไปด้วยภัยอันตรายมากมาย
    กิจฺฉํ สทฺธทฺมสฺสวนํ การได้ฟังพระสัทธรรม คำสอนของสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ก็เป็นการยาก เพราะการที่จะหาบุคคลที่จะตั้งใจศึกษาและปฏิบัติให้รู้ ให้เข้าใจ โดยถูกต้องและเกิดความแจ่มแจ้ง แล้วนำความจริงนั้นมาบอก มาสอน มาอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ใส่ความคิดความเห็นของตน ที่เป็นการบิดเบือนพระสัทธรรมเข้าไป ก็เป็นการยาก
    กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท การอุบัติเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นเหตุอันสัตว์ได้โดยยากยิ่ง เพราะผู้ที่จะบำเพ็ญบารมี เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นั้น ต้องทำด้วยความหนักแน่น และใช้เวลานานหลายโกฏิกัปป์


    ๒. สกฺกจฺจํ ธมฺมํ ปริยาปุนํ สำเหนียกศึกษา ท่องบ่น สาธยาย พระธรรมวินัย โดยเคารพ ได้แก่ เคารพยำเกรงในพระธรรมวินัยที่ศึกษาเล่าเรียน เคารพในผู้ให้การอบรมสั่งสอน เคารพในสถานที่เรียน เคารพในบุคคลที่เรียนด้วยกัน

    ๓. สกฺกจฺจํ ธมฺมํ ธารณํ ทรงจำข้ออรรถ ข้อธรรม ที่สำคัญ ๆ ไว้ให้ได้ เหมือนกับบุคคลที่บรรจงประคับประคองรักษาแก้วมณีอันมีค่าไว้ ไม่ให้สูญหายไป โดยคิดว่า พระธรรมวินัยนี้ เป็นสิ่งมีคุณค่าเหนือสิ่งอื่นใด

    ๔. สกฺกจฺจํ ธาตานํ ธมฺมานํ อตฺถํ อุปปริกฺขนํ หมั่นเพ่งพิจ พิจารณาเนื้อความของข้อธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้อย่างดีแล้วนั้นเนือง ๆ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ความหมายของข้อธรรมนั้น ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น

    ๕. สกฺกจฺฉํ อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ธมฺมานุธมฺมํ ปฏิปตฺติ ขวนขวายปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่เหตุผล หรือ เหมาะสมกับขอบเขตพระธรรมนั้น ๆ ไม่ผิดเพี้ยน หรือเกินขอบเขตของธรรมนั้น ๆ จนเสียธรรมไป

    เมื่อบุคคลปฏิบัติให้ครบบริบูรณ์ทั้ง ๕ ข้อแล้ว ก็จะมีความเจริญในพระสัทธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่ถ้าขาดตกบกพร่องไปข้อใดข้อหนึ่ง ก้ไม่เจริญเท่าที่ควร หรือเกิดความเสื่อมถอย ดังกล่าวแล้วได้

    ฉะนั้น การที่คนจะเป็นดังภาชนะทองคำ เพื่อให้สามารถรองรับและทรงไว้ได้ ซึ่งพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงคุณค่า ที่เปรียบประดุจน้ำมันพญาราชสีห์นั้น ต้องทำกิจทุกอย่าง

    ๑) ด้วยความหนักแน่นมีระเบียบวินัย
    ๒) ด้วยความเคารพยำเกรง มีหิริและโอตตัปปะ
    ๓) ด้วยการสร้างจิตสำนึกในความเป็นกัลยาณชน
    ๔) ด้วยปัญญา ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

    ก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย (บุคลิกภาพ) และด้านจิตใจ (มารยาท จรรยาบรรณ) ให้ดียิ่งขึ้นไป และมีความเจริญรุ่งเรืองในพระสัทธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างยั่งยืน

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาที่ถูกต้อง

    ๑. ทำให้ทราบถึงหลักธรรมอันเป็นแก่นแท้ หรือ หัวใจพระพุทธศาสนา ทำให้เข้าถึงพระพุทธศาสนาได้อย่างแท้จริง
    ๒. ทำให้เข้าใจเรื่องธรรมชาติของชีวิตและโลกมากขึ้น
    ๓. ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ตามความเป็นจริง อันเป็นความรู้ที่มีอยู่เฉพาะในคำสอนของพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    ๔. ทำให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐเป็นประทีปส่องทางให้ดำเนินไปสู่พระอมตะมหานิพพานได้โดนสวัสดิภาพ


    [​IMG]

    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซท์
    http://www.phuttawong.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2008
  13. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +4,292
    กรรมที่ทำให้ต้อง"ตายหมู่"


    ว่าตามหลักแล้ววิบากกรรมจะเล่นงานคนเรือนล้านพร้อมกันได้เพราะมีเหตุปัจจัยดังนี้

    ๑) มีสัตว์ต้องตาย
     
  14. peag

    peag สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +6
    เดือนนี้ ผม + Wirak + tanutda +เทพารักษ์
    ร่วมบุญ 400 บาท ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Untitled-1.jpg
      Untitled-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.5 KB
      เปิดดู:
      78
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    ...ศีล สมาธิ ปัญญา..อาวุธของนักกรรมฐาน...
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

    อาวุธนี้เป็นการแก้ไขปัญหาฝ่าอุปสรรค คือ กิเลสนานาประการ
    เอาความดีเข้าไปแก้กลับร้ายให้กลายดี
    มีปัญญานั่น คือ มีอาวุธ ต้องเตรียมการเสียแต่บัดนี้
    ถ้าไม่เตรียมการเสียแต่บัดนี้ ท่านจะไปเอาอาวุธที่ไหน
    ท่านจะเสียใจเมื่อตอนแก่ มันจะแย่เท่งทึง

    มีลูกมีหลาน ขอเจริญพร อย่าไปกดดันลูกนัก
    อย่าไปกักให้มันเกินไป ให้โอกาสลูกหลานบ้าง
    ให้ลูกหลานลืมตาอ้าปากดูเหตุการณ์ของโลกมนุษย์ยุคใหม่ สมัยนี้ดูบ้าง
    แต่ก็อย่าให้มันเหลิง อย่าให้มันระเริง
    อย่าให้หลงไปนอกลู่นอกทาง ดูแลเท่านี้ก็พอ
    เราเป็นคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย
    แผ่เมตตาให้ลูกให้หลานรับรองไปรอดได้
    ลูกหลานจะไปเหนือมาใต้ก็ต้องกลับบ้าน จะไม่ผิดหวังในชีวิต

    อาวุธนี้เป็นอาวุธของพระพุทธเจ้ามอบหมายมา
    เราเอาไปทิ้งทำไมเล่า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา น่าเสียดายมาก
    มีอาวุธก็ไปทิ้ง แล้วท่านจะใช้อาวุธอะไรเล่า?


    นี่แหละอาวุธการเจริญกรรมฐาน
    การสร้างอาวุธให้มีประจำตัว เหาะเหินเดินอากาศก็ใช้อาวุธอันนี้
    จะได้รู้ว่าควรทะเลาะกันหรือเปล่า
    เสียเวลาเหลือเกิน ไปนั่งทะเลาะกันทำไม
    นึกถึงความรักกัน นึกถึงความดีซึ่งกันและกัน จะไม่ทะเลาะกันเลย

    ท่านพี่น้องทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน
    โกรธใครขอจงอย่าโกรธหมด เกลียดใครอย่าเกลียดหมด
    เอาไว้รักกันภายหน้า จะได้มองหน้ากันได้
    เราไปโกรธไปเกลียดเขาทั้งหมดร้อยเปอร์เซนต์
    ถ้าเกิดไปรักเขาอีก ก็วางหน้าไม่สนิท
    ขอฝากไว้ ถ้าเรารักกันจนหมดตัว เอาตัวพัวพันอยู่ในกิเลส
    เกิดเกลียดเกิดแตกแยกกันไป ก็จะวางหน้าไม่สนิท
    ควรจะเอาแต่ครึ่งเดียว จะคิดทำอะไรอย่าให้มันหละหลวมเกินไป

    ที่มา : http://www.dharma-gateway.com


    ลูกโป่ง
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    .กรรม คือการกระทำของมนุษย์ที่พร้อมไปด้วยเจตนา...
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    [​IMG]

    คำว่ากรรม คือการกระทำของมนุษย์ที่พร้อมไปด้วยเจตนา
    คือ ความตั้งใจว่าจะทำ จะพูด จะคิด
    ทีนี้ ในเมื่อทำลงไปแล้ว จิตเขาบันทึกผลงานเอาไว้โดยธรรมชาติ
    บางทีเราเผลอทำความไม่ดีลงไป
    ภายหลังเรานึกว่า มันเป็นบาป
    เราจะกลับมาเปลี่ยนความคิดว่า
    ...ฉันทำเล่นๆ ฉันไม่ต้องการผลตอบแทน...มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้...



    ที่มา : http://www.wimutti.net/teacher.php


    ลูกโป่ง
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    สมบัติอันมีค่ายิ่ง
    หลวงปู่พระพุทธบาทตากผ้า

    [​IMG]

    คนเราเกิดมามีร่างกายเป็นที่อาศัย

    อุปมาเป็นบ้านที่กำลังไหม้ไฟ

    ผู้มีสติ ผู้มีปัญญา นำสมบัติอันมีค่า

    ค่อยๆขนออกจากบ้านที่กำลังไหม้ไฟอยู่นี้

    สมบัติอันมีค่านั้นก็คือ

    การกระทำคุณงามความดี สร้างบุญกุศล

    .

    หลวงปู่พระพุทธบาทตากผ้า

    วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

    ที่มา : http://www.oknation.net/blog/awake


    awake
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    อัพเดทตัวตนของทุนนิธิฯ จาก วิชาการ.คอม ตั้งแต่หน้าที่ 1 จนหน้าสุดท้ายครับ ผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือน้องโอ๊ตโปรแกรมเมอร์ ผู้มุ่งมั่นในบุญพร้อมภรรยา คู่บุญบารมีแห่งทุนนิธิฯ อีกคู่หนึ่งที่น่าสนใจครับ

    http://www.vcharkarn.com/vblog/34941/1
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,103
    [​IMG]

    การใช้ "ตาทิพย์ " หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร

    การใช้ ”ดวงตาทิพย์” เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    โดย...พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร)
    เจ้าอาวาส(องค์ปัจจุบัน) วัดธรรมมงคล สุขุมวิท101 กรุงเทพฯ

    { คัดลอกมาจาก : หนังสือ “คุณค่าของชีวิต : ธรรมเทศนาแนวทางการปฏิบัติธรรม” (หัวข้อ : สมาธิวิสุทธิ) โดย พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร) หน้าที่ 91 – 92 พิมพ์ครั้งที่ 2 /2543 ของ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ }


    เราไม่ต้องไปพูดขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ นั่นมันเป็นการสมมติส่วนหนึ่ง แต่ตามความเป็นจริงแล้วเมื่อจิตของเราแน่วแน่ เราอยากจะเข้าจิตเมื่อไรก็เข้าได้ อย่างนั้นใช้ได้แล้ว ไม่ต้องไปสมมติอะไรให้มันยาก เมื่อถึงเวลาทำสมาธิ พอขัดสมาธิเสร็จจิตก็ลงไปเลย ก็ใช้ได้ อย่างนี้ก็เรียกว่าเกิดความชำนาญ หรือเรียกว่าเป็นสมาธิเข้าขั้น

    จิตที่เป็นสมาธิเข้าขั้นนั้นมีการทดสอบได้ เราจะทดสอบด้วยตนเองเมื่อไรก็ได้ เราทดสอบจิตของเราว่า จิตของเราอยู่ในขั้นที่มีกระแสจิตแล้วหรือยัง ถ้ามีกระแสจิตแล้วหลับตาก็มองเห็น ถ้าไม่มีกระแสจิตหลับตามันก็เท่านั้น กระแสจิตนั้นก็คือกระแสธรรม เป็นกระแสที่ได้รับจากพลังของจิต ก็เหมือนกันกับพลังไฟฟ้า พลังแสงอาทิตย์ ที่มันบังเกิดขึ้นมีแสงสว่างออกไป ถ้าไม่มีกำลัง ไม่มีพลัง แสงเหล่านั้นก็ออกมาไม่ได้

    เมื่อจิตของเราเกิดพลังขึ้นมา เราก็จะได้รู้ว่า จิตของเรามีกระแสจิตแล้ว หลับตาทดสอบดูอะไรก็ได้ จะพิจารณาดูกะโหลกศีรษะหรือจะพิจารณาดูกระดูกซี่โครง ก็ได้ หรือจะพิจารณาดูหมดทั้งตัวว่ามันตายไปก็ได้ จะเป็นตัวเราก็ได้ตัวคนอื่นก็ได้ หรือเราจะมองดูกระดูกที่ถูกเผาไฟแล้วทั้งหมด ถ้าเรามองไปยังไม่เห็นก็ถือว่า จิตนั้นยังไม่มีกระแสจิต

    คำที่ว่าเห็นนั้นมันชัดแจ้ง มันไม่เหมือนกันกับเราลืมตามอง เพราะเราลืมตามองมันเป็นตาหนังหรือเรียกว่า ตาสมมติ มองดูกระดูกก็อย่างนั้น มองดูเนื้อหนังก็อย่างนั้น มันเป็นเพียงสื่อสัมพันธ์เท่านั้นสำหรับตานอกที่เรีย กว่า ดวงตาของเรานี้

    ***** แต่ส่วนกระแสจิตหรือเรียกว่า “ดวงตาใน” นั้นเรามองชัดลงไปด้วยความสามารถแห่งปฏิภาคนิมิต ซึ่งเป็นนิมิตที่เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ เราสร้างขึ้นมาเป็นกะโหลกศีรษะ โครงกระดูก หรืออะไรเราก็สร้างขึ้นมาได้ ถ้าสร้างขึ้นมาได้เช่นนั้นแล้ว เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ผู้นั้นมีกำลังจิตสูงจริงๆ

    ***** อันนี้บอกเอาไว้ เผื่อใครทำได้คนนั้นก็จะได้ทำให้ก้าวหน้าต่อไป เผื่อว่าใครยังทำไม่ได้ก็ให้รู้ไว้ว่า กระแสจิตเกิดขึ้นจากพลังของจิต และเป็น ”ดวงตาทิพย์” ดวงตาทิพย์นี้เป็นดวงตาทิพย์ที่มีประสิทธิภาพ คือ สามารถมองดูเห็นชัด

    สำหรับผู้ที่มีสมาธิแก่กล้า เช่น พวกฤาษีต่างๆ จะทำสมาธิเพื่อฤทธิ์เดช เพื่อจะเป็นการแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ เขาทำเพื่อให้มันพิเศษๆไป อย่างนั้นมันเป็นจุดประสงค์ของพวกฤาษี แต่จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนานั้น ไม่เหมือนกันกับจุดประสงค์ของฤาษี จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา ต้องการกำจัดกิเลสให้สิ้นไปจากจิตโดยสิ้นเชิง

    ***** แต่หากว่าพวกฤาษีเหล่านั้น ต้องการอยากจะทำกิเลสให้หมด ฤาษีก็ทำได้ง่ายกว่าพวกเรา เพราะมีเครื่องมือครบแล้ว พร้อมที่จะทำลายได้ทุกเมื่อ

    มีพวกฤาษีประมาณห้าร้อยตนออกจากป่าหิมพานต์ มานั่งอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งในต้นไม้นั้นมีปราสาทเทว ดาอยู่ข้างบน……………
    ………ฤาษีได้ยินเทวดาเล่าว่า มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้ว ก็อยากจะไปฟังธรรมกับพระพุทธเจ้า จึงได้ลาเทวดา แล้วก็พากันเหาะจากสถานที่นั้นไปยังวัดพระเชตวัน เมื่อเหาะไปถึงแล้วก็ไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

    ***** พระองค์แนะวิปัสสนาให้นิดเดียวเท่านั้น ให้พิจารณาไตรลักษณ์ คือ ให้พิจารณา อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน อนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ “ พิจารณาเพียงเท่านี้ชั่วโมงเดียวฤาษีทั้งห้าร้อยก็ได ้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสไปได้ “

    ฤาษีเหล่านั้นแต่ก่อนทำไมถึงไม่สำเร็จ ก็เพราะว่าไม่รู้จักวิปัสสนา จึงไม่เกิดความสำเร็จขึ้น ทำไมฤาษีจึงเหาะได้ ก็เพราะฤาษีมีฌาน แต่เป็นโลกียฌาน แล้วทำไมฤาษีเหล่านั้นจึงแสดงฤทธิ์ได้จนกระทั่งเศรษฐ ีต่างๆ พากันเลื่อมใส ก็เพราะว่าฤาษีเหล่านั้นได้บำเพ็ญฌานสำเร็จแล้ว แต่ฌานที่ได้สำเร็จแล้วนั้นไม่ใช่ว่ากิเลสจะหมดไปด้ว ย เพราะพวกฌานต่างๆ นั้นไม่สามารถที่จะกำจัดกิเลสได้ ไม่เหมือนกับวิปัสสนา

    ***** เพราะฉะนั้นฤาษีทั้งห้าร้อยนั้น เมื่อไปฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แสดงถึงไตรลักษณ์ “ ฤาษีทั้งห้าร้อยก็สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีพลังจิตอยู่พร้อมแล้ว “


    จบ การใช้ ”ดวงตาทิพย์” เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    โดย...พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร)



    เท่าที่สังเกตุบทความที่นำมาลงเกี่ยวกับการนั่งสมาธินั้น จะเห็นได้ว่า แต่ละองค์ท่านจะเน้นไม่ให้อยากรู้ อยากเห็น หรือจำจากตำรามาซึ่งกลายมาเป็นสัญญาคือความจำได้หมายรุ้ แล้วบังคับจิตตนเองให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่ท่านจะปล่อยให้จิตอยู่ในสภาวะ "สงบแล้วรู้เอง" โดยให้ไหลไปเรื่อยๆ ตามภูมิธรรม ภูมิกำลังแห่งจิตตนเอง ข้อนี้ผมคิดว่าจริงมาก เพราะแต่ก่อนที่ปฏิบัติมา ส่วนใหญ่จะนึกเทียบเคียงระหว่างจิตเราที่เริ่มสงบว่าถึงขั้นนั้น ขั้นนี้แล้ว กับตำราที่อ่านมาตลอด ไม่ว่าจะรู้จากหลักการของพระอภิธรรมปิฎก หรือหลักการของนักเขียนต่างๆ แต่พอปล่อยไหลเรื่อย กับสบายใจกว่า ก้าวหน้ามากกว่า หลงมาจนนานมาก พวกเรานักปฏิบัติก็คงต้องปล่อยไหลเรื่อยๆ ไหลอย่างที่ "จิตรู้" ดีกว่า สบายกว่าด้วย นั่งขัดขาทีไรก็ไม่อึดอัด นอกเสียจากจะกำจัดอารมณ์ที่ติดมาจากที่ทำงานบ้าง จากการผ่านทางอายตนะต่างๆ ที่ได้พบเห็นบ้าง อันนั้นก็ช่วยไม่ได้ คงต้องหาอุบายปัญญา มาระงับสัญญาและเจตสิกที่มากวนอารมณ์กันเอาเองครับ ดั่งคำของ หลวงปู่เทสก์ท่านว่า" ภาวนาตายนั่นน่ะหมดเรื่องกัน" ลองดูก็ได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...